Announcement

Collapse
No announcement yet.

แนวทางการ OC สำหรับนัก OverClock มือใหม่ ควรอ่านครับ

Collapse
This is a sticky topic.
X
X
 
  • Filter
  • Time
  • Show
Clear All
new posts

  • อยากลองบางแต่ไร้ประสบการณ์ แนะนำด้วยครับ AMD3 ATHON 620 X4 2.60 M/B ASUS M4A785TD_EVO RAM KINGSTON 2048/1333 4GB อย่างไรแนะนำด้วยครับ

    Comment


    • บอร์ด P7P55D Asus โอเวอร์คล๊อกได้ป่ะคับ แล้วมันปรับ FSB ตรงไหนคับ

      Comment


      • ปกติผมไม่ค่อยได้ OC บ่อยนักอ่ะครับ

        ตอนนี้ใช้ Phenom II 550BE 3.1 GHz + Gigabyte GA-MA790XT-UD4P+RAM DDR3/KINGSTON/1333 4GB + Asus 4770
        ติด Sink MaxOrb Ex ของ TT
        ตอนแรกปรับ FSB 240 ลากได้ 3.7 กว่าๆ บูตเข้า Windows ขึ้นจอฟ้า
        เปลี่ยนมาปรับตัวคูณ ไม่ปรับ FSB ทุกอย่าง Auto หมด ลาก 3.7 บูตเข้า Windows ได้ แต่ Test 3DMARK06 ขึ้นจอฟ้า
        สุดท้ายเปลี่ยนมาปรับตัวคูณใหม่ทุกอย่าง Auto ลากได้ 3.6 GHz บูตเข้า Windows Test 3DMark06 ผ่านฉลุย เล่นเกมใช้โปรแกรมได้ปกติทุกอย่าง

        ทีนี้ลองปรับ FSB ไปที่ 237 ทุกอย่าง Auto เหมือนเดิม ลากได้ 3.6 Ghz บูตเข้า Windows+Test 3DMARK06 ผ่านเหมือนกัน สรุปคือตอนนี้ทำได้เต็มที่คือ 3.6 GHz โดยที่ยังไม่ต้องปรับไฟเลี้ยงหรือค่า CL แต่อย่างใด

        คือถ้าจะลากมากกว่านี้มีคำแนะนำมั้ยครับ เคยไปปรับไฟเลี้ยงละ ปรับ FSB+ไฟเลี้ยง ส่วนมากจะบูตไม่เข้า Windows ตอนนี้ลากได้แค่ 3.6 GHz เอง -*- ปรับอะไรมากกว่านี้เมื่อไหร่เดี้ยงครับ CPU ตอนนี้แค่ 35 องศา 550BE ตัวนี้เปิดหัวไม่ได้ด้วย เซ็งสุดๆ -*-

        ลากได้ตามรูป -*-
        Attached Files
        Last edited by Kritdanai; 7 Nov 2009, 19:36:56.

        Comment


        • ให้ความรู้แท้ๆ ขอบคุนครับ

          Comment


          • ต้องขออภัยเพื่อนๆด้วยนะครับ บางคำถามอาจไม่ได้รับคำตอบจากผม คือกระทู้นี้ตั้งขึ้นสำหรับมือใหม่ที่ยังทำไม่เป็น

            ได้เข้ามาศึกษาแล้วลองทำกันดูนะครับ แต่สำหรับบางท่านที่ OC เป็นแล้วผมขอไม่ตอบนะครับ ท่านต้องเอาไปต่อยอดเอาเองครับ

            ต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยนะครับ บางท่านที่ใช้ CPU รุ่นใหม่ เมนบอร์ดรุ่นใหม่ ชึ่งกระผมเองยังไม่มีโอกาศ

            ได้จับ CPU รุ่นใหม่เลย อาจจะตอบคำถามท่านไม่ได้ ยังไงไห้ท่านได้ศึกษากระทู้แค่เป็นแนวทางนะครับ

            อ่านแล้วอาจจะไม่เข้าใจทำไม่ได้หรือยังไง ก็ค่อยๆศึกษากันไปนะครับ ขอบคุณครับ

            Last edited by one; 9 Nov 2009, 19:22:51.

