ก็ยังมาหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เรื่อยๆนะครับ
Announcement
Collapse
No announcement yet.
โมให้ดีกันเยอะแล้ว มาม๊ะ....มาโมให้"เจ๊ง"กันดีกว่า
Collapse
X
-
จริงๆโพรลิโพรพิลีน กับโพรลิสไตลีนคุณภาพใกล้เคียงกันมาก
แต่เมื่อก่อน โพรลีสไตรลีนหายากมาก
อันนี้ผมลองเซิจดู ก็เจอหลายตัวที่รู้จักแต่ไม่เคยใช้
1. ตัวเก็บประจุแบบกระดาษไดอิเล็กทริก (Paper dielectric capacitors)
1) Metalized and metal foil paper dielectric capacitors
2) Paper based composite dielectric capacitors
2. ตัวเก็บประจุแบบฟิล์ม (Film capacitors)
1) ตัวเก็บประจุแบบฟิล์มโพลีเอสเตอร์ (Polyester film capacitors)
2) ตัวเก็บประจุแบบฟิล์มโพลีโพรไพลีน (Polypropylene film capacitors)
3) ตัวเก็บประจุโพลีสไตรีน (Polystyrene capacitors)
4) ตัวเก็บประจุโพลิคาร์บอเนต (Polycarbonate capacitors)
5) ตัวเก็บประจุโพลิเตตระฟลูออโรเอธิลีน (Polytetrafluoroethylene (PTFE) capacitors)
6) ตัวเก็บประจุโพลีไอไมด์ (Polyimide capacitors)
7) Surface mount chip organic dielectric capacitors (SMC)
8) Other organic dielectric thin film capacitors
3. ตัวเก็บประจุแบบเซรามิกส์ไดอิเล็กตริก (Ceramic dielectric capacitors)
1) ตัวเก็บประจุแบบเซรามิกส์ไดอิเล็กตริกแรงต่ำ (ต่ำกว่า 500โวล์ท) (Low voltage ceramic dielectric capacitors (less than 500V))
2) ตัวเก็บประจุแบบเซรามิกส์ไดอิเล็กตริกแรงสูง (สุงกว่า 500โวล์ท)(High voltage ceramic dielectric capacitors (greater than 500V))
3) ตัวเก็บประจุแบบเซรามิกส์ไดอิเล็กตริก กระแสสลับAC ceramic dielectric capacitors
4) Chip ceramic dielectric capacitors
4. Electric layer capacitors
5. ตัวเก็บประจุแบบไมก้า (Mica capacitors)
6. ตัวเก็บประจุแบบแก้วเคลือบ (Glass glaze capacitors)
7. ตัวเก็บประจุแบบ อลูมินัม-อิเล็กทรอไลท์ (Aluminum electrolytic capacitors)
Among them: Chip aluminum electrolytic capacitors
8. ตัวเก็บประจุแบบ ไทเทเนียม-อิเล็กทรอไลท์ (Tantalum electrolytic capacitors)
Among them: Chip tantalum electrolytic capacitors
9. ตัวเก็บประจุแบบ นีโอเบียม-อิเล็กทรอไลท์ (Niobium (Nb) electrolytic capacitors)
10. ตัวเก็บประจุอิเล็กทรอไลท์อื่นๆ (Other electrolytic capacitors)
( อย่างว่าเมื่อก่อนไม่มีอินเตอร์เน็ทให้ใช้ ฮ่าๆ )
