Announcement

Collapse
No announcement yet.

โมให้ดีกันเยอะแล้ว มาม๊ะ....มาโมให้"เจ๊ง"กันดีกว่า

Collapse
X
 
  • Filter
  • Time
  • Show
Clear All
new posts

  • #91
    ผมจบ วท.บ.(nutrition)

    พิ้นฐานทาง eletronic มีนีอย ศีกษาได้ แต่ทักษะการช่างเกือบ=0

    ต้องตามอย่างเดียว

    Comment


    • #92
      ผมคงสื่อสารไม่ค่อยดี

      สังคมที่เป็นแหล่งความรู้ คือ สังคมที่มีการแลกเปลี่ยน มีการถาม-ตอบ มีการมองต่างมุมกันออกไป

      สังคมของDIYก็เป็นแบบนี้ เป็นช่องทางในการแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน ใครไม่รู้ก็มาถามเพื่อให้รู้ ใครมีข้อสงสัยอะไรก็มาถามมาพูดคุยกัน ทุกคนพร้อมที่จะช่วยเหลือกัน

      (คุณดูกระทู้X-Fiเป็นตัวอย่าง เจ้าของกระทู้คือคุณMean ตั้งแต่วันแรกที่โพสจนมาถึงวันนี้ผ่านมาก็หลายเดือน ทุกวันนี้คุณMeanก็ยังคงเข้ามาดูความคืบหน้า เข้ามาคอยช่วยเหลือคนที่มีปัญหา ตรงนี้ต้องขอชื่นชมคุณMean เป็นDIYที่เสียสละ)


      --------------------------------------


      ถ้าเราสามารถถอดและใส่อุปกรณ์ในการ์ดได้เอง เพียงแค่นี้คุณก็สามารถเป็นทั้ง "คนโม" และ "คนเปลี่ยนอะหลั่ย" เพียงแต่ว่า คุณจะหยุดอยู่ที่คนเปลี่ยนอะหลั่ย หรือจะพัฒนาต่อจนเป็นคนโม
      - ถ้าคุณต้องการที่จะหยุดอยู่ที่คนเปลี่ยนอะหลั่ย ก็ไม่ต้องทำไรมาก เพราะรอคนมาแนะนำว่าควรเปลี่ยนอะไร ตรงไหน แล้วก็ทำตาม
      - แต่ถ้าเราต้องการที่จะเรียนรู้และพัฒนาตัวเองให้เป็นคนโม เราต้องทำการบ้านมากกว่าที่เค้าบอกเรา


      ตัวอย่าง

      "คนเปลี่ยนอะหลั่ย" : เปลี่ยนตัวเก็บประจุ จากเดิมยี่ห้อAเป็นยี่ห้อB
      ใครเห็นใครก็ทำตาม ซึ่งไม่แปลก เป็นผมผมก็ทำแบบนั้น แต่บางสิ่งบางอย่างมันมีความแตกต่างซ่อนเร้นอยู่ในตัว
      หลังจากที่ทำตามกันแล้ว ถูกอกถูกใจกันไปแล้ว หลังจากนั้นมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง

      ถ้าเราคิดสงสัยในใจ ทำไมเค้าเลือกใช้B แต่ไม่เลือกใช้ C D E ทั้งๆที่ก็เป็นของเกรดเดียวกัน ที่ตัวอะหลั่ยก็พิมพ์FOR AUDIOเหมือนๆกัน

      บางคนสงสัยก็สอบถามว่าทำไม บางคนสงสัยเหมือนกัน...แต่ก็ไม่ถาม
      ซึ่งเมื่อถามไปอาจจะได้คำตอบหรือไม่ได้คำตอบก็ได้ เพราะคนมาบอกก็ไม่อาจตอบได้ทุกเรื่อง(รวมถึงผมด้วย)

      แต่คุณอย่าลืมว่า เมื่อมีคนถาม ย่อมมีคนอ่านคำถามนั้นพร้อมๆกันเป็นสิบเป็นร้อยคน ในเวลานั้นเจ้าของกระทู้อาจจะตอบไม่ได้หรือช่วงนั้นงานยุ่งไม่ได้เข้ามาดูกระทู้ แต่อย่าลืมว่าคนอื่นที่เข้ามาอ่านเค้าอาจจะมีข้อมูลในเรื่องที่คุณถามก็ได้ เมื่อคนที่รู้มาตอบ เราก็ได้ข้อมูลเพิ่ม แต่ถ้าเราไม่ยอมถามแล้วเราจะได้ข้อมูลมาจากไหนละ

