Announcement

Collapse
No announcement yet.

ทฤษฎี ดิจิตอล (01) ไม่มีความแตกต่าง ..ด้านเสียง...ชัวร์หรือมั่วนิ่ม

Collapse
X
 
  • Filter
  • Time
  • Show
Clear All
new posts

  • คือเห็นคุยกันเรื่องดิจิตอลฯอะไรๆนี่ ที่เคยเห็นก็เป็นแค่สัญญานเข้าตัวซับหรือAVR มันมีแบบ
    coaxเข้าซับแล้วส่งcoaxแต่ละช่องเข้าsat โดยแต่ละตัวมีdacกับแอมป์แยกมั้ยครับ เผื่อจะได้ทดสอบทฤษฎีที่ว่า

    Comment


    • ถ้าลองแล้วต้องลองตามเงื่อนไขนะครับ

      ถ้าทุกคนลองตามเงื่อนไขตามที่บอก

      แล้วค่อยมายืนยันครับ ว่าต่างหรือว่าไม่ต่าง

      Comment


      • = =" พาดพิง ว่าจะไม่พิมพ์อะไรเพิ่มแล้ว นอกจากแซว
        ยุการทดลองไปสองสามอย่าง ไม่มีคนทำตามสักที
        ______

        เรื่องต่อกลับเฟส ผมพอหาสมมุติฐานอธิบายเบื้องต้นไว้ได้แล้วอยู่โพสต์แรกของผมกระทู้นี้แหล่ะ
        โดยเอาเรื่องbiphase mark code มาช่วยอธิบาย เพราะระบบนี้ต่อกลับเฟส ข้อมูลในช่วงแรก เมื่อรับแล้วจะมีการแยกclockกับdataออกจากกัน
        dataที่แยกออกมาได้รอบหลัง จะไม่กลับเฟส เหตุลผลกลับไปอ่านโพสต์แรกของผมล่ะกัน

        ตอนผมทดลอง ผมใช้แค่ คอมทำดิจิตอลเอาท์ dac หูฟัง
        พอกลับเฟส ขาสัญญาณจะเชื่อมกับกราวน์ของระบบdac แต่dacนั้นมันไม่มีกราวน์ดินน่ะ ส่วนคอมมีกราวน์ดินเป็นกราวน์กระถาง สัญญาณที่เข้าไปในระบบกราวน์จะมีปัญหาอะไรอีก???
        ตรงนี้ที่ผมยังมึนๆอธิบายต่อไม่ได้ เพื่อใครจะพยายามทำความเข้าใจcondition
        อันนี้คุณsskทักมา ผมก็เลยต้องกลับไปหาคำอธิบายใหม่ ก็ยังไม่เจอ

        เสียงต่างไม่ต่าง อันนี้ไม่ชัวร์ ฟังคร่าวๆแล้วคิดว่าต่าง แต่ไม่ได้เทสละเอียด
        ก็เลยไม่มั่นใจ ตอนนี้ก็ลองไม่ได้อยู่ คอมเครื่องหลักเน่าอยู่

        ____

        ถ้าทดลองแบบอื่นผมจะไม่ชี้นำผลการทดลองเท่าไร สำหรับกระทู้ที่มีแววเถียงกันแบบนี้
        กลัวจะชี้นำแล้วเกิด placebo effect
        แต่การทดลองนี้ที่บอกผล เพราะมันเห็นชัดเจน
        คือออกมาเป็นเพลงปรกติ กับออกมาผิดปรกติ
        หูผมคงไม่เพี้ยนนักขนาดฟังอะไรที่ไม่เป็นเพลงออกมาเป็นเพลงได้
        (แต่คนอื่นทำเพิ่มก็ดีน่ะ ทำอยู่คนเดียวเหมือนบ้าเลย)

        ____

        อยากจะยุให้ลองโหดอีกหลายแบบแต่ยุไปไม่มีคนลอง
        condition ที่คุณkeang กัยคุณ tugy บอกมา เป็นผมจะยุโหดกว่านั้น

        ตราบเท่าที่ ทางsource เซ็ตแล้วว่าทำ passthrought ไม่ปรุงแต่งอะไรเพิ่มเติมระหว่างข้อมูลเป็นดิจิตอล(reencode resampling software dsp และอื่นๆ ที่ผมไม่รู้อีก) หรือ ถ้าทำ ก็ต้องทำให้เหมือนกันสองรอบ (เพราะถ้าคิดในกรอบของแค่ 01 เพลงเดิม ปรุงแต่งเพิ่มตั้งแต่ภาคดิจิตอลให้เท่ากัน ข้อมูลที่ปรุงเสร็จก็ควรจะออกมาเหมือนกัน ถ้าเซ็ตให้ปรุงเท่ากัน
        ปัญหาคือบางที sourceมันคนละชนิดกัน เราเลยไม่รู้ว่ามันปรุงมาเท่ากันหรือเปล่าถ้าให้มันปรุงมา)

        จะแก้ภาคสัญญาณดิจิตอลตรงไหน หรือภาคจ่ายไฟให้ดิจิตอลตรงไหน
        (ถ้าคิดในกรอบ01แบบเดิม)มันไม่ควรจะมีความต่างกันใช่มั้ย

        ผมมองเป็นวงจรยังงี้
        ตัวส่งดิจิตอล >>> ตัวรับ ดิจิตอล >>> ตัวแปลงดิจิตอลเป็นอนาล็อค(dac) ภาคดิจิตอล
        >>>ตัวแปลงดิจิตอลเป็นอนาล็อค(dac)ภาคอนาล็อค>>วงจรภาคอนาล็อคที่เหลือ

        บรรทัดแรกที่เป็นภาคดิจิตอลลล้วนๆ ลองเล่นกับมันตรงไหนก็ได้ ภาคจ่ายไฟให้มันก็ได้
        สายผมก็มองเป็น แค่ทางเดินในวงจร เพียงแต่มันมาอยู่ข้างนอก และก็ยาวหน่อย
        เลยมีปัญหาในแบบของมันเพิ่มเข้ามา

