เอ้า จดๆๆ ขอบคุณครับ
Announcement
Collapse
No announcement yet.
ใครอยากมีเส้นมีสาย......เชิญทางนี้ครับ
Collapse
X
-
ท่าน bankcom ขอมาเลยขออนุญาตท่าน Merfo ลัดคิวตอบก่อนครับ
มาทำความรู้จักกับขาด้านในของหัวต่อกันก่อนครับ
ตัวขาด้านในนั้นจะมีจุดยึดทั้งหมดสามจุดครับ
คือส่วนที่เป็นปีกด้านข้าง และปุ่มนูนด้านหลัง
ตัวปีกทั้งสองด้านนั้นเราสามารถกดให้ยุบตัวลงไปได้ครับ
ส่วนปุ่มนูนด้านหลังนั้นต้องออกแรงกันหน่อย
เจ้าปุ่มนูนนี้จะมีอยู่สองแบบครับคือ ขนาดเล็ก และ ขนาดใหญ่
ความแตกต่างระหว่างแบบเล็กกับใหญ่ก็คือ แบบปุ่มใหญ่จะแข็งแรงมั่นคงไม่หลวมคลอน
เวลาเสียบหัวต่อจะสัมผัสกันได้ดีครับ แต่เวลาจะถอดขาในออกก็จะยากลำบากครับ
แบบปุ่มเล็กนั้นพบเห็นกันได้ทั่วๆไป เพียงออกแรงดึงเล็กน้อยก็หลุดแล้ว
ส่วนแบบปุ่มใหญ่นั้นจะพบเจอกับพวกมียี่ห้อครับ การจะเอาออกต้องมีวิธีการนิดหน่อยครับ
Last edited by hangover; 26 Apr 2010, 20:40:11.
Comment
-
หลังจากรู้จักรูปร่างหน้าตากันแล้วก็ลงมือกันเลยครับ
เริ่มจากอุปกรณ์ที่ใช้ถอด มี เข็มหมุด ลวดเย็บกระดาษ และแกนกด
ตัวแกนกดนั้นผมใช้เสาอากาศวิทยุส่วนปลายสุดแบบที่เป็นแกนตัน
หรือใครจะใช้ตะปูขนาดพอเหมาะตัดปลายแหลมออกแล้วขัดหน้าตัดให้เรียบก็ได้ครับ
ปะเดิมกันด้วยตัวเมียก่อนครับ " Lady First "
1.นำลวดเย็บกระดาษมาดัดเป็นรูปตัว " L " แนะนำให้ใช้สองตัวติดกันจะดีที่สุดครับ
นำกระดาษกาวมาปิดที่ด้านปลายเพื่อช่วยในการจับให้ถนัดและป้องกันถูกจิ้มได้เลือด
2.สอดปลายลวดลงไปที่ด้านข้างกดลงไปให้สุดทั้งสองด้าน
3.ถ้าเป็นแบบปุ่มนูนเล็กออกแรงดึงสายไฟนิดหน่อยก็ออกครับ ถ้าไม่แน่ใจต้องใช้แกนกดครับ
โดยสอดปลายแกนลงไปตรงๆให้วางอยู่บนขาในแบบเต็ม อย่าเอียงหรือวางที่ขอบของขา
ใช้คีมหรือฆ้อนอันเล็กเคาะลงไป วิธีเคาะที่ดีคือใช้กำลังข้อมือตวัดอย่างเร็วกระแทกลงไปตรงๆ
4.อย่าลืมตรวจสภาพของขาในและหัวต่อหลังจากถอดออกมาแล้วด้วยนะครับ
Last edited by hangover; 26 Apr 2010, 20:23:55.
