Announcement

Collapse
No announcement yet.

[D.I.Y. + Project Log] ลองทำ DAC + Amplifier เล่นเองดีกว่า(?) ผมเรียกมันว่า FuWa :)

Collapse
X
 
  • Filter
  • Time
  • Show
Clear All
new posts

  • จะขนานregulatorไปหลายตัวแบบนั้น ต้องmatchมันใช่มั้ยครับ

    Comment


    • ไม่ใช่ขนานครับ เค้าแยกไอซีแต่ละตัวเลี้ยงวงจรคนละส่วนกัน ไม่ใช่แบบไอซีตัวเดียวจ่ายไฟเลี้ยงชุดดิจิตอลทั้งเครื่อง
      เช่น
      - ตัวนึงจ่ายไฟเลี้ยง ชุดดิจิตอลของDigital receiver
      - ตัวนึงจ่ายไฟเลี้ยง ชุดอนาลอคของDigital receiver
      - ตัวนึงจ่ายไฟเลี้ยง ชุดดิจิตอลของDAC
      - ตัวนึงจ่ายไฟเลี้ยง ชุดอนาลอคของDAC

      ถ้าเปรียบเทียบจะคล้ายๆชุดจ่ายไฟของตัวนี้
      ( เมื่อก่อนก็เคยยุให้คุณManiacMaewโมภาคจ่ายไฟให้DAC Z2 เหมือนตามรูปนี้แหล่ะครับ )



      ----------------------------------------------


      Originally posted by tiger X-fi View Post
      Optocoupler มันอะไรครับดูแล้วไม่เข้าใจการทำงานของมัน
      ดูรูปนี้ น่าจะเข้าใจง่ายกว่าครับ

      ตัวซ้ายในรูป ในตารางช่องENABLE คือ ขา7
      L, H ก็ให้คิดเป็นสวิทช์ปิดเปิด L=ปิด R=เปิด
      Last edited by keang; 11 Jan 2012, 01:19:12.

      Comment


      • Originally posted by keang View Post
        Parasound D/AC-1000 : YM3623B > SM5813AP > PCM67P-J



        DAC Hi-Endราคาแพง ที่หลายๆคนชื่นชอบในน้ำเสียงของยี่ห้อนี้
        ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ของยี่ห้อนี้ไม่เน้นเรื่องคุมราคาต้นทุนการผลิต เค้าปรับแต่งคุณภาพเสียงด้วยตัวอะหลั่ยและการดีไซน์วงจร

        D/AC-1000รุ่นรองบ้วย ภาคจ่ายไฟเลี้ยงวงจรใช้ไอซีเรกกูเลเตอร์ทั้งหมด9ตัว
        อ่านถึงตรงนี้ หลายคนคงคิดว่า คงใช้ไอซีเรกกูเลเตอร์ตัวหรูๆ จ่ายกระแสได้สูงๆแบบโอเว่อร์ แน่นอน

        เชื่อหรือไม่
        เค้าใช้ไอซีเรกกูเลเตอร์ตระกูล78xx, 79xx ตัวถังTO-220 ที่คนส่วนใหญ่บอกว่าโหล่ยโท้ย เป็นของตกยุคล้าสมัย
        บางคนถึงกับเอ่ยปาก...เบอร์เก่าๆที่มีอายุร่วม30ปีแล้ว เอามาใช้ยังงัยก็ไม่มีทางเสียงดีได้หร๊อก
        ( เพราะแม้แต่เครื่องDIYยังใช้เบอร์ไฮเอนด์ เช่น LT108x ที่เป็นระบบShunt Regulatorกันเลย )

        ไม่เชื่อใช่ไม๊ละ แบรนด์ดังจะใช้เบอร์เก่าโคตรๆแบบนี้ เรามาพิสูจน์จากวงจรเฉพาะส่วนของพาวเวอร์ซัพพลายกัน
        ( วงจรนี้ใช้กับทุกรุ่นของเค้า แม้กระทั่งรุ่นท็อปสุด )



        แนะนำให้สังเกตุเทคนิคการใช้ตัวเก็บประจุ เค้าเลือกใช้ตัวเก็บประจุชนิดไหน เค้าเซ็ทเรียงลำดับแบบไหน
        และ ต้องดูรูปตัวจริงประกอบไปด้วยเพราะจะเข้าใจเทคนิคของเค้ามากขึ้น


        รูปภาคจ่ายไฟของรุ่นD/AC-1100HD
        ขอบคุณครับ ได้ความรู้เพิ่มอีกเยอะเลยเกี่ยวกับภาคจ่ายไฟ จัด C มา แพงกว่าใช้ ใช้ LT1085 กับ LT1033 อีก ดูจากC ฟิวเตอร์แล้วเสียงน่าจะดีกว่าด้วย

        Comment


        • LT1085 กับ MC1723(ตระกูล723นั่นแหล่ะ) เป็นShunt Regulatorเหมือนกันทั้งคู่

          LT1085 จ่าย3แอมป์ / MC1723ตัวเซรามิค จ่าย150mA มูลค่าพอๆกัน เท่าที่เคยเทียบเสียง ยังงัยMC1723ก็ดูดีกว่าเยอะ
          ถ้าใช้งานเกิน150mA ต้องต่อทรานซิสเตอร์ขยายกระแสเพิ่ม คุณภาพเสียงที่ได้ก็ยังดูดีกว่าเหมือนเดิม


          โครงการDACในฝันลมๆแล้งๆที่ผมคิดจะทำ ยังวางแปลนใช้ตระกูล723ตัวเซรามิคแยกจ่ายไฟแต่ละชุดไว้เลย ว่าจะเอาตัวเหล็กมาใช้ด้วยซ้ำไป
          Last edited by keang; 11 Jan 2012, 01:44:19.

