Announcement

Collapse
No announcement yet.

โมให้ดีกันเยอะแล้ว มาม๊ะ....มาโมให้"เจ๊ง"กันดีกว่า

Collapse
X
 
  • Filter
  • Time
  • Show
Clear All
new posts

  • แก้adaptor ของdac
    -เอาแผ่นpcbออก ทำhardwire
    -ตีเกลียวสาย
    -เปลี่ยนทางR,C บางตัว ที่คิดว่าใส่ผิดทางไว้
    -พยายามทำให้ใกล้เคียงความเป็นstar ground ที่สุด
    -diode บัดกรี ขาต่อขากันเลย
    -ตะกั่วจากavbest - -. ประหยัดงบ ของเดิมตะกั่วwbt มันเปลือง
    -ไล่ลำดับค่าc ใหม่ ของเก่ามันมั่ว ตอนนี้เอาค่ามากไว้ก่อน ค่าน้อยไว้หลัง
    -พยายามลดระยะทางเดินลง

    รูป ค่อยเอาลง
    เสียง รอเบิร์นเยอะๆก่อน เพราะกลับทางอะไหล่ ต้องเบิร์นย้อนทางกันอีก
    แต่ตอนนี้มันไม่เหมือนเดิมแน่ๆ
    edit : เสียงหลังเบิร์นไปสักพัก มิติเสียงด้านสูงดีขึ้น เสียงร้องเหมือนขยับมา1-1.5cm เทียบกับหัวอ่ะน่ะ
    ด้านลึก ถอยหลัง พวกเสียงออกหลังหู(กลับเฟส)ดังขึ้น
    ________

    มือซ้ายมือเดียวจับตะกั่วไปด้วย จับอะใหล่ไปด้วยได้ครับ ลองดูๆ
    วิชาหัตถ์ยูไล *0* !! ต้องขึ้นเขา เข้าวัด ไปฝึก

    ______

    เห็น ตามร้านที่เขาละเอียดๆ หน่อย อย่างร้านซ่อมหูฟังเขาที่มียึดตะกั่วกันเลย
    ทำแบบยาจก ก็ใช้ตะกั่วเส้นใหญ่ ดัดให้มันมาจ่อ

    เสริมวิธีให้
    จนปัญญา พอกตะกั่วลองจุดบัดกรีสักจุดของลายทองแดง ใช้อุปกรณ์เขี่ยอะไหล่ไปใกล้ เอาหัวแร้งจี้ตะกั่วให้เหลว แล้วดันอะไหล่ให้เข้าที่
    ถอนหัวแร้งออกก่อน (มือข้างถืออุปกรณ์ยึดอะไหล่ไว้ให้อยู่กับที่ก่อนจนตะกั่วแข็งค่อยถอนมือออก) ที่นี้อะไหล่จะยึดอยู่กับที่ทำให้บัดกรีง่า
    บัดกรีขาที่เหลือตามปรกติ กลับมาดูดตะกั่วจุดแรก(เพราะโดนความร้อนนานเกินตะกั่วจะเริ่มเสีย) แล้วบัดกรีซ้ำเฉพาะจุดนี้

    ปวดตับครับ ทำระวังๆ ใจเย็น มือสะบัดมาที่อะไหล่กระเด็นหาย หรือไปเขี่ยโดนตัวอื่นจะยุ่ง

    VVVVVVVV
    Last edited by ManiacMaew; 11 Aug 2011, 02:08:27.

