Announcement

Collapse
No announcement yet.

โมให้ดีกันเยอะแล้ว มาม๊ะ....มาโมให้"เจ๊ง"กันดีกว่า

Collapse
X
 
  • Filter
  • Time
  • Show
Clear All
new posts


  • ขนาดหน้าตัดของลวดที่ใช้ จะเป็นตัวกำหนดค่ากระแสสูงสุด

    อัพเดท
    ฝาหร่างทำแบบนี้ใส่เพิ่มในเครื่องเล่นซีดี Marantz CD50
    บรรยายสรรพคุณ : AC RFI filter. Very, very important! And costs only 8EUR.



    --------------------------------------------------


    Originally posted by milestone
    L นี่ใช้ยังไงครับ ต่อด้านไหนก็ได้เหรอ?
    มันมีขั้วหรือทิศทางหรือเปล่าครับ
    - Lไม่มีขั้ว (ขั้วบวกขั้วลบแบบC)
    - Lมีทิศทาง และตัวมันมีการแพร่สนามแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งจะอิงกับกฏมือขวา

    ทิศทางของL ให้สังเกตุ"จุดวงกลมสีดำ"จากรูปที่คุณเสือโพส
    "จุดวงกลมสีดำ" คือ ทิศทางไฟเข้า หรือ จุดเริ่มต้นของการพันลวด



    --------------------------------------------------


    Originally posted by nattapong29
    ใส่ REG MOTO เข้าไป เสียงกระแทกมาเลย เอาใบแคปตรงขาออก Reg ออกแล้ว

    ลองเปลื่ยน C หลายตัวแล้วแต่ทดสอบแบบคร่าวๆนะครับ ว่าเสียงแต่ละตัวมันแนวไหน
    pana FM ตัวล่าสุดเสียงไม่ประทับใจเท่าใหร่เลย ซื้อมาตั้งหลายตัว เดี๋ยวลอง FC ดูมั่ง
    Bemel ส่งเสียงกระแทกได้ดีสุด nippon SME ยังสู้ไม่ได้เลย GXE ยังไม่ลอง
    โดยรวม Bemel แจ่มนะสมดุลดีครับ
    ลองปรับฐานเสียงของวงจรแต่ละส่วน ให้มีปริมาณ(โทนัลบาล๊านซ์)ของเสียงทุ้มกลางแหลมที่สมดุลกัน
    และมีบุคคลิกสไตล์เสียงในแบบที่คุณชอบ เช่น ชอบทุ้มเก็บเก็บตัวเร็วช้าแค่ไหน ชอบแหลมทึ่สดใสกรุ๊งกริ๊งเด่นชัดหรือแบบนุ่มสบายหู

    เมื่อได้ภาคจ่ายไฟที่ให้เสียงได้สมดุลแล้ว ก็ไปทำที่วงจรขยายเสียงให้มีเสียงที่สมดุลต่อ ทีนี้จุดสำคัญๆก็สมบูรณ์มากขึ้น สามารถเป็นจุดอ้างอิงทางเสียงได้แล้ว


    ถ้าแต่ละส่วนมีเสียงไม่สมดุลกัน จะกลายเป็น ต้องไปทำต้มยำวงจรหลายๆส่วนให้มีเสียงชดเชยช่วยเหลือกัน ไม่มีไรที่ดีสมบูรณ์จริงๆสักจุด
    เปรียบเสมือน วงจรทุกๆส่วนมีการมั่วเสียงโดยการปรับแต่งEQไว้หมด
    เช่น
    - ภาคจ่ายไฟเบสมากแต่แหลมน้อย ก็ไปแก้ที่ภาคขยายให้มีเบสมีน้อยลงแล้วเพิ่มให้แหลมมีมากขึ้น
    - แอมป์เบสมากแต่แหลมน้อย ก็ไปแก้ด้วยการใช้ปรีหรือลำโพง ที่เบสน้อยแต่แหลมมาก

    ผลลัพท์ของเสียงที่ไม่สมดุล จะให้ผลลัพท์ในทางที่ไม่ดีได้ง่ายมาก
    เช่น
    - เวลาที่เราเอาอะหลั่ย(หรือสายไฟ)ตัวใหม่ไปใส่ในวงจรแต่ละส่วน เราจะไม่มีทางรู้เสียงที่แท้จริงของอะหลั่ย(หรือสายไฟ)ตัวนั้นเลย
    - เวลาที่เราเปลี่ยนเครื่อง(แอมป์,ปรี,ลำโพง)หรือสายไฟในบางจุด เสียงทั้งหมดจะเปลี่ยนไปแบบหน้ามือเป็นหลังมือ