        Comment


        • ต้องให้ตอบเป็นประเด็นจะรู้เรื่องใหมเนี่

          - กระแสทำให้ความถี่เปลี่ยน
          เรื่องความต่างศักย์ทำให้เกิดกระแสไหล อันนี้มันเบสิคของอิเลคทรอนิคส์นา ใครเรียนพื้นฐานอิเลคทรอนิคส์มาบ้างก็รู้อยู่แล้ว
          แต่เรื่องกระแสไฟ5mAได้ความถี่1K พอกระแสเปลี่ยนเป็น20mA ความถี่กลายเป็น100K แบบนี้ยังไม่เคยเจอ

          ผมไม่ได้บอกว่ากระแสทำให้ความถี่เปลี่ยนอ่านดีๆนะครับ ผมบอกว่าความถี่ที่สูงขึ้นทำให้ค่าพลังงานในระบบสูงขึ้น ทำให้ต้องลดกระแสเมื่อความถี่สูงถ้าไม่อยากให้ IC ใหม้ ไม่ใช้กระแสเปลี่ยนแล้วความถี่เปลี่ยนเอง มันเรื่องข้อจำกัดของระบบ และกระแสสัมพันธ์กับ BIT 1 ซึ่งมันจะแกว่งไปมาเอามาใช้อ้างอิงข้อมูลไมได่

          - DAC ทำให้สายกับPlayerเสียงเปลี่ยน
          ประเด็นนี้ พยายามอ่านกี่หนก็ยังไม่เคยรู้สึกเคลียสักที
          เปลี่ยนPlayerซึ่งเป้นตัวหน้าสุด แล้วเสียงเปลี่ยน ได้รับคำตอบว่า Playerไม่เกี่ยว แต่เป็นเพราะDACซึ่งต่ออยู่ข้างหลังนู้น

          อ่านเรื่องการ SAMPLING ให้ดีๆ ว่ามันคือการประมาณค่าเป็นขั้นตอนปรกติของ DA ที่ไม่เป็นเชิงเส้น มันสุ่มความต่อเนื่องของช่วงข้อมูลออกมา ซึ่งก็บอกแล้วว่าไม่เป๊ะ มันจะต่างกันไปในแต่ละครั้ง ถ้ายังง แสดงว่าคุณฟังความต่างของการสุ่มค่าไม่ออก เข้าใจใหมครับ


          เรื่องแสงสีหลอดไฟ
          ถ้าสังเกตุสเปคของหลอดไฟแต่ละยี่ห้อแต่ละรุ่น
          เค้าจะมีระบุไว้ นอกจากเรื่องแสงdaylight warmlight ยังมีระบุอุณหภูมิแสงด้วย ซึ่งแต่ละยี่ห้อก็มีแตกต่างกันไปบ้าง
          ผมว่า หลายคนที่ได้ลองหลอดไฟหลายๆยี่ห้อหลายๆรุ่น ตอนลองน่าจะรู้สึกหลอดไหนแสงขาวกว่ากัน สว่างกว่ากัน

          ฝุ่นไปจับที่ตัวหลอด เขม่าไปจับที่ตัวหลอด คราบไขมันไปจับที่ตัวหลอด ทั้งความสว่างทั้งอุณหภูมิแสงมันก็เปลี่ยนไปจากเดิม
          พวกนี้ผมว่าคนใช้ทั่วไปตามบ้านเค้าก็รู้กันอยู่แล้ว เพียงแต่เค้าใช้คำแบบทั่วไป หลอดมันมืดกว่าเดิม ไม่สว่างเหมือนตอนแรก


          เหมือนไฟหน้ารถ โคมเหลืองขึ้นทุกวัน ผ่านไป4-5เดือนเจ้าของเค้าก็รู้ ที่เค้าไม่ได้บอกไม่ได้ทักเพราะคิดว่าใครๆก็รู้อยู่แล้วะมั้ง

          ในห้องมีหลอดไฟอยู่9หลอด อายุใช้งานแต่ละหลอดก็ไม่เท่ากัน ปัจจุบันยังเหลือหลอดไฟอายุใช้งาน4ปีกว่าอยู่2หลอด
          ลูกค้าบางคนที่ไม่ชอบสว่างมาก เค้าก็ชอบเลือกที่นั่งในจุดที่เป็นหลอดไฟเก่าอายุ4ปีกว่า ไม่ต้องไปบอกเค้าก็รู้เอง

          ยิ่งถ้าเป็นกลุ่มที่เล่นเรื่องกล้องเรื่องภาพ ผมว่ากลุ่มนี้เค้ายิ่งรู้ลึกเรื่องแสงเรื่องสีกว่าผมอีกเยอะ พวกเล่นกล้องนี่มีมากี่ปีแล้วหว่า

          ผมเป็นพวกแปลกคนละมั้ง ที่ไม่กล้าบอกคนอื่นว่าแสงไม่เท่ากัน เพราะ เชื่อว่าคนอื่นก็รู้อยู่แล้ว


          สายhdmi
          ผมว่า เค้าไม่ได้ทดสอบเปรียบเทียบภาพ เมื่อ6เดือนที่แล้ว กับ วันนี้
          ที่เห็นเค้าลองกัน คือ แสงและภาพที่อยู่ในช่วงเวลาขณะลองเปลี่ยนสายกัน ใช้เวลลองทั้งหมด20-30นาที เต็มที่ก็ไม่เกิน2ชั่วโมง

          ดูภาพจากสายเส้นเดิม ถอดสายเก่าออก เปลี่ยนสายเส้นใหม่เข้าไป แล้วก็เปิดดู ถ้าเห็นว่าต่างก็บอกว่าต่าง ไม่ต่างก็บอกไม่ต่าง

          ยังไม่เคยเห็นใครลองแบบมาราธอน
          เปิดดูเส้นเดิมวันนี้ แล้วก็ปิดยาว รอข้ามวัน รอข้ามสัปดาห์ แล้วค่อยเปิดเพื่อเอาเส้นใหม่มาต่อแล้วดูเทียบย้อนอดีต ข้ามวัน ข้ามสัปดาห์