            Comment


            • มีประโยชน์มากๆคับ

              ขอบคุณคับ

              Comment


              • คือตอนนี้ผมรู้สึกว่าคอมผมเริ่มช้าไปแล้วอะครับ สเปคตามนี้ครับ
                CPU Intel Pentium E2140 1.6GHz เป็นตระกูลเดียวกับพวก Dual Core นะครับแต่เป็นรุ่นแรก ๆ
                M/B P5LD-X 1333
                Ram 1G*2 จำรุ่นไม่ได้นะครับ
                VGA Asus 8400Gs 256MB ครับ *ไม่เคยอัพเดทไดเวอร์เลยครับ ใช้แผ่นที่มากับกล่องตลอดเลย
                HDD 80G SATA จำรุ่นไม่ได้อีกแล้วครับ
                PSU ซื้อมาพร้อมเคสอ่ะครับ ไม่มียี่ห้ออ่ะเห็นเค้าบอกว่า 500w แต่คงไม่เต็ม
                ปล.ด้วยตอนนั้นผมไม่มีความรู้เรื่องคอมเลยเพื่อนให้ซื้อก็ซื้อตามนั้น

                แต่!!!! ตอนนี้เริ่มมีความรู้ขึ้นมานิดนึงแล้วครับเนื่องจากใช้คอมมาเกือบ 2 ปีแล้ว
                เลยอยากลองเริ่มต้นเพิ่มความรู้ให้ตัวเองและเพิ่มความเร็วให้คอมของผมด้วยการ overclock
                ผมอยากเริ่มจาก OC เจ้า CPU ของผมก่อนอ่ะครับ ผมจึงอยากรู้ว่าบอร์ดของผมสามารถทำได้หรือป่าว
                แล้วผมต้องจัดการเพิ่มอุปกรณ์อะไรให้คอมของผมไหม เช่นพวก อุปกรณ์ระบายความร้อน อะไรพวกนี้นะครับ

                สิ่งที่ต้องการทราบนะครับ ถ้าจะให้ดีก็ช่วยอธิบายละเอียดหน่อยจะเป็นพระคุณอย่างสูงเลยนะครับ
                1.บอร์ดของผมสามารถ OC ได้ไหมครับ แล้ว CPU ของผมควรจะ OC ถึงเท่าไรดีเอาแบบปลอดภัยนะครับ
                2.อุปกรณ์ในคอมนี่ต้องเพิ่มเติมอะไรหรือป่าวครับ
                3.ถ้าผู้ใดมีความรู้และเห็นใจผมก็ช่วยแนะนำเรื่องการ OC แรมและ VGA ด้วยก็ดีนะครับ
                4.ถ้ามีวิธีเพิ่มความเร็วให้กับคอมของผมนี้ด้วยวิธีอื่นก็ช่วยแนะนำผมหน่อยนะครับ

                ขอขอบคุณมาก ๆ จากใจจริง ๆ เลยนะครับสำหรับผู้ที่อ่านจบ และขอบคุณเป็น 2 เท่าสำหรับผู้ที่ให้คำแนะนำนะครับ

                ปล.2 การ์ดจอผมเคยเคลมมาแล้วครั้งหนึ่ง แล้วพอได้มา สติ๊กเกอร์ที่คล้ายเป็นใบรับประกันมันไม่มีแล้ว ถ้าพังอีกผมสามารถเคลมได้อีกไหมคับ

                Comment


                • ขอถามเรื่องการทดแรมนิดนึงครับ

                  เครื่องผม ปรับบัสไปที่ 150Mhz ตัวคูณ 20

                  บัสแรมวิ่งไปที่ 1500 Mhz แบบนี้

                  เค้าเรียกว่ามี "อัตราการทดแรมเท่าไหร่" ครับ

                  เครื่องเปิดติดนะครับ แต่ไม่ค่อยสเถียรเลยครับ

                  ควรปรับยังไงดีครับ

                  Comment


                  • ทะมาย 478vsl[865 gv]ของผมมะมีOptionให้ปรับหว่า(OC CPU)

                    Comment


                    • อยากทำครับแต่ไม่รู้จะทำยังไงอ่านแล้วก็ยังงง p4/478 3.0 GHz ,1GB Bus 400, p4p800 คือเครื่องไม่ค่อยได้ใช้อะครับเลยอยากเอามาทำครับ สเปคนี้จะทำได้มั้ยครับ ได้ i5 มาก็เลยอยากทำ p4 ครับ

