Announcement

Collapse
No announcement yet.

กทช ระงับการประมูล 3 G แล้ว เวณจัง

Collapse
X
 
  • Filter
  • Time
  • Show
Clear All
new posts

  • ไปใช้ 3G(ays) เลยไป๊ ยัย....................... <<< เติม

    Comment


    • ต้นมันเป็นยังไง ผลประโยชน์นี่

      Comment


      • เป็นไปตามคาดครับ มีไม่ไม่ได้หรอก 3g เดี๋ยว wi-fi กะ Edge ขายไม่ออก

        Comment


        • ชาวเน็ตแถลงการณ์ จี้รัฐบาลกดดัน กสท. ถอนฟ้อง กทช. กรณีประมูล 3G

          สุภิญญา นำชาวเน็ตแถลงการณ์ จี้รัฐบาลกดดัน กสท. ถอนฟ้อง กทช. กรณีประมูล 3G
          22 กย. เมื่อวันที่ 20 กันยายน นส.สุภิญญา กลางณรงค์ เครือข่ายพลเมืองเน็ต ได้ร่างแถลงการณ์แถลงการณ์ ขอให้รัฐบาลแสดงเจตจำนงทางการเมืองสนับสนุนการปฏิรูปกิจการโทรคมนาคมเพื่อประชาชน กรณีการประมูลสามจี และเปิดให้ผู้ที่เห็นด้วยลงชื่อร่วมแถลงการณ์ ผ่านทาง http://bit.ly/thai3g-form ซึ่งมีผู้ร่วมลงชื่อจำนวนมาก
          ————————————————————————————–
          แถลงการณ์
          ขอให้รัฐบาลแสดงเจตจำนงทางการเมืองสนับสนุนการปฏิรูปกิจการโทรคมนาคมเพื่อประชาชน กรณีการประมูลสามจี
          จากกรณีที่คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ซึ่งเป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ได้ดำเนินการจัดประมูลคลื่นความถี่ 2100 หรือ 3G (ประกาศ กทช. ฉบับ PDF) ซึ่งตามกำหนดการเดิมจะมีการเริ่มต้นประมูลในวันนี้ (20 กันยายน 2553) รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับรู้และมีส่วนร่วมในแนวทางดังกล่าวของ กทช. มาโดยตลอด รวมทั้งหลายภาคส่วนในสังคมสนับสนุนแนวทางการประมูลครั้งนี้ ด้วยหวังว่าจะเป็นจุดเริ่มต้นในการปฏิรูปกิจการโทรคมนาคมในประเทศไทย
          ทว่า หน่วยงานในกำกับของรัฐบาล คือ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด มหาชน ได้ดำเนินการฟ้องทางกฏหมายต่อ กทช. เรื่องอำนาจหน้าที่เพื่อจะระงับการประมูล (ข่าวจากกรุงเทพธุรกิจ) จนนำไปสู่การชะงักงันของการประมูล ส่งผลกระทบอย่างลึกซึ้งต่อการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมไทย การฟ้องร้องครั้งนี้สะท้อนถึงความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลที่มีต่อองค์กรอิสระ ในการจัดสรรทรัพยากรของประเทศ
          แม้ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นจะมีความซับซ้อนสูง เพราะปัญหาภายในที่สั่งสมมายาวนานของสังคมไทย แต่ทุกอย่างย่อมแก้ไขได้ด้วยเจตจำนงทางการเมือง ดังนั้นผู้มีรายชื่อข้างท้ายดังต่อไปนี้
          ขอเสนอแนวทางต่อรัฐบาลเพื่อแก้ปัญหาต่อกรณีการประมูลสามจีที่เกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบัน ดังต่อไปนี้
          1. ขอ ให้รัฐบาลเจรจากับผู้บริหาร กสท. ซึ่งเป็นหน่วยงานในกำกับ เพื่อพิจารณาทบทวนการฟ้องร้อง กทช. ซึ่งเป็นองค์กรอิสระ เพื่อให้การประมูลเดินหน้าไปได้
