Announcement

Collapse
No announcement yet.

โมให้ดีกันเยอะแล้ว มาม๊ะ....มาโมให้"เจ๊ง"กันดีกว่า

Collapse
X
 
  • Filter
  • Time
  • Show
Clear All
new posts

  • NMB GM460WTXW01SSV rev-04 ... อัพเดท
    Originally posted by keang
    "OPA4132", "OPA404" เบอร์ไหนน่าเอามาลองใช้แทน "MC3403N" ครับ
    Originally posted by dracoV
    ถ้าใน 2 ตัวนี้ OPA404 น่าจะดีกว่า ต้องการ supply current ต่ำกว่า
    ตอนแรกเปลี่ยน"OPA404"แค่ชุดไฟเอ้าท์พุท
    มาคิดอีกที ไหนๆก็คิดจะเปลี่ยนแล้ว ก็เปลี่ยนทั้ง2จุดเลยละกัน

    - original 1


    - mod 1



    - original 2


    - mod 2



    ------------------------------------------------


    --- แปะไว้ เผื่อไฟล์ในเครื่องหาย + เป็นข้อมูลให้คนที่สนใจปรับปรุงซัพพลายNMB ---

    MIP0223SP Silicon MOS IC > datasheet


    PC123 Photocoupler > datasheet
    Last edited by keang; 25 Aug 2012, 14:29:30.

    Comment


    • จุดนี้ละครับที่น่าสนใจ ที่ผมเล็งดูแล้ว ว่าน่าจะเปลี่ยน C เป็น silver-mica
      เพราะแทบเรียกได้ว่าเป็นตัวคุมการทำงาน(คุมความถี่) ของ MCU เลยก็ว่าได้

      ->

      -------------------------------
      หัวแร้งผมก็ชอบของ hakko ใช้ดีนะ มีตัว soldering station อยู่
      แต่ตัวที่ใช้ สัพเพเหระก็ใช้ Misto(??) Hakko clone เปลี่ยนใส้ hakko แท้ ใส่หัว goot
      ผมชอบหัวของ goot นะ ไม่แพงนักแต่ทนดีมากเลย ไม่สึกง่ายๆ
      ไม่เหมือนของno name(จีนอีกหรือเปล่าไม่รุ) ใช้ทำproject เล็กๆ อันเดียวสึก(ละลาย)ไปหมด โยนหัวทิ้งได้เลย 555+
      Last edited by dracoV; 25 Aug 2012, 01:20:24.

      Comment


      • มันคือตัวที่ต่อกับcrystalเหรอครับ

        Comment



        • ชนิดของตัวCก็ถือว่าสำคัญมาก เพราะ มีผลโดยตรงในเรื่องประสิทธิภาพการทำงาน (สัมประสิทธิ์อุณหภูมิ, ความนิ่งของค่าความจุ, แบนวิดธ์ช่วงความถี่)
          และ ที่สำคัญรองลงมา คือ Cทั้งสองตัวควรจะมีค่าเท่ากันเป๊ะ หรือ ใกล้เคียงกันมากที่สุดด้วย


          --------------------------------------------


          รูปวงจรตัวอย่างในเนท


          ให้ดูที่ "C5" จุดนี้มีความสำคัญในเรื่องแหล่งจ่ายไฟต้นทาง
          เท่าที่ดูจากผู้ผลิตหลายยี่ห้อ จะมีการใช้ค่าความจุในช่วง 0.22-3.3uF 160-250V ส่วนใหญ่จะใช้CชนิดMylarหรือElectrolytic
          --- ที่จุดนี้จริงๆควรใช้Cชนิดฟิลม์ แต่ถ้าหากของเดิมเค้าใช้ชนิดElectrolytic ขอแนะนำให้ใช้Cฟิลม์ต่อขนานBi-Capเพิ่มเข้าไปด้วย ---


          NMB GM460WTXW01SSV ใช้Cฟิลม์ ยี่ห้อBC MKP 0.22uF 160V / ล่าสุดผมเปลี่ยนเป็น Wima MKP4 0.22uF 250V



          Corsair CX430V2
          Last edited by keang; 26 Aug 2012, 09:38:15.

