3จีช้า.. มีคนได้ประโยชน์ (แต่ไม่ใช่คุณ!!)
การก้าวเข้ามาของเทคโนโลยีใหม่สักตัวหนึ่งในเมืองไทย อย่างระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 3 หรือที่เรียกกันว่า 3จี ซึ่งเป็นระบบที่เน้นเรื่องการรับส่งข้อมูล (data) ต่างจากระบบโทรศัพท์ที่เราใช้กันอยู่ปัจจุบัน หรือ 2จี ที่เน้นรับส่งเพียงเสียง (voice) เท่านั้น
จะมองให้เป็นตรรกะง่ายๆ ก็คือ เมื่อมีของใหม่ก็นำมันมาใช้ เพราะจะอย่างไรเสียก็คงไม่มีใครอยากตกเทรนด์
เช่นนั้นแล้ว.. เหตุใด การเปิดให้บริการ 3จี ในประเทศไทย จึงชะงักและมีเหตุติดขัดมากมาย!!
นับตั้งแต่มีการเข้ามา.. มีประเด็นแคลงใจเกี่ยวกับสิทธิในการได้ใบอนุญาติให้บริการ 3จี ของกลุ่มธุรกิจเอกชนที่แทบจะผูกขาดเฉพาะกลุ่มทุนสื่อสารรายปัจจุบัน ไหนจะประเด็นความกังวลเกี่ยวกับอัตราค่าบริการที่ผู้บริโภคต้องจ่ายสำหรับบริการใหม่นี้ นอกจากนี้ยังมีประเด็นเรื่องราคาประมูลที่เริ่มต้นก็น่าจะทำให้รัฐเสียประโยชน์ได้แล้ว และอื่นๆ อีกมากมาย
ทั้งหมดคือเรื่องผลประโยชน์ ทั้งหมดจึงน่าสนใจ.. เพราะประเด็นสำคัญตอนนี้ไม่ใช่แค่เรื่องที่ประชาชนในฐานะผู้บริโภค จะเสียประโยชน์ด้านความล่าช้าในการใช้เทคโนโลยี 3จี อีกต่อไปแล้ว!!!
อย่างไรก็ดี ความเคลื่อนไหวล่าสุด ศาลปกครองกลางได้มีคำสั่ง เมื่อวันที่ 16 ก.ย. ระงับการประมูลใบอนุญาต 3จี ตามคำร้องของ บมจ.กสท.โทรคมนาคม หรือ CAT ที่กำลังจะมีขึ้นในวันที่ 20 ก.ย.
คำสั่งศาลที่ออกมาเกือบจะสิ้นสัปดาห์ นับแล้วก็ฉิวเฉียดพอดีสำหรับการยื่นอุทธรณ์ด่วนของ กทช.ในฐานะผู้ออกใบอนุญาต 3จี ทว่าคนในมุมของรัฐอย่างเจ้ากระทรวงไอซีที จุติ ไกรฤกษ์ ออกมาให้สัมภาษณ์อ้างว่า ไม่ทราบเรื่องก่อนที่จะมีการฟ้องร้องโดย กสท.
เรื่องเริ่มเข้มข้นเมื่อสามารถจับต้นชนปลายได้ว่า.. รัฐบาลมีส่วนสำคัญต่อเรื่องนี้โดยตรง และจะปฏิเสธการรับรู้เรื่องตั้งแต่ต้นไปไม่ได้ เพราะก่อนหน้านี้รัฐบาลเองเป็นผู้ออกแนวคิดยุติสัญญาสัมปทาน 2จี และเปลี่ยนเป็นการให้ใบอนุญาต หรือ ไลเซ่นส์ โดยตั้งตุ๊กตาไว้ว่าจะกำหนดระยะเวลาไลเซ่นส์ที่ 15 ปี และกำหนดค่าธรรมเนียมใบอนุญาตที่ 12.5%
ทว่าการยื่นให้กฤษฎีกาตีความเพื่อเปลี่ยนรูปแบบสัญญาดังกล่าว กฤษฎีกาจะทำได้ต่อเมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้นแล้ว ดังนั้นในชั้นแรกนี้ หากศาลมีคำสั่งดังกล่าวก็อาจนำไปใช้กล่าวอ้างได้ว่า ได้เกิดปัญหาข้อขัดแย้งขึ้นแล้ว!!