    แม้กระทั่ง อนาคต เมื่อคุณมีเครื่องใหม่(แอมป์,ปรี,ลำโพง,สายไฟ ฯลฯ)ที่ผู้ผลิตออกแบบเสียงมาได้สมดุลในระดับนึงแล้ว
    แต่พอคุณเอามาต่อใช้งานร่วมกับชุดของเดิมที่คุณใช้งานอยู่ เครื่องตัวใหม่นั้นจะกลายเป็นผู้ร้ายในระบบไปโดยปริยาย
    เพราะจะโดนมองว่า ไม่ได้เรื่องเลยสักนิด เสียงนู้นมากเกิน เสียงนี้น้อยเกิน


    ทั้งหมดที่พูดไป ต้องบอกไว้ก่อนว่า พูดง่ายแต่ทำยาก ต้องใช้ทักษะและประสบการณ์ร่วมกัน
    แต่เมื่อถึงเวลาที่เราทำได้ เราจะเดินไปบนเส้นทางเครื่องเสียงแบบมีความสุข แบบสบายใจ ไม่เจ็บตัว
    Last edited by keang; 5 Apr 2012, 10:56:30.

    Comment


    • Originally posted by keang View Post
      ขนาดหน้าตัดของลวดที่ใช้ จะเป็นตัวกำหนดค่ากระแสสูงสุด
      ขอบคุณมากครับพี่

      แล้วR คุม Impedance ค่าอยู่ประมาณเท่าไหร่ครับ(ไฟบ้านปกติ)



      แล้วตัวนี้มันคืออะไรครับ ทีแรกนึกว่า R วัดค่าแล้วไม่ได้คงไม่ใช่แน่
      ------------

      อันนี้น่าสนใจ ...ใช้ไดโอดช่วย
      Last edited by tiger X-fi; 5 Apr 2012, 10:03:33.

      Comment


      • ถ้าเป็นตัวRที่ตัวมันจะบอกค่าความต้านทานกับวัตต์ / ในรูปที่ตัวมันมีบอกV ควรจะเป็นC
        680pF 250v / Kคือค่าความผิดพลาด น่าจะ10%น่ะ(แต่ไม่ชัวร์น่ะ ผมจำไม่ได้แล้วครับ)


        ------------------------------------------


        ค่าR ในวงจรซัพพลายแบบสวิทชิ่ง ผมเห็นเค้าใช้กันตั้งแต่470K-2M ส่วนใหญ่จะอยู่ประมาณใกล้ๆ1M
        เอาชัวร์ๆ ต้องพึ่งคนที่เก่งเรื่องคำนวนค่าความต้านทานรวมของระบบจริง

        ผมลองใช้ "AC RFI/EMI line Filter" เสริชดูตัวอย่างในกูเกิ้ล ได้มาประมาณนี้ครับ

        - ดูค่าอะหลั่ยต่างๆจากตัว AC RFI/EMI Line Filter





        - ดูค่าอะหลั่ย จากเวปที่มีการพูดถึงพวกนี้ และมีวงจรตัวอย่างให้ดูด้วย

        Here's one more AC line filter - this one is more selective than the other one.
        It has a set bandpass area of +/- 50-60 Hz, but from figuring the Resonant Frequency of the RLC network at the input, it looks like the Fres is somewhere around 100.65 Hz, and the Harmonic drain filter portion at the output might be somewhere around >240 Hz - I'll double check these numbers and repost.

        Anyhow, this one uses the same consepts as the first one does. The Resistor at the input does a dual purpose thing: Drains the Capacitors and helps drain the "Midrange" frequencies.

        BTW: These filters are nearly the same as Passive Crossovers used for Speakers in Audio Systems. Differences are there's normally only one line used when placing any series connected elements [in this case, the Inductors]; also, there's normally no center tapped Capacitor banks [or other type of elements].

        Bypassing a speaker lead to ground would be done with a Capacitor of small value [in the 10 pF ranges] connected from each speaker lead to a grounded conductor - which is not an active circuit conductor! only runs from a star grounding point to a speaker. It can be driven to earth ground, or just connected to the enclosure of the power amplifier. All depends on the system, components and the interference.



        Here's a drawing of a simple AC line filter, which can be used to either drain excessive Harmonics, or to try to get rid of noise [EMI/RFI,etc.].
        It's kind of like two "PI" filters stacked on each other

        This one has a bandwidth of 48 to 440 Hz - where it should crossover. I'll figure the Fc and Fres for it, then post later.

        The 465 microHenry Inductors [chokes, or coils "L"], can pass upto 6 amps before entering the point of no return [AKA getting close to letting the smoke out].

