Announcement

Collapse
No announcement yet.

สงสัยเรื่องพัดลมแบบ 3 pin กับ 4 pin ครับ

Collapse
X
 
  • Filter
  • Time
  • Show
Clear All
new posts

  • #16
    Originally posted by tiger X-fi View Post
    เข้าใจว่า ความถี่(Hz) มันเกี่ยวข้องกับไฟ DC ยังไงครับ
    ไฟ DC ใน อุดมคติ ไม่มีความถี่ แต่การแปลงไฟ AC เป็น ไฟ DC มันจะไม่ได้ไฟในอุดมคติ ลักษณะ มันเหมือน กับเอาไฟ DC มารวมกับ AC ประมาณว่า เป็นไฟ DC ที่แกว่งนิดๆ พวก Ripple อ่ะ เช่น ไฟ12V มันก็จะประมาณ +12.035 ถึง +11.599 แล้วเปลี่ยนอยู่ระหว่าง 2 ค่านี้ในความถึ่ค่าหนึ่ง
    ส่งผลยังไงกับอุปกรณ์
    แล้วเมื่อไฟ DC ถูกใช้โดยโหลด V มันก็จะตกเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าโหลดเป็นแบบประมาณว่า ใช้ไฟแบบแกว่งๆ หรือมอเตอร์ มันก็จะทำให้ V ของไฟ DC มันขึ้นลงๆ เหมือนไฟ DC ข้างบน ซึ่งอุปกรณ์คอมพ์จำเป็นต้องการไฟ DC ที่ใกล้เคียงกับ ไฟDC อุดมคติมากที่สุด
    ที่เค้าเน้นเรื่องความถี่(Hz) จะเป็นไฟ AC
    (ไฟบ้าน/สัญญาณดิจิตอล/สัญญาณอนาล็อค)
    ก็เพราะ AC มันมีความถี่
    -----------
    ที่เค้าคุยกันส่วนใหญ่ความถี่(Hz) กับไฟ DC
    จะเป็นภาคจ่ายไฟแอมป์ครับ
    ผมสนใจภาคจ่ายไฟ ซึ่งมีอยู่แค่ 2 อย่าง คือ 1.สวิทชิ่ง 2.ลิเนียร์ ส่วนจะใช้แบบไหนต่อกับอะไร มันก็แล้วแต่ แต่เห็นแอมป์นิยม ลิเนียร์แฮะ
    ตัวที่ทำงานที่ความถี่สูงได้ดี เสียงแหลมจะเด่นรายละเอียดดี
    ตัวที่ทำงานที่ความถี่ต่ำได้ดี เสียงโทนต่ำมีเนื้อ ความชัดของเสียงโทนต่ำสูง
    ตัวที่ทำงานที่ความถี่กลางๆได้ดี เสียงร้องจะชัด เด่นเสียงกลาง
    ตัวที่ทำงานที่ทุกย่านความถี่ได้ดี เสียงภาพรวมจะดี
    (กรณีค่าเดียวกัน...แต่ต่างยี่ห้อ)
    ผมไม่ได้เล่นเสียงเท่าไร แต่เข้าใจเกี่ยวกับการตอบสนองความถี่
    ---------
    แต่พอมาใช้กับคอม...ทำไมถึงไปสนใจความถี่
    ดูที่ตัวอื่นครับ
    อยากปรับปรุงไฟ DC ให้ใกล้ๆอุดมคติ คือพยายามล้างไฟ AC อันน้อยนิดที่หลงเหลือให้หมดไป
    จากที่ท่านเสือเคยบอกไว้ว่า C ที่ตอบสนองต่อความถี่สูงได้ดี มันจะแพง ราคาหลักร้อยขึ้นไป
    ก็เลยแนะนำ C พวกนี้มา (อันนี้ผมเข้าใจว่า น่าจะตอบสนองต่อความถี่สูงได้ดีกว่ายี่ห้อ ธรรมดาๆ)
    แต่อย่างไรก็ดีเพื่อช่วยให้ตอบสนองต่อความถี่สูงได้ดี ท่านเลยแนะนำ ไบแคป กับ C ฟิล์ม 0.1
    เพื่อช่วยในการตอบสนองต่อความถี่สูง