ตอนนี้ผมเองก็ไม่รู้ว่ามันพัฒนาพวกอุปกรณ์ต่างๆไปถึงไหนบ้างแล้ว ไม่ได้ตามวงการอิเล็กทรอนิกส์มาได้
7-8 ปีละครับ
สำหรับเรื่องตัวเก็บประจุแทนลาลั่มนั้น ออกแบบมาเพื่อต้องการความเที่ยงตรงของค่าความจุ
ที่ได้จากการคำนวณตามทฤษฏี ส่วนมากจะใช้ในการในการผลิตความถี่ที่คงที่
ในวงจรของส่วนที่ต้องการควบคุมค่าความจุ แต่ไม่เหมาะกับงานที่เป็นความถี่มีที่ ไดนามิกเรนจ์กว้างๆ
เนื่องจากมันไม่สามารถ ดิสชาร์จได้ทัน
ที่ผมต้องบอกเอาไว้ เพราะ มันจะไปขัดแย้งกับ ข้อ 3 ที่ผมบอกเอาไว้คือ
3. ตัวเก็บประจุประเภท อิเล็กทรอไลท์ โดยทั่วไปความผิดพลาดจะอยู่ที่ +- 20% ดังนั้น ต้องเลือกตัวเก็บประจุที่มีค่าความผิดพลาดต่ำ เช่น +-5% มาแทนที่
เพราะแทนทาลั่มเองก็มีค่าความผิดพลาดต่ำเช่นกัน แต่มันไม่เหมาะสมกับงานนี้ครับ ป้องกันบางคนเข้าใจผิด
ถ้าจะเล่นเกี่ยวกับเครื่องเสียงจริงๆ บางทีอาจจะทำให้คุณบ้าไปเลยก็ได้
เพราะอะไรก็ต้องสุดยอดไปหมด ไม่ว่าจะเป็นตัวเก็บประจุ ตัวท้านทาน โช๊คชนิดต่างๆ
สายนำสัญญาณ ลายทองแดง พาวเวอร์ทรานซิสเตอร์ พาวเวอร์มอสเฟท โอ้วววว เยอะแยะ
ที่ทำๆกันนี่ยังแต่เป็นภาคฟร้อนเอนด์ ที่ทำกับซาวน์ดการ์ด ถ้าไปภาคแบคเอนด์หรือภาคขยายนี่
ต้องว่าลงลึกไปถึง วงจรขยายประเภทต่างๆ คลาส A,H,C,B,D วู้ววว ( อีกรอบ )
เดี๋ยวนี้ไม่รู้มีคลาสอะไรอีกบ้าง ความแตกต่างหลักๆ คือรูปแบบการ ขยายสัญญาณ
เช่น ครึ่งคลื่น เต็มคลื่น ไฟบวกอย่างเดียว ทั้งบวกทั้งลบ และ ลักษณะการไบอัส
พาวเวอร์ทรานซิสเตอร์ เจเฟต มอสเฟต เล่นได้ไม่มีหมด แต่ ......
ทั้งๆที่มันก็ฟังได้เหมือนๆกัน
Comment
-
ไม่ถึงขั้นต้องปิดกระทู้หรอกนะ อิอิ
นั่งไล่อ่านมาหลายหน้าก็ได้ความรู้เพิ่มเยอะดี
น่าจะมีกระทู้ที่ไหวแลกเปลี่ยนความรู้ไว้โมการ์ดที่แท้จริงๆแบบนี้บ้างนะ
ไอ้ผมก็อยากทำ ฮ่าๆ แต่ไม่มีความรู้ทำเจ๊งไปหลายตัวเหมือนกัน แต่ก็ลองทำเรื่อยๆ
ทำไงได้เรียนจบจิตวิทยามา ไม่มีความรู้ด้านนนี้ ฮ่าๆsigpic
-ถ้ายิ่งใหญ่อย่างที่กร่างไว้จริง ควรใช้ความยิ่งใหญ่กร่างหาคนแจ้งความชั่วของตัวเอง
-อย่าปลอกสายลำโพงให้ยาวเกินความจำเป็นนะ เดี๋ยวแอมป์จะดับได้เวลาโยกตู้ลำโพง
งดแรงชั่วคราว
Comment
-
Originally posted by mujaarm View Postผมก็คิดเหมือนท่าน ต่อ มีประโยชน์ครับ
ท่านที่ใช้ Xonar DS ก็ได้ประโยขน์มาก
จะมาช่วยดันบ่อยๆ ไม่ให้โดนปิดครับ
กระทู้ในนี้ไม่มีปิดอ่ะครับ มีแค่อาจจะตกหล่นลงไปเฉยๆนั้นแหละsigpic
-ถ้ายิ่งใหญ่อย่างที่กร่างไว้จริง ควรใช้ความยิ่งใหญ่กร่างหาคนแจ้งความชั่วของตัวเอง