สำหรับสาเหตุที่ภาครัฐต้องการให้มีการแปรรูปแบบสัญญาสัมปทานภายในระยะเวลาเร่งด่วน ก็ด้วยเหตุผลที่ว่าหากเกิดการประมูล 3จี เมื่อใด เมื่อนั้นภาคธุรกิจจะโยกผู้ใช้บริการในระบบของตัวเองจาก 2จี ไป 3จี ทันที ผลกระทบเกิดขึ้นแน่นอนกับผู้ร้องต่อศาล คือ CAT และในที่นี้หมายความถึง TOT ในฐานะผู้ให้สัมปทานระบบ 2จี
อย่างไรก็ดี การเดินเกมให้มีการยุติสัญญาสัมปทานเป็นไลเซ่นส์นั้น รัฐบาลให้เหตุผลว่า ระบบ 2จี จำเป็นต้องมีใช้ในประเทศไทยอยู่ เช่นเดียวกับในประเทศอื่นๆ ที่มีการใช้เทคโนโลยีทั้ง 2 ระบบควบคู่ไปด้วยกัน
ทั้งนี้สำหรับสัดส่วนของ รายได้ ที่รัฐจะได้รับในส่วนของ 3จี ถูกกำหนดไว้เพียง 6.5% เหตุผลเพื่อต้องการให้มีการคิดค่าบริการจากประชาชนในราคาถูก แต่ยังไม่มีใครรู้ได้ว่าความเป็นจริงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตจะเป็นเช่นนั้นหรือไม่..
เหตุผลเดียวถูกปรับใช้ในระบบ 2จี ตามสัญญาใหม่ มีการ ปรับลด รายได้ที่รัฐจะได้รับลงเหลือ 12.5% จาก 20-25% แลกกับการให้เอกชนมาเช่าใช้เสาที่ได้รับเป็นสิทธิของรัฐหลังหมดสัญญาสัมปทานเดิม
ถึงตรงนี้ยังมองไม่เห็นจุดคุ้มจากค่าเช่าเสาที่รัฐหวังจะได้รับ รู้เพียงรายได้ของรัฐที่จะ น้อยลง กับ น้อยลง และในมุมเดียวกัน ภาคเอกชนในฐานะผู้ให้บริการก็จะจ่าย น้อยลง และ น้อยลง เช่นกัน
ทีนี้ก็คิดเอาว่า ใคร คือผู้ที่จะได้ประโยชน์ แต่ขอบอกว่า ไม่ใช่ประโยชน์ที่ น้อยลง เลย!!
โดย ทีมข่าว Mthai
พอดีไปเจอมา เพื่อจะมีประโยชน์บ้างครับ
ปล.ผมยังไม่ได้อ่านนะ แค่ก๊อบมาลง
การก้าวเข้ามาของเทคโนโลยีใหม่สักตัวหนึ่งในเมืองไทย อย่างระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 3 หรือที่เรียกกันว่า 3จี ซึ่งเป็นระบบที่เน้นเรื่องการรับส่งข้อมูล (data) ต่างจากระบบโทรศัพท์ที่เราใช้กันอยู่ปัจจุบัน หรือ 2จี ที่เน้นรับส่งเพียงเสียง (voice) เท่านั้น
จะมองให้เป็นตรรกะง่ายๆ ก็คือ เมื่อมีของใหม่ก็นำมันมาใช้ เพราะจะอย่างไรเสียก็คงไม่มีใครอยากตกเทรนด์
เช่นนั้นแล้ว.. เหตุใด การเปิดให้บริการ 3จี ในประเทศไทย จึงชะงักและมีเหตุติดขัดมากมาย!!
นับตั้งแต่มีการเข้ามา.. มีประเด็นแคลงใจเกี่ยวกับสิทธิในการได้ใบอนุญาติให้บริการ 3จี ของกลุ่มธุรกิจเอกชนที่แทบจะผูกขาดเฉพาะกลุ่มทุนสื่อสารรายปัจจุบัน ไหนจะประเด็นความกังวลเกี่ยวกับอัตราค่าบริการที่ผู้บริโภคต้องจ่ายสำหรับบริการใหม่นี้ นอกจากนี้ยังมีประเด็นเรื่องราคาประมูลที่เริ่มต้นก็น่าจะทำให้รัฐเสียประโยชน์ได้แล้ว และอื่นๆ อีกมากมาย
ทั้งหมดคือเรื่องผลประโยชน์ ทั้งหมดจึงน่าสนใจ.. เพราะประเด็นสำคัญตอนนี้ไม่ใช่แค่เรื่องที่ประชาชนในฐานะผู้บริโภค จะเสียประโยชน์ด้านความล่าช้าในการใช้เทคโนโลยี 3จี อีกต่อไปแล้ว!!!
อย่างไรก็ดี ความเคลื่อนไหวล่าสุด ศาลปกครองกลางได้มีคำสั่ง เมื่อวันที่ 16 ก.ย. ระงับการประมูลใบอนุญาต 3จี ตามคำร้องของ บมจ.กสท.โทรคมนาคม หรือ CAT ที่กำลังจะมีขึ้นในวันที่ 20 ก.ย.