          Comment


          • Originally posted by keang View Post
            Parasound D/AC-1000 : YM3623B > SM5813AP > PCM67P-J



            DAC Hi-Endราคาแพง ที่หลายๆคนชื่นชอบในน้ำเสียงของยี่ห้อนี้
            ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ของยี่ห้อนี้ไม่เน้นเรื่องคุมราคาต้นทุนการผลิต เค้าปรับแต่งคุณภาพเสียงด้วยตัวอะหลั่ยและการดีไซน์วงจร

            D/AC-1000รุ่นรองบ้วย ภาคจ่ายไฟเลี้ยงวงจรใช้ไอซีเรกกูเลเตอร์ทั้งหมด9ตัว
            อ่านถึงตรงนี้ หลายคนคงคิดว่า คงใช้ไอซีเรกกูเลเตอร์ตัวหรูๆ จ่ายกระแสได้สูงๆแบบโอเว่อร์ แน่นอน

            เชื่อหรือไม่
            เค้าใช้ไอซีเรกกูเลเตอร์ตระกูล78xx, 79xx ตัวถังTO-220 ที่คนส่วนใหญ่บอกว่าโหล่ยโท้ย เป็นของตกยุคล้าสมัย
            บางคนถึงกับเอ่ยปาก...เบอร์เก่าๆที่มีอายุร่วม30ปีแล้ว เอามาใช้ยังงัยก็ไม่มีทางเสียงดีได้หร๊อก
            ( เพราะแม้แต่เครื่องDIYยังใช้เบอร์ไฮเอนด์ เช่น LT108x ที่เป็นระบบShunt Regulatorกันเลย )

            ไม่เชื่อใช่ไม๊ละ แบรนด์ดังจะใช้เบอร์เก่าโคตรๆแบบนี้ เรามาพิสูจน์จากวงจรเฉพาะส่วนของพาวเวอร์ซัพพลายกัน
            ( วงจรนี้ใช้กับทุกรุ่นของเค้า แม้กระทั่งรุ่นท็อปสุด )



            แนะนำให้สังเกตุเทคนิคการใช้ตัวเก็บประจุ เค้าเลือกใช้ตัวเก็บประจุชนิดไหน เค้าเซ็ทเรียงลำดับแบบไหน
            และ ต้องดูรูปตัวจริงประกอบไปด้วยเพราะจะเข้าใจเทคนิคของเค้ามากขึ้น


            รูปภาคจ่ายไฟของรุ่นD/AC-1100HD
            ดูจากหม้อแปลงที่ใช้ 2 ชุดต่อ 1 วงจร แล้วแยก + - ผ่าน C เข้า 78xx เป็นไฟบวก เข้า 79xx เป็นไฟลบ ดูจากเฟสแล้วค่อนข้างนิ่งมากเลยออกแบบดีจัง แล้วเบิ้ลสอง เป็นอีกชุดแยกจ่าย อนาล็อค แยกกันกับชุด ดิจิตอล หรือเป็นเพราะสมัยก่อนยังไม่มี IC reg ดีดีหรือเปล่าครับถึงใช้ 78xx ,79xx
            OPIC Photocoupler ก็อยากรู้เหมือนกันครับ เหมือนกับการ รับ ส่ง สัญญาณไม่ให้เชื่อมต่อกันโดยตรง โดยการใช้ Optical เป็นตัวรับส่งสัญญาณแทนใช่ไหมครับ

            Comment


            • หรือเป็นเพราะสมัยก่อนยังไม่มี IC reg ดีดีหรือเปล่าครับถึงใช้ 78xx ,79xx
              ช่วง30ปีที่ผ่านมา มีการผลิตไอซีเรกกูเลเตอร์ออกใหม่ตลอดเวลาครับ
              มีทั้งหลักการเดิมโครงสร้างมาปรับปรุงเติมนู่นแต่งนี่เข้าไป, มีทั้งทำระบบใหม่ และอื่นๆอีกมากมายครับ

              ตระกูล317ก็มีอายุพอๆกับตระกูล78xx, 79xx
              ทุกวันนี้ผู้ผลิตเครื่องแบรนด์ที่ไม่เน้นต้นุทนการผลิต หลายยี่ห้อก็ยังนำทั้ง2ตระกูลนี้ไปใช้กันอยู่

              ในขณะเดียวกัน ในช่วงเวลานั้นๆ ผู้ผลิตจำนวนมากมายที่เน้นต้นทุนและไม่เน้นต้นทุนการผลิตก็เลือกใช้เบอร์ใหม่ๆกันด้วย
              ซึ่งเครื่องทั้งหมดนั้น ก็มีทั้งที่เป็นตำนาน และก็มีที่เป็นแค่เพียงทางผ่านของกาลเวลาที่ปัจจุบันไม่มีการพูดถึงกันอีก