                      Comment


                      • มือใหม่ หาความรู้ครับ

                        Comment


                        • น่าลองทํามั่งจัง

                          Comment


                          • Originally posted by one View Post
                            มีหลายๆคนสนในเกี่ยวกับการ Overclock แต่ทำไม่เป็นไม่รู้จะเริ่มต้นยังไง Over Clock คืออะไร ?? ทำแล้วจะเกิดผลอย่างไร ทำแล้วจะคุ้มค่าใหม ผลตามมาจะเป็นอย่างไร
                            ผมต้องออกตัวก่อนนะครับว่าผมก็ไม่ได้เก่งเกี่ยวกับการ Overclock แต่ก็พอมีความรู้อยู่บ้าง ความรู้ที่ได้จากที่นี่เวป OverclockZone แห่งนี้ครับ จึงจะนำความรู้ที่ได้เหล่านี้มาเป็นแนวทางแก่นัก Overclock มือใหม่ได้ศึกษากันครับ

                            -อันดับแรกเราต้องรู้ก่อนว่า Overclock มันคืออะไรครับ
                            >>> โอเวอร์คล็อกคืออะไร นี่อาจจะเป็นคำถามสำหรับมือใหม่ ผมจะกล่าวถึงการ "โอเวอร์คล็อก" ให้ฟังอย่างง่าย ๆ ครับว่า ผลของมันจะทำให้เครื่องของเราเร็วขึ้น แรงขึ้น โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ

                            ผมว่าเรามาทำความรู้จักกับการโอเวอร็คล็อกให้มากกว่านี้กันดีมั้ยครับ เคยมีคนสงสัยว่า การโอเวอร์คล็อกนั้นจะทำให้เครื่องของเรา เร็วขึ้น แรงขึ้น ได้อย่างไร คำตอบก็คือ มันเป็นการเพิ่มความเร็วให้กับซีพียู โดยการปรับแต่งความเร็วของระบบบัสภายใน หรือการปรับเปลี่ยนความถี่ของซีพียูให้มีค่าเปลี่ยนไปจากเดิมที่ใช้กันอยู่ อย่างเช่นปกติเราใช้ซีพียูความเร็ว 1800 เมกะเฮิรตซ์ และเมื่อเรานำมาโอเวอร์คล็อกแล้ว ซีพียูของเราจะมีความเร็วเพิ่มจาก 1800 เมกะเฮิรตซ์ ไปเป็น 3000 เมกะเฮิรตซ์ อาจจะมากหรือน้อยกว่าก็ได้ โดยที่เราไม่ต้องซื้อซีพียูตัวใหม่ และเสียเงินเสียทองในการโอเวอร์คล็อกแต่อย่างใด
                            แต่เมื่อจะเริ่มโอเวอร์คล็อกเรามารู้หลักการและคำศัพท์กันก่อนนะครับ


                            1.Front Side BUS
                            เรียกกันสั้น ๆ ว่า FSB หรือบัสก็ได้ ซึ่งหมายถึง เส้นทางการส่งข้อมูลของลายวงจรภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่ง FSB นั้น จะส่งข้อมูลและทำงานไปพร้อมๆ กับอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ซีพียู หน่อยความจำ และสล็อตต่างๆ บนเมนบอร์ด อย่างเช่นสล็อต PCI-E , PCI ซึ่ง FSB สัญญาณนาฬิการที่เราเรียกกันว่าความถี่ ที่อุปกรณ์แต่ละตัวก็จะมีแตกต่างกันออกไป ซึ่ง FSB จะเป็นตัวควบคุมจังหวะการทำงานว่าจะรับหรือจะส่ง จังหวะเร็วก็ส่งเร็วเมื่อจังหวะช้าก็ส่งช้า เป็นต้น

