Announcement

Collapse
No announcement yet.

โมให้ดีกันเยอะแล้ว มาม๊ะ....มาโมให้"เจ๊ง"กันดีกว่า

Collapse
X
 
  • Filter
  • Time
  • Show
Clear All
new posts

  • Originally posted by keang

    - ถ้าเคยสังเกตุวงจรที่ใช้ค่าCสูงๆ จะเห็นว่า ส่วนใหญ่จะใส่คัวต้านทานค่าไม่สูงคร่อมตัวCไว้ด้วย
    ลองเดากันเล่นๆ ว่า เค้าใส่ไว้เพื่ออะไร
    Originally posted by fenderfree
    ที่ต่อตัวต้านทานใว้ที่ C ภาคจ่ายไฟ ผมเดาเอาว่า เวลาปิดสวิชจะกระแสจะวิ่งผ่านตัวต้านทาน
    เพื่อ คลายประจุไฟที่ตัว C ทำให้ปิดสวิชแล้วก็ไม่มีเสียง แต่ของผมไม่ได้ใส่ เวลาปิดสวิช ถ้าไม่ปิดโวลุ่ม
    จะยังมีเสียงต่อไปได้อีก ประมาณ 30 วิ เดาๆอีกว่าใช้แบบนี้(ไม่ใส่ตัวต้านทาน)อาจเกิดผลเสีย กับตัวไอซีได้
    ตัวเก็บประจุยิ่งค่าสูงๆ จะยิ่งเก็บไฟได้มาก ยิ่งอาจส่งผลกระทบได้มาก^^
    Originally posted by jomokajay
    ตัวต้านทานที่ต่อคร่อมตัวCไว้ ผมเดาว่า เพื่อสลายแรงดันไฟเลี้ยงให้หมดเร็วๆ เพราะตอนปิด ไฟเริ่มน้อยลง จนแอมป์คุมเอาท์พุทเป็น0ไม่ได้
    จะมีดีซีออกมา ลำโพงจะถูกดูดหรือผลักออกอย่างแรง ถ้าไม่มีวงจรป้องกัน ลำโพงจะพังเอา
    หลักๆก็ เมื่อปิดสวิทช์พาวเวอร์แล้ว Cจะมีไฟค้างอยู่ในตัวมันเอง เมื่อมีRต่ออยู่ก็จะช่วยดิสชาร์ทไฟที่ค้างอยู่ในตัวC
    แต่ จะมีผลเรื่องค่าอิมพิแดนช์ของภาคจ่ายไฟด้วย (เหมือนเอาR2ตัวมาขนานกัน)

    ภาคจ่ายไฟหลายๆตัวเค้าจะระบุเลยว่า ใช้ได้แค่LOW-ESR ห้ามใช้แบบCแบบUltra LOW-ESR เพราะไม่งั้นซัพพลายอาจเสียหายได้
    แต่ถ้าภาคจ่ายที่ออกแบบให้มีค่าอิมพิแดนซ์สูง ก็ใช้แบบUltra LOW-ESRได้

    Comment


    • แล้ว ไดโอด สำเร็จรูป กับไดโอดที่ผมทำ ใช้งานจริงนี่ต่างกันมั๊ยครับ
      ตอนนี้กำลังสงสัยตัวเองว่าทำไปทำไม

      Comment


      • แบบคร่าวๆน่ะ

        ไดโอดบริดจ์สำเร็จรูป
        - ข้อดี ใช้งานสะดวก ขนาดเล็กไม่เปลืองที่ ส่วนใหญ่จะเลือกใช้กันที่กระแสสูงๆ 25แอมป์ขึ้นไป
        พวกเกรดสูงเกรดพิเศษหายากราคาสูงมาก
        - ข้อด้อย ถ้าคุณภาพไม่ดีจะมีโอกาสเกิดสัญญาณรบกวนภายในตัวเองได้ เช่น เสียงจี่ เสียงซ่าเบาๆ(เบามากๆ)

