Announcement

Collapse
No announcement yet.

มาร่วมกันวิจัยเรื่อง "Tranformer"

Collapse
X
 
  • Filter
  • Time
  • Show
Clear All
new posts

  • #16
    Originally posted by fenderfree View Post
    หวานๆ เบสน้อยๆ ค่าความเพี้ยนจะมาก แต่เป็นความเพี้ยนใน ฮาโมนิคเชิงคู่ ที่แม้จะเพี้ยนแต่หูมนุษย์ฟังแล้วชอบ
    แต่แอมป์ solid stage (แอมป์ ic/ทรานซิสเตอร์/มอสเฟต)ที่เราฟังๆกัน จะเพี้ยนฮาโมนิคเชิงคี่ ที่ฟังแล้วสากเสี้ยนหูมนุษย์
    ไหนๆก็ออกแล้ว

    หาถามเพิ่มเติมหน่อยนะครับ

    ค่าความเพี้ยนนี่คือยังไงอะครับ

    Comment


    • #17
      เพี้ยนก็คือ

      ต้นฉบับมา a เพี้ยนคือ A
      ต้นฉบับมา a ไม่เพี้ยนคือ a

      ปรียบเทียบให้เข้าใจ เข้าใจมั้ยครับ

      Comment


      • #18
        Originally posted by fenderfree View Post
        ตายๆ...จขกท. พาออกทะเลซะงั้น
        Jack Sparrow

        Comment


        • #19
          Originally posted by fenderfree View Post
          เพี้ยนก็คือ

          ต้นฉบับมา a เพี้ยนคือ A
          ต้นฉบับมา a ไม่เพี้ยนคือ a

          ปรียบเทียบให้เข้าใจ เข้าใจมั้ยครับ
          อ๋อๆ เก็ตละครับ ขอบคุณมากครับ

          Comment


          • #20
            เข้ามาเก็บความรู้

            Comment


            • #21
              แน่ะ..เนียนเลย เอาความรู้มาแบ่งให้ข้าพเจ้าซะโดยดี 555+
              Originally posted by keang View Post
              เข้ามาเก็บความรู้

              Comment


              • #22
                ไม่รู้ว่าจะเอาไรมาแบ่งน่ะสิครับ
                เพราะผมมองไม่ค่อยเหมือนชาวบ้านเค้า หลักๆก็เหมือนที่คุณdracoVบอกไว้ แต่ละแบบก็มีจุดดีจุดด้อยปนๆกัน
                เวลาจะเอาแบบไหนมาใช้งาน ผมก็ดูว่าจุดด้อยมันอยู่ตรงไหน แล้วก็หาวิธีลดจุดด้อยของมันให้ได้มากที่สุด
                ยิ่งเรื่องการแพร่กระจายสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ยิ่งไม่ได้สนใจเท่าไหร่ เพราะเราสามารถชีลด์ป้องกันมันได้อยู่แล้ว

                เรื่องหม้อแปลงจริงๆแล้วผมไม่ค่อยได้ใส่ใจเรื่องต้องเป็นแบบไหน เพราะที่ใช้งานกันผมจะดูแค่เรื่องขนาดของตัวมันมากกว่า
                อยากใช้กับกล่องขนาดเล็กก็พวกC-Core ถ้าไม่สนใจเรื่องขนาดก็EI ส่วนแบบR-Coreของบ้านเราผมยังไม่ค่อยมั่นใจเท่าไหร่

                แกนEIผมคงไม่มีปัญญาไปสั่งตัดสั่งเลือกแบบชนิดที่ต้องการได้ เลยยิ่งไม่ได้สนใจมากเท่าที่ควร
                ที่ผมเน้นจริงๆ จะเน้นที่ลวดตัวนำมากกว่า เพราะเป็นตัวเลือกที่เราสามารถเลือกเฟ้นได้ว่าต้องการให้เสียงไปในทิศทางไหน



