Announcement

Collapse
No announcement yet.

จับผี...อะไรคือความแตกต่างด้านเสียง.. ส่วนของระบบดิจิตอล

Collapse
X
 
  • Filter
  • Time
  • Show
Clear All
new posts

  • #46
    เทสกันเรื่องสัญญาณก็ด้อม ๆ มอง ๆ แถว ๆ สัญญาณ ถ้ามันมีกรณีที่สัญญาณส่งรับได้ 100 เปอร์เซนต์เต็ม

    ก็แปลว่ามันสมบูรณ์ แต่ว่าถ้ามันก็มีทั้งสมบูรณ์และไม่สมบูรณ์ เราต้องดูว่าตัวแปรอะไรที่ทำให้เป็นแบบนี้

    สัญญาณก็เป็นพลังงานอย่างนึง ไฟฟ้าก็พลังงาน แสงก็พลังงาน ซึ่งหากกล่าวถึงแสง

    มีการทางได้เร็วมาก ซึ่งมีสูตรในการคิด รวม ๆ 1 วินาทีเดินทางได้ 7 รอบโลก ^^ แต่ถามว่ามันเดินทางได้เร็ว

    แล้วถึงเป้าหมายไหม ถึงสิไม่งั้นเราจะเห็นหรือ แต่ว่าเมื่อมันเดินทางมาแล้วความจางของมันจางลงไปไหม

    ไฟฉายยังมีระยะความจางของแสง??? แต่ว่ายังไงก็ตามความแตกต่างที่น้อยมาก จนบางครั้งเราสัมผัสไม่ได้

    บางครั้งเราก็เหมารวมว่ามันไม่เปลี่ยน เหมือนกับ 1.99999ซ้ำ ยังจำต้องปัดเป็น 2 หุหุ

    แต่ว่าอะไรก็ตามสุดท้ายก็เป็นไปตามกฏไตรลักษณ์ นิจจัง ไม่เที่ยง...มีการเปลี่ยนแปลง ทุกข์ขัง...มีความทุกข์ อนัตตา...สุดท้ายก็สลายไป เป็นวัฏจักร ครับ

    Comment


    • #47

      Comment


      • #48
        ได้ความรู้มาก ขอบคุณครับ

        Comment


        • #49
          จากที่ผ่านมาคำถามที่เกี่ยวกับแรมถึงวิธีในการพิจารณาประสิทธิภาพและความเร็วของแรมไม่ว่าจะเป็นแรม DDR-Ram, RDRAM หรือ SDRAM ว่าเราสามารถใช้หลักเกณฑ์อะไรในการพิจารณา ซึ่งโดยทั่วไปในการพิจารณาไม่ว่าแรมชนิดใดเราจะใช้ความกว้างของ Bandwidth และ Latency มาใช้ในการพิจารณา

          แต่ก่อนที่เราจะเข้าสู่บทความมารู้จักก่อนว่าอะไรคือ Bandwidth และ Latency โดยความหมาย Bandwidth คือ ความกว้างของช่องทางในการรับ-ส่งข้อมูล ส่วน Latency คือ เวลาที่ใช้ไปในการเข้าถึงข้อมูลของหน่วยความจำ เมื่อเรารู้ความหมายกันแล้วคราวนี้เรามารู้จักถึงหลักการต่างๆ ของ Bandwidth และ Latency
          ทฤษฎี Peak bandwidth
          ในการพิจารณาการรับ-ส่งข้อมูลบนระบบบัสหลายคนมักจะนึกถึง Bus Bandwidth (Bandwidth ก็คือความกว้างของเส้นทางในการส่งข้อมูล ที่เราสามารถเปรียบเทียบได้กับเลนถนน ยิ่งมีเลนกว้างเท่าไรรถยนต์ซึ่งเปรียบได้กับข้อมูลก็สามารถวิ่งได้สะดวกมากขึ้นเท่านั้น) ที่ใช้ในการรับ-ส่งข้อมูล ซึ่งพิจารณาจากข้อมูลที่รับ-ส่งบนระบบบัส Bus Bandwidth ด้วยปริมาณจำนวนข้อมูลของเลข single number (0 หรือ 1) ที่ระบบบัสสามารถรองรับได้ แต่ปริมาณข้อมูลของเลข single number อาจแปรผันได้ตามเวลา เราจึงพิจารณาการรับ-ส่งข้อมูลผ่านทาง Bus Bandwidth ด้วย Peak bandwidth Bus หรือ ความกว้างสูงสุดในการรับ-ส่งข้อมูลของบัส ซึ่งวัดด้วยจำนวนข้อมูลสูงสุดที่ รับ-ส่งกันระหว่างซีพียูและแรมภายในหนึ่งคาบเวลา