        The input section of Capacitors creates the first part of the Low Pass filter, by allowing higher frequencies to pass through the Capacitor [the Resonance of the Capacitor as compared to the Resonance of the Inductors will pass higher frequencies easier - the Inductors will allow lower frequencies to pass easier].

        The final section of Capacitors will allow any high frequencies that passed thru the Inductors, to be "Shunted to Ground" via the ground center tap point between the two Capacitors in the output section.

        This can help to drive Harmonic currents to ground, rather than backfeed thru the AC power system - which is why a Dedicated and Isolated grounding conductor should be used [to keep the shunted currents from flowing all around the AC power system's grounding conductors, conduits, etc.]

        Dedicated IGs should be terminated at the grounding electrode's connection to the grounded conductor for the system feeding it [main service, or if SDS, the transformer].



        เจอของแถม เกี่ยวกับพวกซัพพลายคอมที่มาตราฐานต่ำ
        ซัพพลายติดเคส , ซัพพลายราคาถูก , ซัพพลายราคาสูงมียี่ห้อบางตัวก็เป็นแบบนี้เหมือนกัน
        > ทำเครื่องจ่ายไฟ .... ให้หลอดไฟส่องซ่อมรถ

        - การถอดเพาเวอร์ซัพพลายครั้งนี้ ทำให้ทราบว่าบริษัทผู้สร้างเพาเวอร์ซัพพลายคอมพิวเตอร์ ละเลยใส่อุปกรณ์กรอง RFI Line noise filter ไม่ครบ
        - ซึ่งมันจะส่งคลื่นความถี่สูงที่มันสวิตชิ่งออกสู่สายไฟเมนของบ้าน แถมตัวมันเองก็ขาดการป้องกันที่ดี
        - จึงคาดเดาได้ว่า สวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลายที่ขายในบ้านเราจำนวนมาก ไม่ได้มาตรฐาน สร้างมลภาวะเข้าระบบไฟฟ้า
        - เราผู้บริโภค ถูกเอาเปรียบ ยังไม่มีหน่วยงานตรวจสอบมาตรฐาน .... ซวย พวกเรารับกรรม ตามเคย
        Last edited by keang; 5 Apr 2012, 10:45:30.

        Comment


        • R นอกจากคุม Impedance ยังทำหน้าที่ discharges อีกด้วย
          ขอบคุณมากครับพี่
          เดี๋ยวหา 500K มาใส่หลัง L
          ไหนๆแล้วเดี๋ยวลองเอาไดโอด มาทำตามแบบนี้ด้วยครับ

          -------------
          Last edited by tiger X-fi; 5 Apr 2012, 10:28:08.

          Comment


          • What is EMI / RFI ?

            Electromagnetic interference (EMI) or radio frequency interference (RFI) are terms given to extraneous signals that are normally unwanted noise or spurious signals, which fall into the broader category of electromagnetic compatibility (EMC). A simple form of EMI/RFI can be caused by lightning discharges. These large current discharges create electromagnetic fields that radiate outward. When these E-M fields cross an electrical conduction they induce a voltage. Today most electrical and electronic equipment can generate and/or be affected by EMI. Common sources include fluorescent bulbs and ballasts, switch mode power supplies, ac motors, microprocessors, oscillators, and even microprocessors.

            We normally classify this interference as EMI when the signals are conducted in or out of the device (such as on the AC power conductors) and as RFI when the signals are radiated via electromagnetic field/waves. Since EMI and RFI can severely affect the optimal performance of electronic systems, many of which are highly critical to the public, almost all governments specify rules and regulations that control electromagnetic interference. To comply with federal and international requirements, virtually all electronic device manufacturers, today and over the last few years, include EMI filtering circuits and/or shielding if their products are susceptible to external EMI/RFI signals or likely to interfere with other devices. In the US, EMI guidelines for commercial equipment are handled by the Federal Communications Commission (FCC). The most frequently cited standard is FCC Class B for residential equipment and FCC Class A for commercial or industrial equipment. (Internationally EN55022 for IT equipment and EN55011 for industrial equipment are probably the most referred to standards.) The military has its own set of standards, which are significantly more rigorous.

            The conducted EMI frequency range is typically defined as 150 kHz to 30 MHz (this range is extended down to 10 kHz in some cases) and RFI is usually defined as 30 MHz to 1 GHz.

            Almost all AC/DC power supplies include EMI filters in their designs, and the frequency response of the AC power distribution system itself (inductance in the transformers and lines) acts as a low pass filter to help attenuate conducted EMI.