                ผมเสริมให้ประเด็นนึง ที่ไม่เคยเห็นใครพูดถึง ไม่เคยสนใจกันเลย
                เวลาดูวงจรที่เป็นมาตราฐานที่ลงรายละเอียดครบๆ
                ไม่รู้ว่า เคยสังเกตุกันบ้างหรือเปล่าว่า ผู้ผลิตเค้ามาร์คทิศทาง ทางเข้าทางออก(เฟสของไฟ)ของลวดแต่ละขดไว้ด้วย


                รูปวงจรที่มาร์คจุดของหม้อแปลง สำหรับดูเป็นแนวทาง
                ( มาร์ควงกลมสีแดงในรูปไว้ให้สังเกตุง่ายๆ ซึ่งตัวหม้อแปลงที่อยู่ในเครื่องจริงก็จะมีมาร์คไว้ด้วยเหมือนกัน )

                รูปจากวงจรพาวเวอร์ซัพพลายคอม


                รูปจากวงจรซัพพลายของเครื่องเล่นUniversal




                ทำพวกนี้ ใส่ใจในรายละเอียดปลีกย่อยมากก็ได้มาก ใส่ใจน้อยก็ได้น้อยจนบางครั้งมองข้ามไปเลยก็มี
                อยากให้ลองง่ายๆ ขดไฟเข้า220vacก็ได้
                ลองสลับสายไฟของชุดไฟเข้าของหม้อแปลงดูว่ามีผลต่างหรือเปล่า ถ้ารู้สึกว่ามันมีผลต่าง ก็ลองไปสลับที่ขดไฟออกด้วย

                พวกหม้อแปลงอิมพิแดนซ์ ก็จะมีเรื่องเฟสทางเข้าทางออกแบบเดียวกัน แค่ใส่สลับกันก็ให้ผลต่างกันแล้ว
                ใครที่ใช้DAC แล้วใช้หม้อแปลงอิมพิแดนซ์ ดิจิตอลขาเข้าหรือขาออกก็ลองเอาไปเล่นดู เพราะบางทีผู้ผลิตเองก็ไม่ได้สนใจเรื่องพวกนี้เหมือนกัน


                นึกง่ายๆแบบมั่วๆ ถ้าเรื่องเฟสไม่มีผลใดๆ ทำไมผู้ผลิตหม้อแปลงถึงต้องมาร์คทิศทางไว้ด้วย
                มาร์คแบบ"หมายเลขขา"


                มาร์คแบบ"จุด"
                Last edited by keang; 28 Jun 2011, 01:20:32.

                Comment


                • #23
                  จะดูว่าเรื่องไหนเจ๋งกว่าเหรอ



                  Jack Sparrow
                  เพลงแรกไมเคิล โบลตัน เป็นผู้ขับร้อง อดีตเป็นหนึ่งในนักร้องชายระดับแถวหน้าที่เสียงดีมากโด่งดัง น้ำเสียงแหบเสน่ห์ เรียกว่าฟัดเหวี่ยงกับพี่ ร็อด สจ๊วจได้เลย
                  เพลงที่ทำออกมาร่วมกับ the lonely island ซึ่งโด่งดังในการทำเพลงตลก มาร่วมมือกันก็ทำออกมาได้ดี ฮาดี เข้ายุคสมัย

                  Linkin Park - Iridescent [HD] - from Transformers: Dark of the Moon
                  เพลงที่สองนั้น ลินคิน พาร์ค คงน้อยคนที่ไม่รู้จักวงที่เป็นสัญลักษณ์ของดนตรีแนว นู เมทัล ที่เป็นการผสมผสานระหว่าง แร๊พ และ ร็อค
                  เพลงนี้เป็นเพลงแนวสบายๆ ทันสมัย ฟังแล้วนึกถึงพวก U2 ยังไงไม่รู้อิอิ คลิปนี้ต้องเร่งวอลลุ่มมากหน่อยเสียงค่อนข้างเบา