                            2.Multiplier (ตัวคูณ)
                            ซีพียูทุกตัวไม่ว่าจะเป็นซีพียูจากค่าย lnter หรือ AMD ต่างก็มีตัวคูณอยู่ในตัวซีพียูอยู่แล้วซึ่งซีพียูแต่ละตัวจะมีตัวคูณที่ไม่เท่ากันซึ่งตัวนี้ก็จะมีผลต่อการโอเวอร์คล็อกเหมือนกัน เช่น E8200 มีตัวคูณ 8.0
                            FSB 333 ก็จะเท่ากับ 333x8.0 ก็จะได้ความเร็วของซีพียู 2.66GHz แต่ถ้าเราปรับ FSB ไปที่ 400 ก็จะได้ 400*8 = 3.2GHz เมื่อเปรียบเทียบกับซีพียูรุ่น E8600 ชึ่งมีตัวคูณ 10 เมื่อเราปรับ FSB ไปที่ 400x10 = 4000GHz เพราะฉนั้นซีพียูที่มีตัวคูณมากกว่าย่อมได้เปรียบนะครับ

                            3.Vcore
                            หมายถึงไฟที่ใช้เลี้ยงซีพียูและแน่นอนครับว่าเราสามารถที่จะเพิ่มไฟเลี้ยงให้กับซีพียูได้(ขึ้นอยู่กันเมนบอร์ดด้วย) ซึ่งซีพียูทุกตัวต่างก็มีไฟเลี้ยงในตัวเอง และใช้ไฟเลี้ยงที่แตกต่างกันออกไปอีก เราจะรู้ได้อย่างไร
                            ว่าไฟเลี้ยงของซีพียูที่เราใช้นั้นเท่าไร อันดับแรกดูในไบออสครับ ดูจากโปรแกรม cpu-z หรือโปรแกรมอื่นครับ เมื่อเรารู้ค่าไฟเลี้ยงของซีพียูแล้ว เวลาโอเวอร์คล็อกจะได้รู้ว่าเราต้องเพิ่มไฟเท่าไร ยกตัวอย่างเช่น
                            ซีพียู E8400 3.0GHz ไฟเลี้ยง 1.100 เราทำการโอเวอร์คล็อกไปที่ความเร็ว 4.0GHz ซึ่งไฟเลี้ยงที่ 1.100 ซีพียูอาจจะทำงานไม่ได้ที่ความเร็ว 4.0GHz เราอาจจะลองเพิ่มไปที่ 1.1125 หรือ 1.1250,1.1375-1.2000ไปเรื่อยๆนะครับไม่ต้องเพิ่มมาก จนกว่าซีพียูจะสามาทำงานได้อย่างเสถียนโดยการเทสด้วยโปรแกรม(อาจจะมีไฟอื่นๆเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย)

                            4.Vmem, VDD
                            เป็นไฟเลี้ยงที่ป้อนให้กับหน่วยความจำ(แรม) ซึ่งหน่วยความจำ DDR1 ทั่วไปนั้นจะมีกำลังไฟเลี้ยงที่ 2.4 โวลต์ แต่ถ้าเป็น DDR2 ก็จะมีไฟเลี้ยง 1.8 โวลต์ หลักในการเพิ่มไฟเลี้ยงก็จะคล้ายคลึงกับ Vcore คือค่อยๆเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ อย่าใจร้อน จาก 1.8>1.85>1.9 ตามลำดับ มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับแรมด้วย
                            ยิ่งไฟเลี้ยงเยอะเท่าไรก็จะทำให้เราโอเวอร์คล็อกแรมที่ความถี่สูง ๆ เยอะเท่านั้น ทั้งนี้ก็อยู่อยู่กับคุณภาพของแรมด้วยว่าจะรับความถี่สูง ๆ ได้มากน้อยเพียงใด อีกอย่างก็คือการระบายความร้อนที่ดีด้วย ถ้าความร้อนสูงจนเกินไปแรมก็อาจจะทำงานไม่ได้
                            4.1 Cas latency
                            เรียกกันสั้นๆ ว่า CL หรือ Timing ก็ได้ครับ คืออัตราการรีเฟรซข้อมูลของแรมในหนึ่งลูกคลื่น ซึ่งการรีเฟรชข้อมูลในหน่วยความจำบ่อย ๆ หรือ CL น้อย ๆ จะทำให้แรมทำงานได้เร็ว เนื่องจากใช้เวลาในการเข้าถึงข้อมูลสั้นลง ซึ่งค่า CL นั้นจะเป็นตัวเลขที่ต่อท้าย 4 ตัวของแรม เช่น แรมยี่ห้อ Crucial DDR2 1024MB PC6400 5-5-5-15 จะเป็นค่าของเวลาที่แรมจะทำการหน่วงข้อมูลแล้วส่งต่อไปยัง Chipset และ Chipset ก็จะประมวลผลอีกที (ถ้าค่า CL ยิ่งต่ำเท่าไรแรมก็จะส่งข้อมูลได้รวดเร็วยิ่งขึ้นเท่านั้น)