          Comment


          • มี Emacs 300w อยู่2ตัว เห็นแล้วชักอยากซนบ้าง....555+

            Comment


            • วันเสาร์ เลยไม่ได้ไปเที่ยวไหนเลย


              เดี๋ยวพรุ่งนี้กัดปรินท์ ทำเลยดีกว่า 555+ ออกแบบวงจรแล้ว
              เทสค่าอุปกรณ์/ลอง เอาตอนต่อเลยนี่แหละ เวิร์คไม่เวิร์ครู้กัน

              * 4-channel Fan control w/ 'Dual Mode' PWM or Manual speed adjusts - selectable.


              By dracov at 2012-08-25

              Last edited by dracoV; 25 Aug 2012, 23:53:41.

              Comment


              • 1. ขอคำแนะนำและข้อมูล "Power MOSFET" สำหรับงานพาวเวอร์ซัพพลายครับ
                - ถ้าหากเราจะใช้"IRF540" แทนของเดิม"IRF530" เราสามารถใส่แทนที่ได้เลย หรือ ต้องปรับปรุงส่วนไหนบ้าง
                - ระหว่าง2ยี่ห้อด้านล่าง สเปคของยี่ห้อไหนน่าสนใจกว่ากัน โดยตัดประเด็นเรื่องOutput Currentออกไป
                - บ้านเรามีร้านไหนขาย "IRF530" หรือ "IRF540" บ้าง

                International Rectifier : IRF530 ... datasheet , IRF540 ... datasheet
                Vishay Siliconix : IRF530 ... datasheet , IRF540 ... datasheet


                2. ขอคำแนะนำและข้อมูล "Dual Diodes, ตัวถังTO-220AB" สำหรับงานพาวเวอร์ซัพพลายครับ
                - ของเดิมใช้เบอร์"BYV42E" ต้องการหาเบอร์ใหม่ที่จ่ายกระแสได้สูงขึ้น (จุดประสงค์ คือ ไม่ได้เน้นเรื่องกระแสที่สูงขึ้นเป็นหลัก แต่คาดหวังเรื่องลดความร้อนในขณะที่ตัวมันทำงาน)
                - บ้านเรามีร้านไหนขาย "BYV42E" หรือ "BYV42EB" บ้าง

                BYV42E ... datasheet
                Last edited by keang; 26 Aug 2012, 10:42:44.

                Comment


                • 530แทนด้วย540 โดยปกติทั่วๆไปจะใช้แทนกันได้ครับ ต่างกัน ที่ Vdss และ Id
                  ขึ้นกับวงจรน่ะครับว่าต้องการกระแสสูงเท่าไหร่ 530 Id ต่ำกว่า(จ่ายกระแสได้น้อยกว่า) 540
                  กรณีที่กระแสไม่เกินกำลัง ในวงจรปกติจะใช้แทนกันได้
                  ก็มีกรณีวงจรที่ต้องการความไวสูงมากหรือ sensitive ต่อ Rise and Fall time
                  ตัว 530 จะเร็วกว่า 540อยู่บ้างครับ แต่ในวงจร power supply ทั่วไป ไม่น่ามีผลอะไร

                  ถ้าต้องการหาตัวแทน 530สำหรับวงจรpower supply และทำงานได้ดีกว่า(รุ่นใหม่กว่า)
                  ไม่ได้ต้องการกระแสเพิ่ม แนะนำ IRFZ24N ครับ แต่ตัวนี้จะมี Vdss ต่ำกว่า 530 ก็ดูว่าส่วนที่ใช้
                  ในวงจรต้องการ volt ที่เท่าไหร่ด้วยน่ะครับ