            ------------------------------------------


            > Ferrite bead

            Ferrite bead
            เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ แบบ passive ชนิดหนึ่ง ทำหน้าที่ สกัดกัน สัญญาณรบกวนความถี่สูง



            ตัวอย่าง ferrite bead ที่ติดมากับสาย USB
            ferrite bead สามารถเรียกได้หลายแบบ เช่น ferrite cores, ferrite rings, ferrite EMI filters
            Ferrite bead จะทำหน้าที่คล้าย ๆ กับ inductors มันจะมีค่า impedance สูงขึ้น ที่ความถี่สูง ๆ มันจะเปลี่ยนพลังงานสัญญาณรบกวน ( EMI/RFI) เป็นความร้อน

            EMI = ElectroMagnetic Interference
            RFI = Radio Frequency Interference


            ตัวอย่างการใช้ ferrite มาแก้ปัญหาการรบกวนทาง AC Power-Line ของเครื่องรับโทรทัศน์




            การรบกวนข้อใดเกิดจาก Electromagnetic interference
            ก. การรบกวนต่อคลื่นวิทยุที่เกิดจากเครื่องใช้ไฟฟ้า
            ข. การรบกวนต่อคลื่นวิทยุที่เกิดจากการจุดระเบิดของหัวเทียนเครื่องยนต์
            ค. การรบกวนต่อคลื่นวิทยุที่เกิดจากผู้จงใจส่งคลื่นรบกวน
            ง. ถูกทั้งข้อ ก. และ ข้อ ข.

            ดูเฉลย
            คำตอบคือ ง.ถูกทั้งข้อ ก. และ ข้อ ข.

            How can you determine if a line-noise interference problem is being generated within your home?
            A. Check the power-line voltage with a time-domain reflectometer
            B. Observe the AC waveform on an oscilloscope
            C. Turn off the main circuit breaker and listen on a battery-operated radio
            D. Observe the power-line voltage on a spectrum analyzer

            ดูเฉลย
            ถ้าเกิดสัญญาณรบกวนจากระบบไฟฟ้าในบ้านของเรา ให้เรา ลองใช้พลังงานจากแบตเตอรี่แทน คำตอบคือ ข้อ C


            ------------------------------------------


            AWG to MM2 conversion table for cables/interconnects
            Last edited by keang; 5 Apr 2012, 12:03:40.

            Comment


            • เล่าเรื่องหน่อย ภาพประกอบยังไม่มี ค้างไว้ก่อน
              feed back loop บอกกันว่าควรสั้น แต่ผมยังไม่เคยลองเทียบเสียงตรงๆ แบบใช้อะไหล่ตัวเดียวกัน แต่ระยะทางไม่เท่ากัน

              วงจรแอมป์หูฟังทดลอง ที่เอารูปไปลงกระทู้40+40watt ให้พี่ลองแล้วก็ยึดไปเลย(จับยัดใส่กล่องกระดาษชั่วคราวไป)
              แต่ไหนเขาเอาไปแล้ว ฐานของเดิมก็ไม่ได้เพื่อไว้ให้ประสิทธิภาพเต็มที่ เลยเอามาแก้R feed backไปบัดกรีตรงขาsocket icเลย
              (ที่ไม่ทำยังงี้แต่แรกเพราะถ้าเอาไว้ลองอะไหล่ บัดกรีที่ขาsocketบ่อยๆ จะมีโอกาสที่ขาsocket คลายตัวจากพลาสติคได้)

              เอาไปให้พี่ลอง บอกเสียงแหลมใสขึ้น เบสลดลงนิดหน่อย

              ถ้าความเห็นตอนลองเองแบบคร่าวๆ
              คือเสียงแหลมเดิมมันออกอู้อี้ เสียดแทงนิดๆ แก้ใหม่แล้วเสียงแหลมฟังสบายขึ้น
              เบสลดลงคงเพราะของเดิมผ่านลายทองแดง เลยได้เสียงเบสจากลายทองแดงมา

              ----

              ใครบอกr smd ไม่ดีลองดู
              http://docs-asia.electrocomponents.c...6b80d9a181.pdf
              http://docs-asia.electrocomponents.c...6b80d9aa8e.pdf
              นอกจากความทนวัตต์แล้วสเป็คเบียดพวกRN ไปเลย
              ราคาก็ =[]=" เบียดเช่นกัน แพงจนไม่กล้าลอง ไม่รู้เสียงเป็นยังไง
              Last edited by ManiacMaew; 5 Apr 2012, 16:04:00.