                            5.VIO NB Voltage
                            นี่คือไฟเลี้ยงที่ป้อนให้กับซิปเซต ซึ่งส่วนมากแล้วเมนบอร์ดที่สามารถปรับแต่งค่านี้ได้จะเป็นเมนบอร์ดที่ออกแบบมาสำหรับการโอเวอร์คล็อกจริงๆ อย่างเช่นเมนบอร์ดจาก ABIT,DFI,MSI,GIGABYTE และ ASUS เป็นต้น ซึ่งสามารถปรับไฟเลี้ยงชิป NB ได้ แล้วไฟชิปเซตมันมีผลอย่างไรกับการ OC
                            ยกตัวอย่างเช่น ชิปเซตรุ่น P35 ใช้ไฟเลี้อง 1.25V สามารถทำงานได้ที่บัส 200-450MHz แต่เมื่อเราโอเวอร์คล็อกไปที่ FSB เกิน 450MHz ขึ้นไป
                            ชิปเซตอาจจะทำงานไม่ได้ เราจึงต้องเพิ่มไฟเลี้ยงไห้แก่ชิปเซต เช่นเราโอเวอร์คล็อกไปที่ FSB 500MHz อาจจะต้องเพิ่มไฟชิปเซต 1.3-1.4 หรือมากกว่า ขึ้นอยู่กับเมนบอร์ด บอร์บางตัวอาจจะไม่ต้องเพิ่มเลยก็ได้ครับ

                            6.CPU PLL Voltage
                            ไฟตัวนี้ผมยังไม่มีข้อมูลที่แน่นอนนะครับ แต่จากประสบการของผมเอง ไฟตัวนี้จะมีผลตอนเราโอเวอร์ซีพียูไปที่ FSB สูงๆนะครับ การเพิ่มไฟตัวนี้อาจจะช่วยไห้เราไม่ต้องเพิ่มไฟเลี้ยงซีพียูมาก ไฟตัวนี้จะเพิ่มที่ 1.50-1.56 โดยประมาณนะครับ อาจจะมากกว่า
                            หรือน้อยกว่าขึ้นอยู่กับเมนบอร์ดและซีพียูครับ

                            7.FSB Termination Voltage

                            8.South Bridge Voltage

                            แนวทางในการปฏิบัติครับ
                            ก่อนอื่นเราต้องรู้ก่อนว่าเมนบอร์ดของเรานั้นรองรับการโอเวอร์คล็อกหรือไม่

                            -เมนบอร์ดที่รองรับการโอเวอร์คล็อกจะต้องสามารถปรับค่า FSB(Front Side BUS) ได้นะครับ ถ้าไม่มีไห้ปรับก็ไม่สามารถโอเวอร์คล็อกได้


                            -เมนบอร์ดที่รองรับการโอเวอร์คล็อกต้องปรับค่าไฟเลี้ยงต่างๆได้ครับ

                            ถ้ามีสองอย่างข้างต้นที่ว่ามาเราก็สามารถสนุกกับการโอเวอร์คล็อกได้อย่างเต็มที่ครับ
                            -แล้วจะโอเวอร์คล็อกอย่างไร ทำไม่เป็น??
                            การโอเวอร์คล็อกสามาทำได้สองวิธีหลักๆคือ 1.ปรับแต่งจากในไบออส 2.ปรับแต่งบนวินโดว์ ชึ่งนิยมกันมากที่สุดคือวิธีที่ 1.ปรับแต่งจากไบออส จะทำไห้เราสามาปรับ FSB แล่ะค่าไฟเลี้ยงต่างๆได้
                            -วิธีการก็ต้องเข้าไบออสเพื่อไปปรับค่าพวกนี้ครับ ซึ่งไบออสของแต่ล่ะรุ่นก็จะมีวิธีเข้าที่แตกต่างกันออกไป แต่ส่วนมากจะไห้กดปุ่ม Delete บนคีย์บอร์ดตอนเปิดเครื่อง โดยจะมีข้อความแจ้งบอกอยู่ด้านล่างมุมซ้ายของจอภาพครับ