      --- เราจะหยุดความไม่รู้ของตัวเราด้วยการไม่ถาม ไม่ค้นหา ไม่แสวงหา อย่างนั้นรึ? ---

      ผ่านไปช่วงนึง มีนาย2ไปลองยี่ห้อC นาย3ไปลองยี่ห้อD ทั้ง2คนก็มาเล่าสู่กันฟัง ว่าCกับDเป็นยังงัยมีไรต่างกันบ้าง
      ถ้าเราอยากสนุกกับเค้าเราก็ไปลองยี่ห้อE แล้วก็มาพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน

      อืม....มีคนลองแล้ว เค้าว่ายี่ห้อB ยี่ห้อC ยี่ห้อD ยี่ห้อE เสียงเป็นแบบนี้แบบนั้น
      อ่านดูแล้ว ยี่ห้อDน่าจะถูกใจเราที่สุด ว่าแล้วก็หยิบการ์ดมาเปลี่ยนอีกครั้ง จากยี่ห้อBไปเป็นยี่ห้อD

      แต่ก็ยังมีปัญหาบางอย่างที่ไม่ตรงใจเรา เช่น อยากได้ตรงเสียงนู้นเสียงนี้เพิ่มจัง เสียงนี้มากไปอยากลดลงบ้าง จะทำงัยดี
      ด้วยการที่เป็นคนเพียงอะหลั่ย คงตอบปัญหานี้ได้ไม่หมดแน่
      ....เอ แล้วจะทำงัยดี....


      --------------------------------------



      ก้าวข้ามจาก "คนเปลี่ยนอะหลั่ย" เป็น "DIY" : ค้นหาความแตกต่างที่มากขึ้น
      หลังจากเปลี่ยนอะหลั่ยจากยีห้อAเป็นยี่ห้อBแล้ว ก็มีความสงสัยอยู่ในใจ ทำไมเค้าไม่ใช้ยี่ห้อC D E ลองเข้ามาดูเรื่อยๆว่ามีใครลองเปลี่ยนเอาC D Eมาใส่แล้วมีผลต่างไรบ้าง ถ้ามีคนลองแล้วจะได้มีข้อมูลเป็นแนวทาง ไม่ต้องลองผิดลองถูกอีก

      หลังจากเก็บข้อมูลว่า C D E ต่างกันยังงัยแล้ว แต่ความสงสัยก็ยังคงมีอยู่
      เอ..ที่เค้าฟังจะเหมือนกับที่เราฟังไม๊ จะสื่อไม่ตรงกันแล้วตีความคลาดเคลื่อนไม๊
      ว่าแล้วก็ไปหาซื้อยี่ห้อC D Eมาลองกับหูตัวเอง จะได้หายสงสัย

      อ๋อ..มันเป็นแบบนี้นี่เอง อาการตรงนี้คนนั้นเค้าเรียกอย่างนี้ อาการตรงนั้นเค้าเรียกอย่างนี้
      แต่ เอ๊ะ มันมีบางอย่างที่เค้าไม่ได้พูดถึงด้วยนี่ แบบนี้ต้องลองเอาไปโพสให้คนอื่นดู จะได้ช่วยกันดูว่ามันใช่แบบที่เรารับรู้ได้หรือป่าว จะผิดจะถูกไม่เป็นไรอยู่แล้วนี่ เพราะDIYมันคือเรื่องลองผิดลองถูกเพื่อค้นหาสิ่งที่ดีกว่า

      หลังจากได้แลกเปลี่ยนข้อมูลกับคนอื่น ทำให้รับรู้เพิ่มว่า
      ยี่ห้อA B C D Eต่างก็มีจุดดีจุดด้อยอยู่ในตัวเองเหมือนๆกัน อยู่ที่ว่าเรามองเห็นแค่ไหน อยู่ที่ว่าเราเลือกมองมันแบบไหน และเรารู้จักความเป็นตัวตนของแต่ละยี่ห้อได้ดีแค่ไหน