                  IRF530, 540, IRFZ24N ที่ es มีขายครับ

                  International Rectifier กับ Vishay Siliconix
                  ถ้าจำไม่ผิด Vishay จะซื้อส่วน Power Control Systems ของ IR มาแล้ว
                  MOSFET ของ Vishay Siliconix ก็เอาของ IR มาน่ะครับ ก็คงเหมือนๆกัน

                  ส่วน Diode ที่ดีกว่าตัว BYV42E เมืองไทยก็ไม่รู้เหมือนกันครับว่าหาที่ไหน
                  ถ้าต้องการแค่ให้ทนกระแสได้มากขึ้น ลองหาดูที่ ES ก็พอได้มังครับ

                  Comment


                  • Originally posted by dracoV
                    530แทนด้วย540 โดยปกติทั่วๆไปจะใช้แทนกันได้ครับ ต่างกัน ที่ Vdss และ Id
                    ขึ้นกับวงจรน่ะครับว่าต้องการกระแสสูงเท่าไหร่ 530 Id ต่ำกว่า(จ่ายกระแสได้น้อยกว่า) 540
                    กรณีที่กระแสไม่เกินกำลัง ในวงจรปกติจะใช้แทนกันได้
                    ก็มีกรณีวงจรที่ต้องการความไวสูงมากหรือ sensitive ต่อ Rise and Fall time
                    ตัว 530 จะเร็วกว่า 540อยู่บ้างครับ แต่ในวงจร power supply ทั่วไป ไม่น่ามีผลอะไร


                    ถ้าต้องการหาตัวแทน 530สำหรับวงจรpower supply และทำงานได้ดีกว่า(รุ่นใหม่กว่า)
                    ไม่ได้ต้องการกระแสเพิ่ม แนะนำ IRFZ24N ครับ แต่ตัวนี้จะมี Vdss ต่ำกว่า 530 ก็ดูว่าส่วนที่ใช้
                    ในวงจรต้องการ volt ที่เท่าไหร่ด้วยน่ะครับ


                    IRF530, 540, IRFZ24N ที่ es มีขายครับ
                    --- ขอบคุณครับ ---

                    IRF530N ... 17A , 100V , 0.09 ohm , Rise Time 22 , Fall Time 25 , Reverse Recovery Time 93-140 ns
                    IRF540N ... 33A , 100V , 0.07 ohm , Rise Time 35 , Fall Time 35 , Reverse Recovery Time 115-170 ns
                    IRFZ24N ... 17A , 55V , 0.07 ohm , Rise Time 34 , Fall Time 27 , Reverse Recovery Time 56-83 ns


                    ใช้ไฟต่ำครับ NMBใช้กับชุดไฟเอ้าท์พุท "+12Vdig" , "+3.3V"

                    ที่เห็นซิ้งค์แผ่นทองแดงบางๆ2ตัว ก็คือ IRF530ทั้ง2ตัวครับ


                    ในบอร์ด เค้าเลย์เอ้าท์ให้ใส่ได้4ตัว ครบตามจำนวนชุดไฟเอ้าท์พุท แต่ใส่จริงแค่2ชุด
                    แต่เท่าที่เสริชดูรูปในเนท เห็นบางreviseก็ใส่มา3ชุด +12Vdig, +12Vio, +3.3V
                    กำลังคิดอยู่ว่าจะหามาใส่เพิ่มให้ครบเลยดีไม๊


                    --------------------------------------------


                    ลองเสริชข้อมูลในเนท Dual Ultrafast Rectifier Diodes ขนาด30A > ตัวถังแบบTO-220AB น่าจะได้สูงสุดที่ 30A แล้วละ

                    ถ้าใช้ตัวช่วยเรื่องกระแสไม่ได้ จะมีจุดไหนที่จะเป็นตัวช่วยในเรื่องลดความร้อนได้บ้างครับ