              Comment


              • Originally posted by keang View Post
                ตอบแบบขำๆ
                เล่นเครื่องเสียง ลืมคำว่าความคุ้มค่าไปได้เลย แม้แต่รัฐบาลยังจัดเป็นประเภทสินค้าฟุ่มเฟือย ไม่ได้รับการลดหย่อนใดๆจากภาครัฐทั้งสิ้น


                ตอบแบบดูเหมือนคนตอบหน่อย
                เครื่องเสียง กับ คำว่า"ความคุ้มค่า" ความหมายมันคือไรหนอ? ขอบเขตมันอยู่แค่ไหนหนอ?

                - เครื่องเสียง
                เครื่องเสียง คือ เครื่องที่เปล่งเสียงออกมาให้ได้ยิน แบบนี้พวกคอมโป้ พวกวิทยุกระเป๋าหิ้ว ก็ทำงานได้เหมือนกัน
                งั้นถ้าสรุปแบบกำปั้นทุบดิน พวกคอมโป้ พวกกระเป๋าหิ้ว ก็คุ้มค่ากว่พวกเครื่องแยกชิ้นสิ ก็มันเปล่งเสียงออกมาได้เหมือนๆกัน
                เอาเพลงไรมาเปิดมันก็ฟังได้ยินเหมือนกันหมด อรรถรสทางดนตรีก็สัมผัสได้เหมือนๆกัน
                ??? อะไรคือความคุ้มค่า ของคอมโป้ ของกระเป๋าหิ้ว ของเครื่องแยกชิ้น ???

                - ตัวต้านทาน
                Rยี่ห้อRoyal 5ตัว2บาท(เดาราคามั่วน่ะ รู้แต่ว่าถูกมากๆเหมือนไล่แจก) ทำงานได้ไม่ต่างจาก Rยี่ห้อDaleตัวละ15-30บาท
                ทั้งๆที่จะใช้Royalหรือใช้Dale เครื่องมันก็ทำงานได้เหมือนๆกัน แต่ทำไมคนดิ้นรนใช้ยี่ห้อDaleหรือยี่ห้ออื่นที่แพงกว่าRoyal
                Daleราคาแพงกว่าRoyal ถ้าคิดเป็นเปอร์เวน จะกี่%ละนั่น
                ??? อะไรคือความคุ้มค่า ของRoyal ของDale ???

                - ฟิวส์
                ฟิวส์แก้วอันละ2บาท กับ ฟิวส์ตัวละ4พันกว่าบาท
                ทำงานได้เหมือนๆกัน เครื่องช็อทมันก็ขาด เครื่องก็หยุดการทำงานได้เหมือนกัน
                ทำไมคนยังดิ้นรนพยายามใช้ฟิวส์ตัวละ4พันกว่าบาทกันอยู่
                ??? อะไรคือความคุ้มค่า ของฟิวส์2บาท ของฟิวส์4พันกว่าบาท ???

                - สายไฟ สายลำโพง สายสัญญาณ
                ของพวกนี้ คุณใช้งานในสภาพแวดล้อมปรกติ คุณแค่เอาลวดทองแดงมาต่อให้มันถึงกันครบตามวงจร ก็ทำงานและใช้งานได้แล้ว
                ใช้ลวดทองแดงก็พอแล้ว ทำไมต้องไปใช้สายไฟฟุตละ100 เมตรละ1000 ทั้งๆที่มันก็เปล่งเสียงได้เหมือนๆกัน
                ??? อะไรคือความคุ้มค่า ของลวดทองแดง ของสายไฟฟุตละ100 ของสายไฟเมตรละ1000 ???



                เรื่องทั้งหมด บางทีเราจะแอบ คิด สนใจ ผูกติด อยู่กับขนาด อยู่กับมูลค่า จนเผลอลืมประเด็นอื่นไป
                จนกลายเป็นว่า ไม่ได้คิดในมุมมองที่ว่า ระหว่าง"มี"กับ"ไม่มี"ตัวนั้น มันเกิดความแตกต่างได้จริงหรือเปล่า
                ถ้ามันไม่มีความแตกต่างก็ข้ามเลยไปไม่ต้องไปสนใจมัน แต่ถ้าหากมันมีความแตกต่างจริงๆละ

                คำตอบ1 อยู่ที่โพส#1087
                เคยลองเปลี่ยนRหรือC หรือยัง
                - ตอนที่ลองมีผลต่างหรือเปล่า
                - ถ้ามีผลต่าง ผลต่างมากแค่ไหน
                - ถ้ามีผลต่าง ผลต่างที่ได้เป็นเสียงของตัวอะหลั่ย หรือ เสียงของอะไร
                --- ถ้าเคยลองเปลี่ยนตัวRมาแล้ว ลองเล่าให้ฟังหน่อย ว่ามีไรต่างกันบ้างหรือเปล่า ---