          2. ขอ ให้รัฐบาลมีแนวทางในการปฏิรูปรัฐวิสาหกิจเพื่อแก้ปัญหาของทั้งสองหน่วยงาน ที่จะได้รับผลประทบจากการประมูลสามจี สำหรับทางออกในระยะยาว
          3. ใน ขณะที่ กทช. เดินหน้าเรื่องการปฏิรูปกิจการโทรคมนาคม ขอให้รัฐบาลและรัฐสภาผลักดันกระบวนการจัดตั้งคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ที่เป็นอิสระเพื่อมาปฏิรูปกิจการกระจายเสียงต่อไป
          เราเห็นว่าการประมูลสามจีภายใต้เงื่อนไขของ กทช. ครั้งนี้ จะนำไปสู่การปฏิรูปกิจการโทรคมนาคมของประเทศไทย ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
          1. การ ประมูลครั้งนี้เป็นจุดเริ่มต้นของปฏิรูปกิจการโทรคมนาคม จากระบบสัมปทานไปสู่ระบบใบอนุญาต ภายใต้การกำกับดูแลโดยองค์กรอิสระ ซึ่งจะนำไปสู่การแข่งขันเสรีตามเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ
          2. การ ประมูลครั้งนี้จะนำไปสู่กระบวนการปฏิรูปหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ เพื่อให้เกิดการปรับตัวในเรื่องประสิทธิภาพของการบริการสาธารณะด้านโทร คมนาคม
          3. การประมูลครั้งนี้จะนำ ไปสู่การพัฒนากิจการโทรคมนาคมเพื่อกระจายการเข้าถึง เทคโนโลยีสารสนเทศออกไปในชนบท ลดช่องว่างทางเทคโนโลยี (digital divide) ในสังคม (ปัจจุบันประเทศไทยมีอัตราการเข้าถึงโทรศัพท์พื้นฐาน 10.37% อินเทอร์เน็ต 25.80% ในขณะที่เข้าถึงโทรศัพท์มือถือ 122.57%)
          4. รัฐ จะได้ประโยชน์จากรายได้ทั้งหมดที่เกิดจากการประมูลคลื่นความถี่ฯ ที่ กทช. ต้องนำส่งเข้ารัฐเต็มจำนวน โดยไม่ถูกหักรายทางเหมือนระบบสัมปทาน
          5. ถ้า การประมูลครั้งนี้สำเร็จลุล่วงไปได้ต่อสายตาคนไทยและชาวโลกด้วยความโปร่งใส มากที่สุด จะช่วยกอบกู้ภาพลักษณ์ของประเทศในเรื่องการทุจริต การสมยอมได้
          ดัง นั้น พวกเราตามรายชื่อข้างท้ายนี้เรียกร้องให้รัฐบาลแสดงเจตจำนงทางการเมือง เพื่อสนับสนุนให้เกิดการปฏิรูปกิจการโทรคมนาคม ด้วยการให้ กสท.ยุติการดำเนินการทางกฏหมายต่อ กทช. ซึ่งเป็นองค์กรอิสระ เพื่อให้การประมูลสามจีเดินหน้าไปได้ และก่อประโยชน์ร่วมของสังคมไทย
          ด้วยความหวังที่จะได้เห็นการปฏิรูปกิจการโทรคมนาคมไทย
          ร่วมลงชื่อได้ที่ http://bit.ly/thai3g-form
          ดูรายชื่อผู้ร่วมสนับสนุนได้ที่ http://bit.ly/thai3g-name

          Comment


          • มันก็แค่เล่น ปาหี่ กันแค่นั้นแหล่ะมั้งครับ ถ้าจบแบบง่ายๆมันก็อดได้ตังแบบสบายๆดิครับ ผมสังเกตุมานานแล้วครับเรื่องนี้ มันก็แค่ชงเรื่องขึ้นมาเพื่อปั่นหุ้นเอาเงินเข้ากระเป๋าพอขายหุ้นหมดก็เอาอีกกลุ่มอีกองค์กรมาฟ้องคัดค้านเพื่อให้หุ้นตกแล้วช้อนเก็บเพื่อไปขายอีก ไม่ต่างจากหวยออนไล(loxley) และ มาพตาพุท

            Comment


            • คือ เขาระงับจริงๆ ใช่ไหมครับ

              เวงกำ อุตส่าห์ตั้งตารอด้วยความหวังว่าประเทศเราจะก้าวหน้ากับเขาบ้าง ดันระงับอีก มันคิดอะไรของมัน???