          แสดงให้เห็นความเร็วสัญญาณนาฬิกาของ
          หน่วยความจำช้ากว่าซีพียู


          จากความเร็วสัญญาณนาฬิการะหว่างหน่วยความจำและซีพียูจากรูปที่ 1 ถ้าเรามาคำนวณหา Bandwidth ของบัสที่มีความเร็วสัญญาณนาฬิการะหว่างหน่วยความจำและซีพียู ที่สัญญาณนาฬิกา 100 เมกะเฮิรตซ์ โดยที่มีการรับ-ส่งข้อมูลจำนวน 8 ไบต์ในแต่ละหนึ่งรอบของสัญญาณนาฬิกา จะคำนวณออกมาได้ดังนี้

          8 bytes * 100MHz = 800 MB/s

          และถ้าหากเราคำนวณหา Bandwidth ของบัสที่มีความเร็วสัญญาณนาฬิการะหว่างหน่วยความจำและซีพียูที่ 133 เมกะเฮิรตซ์ โดยที่มีการรับ-ส่งข้อมูลจำนวน 8 ไบต์ในแต่ละหนึ่งรอบสัญญาณนาฬิกา จะคำนวณออกมาได้ดังนี้

          8 bytes * 133MHz = 1064 MB/s

          ซึ่งตัวเลข Bandwidth ที่ได้นี้เป็นพียงตัวเลขทางทฤษฎีที่บอกถึงปริมาณของข้อมูลที่เข้าสู่ซีพียูในแต่ละวินาที ในความเป็นจริง Bandwidth ของระบบจริงอาจมีค่าน้อยกว่าที่คำนวณเพียงเล็กน้อย
          Bandwidth ในทางปฏิบัติ
          ระบบบัสที่ผ่านมาจะมีลักษณะการส่งผ่านข้อมูลแบบทางเดียว จึงทำให้ไม่สามารถรับและส่งข้อมูลในเวลาเดียวกัน จึงต้องผลัดกันส่งและรับข้อมูลทำให้ความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลช้า เปรียบเทียบระบบบัสได้กับการสื่อสารผ่านทางวิทยุรับส่งโดยที่อีกฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายพูดอีกฝ่ายจะต้องเป็นผู้รับฟัง

          เนื่องจากต้องผลัดกันรับส่งข้อมูลดังนั้นเมื่อซีพียูต้องการร้องข้อมูลจากหน่วยความจำหลัก (RAM) ซีพียูจะต้องร้องขอผ่านทาง Bus Control จากนั้น Bus Control จะร้องขอข้อมูลมาที่หน่วยความจำหลัก (RAM) เมื่อค้นหาข้อมูลที่ซีพียูต้องการได้แล้ว หน่วยความจำหลักจะส่งต่อข้อมูลให้ Bus Control กลับไปให้ซีพียู โดยทั้งหมดนี้กระทำบนบัสเดียวกัน ถ้าพิจารณาเวลาที่สูญเสียไปจากการร้องขอข้อมูลจาก Bus Control และที่ต้องเสียเวลารอหน่วยความจำหลักค้นหาข้อมูลที่ซีพียูต้องการแล้วจึงส่งข้อมูลที่ต้องการกลับไปสู่ Bus Control และส่งกลับไปสู่ซีพียูได้ ซึ่งทั้งหมดนี้จะเป็น Delay Time ที่มีผลต่อค่า Read Latency โดยที่ Read Latency หมายถึง เวลาที่ใช้ระหว่างการร้องขอข้อมูลจากซีพียูผ่านทาง Frontside Bus (FSB)
          ทฤษฎีของ Read Latency
          การกำจัดเวลาที่สูญเสียไปกับ Read Latency ในระบบบัส มีวิธีหนึ่งที่ใช้กันมานาน นั่นคือกำหนดให้มีการร้องขอข้อมูลในปริมาณที่คงที่ตลอดเวลา โดยที่แรมสามารถคาดเดาข้อมูลที่ซีพียูต้องการล่วงหน้าต่อไปพร้อมทั้งส่งไปพร้อมกับข้อมูลที่ซีพียูต้องการในปัจจุบันได้ ด้วยวิธีนี้ทำให้ซีพียูไม่ต้องร้องขอข้อมูลหลายหน และถ้าซีพียูต้องการข้อมูลในไบต์ใดไบต์หนึ่งเป็นพิเศษ หน่วยความจำหลักจะไม่เพียงส่งข้อมูลเฉพาะไบต์นั้นๆ เท่านั้น แต่จะส่งในรูปแบบกลุ่มข้อมูล (Burst Mode) โดยไบต์ที่ซีพียูต้องการจะถูกเก็บไว้ที่แคช L1 ทำให้การเข้าถึงข้อมูลรวดเร็วขึ้น

