Announcement
Collapse
No announcement yet.
D.I.Y.ตอน เครื่องขยายเสียง
Collapse
X
-
สอบถามหน่อยครับ เกี๋ยวกับการคำนวน VA หม้อแปลง
คือ มีหม้อแปลง เทอร์รอย 220VAC > 24 0 24 VAC หม้อแปลง ขนาด 30VA อยากรู็ว่า ไอ่ 24VAC เนี่ย มันจ่ายกระแสออกมาได้ กี่ Amp ครับ - -
อยากรู้ว่าเขาคำนวนกันยังไง หรือว่าไอ่ AV เนี่ย มันคือ VA ของ นีะยีะ 24 0 24 กันแน่ -*-
อย่าง 220VAC ที่ 2500VA
สูตร(เฟสเดียว)
ระแส (I) = พลังงานไฟฟ้าปรากฎ ( S ) / แรงดันไฟฟ้าเทียบเฟส ( Vph )
= 2500 / 220 = 11.37 A
- - แต่เราจะคำนวนอีกฝั่งที่ 24 0 24 จะคำนวนยังไงครับ
//////////////////////////
ฉลาก
พอดีรื้อๆ LM 3886 มาทำครับ เสียงดีทีเดียวครับ(ติดแห้งๆด้วย เพราะลองกะบร์อดใช้วายจั้มเอา แต่เสียงติดนุ่มตามแบบที่ผมชอบเลย)
ว่าจะประกอปเป็นรูปเป็นร่าง แต่เอาเจ้าหม้อแปลงเนี่ยมาทดลองวงจรเฉยๆ ละเกิดความสงสัยครับ - -
Last edited by KOTONOHA; 5 May 2014, 20:29:59.
Comment
-
Originally posted by keang View Postผมว่า รวมคำถามไว้ในโพสเดียวดีกว่า คุณdracoVจะได้ไม่ต้องดูหลายโพส
สรุปว่า ในตอนนี้ "แมว, เสือ และ ผม" สนใจจะลองทำวงจรปรีหลอดแบบใช้ไฟเลี้ยง "+/- 15V" แต่เปลี่ยนไฟเลี้ยงเป็น "+/- 12V"
แต่มีการเปลี่ยนแปลงบางส่วนด้วย จึงขอความเห็นและคำแนะนำจากคุณdracoVอีกครั้ง
1. ใช้ไฟเลี้ยง "+/- 12V โดยใช้วงจรเดิมทั้งหมด" > ค่าอะหลั่ยในจุดไหนต้องแก้ไขบ้าง
2. ถ้าทำ "CCSขาเพลท และ ใช้LEDสีแดงทั้ง2ตัว" ตามวงจรนี้ โดยใช้ไฟเลี้ยง "+/- 12V" > ค่าอะหลั่ยในจุดไหนต้องแก้ไขบ้าง
3. ถ้าทำ "CCSขาแคโธด และ ใช้LEDสีแดง1ตัว" ตามวงจรนี้ โดยใช้ไฟเลี้ยง "+/- 12V" > ค่าอะหลั่ยในจุดไหนต้องแก้ไขบ้าง
>> หมายเหตุ <<
- ข้อ2และ3 คุณdracoVเคยแนะนำแล้วว่า ให้เลือกใช้แค่อย่างใดอย่างหนึ่งก็พอ
- LEDสีแดง ขาทอง เดี๋ยวเอาจากผมไปใช้ / Rเฉพาะในวงจรหลอด เดี๋ยวรอดูค่าก่อน ถ้าผมมีเดี๋ยวเอาจากผมไปใช้
1. ไม่ต้องเปลี่ยนอะไรก็ได้ครับ การทำงานใกล้เคียงกัน แต่ แนะนำ ให้เปลี่ยน R cathode 1k เป็น R 560 + R trimmer 1k ไว้ปรับไบแอสครับ
อาจเพิ่มค่า C output ขึ้นหน่อย ก็ไว้ทดลองเอาตามชอบ/เหมาะสมครับ
2. R 3k0 (R emitter) ใช้ค่า 1k ส่วน R 3k3 (R LED) ใช้ 2k-3k ได้ครับ
3. Rb 2k และ Re 1k ครับ
เพิ่มหน่อย ถ้าเอา +HT ไปต่อไฟ+12V ก็ใช้ Rb 3k-4k ครับ
------------------------------------------
ขอบคุณ คุณ keang ช่วยรวมคำถามมาให้ครับ
ช่วงนี้ก็ไปนั่นมานี่ ทำนั่นๆนี่ วุ่นๆอยู่หน่อย รวมๆคำถาม(ถ้ามี) ไว้ แล้วเวลามีเวลา+รู้/ตอบได้ก็จะมาทยอยตอบครับ
Last edited by dracoV; 6 May 2014, 23:05:33.