    Comment


    • Originally posted by poh1998
      ปล.เรามีมือบัดกรีมือเดียวไม่มีมือจับตะกั่วมาชนกับหัวแร้งอ่ะครับ ทำไงอ่ะครับ
      ลองคิดแบบตลก ตะกั่วงอนหัวแร้ง ก็ให้หัวแร้งไปง้อตะกั่วสิครับ
      ในเมื่อตะกั่วไม่ยอมมาหาปลายหัวแร้ง ก็จับหัวแร้งไปหาตะกั่วแทน

      Comment


      • ผมก็ทำแบบนั้นประจำเลยครับ เอาตะกั่วให้อยู่กับที่^^
        Originally posted by keang View Post
        ลองคิดแบบตลก ตะกั่วงอนหัวแร้ง ก็ให้หัวแร้งไปง้อตะกั่วสิครับ
        ในเมื่อตะกั่วไม่ยอมมาหาปลายหัวแร้ง ก็จับหัวแร้งไปหาตะกั่วแทน

        Comment


        • ตะกั่วถ้าละลายแล้วมันจะเสื่อมทันที เพราะสารเคลือบมันละเหยไปหมดแล้วทีนี้มันจะบัดกรีติดยาก

          Comment


          • ผมว่า ผมเอามือที่3 มาลงไว้แล้วนะ...

            Comment


            • โอยยยย >.<
              ไม่ไหวครับ พี่เก่ง นั่งปั่นตลอดเช้านี้ ก็ยังไม่เสร็จ กว่าจะทำได้ พอเชื่อมได้ 2 ขา จะเชื่อมขา 3 ก็ไปทาบหัวแร้งเยอะไปหลุดไปทั้งก้อนอีก แล้วจะจัดเข้าที่ของมันนี่ยากเหลือกัน โดนหัวแร้งที ก็กะเด็นไปไหนก็ไม่รู้ เอาไม้มากดไว้ มันยังไปติดกับไม้เลย โอยยยยยยยยยยยยยยยย ปวดตับ! เข็ดเลยกับ smd เดี๋ยวว่างๆลองใหม่ ตอนนี้เซงมากครับ = =''

              Comment


              • Originally posted by poh1998
                พอเชื่อมได้ 2 ขา จะเชื่อมขา 3 ก็ไปทาบหัวแร้งเยอะไปหลุดไปทั้งก้อนอีก
                แล้วจะจัดเข้าที่ของมันนี่ยากเหลือกัน โดนหัวแร้งที ก็กะเด็นไปไหนก็ไม่รู้ เอาไม้มากดไว้ มันยังไปติดกับไม้เลย
                pohบัดกรีต่อๆกันไปเลยใช่ป่าว บัดกรีขา1เสร็จก็ต่อขา ขา3 ขา4
                ตอนที่เราบัดกรี ตัวอะหลั่ยจะมีความร้อนสะสมภายใน + ลายทองแดงจุดอื่นก็ได้รับความร้อนจากตัวอะหลั่ยด้วย

                ลองแบบนี้ เริ่มบัดกรีจากขาด้านข้างของFL1 จะเอาด้านซ้ายหรือขวาก่อนก็ตามสะดวก (เลือกขาด้านข้างก่อนเพราะจุดมันเล็ก บัดกรีได้ยากสุด)
                ก่อนบัดกรีทุกครั้ง ควรเช็ดปลายหัวแร้ง เพื่อให้ปลายหัวแร้งสะอาด
                บัดกรีด้านนึงเสร็จ ปล่อยทิ้งไว้1นาที เพื่อให้ตัวอะหลั่ยคลายความร้อนออกมาก่อน แล้วค่อยบัดกรีขาอีกด้าน
                เสร็จแล้วค่อยไปบัดกรีขาด้านยาวของตัวอะหลั่ยที่เหลือ ก็ทำแบบเดียวกัน


                ปัญหาจริงๆ น่าจะมาจาก
                หัวแร้งมีอุณหภูมิสูง(ร้อน)เกิน + ปลายหัวแร้งมีขนาดใหญ่เกินไป + ใช้ปริมาณตะกั่วมากเกินไป + ใช้เวลาบัดกรีในแต่ละจุดนานเกินไป