                คำตอบ2+3 อยู่ที่จุดบัดกรีว่า มันสำคัญ มันมีอิทธิพล ทางการทำงาน ทางเสียง มากแค่ไหน
                - บัดกรีที่อะหลั่ยตรงไหนก็ไม่รู้ของตัววงจร กับ บัดกรีที่หางปลาของสายลำโพง อันไหนคิดว่าให้ผลต่างได้มากกว่ากัน


                ความแตกต่างที่ อาจจะมีหรืออาจจะไม่มี มันไม่มีข้อสรุป ไม่มีมาตราฐาน สำหรับคนทุกคน
                - มันอยู่ที่ว่า คุณรู้วิธีสังเกตุความแตกต่างหรือเปล่า คุณมีจุดสังเกตุความแตกต่างมากน้อยแค่ไหน
                ยิ่งรู้วิธีสังเกตุมาก คุณย่อมรับรู้และสัมผัสความแตกต่างได้มากขึ้น (ความคุ้มค่าก็จะสูงขึ้น)

                - มันอยู่ที่ว่า ถ้ามันเกิดความแตกต่าง มันใช่แบบที่คุณชอบหรือเปล่า
                ถ้าชอบก็บอกว่าดี ถ้าไม่ชอบก็บอกว่าไม่ดี ไม่เอา ไม่ใช้ (ดีหรือไม่ดีอยู่ที่ความชอบ)

                - มันอยู่ที่ว่า คุณสามารถหาตัวเลือกอะไรจากรอบๆตัวได้บ้าง
                คุณสามารถหาอะไรที่มันถูกกว่าแต่ดีเทียบเท่าของที่ราคาสูงกว่า ได้มากน้อยแค่ไหน (ถ้าสามารถหาของดีแต่ให้คุณภาพเทียบเท่าของราคาสูงได้ นี่ละคือสิ่งที่DIYerทั่วโลกแสวงหา)

                - มันอยู่ที่ว่า คุณต้องการอะไรจากการเปลี่ยนแปลงนั้นบ้าง คาดหวังอะไรจากมันบ้าง
                อย่าคิด ลงทุนเพียง10บาท แต่อยากได้ผลตอบแทนแบบ300บาท (อย่าคิดค้ากำไรเกินควร)
                อยากเปลี่ยนน้อยตัว หรือ อยากเปลี่ยนมากตัว (ชอบเสียเวลาทำมาก หรือ ชอบเสียเวลาทำน้อย)

                - แก้ปัญหาที่ต้นเหตุ หรือ แก้ปัญหาที่ปลายเหตุ
                อะหลั่ยราคาถูกให้เสียงที่คมแข็งขาดรายละเอียด คุณสามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้2แบบ
                1. แก้ไขด้วยการเปลี่ยนอะหลั่ยเป็นตัวคุณภาพสูงขึ้น โดยเลือกเสียงให้ถูกใจด้วย (ได้การทำงานดีขึ้น ได้เลือกเสียงถูกใจมากขึ้น = คุ้มค่ามากขึ้น)
                2. แก้ไขด้วยการดัดแปลงจุดอื่นเพื่อชดเชยกลบเกลื่อน ต้องใช้การทดลองลองผิดลองถูก ต้องใช้เวลาลองผิดลองถูก (อย่าลืมว่า เวลาก็คือต้นทุนของคุณ / ต้นทุนในการลองผิดลองถูกบางครั้งบานปลายมากกว่าการเปลี่ยนที่จุดต้นเหตุ)


                --------------------------------------------------------


                ประเด็นที่คุณmilestoneพูดไว้ เรื่องจุดสำคัญของวงจรของเสียง เรื่องความคุ้มค่าในการเปลี่ยน

                ทำจุดสำคัญๆให้ดีก่อน เพราะ จุดพวกนี้คือจุดที่ให้ความเปลี่ยนแปลงได้มาก คุ้มค่ากับเม็ดเงินที่จ่ายไป
                แต่ถ้ายังไม่พอใจ ยังรู้สึกว่ามันยังมีอะไรที่ขาดหายไปยังมีอะไรที่มันไม่ใช่ ค่อยมาไล่เก็บตกจากสิ่งเล็กๆน้อยๆที่เหลือ

