รอคำตอบ จากปากเซ
Announcement
Collapse
No announcement yet.
กทช ระงับการประมูล 3 G แล้ว เวณจัง
Collapse
X
-
-
Originally posted by Inspiral View Postคนที่เอาแต่พูดว่า ผลประโยชน์สินะ แบ่งกันไม่ลงตัวสินะ
ไปหัดติดตามข่าวสารให้มันรู้ข้อมูลจริงๆซะก่อนดีกว่าครับ ว่าทำไมเขาถึงต้องระงับ
บอกตรงๆ เห็นคนพูดถึงกระแสเรื่องนี้แล้วรำคาญมากๆ รู้เรื่องจริงๆไม่ถึง 10% ด้วยซ้ำ
Comment
-
Originally posted by sara View Postระบบเครือข่ายไร้สาย 1G (ระบบอนาล็อก) เริ่มมีการนำมาใช้เมื่อปี พ.ศ. 2523 ต่อมาเป็นระบบดิจิตอล ในนามเครือข่าย 2G การให้บริการด้านโทรศัพท์ เริ่มที่การสนทนา พัฒนาใช้ระบบ GPRS, EDGE สามารถส่ง SMS, MMS, E-mail, Internet, Load ภาพ เพลง คลิปวีดีโอ, Chat ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านเริ่มมีการนำเทคโนโลยี 3G มาใช้ แต่ไทยยังสามารถนำมาใช้ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศได้ โดยมีปัจจัยว่าการเปลี่ยนจาก 2G เป็น 3G อาจทำให้รัฐเสียผลประโยชน์ที่พึงได้รับจากระบบ 2G ที่มีรายได้จากสัญญาสัมปทาน หากผู้ใช้งานเปลี่ยนไปใช้ 3G รายได้ค่าสัมปทานจะลดลง ดังนั้น กทช.จะต้องดำเนินการประมูลเพื่อหารายได้ให้กับรัฐ
ธุรกิจโทรคมนาคมไร้สายเป็นการนำคลื่นความถี่มาทำให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อ สังคมและผู้ลงทุนประกอบการ คลื่นความถี่เป็นสมบัติของชาติ ผลประโยชน์ที่เข้ารัฐจึงต้องเป็นธรรม ต้องระมัดระวังการบริหารในทุกขั้นตอนเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับทิศทาง การพัฒนาประเทศ แต่ธุรกิจสื่อสารส่วนใหญ่ภาคเอกชนเป็นผู้ดำเนินการเกือบทั้งหมดโดยได้รับ สัญญาสัมปทานกับรัฐ ผ่านบริษัท ทีโอที จำกัด และบริษัท กสท.โทรคมนาคม จำกัด
ปัญหาการใช้เทคโนโลยี 3G ในไทย
1. สัญญาสัมปทาน มีการลงนามข้อตกลงระหว่างตัวแทนรัฐกับภาคเอกชนมานาน และมีการแก้ไขสัญญาหลายครั้ง โดยการแก้ไขสัญญาพบตั้งแต่การแก้ไขในทางเทคนิคเล็กๆ น้อยๆ ไปจนถึงการแก้ไขสัญญาที่รัฐเสียเปรียบ เพราะเป็นการแก้ไขที่มีผลกระทบกับรายได้ของรัฐ (ทำให้รายได้ของรัฐน้อยลง) และการแก้ไขสัญญาในลักษณะที่เป็นการต่ออายุของสัญญาสัมปทานให้นาน ซึ่งคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตีความว่าการแก้ไขสัญญาสัมปทานเหล่านี้ เป็นการแก้ไขที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย เช่น บริษัททีโอที แก้ไขสัญญาร่วมงานกับ บริษัทเอ ไอ เอส รวม 7 ครั้ง ไม่ถูกต้องตามกฎหมายและที่บริษัททีโอที แก้ไขสัญญาร่วมงานกับบริษัททรูรวม 21 ครั้งก็ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย รวมทั้งที่บริษัท กสท. แก้ไขสัญญาร่วมงานกับบริษัทดีแทค รวม 3 ครั้ง ไม่ถูกต้องตามกฎหมายเช่นกัน