                            -เมื่อเข้าไบออสได้แล้วก็จะเจอหน้าตาของไบออสครับ (ไบออสนี้เป็นของ ASUS P5Q Deluxe)


                            -จากนั้นไห้เลือกที่ Ai Tweeaker ตรง Ai Overclock Tuner เลือกเป็น Manual ก็จะเจอเมนูของการโอเวอร์คล็อกครับ


                            -ในส่วนนี้จะเป็นค่าไฟเลี้ยงต่างๆ ที่เราจะสามารถปรับเพิ่มหรือลดได้


                            -เรื่องของตัวคูณที่วิ่งขึ้นๆลงๆ นะครับ เป็นคำถามที่ถามกันมากสำหรับนักโอเวอร์คล็อกมือใหม่ ลองเข้าไปปิดในส่วนนี้ครับ

                            เมื่อเรารู้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการโอเวอร์คล็อกแล้ว ก็มาลองปฏิบัติกันครับ
                            -1.เข้าไบออสไปปรับ FSB จากค่าเริ่มต้นขึ้นไปเรื่อยนะครับไม่ต้องรีบร้อน ยกตัวอย่างเช่น 200 ไป 230 แล้วก็ลองบูตเข้าระบบ แล้วก็ทดสอบความเสถียนด้วยโปรแกรม ถ้าทุกอย่างผ่านไปด้วยดีก็เข้าไบออสไปเพิ่ม FSB อาจจะ
                            จาก 230 ไป 250 เมื่อเพิ่ม บัสจนรู้สึกว่าไม่เสถียน ไม่เสถียนในที่นี้หมายถึงเทสไม่ผ่าน เข้าวินโดว์ไม่ได้ เปิดไม่ติด ก็มาถึงขั้นตอนการเพิ่มไฟครับ

                            -2.การเพิ่มไฟ เมื่อลากบัสไปถึงจุดจุดหนึ่งแล้วไม่เสถียนเราก็มาเริ่มเพิ่มไฟครับ ไฟตัวแรกที่จะต้องเพิ่มคือไฟซีพียูครับ (Vcore)ดูค่าเริ่มต้นจากไบบอสแล้วก็เพิ่มจากเดิมไปเล็กน้อยนะครับ เช่นค่าเริ่มต้น 1.2000 อาจะเพิ่มไปที่ 1.250 ขึ้นไปเรื่อยๆจนสามารถบูตเข้าระบบ เทสโปรแกรมต่างๆผ่านได้ไม่มีปัญหา ดูเรื่องความร้อนของซีพียูด้วยนะครับอย่าไห้สูงจนเกินไป
                            -2.1 เพิ่มไฟแรม(Dram Voltage) อาจจะต้องเพิ่มไปพร้อมกับไฟซีพียู ค่าไฟเริ่มต้นจะเป็น 1.8 อาจจะเพิ่มไปที่ 1.85,1.90,1.95 ตามลำดับ เราจะเพิ่มไฟก็ต่อเมื่อแรมทำงานเกินความเร็วที่กำหนดครับ
                            เช่นแรมบัส 667 เราโอเวอร์คล็อกซีพียูจนแรมวิ่งเกินบัส 667 เช่นจาก 667 ไป 800 เราอาจจะต้องเพิ่มไฟแรมไปที่ 1.85-1.9
                            ซึ่งการที่เราเพิ่มบัสซีพียูมันจะทำไห้บัสแรมเพิ่มขึ้นตามไปด้วย เราสามารถดูบัสแรมได้จากโปรแกรม CPU-Z ครับ