          อันนี้แสดงว่ายังแยกสีจากแสงไฟบ้านไม่ออก ถึงมาพูดแบบนี้
          ความสว่างและอุณหภูมิสี เป็นความต่างของสารเรืองแสงชนิดนั้นๆที่ผสมออกมา บอกได้เลยว่ามันเกิดจากการผสม แม่สี 7 สีตามแถบเสปคตรัม ( แถบรุ้ง )
          เมื่อมันเสื่อมมันจะมืดลงถูกแต่ไม่หมด เพราะมันให้ค่าการมองเห็นสีไต้แสงไฟผิดเพี้ยนไป ในอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ถึงต้องมีการ CHECK GAMMA ของจอเรื่อยๆไง ไม่งั้นสีมันจะเพี้ยนได้ ถ้าเอาชาร์จสีมาวางแล้วนั่งอ่านทุกสัปดาห์สีมันจะเพี้ยนแบบสุ่มคือมันจะลดสีนั้นสีนี้ลงบ้าง ถ้าบอกว่าแยกไดนามิกคอนทราสซึ่งยากกว่ามากได้เรื่องแค่นี้จิ๊บจ๊อย เพราะภาพที่แสดงมันมีการเปลี่ยนแปลงสีอย่างต่อเนื่อง แต่การเปลี่ยนแปลงทางเดียวแบบนี้สังเกตุง่ายกว่าเห็นๆ ผมถึงบอกว่ามันเป็นเรื่องอุปาทานมากกว่า ถ้ายังไม่เคยพิสูจน์ตัวเองในเรื่องนี้นะครับ

          Comment


          • ท่านเสือ ไม่สามารถเข้ากระทู้นี้ได้ ได้เปิดกระทู้ใหม่
            ใครสนใจก็สามารถติดตามได้ > จับผี...อะไรคือความแตกต่างด้านเสียง.. ส่วนของระบบดิจิตอล


            ---------------------------------------------------------


            เรื่องกระแส เปิดประเด็นโดยคุณHiddenDragon
            > หน้า22 โพส#429
            Originally posted by HiddenDragon
            ผมว่ามันมีความต่างออกเป็น 2 ลักษณะ
            สัญญาน
            กับ
            กระเส
            สัญญานมาครบ แต่กระแสต่างแรง มากน้อย ต่างกัน เป็นไปได้ไหม ที่กระแสเป็นตัวทำให้เสียงเปลี่ยน?
            > หน้า22 โพส#430
            Originally posted by keang
            วัดศักย์ไฟที่หัวสายกับปลายสาย อาจไม่ดรอปโวลท์เลย ดรอปเต็มที่ก็มิลลิโวลท์
            แต่กระแสยังไม่เคยมีใครวัด ซึ่งสโคปก็วัดค่านี้ไม่ได้ซะด้วย

            หน้าตัดของลวดตัวนำขนาดใกล้เคียงกัน จะตัวนำดีไม่ดี ศักย์ไฟก็ต่างกันแค่มิลลิโวลท์
            แต่ตัวนำที่ดีจะนำกระแสได้ดีกว่า กระแสเดินทางได้เร็วกว่า

            ผมว่ามุมมองนี่น่าสนใจ เพราะ สัญญาณทุกชนิดที่ผ่านสายตัวกลาง ก็คือ สัญญาณไฟฟ้า ที่มีศักย์ไฟ ที่มีกระแส เหมือนๆกัน

            โดยส่วนตัว คิดว่า อย่าลืมเรื่องค่าการตอบสนองช่วงความถี่ของตัวนำในสายด้วย
            เพราะ ตัวนำแต่ละชนิดจะมีค่าตัวคูณความเร็วที่ต่างกัน ทำให้ตัวนำแต่ละชนิดเหมาะกับความถี่ต่างๆไม่เหมือนกัน
            ( ค่าตัวคูณความเร็ว คิดจาก ค่าตัวคูณความเร็วของโลหะตัวนำ, อิมพิแดนซ์, เวลา )
            ซึ่งถ้าค่าที่ได้ไม่สัมพันธ์กัน จะส่งผลย้อนกลับไปหาตัวส่งสัญญาณต้นทางด้วย
            ( อ่านเพิ่มเติมเรื่องค่าแมชชิ่ง, ค่าSWR ของระบบสายส่ง ของระบบวิทยุสื่อสารก็ได้ )

            ค่าตัวคูณความเร็วของตัวนำต่างๆ ถ้าพูดในแง่ของฟิสิกส์จะเป็นเรื่องอัตราเร่งของอิเลคตรอน ที่คุณmilestoneเคยพูดไว้ในกระทู้hdmi
            > หน้า22 โพส#431
            Originally posted by ssk
            กระแสไม่มีผลหรอกครับ กระแสต่าง ความถี่ก็ต่างตามไปด้วยน่ะครับ มันจะมีผลเรื่องความเร็ว
            ทำไมสายห่วยมันส่งข้อมูลได้ช้าเพราะ
            1. มันส่งแล้วหายมันเลยต้องขอเรียกข้อมูลซ้ำอยู่เรื่อยน่ะครับ
            2. ในช่วงที่อุปกรณ์เริ่มเชื่อมต่อกัน ก่อนส่งข้อมูลมันจะทดลองส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงสุดและลดลงมาเรื่อยๆจน CLOCK SYN มันตรงกันมันถึงจะเริ่มส่งข้อมูลน่ะครับ ทีนี้ DIGITAL มันส่งแบบไม่สัมพันธ์เวลา มันก็ส่งได้เยอะกว่าจะ ERROR จนทำงานไม่ได้บางทีพักนึง หรือ สัญญาณป้อนกลับไม่ส่งมานานๆระบบมันจะตัดแล้วแจ้วว่ามีปัญหา แบบที่เราเห็นมันฟ้องในคอมนั่นล่ะครับ ผมถึงบอกว่าเรื่อง JITTER มันไม่มีผลหรอก ถ้ามีจนมันทำงานไม่ได้มันก็ฟ้องแล้วหยุดทำงานไป
            ส่วนเรื่องเสียง ก็อย่างที่บอก มันเพี้ยนได้ในช่วง RESAMPLING ซึ่งค่าสุ่มมันบางทีก็ไม่ตรงกันเป๊ะๆ 100% แต่อาจผิดพลาดได้ 1 ใน 40000 ( 44.1 KHZ ) ยิ่งถ้าฟังด้วยหูผ่าน AMP น่ะ มันก็เพี้ยนจาก AMP มาด้วย AMP ดีที่สุดก็เพี้ยน 1 ใน 1000 อยู่แล้ว ลองเปิด power เฉยๆ ไม่ต่ออะไรเลยก็สังเกตุเสียงรบกวนได้เลยว่ามันไม่นิ่ง มันถึงบอกว่าเถียงกันไม่จบอ้างอิงยาก