    ซึ่งผมว่ามันน่าจะช่วย คอมพ์มันดึงไฟไปใช้ประโยชน์ที่ความถี่สูงได้ดีขึ้น ประมาณว่าจ่ายทันใจ
    ซึ่งลักษณะนี้พวก PSU เทพๆทำได้ประมาณ 99 เปอร์เซ็นต์

    พูดไปพูดมา มันก็เรื่องไฟกระเพื่อม นั้นแหละ ฮ่าๆ

    Comment


    • #17
      พี่เสือเคยถามผมเรื่องไฟ AC - DC ครั้งนึงละ ท่านมาถามอีก ผมชักไม่มั่นใจ ความเข้าใจตัวเองซะแล้วสิ ฮ่าๆ

      Comment


      • #18
        ผมถามเพิ่มหน่อยละกัน อันนี้ผมก็ไม่เข้าใจว่า
        Originally posted by lairwtiare
        ไม่เข้าใจหม้อแปลง ทำไมหม้อแปลงความถี่ต่ำถึงใหญ่กว่าหม้อแปลงความถี่สูง
        แล้วเราเอาหม้อแปลงของ linear มาใช้ใน switching ได้ป่าวน้อ มันจะเวิร์คไหม
        แต่หลักการมันก็คือๆกัน ขดลวด ปฐมภูมิ กะ ทุติยภูมิ

        - - -
        พอดีมี linear 12V 3A อยู่ตัว แต่อยากได้ 6A ครั้นจะใส่หม้อแปลงเพิ่ม แค่นี้มันก็ใหญ่เว่อร์ละ เลยจะลองทำวงจรสวิทชิ่งสักหน่อย มันจะเวิร์คไหม
        ท่านอาจารย์

        Comment


        • #19
          ตอนจะเขียนเรื่อง AC-DC ผมก็คิดอยู่เหมือนกันว่าจะเขียนดีไหม รวมทั้งอันนี้ด้วย(ใช้เวลาเขียนนานมาก คิดอยู่นานว่าจะเขียนอย่างไรดี)
          เขียนแล้วลบไปแล้ว 1 รอบ แล้วก็มาเขียนใหม่อีก

          ด้วยเหตุผลว่า ผมไม่อยากให้คนที่มาอ่านหลังๆเข้าใจผิดต่อไปข้างหน้า ถึงนิยามของไฟฟ้า Alternating Current (AC) และ Direct Current (DC)


          ซึ่ง
          - Direct Current (DC)
          คือ ไฟฟ้าที่มีกระแส(current) เดินทางจากขั้วบวกไปขั้วลบ หรือพูดอีกนัยหนึ่งว่า อิเล็กตรอนเดินทางจาก Anode(-) ไปหา Cathode(+)
          จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงทิศทางการไหลของกระแส แม้ว่าจะเปลี่ยนแปลงปริมาณกระแสหรือความต่างศักย์ก็ตาม

          แต่ที่ผมอยากแก้ไขคือ

          ---กระแสไฟฟ้ากระแสตรง แบบมีสัญญาณความถี่ บางทีเรียกว่า Pulsation
          สัญญาณแบบนี้แม้ว่าจะมีความถี่ แต่ไม่ได้เป็นการผสมระหว่าง AC+DC แต่เป็น DC ที่ไม่ใช่อุดมคติ (Ideal)
          มักเกิดขึ้นจาก Rectifier หรือ Transformer แล้วใช้ Diode เป็นตัวป้องกันไฟกลับด้านและกลับด้านลบมาเป็นบวก ส่วน Capacitor เป็นตัวชดเชยไฟฟ้าส่วนที่หายไป
          นั่นคือตามรูปข้างล่าง ไฟฟ้าเมื่อผ่านมา Diode มาแล้วมันจะกลายเป็นไฟแบบทิศทางเดียว เรียกว่าแบบ half wave (จาก Full Sine wave) เส้นสีชมพู
          แต่ตัว C ที่ใส่ เมื่อไฟหายมันจะชดเชย ไฟมาเก็บใหม่ ทำไปเรื่อยๆ ปรากฏการณ์แบบนี้เรียกว่า Pulsation (เส้นสีดำข้างบนสีชมพู) ได้เหมือนกัน