          Bursting cache line


          ข้อมูลที่ซีพียูเฉพาะเจาะจงต้องการ เราจะเรียกว่า Critical Word และข้อมูลที่เป็นการคาดเดาจากแรมสู่ซีพียู เราจะเรียกว่า Subsequent Word (1 Word = 8 Byte) ทั้งนี้ดูจากรูปที่ 2 จากขวามาซ้าย แสดงให้เห็นว่า เราต้องสูญเสียสัญญาณนาฬิกาเป็นจำนวน 3 รอบ ก่อนที่ซีพียูจะได้ข้อมูลชุดแรกที่เป็น Critical Word และเสียให้อีก 1 รอบสัญญาณนาฬิกา ในแต่ละ Subsequent Word ดังนั้น Read Latency จากรูปนี้จึงมีจำนวนเท่ากับ 3+1+1+1 = 6 สัญญาณนาฬิกา

          จากทั้งหมดนี้เราสามารถคำนวณหาค่าความกว้างสูงสุดของ Bandwidth ที่ได้หลังจากรวมค่า Read Latency ไปด้วย ซึ่งเราเรียกว่า Maximum Sustain bandwidth โดยสมมติให้ความถี่ของบัสอยู่ที่ 100 MHz และแต่ละรอบสัญญาณนาฬิกามีการส่งข้อมูลจำนวน 8 ไบต์ ซึ่งสามารถคำนวณได้ดังนี้

          4 words x 8 bytes x 100MHz / (3 clocks + 1 clock + 1 clock + 1 clock) = 533 MB/s

          ถ้าเราเปรียบเทียบตัวเลขที่คำนวณได้กับตัวเลขที่เราเคยคำนวณได้ทางทฤษฎีในเรื่อง Peak Bandwidth จะได้เท่ากับ

          8 bytes x 100MHz = 800 MB/s

          เราจะพบว่าตัวเลขที่ได้มีค่าน้อยกว่าที่คำนวณได้ตามทฤษฎี เพราะในทางทฤษฎีเราไม่ได้เอาค่าของ สัญญาณนาฬิกาที่สูญเสียไปเข้ามาเกี่ยวข้อง สิ่งสำคัญที่ควรเข้าใจเกี่ยวกับ Sustain bandwidth นั้นไม่ได้ขึ้นกับ bandwidth ของฝ่ายรับข้อมูลเท่านั้นแต่ขึ้นอยู่กับระบบ bandwidth ของทั้งฝ่ายรับและฝ่ายส่ง

          ตัวอย่างเช่น DRAM สามารถส่งข้อมูลได้ 8 ไบต์ในสัญญาณนาฬิกาหนึ่งสัญญาณ และซีพียูที่ใช้ต้องรับข้อมูลที่ส่งมาได้ในอัตราเร็วเดียวกับที่ DRAM ส่งมา เช่น ในเวลาที่หน่วยความจำใช้ในการรับข้อมูลการร้องขอของซีพียูไม่เร็วพอที่จะรับข้อมูลจากซีพียู และ DRAM ไม่สามารถค้นหาข้อมูลที่ซีพียูต้องการส่งเข้าสู่ในระบบบัสได้ทัน อาจทำให้เกิดข้อผิดพลาดในการส่งข้อมูลได้

