Announcement

Collapse
No announcement yet.

D.I.Y.ตอน เครื่องขยายเสียง

Collapse
X
 
  • Filter
  • Time
  • Show
Clear All
new posts

  • วงจรแบบในรูปนี้ ใช้จริงไม่ใช่อย่างที่คิดนะครับ


    ท่าน dracoV บอกไว้ถูกต้องแล้วที่ #1311 ครับ

    Comment


    • ก่อนหน้านี้ ตั้งประเด็นเร่ือง "อิทธิพลของZobel" วันนี้ก็ถึงเวลาเฉลยแล้ว

      Photos/Schematic of Transparent Cables Found on the Internet

      - วงจรภายใน


      - รูปไส้ใน











      อ่านรายละเอียดเพิ่ม > How to make a Transparent Audio Reference XL Speaker Cable

      -----------------------------------------

      มีหลายบริษัท ทำขายกันแบบไฮเอนด์มาก

      Enacom Speaker


      Walker Audio



      > เวป6moons รีวิวของเล่นประเภทนี้ : 6moons : the Ring A Sonic thriller







      -----------------------------------------

      > wolfson : Impedance Compensation (Zobel Network) for Ground Referenced Outputs

      Many Wolfson audio devices now have ground referenced headphone and line outputs, incorporating an innovative dual-mode charge pump architecture (Wolfson ?Class-W?) - to optimise efficiency and power consumption during playback.

      The ground referenced output is achieved using an internal charge pump to power the headphone amplifier and means that there can be a direct connection between the Wolfson device output and the headphone load. This has several advantages compared to a VMID referenced output, including improved power consumption, better pop-click performance, and reduced overall cost of external components.

      For stable audio performance with all types of headphone, a zobel network is required at any ground referenced output. If the zobel network is omitted, it is possible that charge pump switching frequency effects will affect audio performance.

      This document describes why the zobel network is recommended and how the zobel network can work in the application.
      Last edited by keang; 9 May 2014, 16:30:19.

      Comment


      • ู^
        ขอบคุณครับพี่
        -----------
        จำได้สมัยแรกๆ ต่อชุดไฟ แล้วไฟมาไม่เท่ากัน
        พี่บอกเรื่อง bicap เลยเอามาทำ
        พอbicap เข้าไป การแบ่งไฟดีขึ้น
        ผมเลยมองว่า ซีค่าน้อยๆมาช่วยเรื่อง การแบ่งไฟตลอดครับ
        Last edited by tiger X-fi; 9 May 2014, 15:16:10.

        Comment


        • ตามรูปป้อนไฟ DC 9V ลองหาคำตอบครับ

          L3 1H ,L4 4H ,C5 400uF ,C4 100uF แต่ละตัวมีค่า impedance เท่าไหร่
          ถ้าตอบได้ จะถึงบางอ้อครับ

          Comment


          • @ m shifu
            ขอบคุณครับ กระจ่างขึ้นเยอะเลย

            @ เสือ
            ผมเดาว่า น่าจะเป็นผลจาก ค่าRภายในCฟิลม์ มันนิ่งกว่าCอิเลคทรอไลติค
            พอเอามาต่อขนานกัน มันเลยช่วยให้ค่าRโดยรวมคงที่มากขึ้น
            Last edited by keang; 9 May 2014, 15:29:48.

            Comment


            • ค่า R แฝงในC เป็น Resistance (ไฟDC) นี่ครับ
              ถ้าใช้ C ที่ค่าResistance เท่ากัน ค่าประจุต่างกัน แบ่งไฟไม่เท่ากันแน่
              ผมมองว่าเป็นค่า C โดยตรง
              Cฟิลม์ ค่าประจุมันตรงกว่า Cอิเลคทรอไลติค
              เลยทำให้แบ่งไฟได้ดีกว่า
              (มึนๆอยู่...ผมอาจเข้าใจผิดก็ได้)
              --------
              มองในมุมกลับกัน
              C ต่างยี่ห้อ ค่าความจุเท่ากัน ค่า Resistanceต่างกัน
              เอามาแบ่งไฟ (ทำชุดไฟ)
              ก็น่าจะแบ่งไฟ..ได้ไม่เท่ากัน
              Last edited by tiger X-fi; 10 May 2014, 09:59:15.

              Comment


              • ถ้าพูดถึงเรื่องค่าความจุ ฟิลม์มันค่านิดเดียว เอาไปต่อขนานกับอิเลคทรอไลติค คิดเป็น%มันน้อยมาก
                ฟิลม์ ได้เปรียบเรื่อง ค่าความต้านทานที่แปรผันตามการชาร์ท/ดิสชาร์ท ต่ำกว่าแบบอิเลคทรอไลติค

                - อยากรู้ว่า ผลจากค่าความจุหรือค่าความต้านทาน ลองได้ไม่ยากนะ : ใช้Cคนละรุ่นหรือคนละยี่ห้อ แต่วัดค่าความจุให้เท่ากัน
                - ที่ผมยังไม่ชัวร์ คือ ถ้าใช้ค่าRภายในเป็นหลัก ซึ่งค่ามันต่ำมาก : จะมีผลเหมือนใช้Rค่าน้อยๆที่มีผลให้แหล่งจ่ายไฟทำงานหนักตลอดเวลาด้วยรึเปล่า
                Last edited by keang; 10 May 2014, 10:11:22.