Comment
-
ต่อมาก็ถึงคิวตัวผู้ครับ วิธีการก็เหมือนเดิมเพียงแต่เปลี่ยนเป็นเข็มหมุดแทนลวดเย็บกระดาษครับ
1.นำปลายเข็มหมุดสอดลงไปที่ด้านข้างของขาทั้งสองด้านกดลงไปให้สุด
2.เอาแกนกดสอดลงไปเหมือนเดิม แล้วก็ทำแบบเดิมๆ เพราะฉะนั้นจึงได้ผลเหมือนเดิมแน่นอนครับ
3.อีกครั้งครับตรวจสภาพขาและหัวต่อเหมือนเดิมเพราะการถอดอาจทำให้ขาและหัวต่อไม่เหมือนเดิม
อาจชำรุดเสียหายได้ครับ เล่นกับไฟฟ้าต้องรอบคอบระมัดระวังครับ
จบแล้วครับผมตกหล่นอะไรไปบ้างก็บอกกันด้วยนะครับ
กล้องผมมันไม่ค่อยดีหรือว่าคนถ่ายมันห่วยก็ไม่ทราบ ถ่ายใกล้มากไม่ได้เลยไม่มีภาพขาในตัวเป็นๆมาให้ชม
หวังว่าทุกท่านคงทำได้ เอาน่าลูกผู้ชายเรื่องถอดเรื่องแยงของถนัดอยู่แล้วใจเย็นๆเดี๋ยวก็สำเร็จ
สิ่งสำคัญครับ จะถอดอะไรก็ถอดไป แต่อย่า " ถอดใจ " ครับLast edited by hangover; 26 Apr 2010, 20:30:43.
Comment
-
Originally posted by Merfo View Postโห 2 มาตรฐาน
เกือบสองเดือนแล้วครับไม่ต้องทำอะไรกันเลย . . . . . . .
ตอนแรกว่าจะส่งทั้งต้นและดอกพร้อมกันทีเดียว
เปลี่ยนใจแล้วครับเอาแบบผ่อนส่งไปก็แล้วกันครับ
ทยอยจ่ายวันละนิดละหน่อยไปเรื่อยๆครบเมื่อไหร่ไม่ทราบเหมือนกันครับ
ติดตามอ่านกันไปเพลินๆสบายๆครับ
นอกจากนี้มีของแถมเป็นค่าเสียเวลาด้วยครับ . . . . . . .
Comment
-
PSU ฉบับประสบการณ์
ปฐมบท
ก่อนอื่นขอทำความเข้าใจกันก่อนนะครับ
เนื้อหาที่จะนำเสนอต่อไปนี้เป็นเพียงการถ่ายทอดประสบการณ์การใช้งานและปัญหาที่เกิดขึ้นกับตัวผมเอง
ไม่ใช่การทดลองหรือทดสอบที่ต้องทำอย่างมีแบบแผนและได้มาตรฐานโดยอุปกรณ์และเครื่องมือที่เหมาะสม
อีกทั้งตัวผมเองก็ไม่ได้มีความรู้อะไรมากมาย เรื่องที่ผมรู้ก็แค่พื้นฐานทั่วๆไปไม่ได้รู้ลึก รู้จริง ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญครับ
ดังนั้นสิ่งที่ผมจะนำเสนอต่อไปก็จะเป็นเพียงการบอกเล่าเรื่องราวที่ผมได้พบเจอจากการใช้งานครับ
เนื้อหาทั้งหมดท่านผู้อ่านจะเห็นด้วยหรือเห็นขัดแย้งอย่างไรก็เป็นเรื่องปกติครับ
สามารถแนะนำ ให้ความรู้เพิ่มเติม หรือทักท้วงได้ครับ ผมยินดีรับฟังทุกความคิดเห็นและพร้อมปรับปรุงแก้ไข
ถือว่าเป็นการแบ่งปันประสบการณ์ ความรู้เกี่ยวกับการใช้งาน PSU ก็แล้วกันครับ
ทำความรู้จักกับ PSU
http://www.star-circuit.com/article/POWER_SUPPLY01.html
http://www.star-circuit.com/article/POWER_SUPPLY02.html
http://www.star-circuit.com/article/POWER_SUPPLY03.html
http://www.star-circuit.com/article/POWER_SUPPLY04.html
http://pinouts.ru/Power/atx_v2_pinout.shtml
PSU แบบ AT
PSU แบบ ATX
ภาพด้านซ้ายคือหัวต่อไฟ MB แบบ AT ส่วนด้านขวาคือ ATX
http://reprap.org/wiki/PCPowerSupply?sortcol=1Last edited by hangover; 13 May 2010, 03:49:31.