              Comment


              • สุดท้ายประเทศไทยก็ไม่ได้ใช้ 3 G ตามความหมาย เป็นเวณเป็นกรรมจริง ๆ ที่มีแต่คนไทยที่เห็นประโยชน์ส่วนตัวและพวก มากกว่าผลประโยชน์ประชาชนส่วนใหญ่ กินมันก็กินได้ล่ะว่ะแต่ให้คนอื่นเขาได้บ้างก็ได้ เวณจิง ๆ รู้อย่างนี้ไปเกิดเป็นคนลาวก็คงจะเจริญกว่าคนไทยล่ะว่ะ อยากให้ชาวเน็ตทุกคนมาร่วมกันประนามคนเลว ๆ ที่ไม่เห็นถึงประโยชน์ ของคนส่วนรวม ด้วยกันนะครับ ถือว่าเราทำเพื่อชาติ

                Comment


                • เค้ารอ 4G กันแล้วครับ 3G ไม่ต้องพัฒนาหรอก เดี๋ยวมันจะล้าหลัง

                  Comment


                  • เห้อ น่าจะมีอย่างนี้บ้างนะ บ้านไหนมีiphone xG ลดค่าภาษีตามจำนวนเครื่องคูณ10 ชดเชยค่าไม่ได้ใช้xG

                    Comment


                    • คนรู้จริงเรามาเปิดประเด็นเสร็จแล้วหายจ้อยเลย

                      เมพจริงๆ

                      Comment


                      • Originally posted by MaKuBeck View Post
                        CAT = Cancel All Technology !!!
                        +100

                        Comment


                        • G ละ4000 3Gคิด 11000 ของดีใสปริ๊ง

                          (เล่นเอาฮานะ ขำ ขำ) ^_^

                          ใครอยากรวย ซื้อหุ้น True+CP+CPF ไว้เลย ครองประเทศแล้ว

                          Comment


                          • Originally posted by Kanano View Post
                            คนรู้จริงเรามาเปิดประเด็นเสร็จแล้วหายจ้อยเลย

                            เมพจริงๆ
                            เราก็รู้กันแค่ 10% นี้แหละ เพราะเค้าหายไปแล้ว

                            Comment


                            • ลองอ่านให้จบก่อนนะครับ พอจะเข้าใจแล้วล่ะว่าทำไม

                              คำสั่งศาลปกครองสูงสุดเมื่อวานนี้ ( 23 กย.) ที่ให้ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กทช. ระงับ การประมูลใบอนุญาต 3 จีไว้ชั่วคราว มีข้อวินิจฉัย ที่สะท้อนถึง มาตรฐานการทำงาน และความรู้ถูกรู้ผิดของ กรรมการ กทช. ที่น่าตกใจ

                              ข้อวินิจฉัยว่า การเปิดประมูลใบอนุญาต 3 จี หรือที่เรียกกันในภาษาราชการว่า ประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อการประกอบกิจการโทรศัพท์ เคลื่อนที่ IMT ย่าน2.1 GHz ที่ประกาศเมื่อวันที่23 กรกฎาคม 2553 นี้ ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

                              เรื่องนี้ ศาลปกครองสูงสุดเห็นว่า พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2543 กำหนดให้คณะกรรมการร่วม ( คือ กทช. ร่วมกับ กสช ) มีอำนาจจัดทำแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่และตารางกำหนดคลื่นความถี่แห่ง ชาติ ตลอดจนจัดสรรคลื่นความถี่ ระหว่างคลื่นความถี่ที่ใช้ในกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการวิทยุโทรคมนาคม

