Announcement

Collapse
No announcement yet.

แกะๆรื้อๆๆเลยเอากับเค้าบ้าง lepai lp838

Collapse
X
 
  • Filter
  • Time
  • Show
Clear All
new posts

  • #16
    ตัวซีที่ว่าหมายถึงตัวที่ต่อจากไฟ บวกลบ ก่อนจะเข้า ไอซีใช่ไหมครับ ผมว่าไอ้ตัวนี้สำคัญมากเลยหล่ะ ที่ผมเคย
    ทดลองดูนะ ไอ้ตัวนี้ ยิ่งค่าสูง จะทำให้เวลาเราปิดแอมป์(ชักปลั๊กออกเลย)แอมป์จะยังไม่ดับ มันจะดังไปอีกสักพัก
    ตามความเข้าใจผมก็คือ แอมป์ได้รับ พลังงานไฟฟ้า จากไอ้ซีตัวนี้โดยตรง แต่ได้รับพลังงานจากหม้อแปลงทางอ้อม
    (ขนาดชักปลั๊กออกยังดังได้) หม้อแปลงผมว่าถ้าไม่อัดสุดๆ ก็ไม่น่าจะส่งผมมากน้า เป็นผมจะทำ เร็กกลูเรต เลย
    เพราะไฟมันแค่ 12v.2A หาไอซี เร็กกลูเรต ง่าย ไฟจะนิ่ง-เรียบ ขึ้นอีกเยอะ
    ส่วนไอซีตัว 100 watt (STK 4231 II) ตัวไอซี เกือบ 400 อะใหล่ ประมาณ 100 ภาคจ่ายไฟแพงกว่าไอซี สามเท่า
    เกิน 2500 แน่นอนครับ ยิ่ง วัตต์สูงอะใหล่ยิ่งแพง เมื่อวานผม เอาไปลอง ขับ ลำโพงซับดอก 18" x2 เดี๋ยวเอาคลิปมาลงให้ดูครับ
    คลิปสั้นไปหน่อยครับ กลัวโดนด่า

    อันนนี้ 15"เปิดเสียงคอมท่านเบาๆก่อนนะ

    ข้างบ้านเป็นคนแก่ขี้บ่นด้วย ไม่กล้าเทสนาน วันไหนไปออกงานจะเอาไปด้วย ลองอัดสุดๆดูซิจะพังมั้ย
    Last edited by fenderfree; 29 Sep 2010, 09:19:33.

    Comment


    • #17
      ^ 555..
      ขนาดดูในคริปเบสมันยังหนักมากเลย....
      ดอก 15 สงสัยเปิดทีต้องรอเวลาไม่คนอยู่น่ะ....
      ..........................
      งั้นเดี๋ยวสงสัย...ต้องเปลี่ยนแนวแล้ว เอาเป็น ชุดสำเร็จ อมร 3ชุด
      พาวเวอร์คอม 3 ตัว อะไหล่+ กล่องใส่ ...มาทดลองเล่น ดูแล้ว
      งบคงไม่บาน....มีความรู้มากกว่านี้ ..เดี๋ยวค่อยว่ากันใหม่ครับ
      Last edited by tiger X-fi; 29 Sep 2010, 12:37:29.

      Comment


      • #18
        เรียนคุณ Tiger หา Volume ดีๆ มาเปลี่ยนใหม่ก็ดีนะครับ ส่วน C elna สีนี้ผมเจอปัญหาเสียงขุ่นกับแอมป์ yamaha เก่าๆที่ต้องเปลี่ยน C ยกบอรด์ เลยไปหา
        ของ rubycon แบบธรรมดามาใส่แทนทีนี้ดีกว่าเดิมเยอาะ มีเนื้อเสียงดีกว่า nichicon ของเดิมเสียอีก (ถึงว่า แอมป์ยุโรปหลายยีห้อที่เปิดฝามาดูมักเจอแต่ C
        ของ rubycon) ส่วน C filter ไม่จำเป็นต้องค่าสูงๆ เพราะดูเหมือนเสียงเบสดีแต่สปีดเสียงตกลงครับ เน้นที่หม้อแปลงลูกใหญ่ขึ้นดีกว่า หรือลองอัดไฟไปที่ 15 Volt
        ดูก่อน ลองฟังการเปลี่ยนของเสียง (ดูเสปคเบอร์ไอซีภาึคขยาย หาค่าแรงดันสูงสุดที่ทนได้ก่อนครับ)