Comment
-
อ่านดูผ่านๆ เรื่องหม้อแปลงสำหรับไฟแรงสูงนี่สำคัญและอันตรายนะครับ ระวังมากๆหน่อย
ต้องเลือกใช้ให้ตรงกับงานนะครับ และมีหลายๆอย่างที่ต้องดู ถ้าไม่รู้จักหม้อแปลงที่จะเอามาใช้อย่างดีหน่อย อย่าคิดเอาว่าน่าจะใช้ได้
ให้ดูคุณสมบัติของหม้อแปลงนั้นๆด้วยว่าเขาทำมาให้ใช้กับงานนั้นหรือไม่
ยกตัวอย่าง หม้อแปลงใช้กับไฟบ้านเรา 220V 50Hz ก็ต้องใช้หม้อแปลงที่ทำมาสำหรับใช้กับไฟบ้าน ถ้าไปเอาหม้อแปลงชนิดอื่นๆมาต่อก็อาจมีบึ้ม(ไหม้)
เช่น ไปเอาหม้อแปลง อเมกา ไฟ 110V 60Hz มาต่อ เพราะเห็นว่าก็แค่ขดลวดเหมือนกัน ก็อาจบ้านบึ้มได้นะ 555+ ก็หม้อแปลงไหม้น่ะครับ(อาจรวมถึงบ้านด้วย)
ระวังให้มากๆ ไฟสูงอันตราย ใช้หม้อแปลงให้ถูกงาน คุณสมบัติตรงกับจุดที่ต้องการใช้งานนะครับ
Comment
-
ทรานซิสเตอร์ในวงจรขยายสัญญาณ
ด้วยคุณสมบัติของทรานซิสเตอร์ที่มีการขยายกระแสด้วยค่า เบต้า ทำให้เราสามารถนำทรานซิสเตอร์มาต่อเป็น วงจรขยายสัญญาณได้ ลองดูการต่อวงจรง่าย ๆ ดังรูปที่ 10 ก. และป้อนสัญญาณอินพุททางขา B เราจะมาดูสัญญาณเอาท์พุททางขา C ว่า เป็นอย่างไร โดยที่ VS มีค่า 10 โวลท์ และป้อนสัญญาณเป็นคลื่นรูปซายน์
รูปที่ 10 ทรานซิสเตอร์ในวงจรขยายสัญญาณ เมื่อป้อนสัญญาณอินพุตและสัญญาณเอาท์พุตที่ได้
เมื่อสัญญาณอินพุทมีค่าเป็นศูนย์โวลท์ ดังรูปที่ 10 ข. จะไม่เกิดกระแส IB ผลก็คือ IC ไม่เกิดด้วย ดังนั้น แรงดันที่ RCจึง มีค่าเป็นศูนย์โวลท์ ทำให้แรงดัน VCE เท่ากับ VS คือ 10 โวลท์ และทำนองเดียวกัน เมื่อสัญญาณอินพุทมีค่าน้อยกว่า 0.65 โวลท์ สัญญาณเอาท์พุทจะมีค่าเป็น 10 โวลท์ เช่นกัน
เมื่อสัญญาณอินพุทมีค่าเพิ่มขึ้นเป็นลักษณะครึ่งรูปคลื่นซายน์ในช่วงบวก (ไซเคิ้ลบวก) ดังรูปที่ 10 ค. ในช่วงนี้จะเกิด IB ตามคลื่นรูปซายน์ด้วยจึงทำให้ IC เกิดตามไปด้วย เมื่อ IB มากขึ้น IC จะมากด้วย ผลทำให้เกิดแรงดันที่ RC มากขึ้น แรงดัน VCE จึงเริ่มลดลง เมื่อสัญญาณอินพุทมีค่าสูงสุดจะทำให้แรงดัน VCEมีค่าลดลงมากสุดจนถึง 0 โวลท์และเมื่อสัญญาณอินพุทเริ่มลดลง แรงดันเอาท์พุทจะเริ่มเพิ่มขึ้น เป็นที่สังเกตว่าในช่วงนี้สัญญาณเอาท์พุทจะกลับเฟส(ตรงข้ามกัน) กับสัญญาณอินพุท คือ เมื่อ สัญญาณอินพุทมีแรงดันมากขึ้น สัญญาณเอาท์พุทจะมีแรงดันลดลง
ในช่วงสัญญาณอินพุทเป็นครึ่งซายน์ในช่วงลบ (ไซเคิ้ลลบ) ดังรูปที่ 10 ง. ในช่วงนี้ขา B,E ของทรานซิสเตอร์ จะได้รับ ไบแอสกลับ ทำให้ไม่มี IB จึงไม่เกิด IC ด้วย เหมือนกับรูปที่ 10 ข. ผลก็คือ ได้แรงดันVCE เป็น 10 โวลท์ และเมื่อสัญญาณ อินพุท มีค่าเป็นไซเคิ้ลบวกอีก ก็จะได้แรงดัน VCE ลดลงเป็นคลื่นรูปซายน์ครึ่งคลื่นเช่นกัน