-อย่าปลอกสายลำโพงให้ยาวเกินความจำเป็นนะ เดี๋ยวแอมป์จะดับได้เวลาโยกตู้ลำโพง
งดแรงชั่วคราว
Comment
-
เพิ่งเห็นว่า วันก่อนพลาดไปลบโดนข้อมูลในส่วนของDSด้วย
ตั้งใจจะลบเพียงในส่วนของ 2ZS สงสัยมันส์มือไปหน่อย
เอารูปใส่คืนในดพสให้แล้วน่ะครับ
แต่น่าจะไม่เหมือนเดิมเท่าไหร่ เพราะจำไม่ได้ว่าโพสไรไปบ้าง ผมไม่ได้เซฟต้นฉบับไว้ด้วย
ใครสงสัยไร หรือ มีข้อมูลที่จะเพิ่ม หรือ มุมมองอื่นใด ก็ตามสบายเลยครับ
Comment
-
Originally posted by mujaarm View Postcap ตามเดิม 100 uf/16 ใส่ค่า 10 uf/16 ใช่มั้ยครับ
แต่ตัววงจรของผู้ผลิตเค้าใส่10ไมโคร แต่ก็ใส่ได้ตั้งแต่10-100ไมโคร
ตัวเก็บประจุตัวสีส้มที่ผมใช้ จะเป็นค่า47ไมโคร16โวลท์
แต่แนะนำว่า ให้ทำตามโพส#106ก่อน แล้วค่อยย้อนมาทำส่วนนี้จะดีกว่า
โพส#106จะเห็นผลทางเสียงมากกว่า เพราะเป็นปลายทางสุดท้ายของสัญญาณเสียง
เสร็จแล้วกลับมาทำที่โพส#102 #103อีกทีLast edited by keang; 29 Jan 2010, 20:29:19.
Comment
-
-
Originally posted by mujaarmดู #106 ยังไม่ค่อยกระจ่างตามรูป
1.ลูกศร สีแดง ที่ฐานแจ็คหูฟังคือจุดเชื่อม L-R
2.สี่เหลี่ยม สีเหลือง ไม่ได้เอาออก เอาฟิลม์หดหุ้มขา R และคล่อมอยู่ใช่มั้ยครับ
3.ลูกศร สีน้ำเงิน เชื่อมคู่ที่ 2 ใต้ Socket Opamp
- ไม่ใช่ครับ อันนั้นเป็นขาของตัวแจ็คหูฟัง คือ มันใช่แค่ขาด้านเดียว ขาอีกด้านจะไม่ใช่น่ะ ในรูปผมเลยทำเครื่องหมายให้ลงลายPCBแทน จะได้ดูแล้วไม่สับสน
แต่ถ้าจะเอาขาRต่อที่ขาแจ็คหูฟังเลย ก็ดูลายทองแดงเทียบได้เลยครับ
- จากรูป จุดเชื่อมขาR คือ แถบสีเขียว (เอาแว่นขยายส่องที่การ์ดดูดีๆ)
2. สี่เหลี่ยม สีเหลือง ไม่ได้เอาออก เอาฟิลม์หดหุ้มขา R และคล่อมอยู่ใช่มั้ยครับ
- ในวงสีเหลือง คือ อะหลั่ย2ตัว(Rค่า47K Cค่า200pF)ที่อยู่บนบอร์ดไม่ต้องเอาออก แต่ถ้าจะทำเต็มๆก็เอาออกแล้วใส่ตัวใหม่แทนที่ตำแหน่งเดิม
* ผมถอดอะหลั่ย2ตัวนี้ออก แล้วไปใส่อะหลั่ยตัวใหม่ที่ด้านหลังpcbแทนน่ะ *
- ขาRค่า50โอห์ม จะต้องต่อที่จุดแถบสีเขียวน่ะ (เอาแว่นขยายส่องที่การ์ดดูดีๆ)
3. ลูกศร สีน้ำเงิน เชื่อมคู่ที่ 2 ใต้ Socket Opamp
- จากรูป จุดเชื่อมขาR คือ แถบสีเขียว (เอาแว่นขยายส่องที่การ์ดดูดีๆ) ดูรูปขยายที่ผมทำซ้อนภาพไว้ก็ได้
* ดูรายละเอียด + รูป ที่หน้า5 โพส #86 น่าจะเห็นไรชัดเจนขึ้น
ทำเสร็จแล้ว ถ่ายรูปมาลงด้วยน่ะ คนอื่นจะได้เห็นภาพของจริงเปรียบเทียบด้วย เค้าจะได้ทำตามง่ายขึ้นLast edited by keang; 30 Jan 2010, 12:24:27.
