Announcement

Collapse
No announcement yet.

สงสัยเรื่องพัดลมแบบ 3 pin กับ 4 pin ครับ

Collapse
X
 
  • Filter
  • Time
  • Show
Clear All
new posts

  • สงสัยเรื่องพัดลมแบบ 3 pin กับ 4 pin ครับ

    คือผมกำลังหาซื้อพัดลมขนาด 140mm. มาใส่ในเคสและให้ดูดเป่าเข้าเคสอยู่ครับ แต่ว่าที่ MB. ผมมันมีแต่ขั้วต่อ 4ขั้ว Chassis Fan connector ซึ่งผมใช้ MB.ของ asus รุ่น P8Z77-V Pro. อยู่ครับ มันมีจุดต่อ Chassis Fan connector ทั้งหมด 4จุด และอยากจะให้พัดลมทำงานปรับรอบได้เองตามอุณหภูมิ ซึ่งมีข้อสงสัยอยู่ว่า

    1. พัดลม 4ขั้วขนาด 140mm. มันมีขายกันหรือไม่ครับ? เพราะเดินๆ หาที่พันธ์ทิตย์บางกะปิ, แฟร์ชั่นไอส์แลน, ซีคอน มีแต่พัดลม 3ขั้ว พอจะมีท่านใดรู้ที่ซื้อไหมครับ

    2. พัดลม 3ขั้ว เราสามารถ Modify ให้เป็น 4ขั้วได้ไหมครับ ท่านใดพอจะรู้เรื่องภายในพัดลมบางครับ

    3. สงสัยครับ เคสของผมมันมีพัดลมทั้งหมด 3ตัว แต่เป็นแบบ 3ขั้ว connector ทั้งหมด เห็นช่างที่ประกอบคอมให้ผมตอนซื้อมา เขาใช้หัวแปลงไปต่อตรงกับ PSU.เลย ถ้าผมย้ายไปต่อเข้ากับ MB. โดยตรงเลย จะทำให้เป็นการ load mainboard ให้ทำงานหนักเกินไปไหม หรือต่ออย่างเดิมดีอยู่แล้วครับ (ตอนกลางคืนเสียงมันจะดังไปหน่อย)

    ขอความคิดเห็นด้วยนะครับ

  • #2
    1.ไม่รู้
    2.แปลง 3 ขั้วเป็น 4 ขั้ว ทำได้ แต่ว่ายาก ต้องรื้อวงจรทั้งหมดออก แล้วทำวงจรใหม่ขึ้นมา คิดแค่เรื่องกัดปริืนส์ก็ปวดหมองแล้ว -ทำแล้วไม่คุ้มหรอก
    3.พัดลม 4 พิน - พิน1.สายดิน,พิน2.ไฟ12โวลต์,พิน3.เซ็นเซอร์ตรวจจับรอบพัดลม,พิน4.ปรับรอบพัดลมโดยใช้PWM พอเป็นพัดลม 3 พิน ก็ตัดพินที่ 4 ออก
    ในทางปฏิบัติ เราสามารถควบคุมรอบพัดลม โดยใช้ พินที่ 2 กะ พินที่ 4 โดย พินที่ 2 ถ้าลดแรงดันไฟลง รอบก็ลดลงด้วย ส่วนพินที่ 4 ปรับรอบโดยการเปลี่ยนลักษณะของคลื่นPWM

    ดังนั้นถ้าย้ายไปต่อที่เมนบอร์ด สิ่งที่จะได้เพิ่มขึ้นมา คือสามารถรู้ว่าพัดลมวิ่งรอบเท่าไร ส่วน load mainboard อันนี้ถ้าไม่เกิน 1 แอมป์ก็ไม่ต้องกังวลเลย แต่สิ่งที่ตามมาคือ เมื่อไฟวิ่งที่เมนบอร์ดมากขึ้น ก็ย่อมเกิดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ารบกวนเพิ่มขึ้น แต่ก็เล็กน้อยเท่านั้นแหละ ถ้าพัดลมมันไม่กินกระแสมากเกินไป
    - แต่บางทีพัดลมที่เห็นว่ามี 3 สาย แต่จริงๆแล้ว สายที่ 3 มันอาจจะเชื่อมติดแผ่นปริ็นส์ไว้เฉยๆ แต่ลายวงจร ไม่ได้ต่อกับอะไรเลย ประมาณว่า หลอกคนซื้อ

    Comment


    • #3
      และเมนบอร์ดบางตัว ที่มี 4 พิน บางทีมันก็ควบคุมรอบพัดลมโดยใช้ทั้งพินที่ 2 และ พินที่ 4 เลย ซึ่งก็ต้องลองเสียบดูว่ามันปรับได้ไหมคับ