            ที่ผมอธิบายมาต้นๆก็แบบนี้ครับ คือถ้าสัญญาณมาครบ ก่อนเข้า DA มันไม่เพี้ยน แต่มันไปเพี้ยนที่ DA ลงมา คือไปเพี้ยนในกระบวนการแปรข้อมูลและแสดงผล ต่อให้ใช้สายชนิดเดียวกันจริงๆคู่นึงเสียงก็ยังต่างได้เลย ถ้าฟังผ่านลำโพงน่ะครับ เพราะแบบนี้สาย DIGITAL ผมถึงใช้กลางๆหรือถูกถ้าคุณภาพสายเท่าที่ดูมันไม่แย่มาก แต่สาย ANALOG ใช้ดีที่สุดเท่าที่จะเงินจะอำนวย

            สาย DIGITAL ถ้าวัด OUTPUT ได้ตรง และ ส่งข้อมูลได้เร็วพอที่จะประมวลผลได้ต่อเนื่องสายนั้นก็ใช้งานได้
            > หน้า22 โพส#432
            Originally posted by keang
            " กระแสไม่มีผลหรอกครับ กระแสต่าง ความถี่ก็ต่างตามไปด้วยน่ะครับ "
            กระแส กับ ความถี่
            ผมนึกภาพไม่ออก มันไปเกี่ยวข้องกันตรงไหน
            ความถี่ของอะไรครับ ที่ว่าเปลี่ยนแปลงตามกระแส

            รบกวนช่วยอธิบายรายละเอียดในส่วนนี้เพิ่มเติมด้วยครับ
            ถ้ามีข้อมูลให้ดูอ้างอิง สำหรับตามไปศึกษาเพิ่มเติมด้วย จะขอบคุณมากเลย
            > หน้า22 โพส#435
            Originally posted by ssk
            วันนี้งานยุ่งๆเอา เรื่องกระแส กับความถี่ก่อนนะครับ และเรื่อง RESAMPLING ก่อนนะครับ เรื่องอื่นยาวขอพักหน่อยแล้วจะอธิบายให้ฟังซ้ำอีกครั้งอย่างละเอียด และช่วยรบกวนตอบคำถามเดิมคำถามนึงสำหรับคนที่แยกความแตกต่างของสาย HDMI ได้นะครับ
            1 เรื่องกระแส กับความถี่นะครับ ที่บอกว่ากระแสไม่เกี่ยวเพราะการใหลของไฟฟ้าจะมีแรงดันและกระแสเหมือนน้ำ คือมีทั้งแรงดันและปริมาณ ทีนี้การส่ง DIGITAL มันส่งด้วยการเปิดและปิด ถ้าเปิดถึงจะมีกระแสใหลถูกใหม ทีนี้ถ้าบางบล็อคของข้อมูลมันมี Bit 1 มากกระแสมันจะใหลมาก กว่าตัวที่มี BIT 1 น้อยกว่า ถ้าเอากระแสเป็นที่ตั้ง มันจะแกว่งไปมาตลอดเวลา ผู้คิดค้นถึงใช้การจับความแตกต่างของแรงดันแทนเพราะแรงดันมันคงที่หรือเปลี่ยนแปลงไม่มากจนทำให้การส่งข้อมูลมีปัญหา ผมถึงบอกว่ากระแสไม่เกี่ยว แต่ความถี่เกียว เพราะยิ่งความถี่สูง การเปิดปิดเร็ว มันทำให้ TRASISTER ทำงานหนักมันถึงต้องลดแรงดันและกระแสลงมา และการส่งข้อมูล DIGITAL มันต้องใช้ความถี่ในการแบ่งช่องข้อมูล ความถี่สูงช่องข้อมูลจะมากมันก็ส่งข้อมูลได้มากตาม หลักการส่งข้อมูล DIGITAL มันประบุกต์มาจากการส่งรหัสมอส ที่ได้รับการยอมรับแล้วว่าแม่นยำที่สุดทั้งที่มีวิทยุแล้วก็ตามเพราะคำพูดมันเพี้ยนได้แต่รหัสมันไม่เพี้ยน เพราะฉนั้น คนส่งคนรับก็จะคอยส่งรหัส จุด และ ขีดที่แสดงแทนข้อมูล ทั้ง 2 คนต้องดูนาฬิกาว่าจะเคาะทุกๆ 1 วินาที หรือ 1 นาที ถ้าเคาะ 1 วิ มันเร็วกว่า 1 นาทีใช่ใหม แต่นาฬิกาคนรับมันไม่มเข็มวิ มีแต่เข็มนาที มันก้ต้องตั้งตามคนรับ ไม่งั้นมันจะส่งข้อมูลรู้เรื่องได้ไง ถูกใหม อันนี้จบ
            > หน้า22 โพส#439
            Originally posted by keang
            อ่านแล้วก็ยังสับสนเหมือนเดิม