      พอลองมากขึ้นไปอีกขั้น ลองเปรียบเทียบยี่ห้อเดียวกันแต่คนละรุ่น ก็มีความแตกต่างให้ได้รับรู้ด้วยเหมือนกัน

      คุณได้ค้นพบว่า แต่ละยี่ห้อจะมีสไตล์เสียงที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเองอยู่ด้วย มีแฝงเร้นซ่อนตัวอยู่ในยี่ห้อนั้นๆมากบ้างน้อยบ้างตามลำดับชั้นของเกรดอุปกรณ์

      หลังจากที่ค้นหา แสวงหา ลองผิดลองถูก สิ่งที่จะได้ติดตัวมาคือความรู้ความเข้าใจที่มากขึ้น รู้จักจุดดีจุดเสียของแต่ละยี่ห้อแต่ละรุ่น
      ต่อไปคุณก็สามารถที่จะเลือกสรรใช้งานอะหลั่ยแต่ละตัวสำหรับงานแต่ละอย่างได้อย่างลงตัว

      จากปัญหาตอนเป็นเพียงคนเปลี่ยนอะหลั่ย ก็สามารถแก้ไขได้ในขั้นตอนนี้แล้ว
      อยากเพิ่มอยาดลด เสียงอะไร คุณสามารถกำหนดได้เองจากการเลือกสรรอะหลั่ยที่จะเปลี่ยน
      และที่สำคัญ เมื่อคุณได้การ์ดตัวใหม่ ยี่ห้อใหม่ และคุณอยากสนุกกับมัน คุณไม่จำเป็นต้องรอให้ใครมาบอกก่อนแล้ว

      ไม่แน่พรุ่งนี้ผมอาจจะมีโอกาสได้เห็นคุณมาตั้งกระทู้เล่าเรื่องความสนุกสนานกับการ์ดตัวใหม่ของคุณก็ได้


      --------------------------------------



      "คนโมดิฟาย" : โจทย์ที่ยากยิ่งขึ้น มีโจทย์มากกว่า1อย่างที่คุณต้องระวัง
      ไม่ว่าคุณจะโมเครื่องเสียงยี่ห้ออะไร ราคาเท่าไหร่ สิ่งที่คุณต้องระวังคือเอกลักษณ์ทางเสียงของเครื่องยี่ห้อนั้นๆ

      --- ทุกยี่ห้อจะมีเอกลักษณ์ทางเสียง ที่จะบ่งบอกว่า ถ้าได้ยินเสียงนี้ที่ไหนให้รู้เลยว่าคือยี่ห้อนี้ ---

      ถ้าคุณปรับเปลี่ยน ไม่ว่าจะตัววงจรหรืออะหลั่ยต่างๆ ต้องระวังอย่าให้เอกลักษณ์ทางเสียงของยี่ห้อนั้นเสียหาย
      คุณควรทำให้เอกลักษณ์ทางเสียงของรุ่นราคาต่ำให้เทียบเคียงหรือดีกว่ารุ่นที่ราคาสูงกว่า คุณทำได้ดีแค่ไหนนั่นคือประสิทธิภาพของนักโมดิฟายคนนั้น

      --- เจ้าของเครื่องยี่ห้อJADISคงไม่ชอบแน่ที่คุณไปโมให้กลายเป็นเสียงของยี่ห้อAUDIO RESEARCH ---


      ==================================


      เพียงแค่คุณใช้เครื่องมือได้ (เอาแค่ถอดและใส่อะหลั่ยได้ก็พอ) + ความตั้งใจ
      คุณก็สามารถก้าวข้ามคำว่า "คนเปลี่ยนอะหลั่ย" ไปสู่ "DIY" ได้แล้ว
      Last edited by keang; 24 Dec 2009, 13:21:36.

