Originally posted by tiger X-fi
ลองบอกเล่าเรื่องรูปแบบการต่อของเดิมด้วยสิครับ จะได้ช่วยกันวิเคราะห์ว่า จุดที่พลาดเกิดจากจุดไหนได้บ้าง
ตัวต่อไปจะได้ไม่เกิดขึ้นอีก
Originally posted by ManiacMaew
รูปแบบเส้นทางของระบบจ่ายไฟ
หม้อแปลง > สายไฟ > ไดโอด > สายไฟ > ตัวเก็บประจุ > สายไฟ > แอมป์
รูปแบบเส้นทางของโหลด
แอมป์ > สายไฟ > ตัวเก็บประจุ > สายไฟ > ไดโอด > สายไฟ > หม้อแปลง
ยกตัวอย่างเพียงช่วงเดียว วงจรขยายเสียงกับตัวเก็บประจุของภาคจ่ายไฟ
วงจรขยายเสียงจะมีตัวเก็บประจุฟิลเตอร์สำหรับสำรองไฟให้ตัววงจรอยู่แล้ว แต่ค่าไม่สูง(ส่วนใหญ่จะใช้ค่า220-470uF) ช่วยจ่ายไฟได้เพียงเบื้องต้นระดับนึงเท่านั้น
เวลาวงจรขยายเสียงทำงานในช่วงที่ต้องการปริมาณไฟสูงขึ้นปริมาณกระแสสูงขึ้น ก็จะดึงไฟจากตัวเก็บประจุของภาคจ่ายไฟมาใช้โดยตรง
ซึ่งในสภาพการใช้งานจริง จะมีสายไฟต่อคั่นระหว่างวงจรขยายเสียงกับตัวเก็บประจุของภาคจ่ายไฟ
( วงจรขยายเสียง > สายไฟ > ตัวเก็บประจุ )
สายไฟทำให้การจ่ายไฟมีระยะทางเพิ่มมากขึ้น ก็หมายถึงไฟต้องใช้เวลาเดินทางมากขึ้นด้วย หรือเรียกอีกอย่างว่าระบบการจ่ายไฟเกิดการหน่วง(ดีเลย์)ขึ้น
ในจุดนี้ควรวางตัวเก็บประจุให้อยู่ใกล้กับวงจรขยายเสียงมากที่สุดเท่าที่จะทำได้
ซึงถ้าใกล้มากพอก็จะไม่จำเป็นต้องใช้ตัวเก็บประจุฟิลเตอร์ค่าน้อยในวงจรขยายเสียงเลยก็ได้
( แบบเดียวกับที่Gaincardตัวจริงใช้ตัวเก็บประจุเพียงชุดเดียว )
Comment