        Comment


        • #19
          Originally posted by Dearjohn View Post
          เรียนคุณ Tiger หา Volume ดีๆ มาเปลี่ยนใหม่ก็ดีนะครับ ส่วน C elna สีนี้ผมเจอปัญหาเสียงขุ่นกับแอมป์ yamaha เก่าๆที่ต้องเปลี่ยน C ยกบอรด์ เลยไปหา
          ของ rubycon แบบธรรมดามาใส่แทนทีนี้ดีกว่าเดิมเยอาะ มีเนื้อเสียงดีกว่า nichicon ของเดิมเสียอีก (ถึงว่า แอมป์ยุโรปหลายยีห้อที่เปิดฝามาดูมักเจอแต่ C
          ของ rubycon) ส่วน C filter ไม่จำเป็นต้องค่าสูงๆ เพราะดูเหมือนเสียงเบสดีแต่สปีดเสียงตกลงครับ เน้นที่หม้อแปลงลูกใหญ่ขึ้นดีกว่า หรือลองอัดไฟไปที่ 15 Volt
          ดูก่อน ลองฟังการเปลี่ยนของเสียง (ดูเสปคเบอร์ไอซีภาึคขยาย หาค่าแรงดันสูงสุดที่ทนได้ก่อนครับ)
          ขอบคุณมากๆเลยครับ ............
          แต่ IC ภาคขยายมันกลับด้านอยู่น่ะครับ ไม้กล้างัดดูเบอร์
          พวก C จ่ายไฟตัวใกล้ๆ ผมก็ไม่กล้าเกิน 16V ค่าแรงดันก็ไม่กล้าเพิ่มมากน่ะครับ

          Comment


          • #20
            Originally posted by fenderfree View Post
            ตัวซีที่ว่าหมายถึงตัวที่ต่อจากไฟ บวกลบ ก่อนจะเข้า ไอซีใช่ไหมครับ ผมว่าไอ้ตัวนี้สำคัญมากเลยหล่ะ ที่ผมเคย
            ทดลองดูนะ ไอ้ตัวนี้ ยิ่งค่าสูง จะทำให้เวลาเราปิดแอมป์(ชักปลั๊กออกเลย)แอมป์จะยังไม่ดับ มันจะดังไปอีกสักพัก
            ตามความเข้าใจผมก็คือ แอมป์ได้รับ พลังงานไฟฟ้า จากไอ้ซีตัวนี้โดยตรง แต่ได้รับพลังงานจากหม้อแปลงทางอ้อม
            ลองใช้ ค่าเท่าเดิมแต่ยี่ห้อเทพๆดู

            ค่ามากไปก็มีข้อดีข้อเสีย เคยอ่านเว็บฝรั่ง
            เขาบอกถ้าเกิน หมื่นไมโคร ความถี่สูง 10khz จะผ่านไม่ค่อยได้แล้ว
            คือยิ่งค่ามาก ความถี่สูงๆ จะผ่านได้ไม่ดี อันนี้ไม่รู้ทำไมเหมือนกัน ไม่ได้อ่านละเอียด


            Originally posted by tiger X-fi View Post
            ขอบคุณมากๆเลยครับ ............
            แต่ IC ภาคขยายมันกลับด้านอยู่น่ะครับ ไม้กล้างัดดูเบอร์
            พวก C จ่ายไฟตัวใกล้ๆ ผมก็ไม่กล้าเกิน 16V ค่าแรงดันก็ไม่กล้าเพิ่มมากน่ะครับ
            ค่าแรงดันที่เลเบลไว้ที่ตัวc คือ ค่าทนกระแสน่ะครับ ใส่เยอะกว่าเดิมได้(แต่จะมีผลเรื่องเสียง)
            แต่ถ้าน้อยกว่าเดิม = =" ระวังc ระเบิด
            ถ้าเอาชัวร์ก็ต้องวัด แรงดัน ตรงนั้นมาด้วยว่าเท่าไร บางทีผู้ผลิตเขาใส่c ค่าทนแรงดันมามากเกินก็มี
            (สงสัยในบางรุ่นบางตัว มันหายง่ายและราคาถูกกกว่ามั้ง )