                              ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ไม่มีคณะกรรมการร่วม จึงไม่มีการจัดทำแผนแม่บท การบริหารคลื่นความถี่และตารางกำหนดคลื่นความถี่แห่งชาติ ตลอดจนจัดสรรคลื่นความถี่ระหว่างคลื่นความถี่ที่ใช้ในกิจการวิทยุกระจาย เสียงและวิทยุโทรทัศน์ และกิจการวิทยุโทรคมนาคม

                              ดังนั้น การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ( พอ.นที ศกุลรัตน์) จะกำหนดนโยบายและจัดทำแผนแม่บทกิจการโทรคมนาคมและแผนความถี่วิทยุข ตามมาตรา 51 วรรคหนึ่ง , การจัดสรรคลื่นความถี่เพื่อกิจการโทรคมนาคม ( วรรค 3 ), การออกใบอนุญาต ( วรรค 4 ) และการกำหนดหลักเกณฑ์การออกใบอนุญาต (วรรค 5 ) แห่ง พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ จึงมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมาย ด้วยเหตุนี้ การออกประกาศของ พันเอกนที จึงน่าจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย

                              สรุปความเป็นภาษาทั่วไปคือ ก่อนที่ กทช. จะเปิดประมูลใบอุนญาต 3 จีได้ ต้องมีการทำแผนการบริหารคลื่นความถี่ ให้ชัดเจนเสียก่อนว่า คลื่นความถี่ของชาตินั้น มีคลื่นความถี่ประเภทใดบ้าง คลื่นไหนจะใช้ในกิจการโทรคมนาคม คลื่นไหนจะใช้ในกิจการวิทยุ และโทรทัศน์

                              การทำแผนบริหารคลื่นความถี่แห่งชาติ เป็นอำนาจหน้าที่ของ คณะกรรมการร่วม ซึ่งไมมี เพราะ ไม่มี กสช. มีแต่ กทช. ดังนั้น การเปิดประมูลใบอนุญาต 3 จี ของกทช. จึงเป็นการข้ามขั้นตอน หรือ “ ลักไก่” นั่นเอง

                              คนเป็นถึง กรรมการ กทช. มีหน้าที่กำกับดูแล อุตสาหกรรมโทรคมนาคมที่มีผลประโยชนนับแสนล้านบาท แต่ละคนมีความรู้สูง เป็น รศ. บ้าง เป็น ศจ. บ้าง มีประสบการณ์ในการทำงานสาขาต่างๆมายาวนาน ก่อนจะมาเป็นกรรมการ กทช. ข้อกฎหมายที่ชัดเจน ตรงไปตรงมาแบบนี้ เป็นไปไม่ได้ ที่จะอ่านไม่ออก ตีความไม่เป็น

                              การที่กล้าทำ ทั้งๆที่น่าจะรู้ว่า ผิดกฎหมาย ไม่มีอำนาจ ก็แสดงว่า แรงจูงใจ ให้กระทำในสิ่งที่มีความเสี่ยงต่อการทำผิดกฎหมาย มีมากกว่า ความสำนึกว่า เรื่องใด ผิด เรื่องใดถูก และมั่นใจว่า ด้วยอำนาจแห่งการโฆษณาชวนเชื่อ จะจูงจมูกสังคม ให้คล้อยตามได้ว่า ระบบ 3 จี เป็นของวิเศษ ที่จะทำให้ชาติไทยรุ่งเรือง เจริญก้าวหน้า ทำให้จีดีพี เพิ่มขึ้นทั้งทางตรงและทางอ้อมถึง 2.4-4.8 แสนล้านบาท จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงข้อมูล ข่าวสาร ความรุ้ ผ่านระบบอินเตอร์เน็ตได้ ฯลฯ จนทำให้ผู้ที่รู้เท่าทัน ไม่กล้าคัดค้าน

                              ศาลปกครองสูงสุดยังมีความเห็นในตอนท้ายว่า แม้การดำเนินกิจการตามอำนาจหน้าที่ของ พันเอกนที จะเป็นการดำเนินการเพื่อประโยชน์สาธารณะ แต่การดำเนินกิจการเพื่อประโยชน์สาธารณะก็ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของความชอบ ด้วยกฎหมายด้วย