2. ข้อพิพาท หลายปีที่ผ่านมาเกิดข้อพิพาทระหว่างบริษัทฯ ที่เป็นรัฐวิสาหกิจและภาคเอกชนที่เป็นคู่สัญญา ปัญหาข้อพิพาทเริ่มตั้งแต่การใช้เสาอากาศ ภาษีสรรพสามิต การแบ่งรายได้ จนถึงค่าเชื่อมต่อโครงข่าย (interconnection charge) สะท้อนให้เห็นว่าธุรกิจโทรคมนาคมของไทยยุ่งเหยิง มีปัญหามาอย่างยาวนาน (บริษัท ทีโอที ในฐานะเป็นผู้ฟ้อง มูลค่า 20,000 ล้านบาท ในฐานะเป็นผู้ถูกฟ้อง มูลค่า50,000 ล้านบาท , บริษัท กสท.ในฐานะเป็นผู้ฟ้อง มูลค่า 24,000 ล้านบาท ในฐานะเป็นผู้ถูกฟ้อง มูลค่า 3,000 ล้านบาท ซึ่งระหว่างงบริษัท ทีโอที และบริษัทกสท. ก็มีคดีฟ้องร้องกันเอง)
3. บทบาทหน้าที่ของรัฐวิสาหกิจ กิจการโทรคมนาคมในอดีตให้บทบาทและหน้าที่กับหน่วยงานของรัฐ คือบริษัททีโอที และบริษัท กสท. เอกชนรายใดจะประกอบกิจการโทรคมนาคมต้องได้เป็นคู่สัญญากับทั้งสองหน่วยงาน นี้ ปัจจุบัน กทช.ทำหน้าที่กำกับดูแลการประกอบธุรกิจโทรคมนาคมไม่ให้เกิดการผูกขาดหรือ เกิดความไม่เป็นธรรม ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 เป็นผู้รับผิดชอบในการออกใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแต่ผู้เดียว ถ้าบริษัททีโอที และบริษัทกสท. ต้องการจะหารายได้จากการประกอบกิจการก็ต้องมาประมูลแข่งขัน เช่นเดียวกับภาคเอกชนรายอื่นๆ ซึ่งสัญญาสัมปทานที่บริษัทเอกชนทำไว้กับทีโอที และ กสท. ยังไม่หมดอายุ ในขณะเดียวกันบริษัท ทีโอที และ กสท.ก็ต้องการจะลงมาเล่นเป็นผู้ประกอบการ บทบาทของทั้งสองหน่วยงานจึงซ้ำซ้อน ทั้งความต้องการเป็นผู้กำกับ มีรายได้จากสัญญาสัมปทาน พร้อมกับต้องการเป็นผู้ประกอบการ แข่งกับภาคเอกชน
สัญญาสัมปทานที่รัฐฯ มีกับภาคเอกชนนั้นเป็นสัญญาในลักษณะสร้าง โอน ดำเนินการ BTO คือ ผู้ได้รับสัญญาสัมปทานเมื่อสร้างเสร็จแล้ว ต้องโอนทุกอย่างให้เป็นสมบัติของรัฐ บริษัทฯ เอกชนเป็นเพียงผู้ดำเนินการ เมื่อมีรายได้ก็ต้องนำรายได้นั้นมาแบ่งให้กับภาครัฐ สิ่งก่อสร้าง อุปกรณ์ทั้งหมดเป็นสมบัติของหลวงทั้งสิ้น ซึ่งปัจจุบัน หากบริษัทเอกชนต่างๆ จะประมูลงาน 3G บริษัทก็มีสิทธิที่จะใช้อุปกรณ์ที่เป็นส่วนของสัญญาสัมปทานมาใช้ในระบบ 3G โดยอาจจะไม่ต้องลงทุนใหม่ รวมทั้งเมื่อลูกค้าต้องการเปลี่ยนระบบ 2G เป็น 3G รายได้จากระบบ 2G เดิมที่มีส่วนแบ่งให้ ทีโอที และ กสท. ตามสัญญาสัมปทานนั้นก็อาจจะหายไป
เป็นเสือนอนกินแล้วยังทำงานแบบผ่านไปวันๆ มิน่าถึงตีตลาดสู้เอกชนก็ไม่ได้สักที
Comment
-
เพราะประเทศไทยมี กสท แล้ว กสท ก็เป็นคนเก็บค่าสัมปทาน 2G แถมมีลูกรักอย่างบริษัท Hutch ทำตลาด(แถมไม่ครอบคลุมทั่วประเทศคือสาเหตุ)