                  Comment


                  • #24
                    (.) mark บนTransformer นี่สำคัญกับการ wiring ครับ เป็นตัวบอกจุดเริ่มของการพัน ซึ่งเป็นตัวบอกเฟสด้วย



                    การต่อแบบผิดเฟสจะไม่มีผลมากนักกับการ wiring แบบอนุกรม
                    แต่ถ้าเป็นการ wiring แบบขนานแล้ว ถ้าต่อแบบผิดเฟสนี่ก็ ไหม้ครับ

                    อ้อ... แต่เราจะไม่ค่อยเห็นการ Wiring แบบขนานสักเท่าไหร่ ไม่ค่อยใช้กัน
                    เพราะมีข้อจำกัดมาก เช่น ทั้ง2ขดต้องมีโวลท์ที่เท่ากัน(ต่างได้แค่ระดับ mV)
                    ต้องต่อแบบ In-phase เท่านั้น
                    Last edited by dracoV; 28 Jun 2011, 13:55:08.

                    Comment


                    • #25
                      โอ้ววว. ขอบคุณทั้งสองท่าน ที่ช่วยวิจัยในแบบเชิงลึก เดี๋ยวผมค่อยๆอ่านก่อน ไม่เข้าใจตรงไหนเดี๋ยวมาถาม

                      Comment


                      • #26
                        ลำโพงที่ผมไช้ส่วนใหญ่ มักจะสวิทย์ชิ่งเป็นส่วนมาก เวลาปิดคอมพ์นอนนี่ใด้ยิน Noise หึ่งๆ ออกมาจากลำโพงชัดเลย

                        แต่พอต่อสายดินก็เงียบแทบจะไม่ใด้ยินไปเลย บางทีรู้สึกกำลังขับมันนิ่งกว่า IE กากๆ ( เช่น Solo6 ) ด้วยซ้ำไป

                        หูสนิมฟังไม่ออก หุๆ

                        แต่แอบเชียร์สวิทย์ชิ่งในใจให้พัฒนาดีกว่านี้ ความหนัก & ร้อนแบบเอาเป็นเอาตายของ IE จะใด้เป็นอดีตเสียที -*-

                        Comment


                        • #27
                          Originally posted by dracoV
                          (.) mark บนTransformer นี่สำคัญกับการ wiring ครับ เป็นตัวบอกจุดเริ่มของการพัน ซึ่งเป็นตัวบอกเฟสด้วย
                          เยี่ยมมากครับ

                          เอาจุดนี้ไปขยายผลต่อได้เลยครับ
                          ลองเดามั่วเล่นๆไปที่เรื่องลักษณะรูปแบบแพร่สนามแม่เหล็กไฟฟ้าของตัวขดลวดครับ

                          เรื่องนี้เป็นวิทยาศาสตร์ที่คนทั่วไปจับต้องได้ ที่สำคัญสามารถใช้โวลท์มิเตอร์ตรวจสอบผลต่างได้ในระดับหนึ่งด้วย



                          ขยายความ
                          บางคนอาจนึกภาพไม่ออกว่า จุดเริ่มต้นของการพันคืออะไร

                          ก่อนอื่นต้องมารู้จักส่วนประกอบของหม้อแปลงก่อน
                          1.แกนเหล็กEIหรือแท่งเฟอไรท์ก็ได้ ขึ้นอยู่กับชนิดของหม้อแปลง
                          2. บ็อบบิ้น มีทั้งแบบพลาสติคทนความร้อนสูง, กระดาษสีแดงๆ(ขออภัยจำชื่อไม่ได้) ฯลฯ
                          3. ลวดตัวนำ ขนาดยิ่งใหญ่ก็ยิ่งจ่ายกระแสได้สูงขึ้น พร้อมๆกับหม้อแปลงมีขนาดใหญ่ขึ้นไปด้วย