                            -3.การทดแรม 1:1 (ของเมนบอร์ด Asus) การโอเวอร์คล็อกเพื่อตัดปัญหาของแรมตันทำไห้ไม่สามารถลากบัสซีพียูขึ้นไปสูงๆได้ที่นิยมกันคือทด 1:1 ครับ การเลือกค่าของแรมโดยการเอาค่าบัสของซีพียูคูณด้วยสองจะได้ค่าแรมครับ เช่น เราปรับบัสซีพียูไปที่ 333 ค่าแรมที่เราต้องการไห้เป็น 1:1 ก็คือ 667 ครับ
                            ถ้าเป็นบอร์ดของ Gigabyte ตรง System Memory MultipLier (SPD) เลือกเป็น 2.0 ครับ


                            -3.1 ทำไมต้องทดแรม 1:1 หลายๆคนอาจจะสงสัยสำหรับมือใหม่ การทด 1:1 คือการทำไห้บัสแรมวิ่งที่ความเร็วเดียวกับบัสซีพียู
                            โดยปกติบัสแรมจะถูกตั้งเป็น Auto เมื่อเราโอเวอร์คล็อกบัสซีพียูบัสแรมก็จะถูกเพิ่มสูงตามบัสซีพียูไปด้วย เช่น ซีพียูบัส 200 บัสแรม 800(400x2)
                            อัตตราทดเท่ากับ 1:2 เมื่อเราปรับบัสซีพียูไปที่ 250 Auto 1:2 บัสแรมจะวิ่งเท่ากับ 1000(500x2) ซึ่งแรมบัส 800 บางตัว
                            มันอาจจะวิ่งที่บัส 1000 ไม่ได้ครับ เราโอเวอร์บัสซีพียูไปที่ 250 ทำไห้คอมเปิดไม่ติดเพราะแรมทำงานไม่ได้ จึงต้องมีการทดแรมลงมา
                            1:1 เช่น โอเวอร์คล็อกซีพียูไปที่บัส 400 แรมทด1:1 บัสแรมเท่ากับ 800(400x2) ซึ่งถ้าเราใช้แรมสเป็กบัส 800 แรมก็วิ่งตามสเป็กแลย
                            จึงไม่ต้องห่วงว่าแรมจะทำงานไม่ได้ แต่การทด 1:1 ไม่ใช่ค่าที่ดีที่สุดของการทดแรม อาจจะทด 2:3 ,3:5 หรือ 4:5 แล้วแต่ความสามารถของแรมครับ


                            หมายเหตุ: นี่เป็นแค่แนวทางของการโอเวอร์คล็อกเบื่องต้นนะครับ เน้นไปทางเมนบอร์ดของ Asus แนวทางอาจจะไม่ละเอียด และอาจจะมีผิดพลาดบ้าง จากข้อมูลที่ได้ศึกษามา แต่ก็หวังว่าจะเป็นแนวทางแก่นักโอเวอร์คล็อกมือใหม่ได้ ไม่มากก็น้อยนะครับ ส่วนข้อมูลอื่นๆที่ผมยังไม่ได้ลงไว้ ถ้าได้ข้อมูลแล้วจะมาแก้ไขไห้ที่หลังนะครับ วันนี้ตาลายแล้ว หรือถ้าท่านเทพทั้งหลายจะลงข้อมูลไว้เป็นแนวแทงไห้แก่นักโอเวอร์คล็อกจะเป็นพระคุณอย่างยิ่งครับ ถ้าข้อมูลข้างต้นของผมผิดพลาดยังไงช่วยทักท้วงด้วยนะครับ จะได้แก้ใขไห้ถูกต้อง เพื่อที่นักโอเวอร์คล็อกมือใหม่จะได้รับไปอย่างถูกต้อง ถ้าข้อมูลที่ผมเอามาลงไว้เป็นประโยชน์เห็นด้วยช่วยกันดันด้วยนะครับ
                            ขอบคูณสํารับข้างบนนะครับจะแฟนคลับocตลอดไปครับ

                            Comment


                            • ทำ OC มันมีผลดีที่น่าสนใจอยู่นะ แต่เสี่ยงต่ออายุการใช้งานมากอ่า (ผมไม่ทำหรอกครับ แต่ขอมาศึกษาเอาข้อมูลไปเป็นความรู้ ช่วยคนอื่น แล้วกันครับ ที่นี้มีสาระดีมากๆเลย)^ ^

                              Comment


                              • มาเก็บความรู้ ขอบคุณครับ

                                Comment

                                Working...
                                X