      Comment


      • #4
        หากที่ บอร์ด เป็นหัว 4 PIn พัดลม มี 3 PIN

        เอาพัดลมเสียบเข้าบอร์ดได้เลยครับ ผมก็เสียบ ยังงั้น

        รอบมันก็ปรับปกตินะครับ Idle ผม ประมาณ ไม่เกิน 1400 รอบ Full load ขึ้นไปเกือบ 2000 รอบครับ

        Comment


        • #5
          1. พัดลม 140 mm. แบบ PWM (4 PIN) ในท้องตลาดไม่เห็นเหมือนกันครับ แต่ส่วนใหญ่รอบจะไม่สูงนัก ผมว่าให้หมุนเต็มที่ก็ไม่ดังเท่าไหร่
          2. โมยากครับ พื้นที่น้อย สู้หาซื้อ ตัวปรับรอบพัดลมมาใส่ดีกว่า ปรับได้หลายตัวด้วย
          3. ต่อกับเมนบอร์ดไม่มีปัญหาหรอกครับ เค้าออกแบบมาให้ต่อพัดลมอยู่แล้ว และเมนบอร์ดรุ่นใหม่ๆ สามารถปรับรอบจากโปรแกรมได้ด้วยครับ

          Comment


          • #6
            พัดลม 4Pin 140mm ที่ร้าน TK com มีขายครับ ของ prolimatech เป็นแบบบางครับ
            Last edited by brontes; 10 Jan 2014, 02:55:37.

            Comment


            • #7
              ขอคุณทุกท่านที่ช่วยตอบและให้ความรู้ครับ

              หากที่ บอร์ด เป็นหัว 4 PIn พัดลม มี 3 PIN

              เอาพัดลมเสียบเข้าบอร์ดได้เลยครับ ผมก็เสียบ ยังงั้น

              รอบมันก็ปรับปกตินะครับ Idle ผม ประมาณ ไม่เกิน 1400 รอบ Full load ขึ้นไปเกือบ 2000 รอบครับ
              ผมจะลองต่อตามแบบท่าน Notouchz33 ดูครับ ผมก็ลองไปดูคอมเครื่องตัวเก่าของผมอีกเครื่องหนึ่งดู พัดลม CPU. มันก็มีแค่ 3ขั้ว มันก็ปรับความเร็วรอบได้เองตามความร้อน (แล้วมันจะทำแบบ 4ขั้วมาทำไมนี่...งง ?) หรือเป็นเพราะแบบ 4ขั้วสามารถควบคุมรอบพัดลมได้ละเอียดกว่าหรือครับ

              Comment


              • #8
                Originally posted by Thanes007 View Post
                ขอคุณทุกท่านที่ช่วยตอบและให้ความรู้ครับ



                ผมจะลองต่อตามแบบท่าน Notouchz33 ดูครับ ผมก็ลองไปดูคอมเครื่องตัวเก่าของผมอีกเครื่องหนึ่งดู พัดลม CPU. มันก็มีแค่ 3ขั้ว มันก็ปรับความเร็วรอบได้เองตามความร้อน (แล้วมันจะทำแบบ 4ขั้วมาทำไมนี่...งง ?) หรือเป็นเพราะแบบ 4ขั้วสามารถควบคุมรอบพัดลมได้ละเอียดกว่าหรือครับ
                ใช่แล้วครับ แบบ 4 พิน เป็นการควบคุมการหมุนของพัดลมแบบ Pulse Width Modulation (PWM)
                การทำงานจะแม่นยำกว่า นุ่มนวลกว่า ละเอียดกว่า

                แต่ความต้องการจริงๆของ PWM คือมันควรจะเงียบกว่าแบบ 3 pin

                Comment


                • #9
                  พัดลมมันหมุนด้วยไฟ AC แต่ใช้ DC จึงวงจรแปลงไฟในตัวมันอยู่แล้วคับ
                  ในส่วน 3 พิน ค่าความถี่สัญญาณไฟ AC มันตายตัวคับ จะปรับรอบจึงจำเป็นต้องลดแรงดันไฟเอา ซึ่งลดมากๆ วงจรที่กำเนิดความถี่ในชุดไฟ AC จะไม่ทำงาน ผลคือพัดลมหยุดหมุน

                  ในส่วน 4 พิน ค่าความถี่สัญญาณไฟ AC มันน่าจะเปลี่ยนแปลงตามสายที่ 4 นะคับ ทำรอบพัดลม ลดลงตามที่ควรเป็น โดยใช้ไฟเลี้ยงเท่าเดิม ซึ่งวงจรเสถียรมากกว่าคับ