จากตัวอย่างในรูปที่ 10 จะเห็นว่าเมื่อต่อวงจรดังรูปจะได้สัญญาณเอาท์พุทที่ผิดเพี้ยน คือมีการขยายเพียงครึ่งไซเคิ้ล เท่านั้น อีกครึ่งไซเคิ้ล (ลบ) ถูกตัดทิ้งไป จึงต้องหาวิธีแก้ไขด้วยการให้ ไบแอส แก่ทรานซิสเตอร์ทางขา B ก่อน ดัง ตัวอย่างง่าย ๆ ตามรูปที่ 11 ด้วยการใช้ตัวต้านทาน RB ต่อเข้ากับขา B และ VS วิธีนี้ทำให้ขณะปกติไม่มีสัญญาณเข้าหรือสัญญาณเข้า มีค่า เป็น 0 โวลท์ตัว RB จะทำให้มี IB ค่าหนึ่งซึ่งทำให้เกิด IC ที่ทำให้มีแรงดันที่ RC มีค่าประมาณ 1/2 ของ VS ในที่นี้คือ 5 โวลท์ (เรียกสภาวะนี้ว่าจุดสงบ) เมื่อสัญญาณอินพุทมีค่าเป็นครึ่งไซเคิ้ลบวก IB จะเพิ่มขึ้นทำให้ VCE ลดลงต่ำสุดมาเหลือ 0 โวลท์ พอดี และเมื่อสัญญาณอินพุทมีค่าเป็นครึ่งไซเคิ้ลลบ IB จะลดลง ทำให้ VCE มีค่าเพิ่มขึ้น
ด้วยวิธีการให้ไบแอสตามรูปที่ 11 จะทำให้เกิดการขยายสัญญาณเต็มรูปคลื่น คือสัญญาณเอาท์พุทจะสวิงหรือแกว่ง ระหว่าง 0 โวลท์ กับ VS โดยมีจุดสงบที่ 1/2 ของVS เพื่อให้ได้สัญญาณเอาท์พุทสวิงได้มากที่สุด และสัญญาณดังกล่าว เมื่อไปคับปลิ้งผ่าน C ดังรูปที่ 12 ก็จะได้สัญญาณเป็นไฟสลับในช่วงบวกลบได้
รูปที่ 11 การต่อ ไบแอสทรานซิสเตอร์ทำให้ได้รูปคลื่นเอาท์พุตที่สมบูรณ์
รูปที่ 12 เมื่อต่อตัวเก็บประจุอนุกรมกับสัญญาณเอาท์พุตทำให้ได้สัญญาณสวิงในช่วงบวกลบ
ตัวอย่างต้องการออกแบบวงจรขยายสัญญาณโดยใช้ทรานซิสเตอร์ชนิด NPN ซึ่งมีค่า เบต้า เท่ากับ 200 ใช้ แรงดันขนาด 12 โวลท์ และให้มี IC ในสภาวะสงบเป็น 5 mA จงหาค่า RB และ RC ในรูปที่ 13
รูปที่ 13 ตัวอย่างการคำนวณหาค่า RB และ RC เพื่อหาจุดไบแอสที่เหมาะสม
วิธีการคำนวณทำได้ง่าย โดยคิดจากสภาวะสงบหรือไม่มีสัญญาณเข้า ซึ่งจะได้แรงดันที่ RC เท่ากับ 1/2 ของ 12 โวลท์คือ
อีกตัวอย่างของวงจรซึ่งใช้ทรานซิสเตอร์ชนิด PNP ดังรูปที่ 14 ก. โดยที่ เบต้า มีค่า 150 เท่า และพิจารณาที่จุดสงบ หรือไม่มีสัญญาณป้อนเข้า เริ่มต้นหาค่า IB โดยหาค่าแรงดันที่ RB ซึ่งจะมีค่า
รูปที่ 14 รูป ก. เป็นตัวอย่างวงจรขยายของทรานซิสเตอร์ชนิด PNP
รูป ข. แสดงสัญญาณเอาท์พุตที่สวิงได้สูงสุดโดยไม่เพี้ยน
และรูป ค. แสดงการผิดเพี้ยนเมื่อสัญญาณสวิงสูงเกินไป
จากตัวอย่างแรงดันที่จุดสงบอยู่ที่ 3.6 V และกระแสมีค่ามากถึง 36 mA เมื่อพิจารณาให้ดีจะพบว่า แรงดันเอาท์พุทควร จะสวิง ไปสูงสุดเพียง 7.2 V และต่ำสุด 0 V ดังรูปที่ 14 ข. จึงจะได้สัญญาณเอาท์พุทที่ไม่ผิดเพี้ยน แต่ถ้ายอมให้แรงดัน เอาท์พุทสวิง ขึ้นไปสูงสุดถึง 12 V (โดยป้อนสัญญาณอินพุทเข้ามาแรง ๆ ) สัญญาณเอาท์พุท จะเกิดการผิดเพี้ยนดังรูปที่ 14 ค. ทั้งนี้เพราะว่า ในครึ่งไซเคิ้ลหลังแรงดันจะลดลงต่ำสุดเพียว 0 โวลท์ ในช่วงนี้สัญญาณจึงถูกขลิบหรือตัดยอดทิ้งไป