แข่งขันกับ AIS Truemove Dtac ในตลาด 2G
- ถ้าจะประมูล 3g ต้องรอให้ กสท (บริษัท Hutch) วางโครงข่ายครอบคลุมทั่วประเทศก่อนครับ ใช้เวลาไม่นาน ประมาณ 1-3 ปี
- ถ้าประมูล 3G เสร็จตอนนี้ ผู้ที่ใช้ 2G จะเหลือกี่คนเพราะ รายได้ส่วนใหญ่ของ กสท มาจากการรีดไถ 25% ในการเก็บค่าสัมปทาน
2G ก็หด(หมดตูด) ที่เสียหายร้ายแรงคือโบนัสที่เคยแจกจ่ายให้ผู้บริหารและพนักงานก็ไม่มีครับ
- เกือบลืม กทช เป็นผู้เก็บค่าสัมปทาน 3G ครับเพียง 6% เท่านั้น ลดภาระค่า 3G คนไทยไปเยอะ ที่เสียหายก็คือ กสท ครับน่าเห็นใจจริง ๆ
(แล้วประชาชนคนไทยต้องทำใจแล้วครับงานนี้รอต่อครับ แต่ถ้าไม่มี กสท ก็คงเข้าสู่ 4G แล้วกระมังครับ)
Comment
-
Originally posted by borderman View Postเพราะประเทศไทยมี กสท แล้ว กสท ก็เป็นคนเก็บค่าสัมปทาน 2G แถมมีลูกรักอย่างบริษัท Hutch ทำตลาด(แถมไม่ครอบคลุมทั่วประเทศคือสาเหตุ)
แข่งขันกับ AIS Truemove Dtac ในตลาด 2G
- ถ้าจะประมูล 3g ต้องรอให้ กสท (บริษัท Hutch) วางโครงข่ายครอบคลุมทั่วประเทศก่อนครับ ใช้เวลาไม่นาน ประมาณ 1-3 ปี
เข้าใจผิดไปใหญ่แล้ว
- แต่ก่อน กสท มีหน้าที่เดียวกับ กทช แหละครับ มีหน้าที่ดูแลสัมปทานรัฐ แต่อยู่ๆ ก็มีนโยบายจากรัฐบาล(สมัยไหนไม่รู้) ให้ กสท กลาย เป็นผู้ให้บริการแล้วลงไปแข่งขันกับเอกชน (แต่ไม่อนุญาตให้เปลี่ยนกฎระเบียบภายในองค์กรยังใช้แบบหน่วยงานราชการ -*- ถ้ามันแข่งขันได้ก็เทพเกินไปล่ะครับ) และยังคงให้ กสท จัดเก็บรายได้สัมปทานเข้ารัฐต่อไป
- ทีนี้พอสถานะการเปลี่ยน หากในองค์กรยังใช้กฎระเบียบแบบหน่วยงานราชการ คงแข่งกับใครไม่ได้ เลยให้สัมปทาน Hutch ไปทำ 25 จังหวัดภาคกลางก่อน ส่วน กสท ก็พัฒนาตัวเองไปเรื่อยๆๆๆๆๆๆๆๆ(ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ) จนได้ CAT CDMA ออกมา
- พอทำ CAT CDMA ก็มีความเห็นว่า หากไปทำภาคกลาง ก็จะเป็นการไปลงทุนด้านเครือข่ายซ้ำซ้อนกับ HUTCH เลย ทำแค่ 51 จังหวัด รอบนอก (ลงทุนวางเครือข่าย 3G 51จังหวัด ทั้งที่ Hutch ยังเป็นเครือข่าย 2g อยู่)
- แล้วต่อมา กสท คิดได้ว่าควรจะต้องมี 3g ครอบคลุมทั้งประเทศซะที ก็เลยคิดจะขอซื้อโครงข่าย Hutch มาบริหารเอง แต่ก็ด้วยระเบียบแบบราชการ จึงต้องทำการขออนุมัติจาก ครม. ซึ่งก็ขออนุมัติตั้งกะปี 2551 พิจารณาแล้วพิจารณาอีก ทบทวนแล้ว ทบทวนอีก ตีความแล้ว ตีความอีก ปัจจุบัน 2553 ก็ยังไม่อนุมัติ เหอๆๆๆ
- ซึ่งระหว่างรออนุมัติ Hutch ก็ไม่สามารถ upgrade เครือข่ายให้เป็น 3g ได้ CAT CDMA ก็ไปวางเครือข่าย 25 จังหวัดภาคกลางเองก็ไม่ได้ (เหอๆๆ รอบที่2)
Comment
Comment