              ตระกูล108xที่ถือว่าเป็นเบอร์ไฮเอนด์ราคาสูง ที่นิยมกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน อายุก็ไม่ค่อยต่างจากตระกูล78xxสักเท่าไหร่
              เพราะถ้าย้อนหลังไป สมัยที่การ์ดจอสล็อทPCIยุคแรกๆก็ใช้เบอร์นี้แล้ว ซึ่งสมัยนั้นDAC Externalยังไม่เกิด
              ฉะนั้นDACซึ่งเกิดภายหลัง สามารถเลือกใช้ตระกูล108xได้ตั้งแต่สมัยนู้นแล้วละ


              ที่โพสทั้งหมด อยากสื่อในแนวว่า
              ตระกูล78xx, 79xx, 317 ไม่ได้ดีกว่าพวกเบอร์ใหม่ๆ เพราะถ้าวัดประสิทธิภาพกันจริงๆ ยังงัยก็สู้พวกเบอร์ใหม่ๆไม่ได้อยู่แล้ว
              เพียงแต่ พฤติกรรมของโหลดที่นำมาต่อใช้งานนั้น ต้องการประสิทธิภาพจริงๆแค่ไหน ต้องการค่าสัมประสิทธิ์จริงๆด้านไหน
              ซึ่งบางที โหลดที่ไม่ได้สเปคโหดร้ายแบบเครื่องมือทหาร เบอร์เก่าๆพวกนี้ก็อาจตอบโจทย์พวกนี้ได้ในตัวแล้ว
              เพียงแต่ให้เราเข้าใจจุดดีจุดด้อยของแต่ละเบอร์ แล้วจัดสรรอุปกรณ์รอบข้างให้เหมาะสม ผมลัพท์โดยรวมอาจเกินคาดเดาได้


              เปรียบเทียบก็อาจเหมือนหลอดก็ได้ แค่ไอซีออปแอมป์หลายเบอร์ก็ให้สเปคได้สวยหรูกว่าหลอดยุคโบราณ
              แต่ทุกวันนี้เครื่องเสียงหลอดก็ยังยืนยงคงกระพัน มีการผลิตเครื่องเสียงหลอดกันตลอดเวลา
              ซึ่งดูแล้วท่าทางหลอดยังคงเป็นตำนานกล่าวขานไปอีกนาน


              Chip Ampหรือแอมป์ที่ใช้ไอซีขยายเสียง ที่ปัจจุบันพูดถึงกันอย่างแพร่หลาย หลายๆเบอร์ที่เป็นเบอร์ยอดนิยม ก็มีอายุหลายสิบปี
              ซึ่งในสมัยนั้นก็มีการผลิตขายกันอย่างแพร่หลาย แต่ไม่เป็นที่นิยมกันในหมู่คนเล่นที่ต้องการคุณภาพเสียงสูงกว่าปรกติ
              ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจเท่าไหร่ เพราะสมัยนั้นพวกอะหลั่ยรอบข้างยังมีจุดด้อยที่ไม่เหมาะสมกับพวกชิบไอซีอยู่พอสมควร
              ต่อมาพวกอะหลั่ยต่างๆมีการพัฒนามากขึ้น จนสามารถใช้งานร่วมกันพวกไอซีแอมป์ได้ดีขึ้น ชดเชยจุดด้อยของไอซีแอมป์ได้ดีขึ้น
              พวกเครื่องขยายเสียงแบบใช้ไอซีจึงถูกนำกลับมาพัฒนากันใหม่ จนได้ผลลัพท์ทางเสียงเป็นที่ถูกใจของเหล่านักฟังมากขึ้น
              ในที่สุดไอซีแอมป์+อะหลั่ยรุ่นใหม่ๆก็ถูกนำมาใช้งานร่วมกัน จนเป็นที่แพร่หลายแบบที่เห็นในปัจจุบัน


              --- ขออภัยที่ข้อความไม่ต่อเนื่องน่ะครับ เพราะไม่ได้พิมพ์ครั้งเดียวตั้งแต่ต้นจนจบ ---
              --- พิมพ์ทิ้งไว้เป็นช่วงๆตามจังหวะเวลาที่ว่าง แล้วค่อยโพสทีเดียว ---


              -----------------------------------------------


              OPIC Photocoupler ก็อยากรู้เหมือนกันครับ เหมือนกับการ รับ ส่ง สัญญาณไม่ให้เชื่อมต่อกันโดยตรง โดยการใช้ Optical เป็นตัวรับส่งสัญญาณแทนใช่ไหมครับ
              เปรียบเทียบง่ายๆแบบนี้ดีกว่า
              พวกนี้ใช้หลักการของแสงร่วมกับอุปกรณ์ที่ใช้แสงเป็นตัวเซนเซอร์ (ทั้งหมดอยู่ในตัวอะหลั่ย1ตัว) โดยดีเทคว่ามีแสงกับไม่มีแสง
              ทางด้านเอ้าท์พุท ก็อยู่ที่ว่าตั้งเงื่อนไขภายในไว้แบบไหน เช่น มีแสง=ปิดหรือเปิดสวิทช์ก็ได้ อยู่ที่เราจะนำไปประยุกต์ใช้งานแบบไหน

              ลองดูรายละเอียดเพิ่มจากwikipedia > opto-isolator (optocoupler, photocoupler, optical isolator)

              Schematic diagram of an opto-isolator showing source of light (LED) on the left, dielectric barrier in the center, and sensor (phototransistor) on the right.