Comment
-
จาก หน้า6 โพส #115
ไม่มีใครคุยในประเด็นนี้เพิ่ม เลยยกมาตอบคุณRev
Originally posted by Revส่วนใหญ่พวกตัวเก็บประจุค่าต่ำๆอย่าง 0.1 ที่เอาไว้คร่อมกับไฟเลี้ยงก่อนและหลังไอซีเรกูเลเตอร์
มีไว้เพื่อช่วยรักษาสเถียรภาพของวงจรนี่ครับ เอาออกไปแล้วมันจะดีหรือ?
Originally posted by keang* ถ้าคิดจะเปลี่ยนตัวนี้ อย่าลืมถอดตัวเก็บประจุที่เค้าBi-Capออกด้วยละ(หรือจะปล่อยไว้แบบเดิมก็ได้) แต่โดยหลักการแล้วไม่มีใครเอาCคุณภาพต่ำมาBi-Cap Cที่คุณภาพสูงกว่า เพราะมันจะพาให้อุปกรณ์ดีๆได้เสียงที่แย่ลงไปด้วย
Bi-Cap ก็คือ การเอาCค่าน้อยมาต่อขนานเข้ากับCค่ามาก เพื่อชดเชยการทำงานในช่วงความถี่สูง
เพราะ Cค่ามากก็จะทำงานที่เสียงทุ้มดีแต่ด้อยที่เสียงแหลม ในทางกลับกัน Cค่าน้อยจะทำงานดีที่เสียงแหลมแต่ด้อยที่เสียงทุ้ม
แต่ถ้าเราใช้Cที่ค่าไม่มากเกินไปไม่น้อยเกินไป ใช้ค่าให้เหมาะสมกับวงจรในจุดนั้นๆ และใช้Cคุณภาพดีๆ จุดด้อยตรงนี้จะลดลงมากอยู่แล้ว จนบางครั้งอาจคิดว่าไม่จำเป็นต้องBi-Capเลยก็ได้
- ผลที่ได้จากการBi-Capแล้ว เสียงโดยรวมจะกระชับเก็บตัวเร็วมากขึ้น หรือ ฟังง่ายๆก็คือเบสเก็บตัวเร็วขึ้น ถ้ามากไปเบสก็ออกมาเป็นลูกเหมือนฟังเพลงในเธค
- เมื่อเราใช้ของคุณภาพดีกว่ามาตราฐานอยู่แล้ว แต่ยังใช้Cที่คุณภาพต่ำมาBi-Cap คุณภาพของเสียงแหลมก็ได้เท่ากับCคุณภาพต่ำตัวนั้น เพราะฉะนั้นเมื่อต้องการจะใช้วิธีการBi-Cap ควรใช้Cค่าน้อยที่คุณภาพดีจริงๆเท่านั้น
- เมื่อเราBi-Capจะมีผลตามมาอีกอย่างนึง คือ ตำแหน่งเสียงของชิ้นดนตรีจะเตี้ยลงกว่าเดิม จากเดิมที่นักร้องยืนร้องเพลงจะกลายเป็นนักร้องคุกเข่าร้องเพลง (นึกดีๆว่า ยืนร้องกับคุกเข่าร้อง ระดับตำแหน่งเสียงมันต่างแค่ไหน)
การปรับปรุงให้เครื่องเสียง ให้มีมิติเวทีเสียงกว้างกับลึก ว่ายากแล้ว แต่ที่อยากที่สุดคือการทำให้เครื่องเสียงสามารถระบุตำแหน่งของเสียงในระดับแนวตั้งได้ (ลองนึกภาพกลองชุด ใบฉาบจะอยู่สูงกว่าตำแหน่งของตัวกลอง)Last edited by keang; 30 Jan 2010, 14:08:01.
Comment
Comment