          - Alternating Current (AC)
          คือ ไฟฟ้าที่มีกระแส เดินทางสลับไปมาระหว่างขั้ว โดยไฟบ้านทั่วๆไปจะมี Hot line กับ Neutral จะไม่บอกว่าอันไหนขั้วบวกหรือขั้วลบ
          เพราะเมื่อครบวงจร ไฟฟ้าจะไหลกลับไปกลับมา ไม่ว่าจะเป็นสัญญาณแบบ Sine wave, Rectangular Wave, Triangular wave etc... ก็ตาม


          -+-ความถี่ของ Capacitor กับพวก แอมป์
          เสียงที่เราได้ยินคือเสียงของช่วง 10Hz - 20kHz คำว่าเสียงชัดเจนคือ ความถี่ตรงกับต้นฉบับเป๊ะๆ
          เพราะแอมป์จะเกี่ยวข้องกับ Impedance, Resistance, Reactance และ Inductance
          เนื่องจากค่าต่างๆเหล่านี้มีผลกับกำลังขยายของแอมป์ และความสะอาดของสัญญาณ

          ข้อสังเกต
          >วงจรขยาย(Amplifier) มีทั้งแบบ AC Coupling และ DC Coupling
          >ใน Audio เป็นสัญญาณ AC
          >การ Amplification ไม่ได้มีเฉพาะในงานเครื่องเสียง ยังมีงานอื่นอีกมากที่ใช้ ได้แก่งานเซ็นเซอร์ที่มีค่าประมาณ 1microVolt

          ตัวอย่างการต่อแอมป์

          2014-01-27_144712.png2014-01-27_144822.png
          (ผมขอหยุดไว้ก่อนเนื่องจาก จะไปไกลเกิน แต่ท่านสามารถหาอ่านได้ว่าคืออะไร)


          สุดท้ายนี้
          ผมไม่ได้มีเจตนาจะเอาชนะใคร แค่มันจะมีผลต่อคนรุ่นหลังที่ไม่เข้าใจหลักการ แล้วเวลาเจอปัญหาเกี๋ยวกับมันอาจจะทำอะไรที่ผิดพลาดได้
          ส่วนคนที่เก่งด้านอิเล็กทรอนิกส์หรือวงจรไฟฟ้า ผมก็ไม่รู้ว่าเข้าใจแบบไหนกันบ้าง

          ผมไม่เก่งเรื่อง C มีกี่ค่าอะไรบ้าง ผมรู้แค่ว่ามันทำงานอย่างไร ใช้เพื่ออะไร
          ดังนั้นผมบอกไม่ได้ว่าควรจะต้องใช้เท่าไหร่ เพราะต้องพิจารณาจาก load และ Power source ก่อน
          ตามทฤษฏี RC circuit หรือถ้ามีความเหนี่ยวนำด้วยก็ต้องใช้ RLC circuit ถึงจะบอกได้ว่าค่าไหนคือค่าที่ดีควรใช้ เหมาะกับความถี่ไหน

          ผมไม่เก่งด้านการแปลงไฟ เนื่องจากไม่ได้สร้างหม้อแปลงใช้เอง
          แต่รู้ว่าควรใช้หม้อแปลงที่ให้ output เท่าไหร่ และสภาพไหนดี