                วันไหนมีเวลาว่าง ไม่รู้จะทำไร พยายามฝึกแบบนี้ จะได้ทำพวกsmdง่ายขึ้น
                หัวแร้งแตะตะกั่ว (ให้มีตะกั่วติดมาแค่เพียงนิดเดียว) > บัดกรีที่pcb > วางหัวแร้ง
                ทั้ง3ขั้นตอน ให้เสร็จภายใน3วินาที


                ถ้าทำไม่ไหวจริงๆ เอาการ์ด+ตัวอะหลั่ยFL1ไปให้ร้านซ่อมโทรศัพท์มือถือแถวบ้านทำให้ครับ
                เค้าใช้หัวเป่าลมร้อน แปปเดียวก็เสร็จ รอรับกลับได้เลย
                Last edited by keang; 11 Aug 2011, 11:03:01.

                Comment


                • ^
                  ขอบคุณสำหรับคำแนะนำครับ
                  เท่าที่ดูแล้ว ปัญหาคือ อไหล่ไม่แนบกับแผ่น pcb คือมันมีตะกั่วติดอยู่ตรงลายทองแดง ผมดูดไม่ออกสักที มันบางพอสมควร แต่เทียบกับอะไหล่ตัวนั้นก็ถือว่าหนาเลย
                  จะทำยังไงให้มันเป็นแผ่นเรียบๆครับ ตอนนี้คาบฟลั้กนี่เต็มแผ่นเลยครับ
                  สงสัยจะขายไม่ได้ละมั้ง T^T
                  ---------
                  ครับผม ถ้าหมดจริงๆ ไม่ไหวจริงๆ เดี๋ยวจะไปร้านโทรศัพท์ครับ

                  Comment


                  • เครดิต > 5 เทคนิคการถอนบัดกรี : สมนึก แก้วศิริรัตน์

                    เรียนผูกยังต้องเรียนแก้ฉันใด บัดกรีแล้วย่อมที่จะต้องมีวิธีการถอดบัดกรีฉันนั้น คราวนี้แหละคุณจะได้พบกับ 5 เทคนิคการถอนบัดกรีอย่างง่ายๆ ที่นิยมทำกันในหมู่นักอิเล็กทรอนิกส์

                    ไม่ว่าคุณจะเป็นนักอิเล็กทรอนิกส์มืออาชีพหรือสมัครเล่น ย่อมที่จะหลีกเลี่ยงการถอนบัดกรีไปไม่พ้น การถอนบัดกรีจะกระทำกันในกรณีที่ต้องการเปลี่ยนอุปกรณ์ตัว ใหม่แทนตัวเก่าที่ชำรุดเสียหาย การใส่อุปกรณ์ผิดตำแหน่งหรือจะถอดอุปกรณ์ออกมา ตรวจสอบซึ่งขาของอุปกรณ์ดังกล่าว จะถูกลอดผ่านรูที่เจาะใส่ขาอุปกรณ์บนแผ่นวงจรพิมพ์ ไปโผล่ที่ด้านลายทองแดง และบัดกรีด้วยตะกั่วอย่างแน่นหนา

                    การถอนบัดกรีจึงจำเป็นที่จะต้องละลายตะกั่วบริเวณจุดที่ต้องการถอนบัดกรีด้วยปลายความร้อนของหัวแร้ง แล้วจึงกำจัดตะกั่วบริเวณดังกล่าวออกไป การกำจัดตะกั่วนี้แหละจำเป็นที่จะต้องใช้ทักษะและเทคนิคบางประการ เทคนิคต่างๆ ที่จะได้อ่านต่อไปนี้ จึงเป็นประโยชน์ในยามที่ต้องถอนบัดกรี บทความนี้ได้รวบรวมเทคนิคการถอนบัดกรีที่นิยมทำกันในหมู่นักอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งใครๆ ก็สามารถนำเทคนิคเหล่านี้ไปใช้ได้ไม่ยากเลย