                              กรณีนี้ มีประเด็นที่ประชาชนพึงต้องพิเคราะห์ว่า การรวบรัดเปิดประมูลใบอนุญาต 3 จี ของพันเอกนทีนั้น เป็นการดำเนินการเพื่อประโยน์สาธารณะหรือไม่

                              ด้วยอำนาจแห่งการโฆษณาชวนเชื่อ ที่ กทช. ใช้เงินภาษีของประชาชนสร้างขึ้นมา ดลบันดาลให้คนจำนวนหนึ่ง เข้าใจผิดว่า 3 จี คือ ช่องสัญญาณความเร็วสูง หรือ บรอดแบนด์ และบรอดแบนด์ก็คือ 3 จี แต่ความจริงแล้ว บรอดแบนด์ มีหลายประเภท ได้แก่ บรอดแบนด์ที่เป็นสายเคเบิลใยแก้ว บรอดแบนด์ที่มาทางสายโทรศัพท์ บรอดแบนด์ที่มาทางดาวเทียม 3 จี เป็นเพียงประเภทหนึ่งของบรอดแบนด์ ที่เป็นสื่อสัญญาณแบบไร้สาย หรือ ไวร์เลส( wireless ) ประเภทหนึ่ง เท่านั้น

                              การที่ กทช. ไม่สามารถเปิดประมูล 3 จีได้ เพราะทำผิดกฎหมาย จึงไม่ได้หมายความว่า ประเทศไทยจะไม่มีวันได้ใช้อินเตอร์เน็ตความเร็วสูง เพราะทุกวันนี้ เราก็ใช้อินเตอร์เน็ตความเร็วสูงกันอยู่แล้ว โดยผ่านทางสายเคเบิลใยแก้ว ผ่านระบบ จีพีอาร์เอส ระบบไวไฟ ของผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ มีความเร็วสูงถึง 5-6 เมกะบิต ซึ่งเพียงพอสำหรับการใข้งานของคนทั่วไป ผู้ที่ต้องการใช้อินเตอร์เน็ตความเร็วสูงมากกว่านี้ เช่น องค์กรธุรกิจ ก็สามรถเช่าสายเคเบิลมาใช้งานเป็นของตัวเอง หรือที่เรียกกันว่า Lease Line ได้

                              การโฆษณาชวนเชื่อว่า หากไม่มีการประมูล 3 จี ทำให้ประเทศไทยล้าหลัง ส่งผลกระทบต่อการลงทุน และคุณภาพของสังคม จึงเป็นเรื่องของ คนคิดไม่ซื่อ หลอกคนซื่อ

                              ความจริงอีกข้อหนึ่งก็คือ ทุกวันนี้ ประเทศไทยมี 3 จีใช้แล้ว แต่เป็น 3 จื ที่อัพเกรดระบบ 2 จี ในย่านคลื่นความถี่ 900 ของเอไอเอส คลื่นความถี่ 850 ของดีแทค และทรู มูฟ แต่ก็มีข้อจำกัด ในด้านขนาดของคลื่น ทื่ทำให้การส่งสัญญาณทั้งภาพ เสียง และข้อมูล ไมม่มีประสิทธิภาพเต็มที่

                              การเปิดประมูล 3 จี ของ กทช. นั้น เป็นการประมูลคลื่นใหม่ ที่ย่านความถี่ 2.1 กิ๊กกะเฮิร์ตซ์ ซึ่งหากทำโดยถูกต้องตามกฎหมาย โปร่งใส และคำนึงถึงประโยชน์ของผู้บริโภค และอุตสาหกรรมโทรคมนาคมโดยรวมก็เป็นสิ่งที่ดี แต่ การรีบเร่งประมูล3 จีในช่วงนี้ ก่อนที่ กทช. 3 คนใน 7 คน จะพ้นตำแหน่ งเพียง 10 วัน โดยที่ยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องของกฎหมาย ทำให้เกิดคำถามว่า เป็นการดำเนินการเพื่อประโยชน์สาธารณะหรือไม่ หรือ เพื่อต่ออายุการทำธุรกิจของเอไอเอส ดีแทค และทรูมูฟ ซึ่งสัมปทานในระบบ 2 จี เหลืออยู่ 3-8 ปี เป็น 15 ปี ตามเงื่อนไขการประมูล 3 จีของกทช.