                          บ็อบบิ้นจะใช้สำหรับเป็นแกนเพื่อพันลวดตัวนำ โดยพันลวดตัวนำเรียงชิดติดกัน เรียงซ้อนทับเป็นชั้นๆไป
                          ในแต่ละชั้นจะมีวัสดุรองเพื่อกันช็อทข้ามรอบ มีตั้งแต่กระดาษทนความร้อนสูงยันฟิลม์พลาสติคทนความร้อนสูง

                          พูดง่ายๆ จุดเริ่มต้นของการพันก็คือ จุดแรกที่ลวดตัวนำพันบนบ็อบบิ้น อยู่ชั้นล่างสุดของขดลวดชุดนั้น ปลายของลวดตัวนำอีกด้านก็จะอยู่ที่ชั้นบนๆขึ้นไป

                          ถ้าคุณต่อไฟเข้าถูกเฟสของการพันหม้อแปลง จะหมายถึงว่า
                          - มีไฟจากขั้วLของไฟบ้านเข้าที่จุดเริ่มต้นของขดลวด และไปออกปลายทางที่ปลายลวดอีกด้านที่อยู่ชั้นบน
                          - ถ้าเราต่อกลับเฟส เอาขั้วNไปต่อกับจุดเริ่มต้น ก็จะได้ทิศทางการไหลของไฟฟ้าที่กลับกันกับแบบแรก

                          การต่อไฟ ผิดเฟสหรือถูกเฟส จะมีผลอะไรบ้าง ก็ให้นึกถึงเรื่องกฏมือขวา ที่ใช้อธิบายเรื่องลักษณะการแพร่สนามแม่เหล็กไฟฟ้า
                          ( รายละเอียดผมจำไม่ได้แล้ว ใครอยากได้รายละเอียดในส่วนนี้ต้องไปถามคนอื่นเพื่มเติม )



                          ถ้าใครยัง"งง" แล้วมันไปมีผลอะไรกับไฟACที่สลับเฟสกลับไปมาอยู่ตลอดเวลา ท่าทางมันจะบ้าแล้วมั้ง

                          ง่ายๆก็ลองเขียนเป็นรูปวงจรแบบครบๆ ตั้งแต่ ไฟAC > หม้อแปลง กำหนดเฟสขาเข้าขอออกด้วย > ไดโอด จะบริดจ์หรือฟูลเวฟก็ได้
                          กำหนดรูปคลื่นไฟACเพียงแค่4ลูกคลื่นก็พอ ลูกแรก-เฟสบวก, ลูกสอง-เฟสลบ, ลูกสาม-เฟสบวก, ลูกสี่-เฟสลบ

                          - กำหนดให้ไฟACจากการไฟฟ้าจ่ายลูกแรก เริ่มต้นที่เฟสบวก = บวก > ลบ > บวก > ลบ

                          - เสร็จแล้วก็ดูที่ขาไฟออกของหม้อแปลง ขาไหนได้เฟสบวก ขาไหนได้เฟสลบ

                          - ดูเฟสของไฟACที่ได้ กับ ขั้วของไดโอดที่ต่อในวงจร
                          ถ้าทั้งหม้อแปลงทั้ง2ด้านต่อถูกเฟสกัน ที่จุดเอ้าท์พุทหลังไดโอดจะได้ไฟเฟสบวกจากลูกแรก / แต่ถ้าต่อผิดเฟสกัน จะต้องรอเฟสบวกจากลูกที่3

                          ผลลัพท์หรือผลต่าง คืออะไร พูดง่ายๆก็คือ วงจรซัพพลายนั้นทำงานจ่ายไฟได้ช้ากว่าที่ควรจะเป็น เพราะหม้อแปลงทั้ง2ด้านนั้นต่อกลับเฟสกัน