              In electronics, an opto-isolator, also called an optocoupler, photocoupler, or optical isolator, is "an electronic device designed to transfer electrical signals by utilizing light waves to provide coupling with electrical isolation between its input and output". The main purpose of an opto-isolator is "to prevent high voltages or rapidly changing voltages on one side of the circuit from damaging components or distorting transmissions on the other side." Commercially available opto-isolators withstand input-to-output voltages up to 10 kV and voltage transients with speeds up to 10 kV/us.


              History
              Photoresistor-based opto-isolators were introduced in the 1960s. They are the slowest, but also the most linear isolators and still retain a niche market in audio and music industry. Commercialization of LED technology in 1968?1970 caused a boom in optoelectronics, and by the end of the 1970s the industry developed all principal types of opto-isolators. The majority of opto-isolators on the market use bipolar silicon phototransistor sensors. They attain medium data transfer speed, sufficient for applications like electroencephalography. The fastest opto-isolators use PIN diodes in photoconductive mode and contain electronic circuitry for amplification, shaping and interfacing of the signal detected by the sensor, and can attain data transfer rates of 50 MBd. Their role in computing and communications is being challenged by new integrated isolation devices based on microminiature transformers, capacitive coupling or spin valves.

              Operation
              An opto-isolator contains a source (emitter) of light, almost always a near infrared light-emitting diode (LED), that converts electrical input signal into light, a closed optical channel (also called dielectrical channel), and a photosensor, which detects incoming light and either generates electric energy directly, or modulates electric current flowing from an external power supply. The sensor can be a photoresistor, a photodiode, a phototransistor, a silicon-controlled rectifier (SCR) or a triac. Because LEDs can sense light in addition to emitting it, construction of symmetrical, bidirectional opto-isolators is possible. An optocoupled solid state relay contains a photodiode opto-isolator which drives a power switch, usually a complementary pair of MOSFET transistors. A slotted optical switch contains a source of light and a sensor, but its optical channel is open, allowing modulation of light by external objects obstructing the path of light or reflecting light into the sensor.
              Last edited by keang; 11 Jan 2012, 20:31:11.

              Comment


              • Audio-GD TAS1020 mudule


                Audio-GD Digital Receiver & DAC Board for NFB-10, NFB-1


                ---------------------------------------------

                Jeff Rowland Aeris DAC
                TAS1020 USB , Xilinx XC3s400 , AK4113VF , AD1853 , AD1895A


                ---------------------------------------------

                Naim Audio DAC
                SHARC DSP , PCM1704U-K x2


                ---------------------------------------------

                Bryston BDA-1
                CS4398 x2


                ---------------------------------------------

                Cary Xciter Dac
                AK4115 , CM108 USB , AK4399


                ---------------------------------------------

                C.E.C. DA1N
                Last edited by keang; 13 Jan 2012, 12:44:18.

                Comment


                • ชัดเจน แจ่มแจ้งเลยครับ ใช้ของให้ถูกกับงาน ขอบคุณมากเลยครับพี่ Keang แต่มีอีกอันที่ดูยังไม่เข้าใจตรง ไดโอดบริดจ์ อันนั้นใช้ แบบสี่เหลื่ยมหรอครับถึงใช้สัญลักษณ์นั้น เห็นเป็นรูปไดโอดตัวเดียวตามรูป



                  แหะๆ ลงรูปไม่ค่อยเก่งครับ ขอบคุณครับ
                  Last edited by LoveHifi; 11 Jan 2012, 23:41:53.

                  Comment


                  • สัญลักษณ์ในวงจร เค้าสื่อว่า ใช้วงจรRectfierแบบบริดจ์ครับ จะใช้ตัวเดี่ยวมาต่อก็ได้ หรือ ใช้แบบตัวบริดจ์สำเร็จรูปก็ได้

                    รุ่นD/AC-800, D/AC-1000 : ใช้ไดโอดแบบตัวเดี่ยว4ตัวมาต่อแบบบริดจ์


                    รุ่นD/AC-1100ขึ้นไป : ใช้บริดจ์ไดโอดแบบตัวสี่เหลี่ยมตัวใหญ่ ไม่ใช่ตัวตั้งแบนๆ



                    เพิ่มรูปที่โพสข้างบนด้วยละ จะได้ดูแล้วเข้าใจง่ายๆในโพสเดียวเลย

                    Comment


                    • รูปโป๊เยอะแยะเลย(เครื่อง) ชอบๆๆ 555+

                      ขอบคุณมากครับ ได้เห็นรูปนี่จะเข้าใจอะไรๆได้มาก/ง่ายเลย และได้idea ไว้ต่อยอดได้ด้วย
                      บางทีพูดอธิบายกันตั้งนานไม่เข้าใจ แต่เห็นนรูปแป๊บเดียวอ๋อเลย