          ผมไม่เคยใช้งานในชิ้นส่วนเฉพาะ Linear transformer หรือ Switching transformer
          เพราะงานผมไม่จำเป็นต้องใช้ แต่ถ้าทำเป็นส่วนจ่ายไฟมาแล้วผมก็ใช้
          แค่รู้ว่าจะต้องใช้ไฟเท่าไหร่ในการใช้งานของผมเท่านั้นเอง


          แต่ทั้งหมดที่ผมกล่าวไปแล้วไม่ได้ทำให้คำจำกัดความหรือนิยามของ
          Alternating Current (AC) และ Direct Current (DC) เปลี่ยนไป
          มันยังคงเป็นกระแสที่เดินทางสลับได้ กับกระแสที่เดินทางเดียวต่อไปไม่เคยเปลี่ยนแปลง
          ถึงแม้ว่ามันจะมีความต่างศักย์หรือกระแสเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรก็ตาม

          ผมต้องการแค่นำเอาความรู้ความเข้าใจของผมมาถ่ายทอดให้ เผื่อว่าจะเกิดประโยชน์ได้ไม่มากก็น้อย
          แต่สิ่งที่ไม่อยากให้เกิดมากที่สุดคือการที่มันไม่เกิดประโยชน์อะไรกับใครเลย
          การเข้ามาสิงอยู่ในเว็บนี้ ช่วงแรกผมอ่านอย่างเดียว จนเข้ามาสมัครตอนปี 2009
          เพราะอยากจะถามข้อมูลและแลกเปลี่ยนหรือแชร์ความรู้ที่มี
          มันจะได้ไม่หายไปตามกาลเวลา แล้วก็สิงมาเรื่อยจนบัดนี้
          Last edited by tawat_kun; 27 Jan 2014, 15:19:57. Reason: แก้คำผิด

          Comment


          • #20

            Comment


            • #21
              Originally posted by lairwtiare View Post
              จากที่ท่านเสือเคยบอกไว้ว่า C ที่ตอบสนองต่อความถี่สูงได้ดี มันจะแพง ราคาหลักร้อยขึ้นไป
              ก็เลยแนะนำ C พวกนี้มา (อันนี้ผมเข้าใจว่า น่าจะตอบสนองต่อความถี่สูงได้ดีกว่ายี่ห้อ ธรรมดาๆ)
              แต่อย่างไรก็ดีเพื่อช่วยให้ตอบสนองต่อความถี่สูงได้ดี ท่านเลยแนะนำ ไบแคป กับ C ฟิล์ม 0.1
              เพื่อช่วยในการตอบสนองต่อความถี่สูง

              ซึ่งผมว่ามันน่าจะช่วย คอมพ์มันดึงไฟไปใช้ประโยชน์ที่ความถี่สูงได้ดีขึ้น ประมาณว่าจ่ายทันใจ
              ซึ่งลักษณะนี้พวก PSU เทพๆทำได้ประมาณ 99 เปอร์เซ็นต์

              พูดไปพูดมา มันก็เรื่องไฟกระเพื่อม นั้นแหละ ฮ่าๆ
              อันนี้ผมก็อปปี้มาทั้งหมด จากที่พี่เสือ เคยถามความเข้าใจเรื่องไฟนะคับ เอามาให้ดูเฉยๆคับ ไม่ได้คิดอะไร

              Comment


              • #22
                แต่เรื่องหม้อแปลงนี้ - - หาคำตอบไม่ได้เลย ^ ^

                Comment


                • #23
                  Originally posted by lairwtiare View Post
                  แต่เรื่องหม้อแปลงนี้ - - หาคำตอบไม่ได้เลย ^ ^
                  ต้องถามท่าน m shifu
                  ท่านเก่งวงจรอิเล็กทรอนิกส์พวกนี้มาก

                  ยังไงเดี๋ยวผมตามไปคุยห้องเสียงนะครับ เกรงใจ จขกท.
                  Last edited by tawat_kun; 27 Jan 2014, 17:39:08.