                เหมือนที่ผมเคยบอกไว้ก่อนหน้านี้
                อย่าคิดเอางบที่จำกัดเป็นงบก้อนแรก มาเปลี่ยนไอซีเรกกูเลเตอร์เป็นตัวขาทอง ให้เอางบที่มีไปทำจุดอื่นๆก่อน
                เพราะอะหลั่ยตัวใดในโลกที่มีคุณสมบัติ เปลี่ยนเพียงตัวเดียวแล้วมันจะดีเลอเลิศได้ มันไม่มีโอกาสที่จะพลิกหน้ามือเป็นหลังมือได้หรอก
                ตัวมันจะโชว์ประสิทธิภาพ ให้คุณได้เห็น ให้คุณได้สัมผัส ได้พบความคุ้มค่าของตัวมัน ก็ต่อเมื่อซิสเต็มนั้นมีพื้นฐานที่ดีพอเสียก่อน


                บางสิ่งบางอย่างที่เคยคิดเคยคาดเดา ว่า ได้ผลน้อย ไม่น่ามีผล
                เมื่อมีโอกาสก็ควรลองให้รู้ด้วยตัวเอง เพราะ บางสิ่งบางอย่างมันอาจไม่ได้เป็นอย่างที่คิด ไม่ได้เป็นอย่างที่คาดเดาก็ได้

                เมื่อการเก็บเกี่ยวประสบการณ์ มีการทดลองหนักๆเข้มๆบ้าง ผ่านไปสักระยะ เมือย้อนกลับมามองอดีต
                บางที อาจได้ข้อสรุปอะไรบางอย่างที่อาจแตกต่างในช่วงเริ่มต้น
                บางที อาจคิดแบบตรงข้ามเลยก็ได้ กำลังทำไรอยู่ ทำแล้วได้อะไร เสียเวลาทำไปทำไม

                ทุกๆคำตอบ จะเกิดกับตัวคุณเอง ไม่วันใดก็วันหนึ่งต้องเกิดขึ้นแน่นอน
                ย้อนกลับมามองอดีต เก็บเกีี่ยว ความรู้ ....ชอบจัง....คำนี้...

                >> ทุกๆคำตอบ จะเกิดกับตัวคุณเอง ไม่วันใดก็วันหนึ่งต้องเกิดขึ้นแน่นอน<<

                Comment


                • Originally posted by ManiacMaew
                  ใครบอกr smd ไม่ดีลองดู
                  http://docs-asia.electrocomponents.c...6b80d9a181.pdf
                  http://docs-asia.electrocomponents.c...6b80d9aa8e.pdf
                  นอกจากความทนวัตต์แล้วสเป็คเบียดพวกRN ไปเลย
                  ราคาก็ =[]=" เบียดเช่นกัน แพงจนไม่กล้าลอง ไม่รู้เสียงเป็นยังไง
                  RNแบบSMDก็มีน่ะ แม้กระทั่งสเปคสูงกว่าRNก็มีด้วยเหมือนกัน

                  ผมเคยเห็นRกับLของยี่ห้อDaleแบบSMDครั้งแรก ก็สมัยที่HDยังเป็นIDE ความจุสูงสุด2xxMB
                  HDบางรุ่นของSeagateกับMaxter(น่าจะสะกดผิดน่ะ) พลิกบอร์ดคอนโทรลขึ้นมาดู ร้องไอ๊หยา....มีDaleกับSpragueด้วย



                  - datasheet อันบนเป็นของยี่ห้อSfernice
                  ยี่ห้อนี้ผมไม่เคยลองเสียง หรืออาจจะเคยแต่ไม่รู้ก็ได้เพราะถ้าเป็นแบบโค๊ดสี ไม่มียี่ห้อพิมพ์ไว้ที่ตัว จะแยกไม่ออกเลย


                  - datasheet อันบนเป็นของยี่ห้อVishay
                  ตัวนี้เคยลองเสียงเฉพาะตัวแบบมีขา เคยลองอยู่2รุ่น VTA55 กับ S102C
                  ช่วงปี35 เพื่อนไปเที่ยวสิงคโปร์ ได้รุ่นVTA55 0.1% 5PPM [VTA55 =0.3วัตต์(RN55)แต่ตัวใหญ่เท่า1วัตต์(RN70)] กับ Holco 0.5%
                  เสียงสเกลใหญ่ดี เบสน้อย พวกความสดพวกต้นเสียงถือว่าน้อยพอสมควร โทนเสียงโดยรวมออกไปทางกลางกับแหลม รายละเอียดดีเหมือนกัน
                  รูปทรงของเวทีเสียงใหญ่ กว้างลึกสัดส่วนลงตัวดี เรียงลำดับชั้นเครื่องดนตรีหน้าหลังได้ดี