            - กระแสทำให้ความถี่เปลี่ยน
            เรื่องความต่างศักย์ทำให้เกิดกระแสไหล อันนี้มันเบสิคของอิเลคทรอนิคส์นา ใครเรียนพื้นฐานอิเลคทรอนิคส์มาบ้างก็รู้อยู่แล้ว
            แต่เรื่องกระแสไฟ5mAได้ความถี่1K พอกระแสเปลี่ยนเป็น20mA ความถี่กลายเป็น100K แบบนี้ยังไม่เคยเจอ
            > หน้า23 โพส#454
            Originally posted by ssk
            ต้องให้ตอบเป็นประเด็นจะรู้เรื่องใหมเนี่

            - กระแสทำให้ความถี่เปลี่ยน
            เรื่องความต่างศักย์ทำให้เกิดกระแสไหล อันนี้มันเบสิคของอิเลคทรอนิคส์นา ใครเรียนพื้นฐานอิเลคทรอนิคส์มาบ้างก็รู้อยู่แล้ว
            แต่เรื่องกระแสไฟ5mAได้ความถี่1K พอกระแสเปลี่ยนเป็น20mA ความถี่กลายเป็น100K แบบนี้ยังไม่เคยเจอ

            ผมไม่ได้บอกว่ากระแสทำให้ความถี่เปลี่ยนอ่านดีๆนะครับ ผมบอกว่าความถี่ที่สูงขึ้นทำให้ค่าพลังงานในระบบสูงขึ้น ทำให้ต้องลดกระแสเมื่อความถี่สูงถ้าไม่อยากให้ IC ใหม้ ไม่ใช้กระแสเปลี่ยนแล้วความถี่เปลี่ยนเอง มันเรื่องข้อจำกัดของระบบ และกระแสสัมพันธ์กับ BIT 1 ซึ่งมันจะแกว่งไปมาเอามาใช้อ้างอิงข้อมูลไมได่
            ที่คุณsskได้อธิบายมุมมองของเค้าในโพสล่าสุด (โพส#454)
            ผมจับใจใจความได้ว่า คุณsskจะสื่อว่า เพราะกระแสไม่นิ่ง ผู้คิดค้นระบบโลจิคเลยใช้โวลท์(ศักย์ไฟ)แทนกระแส

            ผมพยายามทำความเข้าใจหลายครั้ง แต่ก็ยังรู้สึกเหมือนเดิม คือ ไม่เกี่ยวกับเรื่อง"กระแสเปลี่ยน ทำให้ความถี่เปลี่ยน"
            (แบบที่คุณsskเคยโพสไว้ที่หน้า22โพส#431)


            คุณHiddenDragonและผม รู้อยู่แล้วว่า
            ผู้คิดค้นระบบโลจิค เค้าใช้โวลท์(ศักย์ไฟ) เพื่อดีเทคโลจิค0โลจิค1 และ ไม่เคยคิดว่าเค้าใช้ค่ากระแสเพื่อดีเทคโลจิค0โลจิค1

            แต่ที่คุณHiddenDragonและผม เกิดความสงสัยว่า กระแสที่เกิดขึ้นเป็นตัวแปรตัวหนึ่งที่ทำให้เสียงมีความแตกต่างขึ้น
            เพราะ โวลท์จะเกิดขึ้นได้ เพราะ เมื่อมีอิเลคตรอนเคลื่อนที่ จะทำให้เกิดโวลท์และกระแสขึ้น


            ---------------------------------------------------------


            จากคำแนะนำที่คุณsskบอกไว้ที่ หน้า22 โพส#435

            ประโยคหนึ่งของข้อความที่คุณsskโพสไว้
            Originally posted by ssk
            การส่ง DIGITAL มันส่งด้วยการเปิดและปิด ถ้าเปิดถึงจะมีกระแสใหลถูกใหม
            ทีนี้ถ้าบางบล็อคของข้อมูลมันมี Bit 1 มากกระแสมันจะใหลมากกว่าตัวที่มี BIT 1 น้อยกว่า
            ถ้าเอากระแสเป็นที่ตั้ง มันจะแกว่งไปมาตลอดเวลา
            ผมพบอะไรอย่างนึงที่เกี่ยวข้องกับเรื่องกระแส ที่คุณsskกับผมรับรู้และเห็นตรงกัน ว่า มันมีการเกิดขึ้นจริง
            ( เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องลึกลับซับซ้อนอะไร เรียกว่าเบสิคพื้นฐานด้วยซ้ำไป เพราะมีอยู่ในพื้นฐานอิเลคทรอนิคส์เบื้องต้น , ไฟฟ้าฟิสิกส์เบื้องต้น )

            ซึ่งถ้านำไปขยายผล + เรื่องค่าสัมประสิทธิ์ความเร็วของตัวนำ (ค่าตัวคูณความเร็วของตัวนำที่เกี่ยวข้องกับความถี่)
            จะได้คำตอบเรื่องตัวแปรตัวหนึ่ง ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลต่างทางเสียงได้แบบหนึ่งแล้ว
            Last edited by keang; 11 Apr 2011, 12:15:05.

            Comment


            • ส่วนเรื่องอัตราความเร็วในการส่งข้อมูลนั้นสายที่ดีมีความต้านทานน้อยมันจะส่งข้อมูลได้มากเพราะยิ่งส่งข้อมูลมากๆความถี่มันจะสุูง มันต้องลดไฟ +VCC หรือ AMPLITUDE ลงไม่งั้นมันจะต้องใช้พลังงานสูงขึ้นอุปกรณ์อาจทนไม่ใหว ถ้าสายความต้านทานสูงมันจะ DROP ลงจน MISS ตามกฏแรงดันตกคร่อมของ OHM ครับ ง่ายๆ ส่วนความเร็วสัญญาณนั้นเท่ากันหมดครับคือเกือบๆเท่าแสงอยู่แล้วไม่ว่าจะสายอะไรบนตัวกลางใหนๆ ทองแดง หรือเงิน ทั้งหมดมีเท่านี้
              แล้วทำไมไม่เอาอันนี้มาด้วยจะได้ไม่งง จาก หน้า 5 ที่ผมเริ่มเรื่องนี้ เพราะผมเริ่ม จากอันนี้ แล้วจึงมายังเรื่อง หลังๆ และอธิบายใหม่ซ้ำอีกครังอย่างละเอียด เพราะมันกระจัดกระจาย และบางทีผมเองยังสับสนเลยเพราะพยายามนึกและเล่าให้เข้าใจง่ายๆกันก่อน อย่างนี้