                  Comment


                  • #24

                    Comment


                    • #25
                      ถึงจะเป็นกระทู้เก่าผ่านมาแล้วสองปีแต่ขอร่วมวงด้วยคนครับ
                      ขอแยกตอบเป็นสองส่วนนะครับ
                      เพื่อความเข้าใจไม่สับสนขออธิบายเรื่องพื้นฐานเป็นส่วนแรก
                      ๑. ไฟกระแสสลับ คือไฟที่มีแรงดันสลับไปมาระหว่างแรงดันบวกและลบ

                      ๒. ไฟกระแสตรง คือไฟที่มีแรงดันในช่วงบวกหรือลบช่วงเดียวเท่านั้น
                      จะเป็นไฟกระแสตรงค่าบวกหรือไฟกระแสตรงค่าลบก็ได้
                      ๓. ไฟกระแสตรงรูปคลื่น คือไฟกระแสตรงที่มีการเปลี่ยนแปลงค่าแรงดันสูงต่ำไม่สม่ำเสมอแต่แรงดันยังคงอยู่ในช่วง(บวกหรือลบ)เดียวกันตลอด
                      เป็นได้ทั้งไฟกระแสตรงค่าบวกหรือไฟกระแสตรงค่าลบ


                      ไฟกระแสตรงรูปคลื่น มีรูปแบบหลากหลาย เช่น ไฟกระแสตรงรูปเหลี่ยม ไฟกระแสตรงรูปฟันเลื่อย ไฟกระแสตรงรูปไซน์



                      ๔. พัดลมก็คือมอเตอร์ ซึ่งจำแนกแยกกันระหว่างมอเตอร์ไฟกระแสตรงและมอเตอร์ไฟกระแสสลับ
                      ๕. ส่วนประกอบของมอเตอร์ทั้งกระแสตรงและกระแสสลับจะคล้ายๆกันแตกต่างกันบางส่วน
                      ส่วนประกอบหลักก็จะมี แม่เหล็กถาวร แม่เหล็กไฟฟ้า ขดลวดและแกนเหล็ก(ส่วนที่ทำให้เกิดแม่เหล็กไฟฟ้า)
                      (ชื่ออย่างเป็นทางการของชิ้นส่วนแต่ละอย่างหากันเอาเองนะครับ)
                      ๖. พัดลมที่เรากำลังกล่าวถึงจะประกอบด้วยแม่เหล็กถาวรเป็นส่วนเคลื่อนที่(ใบพัดลม)
                      ขดลวดและแกนเหล็ก(รวมถึงวงจร)จะเป็นส่วนคงที่
                      ๗. การทำงานของมอเตอร์จะเริ่มเมื่อมีการป้อนกระแสไฟผ่านขดลวดซึ่งพันรอบแกนเหล็กทำให้เกิดแม่เหล็กไฟฟ้า
                      และจากหลักการที่ว่าแม่เหล็กขั้วต่างกันจะดูดกันและแม่เหล็กขั้วเหมือนกันจะผลักกัน จึงทำให้เกิดการเคลื่อนที่
                      ๘. เพิ่มเติมนอกประเด็นครับ พัดลมจะแรงหรือไม่แรงมีปัจจัยที่สำคัญคือความแรงของขั้วแม่เหล็ก
                      ซึ่งขึ้นอยู่กับขนาดของแม่เหล็กถาวร ขนาดของแกนเหล็ก จำนวนรอบของขดลวดทองแดง และกระแสไฟที่ป้อน
                      (ส่วนแรงลมนั้นไม่ได้ขึ้นกับความแรงของพัดลมอย่างเดียว ยังมีปัจจัยเรื่องใบพัดลมเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย)