                    --------------------------------------------


                    มีข้อสงสัยเพิ่มอีกแล้วครับ

                    Da , Db , Ra ในกรอบสีแดง <-- ดูคร่าวๆเหมือนแค่ดรอปไฟ+5Vให้เหลือ+3.3V แต่พอดูย้อนไปต้นทาง ไฟ+3.3Vก็มีการแยกชุดไฟเข้าด้วย
                    คิดว่า ... มันไม่น่าจะเป็นเรื่องดรอปไฟหรือเทียบศักย์ไฟ มันน่าจะมีไรมากกว่านี้รึเปล่า ??
                    Last edited by keang; 26 Aug 2012, 13:57:40.

                    Comment


                    • Power Factor Correction with Ultrafast Diodes














                      ดูแล้ว น่าจะเพิ่มประสิทธิภาพสำหรับซัพพลายทั่วไปได้
                      "Continuous Conduction Mode" น่าเอาไปทำซัพพลายที่โหลดใช้กระแสไม่สูงมาก เช่น Pre, DAC, Headphone Amp, Chip Amp
                      "IRFZ24N" ที่คุณdracoVแนะนำไว้ด้านบน น่าจะใช้งานได้สบาย รองรับโหลดได้ถึง17A
                      Last edited by keang; 26 Aug 2012, 16:41:00.

                      Comment


                      • ในบอร์ด เค้าเลย์เอ้าท์ให้ใส่ได้4ตัว ครบตามจำนวนชุดไฟเอ้าท์พุท แต่ใส่จริงแค่2ชุด
                        แต่เท่าที่เสริชดูรูปในเนท เห็นบางreviseก็ใส่มา3ชุด +12Vdig, +12Vio, +3.3V
                        กำลังคิดอยู่ว่าจะหามาใส่เพิ่มให้ครบเลยดีไม๊
                        ต้องลองไล่ดูวงจรประกอบด้วยนิดนึงน่ะครับ ว่าในส่วนที่ไม่ได้ใส่ไว้ อุปกรณ์ประกอยอื่นๆต่อไว้แล้วด้วยหรือยัง
                        ถ้ายังก็อาจต้องมาคำนวณค่าต่างๆของอุปกรณ์เพิ่มเติมด้วยน่ะครับ
                        หรือ วงจรอาจประกอบมาแล้วโดยไม่ได้คำนวณในส่วน voltage drop จาก MOSFET เผื่อไว้ด้วย
                        MOSSFET อาจถูกใช้เป็นส่วนหนึ่งของวงจร Regulates ไฟด้วยก็ได้

                        -------
                        ในกรอบแดง เนื่องจากไม่เห็นวงจรอื่นทั้งหมดก็คาด(เดา)เอาว่า เป็นส่วนหนึ่งของการคุม volt
                        เป็นโหลดของวงจรเพื่อให้วงจรทำงานสมบูรณ์ และ เป็นส่วนหนึ่งของ protection circuit
                        คล้ายๆเป็น sensor เพื่อ activate protection circuit กรณีมีvolt drop หรือ เกินมากกว่าปกติ
                        ...

                        -------
                        "Continuous Conduction Mode" ก็สามารถนำมาประยุกต์ใช้งานได้ครับ
                        แต่ จะยุ่งยากหน่อยในส่วนของวงจร PWM ที่ต้องออกแบบและนำมาต่อเข้ากับ MOSFET (หรือ BJT ก็ใช้ได้)


                        ผมก็ใช้ ในส่วนของตัว control พัดลม เช่นในรูป

                        ต้องทำวงจรเพื่อนำ PWM signal จาก MB fan control มาใช้ เพราะสัญญาณ PWM จะมาในลักษณะ LOW(~0.8V) and Open
                        ต้อง pull-up (3.3-5V) เพื่อให้ได้สัญญาณ High and Low