              1 เรื่องกระแส กับความถี่นะครับ ที่บอกว่ากระแสไม่เกี่ยวเพราะการใหลของไฟฟ้าจะมีแรงดันและกระแสเหมือนน้ำ คือมีทั้งแรงดันและปริมาณ ทีนี้การส่ง DIGITAL มันส่งด้วยการเปิดและปิด ถ้าเปิดถึงจะมีกระแสใหลถูกใหม ทีนี้ถ้าบางบล็อคของข้อมูลมันมี Bit 1 มากกระแสมันจะใหลมาก กว่าตัวที่มี BIT 1 น้อยกว่า ถ้าเอากระแสเป็นที่ตั้ง มันจะแกว่งไปมาตลอดเวลา ผู้คิดค้นถึงใช้การจับความแตกต่างของแรงดันแทนเพราะแรงดันมันคงที่หรือเปลี่ยนแปลงไม่มากจนทำให้การส่งข้อมูลมีปัญหา ผมถึงบอกว่ากระแสไม่เกี่ยว แต่ความถี่เกียว เพราะยิ่งความถี่สูง การเปิดปิดเร็ว มันทำให้ TRASISTER ทำงานหนักมันถึงต้องลดแรงดันและกระแสลงมา และการส่งข้อมูล DIGITAL มันต้องใช้ความถี่ในการแบ่งช่องข้อมูล ความถี่สูงช่องข้อมูลจะมากมันก็ส่งข้อมูลได้มากตาม
              ผมเล่าใหม่โดยอธิบายว่า ค่ากระแสหรือปริมาณไฟฟ้า สัมพันธ์กับความถี่ เพราเมื่อเราเปิด-ปิดเร็วขึ้นเวลาในการส่งกระแสไฟฟ้าจะสั้นลง ปริมาณของกระแสมันจะลดลงตาม ผมถึงพูดว่ากระแสเปลี่ยนความถี่มันจะเปลี่ยน เนื่องจากตัวระบบเอง สัมพันกันเสมอ เหมือนเปิดน้ำแล้วเอามือไปปิดปากสายยางเป็นช่วงๆ ว่าน้ำมันจะไปทีละนิด และ อธิบายเพิ่มด้วยว่า กระแสยังอิงเรื่อง BIT 1 ซึ่งเป็นสถานะเปิด ถ้าเอามิเตอร์ไฟจิ้ม ค่ามันจะแกว่งไปมาตามช่วงข้อมูลที่มี BIT 1 มากหรือน้อย เพราะไม่เปิดสวิทช์ จะมีกระแสในสายได้ยังไง และได้อธิบายเรื่องความถี่เพิ่มเข้าไปด้วยแล้ว

              ซึ่งถ้ายังง ก็ลองอ่านซ้ำอีกทีเพราะผมได้อธิบายอย่างละเอียดถึงความสัมพันธ์ของกระแส ความถี่ และ BIT 1 ไว้ครบถ้วนแล้ว
              และจะได้ข้ามไปคุยเรื่องหลักการส่งข้อมูลที่ผมแย้งว่า JITTER ไม่ใช่เรื่องที่ทำให้เกิดปัญหาอะไรมากมาย

              ไว้พรุ่งนี้พักหายเหนื่อยจะเสนอการทดลองง่ายๆที่ไครก็ทำได้อีกทีนะครับ จะได้โหวตได้สนุกหน่อย
              Last edited by ssk; 11 Apr 2011, 13:56:12.

              Comment


              • " เพราะไม่เปิดสวิทช์ จะมีกระแสในสายได้ยังไง "
                โลจิค0 ไม่ได้หมายถึง ปิดสวิทช์น่ะครับ เค้าหมายถึง ศักย์ไฟมันไม่สูงเท่ากับที่โลจิค1

                เพราะ คำว่า "โลจิค0" "ปิดสวิทช์" เป็นแค่คำเรียกแบบหยาบๆ (ให้คนที่เรียนอิเลคทรอนิคส์พื้นฐาน ดิจิตอลพื้นฐานใช้เรียกกัน)
                ใช้สำหรับแทนค่า ศักย์ไฟในสถานะต่ำกว่าLogic1 เช่น
                - โลจิค0 = 0.000001-0.3โวลท์
                - โลจิค1 = 0.7-1.0โวลท์

                ถ้ามีศักย์ไฟต่างกันเพียงแค่ 0.00000000000000000000000001โวลท์ = มีกระแสไหล มีอิเลคตรอนเคลื่อนที่

                ถ้าศักย์ไฟ = 0.0000000000000000000000000โวลท์ หรือ ไม่มีความต่างศักย์เลย
                แบบนี้สิครับถึงจะเรียกว่าปิดสวิทช์ ไม่มีกระแสไหล ไม่มีอิเลคตรอนเคลื่อนที

                ตราบใดที่ระบบกราวน์ของเครื่อง ยังไม่ใช่ 0.0000000000000000000000000โวลท์ จะมีกระแสไหลเป็นแบคกราวน์ตลอดเวลา
                และถ้าตัวเครื่องไม่มีการแยกระบบกราวน์ต่างๆออกจากกัน เช่น กราวน์สัญญาณออกจากกราวน์ไฟออกจากกราวน์แท่นเครื่อง จะเจอเรื่องนี้เต็มๆ