          ในการเพิ่มความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลหรือ ลด Latency Time อีกวิธีหนึ่ง สามารถทำได้โดยออกแบบระบบบัสให้เป็นแบบ Multiple Bus Cycle ซึ่งเป็นระบบบัสที่สามารถส่งสัญญาณแบบ Multiple Clock และ Multiple word ภายในบัสเดียวกันและในเวลาเดียวกัน ซึ่งระบบนี้เป็นที่รู้จักกันในนาม RDRAM ซึ่งแตกต่างจากแรมชนิด SDRAM และ DDR-SDRAM ซึ่งแรมทั้งสองชนิดมี Clock Bus เพียงบัสเดียวที่แตกต่างจากแรมชนิด RDRAM ที่มีระบบบัสเป็นแบบ Multiple Bus Cycle ดังนั้นแรมชนิด SDRAM และ DDR-SDRAM สามารถส่งข้อมูลได้เพียงช่องทางเดียวในเวลาหนึ่งๆ เท่านั้น ในเรื่องของ SDRAM และ DDR-SDRAM จะขอกล่าวในตอนต่อไป
          บทสรุป
          ในส่วนนี้ที่ได้พูดไปส่วนใหญ่จะเป็นทฤษฎีเกี่ยวกับระบบบัสข้อมูลที่ใช้ในการรับ-ส่งข้อมูลระหว่างซีพียูและหน่วยความจำหลัก โดยในตอนต้นจะกล่าวถึงทฤษฎีทาง Bandwidth และตอนท้ายจะกล่าวถึงทฤษฎี Read Latency ซึ่งทั้งสองทฤษฎีล้วนแต่มีผลต่อการทำงานของระบบบัส จากทฤษฎีทาง Bandwidth นั้นพูดได้ว่าถ้าระบบบัสมี Bandwidth ที่กว้างก็ยิ่งจะดีต่อการรับ-ส่งข้อมูล ส่วน Read Latency ยิ่งมีน้อยเท่าไรระบบก็จะมีความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลมากเท่านั้น ซึ่งในตอนต่อไป เราจะเข้าสู่การพัฒนามาเป็นหน่วยความจำชนิดต่างๆ ในปัจจุบัน
          เครดิต
          http://www.arip.co.th/articles.php?id=406215

          Comment


          • #50
            เรื่องนี้ชี้ให้เห็นอะไรหรือครับ ความผิดพลาดของการส่งข้อมูลหรือเปล่า หรือจะบอกว่าความเร็วในการส่งข้อมูลทางทฤษฎี ไม่เท่าจากที่วัดได้จริงหรือครับ ถ้าอย่างนั้นบอกได้เลย ว่า SUPER Computer ก็เป็นครับ เพราะมันยังมีเรื่องการอการตอบสนองคำสั่ง หรือค่า LATANCY นั่นแหละ อีกทั้งสัญญาณควบคุมต่างๆอีกที่ทำให้มันช้า รวมทั้งช่องว่างระหว่างการส่งข้อมูลในแต่ละ TREAD ของช่วงการทำงานอีกด้วย ถ้ายกมาก็บอกได้เลยว่า BUS มันส่งข้อมูลได้ระดับนี้มันส่งเกือบจะส่งแผ่น CD ทั้งแผ่นไปรอประมวลผลได้ใน 1 วินาทีเลยนะนั่น ถ้าอย่างนั้นกลับไปฟังแผ่นเสียง เถอะอย่ามาฟัง CD เลย เสียประสาทเปล่าเพราะมันบกพร่องตั้งกะอ่านแผ่นแล้วหล่ะ

            Comment


            • #51
              ^
              ขอบคุณมากครับ...ที่ทำให้ผมเห็นอะไรได้ชัดขึ้น

              Comment


              • #52
                Digital Coupling Transmission ?

                ฝนตก...กลับบ้านไม่ได้...ลองไปหาคุ้ย...หาดู...
                Last edited by jinn; 1 Jul 2011, 19:49:37.

                Comment


                • #53
                  Originally posted by jinn View Post
                  Digital Coupling Transmission ?
                  http://www.sounddac.com/index.php?op...1-19&Itemid=81

                  Comment


                  • #54
                    นั่นแหละ...ที่เข้าไป....ครับ พี่เสือ

                    จะไปหาที่อื่นต่อ...ไ่ม่ค่อยมีข้อมูล ที่จะทำความเข้าใจ..ง่าย..ง่าย เลย...

