Originally posted by milestone
Originally posted by fenderfree
จริงๆไม่ใช่ว่าฟังครั้งแรกแล้วจะฟังออกทุกครั้ง บางทีฟังเสียงแล้วมันไม่ชัวร์ ก็จะเพิ่มจุดสังเกตุเรื่องมิติเวทีเสียงเพิ่มเข้าไป
หลายครั้งที่เพื่อนในกลุ่มฟังออก แต่ผมฟังไม่ออกหรือสังเกตุจากมิติเวทีเสียงก็แล้วก็ยังแยกไม่ได้ก็มีบ่อยไป หรือ บางทีก็มีสลับกัน
เวลาทดลองของใหม่ๆ ผมจะจับกลุ่มกันให้มาช่วยกันฟังช่วยกันลอง
ใครสังเกตุเจอตรงไหนก็บอกกัน แล้วช่วยกันเช็คอีกครั้งว่าเพี้ยนกันเองหรือเปล่า
ก็มีบางครั้งที่เกิดอุปทานคิดว่าใช่ แต่เมื่อลองซ้ำแล้วไม่ใช่ก็ต้องคือไม่ใช่
เหตุผลหลักๆว่าเพราะอะไร ผมก็ไม่รู้เหมือนกัน แต่เดาว่าเรื่องเกี่ยวกับเรื่องความถี่ เรื่องสนามแม่เหล็ก เรื่องแรงกด ละมั้ง
เมื่อก่อนเคยเห็นไส้ในเครื่องที่เกี่ยวกับงานความถี่ของทางทหาร เป็นกล่องๆแยกจากกัน เครื่องกล่องนึง ซัพพลายกล่องนึง
ทั้งเครื่องเค้า พวกน็อตยึดทรานซิสเตอร์ ยึดไอซี เค้าไม่ใช้น็อตโลหะเลย ใช้พวกน็อตพลาสติค
แม้กระทั่งหม้อแปลงเทอรอย(หล่อเรซิ่นตรงกลางเป็นรู) ก็ไม่ใช้น็อตเหล็ก แต่ใช้น็อตพลาสติค
น็อตที่เค้าใช้ ที่เคยเห็นจะมี2แบบ แบบพลาสติคใสเหมือนที่คลองถมขาย อีกแบบเป็นพวกsuperene(ผมน่าจะสะกดผิด)เนื้อนิ่มหน่อย
ตอนนั้นเกิดความสงสัยว่า ทำไมถึงไม่ใช้น็อตเหล็ก ทั้งๆที่น็อตเหล็กน่าจะช่วยให้ยึดได้แน่นและแข็งแรงมากกว่า
จังหวะดี ตอนนั้นเพื่อนกำลังทำปรีหลอด ใช้หม้อแปลงเทอรอยด้วย เลยถือโอกาสลองน็อตยึดหม้อแปลงซะเลย
ผลจากการลองเปลี่ยนน็อตยึดหม้อแปลง
เสียงจะต่างกันแบบทึบกับโปร่งกว่า การวางตำแหน่งชิ้นดนตรีก็ดีกว่า มีระยะห่.างแผ่ตลอดทั้งเวทีเสียง ไม่หุบกระจุกตัว
( เสียงบางทีจะฟังยากหน่อย(เพราะขึ้นกับอารมณ์ในแต่ละช่วงด้วย) ผมใช้วิธีสังเกตุจากมิติเวทีเสียง )
ทีนี้ก็เลยสงสัยอีกว่า ทำไมถึงมีผลต่าง ผลต่างมันเกิดจากอะไร
ตั้งข้อสมมุติฐานกันในกลุ่มว่า หม้อแปลงเวลาทำงาน มันต้องสร้างสนามแม่เหล็กไฟฟ้าออกรอบๆตัวแน่นอน
แต่พอเราเปลี่ยนน็อตที่อยู่ตรงกลางหม้อแปลง มันเกิดผลต่าง อาจจะเป็นเพราะลักษณะของการแพร่สนามแม่เหล็กไฟฟ้ามีการเปลี่ยนแปลง
ลองทำเครื่องมือวัดField Strenge Meter แบบอนาถา