Comment
-
วัตถุประสงค์ของการต่อพ่วง PSU
การต่อ PSU มากกว่าหนึ่งตัวนั้น เท่าที่ทราบสามารถแบ่งออกได้สองแบบครับ
แบบแรก เป็นการต่อที่เน้นเสถียรภาพของการจ่ายไฟ กล่าวคือการต่อแบบนี้จะเน้นที่ความต่อเนื่องของการจ่ายไฟ
ในกรณีที่ PSU ตัวหลักไม่สามารถจ่ายไฟให้ระบบได้ PSU ตัวสำรองก็จะทำการจ่ายไฟแทนในทันที
โดยที่ PSU แต่ละตัวต้องสามารถจ่ายไฟได้ตามที่ระบบต้องการ
เช่นระบบใช้ไฟ 1000 W PSU ที่นำมาต่อแต่ละตัวก็จะต้องสามารถจ่ายไฟได้ 1000 W หรือมากกว่านั้น
ดังนั้นการต่อแบบนี้จะไม่ช่วยในเรื่องการเพิ่มกำลังไฟ จะพบเห็นการต่อลักษณะนี้กับเครื่องเมนเฟรมและเซิร์ฟเวอร์ครับ
แบบที่สอง เป็นการต่อที่เน้นกำลังไฟ โดยการนำ PSU มาต่อเพื่อเพิ่มกำลังไฟที่จ่ายให้กับระบบ
กำลังไฟที่จ่ายได้(โดยประมาณ)จะเท่ากับผลรวมของกำลังไฟที่ PSU แต่ละตัวสามารถจ่ายได้
เช่น 300 W+450 W+200 W = 950 W (โดยประมาณ) แต่ในทางปฏิบัติแล้วค่ากำลังไฟรวมจะต่ำกว่านั้น
(จุดนี้ผมไม่แน่ใจครับว่าจะได้ผลตามนั้นจริงๆ ใครที่พอจะมีความรู้ถ้าจะช่วยเพิ่มเติมแนะนำก็จะเป็นประโยชน์มากครับ)
การต่อรูปแบบนี้จะเป็นหัวข้อหลักที่ผมจะนำมาบอกเล่าสู่กันฟังครับ
วิธีการต่อพ่วง PSU
การนำ PSU หลายๆตัวมาต่อพ่วงกันเพื่อเพิ่มกำลังไฟนั้นเท่าที่ทราบสามารถทำได้สามแบบครับ
ซึ่งทั้งหมดก็เป็นวิธีที่ทราบๆกันดีอยู่แล้ว แต่ผมจะขอนำเสนอในแบบที่ผมทำเอาไว้ใช้งานนะครับ
วิธีที่หนึ่ง เป็นวิธีการต่อแบบง่ายๆไม่ยุ่งยากซับซ้อนอะไร จะเป็นการนำ PSU ตัวที่สอง-สาม-สี่ ...... มาต่อเสริมเข้าไป
จะทำเป็น External PSU หรือจะนำไปติดตั้งภายในเคสก็ได้แล้วแต่สะดวกครับ
วิธีการทำก็โดยนำ PSU แบบ ATX มาต่อสายไฟเข้ากับขาที่เป็นสายสีเขียว และขากราวด์สายสีดำขาใดก็ได้
จะใช้วิธีเสียบสายไฟลงไปโดยตรงแล้วใช้ท่อหดช่วยยึดสายไฟกับขั้วต่อก็ได้ครับ
หรือใครชอบแบบเรียบร้อยก็ไปหาขั้วต่อตัวเมียมาเข้าสายแล้วนำมาเสียบก็ดีครับ
ปลายสายไฟอีกด้านก็ต่อเข้ากับสวิทช์ เปิด-ปิด เวลาใช้งานเพียงกดสวิทช์ PSU ก็จะทำงานจ่ายไฟให้โหลดครับ