                      ลองสังเกตุกันดู ในรูปที่คุณkeang เอามาให้ดู พอสังเกตุเห็นไหมว่า
                      พวกเครื่อง Hi-end นี่เขาเน้นส่วนไหน/ภาคไหน เป็นพิเศษ

                      บางทีลงทุนกันกับส่วนอื่นๆซะมากมาย แต่เหมือนๆส่วนนี้จะถูกหลงลืมกันไป
                      กลายเป็นลูกบ้านเล็กไป 555+ ทั้งที่มันสำคัญเหมือนกันนะ

                      ------------------------------

                      ในที่สุด ODG-DAC01 ก็(ต้องมี) daughter board กับเขามั่งแล้ว เห็นพวก เครื่อง Hi-end ชอบมีกัน อิอิอิ

                      จริงๆคือ Design ผิดอ่ะแหละ แต่บนบอร์ดที่มันเต็มไปหมดแล้ว ต้องใส่ IC DIP-14 อีกตัวกับ R อีก 2-3ตัว

                      พึ่งพูดถึงว่า เคยคิดจะใช้ Optocoupler กับ SPDIF ไป เลยทำให้ฉุกคิดได้
                      เอ่ย!! ตัวสัญญาณSPDIF มันยังไม่ใช่ Digitalเต็มตัว นี่หว่า ยังเป็น Biphase mark อยู่ (กึ่งanalog)
                      แถม Vp-p ยังแค่ 1V เท่านั้นเอง คงพอเดาออกกันละว่า ผมDesign ส่วนไหนผิด 555+

                      ธรรมดาเคยใช้แต่ CS8416 มันมี Multiplexer เลื่อก input ผ่านทางhardware config. ได้ในตัว
                      ส่วน dir9001 มี input เดียว ก็ต้องทำส่วนนี้เอง+ส่วน pre-digital ด้วย

                      ODG-DAC มี input แค่2แบบ Coax กับ USB ก็เดี๋ยวคงออกแบไว้ให้ทำกันง่ายๆโดยใช้ Relay แทนเอาละกัน
                      ส่วนผมจะลองออกแบบไว้อีกแบบนึง เป็น วงจร pre-digital/buffer กับ Multiplexer ไว้เล่น
                      ได้สัก 3 input เพราะ gate หมด มีแค่ 6 gates ใน 1 IC Buffer แต่ตัวMultiplexer นี่รับได้ 8in to 1out

                      ก็ถ้าเผื่อใครอยากลองแบบวงจร(ไม่ใช้ Relay) ก็เดี๋ยวมาลองเล่นกันได้ วงจรไม่ยาก IC 2ตัว กับ R อีก 3 ตัว

                      ---------------------
                      แอบอัพเดทเล็กๆก่อน ODG-DAC ได้ PCB มาแล้ว ดูคร่าวๆว่าโอเค งานOKพอใช้ได้เหมือนกันนะ ซีเกทนี่
                      แต่เดี๋ยวคงต้องส่องกล้องตรวจลายอีกสักหน่อย เพราะวงจรมันค่อนข้างเล็ก พวกSMD SSOP TSSOP

                      วันนี้ไม่ไหวละ ง่วงนอน ไว้เดี๋ยวพรุ่งนี้กลับมาค่อยว่ากัน
                      ว่าจะช่วยเสริมเรื่องเกี่ยวกับ Opto-isolator, Optocoupler อีกสักนิดหน่อย แต่ขอติดเอาไว้ก่อนละกัน
                      Last edited by dracoV; 11 Jan 2012, 22:04:20.

                      Comment


                      • ธรรมดาเคยใช้แต่ CS8416 มันมี Multiplexer เลื่อก input ผ่านทางhardware config. ได้ในตัว
                        ส่วน dir9001 มี input เดียว ก็ต้องทำส่วนนี้เอง+ส่วน pre-digital ด้วย

                        ODG-DAC มี input แค่2แบบ Coax กับ USB ก็เดี๋ยวคงออกแบไว้ให้ทำกันง่ายๆโดยใช้ Relay แทนเอาละกัน
                        ส่วนผมจะลองออกแบบไว้อีกแบบนึง เป็น วงจร pre-digital/buffer กับ Multiplexer ไว้เล่น
                        ได้สัก 3 input เพราะ gate หมด มีแค่ 6 gates ใน 1 IC Buffer แต่ตัวMultiplexer นี่รับได้ 8in to 1out

                        ก็ถ้าเผื่อใครอยากลองแบบวงจร(ไม่ใช้ Relay) ก็เดี๋ยวมาลองเล่นกันได้ วงจรไม่ยาก IC 2ตัว กับ R อีก 3 ตัว
                        พวกหลายอินพุท เอาไว้โปรเจอต่อไปก็ได้ครับ ยังมีเบอร์อื่นให้เล่นอีกหลายเบอร์
                        WM8805 หรือเล่น SRC4392 ไปเลย ? จะได้ทำคล็อคได้หลายชุดด้วย ทีนี้ซัพพอร์ทบิทเรทได้ครบเลย
                        ของนอกมีแค่2 เราใส่3คล็อคไปเลย