                      ส่วนที่สองเป็นการตอบคำถามนะครับ
                      ๑. พัดลมที่ใช้ในคอมจะมีการควบคุมความเร็วอยู่สองแบบคือ
                      แบบแรกจะเป็นการควบคุมความเร็วโดยการปรับลด-เพิ่มแรงดันไฟฟ้า พัดลมสามพินจะใช้แบบนี้
                      แบบที่สองจะเป็นการใชัPWM
                      ๒. ทำความเข้าใจเรื่อง PWM
                      ขออธิบายโดยจำลองภาพการปั่นจักรยานนะครับ
                      ถ้าเราอยากไปเร็วๆก็บึ๊ดจ้ำบึ๊ด บึ๊ดจ้ำบึ๊ด กระหน่ำกันเข้าไป(ร้องเพลงบุญแข่งเรือ ของวงกะท้อนไปด้วยครับจะได้ไม่เหนื่อย จักรยานกับเรือพายก็คือกันอย่าคิดมากครับ)
                      ถ้าไม่อยากเหนื่อยมากเอาแบบสบายๆก็ปั่นไปแล้วหยุดให้ล้อหมุนฟรีสลับกันไป(ร้องเพลงสาวมอเตอร์ไซด์ ของคุณจรัล มโนเพ็ชร จะเข้ากันมาก)
                      ส่วนคนที่เซลล์สมองทำงานได้ดีกว่าเซลล์กล้ามเนื้อที่น่อง ก็ปั่นพอประมาณแล้วอาศัยหลักการเรื่องโมเมนตัมประคองรถไปเรื่อยๆ รถเริ่มหมดแรงส่งค่อยปั่นกันใหม่
                      ๓. PWMก็คือการจ่ายกระแสไฟให้กับมอเตอร์ตามสภาพการใช้งาน
                      จ่ายไฟต่อเนื่องเพื่อให้มอเตอร์ทำงานเต็มกำลัง

                      จ่ายไฟสลับกับหยุดเมื่อมอเตอร์ทำงานไม่มาก

                      ถ้ามอเตอร์ทำงานน้อยก็จ่ายไฟสลับกับหยุดจ่ายโดยช่วงเวลา(คาบ)ที่จ่ายไฟจะน้อยแล้วอาศัยโมเมนตัม(เหมือนล้อจักรยานหมุนฟรี)

                      ๔. พัดลมPWM ที่เรากำลังกล่าวถึงจึงมีการจ่ายไฟแบบไฟกระแสตรงรูปคลื่น
                      ๕. PWMเป็นการเปลี่ยนแปลงคาบเวลาในการจ่ายและหยุดจ่ายกระแสไฟฟ้า
                      ๖. การใช้วงจรPWMต่อกับพัดลมทั่วไปทำได้ครับ แต่กับพัดลมคอมผมยังไม่เคยทำครับ
                      ๗. ความน่าจะเป็นเท่าที่นึกออก คงเป็นวงจรอินเวอร์เตอร์(วงจรแปลงกระแสตรงค่าคงที่เป็นกระแสตรงรูปคลื่น)
                      นำมาป้อนเข้าขาบวกของพัดลม

                      (ต้องไม่ลืมด้วยว่า เป็นการเปลี่ยนแปลงคาบเวลาจ่าย-หยุดไม่ใช่ความถี่)
                      ๘. ทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นความรู้ของคนที่ไม่ใช่ช่างไฟฟ้า ถูกผิดอย่างไรก็ขออภัยล่วงหน้าครับ จบแล้วครับ
                      Last edited by hangover; 19 Jan 2016, 01:31:11.