      Comment


      • #93
        สุดยอดครับ ชัดเจนดี

        Comment


        • #94
          อืม... ผมเข้าใจคุณแต่แรกแล้วครับ แต่จะสื่อว่าบางคนเค้าก็ไม่มีพื้นฐานเลย อาจจะไม่รู้ว่า C R opamp คืออะไร
          สำหรับผมไม่เคยซื้ออุปกรณ์แพงๆครับ เพราะผมก็เรียนอยู่ ยังขอเงินพ่อแม่ ใช้
          ทุกอย่างผมคิดตามทฤษฎีก่อน ว่าทำไปเพื่ออะไร

          อย่างเช่นสาย ผมเอาสายแลน มาทำ เพราะผมคิดว่ามันน่าจะนำสัญญาณได้ดีนะ เลยเอามาใช้แทนที่ผมจะไปซื้อสายแพงๆมาใช้

          Comment


          • #95
            ท่านก็อย่าเพิ่งรำคาญผมนะครับ ผมมาศึกษาเรื่องนี้เพิ่ง 1 เดือน แรกๆcapacitor ทำหน้าที่อะไรก็ยังไม่รู้ว่าเป็น

            เหมือนที่ผมคิดหรือเปล่า. ค่า R ก็เพิ่งค้นเจอว่าอ่านค่าอย่างไร เวลาอ่านก็ต้องดูตารางค่าอ่านตามไป

            opamp ก็เพิ่งได้เจอ ความหมายคงจะเป็นคำเต็มคือ operational amphifier


            ซาวการ์ดที่เรานำมาทำการเปลี่ยนอะไหล่ก็ย่อขนาดมาก ไม่ได้อยู่บน PCB ใหญ่เหมือนเครื่องเสียงบ้าน
            การเปลี่ยนทำได้ยากกว่า ตะกั่วก็ใช้ตะกั่วเงิน จุดหลอมเหลวสูงกว่า มือใหม่ๆอย่างผมก็ไม่ค่อยคล่องอยู่แล้วก็ยิ่งยาก

            อะไหล่ตัวเล็กๆ คุณภาพสูงก็หายาก เช่น regulator T0-39 78M05,79m05

            อย่างไรก็ตามขอบคุณท่านเสนอไอเดียการทำมา และผมพยายามทำตามเท่าที่สามารถทำได้ครับ

            อย่างตอนนี้ผมทำ X-Fi Extreme..,ASUS Xonar DS เสียงก็ดีจนพอใจ ถ้าทำให้ครบตาม

            ที่ท่านทำกลัวแต็ปด้วย คงจะเลือกทำตามอีก 30-40 % ครับ

            ขอเปลี่ยนอะไหล่ตามไปก่อน เมื่อมีประสบการณ์มากขึ้นก็จะ DIY ได้เอง

            Comment


            • #96
              แวะมาขอบคุณ...ขอบคุณครับ

              Comment


              • #97
                ยอดไปเลยท่าน

                Comment


                • #98
                  แอบมาให้กำลังใจครับ

                  Comment


                  • #99
                    ไม่ได้เข้ามาดู 2 วัน โมไปเกือบ 100% แล้ว
                    มารอศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม ในแต่ละส่วน ด้วยคนครับ

                    Comment


                    • ท่าน keang ลงค่า คาปาซิเตอร์ ตัว แดง ส้ม ให้ด้วยครับ

                      ค่า R ด้วยครับ เผื่อหาซื้อได้จะทำต่อ

                      แล้วเสียงออก ต่างกับโมแรกๆมั้ยครับ

                      Comment


                      • ปรับปรุงระบบไฟเลี้ยงของไอซี ASUS AV200 หรือ C-Media CMI8788

                        - datasheetของไอซีตัวนี้ ผมได้มาแค่ รู้ว่าแต่ละขาทำหน้าอะไร แต่หาที่มีวงจรตัวอย่างของเบอร์นี้ไม่ได้ ทำให้ขาดข้อมูลรายละเอียดพอสมควร หากใครมีหรือรู้วิธีค้นหา รบกวนแจ้งด้วยครับ ฉะนั้นในเบื้องต้นคงทำได้แค่บอกว่า เปลี่ยนจุดไหน
                        - รอถ่ายรูปการ์ด แล้วจะมาอัพเดทภายหลัง
                        Last edited by keang; 31 Dec 2009, 13:18:47.