                        วันนี้ไม่ไหวละ ง่วงนอน ไว้เดี๋ยวพรุ่งนี้กลับมาค่อยว่ากัน
                        ว่าจะช่วยเสริมเรื่องเกี่ยวกับ Opto-isolator, Optocoupler อีกสักนิดหน่อย แต่ขอติดเอาไว้ก่อนละกัน
                        ติดนาน มีคิดดอกเบี้ยทบต้น เน้ออออ

                        Comment


                        • อยากจะบอกว่าดูรูปไม่เข้าใจว่าคุณkeangจะสื่ออะไร ใบ้อีกหน่อยได้มั้ย
                          รู้แต่ลักษณะการใช้ic กับอะไหล่ข้างเคียงของแต่ละเจ้าต่างกัน
                          ขึ้นกับic-วงจรที่ใช้?

                          ---------



                          วงจรจริงไม่ได้เหมือนschematicใช่มมั้ย เห็นในschematicเอาขาออกregมารวมกัน


                          รูปนี้เข้าใจว่า เอาc film มาขาต่อขากันเลยให้ประชิดที่สุด
                          กับเรื่องการเลือกใช้ค่าอะไหล่-ชนิดอะไร-จำนวน ที่เอามาขนานกัน(ดูเทียบกับschematic)
                          ใช้c film ค่าน้อยหลายตัวมาขนานเพื่อชดเชยเสียงแหลมของ 78xx/79xx ? มีการไล่ค่าเพื่อจูนเสียง?

                          ----

                          มีหนังสือเกี่ยวกับทรานซิสเตอร์แนะนำมั้ย ครับ หาอ่านอยู่
                          อธิบายเป็นตัวหนังสือเยอะๆ มีวงจรตัวอย่างให้เยอะๆ ก็ดี
                          เห็นสูตรอย่างเดียวแล้วงง ไม่เข้าใจว่า ตัวแปรไหนมันหมายถึงอะไร

                          ...

                          มีdac hi-soใช้ cm108ด้วยแหะ
                          Last edited by ManiacMaew; 11 Jan 2012, 23:56:10.

                          Comment


                          • วงจรจริงไม่ได้เหมือนschematicใช่มั้ย เห็นในschematicเอาขาออกregมารวมกัน
                            ของจริงในPCBกับในวงจร เหมือนกันทุกประการครับ
                            แม้กระทั่งเรื่อง การจัดเรียงค่าความจุ การจัดเรียงชนิดของC ก็ตรงตามรูปวงจร

                            "เห็นในschematicเอาขาออกregมารวมกัน" < มาร์คในรูปให้ดูหน่อย จุดไหนของรูปวงจรที่ทำให้เข้าใจว่า"เอาขาออกregมารวมกัน"


                            ใช้c film ค่าน้อยหลายตัวมาขนานเพื่อชดเชยเสียงแหลมของ 78xx/79xx ? มีการไล่ค่าเพื่อจูนเสียง ?
                            ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่า ดูจากหลายๆอย่างในตัวเครื่องแล้ว ผมเชื่อว่า คนที่ออกแบบตัวนี้ไม่ใช่การใช้อะหลั่ยเพื่อจูนน้ำเสียง

                            เพราะ การจูนเสียงนั้นไม่ใช่ทำได้เฉพาะจากยี่ห้อหรือชนิดของตัวอะหลั่ย แต่เราสามารถจูนเสียงได้ที่ตัววงจรได้ด้วยเช่นกัน
                            จะเอาเบสมากแค่ไหน จะเอากลางมากแค่ไหน จะเอาแหลมมากแค่ไหน พวกนี้สามารถจูนได้จากการดีไซน์ตัววงจรอยู่แล้ว
                            แต่จะทำได้ดีแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของคนออกแบบด้วยว่ารอบรู้แค่ไหนด้วยเช่นกัน


                            รูปนี้เข้าใจว่า เอาc film มาขาต่อขากันเลยให้ประชิดที่สุด
                            กับเรื่องการเลือกใช้ค่าอะไหล่-ชนิดอะไร-จำนวน ที่เอามาขนานกัน(ดูเทียบกับschematic)
                            อยากจะบอกว่าดูรูปไม่เข้าใจว่าคุณkeangจะสื่ออะไร ใบ้อีกหน่อยได้มั้ย
                            รู้แต่ลักษณะการใช้ic กับอะไหล่ข้างเคียงของแต่ละเจ้าต่างกัน
                            ลองดูรายละเอียดในรูปวงจรเทียบกับรูปของจริง หลายๆครั้งครับ เพราะ ตัววงจรเค้าดีไซน์ไว้แบบไหน ที่ตัวPCBของจริงก็เรียงแบบนั้น

                            อ่ะ ใบ้เพิ่มก็ได้ครับ
                            - สังเกตุดีๆ จะเห็นว่า เค้าใช้เทคนิคแบ่งCออกเป็นกลุ่มๆ
                            - สังเกตุโค๊ดชนิดที่พิมพ์ไว้หลังค่าuF/v จะเห็นเค้ามีการเลือกใช้ชนิดของCด้วย
                            - สังเกตุลำดับการเรียงค่าความจุ และ ชนิดของC ที่เค้าเลือกใช้
                            - สังเกตุจำนวนยี่ห้อของCฟิลม์ทั้งหมดในภาคจ่ายไฟ