        ไดโอดเป็นตัวๆ
        - ข้อดี มีหลากหลายแบบหลากหลายเกรดให้เลือกใช้ จะใช้ผสมข้ามยี่ห้อข้ามรุ่นก็ได้ ไม่มีสัญญาณรบกวนภายในแบบไดโอดบริดจ์สำเร็จรูป
        - ข้อด้อย แบบจ่ายกระแสได้สูงเกิน20แอมป์ราคาสูงมาก เมื่อมีซิ้งค์ช่วยระบายความร้อนแล้วจะเปลืองพื้นที่มาก

        Comment


        • แล้วถ้าผมทำแบบนี้ 6 ชั้น จ่ายชุดพาวเวอร์แบบที่ผม 3ตัว
          หม้อแปลงตัวเดียวสัก 5A มันจะเอาอยู่มั๊ยครับ


          Comment


          • ก็ไม่เห็นต้องทำ 6 ชั้นนี่ครับ ถ้าหม้อแปลงลูกเดียวก็ทำชั้นเหมือนปกติแล้วจ่ายไฟจาก C filter ออกไป 6 เส้นจะดีกว่า
            ถ้าต่อ 6 ชั้นแล้วจ่ายไฟออกไป 6 เส้นไฟที่ออกจะไม่บาลานซ์ กระแสที่จ่ายไฟแต่ละตัวมันสวิงไม่เท่ากัน ผมว่าเสียงมันน่าจะแกว่งนะ
            แล้ว R ที่ต่อตรงขา WIMA ผมว่าไม่น่าต่อนะ จะใส่ WIMA เพื่อให้มันกรองกระแสสู่กราวด์ไม่ใช่เหรอ ?

            ความเห็นส่วนตัว
            - หม้อแปลง 5 แอมแปร์สำหรับ 3 ชุดนี่เหลือเฝือ
            -ตัวถังของ C ไม่ควรโดนกัน น่าจะหาอะไรคั่นครับ เป็นผมใช้กระดาษกาวคั่นไม่ให้โดนกัน

            ปล. ความรู้ด้านไฟฟ้าผมก็งูๆปลาๆ แค่ช่วยออกความเห็นเฉยๆ รอเซียนท่านอื่นแนะนำเลยครับ

            Comment


            • Originally posted by tiger X-fi View Post
              แล้วถ้าผมทำแบบนี้ 6 ชั้น จ่ายชุดพาวเวอร์แบบที่ผม 3ตัว
              หม้อแปลงตัวเดียวสัก 5A มันจะเอาอยู่มั๊ยครับ
              ถ้าใช้ STK 4231 ละก็ หม้อแปลง5แอมป์1ตัว-ต่อไอซี1ตัว(2ข้าง)เถอะครับ

              หม้อแปลง5แอมป์ กับแอมป์6แชนแนล แชนแนลซับขับแต่ละทีนี่ดึงไฟร่วงกราวรูดแหงม

              ไอซีแอมป์"ส่วนใหญ่(TDA 2050, STK 4231)"ต้องการกระแสไม่ต่ำกว่า2.5แอมป์ต่อข้าง(แชนแนล)ถึงจะให้ประสิทธิภาพได้เต็มที่นะ
              Last edited by Rev; 13 Feb 2011, 11:20:27.

              Comment


              • - ไดโอด ยังไม่เข้าใจความหมายว่า 6ชั้นคืออะไร
                ทำเป็นบริดจ์6ชุด? เพื่อเพิ่มค่าทนกระแสให้สูงขึ้น
                ทำเป็นบริดจ์6ชุด? + C6ชุด เพื่อแยกแต่ละแชนแนลออกจากกัน


                - TDA2050 แอมป์แต่ละแชนแนล ผมเฉลี่ยแชนแนลละ1.5-2แอมป์ 6แชนแนลน่าจะ9-12แอมป์
                ถ้าหม้อแปลงคุณภาพดีพอลูกเดียว10แอมป์ก็น่าจะไหว (แต่ต้องไปเน้นที่Cหลังไดโอดเพื่อชดเชยด้วยน่ะ)
                ถ้าแบ่งเป็นหลายลูกก็ต้องดูว่าลูกละกี่แชนแนล แต่ระวังเรื่องราคาเพราะหลายลูกราคาสูงกว่าลูกเดียว