                      Comment


                      • #26
                        Originally posted by lairwtiare View Post
                        และเมนบอร์ดบางตัว ที่มี 4 พิน บางทีมันก็ควบคุมรอบพัดลมโดยใช้ทั้งพินที่ 2 และ พินที่ 4 เลย ซึ่งก็ต้องลองเสียบดูว่ามันปรับได้ไหมคับ
                        เท่าที่ใช้มาบอร์ด ASUS จะคุมรอบได้ทั้งพิน 2 และ พิน 4 คือคุมได้ทั้ง voltage และ PWM โดยเราจะเลือกได้ว่าจะใช้ DC mode or PWM แต่บอร์ด MSI นี่ได้เฉพาะ PWM เรียกว่าถ้าใช้พัดลม 3 pin มันก็จะอ่านรอบได้เท่านั้น ควบคุมไรไม่ได้เลย
                        Originally posted by Notouchz33 View Post
                        หากที่ บอร์ด เป็นหัว 4 PIn พัดลม มี 3 PIN

                        เอาพัดลมเสียบเข้าบอร์ดได้เลยครับ ผมก็เสียบ ยังงั้น

                        รอบมันก็ปรับปกตินะครับ Idle ผม ประมาณ ไม่เกิน 1400 รอบ Full load ขึ้นไปเกือบ 2000 รอบครับ

                        Originally posted by lairwtiare View Post
                        1.ไม่รู้
                        2.แปลง 3 ขั้วเป็น 4 ขั้ว ทำได้ แต่ว่ายาก ต้องรื้อวงจรทั้งหมดออก แล้วทำวงจรใหม่ขึ้นมา คิดแค่เรื่องกัดปริืนส์ก็ปวดหมองแล้ว -ทำแล้วไม่คุ้มหรอก
                        3.พัดลม 4 พิน - พิน1.สายดิน,พิน2.ไฟ12โวลต์,พิน3.เซ็นเซอร์ตรวจจับรอบพัดลม,พิน4.ปรับรอบพัดลมโดยใช้PWM พอเป็นพัดลม 3 พิน ก็ตัดพินที่ 4 ออก
                        ในทางปฏิบัติ เราสามารถควบคุมรอบพัดลม โดยใช้ พินที่ 2 กะ พินที่ 4 โดย พินที่ 2 ถ้าลดแรงดันไฟลง รอบก็ลดลงด้วย ส่วนพินที่ 4 ปรับรอบโดยการเปลี่ยนลักษณะของคลื่นPWM

                        ดังนั้นถ้าย้ายไปต่อที่เมนบอร์ด สิ่งที่จะได้เพิ่มขึ้นมา คือสามารถรู้ว่าพัดลมวิ่งรอบเท่าไร ส่วน load mainboard อันนี้ถ้าไม่เกิน 1 แอมป์ก็ไม่ต้องกังวลเลย แต่สิ่งที่ตามมาคือ เมื่อไฟวิ่งที่เมนบอร์ดมากขึ้น ก็ย่อมเกิดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ารบกวนเพิ่มขึ้น แต่ก็เล็กน้อยเท่านั้นแหละ ถ้าพัดลมมันไม่กินกระแสมากเกินไป
                        - แต่บางทีพัดลมที่เห็นว่ามี 3 สาย แต่จริงๆแล้ว สายที่ 3 มันอาจจะเชื่อมติดแผ่นปริ็นส์ไว้เฉยๆ แต่ลายวงจร ไม่ได้ต่อกับอะไรเลย ประมาณว่า หลอกคนซื้อ

                        Comment


                        • #27
                          สุดยอดเลยฮ่ะ ท่าน HangOver อธิบายได้เห็นภาพจริงๆ แต่พิมพ์ยาวๆ ติดๆกันไปนิด อ่านยาก55+

                          ส่วนท่าน Motiis ก็มาเสริมในส่วนที่คาดไม่ถึงเลย ทุกวันนี้มีของทำมาหลอกๆเนอะ ผู้บริโภคอย่างเราซื้อมาก็ช้ำใจ
                          ขนาดพอรู้เรื่องไฟฟ้ามาบ้าง ก็ยังโดน


                          สุดท้ายขอบคุณทุกความคิดเห็นที่ช่วยกันแบ่งปันความรู้น่ะคับ
                          ผมไม่อยากให้กระทู้นี้ตกไปเลย

                          Comment

                          Working...
                          X