            Comment


            • #21
              MUSE T-AMP MU-15 ทำยากครับ ของมันดีอยู่แล้ว
              เปลี่ยนแค่ โวลุ่มก็พอครับ
              มันใช้ ALPS ของปลอมครับ ^^

              ส่วนเรื่อง C นี่ยาวครับไว้กลับบ้านถ้ายังไม่มีคนมาตอบ เดี๋ยวมาช่วยตอบเท่าที่รู้ครับ

              Comment


              • #22
                คือไอ้ตัว ซี ที่ว่าเนี่ยมันไม่เกี่ยวกับสัญญาณ ครับ เป็นส่วนของภาคจ่ายไฟ ความถี่ผ่านไม่ได้ยิ่งดีสิครับ ไฟจะได้เรียบๆ หลายท่าก็ว่ามีผลต่อเสียง มากพอสมควร มากไปน้อยไปไม่ดี ผมคิดเปรียบเทียบเอาเองนะครับ เหมือนกับรถยนต์ ที่มี ไดนาโม กับ แบตเตอรี่ หม้อแปลงเปรียบกับ ไดนาโม ตัวซีภาคจ่ายไฟเปรียบกับแบตเตอร์รี่ ไม่รู้เข้าใจผิดไปเองหรือเปล่าไม่รู้นะ ถ้าผมผิดช่วยชี้แนะด้วยครับผม ^^

                Comment


                • #23
                  Originally posted by tiger X-fi View Post
                  ขอบคุณมากๆเลยครับ ............
                  แต่ IC ภาคขยายมันกลับด้านอยู่น่ะครับ ไม้กล้างัดดูเบอร์
                  พวก C จ่ายไฟตัวใกล้ๆ ผมก็ไม่กล้าเกิน 16V ค่าแรงดันก็ไม่กล้าเพิ่มมากน่ะครับ
                  ห้ามงัดเด็ดขาดคุณเสือ งัดหน่อยเีดียวหักเลยคับ ขายิ่งเล็กๆอยู่ด้วยผมทำมาแล้ว เจ๊งเลย

                  Comment


                  • #24
                    Originally posted by fenderfree View Post
                    คือไอ้ตัว ซี ที่ว่าเนี่ยมันไม่เกี่ยวกับสัญญาณ ครับ เป็นส่วนของภาคจ่ายไฟ ความถี่ผ่านไม่ได้ยิ่งดีสิครับ ไฟจะได้เรียบๆ หลายท่าก็ว่ามีผลต่อเสียง มากพอสมควร มากไปน้อยไปไม่ดี ผมคิดเปรียบเทียบเอาเองนะครับ เหมือนกับรถยนต์ ที่มี ไดนาโม กับ แบตเตอรี่ หม้อแปลงเปรียบกับ ไดนาโม ตัวซีภาคจ่ายไฟเปรียบกับแบตเตอร์รี่ ไม่รู้เข้าใจผิดไปเองหรือเปล่าไม่รู้นะ ถ้าผมผิดช่วยชี้แนะด้วยครับผม ^^
                    เกี่ยวครับ มีผลเพราะความจุและความเร็วในการจ่ายกระแส

                    คิดถึงนักวิ่ง 2 คน คนนึงวิ่งเร็วแต่แรงน้อย คนนึงวิ่งช้าแต่แรงเยอะ
                    แล้ววิ่งขึ้นเนินสูงๆ คนวิ่งเร็วก็จะถูกคนวิ่งช้าตามทันเพราะแรงวิ่งขึ้นเนินไม่ค่อยมี
                    ผลสุดท้ายจากที่ควรนำทิ้ง***ง กลับชนะแค่เฉียดฉิว

                    ถ้าเนินเตี้ยลงล่ะ ?
                    ถ้าเนินสูงขึ้นล่ะ ?