                  แต่เมนบอร์ดก็ฉลาดเนอะ ใช้สายที่ 3 ตรวจจับรอบพัดลมเพื่อ่จะได้รู้ว่า ควรใช้วิธีไหนควบคุมพัดลมดี

                  Comment


                  • #10
                    Originally posted by lairwtiare View Post
                    พัดลมมันหมุนด้วยไฟ AC แต่ใช้ DC จึงวงจรแปลงไฟในตัวมันอยู่แล้วคับ
                    ในส่วน 3 พิน ค่าความถี่สัญญาณไฟ AC มันตายตัวคับ จะปรับรอบจึงจำเป็นต้องลดแรงดันไฟเอา ซึ่งลดมากๆ วงจรที่กำเนิดความถี่ในชุดไฟ AC จะไม่ทำงาน ผลคือพัดลมหยุดหมุน

                    ในส่วน 4 พิน ค่าความถี่สัญญาณไฟ AC มันน่าจะเปลี่ยนแปลงตามสายที่ 4 นะคับ ทำรอบพัดลม ลดลงตามที่ควรเป็น โดยใช้ไฟเลี้ยงเท่าเดิม ซึ่งวงจรเสถียรมากกว่าคับ

                    แต่เมนบอร์ดก็ฉลาดเนอะ ใช้สายที่ 3 ตรวจจับรอบพัดลมเพื่อ่จะได้รู้ว่า ควรใช้วิธีไหนควบคุมพัดลมดี
                    ไฟ AC กับ DC แบบ sine wave ไม่เหมือนกันนะครับ

                    อีกอย่าง PWM เป็นสัญญาณ DC แบบแท่งสี่เหลียม (Pulse) จะมีการเปลี่ยนความกว้าง(Width) แล้วทำการส่งออกไป(Modulation) เพื่อควบคุม
                    ส่วนใหญ่ขาที่ 3 จะไว้คอยดูรอบพัดลม ส่วนขาที่ 4 จะเอาไว้ควบคุม ดังนั้นแบบ 3 พินจึงจะปรับรอบไม่ได้ แต่อ่านรอบได้ (ยกเว้นมีพัดลมของ tt FRIO ใส่ตัวปรับรอบมา เป็นตัว drop ไฟ)
                    และเป็นเหตุผลว่าทำไมจึงไม่มีขาแปลงจาก 3 พิน เป็น 4 พิน เพราะมันปรับรอบด้วยวิธีทางความกว้างของสัญญาณ ไม่ใช่ ความแรงของไฟน่ะครับ

                    สัญญาณควบคุมจะเป็นแบบนี้ครับ ไฟของสัญญาณส่วนใหญ่จะราวๆ 5V แต่ส่วนของไฟเลี้ยงแดงดำจะเป็น 12V ตามปกติ

                    2014-01-21_182604.png

                    ป.ล. พอดีเพิ่งเข้ามาดู
                    Last edited by tawat_kun; 21 Jan 2014, 18:31:38.

                    Comment


                    • #11
                      Originally posted by tawat_kun View Post
                      ไฟ AC กับ DC แบบ sine wave ไม่เหมือนกันนะครับ

                      อีกอย่าง PWM เป็นสัญญาณ DC แบบแท่งสี่เหลียม (Pulse) จะมีการเปลี่ยนความกว้าง(Width) แล้วทำการส่งออกไป(Modulation) เพื่อควบคุม
                      ส่วนใหญ่ขาที่ 3 จะไว้คอยดูรอบพัดลม ส่วนขาที่ 4 จะเอาไว้ควบคุม ดังนั้นแบบ 3 พินจึงจะปรับรอบไม่ได้ แต่อ่านรอบได้ (ยกเว้นมีพัดลมของ tt FRIO ใส่ตัวปรับรอบมา เป็นตัว drop ไฟ)
                      และเป็นเหตุผลว่าทำไมจึงไม่มีขาแปลงจาก 3 พิน เป็น 4 พิน เพราะมันปรับรอบด้วยวิธีทางความกว้างของสัญญาณ ไม่ใช่ ความแรงของไฟน่ะครับ

                      สัญญาณควบคุมจะเป็นแบบนี้ครับ ไฟของสัญญาณส่วนใหญ่จะราวๆ 5V แต่ส่วนของไฟเลี้ยงแดงดำจะเป็น 12V ตามปกติ

                      [ATTACH=CONFIG]2639066[/ATTACH]