                  ราคาที่สิงคโปร์ ช่วงปี35
                  - Vishay VTA55 0.1% 0.3W 22K1 ตัวละ4ร้อยกว่าบาท , S102C 0.1% 0.3W 1K ตัวละ5ร้อยกว่าบาท
                  - Holco H4P 0.5% 0.5W 1M ตัวละ40กว่าบาท , H2 0.5% 1W 22K ตัวละ60กว่าบาท
                  - Riken Ohm ตัวสีน้ำเงิน ขาทอง 1% 1W 22K ตัวละ200กว่าบาท





                  ---------------------------------------------------------


                  พิมพ์ตกไปคำนึง ความหมายเพี้ยนเลย
                  Originally posted by jinn
                  เหมือนที่ผมเคยบอกไว้ก่อนหน้านี้
                  อย่าคิดเอางบที่จำกัดเป็นงบก้อนแรก มาเปลี่ยนไอซีเรกกูเลเตอร์เป็นตัวขาทอง ให้เอางบที่มีไปทำจุดอื่นๆก่อน
                  เพราะ"ไม่มี"อะหลั่ยตัวใดในโลกที่มีคุณสมบัติ เปลี่ยนเพียงตัวเดียวแล้วมันจะดีเลอเลิศได้ มันไม่มีโอกาสที่จะพลิกหน้ามือเป็นหลังมือได้หรอก
                  ตัวมันจะโชว์ประสิทธิภาพ ให้คุณได้เห็น ให้คุณได้สัมผัส ได้พบความคุ้มค่าของตัวมัน ก็ต่อเมื่อซิสเต็มนั้นมีพื้นฐานที่ดีพอเสียก่อน

                  ขอบคุณคุณManiacMaew(ที่โพสถัดไป) ที่ท้วงติงมา ครับ
                  ก็อปๆแบบฟอร์มมันมา แล้วแปะข้อความ เสร็จแล้วลืมเปลี่ยนชื่อให้ตรง
                  Last edited by keang; 6 Apr 2012, 10:28:36.

                  Comment


                  • กรอบ2 ในหัวชื่อคนอ้างอิง quote ผิดชื่อแล้วครับ

                    -------
                    มึนๆหน่อย ขออภัยไม่รู้มาก่อนว่าrnมีแบบsmd
                    เรื่องR smdที่หาข้อมูล เพราะกำลังคิดว่า ถ้าใช้smdตัวเล็ก ไปบัดกรีที่โคนขาopampเลยมันจะดีมั้ยหว่า เอาแบบโคนขาเลยน่ะไม่ใช่ปลายขา
                    (อาจจะกระเทาะพลาสติค ไปบัดกรีเลยจะได้มั้ย?)
                    แต่หาR smd แบบดีๆหน่อย
                    Last edited by ManiacMaew; 5 Apr 2012, 18:33:07.

                    Comment


                    • ถ้าจำไม่ผิด gaindcardตัวจริง rตำแหน่งฟีดแบคก็ใช้วิธีที่คุณmaniacmaewคิดไว้น่ะครับ

                      > Mick Feuerbacher, October 2005 : Analysis of the pictures of the Gaincard innards
                      Last edited by keang; 5 Apr 2012, 18:54:29.

                      Comment


                      • R คุมไฟบ้าน เห็นใช้ 2ค่าคือ 270k กับ 470k แล้วแต่วงจรจะเลือกใช้

                        Comment


                        • สี...จ๊าบ... ถูกใจโก๋... ^_^

                          Comment


                          • ^^^
                            เจอจเรรึยัง

                            ------

                            จุดปรับปรุง tle สำหรับแบบdip8
                            ของtangentsoft.net เขาทำแบบนี้


                            แต่ผมเปิดดาต้าชีทดูรูปนี้


                            แล้วกลับไปดูรูปนี้


                            คงรู้น่ะ ผมคิดอะไร (ไม่ใช่การเอาc ไปไว้ขาออกน่ะ) แล้วมันต้องใช้package ตัวถังแบบไหนด้วย

                            Comment


                            • เจอแล้วครับ.... (ตอนแรก...คิดว่ามี...ตัว r ด้วย...เด๋วต้องไป บ้านหม้ออีกรอบ...นึง..)

                              เจ๊ลดให้ ...20 บ.
                              Last edited by jinn; 6 Apr 2012, 00:06:31.

                              Comment


                              • Originally posted by z007 View Post
                                R คุมไฟบ้าน เห็นใช้ 2ค่าคือ 270k กับ 470k แล้วแต่วงจรจะเลือกใช้
                                ขอบคุณมากครับ

                                Originally posted by jinn View Post
                                สี...จ๊าบ... ถูกใจโก๋... ^_^
                                สีสันสดใสดีจัง....

                                Comment

                                Working...
                                X