                          ---------------------------------------------------------------


                          ข้างบนที่พูดๆไป เป็นแค่เรื่องเบสิคการทำงาน ซึ่งถ้าทำทั้งหมดได้ถูกต้อง ก็จะใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ
                          จริงๆแล้วยังมีอีกหลายวิธี มีอีกหลายอย่าง ที่คนส่วนใหญ่เคยรับรู้มาก่อนแล้ว แต่ไม่คิดประยุกต์เอามาดัดแปลงใช้งานกัน

                          ตัวอย่าง
                          หม้อแปลง คือ ขดลวด ซึ่งขดลวดนั้นก็มีตัวแปรแฝงเป็นค่าLกับค่าR (ค่าCก็มีแต่น่าจะน้อยเพราะไม่เห็นมีใครพูดถึงกัน)
                          ค่าL คือ ตัวแปรตัวหนึ่งที่ทำให้ตัวหม้อแปลงไม่มีคุณสมบัติตามทฤษฏี100%
                          ค่าR คือ ตัวแปรตัวหนึ่งที่ทำให้โวลท์สูญหายไปบางส่วน และ เป็นตัวก่อให้เกิดความร้อนสะสมภายในตัวขดลวด, ภายในตัวหม้อแปลง

                          ค่าLในหม้อแปลงจะมีค่าสูงพอสมควร ทำให้ตอบสนองความถี่สูงได้ลดลง หม้อแปลงทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ
                          ฉะนั้น ถ้าเราสามารถทำให้ค่าLลดลงได้ ตัวหม้อแปลงก็ตอบสนองความถี่ได้สูงขึ้น ทำให้หม้อแปลงทำงานได้ใกล้เคียงทฤษฏีมากขึ้น

                          ค่าRในหม้อแปลงจะมีค่าสูงพอสมควร ทำให้มีความร้อนสะสมทำให้ไฟเอ้าพุทไม่คงที่ หม้อแปลงทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ
                          ฉะนั้น ถ้าเราสามารถทำให้ค่าRลดลงได้ ความร้อนก็จะน้อยลง ทำงานต่อเนื่องได้นานขึ้น ทำให้หม้อแปลงทำงานได้ใกล้เคียงทฤษฏีมากขึ้น
                          Last edited by keang; 28 Jun 2011, 15:54:27.

                          Comment


                          • #28
                            ได้ทั้งความรู้ ไว้อ่านสอบได้อีก .... คาราวะทุกท่านครับ m(_ _)m

                            Comment


                            • #29
                              เผื่อไม่เห็นภาพ
                              หม้อแปลงไฟฟ้า
                              http://www.youtube.com/watch?v=32gMl...eature=related
                              BORKED


                              แรงดันไฟฟ้าเหนี่ยวนำ
                              http://www.youtube.com/watch?v=jHCrL...eature=related
                              BORKED

                              Comment


                              • #30
                                คลิปของคุณเสือช่วยได้มาก
                                ลองดูคลิปต่อเนื่องไปเจอคลิปอธิบายเรื่องทิศทางสนามแม่เหล็กไฟฟ้า เรื่องกฏมือขวา

                                แม่เหล็กไฟฟ้า
                                BORKED

                                ข้อมูลในส่วนของผมหมดแล้วน่ะครับ
                                เพราะ บอกไปตอนนี้ จะได้แค่วิชาท่องจำ ผ่านไปไม่นานก็ลืม
                                เอาไว้ถ้ามีใครไปทดลองหรือใครลองทำหม้อแปลงใช้เอง เจอปัญหาหรืออยากปรับปรุงคุณภาพค่อยมาร่วมสนุกอีกที


                                ของแถม
                                วาดภาพด้วยไฟฟ้าสถิต
                                BORKED

                                คำเตือน เล่นกับไฟให้ระวังมากเป็นพิเศษ พลาดพลั้งไปจะกลายเป็นแบบในคลิปนี้
                                BORKED
                                Last edited by keang; 28 Jun 2011, 19:00:42.

                                Comment

                                Working...
                                X