คำสั่งศาลที่ออกมาเกือบจะสิ้นสัปดาห์ นับแล้วก็ฉิวเฉียดพอดีสำหรับการยื่นอุทธรณ์ด่วนของ กทช.ในฐานะผู้ออกใบอนุญาต 3จี ทว่าคนในมุมของรัฐอย่างเจ้ากระทรวงไอซีที จุติ ไกรฤกษ์ ออกมาให้สัมภาษณ์อ้างว่า ไม่ทราบเรื่องก่อนที่จะมีการฟ้องร้องโดย กสท.
เรื่องเริ่มเข้มข้นเมื่อสามารถจับต้นชนปลายได้ว่า.. รัฐบาลมีส่วนสำคัญต่อเรื่องนี้โดยตรง และจะปฏิเสธการรับรู้เรื่องตั้งแต่ต้นไปไม่ได้ เพราะก่อนหน้านี้รัฐบาลเองเป็นผู้ออกแนวคิดยุติสัญญาสัมปทาน 2จี และเปลี่ยนเป็นการให้ใบอนุญาต หรือ ไลเซ่นส์ โดยตั้งตุ๊กตาไว้ว่าจะกำหนดระยะเวลาไลเซ่นส์ที่ 15 ปี และกำหนดค่าธรรมเนียมใบอนุญาตที่ 12.5%
ทว่าการยื่นให้กฤษฎีกาตีความเพื่อเปลี่ยนรูปแบบสัญญาดังกล่าว กฤษฎีกาจะทำได้ต่อเมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้นแล้ว ดังนั้นในชั้นแรกนี้ หากศาลมีคำสั่งดังกล่าวก็อาจนำไปใช้กล่าวอ้างได้ว่า ได้เกิดปัญหาข้อขัดแย้งขึ้นแล้ว!!
สำหรับสาเหตุที่ภาครัฐต้องการให้มีการแปรรูปแบบสัญญาสัมปทานภายในระยะเวลาเร่งด่วน ก็ด้วยเหตุผลที่ว่าหากเกิดการประมูล 3จี เมื่อใด เมื่อนั้นภาคธุรกิจจะโยกผู้ใช้บริการในระบบของตัวเองจาก 2จี ไป 3จี ทันที ผลกระทบเกิดขึ้นแน่นอนกับผู้ร้องต่อศาล คือ CAT และในที่นี้หมายความถึง TOT ในฐานะผู้ให้สัมปทานระบบ 2จี
อย่างไรก็ดี การเดินเกมให้มีการยุติสัญญาสัมปทานเป็นไลเซ่นส์นั้น รัฐบาลให้เหตุผลว่า ระบบ 2จี จำเป็นต้องมีใช้ในประเทศไทยอยู่ เช่นเดียวกับในประเทศอื่นๆ ที่มีการใช้เทคโนโลยีทั้ง 2 ระบบควบคู่ไปด้วยกัน
ทั้งนี้สำหรับสัดส่วนของ รายได้ ที่รัฐจะได้รับในส่วนของ 3จี ถูกกำหนดไว้เพียง 6.5% เหตุผลเพื่อต้องการให้มีการคิดค่าบริการจากประชาชนในราคาถูก แต่ยังไม่มีใครรู้ได้ว่าความเป็นจริงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตจะเป็นเช่นนั้นหรือไม่..
เหตุผลเดียวถูกปรับใช้ในระบบ 2จี ตามสัญญาใหม่ มีการ ปรับลด รายได้ที่รัฐจะได้รับลงเหลือ 12.5% จาก 20-25% แลกกับการให้เอกชนมาเช่าใช้เสาที่ได้รับเป็นสิทธิของรัฐหลังหมดสัญญาสัมปทานเดิม
ถึงตรงนี้ยังมองไม่เห็นจุดคุ้มจากค่าเช่าเสาที่รัฐหวังจะได้รับ รู้เพียงรายได้ของรัฐที่จะ น้อยลง กับ น้อยลง และในมุมเดียวกัน ภาคเอกชนในฐานะผู้ให้บริการก็จะจ่าย น้อยลง และ น้อยลง เช่นกัน
ทีนี้ก็คิดเอาว่า ใคร คือผู้ที่จะได้ประโยชน์ แต่ขอบอกว่า ไม่ใช่ประโยชน์ที่ น้อยลง เลย!!
โดย ทีมข่าว Mthai
พอดีไปเจอมา เพื่อจะมีประโยชน์บ้างครับ
ปล.ผมยังไม่ได้อ่านนะ แค่ก๊อบมาลง
Comment