                    Comment


                    • #55
                      Originally posted by jinn View Post
                      นั่นแหละ...ที่เข้าไป....ครับ พี่เสือ

                      จะไปหาที่อื่นต่อ...ไ่ม่ค่อยมีข้อมูล ที่จะทำความเข้าใจ..ง่าย..ง่าย เลย...
                      Coupling ธรรมดานี่แหละครับ แต่ทำกับส่วนของ Digital Output โดยยึดหลัก 75 โอห์ม เป็นเกณฑ์
                      Last edited by tiger X-fi; 1 Jul 2011, 20:23:10.

                      Comment


                      • #56
                        เรื่อง 75 โอห์ม http://www.htg2.net/index.php?topic=74959.0;topicseen

                        ตอนนี้เรียนวิชานี้อยู่ เซ็งตรงโดนด่าว่าแปลอังกฤษผิดรูปประโยคบ่อยๆ
                        เอ่อ อาจารย์ครับ "ตอนนี้เรียนวิชาอะไรกันอยู่ครับ"

                        Comment


                        • #57
                          ขอเอามารวมสักหน่อยครับ
                          Originally posted by keang View Post
                          คัดลอกจากไฟล์ดาต้าชีทของburr-brown



                          RECEIVER INPUT INTERFACING
                          This section details the recommended interfaces line receiver inputs. Balanced and unbalanced line interfaces, in addition to optical receiver and external logic interfacing, will be discussed.



                          For professional digital audio interfaces, 110 ohm balanced line interfaces are either required or preferred. Transformer coupling is commonly employed to provide isolation and to improve common-mode noise rejection. Figure 83 shows the recommended transformer-coupled balanced line receiver interface. The transformer is specified for a 1:1 turn ratio, and should exhibit low inter-winding capacitance for best performance. Due to the DC bias on the line receiver inputs, 0.1uF capacitors are utilized for AC-coupling the transformer to the line receiver inputs. On the line side of the transformer, an optional 0.1uF capacitor is shown for cases where a DC bias may be applied at the transmitter side of the connection. The coupling capacitors should be surface-mount ceramic chip type with an X7R or C0G dielectric.



                          Unbalanced 75 ohm coaxial cable interfaces are commonly employed in consumer and broadcast audio applications. Designs with and without transformer line coupling may be utilized. Figure 84(a) shows the recommended 75 ohm transformer-coupled line interface, which shares many similarities to the balanced design shown in Figure 83. Once again, the transformer provides isolation and improved noise rejection. Figure 84(b) shows the transformer-free interface, which is commonly used for S/PDIF consumer connections.



                          TRANSMITTER OUTPUT INTERFACING
                          This section details the recommended interfaces transmitter line driver and CMOS buffered outputs. Balanced and unbalanced line interfaces, in addition to optical transmitter and external logic interfacing, will be discussed.



                          For professional digital audio interfaces, 110 ohm balanced line interfaces are either required or preferred. Transformer coupling is commonly employed to provide isolation and to improve common-mode noise performance. Figure 88 shows the recommended transformer-coupled balanced line driver interface. The transformer is specified for a 1:1 turn ratio, and should exhibit low inter-winding capacitance for best performance. To eliminate residual DC bias, a 0.1uF capacitor is utilized for AC-coupling the transformer to the line driver outputs. The coupling capacitor should be a surface-mount ceramic chip type with an X7R or C0G dielectric.



                          Unbalanced 75 ohm coaxial cable interfaces are commonly employed in consumer and broadcast audio applications. Designs with and without transformer line coupling may be utilized. Figure 89(a) illustrates the recommended 75 ohm transformer-coupled line driver interface, which shares many similarities to the balanced design shown in Figure 88. Figure 89(b) illustrates the transformer-free line driver interface, which is commonly used for S/PDIF consumer connections.