                        Comment


                        • ปรับปรุงระบบไฟเลี้ยงของไอซี DAC เบอร์ WM8776S กับ WM8766G
                          รายละเอียดประกอบในส่วนนี้ ให้ดูที่ หน้า3

                          มาตราฐานของตัวย่อที่ใช้แทนไฟเลี้ยงวงจร จะหนีไม่พ้นตัวย่อ"VCC"หรือ"VDD" ถ้าเจอ2คำนี้ที่ไหนก็เดาได้เลยว่าจุดนั้นคือจุดป้อนไฟเลี้ยงให้วงจร

                          แต่พอเป็นวงจรที่เกี่ยวข้องกับสัญญาณแบบดิจิตอลและอนาล็อก จึงได้มีการเพิ่มตัวย่อข้างหน้าเพิ่มมาอีก1ตัว คือ "A"กับ"D"
                          - A คือ อนาล็อก
                          - D คือ ดิจิตอล
                          พอเอาทั้ง2ส่วนมานวมเข้าด้วยกัน จึงกลายเป็น AVDD(ไฟเลี้ยงอนาล็อก) DVDD(ไฟเลี้ยงดิจิตอล)

                          โดยปรกติที่จุดไฟเลี้ยงจะมีตำเก็บประจุค่าไม่สูงต่อไว้ เพื่อเป็นตัวสำรองไฟให้กับตัวไอซี ซึ่งถ้าหากเค้าใช้ตัวเก็บประจุที่มีคุณภาพดีอยู่แล้ว เราไม่จำเป็นต้องไปเปลี่ยนก็ได้


                          วงจรการทำงานของDACเบอร์ WM8776S
                          ไอซีตัวนี้ ทำหน้าที่ แปลงสัญญาณแบบดิจิตอลที่รับเข้า เช่น mic, aux (ช่องต่อ Front Panel กับ ช่องต่อแจ็คหลังการ์ด) และ รับสัญญาณดิจิตอลจากไอซีเบอร์ ASUS AV200ด้วย โดยให้เอ้าพุทเป็นแบบอนาล็อก จำนวน2แชนแนล สำหรับสัญญาณเสียงลำโพงคู่หน้าซ้ายและขวา โดยส่งสัญญาณให้ไอซีออปแอมป์เพื่อขยายสัญญาณให้แรงขึ้น



                          ไฟเลี้ยงของไอซีตัวนี้ จะมี2ชุด ไฟเลี้ยงสำหรับการทำงานในส่วนของวงจรดิจิตอล และ ในส่วนของวงจรอนาล็อก
                          "DVDD" = ไฟเลี้ยงวงจรในส่วนของ"สัญญาณดิจิตอล"
                          "AVDD" = ไฟเลี้ยงวงจรในส่วนของ"สัญญาณอนาล็อก"


                          วงจรการทำงานของDACเบอร์ WM8766G
                          ไอซีตัวนี้ ทำหน้าที่ แปลงสัญญาณแบบดิจิตอลที่รับเข้าจากไอซีเบอร์ ASUS AV200ด้วย โดยให้เอ้าพุทเป็นแบบอนาล็อก จำนวน8แชนแนล สำหรับสัญญาณเสียงลำโพงคู่ด้านข้างซ้ายขวา, หลังซ้ายขวา, เซนเตอร์ และ ซับวูฟเฟอร์



                          ไฟเลี้ยงของไอซีตัวนี้ จะมี2ชุด ไฟเลี้ยงสำหรับการทำงานในส่วนของวงจรดิจิตอล และ ในส่วนของวงจรอนาล็อก
                          "DVDD" = ไฟเลี้ยงวงจรในส่วนของ"สัญญาณดิจิตอล"
                          "AVDD" = ไฟเลี้ยงวงจรในส่วนของ"สัญญาณอนาล็อก"
                          Last edited by keang; 2 Jan 2012, 10:58:33.

                          Comment


                          • ปรับปรุงระบบจ่ายไฟเลี้ยงสำหรับไอซี DAC

                            จากรูปวงจรด้านบน เมื่อเราเปลี่ยนตัวเก็บประจุ จะได้หน้าตาแบบรูปด้านล่าง

                            สภาพเดิมๆ


                            เมื่อเปลี่ยนตัวเก็บประจุตัวใหม่


                            Last edited by keang; 2 Jan 2012, 10:59:03.

                            Comment


                            • Comment


                              • รอ Update ต่อครับ

                                Comment

                                Working...
                                X