                    ลวดซับตะกั่ว


                    อุปกรณ์ช่วยถอนบัดกรีที่มีจำหน่ายตามร้านขายอุปกรณ์อะไหล่อิเล็กทรอนิกส์อีกชนิดหนึ่งที่มีชื่อเรียกว่า "ลวดซับตะกั่ว" มีรูปร่างลักษณะ และวิธีการใช้งานดังรูปที่3

                    จะใช้ลวดทองแดงเส้นเล็กๆ ถักเป็นผืนยาว ความกว้างที่มีจำหน่ายมีตั้งแต่ 1.5 ถึง 3.5 มิลลิเมตร แล้วแต่จะนำไปใช้งาน ชนิดที่มีหน้าผืนทองแดงแคบๆ จะเหมาะกับจุดบัดกรีเล็กๆ และชนิดที่มีหน้าผืนทองแดงกว้างมากๆ จะใช้กับจุดบัดกรีที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ วิธีใช้งานก็ง่ายมากเพียงนำปลายของลวดทองแดงถักทาบลงบนจุดที่ต้องการถอนบัดกรี แล้วใช้ปลายความร้อนของหัวแร้งจี้ที่ลวดทองแดง เมื่อตะกั่วบริเวณจุดบัดกรีได้รับความร้อนก็จะละลายตัวไปเกาะที่ลวดทองแดง

                    เมื่อเห็นว่าที่ปลายทองแดงนั้นมีตะกั่วเกาะอยู่มาก ก็ตัดทองแดงที่มีตะกั่วเกาะนั้นออกเสียบ้าง แล้วทำซ้ำอีกจนกว่าตะกั่วที่จุดบัดกรีจะหมดไป ข้อดีของลวดทองแดงซับตะกั่วนี้ก็คือ สามารถนำพกติดตัวไปได้ทุกหนแห่ง อีกทั้งราคาเพียงไม่กี่สิบบาท และใช้งานได้ดีพอสมควร ส่วนข้อเสียก็คือ เนื่องจากการถอนบัดกรีแบบนี้ต้องใช้ความร้อนมาก อาจทำให้เกิดความเสียหายแก่อุปกรณ์ และแผ่นวงจรพิมพ์ได้ ในกรณีที่แช่ปลายหัวแร้งที่จุดบัดกรีนานๆ


                    กระบอกดูดตะกั่ว
                    วิธีแรกที่จะขอแนะนำให้รู้จัก ก็คือ ใช้กระบอกดูดตะกั่ว ซึ่งมีขายตามร้านขายอุปกรณ์อะไหล่อิเล็กทรอนิกส์ ลักษณะเป็นกระบอกจับถนัดมือ ภายในกระบอกดังกล่าวจะมีลูกสูบ ซึ่งมีก้านต่อจากลูกสูบออกมาทางด้านท้ายของกระบอก ดังรูปที่1

                    ปกติลูกสูบจะอยู่ที่ตำแหน่งท้ายๆ ของกระบอกโดยถูกสปริงรั้งไว้ เวลาใช้งานก็เพียงดันลูกสูบไปตำแหน่งด้านหน้าของกระบอก (โดยกดด้านท้าย) เมื่อลูกสูบถูกดันไปข้างหน้าจนสุดก็จะมีสลักล็อคให้ลูกสูบอยู่ที่ตำแหน่งด้านหน้า เพื่อเตรียมพร้อมที่จะดูดตะกั่วทันทีที่ปลดล็อค หลังจากที่นำปลายความร้อนของหัวแร้งมาจี้ที่จุดต้องการถอนบัดกรี เพื่อให้ตะกั่วละลาย พอตะกั่วละลายแล้วจึงกดปุ่มปลดล็อค ลูกสูบจะถูกสปริงดึงกลับไปตำแหน่งท้ายอย่างรวดเร็ว พร้อมกับดูดเศษตะกั่วที่หลอมละลายแล้วเข้าไปภายในกระบอกด้วย ดังรูปที่2