                แม้แต่สายสัญญาณก็เถอะ
                สมมุติว่า เครื่องต้นทางและเครื่องปลายทางทำได้ตามอุดมคติจริง ที่กราวน์เป็น0.000000000000000000000โวลท์
                แต่พอเอาสายมาต่อเชื่อมเครื่องเข้าหากัน และ เจอสภาพสนามไฟฟ้าภายนอกรบกวน
                จากศักย์ไฟ 0.000000000000000000000โวลท์ จะกลายเป็นมากกว่า 0.000000000000000000001โวลท์ทันที
                พอศักย์ไฟเปลี่ยน ผลที่ตามมาก็คือ มีกระแสไหลตลอดเวลา
                และยังมีของแถมด้วย คือ
                เครื่องต้นทางและเครื่องปลายทาง ศักย์ไฟของขั้วกราวน์แท่นเครื่อง กราวน์ไฟ กราวน์สัญญาณ จะกลายเป็นมากกว่า 0.000000000000000000001โวลท์ ตามไปด้วย
                Last edited by keang; 11 Apr 2011, 14:41:53.

                Comment


                • Originally posted by ssk
                  ส่วนเรื่องอัตราความเร็วในการส่งข้อมูลนั้นสายที่ดีมีความต้านทานน้อยมันจะส่งข้อมูลได้มากเพราะยิ่งส่งข้อมูลมากๆความถี่มันจะสุูง มันต้องลดไฟ +VCC หรือ AMPLITUDE ลงไม่งั้นมันจะต้องใช้พลังงานสูงขึ้นอุปกรณ์อาจทนไม่ใหว ถ้าสายความต้านทานสูงมันจะ DROP ลงจน MISS ตามกฏแรงดันตกคร่อมของ OHM ครับ ง่ายๆ ส่วนความเร็วสัญญาณนั้นเท่ากันหมดครับคือเกือบๆเท่าแสงอยู่แล้วไม่ว่าจะสายอะไรบนตัวกลางใหนๆ ทองแดง หรือเงิน ทั้งหมดมีเท่านี้
                  Originally posted by ssk
                  แล้วทำไมไม่เอาอันนี้มาด้วยจะได้ไม่งง จาก หน้า 5 ที่ผมเริ่มเรื่องนี้ เพราะผมเริ่ม จากอันนี้ แล้วจึงมายังเรื่อง หลังๆ และอธิบายใหม่ซ้ำอีกครังอย่างละเอียด เพราะมันกระจัดกระจาย และบางทีผมเองยังสับสนเลยเพราะพยายามนึกและเล่าให้เข้าใจง่ายๆกันก่อน อย่างนี้
                  คำตอบแรก
                  เพราะ คุณโพสที่หน้า5มันคนละเรื่องกัน และ เนื้อหาไม่ได้เกี่ยวข้องกับที่ผมถามเรื่อง "กระแสเปลี่ยนทำให้ความถี่เปลี่ยน" น่ะสิครับ


                  คำตอบสอง
                  เพราะ ที่คุณยกมาข้างบน มันก็ไม่ใช่อีก
                  "ส่วนเรื่องอัตราความเร็วในการส่งข้อมูลนั้นสายที่ดีมีความต้านทานน้อยมันจะส่งข้อมูลได้มากเพราะยิ่งส่งข้อมูลมากๆความถี่มันจะสุูง มันต้องลดไฟ +VCC หรือ AMPLITUDE ลงไม่งั้นมันจะต้องใช้พลังงานสูงขึ้นอุปกรณ์อาจทนไม่ใหว ถ้าสายความต้านทานสูงมันจะ DROP ลงจน MISS ตามกฏแรงดันตกคร่อมของ OHM ครับ ง่ายๆ "
                  ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่อง"กระแสเปลี่ยนความถี่เปลี่ยน"
                  อย่าลืมว่า ดิจิตอลที่คุยๆกันอยู่นี้ มันมีCLOCKหลักที่ต้องคงที่ มาควบคุมสัญญาณทุกอย่างด้วย
                  ( ผมไม่แน่ใจว่า คุณจะสื่อมันหมายถึงแบนวิดธ์ของข้อมูล แต่ใช้คำว่าความถี่ หรือเปล่าน่ะครับ )

                  "ส่วนความเร็วสัญญาณนั้นเท่ากันหมดครับคือเกือบๆเท่าแสงอยู่แล้วไม่ว่าจะสายอะไรบนตัวกลางใหนๆ ทองแดง หรือเงิน"
                  ตัวนำตัวนึง=1/300ของความเร็วแสง(ถ้าจำไม่ผิดน่ะ) คุณบอกว่าใกล้เคียงกับความเร็วแสง ผมก็คงจบละครับ
                  ( เพราะ แค่ตัวนำตัวเดียวกันแต่ขนาดหน้าตัดของตัวนำไม่เท่ากัน ค่าตัวคูณความเร็วก็ต่างกันแล้ว )
                  ผมละอดสงสัยไม่ได้จริงๆ วงการทหารทำไมไม่ใช้ลวดตากผ้ามาทำสายสัญญาณ ดันทะลึ่งไปใช้ตัวนำราคาสูงๆให้เปลืองงบประมาณทำไม
                  Last edited by keang; 11 Apr 2011, 15:35:13.

                  Comment


                  • แห่มๆเห็นทู้นี้ยาวหลายหน้าจังผมจะมาบอกท่านผู้เสพเสียงว่า"สำหรับผมขอแค่เสียงที่ดังออกมาจากลำโพงฟังรู้เรื่องว่าเป็นเพลงที่เราเปิด ก็เกินพอ ดีกว่าฟังวิทยุ"

                    Comment


                    • แตกต่างยังไงก็ช่างเหอะผมยังเป็นมนุษย์ มิใช่หุ่นยนต์ ถ้าเสียงเพลงมาเป็น 10011011000 ผมคงฟังไม่รู้เรื่องแน่ๆ55555......