ส่วน PSU แบบ AT นั้นไม่ต้องทำอะไรเพิ่มเติมเลยครับสามารถนำมาใช้งานได้ทันที
ทั้งนี้เป็นเพราะมีสวิทช์ เปิด-ปิด โดยตรงอยู่แล้วครับ
การต่อแบบนี้ผมใช้งานมาอย่างต่อเนื่องเพราะเป็นเรื่องสะดวกง่ายและปลอดภัย
ข้อดี สามารถช่วยจ่ายไฟให้กับอุปกรณ์เสริมเช่น พัดลม ไฟแต่งเคส ฯลฯ
เป็นการลดภาระให้กับ PSU ตัวหลักไม่ต้องทำงานหนักเกินไป
ข้อเสีย ประสิทธิภาพการจ่ายไฟจะทำได้ไม่เต็มที่ ช่วยแบ่งเบาภาระของ PSU ตัวหลักได้ในระดับนึงเท่านั้น
การติดตั้งภายในเคสอาจต้องมีการดัดแปลงสภาพ ส่วนการติดตั้งภายนอกจำเป็นต้องทำพอร์ตหรือช่องสำหรับเชื่อมต่อสายไฟ
การใช้สวิทช์ เปิด-ปิด ผู้ใช้ต้องทำการกดด้วยตัวเองLast edited by hangover; 6 Jun 2010, 03:10:41.
Comment
-
วิธีที่สอง เป็นการปรับปรุงการต่อแบบแรกให้ใช้งานได้สะดวกยิ่งขึ้นครับ
การต่อเชื่อมอุปกรณ์ก็จะทำคล้ายๆกันกับแบบแรกเพียงแต่ปรับปรุงวิธีการเปิด PSU ตัวที่สอง-สาม-สี่ .........
วิธีแบบแรกนั้นเราต้องเปิด - ปิด PSU ด้วยตัวเอง แต่วิธีที่สองนี้การเปิด - ปิด จะกระทำพร้อมไปกับการเปิด - ปิดเครื่องคอม ฯ
โดยอาศัยอุปกรณ์ช่วยทำหน้าที่เป็นสวิทช์อัตโนมัติ อุปกรณ์ที่นำมาใช้ได้แก่ รีเลย์ อุปกรณ์พวกโฟโต้อิเลกทริค ฯลฯ
หลักการทำงานก็คือ เมื่อเราเปิดเครื่องคอมฯกระแสไฟจาก PSU ตัวหลัก
จะไปกระตุ้นให้อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นสวิทช์อัตโนมัติทำงานคือการเชื่อมวงจร
เป็นผลให้มีกระแสไฟไหลระหว่างขา Power Supply On ( สายสีเขียว )
กับขากราวด์ ( สายสีดำ ) ของ PSU ตัวที่สอง ซึ่งก็คือการเปิด PSU ตัวที่สองนั่นเอง
เมื่อเราปิดเครื่องคอมฯ PSU ตัวหลักหยุดทำงาน
ก็จะไม่มีกระแสไฟไหลผ่านอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่สวิทช์อัตโนมัติ
ซึ่งจะเป็นการตัดการเชื่อมต่อระหว่างขา Power Supply On กับขากราวด์ของ PSU ตัวที่สอง
PSU ตัวที่สองก็จะหยุดการทำงานตามไปด้วยครับ
รูปวงจรแบบที่ใช้รีเลย์
รูปวงจรแบบที่ใช้ตัว Optoisolators เบอร์ MOC8050