                Comment


                • Originally posted by dracoV View Post
                  C มีการ charge/discharge นะ Vgnd ที่สร้างมาก็จะแกว่งทันทีที่มีโหลด มีการ charge หรือ discharge
                  ผมว่าเต็มๆ ทั้งค่า C และ Resistance ครับ
                  Resistance ใน C ส่งผลเรื่อง charge หรือ discharge เต็มๆ

                  Comment


                  • ไม่ใช่แบบนั้นสิ
                    ที่ผมพูดถึง ผมหมายถึง ในทางทฤษฎีที่เค้าใช้กำหนดค่าความจุเพื่อแบ่งแรงดัน เค้าใช้ตัวแปรไรในกำหนดค่าความจุ
                    (ในรูปที่คุณเสือแปะไว้ เค้าใช้ค่าความจุ 100uF:400uF)

                    Comment


                    • ผมมองอย่างนี้ครับ
                      ในชุดไฟ ผมมอง
                      ค่า C เป็นค่าที่ใช้แบ่งแรงดันโดยตรง
                      Resistance ใน C ส่งผลโดยทางอ้ออม (เรื่องcharge หรือ discharge)
                      ------
                      พอเป็น VD
                      ค่า C น่าจะป็นค่าที่ใช้แบ่งแรงดันโดยตรงครับ

                      เพราะถ้าใช้ C ที่ค่าResistance เท่ากัน ค่าประจุต่างกัน แบ่งไฟไม่เท่ากันแน่
                      Last edited by tiger X-fi; 10 May 2014, 12:36:21.

                      Comment


                      • ลองทำโจทย์นี้ครับ

                        C ในอุดมคติ (ไม่ต้องคิดเรื่อง Resistance ใน C นะ) ค่า 1 Farad
                        มีแรงดันไฟฟ้าที่ 1000 Volt

                        1. ถ้าคายประจุด้วยกระแสคงที่ 1 Amp. เป็นเวลา 1 นาที
                        แรงดันไฟฟ้าที่ C = ? Volt

                        2. ถ้าประจุด้วยกระแสคงที่ 1 Amp. เป็นเวลา 2 นาที
                        แรงดันไฟฟ้าที่ C = ? Volt

                        ถ้าตอบได้ จะถึงบางอ้อครับ

                        Comment


                        • อันนี้ตอบได้เร็วแบบไม่มีกังวลเลยครับ

                          "ไม่รู้ครับ" : ขอทราบวิธีคิด/คำนวนด้วยครับ

                          Comment


                          • สูตรนี้ ใช้กับกระแสคงที่เท่านั้นนะ
                            V = I x T / C

                            V - volt
                            I - amp
                            T - second
                            C - farad

                            1. C คายประจุ ทำให้แรงดันไฟฟ้าลดลง 60 Volt
                            แรงดันไฟฟ้าที่ C = 940 Volt

                            2. C ประจุ ทำให้แรงดันไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 120 Volt
                            แรงดันไฟฟ้าที่ C = 1120 Volt

                            นี่คือสิ่งที่ ท่าน dracoV บอกครับ
                            Originally posted by dracoV View Post
                            C มีการ charge/discharge นะ Vgnd ที่สร้างมาก็จะแกว่งทันทีที่มีโหลด มีการ charge หรือ discharge
                            คงเห็นชัดนะครับ
                            แรงดันไฟฟ้าที่ C ไม่นิ่ง จะเพิ่มขึ้นตามการประจุ และลดลงตามการคายประจุ
                            และ ไม่เกี่ยวกะเรื่อง Resistance ใน C แต่อย่างใดครับ

                            Comment


                            • @ m shifu
                              ขอบคุณครับ

                              คายประจุ เข้าใจแล้วครับ
                              แต่ "งง" กับเก็บประจุ 120V มาจากไหน / หรือว่า เอาค่าคายประจุ x2 ?

                              ถ้าใช่ ในเมื่อแหล่งจ่ายไฟมีแค่1KV ส่วนเกิน120V มาจากไหน ?
                              Last edited by keang; 10 May 2014, 16:50:47.

                              Comment


                              • ตอนคายประจุ ค่าเป็นลบ I = -1 amp
                                ตอนประจุ ค่าเป็นบวก I = 1 amp

                                1. คายประจุด้วยกระแสคงที่ 1 Amp. เป็นเวลา 1 นาที = 60 sec.
                                V = I x T / C
                                V = -60 V
                                แรงดันไฟฟ้าที่ C = 1000-60 = 940 Volt

                                2. ประจุด้วยกระแสคงที่ 1 Amp. เป็นเวลา 2 นาที = 120 sec.
                                V = I x T / C
                                V = 120 V
                                แรงดันไฟฟ้าที่ C = 1000+120 = 1120 Volt

                                โจทย์ตั้งว่าแรงดันไฟฟ้าที่ C มีอยู่แล้ว 1000 Volt ครับ
                                ไม่ใช่เรื่องแหล่งจ่ายไฟนะ

                                Comment

                                Working...
                                X