การไบแอสที่จุดสงบที่ค่าแรงดันต่าง ๆ จึงทำให้เกิดผลของการขยายสัญญาณในครึ่งไซเคิ้ลบวกและลบในคลาสต่าง ๆ เช่นใน รูปที่ 11ไบแอสอยู่ที่ 1/2 ของ VS เรียกว่า คลาส A แต่ในรูปที่ 14 ทรานซิสเตอร์ขยายในไซเคิ้ลบวกได้สูง ส่วนไซเคิ้ล ลบ ไม่ดี เรียกว่า คลาส AB และมีวิธีการต่อให้ทรานซิสเตอร์ 2 ตัว ขยายร่วมกันโดยไบแอสให้ตัวแรกขยายในไซเคิ้ลบวกอย่าง เดียวและตัวที่สองขยายในไซเคิ้ลลบอย่างเดียวแล้วนำเอาเอาท์พุทของทั้งสองตัวมารวมกันก็จะได้ สัญญาณเอาท์พุท สวิงได้สูงขึ้น วิธีนี้จัดอยู่ในคลาส B ซึ่งคลาสต่าง ๆ เหล่านี้ถูกนำไปใช้ในวงจรขยายเสียงต่าง ๆ
ที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นเพียงพื้นฐานเบื้องต้นของทรานซิสเตอร์ในวงจรสัญญาณ ซึ่งถูกนำไปใช้ในเครื่องเสียงทั้งหลาย ซึ่ง อาจมีรายละเอียดและเทคนิคของวงจรแตกต่างกันไปบ้างแต่ก็อาศัยหลักการขยายกระแสของทรานซิสเตอร์ ทั้งสิ้นดังที่กล่าวมา การได้เข้าใจพื้นฐานเบื้องต้นนี้นับเป็นบันไดขั้นสำคัญที่จะทำความเข้าใจวงจรขยายเสียงต่าง ๆ ได้ดี ในตอนหน้าจะมาพบกับ ทรานซิสเตอร์ในวงจรชิ่งครับ
เครดิต
http://electronics.se-ed.com/content...68s165_p05.asp
------------
จากรูปได้แสดงทิศทางของกระแสที่ไหลเข้าออกจากตัวทรานซิสเตอร์ เราจะสังเกตได้ว่า กระแสไหลจากทิศทางของหัวลูกศรของทรานซิสเตอร์ (กระแสในที่นี้หมายถึง กระแสนิยมที่ไหลจากขั้วบวกไปขั้วลบ) ทรานซิสเตอร์ทั้งสองชนิดมีทิศทางการไหลของ กระแสกลับกัน จากรูปกล่าวได้ว่า กระแสที่ไหลผ่านขา E จะมีค่าเท่ากับกระแสที่ขา C รวมกับที่ขา B เป็นกระแสที่ไหลผ่านทรานซิสเตอร์ แต่กระแสที่ขา C เท่ากับกระแสที่ขา B คูณด้วยอัตราขยายของทรานซิสเตอร์ (hFE) ดังสมการในรูปที่ 2 เพราะฉะนั้นกระแสที่ไหลผ่านทรานซิสเตอร์ จึงถูกควบคุมโดยกระแสที่ไหลผ่านขา B นั่นเอง
เครดิต..http://www.kmitl.ac.th/~s2011299/Ass...ssignment8.htm
---------
Transistor regulator
ฺBJT Buffers
Ie=Ic+Ib
กระแสที่ไหลผ่านขา E จะมีค่าเท่ากับกระแสที่ขา C รวมกับที่ขา B เป็นกระแสที่ไหลผ่านทรานซิสเตอร์
----------
Ic=Ib*hfe
แต่กระแสที่ขา C เท่ากับกระแสที่ขา B คูณด้วยอัตราขยายของทรานซิสเตอร์ (hFE) เพราะฉะนั้นกระแสที่ไหลผ่านทรานซิสเตอร์ จึงถูกควบคุมโดยกระแสที่ไหลผ่านขา B นั่นเอง
----------Last edited by tiger X-fi; 8 May 2014, 11:27:57.