                            อันนี้ให้เป็นข้อมูลเพิ่มเติม
                            - Cฟิลม์ที่เค้าใช้นั้น ผู้ผลิตCยี่ห้อนี้ผลิตCฟิลม์ให้กับผู้ผลิตพาวเวอร์ซัพพลายที่ใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ระดับเมนเฟรมยี่ห้อหนึ่ง
                            - Cยี่ห้อนี้ปรกติจะไม่ผลิตเพื่อวางขายในตลาดอะหลั่ย แต่ในความเป็นจริงก็ยังมีหลุดเข้าตลาดอะหลั่ยบ้าง เพราะมีการโล๊ะสต็อคอะหลั่ยสำรอง(ครบอายุการสำรองอะหลั่ย)
                            - ดูจากโค๊ดที่พิมพ์บนตัวC น่าจะเป็นการสั่งสเปคแล้วให้ผู้ผลิตCคัดสเปคตามที่เค้าต้องการ ยังไม่ใช่การสั่งผลิตแบบmake by order


                            ถ้าตีโจทย์แตก
                            - จะรู้วิธีลดผลเอฟเฟคที่เป็นข้อด้อยของการขนานCหลายๆตัวได้
                            - จะเข้าใจมากขึ้น ในเรื่อง โหลดพวกนี้มีพฤติกรรมการใช้ไฟลักษณะไหน และต้องการประสิทธิภาพของระบบไฟในลักษณะไหน
                            - จะเข้าใจมากขึ้น ในเรื่อง ข้อเด่นและข้อด้อยของตระกูล78xx, 79xx
                            ฯลฯ


                            --------------------------------------------------------


                            บางครั้งเมื่อเราดูเราพิจารณางานของคนอื่นแบบวิเคราะห์ให้ละเอียด แบบเปิดใจ เปิดรับข้อมูลใหม่ๆ เปิดรับมุมมองใหม่ๆ
                            หากเรามีประสบการณ์ในจุดนั้นมาบ้างในระดับหนึ่ง และเราเปิดใจได้มากพอจนสามาถซึบซับกับชิ้นงานตรงหน้าให้ไหลเข้าสู่ตัวเราได้
                            เราจะพอเข้าใจถึงแนวคิดแนวทางของคนออกแบบของผู้ผลิตได้ในระดับหนึ่ง โดยที่เราไม่จำเป็นต้องลงมือปฎิบัติเองเลยก็ได้

                            ซึ่งผลลัพท์ที่ได้ในจุดนี้ จะเป็นตัวชี้วัดว่า ประสบการณ์ที่เราคิดว่าตัวเรามีอยู่นั้น มันจริงแท้เพียงใด
                            หากพบว่า มีจุดไหนประเด็นไหนที่เราเคยเข้าใจคลาดเคลื่อน จะได้ไปหาวิธีเรียนรู้เพิ่มเติม ประสบการณ์ของตัวเราจะได้เที่ยงตรงแม่นยำมากขึ้น
                            Last edited by keang; 12 Jan 2012, 09:45:53.

                            Comment


                            • มาร์คแล้วครับ

                              ตรงลูกศรคือบอกจุดเชื่อม (ยังไงก็ต้องเชื่อม เพราะconnectorมีแค่นั้น)
                              ที่งงอีกอย่างคือมันมี 7805 3ตัวแต่7905 2ตัว ? คือเขาทำเพื่ออะไร


                              ตัวหนังสือบอกชนิดc ดูแล้วครับ
                              MPP นี้ metalize Polypropylene
                              แต่ไม่เข้าใจPS-T กับPS-Cคืออะไร
                              polystyrene ? หรือชื่้อรุ่น?

                              ..........

                              นอกเรื่อง
                              วันก่อนก็อ่านดาต้าชีท opa637 แล้ว เห็นnon-invert ใช้ได้ gain >= 4 ยังงงๆอยู่ว่าทำไมdsใช้ได้
                              หรือเป็นเรื่องimpedance วงจรในดาต้าชีทหลายๆอัน Ri ที่ระบุค่าต่ำกว่าในds มาก

                              Comment


                              • Power Supplies
                                D/AC-800 : 2 separate transformers and 3 regulators for digital and each analog circuit
                                D/AC-1000 : 3 separate transformers and 5 regulators for digital and for each analog channel
                                D/AC-1100 HD : 3 separate transformers and 9 regulators for digital circuits and for each analog channel
                                D/AC-1500 : 3 separate transformers and 9 regulators for digital circuits and for each analog channel
                                D/AC-1600 HD : 3 separate transformers and 9 regulators for digital circuits and for each analog channel
                                D/AC-2000 : ยังหาข้อมูลไม่ได้