                          -----------------------------------------------


                          ซาวน์การ์ดรุ่นประหยัด ส่วนใหญ่จะไม่มีแจ็คSPD/IF Out(digital Out)มาให้ เช่น Coaxหรือmini-Jack
                          แต่เค้าจะใส่SPD/IF Out(digital out)แบบต่อภายในมาให้แทน
                          ( ความแตกต่างของทั้ง2แบบ คือ ออกแบบมาสำหรับใช้สายDigital Cableได้สั้นหรือยาว -- แบบแรก=ยาว / แบบหลัง=สั้น)

                          ถ้าหากเราจะดัดแปลงแบบต่อภายในแล้วโยงสายไปใส่แจ็คเพิ่มเอาเอง(แบบที่หลายๆคนทำกัน)
                          ควรตรวจสอบวงจรภายในการ์ดเสียก่อนว่า เค้าต่อวงจรหรือใส่อะหลั่ยแบบครบๆไว้ให้หรือเปล่า
                          - ถ้าใส่มาให้ครบ ก็ต่อแบบที่ทำๆกันได้เลย
                          - ถ้าเค้าใส่มาไม่ครบ เราสามารถใส่เพิ่มเข้าไปเองได้ โดยดูจากข้อมูลข้างบน


                          ก็อปจากหน้า177


                          ถ้าใครมีไรสงสัยในรายละเอียดเพิ่มเติมก็โพสถามเพิ่มได้
                          แต่ห้ามถามว่า "การ์ดตัวไหนใส่มาครบหรือไม่ครบ" ผมคงตอบแบบไม่ลังเลว่า"ไม่รู้" เพราะ เดี๋ยวคนถามจะสบายเกินไป
                          เมื่อใครคิดจะทำควรตรวจสอบด้วยตัวเอง เพราะ เรื่องนี้เรียนรู้และทำความเข้าใจด้วยตัวเองได้ไม่ยากครับ


                          -----------------------------------------------


                          ตอบคุณManiacMaewของโพสข้างล่าง


                          เราทำในส่วนของการส่งสัญญาณSPD/IFออกจากการ์ด ซึ่งก็คือ "TRANSMITTER OUTPUT INTERFACING"

                          - ใช้Coax ก็ดูที่ > TRANSMITTER OUTPUT INTERFACING > Unbalanced 75 ohm coaxial cable interfaces

                          - ใช้XLR ก็ดูที่ > TRANSMITTER OUTPUT INTERFACING > 110 ohm balanced line interfaces

                          รูป89 บอกรายละเอียดไว้ชัดเจนในตัวอยู่แล้วครับ

                          Comment


                          • #58
                            อันนี้ระบบไฟ ส่งผลทั้งในส่วนดิจิตอลและอนาล็อค
                            Originally posted by tiger X-fi View Post
                            วันนี้ PSU เจ๊ง ที่เคยบอกว่าการ์ดจอมีปัญหา
                            ต้องใช้ของสัญญาณภาพจากออนบอร์ด
                            สรุป ว่า ไม่เป็นไรเลยทั้งการ์ดจอ ทั้งบอร์ด
                            ปัญหาเกิดจาก PSU ตัวเดียว สงสัยวัตต์ไม่พอ
                            ใช้ตัววัตต์เทียม
                            เลยเอาตัวที่ท่าน ksurachai ส่งมาให้ จับตัดสาย เข้าหัว 4 พินใหม่ที่เหลือใช้ได้หมด
                            ผลออกมานิ่งมากครับ ได้ของแถมคือ 0460 เสียงดีขึ้นผิดหูผิดตาเลย มีเนื้อมีหนังขึ้นอีกเยอะ

                            จำเลยของงานนี้


                            พระเอกของงานนี้

                            ไม่มีโมเทค 4 สำหรับ 12vจั๊มกับบอร์ด
                            ด้วยความมักง่าย เลยตัดสายแล้วจั๊มเข้าลูกเต๋า
                            ใส่ท่อหดบังความชั่วร้ายไว้หน่อย