                - RCที่ต่ออนุกรม+ต่อคร่อมไลน์ไฟ จะช่วยเรื่องลดอาการไฟกระชาก(Spike)ตอนเปิดเครื่อง
                พวกวงจรส่วนป้องกันจริงๆยังไม่ต้องใส่ก็ได้ ทำให้เสร็จแล้วดูว่ามีปัญหาอะไรบ้าง ถ้ามีปัญหาค่อยมาใส่ทีหลังก็ได้
                เพราะ วงจรพวกนี้จะมีผลเรื่องน้ำหนักเสียงรายละเอียดเสียงที่จะสูญเสียไปด้วย
                ( เวลาผมทำใช้เองก็ใช้แนวคิดนี้ มีปัญหาค่อยใส่ ถ้าไม่มีปัญหาก็ไม่ใส่ )



                เล่านิยายน้ำเน่าให้อ่านดีกว่า
                เวลาผมโมเครื่องสำเร็จสำหรับใช้งานส่วนตัว สิ่งแรกผมจะทำ คือ
                ลองปลดพวกวงจรป้องกันที่ไม่จำเป็นออกก่อน ปลดแล้วไม่เจอปัญหาในการใช้งานตามปรกติก็จะปลดถาวรเลย
                ฉะนั้นไม่แปลกที่เวลาผมทำแล้วจะได้รายละเอียดได้น้ำหนักเสียงเพิ่มขึ้นมาฟรีๆ (แต่เพิ่มความเสี่ยง)

                แอมป์ตัวที่ผมทำใช้เอง ไม่ใส่วงจรป้องกันลำโพง มีแค่ฟิวส์ที่ขั้วลำโพงอย่างเดียว ช่วยได้แค่ป้องกันสายลำโพงชอร์ทแตะกันเท่านั้น
                ( ตอนแรกฟิวส์ขั้วลำโพงก็จะไม่ใส่ด้วยซ้ำ แต่เพื่อนบอกใส่ไปเหอะ มีป้องกันบ้างสักนิดก็ยังดี ลำโพงตัวนึงไม่ใช่ถูกๆ ลำโพงที่ใช้ๆกันก็ไม่ใช่ว่าจะหาซื้อได้ง่ายๆ )

                ถ้าในรูปแบบธุรกิจทำขาย ควรใส่วงจรป้องกัน เพราะ ไม่รู้ว่าคนใช้จะเอาไปใช้งานในสภาพแวดล้อมแบบไหนบ้าง ต้องพยายามป้องกันไม่ให้เกิดปัญหากับผู้ใช้ให้ได้มากที่สุด
                นอกจากลูกค้าจะบอกเองว่า ไม่ต้องใส่วงจรพวกนี้ ( เจอหลายคนเหมือนกันที่ให้ปลดวงจรพวกนี้ออก )
                Last edited by keang; 13 Feb 2011, 11:59:00.

                Comment


                • C filter 20000/63 กำลังสำรองขนาดนี้ขับซับไฟก็ไม่น่าร่วงหรอกมั้งครับ อีกอย่างผมว่าไปมันก็ไม่ได้โหลดเต็มพิกัดตลอดเวลา
                  แถมกำลังขับก็ไม่ได้มาก 32W เอง ขนาดเกนโคลน 50-60 กว่าวัตต์ หม้อแปลงตัวเดียว 5A ยังขับสบายเลย (ถ้าลำโพงไม่โหดมากนะ)

                  Comment


                  • Originally posted by milestone View Post
                    ก็ไม่เห็นต้องทำ 6 ชั้นนี่ครับ ถ้าหม้อแปลงลูกเดียวก็ทำชั้นเหมือนปกติแล้วจ่ายไฟจาก C filter ออกไป 6 เส้นจะดีกว่า
                    ถ้าต่อ 6 ชั้นแล้วจ่ายไฟออกไป 6 เส้นไฟที่ออกจะไม่บาลานซ์ กระแสที่จ่ายไฟแต่ละตัวมันสวิงไม่เท่ากัน ผมว่าเสียงมันน่าจะแกว่งนะ
                    แล้ว R ที่ต่อตรงขา WIMA ผมว่าไม่น่าต่อนะ จะใส่ WIMA เพื่อให้มันกรองกระแสสู่กราวด์ไม่ใช่เหรอ ?