                              ต่ออายุ การทำธุรกิจของเอไอเอ สดีแทค และทรูมูฟ ออกไปอีก 15 ปี ภายในระบบ 3 จี แล้วยังไม่พอ กทช. ยังช่วยลดต้นทุน การดำเนินงานของ ผู้ประกอบการ จากที่ต้องจ่ายส่วนแบ่งรายได้ในระบบสัมปทาน ประมาณ 15-20 % ของรายได้ มาเป็นการจ่ายค่าธรรมเนียมใบอนุญาต รายปี เพียง 6.5 % ของรายได้ เท่านั้น ถูกกว่ากันถึง 100 % ทำไมค่ายมือถือจะไม่เอา แม้ว่าจะต้องเสนอราคาประมูลแข่งกัน แต่ กทช. ก็ช่วยล็อคราคาขั้นต่ำไว้แล้ว ที่ 12,800 ล้านบาท และออกแบบการประมูล ที่สร้างหลักประกันว่า ทั้งเอไอเอส ดีแทค และทรูมูฟ จะต้องได้ใบอนุญาตแน่ ใครไมได้ในรอบแรก ก็รออีกเพียง 3 เดือน ก็สามารถเข้าประมูลรอบที่ 2 ได้ โดยไม่ต้องกังวลว่า จะมีต่างชาติเข้ามาแข่งขัน เพราะกทช. สร้างกำแพงป้องกันไว้แล้ว โดยออกกฎจำกัดการถือหุ้น และควบคุมการแต่งตั้งผู้บริหาร

                              นอกจากนั้น เพื่อให้ผู้ประมูลมีความมั่นใจว่า ผุ้ใช้บริการ 2 จี จะยอมย้ายไปใช้บริการ 3 จี กทช. ยังกำหนดเงื่อนไขว่า เมื่อผู้ได้รับใบอนุญาต เปิดให้บริการในระบบบ 3 จี ในพื้นทีใด จะต้องคืนคลื่นความถี่ 2 จี ไปให้กับ ผู้ให้สัมปทานคือ ทีโอที และ กสท. แล้วแต่กรณี เหมือนเป็นการบีบบังคับทางอ้อม ให้ผู้ใช้บริการ 2 จี ต้องตามไปใช้บริการ 3 จีด้วย

                              เงื่อนไข กติกาในการประมูลใบอนุญาต 3 จี เช่นนี้ เป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของประชาชน และประเทศชาติ หรือ ว่า เป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของ เอไอเอส ดีแทค และทรูมูฟกันแน่

                              บ่ายวานนี้ พันเอกนที แถลง น้อมรับคำสั่งศาลปกครองสูงสุด ยุติการประมูล 3 จี พร้อมกับ ขอโทษคนไทยทั่วประเทศที่ไม่สามารถทำให้เกิดโครงข่าย 3จี ขึ้นในประเทศไทยได้

                              คำขอโทษแบบนี้ เหมือนจงใจโยนความผิดให้ผู้ที่ไปฟ้องร้อง ศาลปกครองว่า เป็นตัวการที่ทำให้ไม่สามารถประมูล 3 จีได้ ทั้งๆที่ การประมูล 3 จี ถูกศาลปกครองสั่งระงับ เพราะ พอ. นที ทำผิดกฎหมาย

                              คนที่พันเอกนที ต้องขอโทษ ไม่ใช่คนไทย เพราะคนไทยไม่เดือดร้อน จากการที่ไม่มีการประมูล 3 จี พันเอกนทีต้องขอโทษ เอไอเอส ดีแทค และทรูมูฟ ที่ไม่สามารถต่ออายุการทำธุรกิจของทั้ง 3 รายนี้ ออกไปอีก 15 ปี โดยจ่ายส่วนแบ่งรายได้ถูกลงกว่าเดิมมากกว่า 100 %

                              Comment


                              • เซงเป็ดเมือรู้ ข่าวว

                                Comment

                                Working...
                                X