                            Comment


                            • #59
                              Data > Encode > Digital >Decode >Analog

                              ชุดอุปกรณ์แบบ Analog
                              ชุดลำโพง 5.1
                              มีหน้าที่รับสัญญาณเสียงแบบ Analog
                              ขยายสัญญาณเสียงอย่างเดียว
                              --------
                              ชุดอุปกรณ์แบบ Digital
                              Data > Encode > Digital
                              ส่งสัญญาณไปให้อุปกรณ์อื่น Decode (ถอดรหัส)
                              แล้วส่งสัญญาณเสียงแบบ Analog อีกที
                              ------------
                              การส่งสัญญาณแบบ Digital
                              หลังจาก
                              Data(ข้อมูล) > Encode (เข้ารหัส)>เป็น Digital แล้ว
                              ตรงนี้ ไม่ว่าจะเป็น โปรแกรม ซาวน์การ์ด หรือ ออนบอร์ด
                              จะเข้ารหัสใหม่Encode ส่งสัญญาณ Sound Digital
                              ไปให้ภาคถอดสัญญาณอีกที (Decode)
                              ------------
                              คุณภาพเสียงแตกต่างกันไปตาม Encode ส่งสัญญาณ Sound Digital
                              แม้กระทั้ง Encode ส่งสัญญาณ Sound Digital มาแล้ว
                              เป็น code ตัวเดียว เสียงยังแตกต่างกันเนื่องจากอุปกรณ์
                              เช่น S/pdif PCM 2.0
                              จ่ายผ่าน Optic กับ Coaxial ยังให้เสียงที่ต่างกันครับ

                              http://dtv.mcot.net/doc/Video%20&%20...ompression.pdf

                              Comment


                              • #60
                                Originally posted by dracoV View Post
                                -----
                                เห็นว่าหลายคนยังไม่เข้าใจเท่าไหร่ เกี่ยวกับความต่างกันของ
                                ข้อมูล digital
                                ในการใช้งานกับระบบเสียงทั่วๆไป (PCM, Bit stream encoded)
                                กับ ข้อมูล Digital ทาง Data com. / Data Processing

                                ง่ายๆละกันไม่ต้องลงลึกถึงทฤษฎีอะไรให้ปวดหัว (หรือใครอยากรู้จริงๆก็ถามมา หรือถามอากู๋ดู)
                                เรียก Digital sound ละกัน ไม่จำเป็นต้องมีความถูกต้อง 100% ถึงจะเอามาใช้งานได้
                                หรือ ต้นทางกับปลายทางไม่จำเป็นต้องเหมือนกันเป๊ะๆ
                                ซึ่งต่างกับข้อมูลทาง Data com/ Data Proc. ที่ความถูกต้องของข้อมูลต้อง 100%
                                เหมือนกัน Bit:Bit

                                Digital sound PCM ข้อมูลผิดไปจากต้นฉบับที่ปลายทางมันก็ยังออกมาเป็นเสียงได้
                                ถ้าผิดมากมันก็มีอาการสะดุดหรือเสียง pop/crack ขึ้นก็เท่านั้น
                                ไม่มีผิดแล้วขอให้ส่งข้อมูลมาใหม่ ทำงานแบบ Time domain
                                Digital sound แบบ Bit stream encoded ก็เหมือนกัน
                                แม้จะ encoded มา เช่น AC3 ถึงแม้จะมีข้อมูลสัญญาณผิดพลาดบ้าง
                                มันก็ยัง Decode ได้ หรือ ถ้ามันผิดมากจน decode ไม่ได้ Chip decoder
                                มันก็หยุดแล้ว reset รอ Data frame ใหม่ที่มัน Decodeได้ ก็เท่านั้น

                                ตัวอย่างข้อมูลทาง Data com. Protocol TCP/IP
                                ข้อมูลจะถูกส่งเป็น Package ย่อยๆ แล้วมารวมกันที่ปลายทาง
                                และมีการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล ถ้าข้อมูลผิดไปแม้บิทเดียว กรณีไม่มี Correction data
                                มันก็โยนทิ้งแล้วขอใหม่
                                .........
                                ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ
                                ความแตกต่างการโอนถ่ายข้อมูลแบบมัลติมีเดียกับแบบดาต้า
                                เช่น เวลาแปลงหนัง ถึงจะไม่สมบูรณ์ 100% เราก็เปิดดูได้

                                -----
                                ซึ่งแตกต่างกับการโอนถ่ายข้อมูลแบบดาต้า
                                ต้องรอให้ข้อมูลครบถ้วนสมบูรณ์ 100% เราก็เปิดดูได้
                                เช่นการโหลดบิท ...การก็อปปี้ไฟล์ ถ้าข้อมูลยังมาไม่ครบไม่สามารถเปิดดูได้

                                Comment

                                Working...
                                X