                    ความเห็นส่วนตัว
                    - หม้อแปลง 5 แอมแปร์สำหรับ 3 ชุดนี่เหลือเฝือ
                    -ตัวถังของ C ไม่ควรโดนกัน น่าจะหาอะไรคั่นครับ เป็นผมใช้กระดาษกาวคั่นไม่ให้โดนกัน

                    ปล. ความรู้ด้านไฟฟ้าผมก็งูๆปลาๆ แค่ช่วยออกความเห็นเฉยๆ รอเซียนท่านอื่นแนะนำเลยครับ
                    ขอบคุณมากครับ
                    Originally posted by Rev View Post
                    ถ้าใช้ STK 4231 ละก็ หม้อแปลง5แอมป์1ตัว-ต่อไอซี1ตัว(2ข้าง)เถอะครับ

                    หม้อแปลง5แอมป์ กับแอมป์6แชนแนล แชนแนลซับขับแต่ละทีนี่ดึงไฟร่วงกราวรูดแหงม

                    ไอซีแอมป์"ส่วนใหญ่(TDA 2050, STK 4231)"ต้องการกระแสไม่ต่ำกว่า2.5แอมป์ต่อข้าง(แชนแนล)ถึงจะให้ประสิทธิภาพได้เต็มที่นะ
                    STK 4231 คงต้องพักยาวๆ รอความรู้มีมากกว่านี้ก่อนครับ คงเล่นกับ TDA 2050 ไปสักพักก่อนน่ะครับ
                    น่าจะพอไหว
                    Originally posted by keang View Post
                    - ไดโอด ยังไม่เข้าใจความหมายว่า 6ชั้นคืออะไร
                    ทำเป็นบริดจ์6ชุด? เพื่อเพิ่มค่าทนกระแสให้สูงขึ้น
                    ทำเป็นบริดจ์6ชุด? + C6ชุด เพื่อแยกแต่ละแชนแนลออกจากกัน


                    - TDA2050 แอมป์แต่ละแชนแนล ผมเฉลี่ยแชนแนลละ1.5-2แอมป์ 6แชนแนลน่าจะ9-12แอมป์
                    ถ้าหม้อแปลงคุณภาพดีพอลูกเดียว10แอมป์ก็น่าจะไหว (แต่ต้องไปเน้นที่Cหลังไดโอดเพื่อชดเชยด้วยน่ะ)
                    ถ้าแบ่งเป็นหลายลูกก็ต้องดูว่าลูกละกี่แชนแนล แต่ระวังเรื่องราคาเพราะหลายลูกราคาสูงกว่าลูกเดียว


                    - RCที่ต่ออนุกรม+ต่อคร่อมไลน์ไฟ จะช่วยเรื่องลดอาการไฟกระชาก(Spike)ตอนเปิดเครื่อง
                    พวกวงจรส่วนป้องกันจริงๆยังไม่ต้องใส่ก็ได้ ทำให้เสร็จแล้วดูว่ามีปัญหาอะไรบ้าง ถ้ามีปัญหาค่อยมาใส่ทีหลังก็ได้
                    เพราะ วงจรพวกนี้จะมีผลเรื่องน้ำหนักเสียงรายละเอียดเสียงที่จะสูญเสียไปด้วย
                    ( เวลาผมทำใช้เองก็ใช้แนวคิดนี้ มีปัญหาค่อยใส่ ถ้าไม่มีปัญหาก็ไม่ใส่ )



                    เล่านิยายน้ำเน่าให้อ่านดีกว่า
                    เวลาผมโมเครื่องสำเร็จสำหรับใช้งานส่วนตัว สิ่งแรกผมจะทำ คือ
                    ลองปลดพวกวงจรป้องกันที่ไม่จำเป็นออกก่อน ปลดแล้วไม่เจอปัญหาในการใช้งานตามปรกติก็จะปลดถาวรเลย
                    ฉะนั้นไม่แปลกที่เวลาผมทำแล้วจะได้รายละเอียดได้น้ำหนักเสียงเพิ่มขึ้นมาฟรีๆ (แต่เพิ่มความเสี่ยง)