                    สุดท้ายเข้าใจนิทานเรื่องนี้หรือไม่ครับว่าต้องการบอกอะไร ^^

                    อิเล็กตรอนทุกตัวมีพลังงานศักย์เท่ากันคือ -13.6eV ที่ต่างกันคือพลังงานจลย์ครับ
                    Last edited by milestone; 29 Sep 2010, 12:45:03.

                    Comment


                    • #25
                      IC งัดได้นะครับ เบอร์มันจะอยู่อีกด้าน ด้านที่ติดกับบอร์ดนะ ถ้าขาแข็งอย่างมากก็ระวังนิดนึงครับ
                      ถ้ามันแข็งน่าจะเป็นเพราะตะกั่วที่ขา
                      ถ้าพังก็เปลี่ยนได้ครับ ไม่แพงผมเปลี่ยนมาหลายตัวล่ะ
                      ขาวๆด้านหลังมันคือแผ่นไมก้าครับ เอาไว้ช่วยระบายความร้อนจากรูปสงสัยแปะกับกล่องเอาละมั้ง

                      Comment


                      • #26
                        ครับผม สรุปว่าตรงภาคจ่ายไฟ นี่มีเรื่องความถี่เข้ามาเกี่ยวด้วยใช่ไหมครับ ผมก็นึกว่าเป็นกระแสตรงแล้วความถี่ไม่เกี่ยวซะอีก ขอบคุณท่าน milestone มากครับ จะได้สร้างความเข้าใจให้ถูกต้อง ^^

                        Comment


                        • #27
                          ส่วนนักวิ่งนี่เปรียบ กับ ตัว ซีเป็นนักวิ่ง สัญญาณเป็น เนินเขาใช่มั้ยครับ ซีความจุสูงเหมือนนักวิ่งที่มีกำลังแต่วิ่งได้ช้า ซีความจุต่ำหมายถึงนักวิ่ง วิ่งเร็วแต่ไม่มีกำลัง เนินเขา หมายสัญญาณ ที่เข้ามา ถ้าแรงๆ หมายถึง เนินเขาสูงๆใช่ไหมครับ
                          สัญญาณเบาๆหมายถึงเนินเขาเตี้ยๆ เข้าใจผิดประการใดช่วยแนะนำด้วยนะครับผม

                          Comment


                          • #28
                            ขอโทษครับหาซื้อได้ที่ไหนหรอคับ

                            อยากได้มั้ง

                            Comment


                            • #29
                              พูดคุยแค่คร่าวๆน่ะ

                              การทำงานตามปรกติ
                              หม้อแปลง(ไฟAC) -> ไดโอด(ไฟDC) -> ตัวเก็บประจุ(ไฟDC) -> โหลด(ไฟDC)

                              หน้าที่หลักของตัวเก็บประจุในภาคจ่ายไฟ คือ ทำให้ไฟที่ผ่านการแปลงจากACเป็นDCได้เรียบสม่ำเสมอมากขึ้น
                              แต่พอโหลดมีการดึงไฟไปใช้ ทำให้เกิดการกระเพื่อมของระดับแรงดันไฟที่ตัวเก็บประจุ

                              ในส่วนนี้ "ความถี่ไม่เกี่ยวข้อง" แต่ส่วนที่มีผล คือ ค่าความจุของตัวเก็บประจุจะเข้ามามีผลในการทำงานส่วนนี้
                              - เรื่องความเร็วในการเก็บประจุ-คายประจุ --> ค่ามากก็ใช้เวลานานกว่าค่าน้อย
                              - เรื่องปริมาณการดึงไฟจากตัวเก็บประจุ --> โหลดต้องการมากก็ดึงไปมาก โหลดต้องการน้อยก็ดึงไปน้อย
                              ประสิทธิภาพและคุณภาพของตัวเก็บประจุแต่ละยี่ห้อแล่ละรุ่น จะเข้ามามีบทบาทในการทำงาน จะดีมากหรือน้อยก็ว่ากันไป