Comment
-
อ่านแล้ว...ค่อยๆคำนวนตามไม่ยาก
มางงตรงลด 0นี่แหละ
เช่น 25UA =0.000025A
หรืออย่าง 5ma 0.005A
กลายเป็น 5X 10ยกกำลัง-3
เดี๋ยวค่อยสร้างความเข้าใจครับ
------------
ตารางค่า
-------------
เพิ่งเข้าใจว่าทำไมต้องคัดทรานซิสเตอร์ให้ค่า hFE ให้เท่าๆกัน
ตัว เบต้า หรือเรียกอีกตัวหนึ่งว่า HFE คืออัตราขยายกระแสนั่นเอง
อัตราขยายกระแส (Current Gain) เรียกว่า ค่าเบต้า
IC = Beta* IB
IE = IB + IC
http://www.overclockzone.com/forums/...1#post59806726
http://www.overclockzone.com/forums/...1#post59753808Last edited by tiger X-fi; 7 May 2014, 13:57:22.
Comment
-
@ เสือ
โอ้วว อ่านเฉยๆนี่มึนตึ๊บ พอลองคำนวนไปด้วย หัวโล่งเลย
@ แมว
ขา9 ภายในเป็นขาแผงโลหะ สำหรับกั้นไตรโอดทั้ง2ฝั่งออกจากกัน เพื่อป้องกันการรบกวนภายในกันเอง
จะปล่อยลอย หรือ ลงกราวน์ก็ได้
ส่วนใหญ่จะต่อลงกราวน์ แต่ก็มีคำถามตามมา จะลงกราวน์ที่จุดไหนถึงจะเหมาะสม กราวน์ชุดไส้หลอด, กราวน์ชุดไฟสูง, ชุดสัญญาณกราวน์อิน(ไฟต่ำ), ชุดสัญญาณกราวน์เอ้าท์(ไฟสูง)
Last edited by keang; 7 May 2014, 11:24:29.
Comment
-
ส่วนใหญ่จะต่อลงกราวน์ แต่ก็มีคำถามตามมา จะลงกราวน์ที่จุดไหนถึงจะเหมาะสม กราวน์ชุดไส้หลอด, กราวน์ชุดไฟสูง, ชุดสัญญาณกราวน์อิน(ไฟต่ำ), ชุดสัญญาณกราวน์เอ้าท์(ไฟสูง)
ถามเพิ่มอีกนิด
แล้วกราวน์ไส้หลอดนี้มันต้องเชื่อมกับกราวน์ชุดอื่นด้วยมั้ย ผมมงง เพราะจริงๆ ไส้หลอดมันก็ไม่ได้มีแยกทางไหนขั้วไหน เอาacจุดยังได้เลย
ยิ่งถ้าลองเอาacจุดมันก็ไม่มีเส้นศักย์0ด้วยสิ
Comment
-
9 ขา ปกติผมลอย...
ถ้าลงกราวน์
ผมจะใช้ชุดไฟแบบ1/2
หลอด12=12.6 / 4=6.3/9=0/5=6.3
หลอด6=6.3/ 4=3.15/9=0/5=3.15
---------
ผมมองน่าจะลงไฟสูงนะLast edited by tiger X-fi; 7 May 2014, 14:04:29.
Comment
Comment