                        Comment


                        • Originally posted by dracoV
                          "Continuous Conduction Mode" ก็สามารถนำมาประยุกต์ใช้งานได้ครับ
                          แต่ จะยุ่งยากหน่อยในส่วนของวงจร PWM ที่ต้องออกแบบและนำมาต่อเข้ากับ MOSFET (หรือ BJT ก็ใช้ได้)
                          ขอบคุณสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมครับ เห็นอะไรหลายอย่างชัดเจนขึ้นพอสมควรเลย

                          "The MOSFET is used as an electronic switch, and is cycled "on" and "off" by an external source"
                          ก็คือ PWM Control Signal ที่คุณdracoVพูดถึงนี่เอง

                          เพิ่มข้อมูล





                          Originally posted by dracoV
                          ในกรอบแดง เนื่องจากไม่เห็นวงจรอื่นทั้งหมดก็คาด(เดา)เอาว่า เป็นส่วนหนึ่งของการคุม volt
                          เป็นโหลดของวงจรเพื่อให้วงจรทำงานสมบูรณ์ และ เป็นส่วนหนึ่งของ protection circuit
                          คล้ายๆเป็น sensor เพื่อ activate protection circuit กรณีมีvolt drop หรือ เกินมากกว่าปกติ
                          คลิกที่รูปจะมีลิ้งค์ไฟล์วงจรต้นฉบับครับ
                          ผมลองเสริชวงจรในเนทของหลายยี่ห้อ ลองดูของจริงเปรียบเทียบ ทั้งแบบซัพพลายติดเคส, ซัพพลายแบรนด์ บางตัวจะมีส่วนนี้เหมือนกัน แต่อาจจะต่างกันที่ชนิดหรือจำนวนของตัวอะหลั่ยที่ใช้


                          Originally posted by dracoV
                          ต้องลองไล่ดูวงจรประกอบด้วยนิดนึงน่ะครับ ว่าในส่วนที่ไม่ได้ใส่ไว้ อุปกรณ์ประกอบอื่นๆต่อไว้แล้วด้วยหรือยัง
                          ถ้ายังก็อาจต้องมาคำนวณค่าต่างๆของอุปกรณ์เพิ่มเติมด้วยน่ะครับ
                          หรือ วงจรอาจประกอบมาแล้วโดยไม่ได้คำนวณในส่วน voltage drop จาก MOSFET เผื่อไว้ด้วย
                          MOSSFET อาจถูกใช้เป็นส่วนหนึ่งของวงจร Regulates ไฟด้วยก็ได้
                          ตามเลย์เอ้าท์ไม่มีอุปกรณ์เพิ่มครับ

                          ตอนนี้ที่ผม"งงและสับสน"จะเป็น "Q316 (IRF530N)" ตัวที่อยู่ใกล้ชุดไฟ+3.3Vเอ้าท์พุท คือ เจอปัญหาpcb3เลเยอร์ ลายทองแดงแต่ละเลเยอร์บังกันเอง + ลายวงจรบางส่วนอยู่ใต้ซิ้งค์ตัวใหญ่
                          เลยลังเลว่า จะถอดซิ้งค์ตัวใหญ่ออก(งานหนักเลย)เพื่อไล่วงจรมันต่อดี หรือ หยุดแค่นี้ดี (ต้องบอกกับตัวเองให้ยอมรับว่าจะไม่รู้ไม่เข้าใจต่อไป)

                          "Q316" IRF530N ตัวที่อยู่ใกล้+3.3Vเอ้าท์พุท
                          - ขาG > 2SC3198(Epitaxial Planar Type) ขาC + OPA404KP(Voltage Comparator)
                          - ขาD > ผ่านอะหลั่ย1ตัวที่อยู่ใต้ซิ้งค์ใหญ่ (ลองใช้มิเตอร์วัดค่าความต้านทาน ลักษณะเป็นไดโอด) > + Power Transformer ด้านSec
                          - ขาS > Ground
                          เส้นทางตัววงจรมีลักษณะเหมือนวงจรคอนโทรลไฟ+3.3V พูดง่ายๆ ยังไม่แน่ใจว่าต่อเป็นแบบวงจรRegulator หรือ Voltage Stabilizer