                    แอมป์ตัวที่ผมทำใช้เอง ไม่ใส่วงจรป้องกันลำโพง มีแค่ฟิวส์ที่ขั้วลำโพงอย่างเดียว ช่วยได้แค่ป้องกันสายลำโพงชอร์ทแตะกันเท่านั้น
                    ( ตอนแรกฟิวส์ขั้วลำโพงก็จะไม่ใส่ด้วยซ้ำ แต่เพื่อนบอกใส่ไปเหอะ มีป้องกันบ้างสักนิดก็ยังดี ลำโพงตัวนึงไม่ใช่ถูกๆ ลำโพงที่ใช้ๆกันก็ไม่ใช่ว่าจะหาซื้อได้ง่ายๆ )

                    ถ้าในรูปแบบธุรกิจทำขาย ควรใส่วงจรป้องกัน เพราะ ไม่รู้ว่าคนใช้จะเอาไปใช้งานในสภาพแวดล้อมแบบไหนบ้าง ต้องพยายามป้องกันไม่ให้เกิดปัญหากับผู้ใช้ให้ได้มากที่สุด
                    นอกจากลูกค้าจะบอกเองว่า ไม่ต้องใส่วงจรพวกนี้ ( เจอหลายคนเหมือนกันที่ให้ปลดวงจรพวกนี้ออก )
                    10 มันก็แพง ...สงสัยต้องหันมา 5A 3 ลูกแทนครับ
                    Originally posted by milestone View Post
                    C filter 20000/63 กำลังสำรองขนาดนี้ขับซับไฟก็ไม่น่าร่วงหรอกมั้งครับ อีกอย่างผมว่าไปมันก็ไม่ได้โหลดเต็มพิกัดตลอดเวลา
                    แถมกำลังขับก็ไม่ได้มาก 32W เอง ขนาดเกนโคลน 50-60 กว่าวัตต์ หม้อแปลงตัวเดียว 5A ยังขับสบายเลย (ถ้าลำโพงไม่โหดมากนะ)
                    ตั้งใจจะทำ 6 ชาเนล ไว้ใช้เองน่ะครับ

                    Comment


                    • Originally posted by pluanant
                      เสร็จแล้วครับ !!
                      เพิ่งเห็นว่าใช้ไดโอด2ตัว ลองเปลี่ยนใหม่เป็นแบบ4ตัวดูครับ ไฟนิ่งขึ้นกว่าเดิม
                      LXZ 680uF 25v ตัวนี้ใช้ได้น่ะ

                      Originally posted by tiger X-fi
                      ทำเป็นบริดจ์6ชุด + C6ชุด เพื่อแยกแต่ละแชนแนลออกจากกัน

                      10 มันก็แพง ...สงสัยต้องหันมา 5A 3 ลูกแทนครับ
                      ลองเล่าให้ฟังหน่อย วางแผนไว้แบบไหน ใช้อะไรตัวไหนบ้าง หม้อแปลงไฟเท่าไหร่
                      Last edited by keang; 13 Feb 2011, 13:09:20.

                      Comment


                      • Originally posted by keang View Post
                        เล่านิยายน้ำเน่าให้อ่านดีกว่า
                        เวลาผมโมเครื่องสำเร็จสำหรับใช้งานส่วนตัว สิ่งแรกผมจะทำ คือ
                        ลองปลดพวกวงจรป้องกันที่ไม่จำเป็นออกก่อน ปลดแล้วไม่เจอปัญหาในการใช้งานตามปรกติก็จะปลดถาวรเลย
                        ฉะนั้นไม่แปลกที่เวลาผมทำแล้วจะได้รายละเอียดได้น้ำหนักเสียงเพิ่มขึ้นมาฟรีๆ (แต่เพิ่มความเสี่ยง)