                              ส่วนเรื่องความถี่ จะมีผลเมื่อมีโหลดมาต่อเข้าระบบ เพราะ โหลดเอง เมื่อตัวมันทำงานจะผลิตสัญญาณรบกวนปนเข้ามาในระบบไฟด้วย
                              จึงต้องมีการใส่ตัวเก็บประจุให้ตรงกับค่าความถี่ของสัญญาณรบกวน เพื่อกรองความถี่สัญญาณรบกวน ผ่านตัวเก็บประจุออกไปทางระบบกราวน์อีกที ที่เห็นผู้ผลิตใส่ตัวเก็บประจุค่า0.1ไมโครฟารัดในภาคจ่ายไฟ ก็เพื่อกรองเอาความถี่รบกวนออกไปนั่นเอง
                              (ศัพท์ทางอิเลคทรอนิคส์ใช้คำว่า Bypass Capacitor)


                              ภาษาชาวบ้าน
                              ตัวเก็บประจุที่ต่อในภาคจ่ายไฟ ในทางปฎิบัติทำหน้าที่หลายอย่าง เช่น
                              - ช่วยทำให้ระดับแรงดันไฟนิ่งขึ้น (ลดripple)
                              - เสมือนเป็นแหล่งจ่ายไฟสำรอง เพราะ โหลดไม่ต้องไปดึงจากตัวไดโอดโดยตรง แต่มาดึงจากตัวเก็บประจุแทน (เหมือนถังพักน้ำ ในปั๊มน้ำนั่นแหล่ะ)
                              - ทำหน้าที่คัดกรองเอาสัญญาณรบกวนที่ปะปนอยู่ในระบบไฟ ให้ผ่านลงขั้วกราวน์ไป


                              +++ เรื่องที่เข้าใจผิดกัน +++
                              หลายคนเข้าใจว่า ยิ่งใช้ค่าความจุสูงมากๆๆๆๆๆๆ จะช่วยให้ไฟเรียบขึ้น
                              ประเด็นนี้ไม่ตรงความจริง เพราะ ค่าความจุที่สูงเพียงพอในระดับนึงก็ทำให้ไฟเรียบได้ไม่ต่างจากใช้ค่าควมจุสูงเกินจริงแล้ว

                              +++ สรุป +++
                              ค่าความจุที่สูงเกินจริงไม่มีผลในเรื่องทำให้ไฟเรียบขึ้นกว่าเดิม แต่ช่วยในเรื่องการเป็นแหล่งจ่ายไฟสำรองที่ดีขึ้น
                              ค่าความจุของตัวเก็บประจุ ก็ไม่ใช่คำตอบทั้งหมด เพราะ ตัวเก็บประจุที่มีสเปค ค่าHigh Rippleสูงๆ จะเห็นผลมากกว่าค่าความจุของตัวเก็บประจุ

                              ตัวอย่าง
                              ตัวเก็บประจุแบบSnap-In หรือแบบScrew Type จะมีประสิทธิภาพในเรื่องHigh Rippleสูงกว่า ตัวเก็บประจุแบบLeadที่ใช้บัดกรีในPCB
                              Snap-InหรือScrew Type ค่า2,200uF ทำหน้าที่เป็นแหล่งจ่ายพลังงานสำรองได้ดีกว่า แบบLead ค่า4,700uF


                              ปล.
                              ผมeditเพิ่มเนื้อหาตามที่นึกได้ ฉะนั้นไม่ต้องแปลกใจที่อ่านโพสนี้แล้วเห็นไม่เหมือนเดิมที่เคยอ่าน
                              Last edited by keang; 29 Sep 2010, 20:40:22.

                              Comment


                              • #30
                                โอ้วว ท่านเก่งมาพอดี สรุป ว่าเกี่ยวหรือไม่เกี่ยวกันแน่ครับเริ่มสับสนละ

                                Comment

                                Working...
                                X