                    การใช้กระบอกดูดตะกั่วนี้เป็นวิธีถอนบัดกรีที่มีประสิทธิภาพสูงในราคาที่พอหาซื้อมาใช้กันได้


                    น้ำยาถอนบัดกรี
                    น้ำยาถอนบัดกรีจะมีลักษณะเป็นน้ำเหนียวๆ แบ่งขายเป็นขวดเล็กๆ ราคาพอๆ กับลวดซับตะกั่ว โดยหาเศษสายไฟที่ภายในมีเส้นทองแดงฝอยมากสักหน่อย ปอกฉนวนหุ้มสายไฟออกประมาณ 10 มิลลิเมตร แล้วจุ่มเส้นทองแดงที่ปอกฉนวนออกแล้วนั้นลงในน้ำยาถอนบัดกรี หลังจากนั้นจึงนำไปทาบบนจุดที่ต้องการถอนบัดกรี ขั้นตอนต่อไปทำเช่นเดียวกันกับวิธีการถอนบัดกรีโดยใช้ลวดซับตะกั่วน้ำยาถอนบัดกรีนี้ นอกจากจะใช้ถอนบัดกรีได้แล้ว ยังสามารถใช้แทนฟลักซ์ เพื่อช่วยให้บัดกรีง่ายขึ้นได้อีกด้วย แต่ถ้าหาซื้อน้ำยาถอนบัดกรีนี้ไม่ได้ ก็สามารถนำสายไฟไปจุ่มลงในฟลักซ์แทนน้ำยาถอนบัดกรีก็ได้ ใช้ถอนบัดกรีได้เหมือนกันครับ ดูจากรูปที่4



                    ฟลักสำหรับช่วยบัดกรี


                    ทำความสะอาดปลายหัวแร้ง

                    Last edited by keang; 11 Aug 2011, 11:53:41.

                    Comment


                    • แงๆ สงสัยต้องรอไปบ้านหม้ออีกแว้ว
                      สงสัยต้องไปร้านโทรศัพท์แล้วมั้ง - -*
                      แล้วไปร้านโทรศัพท์ต้องบอกอะไรเค้าครับ?
                      -----------------
                      กระบอกมีแล้วครับ แต่มันดูดไม่เกลี้ยงอ่ะครับ
                      ----------------
                      ตอนนี้มีน้ำยาอันนี้ครับ เก่ามากๆๆๆๆ ก่อนผมเกิดอีก
                      DSC00841.jpg
                      Last edited by poh1998; 11 Aug 2011, 11:43:20.

                      Comment


                      • บอกเค้าไปแบบที่เราจะให้เค้าทำให้ละครับ
                        พี่ครับ บัดกรีอะหลั่ยตัวนี้ให้หน่อยครับ อย่าลืมถามราคาก่อนน่ะ น่าจะหลักสิบละมั้ง
                        บัดกรีตัวเดียวถ้าเค้าใจดีอาจไม่คิดเงินด้วยละมั้ง


                        มีฟลักแบบครีมอยู่แล้วนี่ ใช้สายไฟเส้นเล็กๆปอกปลายสายสักเซนนึง จุ่มไปที่ฟลัก
                        เอาปลายสายไฟที่จุ่มฟลักแล้วไปวางที่จุดบัดกรี ใช้หัวแร้งวางทาบไปที่ปลายสายทองแดง
                        ความร้อนจากปลายหัวแร้งจะทำให้ตะกั่วที่pcbมาติดที่สายไฟ ถ้ายังมีตะกั่วที่จุดบัดกรีอีกก็ให้ทำซ้ำ
                        -- เวลาใช้ฟลักจะมีควันมากกว่าปรกติ ตอนทำให้ใช้พัดลมเป่าควันพวกนี้ออกไปด้วย อย่าไปสูดควันพวกนี้เยอะ อันตรายทั้งนั้น