                                --------------------------------------------------------


                                จะขนานregulatorไปหลายตัวแบบนั้น ต้องmatchมันใช่มั้ยครับ
                                วงจรจริงไม่ได้เหมือนschematicใช่มั้ย เห็นในschematicเอาขาออกregมารวมกัน
                                เค้าพ่วงด้านไฟออกหลังบริดจ์ไดโอด > ขาไฟเข้าไอซีเรกกูเลเตอร์
                                ( ในจุดนี้ ไฟยังไม่ผ่านการเรกกูเลเตอร์น่ะ )

                                ถ้าเอาขาไฟออกของไอซีเรกกูเลเตอร์หลายตัวต่อเชื่อมถึงกัน แบบนี้ถึงจะพิจารณาเรื่องคัดสเปคตัวไอซีเพื่อให้ได้การทำงานที่ใกล้เคียงกันมากที่สุด
                                เพราะเป็นการขนานไอซีเรกกูเลเตอร์เพื่อให้จ่ายกระแสได้สูงขึ้น << ซึ่งวิธีต่อพ่วงกันโดยตรงแบบนี้ไม่ควรทำโดยเด็ดขาด


                                ที่งงอีกอย่างคือมันมี 7805 3ตัวแต่7905 2ตัว ? คือเขาทำเพื่ออะไร
                                ก็โหลดในวงจรเค้าใช้ไฟ-5vแค่2ชุด จะให้ใส่7905มากกว่า2ชุดโดยที่ไม่ได้ใช้งานอะไร เพื่ออะไรละครับ
                                ( อย่าไปยึดติดว่า ทุกๆวงจรต้องมีไฟบวกไฟลบจำนวนเท่าๆกันเสมอไป )


                                ตัวหนังสือบอกชนิดc ดูแล้วครับ
                                MPP นี้ metalize Polypropylene
                                แต่ไม่เข้าใจPS-T กับPS-Cคืออะไร
                                polystyrene ? หรือชื่้อรุ่น?
                                ประเด็นสำคัญอยู่ที่ เหตุผลที่เค้าเลือกใช้ต่างชนิดกัน เพื่ออะไร เพราะอะไร
                                ( อย่าไปยึดติดว่า เค้าใช้ยี่ห้ออะไร ใช้ชนิดอะไร จนกลายเป็นกฏตายตัว )

                                วงจรในจุดนั้น การที่เค้าระบุชนิดของCไว้ แสดงว่า มันมีนัยยะสำคัญแฝงอยู่ด้วย
                                เค้าสื่อให้เห็นว่า สูตรของเค้านั้น ไม่ใช่ว่ามีอะไรแบบไหนแล้วจะจับใส่เข้าไปก็ได้ เพราะแต่ละอย่างที่ใส่เข้าไปนั้น เค้าพิจารณาถึงความเหมาะสมแล้ว
                                ( ซึ่งอาจจะเหมาะสมเฉพาะไอซีตระกูลนี้ หรือ อาจเป็นสูตรสำเร็จใช้ได้กับไอซีทุกเบอร์ ทุกรูปแบบวงจร ก็ได้ )

                                เราต้องไปทำการบ้านต่อเอาเอง ว่า เหตุใดเค้าถึงเลือกใช้Cเพียงยี่ห้อเดียว แต่เลือกใช้ต่างชนิดกันในจุดนี้ แล้วไปคิดขยายผลต่อยอดเอาเอง

                                - ถ้าเราแกะรอยจนเข้าใจเหตุผลที่มาที่ไปของสูตรเค้าได้ จะทำให้เราประยุกต์ใช้กับจุดอื่นๆวงจรอื่นๆได้อีกไม่รู้จบ

                                - ถ้าเราคิดเพียงแค่ลอกการบ้าน เค้าใช้แบบไหนเราก็ลอกตามเค้าเป๊ะๆ เท่ากับว่าเราไม่ได้รู้อะไรมากขึ้นจากเดิมสักนิด
                                เพราะ พอเราไปใช้ไอซีเบอร์อื่นวงจรอื่น เราก็ทำแบบเดิม ซึ่งผลลัพท์มันอาจจะไม่ใช่อาจจะไม่เหมาะสมก็ได้

                                ยังคงเน้นย้ำตามเดิม
                                - ให้พิจารณา การที่เค้าเลือกชนิดและค่าความจุของCแต่ละตัว
                                - ให้พิจารณา การที่เค้าขนานCหลายๆตัว และมีการแยกCออกเป็นกลุ่มๆด้วย
                                ซึ่งทั้งหมดจะเป็นคีย์เวิดสำคัญสำหรับแกะรอยความคิดของผู้ออกแบบวงจรนี้



                                วันก่อนก็อ่านดาต้าชีท opa637 แล้ว เห็นnon-invert ใช้ได้ gain >= 4 ยังงงๆอยู่ว่าทำไมdsใช้ได้
                                หรือเป็นเรื่องimpedance วงจรในดาต้าชีทหลายๆอัน Ri ที่ระบุค่าต่ำกว่าในds มาก
                                ลองไปพิจารณารูปแบบตัววงจรของDSดีๆ ตัววงจรมันทำงานแบบไหน

                                ใบ้เพิ่มให้ละกัน ลองเอาวงจรขยายของDSไปเทียบกับวงจรI/V ConverterของDACดูครับ
                                Last edited by keang; 12 Jan 2012, 15:10:33.

                                Comment

                                Working...
                                X