หลักการทำงานคือ ถ้ามีสนามแม่เหล็กแพร่กระจายออกมา (เข็มของVU meterจะต้องขยับตามความเข้มของสนามแม่เหล็กไฟฟ้า)
คอยที่พันเอง + ทำวงจรขยายเพื่อใช้ขับVU meter + VU Metercแบบเข็มที่ความไวสูงๆหน่อย
เอาไปวางใกล้ๆกับหม้อแปลง โดยหาระยะที่เข็มขยับไปอยู่ในช่วงกลางจอVU
ลอง3แบบ น็อตเหล็ก / น็อตพลาสติค / ไม่มีไรอยู่ตรงกลางเลย
เมื่อเอาน็อตวางตรงกลางหม้อแปลง เข็มVUมีการขยับตัวไม่เท่ากันต่างกันนิดหน่อย(ขีดเดียวเองมั้ง) แต่จำไม่ได้แล้วว่าอันไหนมากกว่ากัน
หลังจากนั้นลองเปลี่ยนไปทดลองกับน็อตยึดไอซีเรกกูเลเตอร์(TO-220 TO-3) น็อตเหล็ก น็อตพลาสติค ไม่ใช้น็อต
ผลที่ได้ก็ตรงกับที่ทดลองกับหม้อแปลง เสียงดีสุดคือไม่มีไม่ใช้น็อต / รองลงมาคือน็อตพลาสติค / แย่สุดคือน็อตเหล็ก
อีกประเด็นนึงที่ไม่แน่ใจว่าใช่หรือเปล่า การใช้น็อตเหล็กยึดตัวไอซีตัวทรานซิสเตอร์ อาจจะมีผลเพราะแรงกดอัดแรงเค้นตัวถังไอซีกับซิ้งค์ มีแรงกดที่ต่างกัน
จนตอนหลังมีเพื่อนให้ประกอบปรีหลอดให้รุ่นพี่คนนึง เค้าอยู่วงการปืนทั้งเป็นตัวแทนจำหน่ายและรับโมปืนด้วย
ในกลุ่มของเค้าจะมีเครื่องมือที่ละเอียดสำหรับทำงานชิ้นเล็กๆได้
ก็เลยเกริ่นกับพี่เค้าว่า ถ้าสามารถหาน็อตทองแดงมาทำกราวน์แท่นได้ เสียงจะดีกว่าพวกน็อตเหล็กน็อตทองเหลืองที่ใช้กันทั่วไป
พี่เค้าก็ไปลองคุยกับเพื่อนในกลุ่มเค้าที่มีเครื่องกลึง สำหรับกลึงงานชิ้นเล็กๆได้ โชคดีที่มีคนนึงรับอาสาช่วยทำให้
เมื่อได้คนกลึงให้แล้ว ผมก็ไปหาทองแดงเส้นที่คิดว่าเนื้อดีสุดเท่าที่จะหาได้
ส่งให้พี่เค้าไปกลึงให้ เป็นน็อตขนาด3มิล เกลียวมิล ยาว14มิล ได้มาทั้งหมด45ตัว ค่ากลึงตัวละ70บาท
ตอนที่พี่เค้าเอาน็อตมาให้ เค้ารีบบอกเลยว่า ช่างบอกมาแล้วน่ะ ไม่ทำให้แล้วเพราะงานยากชิบ ทองแดงเนื้อนิ่มมาก กลึงพลาดนิดเดียวก็เสียเลย
เวลาเท่าๆกัน เค้าเอาไปทำงานอื่นได้เงินมากกว่านี้หลายสิบเท่า
วันที่ทำปรีหลอดเสร็จ พี่เค้าก็อยากรู้ว่า น็อตทองแดงกับน็อตเหล้กมันต่างกันแบบที่ผมบอกจริงเหรอ คนที่ไม่ได้เน้นเสียงแบบเค้าจะรับรู้ได้หรือเปล่า
ก็เลยลองเปลี่ยนสลับให้ฟัง แต่ไม่บอกว่าตัวไหนเป็นตัวไหน เค้าก็ฟังออก ตรงกับน็อตที่สลับให้ฟัง
Comment