                        Comment


                        • Originally posted by keang View Post
                          บอกเค้าไปแบบที่เราจะให้เค้าทำให้ละครับ
                          พี่ครับ บัดกรีอะหลั่ยตัวนี้ให้หน่อยครับ อย่าลืมถามราคาก่อนน่ะ น่าจะหลักสิบละมั้ง
                          บัดกรีตัวเดียวถ้าเค้าใจดีอาจไม่คิดเงินด้วยละมั้ง


                          มีฟลักแบบครีมอยู่แล้วนี่ ใช้สายไฟเส้นเล็กๆปอกปลายสายสักเซนนึง จุ่มไปที่ฟลัก
                          เอาปลายสายไฟที่จุ่มฟลักแล้วไปวางที่จุดบัดกรี ใช้หัวแร้งวางทาบไปที่ปลายสายทองแดง
                          ความร้อนจากปลายหัวแร้งจะทำให้ตะกั่วที่pcbมาติดที่สายไฟ ถ้ายังมีตะกั่วที่จุดบัดกรีอีกก็ให้ทำซ้ำ
                          -- เวลาใช้ฟลักจะมีควันมากกว่าปรกติ ตอนทำให้ใช้พัดลมเป่าควันพวกนี้ออกไปด้วย อย่าไปสูดควันพวกนี้เยอะ อันตรายทั้งนั้น
                          ขอบคุณครับ
                          ตอนแรกๆดูดครับ แต่เดี๋ยวนี้เรึ่มขี้เกียจ สูดตลอด ทั้งทำ cmoy แล้วก็ทำนี้ด้วย มาคิดดูแล้วมันก็หอมดีนะ - -* เดี๋ยวหาพัดลมตั้งโต๊ะตัวเล็กๆมาตั้งดูด เดี๋ยวตายก่อนเพื่อน :

                          Comment


                          • แก้การ์ดให้เสร็จเร็วๆ เดี๋ยวเอาวงจรแอมป์หูฟังแบบหลอดให้ลองเล่น ใช้ไฟ12v ไม่ต้องกังวลเรื่องโดนไฟดูด

                            Comment


                            • Originally posted by keang View Post
                              แก้การ์ดให้เสร็จเร็วๆ เดี๋ยวเอาวงจรแอมป์หูฟังแบบหลอดให้ลองเล่น ใช้ไฟ12v ไม่ต้องกังวลเรื่องโดนไฟดูด
                              โอ้วจัดไปครับ รู้สึกเหมือนตอนบัดกรี fl1 จะสะบัดไปโดน c smd ตัวเล็กจิ๋วไปตัวนึงซะแล้วครับ C1 เลย เน่าจริงๆผมนี่ T^T หาไม่เจอแน่นอน ตัวเท่าขี้มด อยู่ตรง line in อีกแล้ว
                              เดี๋ยวพยายามเอาลวาจั้มไปเลยดีกว่าจะน่าจะได้ หรือว่า...มันไม่มีอยู่แล้วหว่าา ใครมี sb0570 รบกวนเช๊คให้หน่อยครับ
                              เดี๋ยวทำ fl1 ต่อ จะเน่าไหมนี่ การ์ดผม
                              ปล.อยากรู้จริงๆเลย ว่าคนทำการ์ดนี่เขาบัดกรี smd ตัวเท่ามดได้ยังไงฟะเนี่ย

                              Comment


                              • แต่ก่อนผมฝึกกับเมนบอร์ดคอมฯ เก่าครับ พวก ไอซีsmd 8,14,16.... ขา R,C,L แบบ smd ต้องถอดเข้าถอดออกไม่ต่ำกว่าสามครั้ง โดยไม่ให้ปริ๊นช้ำหรือชำรุด ทำบ่อยๆ ชำนาญเองครับ

                                Comment

                                Working...
                                X