รูปตำแหน่งการวางอุปกรณ์บนแผ่น PCB ด้านซ้ายเป็นรีเลย์ ด้านขวาก็จะเป็นตัว Opto
หลักการทำงานของวงจรคือเมื่อเปิดเครื่องกระแสไฟจาก PSU ตัวที่หนึ่งจะถูกส่งผ่านไปยังวงจรควบคุมแรงเคลื่อน
เพื่อให้มีค่าแรงดันคงที่เท่ากับ 5 V ก่อนที่จะส่งต่อไปยังรีเลย์ หรือตัว Opto
เมื่อมีกระแสไหลในขดลวดรีเลย์ ก็จะทำให้สวิทช์สัมผัสทำงานเชื่อมต่อขา Com กับขา No
ส่วนวงจรที่ใช้ตัว Opto ก็มีลักษณะคล้ายกันคือ
เมื่อมีการป้อนกระแสให้ตัวโฟโต้ไดโอด ( input ) ทำงาน
จะไปกระตุ้นให้ทรานซิสเตอร์ ( output ) ที่ต่อกันแบบดาร์ลิงตัน ( ขยายกระแส ) ทำงาน
เป็นการเชื่อมต่อกระแสระหว่างขา Power Supply On ( สายสีเขียว )
กับขากราวด์ ( สายสีดำ ) ของ PSU ตัวที่สอง ซึ่งก็คือการเปิด PSU ตัวที่สองนั่นเอง
ที่ใช้วงจรควบคุมแรงเคลื่อนเพื่อให้รีเลย์ทำงานแบบเสถียรครับ
โดยทั่วไปถ้าแรงเคลื่อนของ PSU ตัวแรกตก อาจส่งผลให้รีเลย์ไม่ทำงานครับ
นั้นก็คือ PSU ตัวที่สองจะหยุดทำงาน อุปกรณ์ที่รับไฟจาก PSU ตัวนี้ก็จะหยุดทำงาน
การต่อวงจรควบคุมแรงเคลื่อนจะช่วยรักษาระดับแรงเคลื่อนที่ 5 V อย่างสม่ำเสมอ
ไม่ว่า PSU ตัวแรกไฟจะตกมากน้อยแค่ไหนครับ
อุปกรณ์
1. Regulator IC เบอร์ 7805 ( 5 v )
2. C ค่า 0.1 uF หรือมากกว่า ( ใช้สำหรับดักสัญญาณที่จะมารบกวน IC )
3. R ใช้ค่า 200 - 330 โอห์ม 1/2 W ( ใช้สำหรับจำกัดกระแสที่ป้อนให้ LED และ Tr )
4. D ใช้เบอร์ 1N4001 - 1N4007 ตัวใดก็ได้หรือเบอร์อื่นๆก็ได้เหมือนกันครับ ( ป้องกันกระแสรีเลย์ย้อนกลับ )
5. รีเลย์ 5 v
6. Opto เบอร์ MOC8050
รูปตัวจริงจะไม่เหมือนกับวงจรที่แสดงไว้ด้านบนนะครับ
เพราะรูปด้านบนจะเป็นการแก้ไขจัดอุปกรณ์ใหม่จากของเดิม ( ตัวจริง )
นำปลายสายสีเขียวและสีดำไปเข้าหัว 20 พินตัวเมียเพื่อใช้ต่อกับหัว 20 พินตัวผู้ของ PSU ตัวที่สอง
ข้อดี - ข้อเสีย จะเหมือนกับแบบแรกครับ แตกต่างกันตรงที่มีข้อดีคือไม่ต้องเปิด - ปิดเอง
สามารถเปิด - ปิด การทำงานของ PSU ตัวที่สองพร้อมกับ PSU ตัวหลักครับLast edited by hangover; 6 Jun 2010, 05:06:12.
Comment
Comment