                        แอมป์ตัวที่ผมทำใช้เอง ไม่ใส่วงจรป้องกันลำโพง มีแค่ฟิวส์ที่ขั้วลำโพงอย่างเดียว ช่วยได้แค่ป้องกันสายลำโพงชอร์ทแตะกันเท่านั้น
                        ( ตอนแรกฟิวส์ขั้วลำโพงก็จะไม่ใส่ด้วยซ้ำ แต่เพื่อนบอกใส่ไปเหอะ มีป้องกันบ้างสักนิดก็ยังดี ลำโพงตัวนึงไม่ใช่ถูกๆ ลำโพงที่ใช้ๆกันก็ไม่ใช่ว่าจะหาซื้อได้ง่ายๆ )

                        ถ้าในรูปแบบธุรกิจทำขาย ควรใส่วงจรป้องกัน เพราะ ไม่รู้ว่าคนใช้จะเอาไปใช้งานในสภาพแวดล้อมแบบไหนบ้าง ต้องพยายามป้องกันไม่ให้เกิดปัญหากับผู้ใช้ให้ได้มากที่สุด
                        นอกจากลูกค้าจะบอกเองว่า ไม่ต้องใส่วงจรพวกนี้ ( เจอหลายคนเหมือนกันที่ให้ปลดวงจรพวกนี้ออก )
                        รายละเอียดเสียงที่เพิ่มขึ้น กับความปลอดภัยที่ลดลง อันนี้แล้วแต่คนชอบครับ

                        คุณ tiger X-fi เอาเป็นหม้อแปลง5แอมป์ต่อ3แชนแนลก็ได้นะ ลดต้นทุนได้อีกหน่อย

                        แบ่งเป็น(หน้าซ้าย-เซ็นเตอร์-หน้าขวา)ลูกนึง (หลังซ้าย-หลังขวา-ซับ)อีกลูกนึง

                        ที่เอาคู่หลังไปไว้กับซับเพราะส่วนใหญ่คู่หลังจะไม่ค่อยกินกำลังเท่าคู่หน้า แถมเวลาซับออกหนักๆ ก็จะไม่ดึงให้เสียงคู่หน้าวูบไปเพราะไฟตกด้วย

                        Comment


                        • Originally posted by keang View Post
                          ลองเล่าให้ฟังหน่อย วางแผนไว้แบบไหน ใช้อะไรตัวไหนบ้าง หม้อแปลงไฟเท่าไหร่
                          เท่าที่มองคร่าวๆ กะเล่น TDA2050หรือ TDA2052 กับทรานฟอมเมอร์ 18หรือ 25V /5A 3 ตัวครับ

                          Originally posted by Rev View Post
                          รายละเอียดเสียงที่เพิ่มขึ้น กับความปลอดภัยที่ลดลง อันนี้แล้วแต่คนชอบครับ

                          คุณ tiger X-fi เอาเป็นหม้อแปลง5แอมป์ต่อ3แชนแนลก็ได้นะ ลดต้นทุนได้อีกหน่อย

                          แบ่งเป็น(หน้าซ้าย-เซ็นเตอร์-หน้าขวา)ลูกนึง (หลังซ้าย-หลังขวา-ซับ)อีกลูกนึง

                          ที่เอาคู่หลังไปไว้กับซับเพราะส่วนใหญ่คู่หลังจะไม่ค่อยกินกำลังเท่าคู่หน้า แถมเวลาซับออกหนักๆ ก็จะไม่ดึงให้เสียงคู่หน้าวูบไปเพราะไฟตกด้วย
                          น่าคิดครับ...เดี่ยวลองออกแบบกล่องดุกล่องก่อนครับว่าจะวางแบบไหน...เอาไรทำดี
                          แต่ไอ้ตัวที่ค้างอยู่นี่ังไม่เสร็จเลย...เฮ้อ...

                          Comment


                          • ทำแอมป์ให้มีเสียงก่อน แล้วค่อยทำกล่องก็ได้ครับ
                            เพราะ ยังไม่รู้ว่าแอมป์จะออกมาหน้าตาแบบไหน ของจริงต้องมีไรเพิ่มหรือลดอีกบ้าง

                            Comment


                            • ไม่รู้จะเล่นอะไรก่อนดี

                              LM4780 with Preamp OPA6xx


                              Nap-140 Clone

                              Comment


                              • LM4780 with Preamp OPA6xx
                                จะได้เป็นแนวทางให้คนอื่นด้วยครับ

                                Comment

                                Working...
                                X