                      Comment


                      • Originally posted by xexalskyline View Post
                        อาจจะคนพูดไปละ

                        แต่ 0 1 มันไม่แตกต่างก็จริง แต่คุณภาพสายทำให้มันlossได้นะครับ

                        ระบบส่งสัญญาณดิจิตอลความเร็วสูง โดยเฉพาะHDMIเนี่ย พอมันerrorมันไม่ได้ lost ไปเลยนะ แต่มันจะผิดเพี้ยน

                        สมมุติ ส่งไปเป็นชุด ชุดละ8ตัว(มีบิทนำ1ตัวเป็น9) 1 1 0 1 0 1 1 0 1

                        แต่ฝ่ายรับรับได้เป็น 1 1 0 0 0 1 1 0 1 เงี้ย คุณคิดว่าข้อมูลที่outputออกมาจะเพี้ยนมั้ยล่ะ

                        ลองหาtextbook วิชา data comunication ดูมีสอนเรื่องนี้ด้วย เพิ่งเรียนมาเทอมที่แล้ว ถึงบางอ้อเรื่องHDMIเลย
                        ถ้า Reply นี้เป็นจริง แสดงว่าสายมีผลต่อเสียงครับ เพราะว่าพาสัญญาณ Digital ไปไม่ครบ

                        แต่ว่าท่านทั้งสองอย่าเพิ่งเถียงกันเรื่องสัญญาณไฟฟ้าเลยครับ ถ้าจะลองผมว่าลองกับ Optical จะดีกว่า

                        เพราะเจ้าตัวนี้สัญญาณมัน lost ยาก ตามความเข้าใจของผมนะครับ

                        Comment


                        • เรื่องทฤษฎี พักก่อน จะไปเที่ยว เดี๋ยวหลังสงกรานต์ จะมาอธิบายต่อถ้ามันยังมีคนอยากฟังอยู่นะครับ

                          เอาการทดลองที่เกริ่นไว้ก่อนครับ ผมไม่ทดลองด้วย CD TRANSPORT PASS THROUGHT นะครับ เพราะบางท่านอาจไม่มี เลยให้ทดลงอแบบง่ายๆ ที่น่าจะมีคนทดลองได้เยอะกว่า

                          ใฃ้
                          - สาย USB 2 เส้น
                          - THUMDRIVE ปรกติ 1 ตัว
                          - DAC 1 ตัว
                          - หูฟัง หรือ ลำโพงเอาตามสะดวก แต่หูฟังน่าจะดีกว่า
                          - ไฟล์เพลงที่ชอบ และ ฟังจนชิน และคิดว่าเพลงนี้แหละ ถ้าเพี้ยนจับได้แน่ๆ

                          เอาสาย USB ต่อ THUMDRIVE แล้ว COPY FILE เพลงลงไปเพื่อทดสอบสาย แล้วดูเวลาที่ใช้ COPY FILE ว่าเร็วกว่าเวลาที่ใช้เล่นเพลงที่ฟังหรือไม่
                          เพลงปรกติ ยาว 3-5 นาที การก็อบไฟล์ต้องเร็วกว่าประมาณครึ่งหนึ่งโดยประมาณ สายนั้นถือว่าใช้ได้ และถ้าเพลงเป็นแบบบีบอัด
                          คือมี BIT RATE ต่ำกว่า PCM 1411 KBPS ความเร็วจะต้องลดลงสัมพันธ์กับสัดส่วน
                          อย่าง MP 3 320K จะต้องใฃ้เวลาน้อยลง ราวๆ 4 เท่า กล่าวคือเพลงยาว 4 นาที ต้องก็อปไฟล์เร็วกว่า 30 วินาทีนะครับ

                          ถ้าสายทั้ง 2 เส้นทำได้ ก็เอาสายไปต่อ DAC แล้วฟังเทียบกันดู

                          แล้วมาโหวตกัน

                          การทดลองนี้พิสูจน์เรื่องสายและการส่งข้อมูล DIGITAL ครับ ต้นทางคงที่ ปลายทางคงที่ ข้อมูลคงที่ ผิดกันแค่สาย
                          ทดลองง่ายกว่า PASSTHROUGHT เยอะ เพราะอันนั้นต้องหาเครื่องมาบันทึกค่าของ DIGITAL OUT ก่อน ยุ่งยากมาก
                          Last edited by ssk; 12 Apr 2011, 09:22:06.

                          Comment


                          • Teradak : Teralink X2 ใช้ชิบ Tenor TE7022


                            Twisted Pear Audio : The S/PDIF Transceiver module ใช้ชิบ Wolfson WM8804



                            -------------------------------------------------------------


                            เปรียบเทียบสัญญาณ I2S = "BCK" , "LRCK" และ S/PDIF = "DATA"

                            Teralink X2 TE7022 : BCK - I2S


                            Twisted Pear Audio WM8804 : BCK - I2S



                            -------------------------------------------------------------


                            Teralink X2 TE7022 : LRCK - I2S


                            Twisted Pear Audio WM8804 : LRCK - I2S



                            -------------------------------------------------------------


                            Teralink X2 TE7022 : DATA - S/PDIF


                            Twisted Pear Audio WM8804 : DATA - S/PDIF



                            -------------------------------------------------------------


                            หน้าตาของ JITTER (ผีตัวหนึ่ง ของ สัญญาณดิจิตอล)
                            Last edited by keang; 25 Apr 2011, 19:48:58.

                            Comment


                            • อย่าว่าแต่สายสัญญาณเลยครับ ขนาดสาย AC เปลี่ยนไปแล้วเสียงยังเปลี่ยนเลยครับ

                              เปลี่ยนเต้ารับที่ผนังเสียงก็เปลี่ยน เปลี่ยนสายไฟจากเต้า main เสียงก็เปลี่ยนอีก

                              แต่ว่าอย่าเอามารวมนะครับ เพราะว่าไม่งั้นจะหลงกัน

                              Comment


                              • เปลี่ยนอย่างนึงทุกอย่างก็เปลี่ยน..แต่อยู่ที่ว่าระบบของคุณจะแสดงมันออกมาได้หรือไม่ต่างหากล่ะครับ

                                Comment

                                Working...
                                X