                          "Q314" IRF530N ตัวที่ต่อกับ+12Vdigเอ้าท์พุท
                          - ขาG > 2SC3198(Epitaxial Planar Type) ขาC + OPA404KP(Voltage Comparator)
                          - ขาD > ต่อกับ +12Vdigเอ้าท์พุท
                          - ขาS > ต่อกับ Rค่า10โอห์ม > Ground

                          "Q310" ไม่ได้ใส่มาให้ ตัวที่อยู่ใกล้+5.0Vเอ้าท์พุท (รูปแบบวงจรเหมือน"Q316")
                          - ขาG > 2SC3198(Epitaxial Planar Type) ขาC + Power Transformer ด้านSec
                          - ขาD > เลย์เอ้าท์มีต่อผ่านอะหลั่ย1ตัวที่อยู่ใต้ซิ้งค์ใหญ่(คิดว่าน่าจะเป็นไดโอด) แต่เค้าไม่ได้ใส่ตัวอะหลั่ยมาด้วย > + Power Transformer ด้านSec
                          - ขาS > ต่อกับ Ground

                          "Q317" ไม่ได้ใส่มาให้ ตัวที่ต่อกับ+12Vioเอ้าท์พุท
                          - ขาG > 2SC3198(Epitaxial Planar Type) ขาB + PIC16C72A(MCU)
                          - ขาD > ต่อกับ +12Vioเอ้าท์พุท
                          - ขาS > ต่อกับ Ground


                          หลังจากลองเล่นกับซัพพลายNMBตัวนี้ ทำให้ผมต้องบอกกับตัวเองให้ยอมรับความจริงอย่างนึง คือ พื้นฐานเรื่องพาวเวอร์ซัพพลายมีน้อยมาก เข้าใจวงจรของNMBยังได้ไม่ถึงครึ่งเลย
                          Last edited by keang; 1 Sep 2012, 12:12:09.

                          Comment


                          • NMB GM460WTXW01SSV rev-04 ... อัพเดท















                            ร้านสหพิพัฒน์
                            IRF530N 12.50 บาท : 17A , 100V , 0.09 ohm , Rise Time 22 , Fall Time 25 , Reverse Recovery Time 93-140 ns
                            IRF540N 11.50 บาท : 33A , 100V , 0.07 ohm , Rise Time 35 , Fall Time 35 , Reverse Recovery Time 115-170 ns
                            IRFZ24N 9.50 บาท : 17A , 55V , 0.07 ohm , Rise Time 34 , Fall Time 27 , Reverse Recovery Time 56-83 ns

                            ร้านนัฐพงษ์ (NPE)
                            WIMA FKP2 5mm : 470pF 100V = 4.50 บาท
                            WIMA FKS2 5mm : 1,000pF 100V = 4 บาท
                            WIMA MKS2 5mm : 0.1uF 100V = 3.50 บาท
                            WIMA MKS2 5mm : 0.22uF 63V = 4.50 บาท
                            WIMA MKS2 5mm : 0.47uF 63V = 6 บาท
                            WIMA FKS3 10mm : 0.01uF 400V = 6.50 บาท
                            WIMA MKP10 15mm : 0.22uF 250V = 11 บาท
                            WIMA MKS4 22.5mm : 1.0uF 400V = 24 บาท


                            ------------------------------------------------------


                            Wikipedia : American wire gauge
                            Last edited by keang; 21 Oct 2012, 10:46:59.

                            Comment


                            • การ์ดเสียงผมรอดได้ก็เพราะกระทู้นี้ ^ ^

                              Comment




                              • c หางหนูที่bicapกับwimaนี้ยี่ห้อ-รุ่น-ชนิดอะไรเหรอครับ

                                Comment

                                Working...
                                X