                      ป.ล. พอดีเพิ่งเข้ามาดู
                      มันก็คือไฟ AC นี้ อย่าแปลเป็นไฟกระแสสลับสิ เอาตามภาษาอังกฤษเลย ก็อยู่ในนิยาม
                      (ไฟที่เปลี่ยนแปลงแรงดันตลอดเวลาทุกชนิดเป็นไฟ AC หมดแหละคับ - - ไฟบ้าน,signal,etc...)
                      ยังไงก็ขอบคุณ ผมก็พึ่งรู้ว่าลักษณะคลื่นมันเป็นแบบดิจิตอล เลย

                      Comment


                      • #12
                        Originally posted by lairwtiare View Post
                        มันก็คือไฟ AC นี้ อย่าแปลเป็นไฟกระแสสลับสิ เอาตามภาษาอังกฤษเลย ก็อยู่ในนิยาม
                        (ไฟที่เปลี่ยนแปลงแรงดันตลอดเวลาทุกชนิดเป็นไฟ AC หมดแหละคับ - - ไฟบ้าน,signal,etc...)
                        ยังไงก็ขอบคุณ ผมก็พึ่งรู้ว่าลักษณะคลื่นมันเป็นแบบดิจิตอล เลย
                        AC มาจาก Alternating Current มันคือการกลับไปกลับมาของทิศทางของกระแสไฟฟ้า หรือ current
                        แต่ไฟ DC มันคือไฟฟ้าที่มีกระแสไหลไปในทิศทางเดียวกันตลอดเวลาครับ
                        ดังนั้นไม่ได้หมายความว่าไฟที่มีกระแสขึนลง จาก 0 ถึง 5 โวลท์ หรือขึ้นลงจาก 0 ถึง 1 แอมป์ จะกลายเป็นไฟฟ้า AC
                        มันยังคงเป็นไฟฟ้า DC อยู่ เพราะกระแสไม่มีค่าเป็นลบ

                        ไฟฟ้า DC จะกลับทิศทางได้ต้องทำการเปลี่ยนขั้ว แต่ไฟฟ้า AC ขั้วยังต่อเหมือนเดิม แต่กระแสจะไหลสลับไปมา เป็นรูปร่างประมาณ sine wave (เรียกรวมๆว่า sinusoidal)
                        มีแกน x ตัดแกน y ที่ 0

                        แต่ถ้าไฟฟ้า DC แบบ sine wave ถ้ามี amplitude 1V อาจจะขึ้นลง จาก 0V ถึง 2V ไม่ใช่ -1V ถึง 1V
                        ขึ้นอยู่กับไฟ reference (Vref)ว่าอยู่เท่าไหร่ (ในกรณีนี้) Vref=1V
                        Vref=5V จะเป็น sine wave แบบ จุดต่ำสุดอยู่ที่ 4V สูงสุด 6V

                        ถ้าไฟฟ้า AC ที่มี Amplitude เท่ากับ 1A จะขึ้นลง 1A แบบสลับข้าง
                        ถ้าพูดว่าทิศทางตรงข้ามคือ "-" ก็จะเป็น -1A ถึง 1A

                        อธิบายได้ประมาณนี้แหละครับ
                        Last edited by tawat_kun; 22 Jan 2014, 08:59:13.

                        Comment


                        • #13
                          เพิ่มเติมอีกนิดนึงครับ เป็นคำถาม

                          1. ถ้ามีตัวแปลงไฟฟ้า DC to DC ที่แปลงไฟฟ้า จาก 5V ได้เป็น รูปร่าง sine wave 1mV 1MHz ไฟฟ้าที่ออกมานี้จะเป็นไฟฟ้า DC หรือ AC เพราะอะไร
                          2. ถ้ามี transformer แปลงไฟฟ้าจาก 220V, 50Hz ไปเป็น 5V, 1aHz (atto Hertz=10^(-18) Hertz) ไฟฟ้าที่ออกมาจะเป็น AC / DC

                          Comment


                          • #14
                            Originally posted by tawat_kun View Post
                            AC มาจาก Alternating Current มันคือการกลับไปกลับมาของทิศทางของกระแสไฟฟ้า หรือ current
                            แต่ไฟ DC มันคือไฟฟ้าที่มีกระแสไหลไปในทิศทางเดียวกันตลอดเวลาครับ
                            ดังนั้นไม่ได้หมายความว่าไฟที่มีกระแสขึนลง จาก 0 ถึง 5 โวลท์ หรือขึ้นลงจาก 0 ถึง 1 แอมป์ จะกลายเป็นไฟฟ้า AC
                            มันยังคงเป็นไฟฟ้า DC อยู่ เพราะกระแสไม่มีค่าเป็นลบ
                            Alternating Current -> Alternate มันแปลว่า ทางเลือกไม่ใช่หรอ ผมเลยไม่คิดว่าจะเกี่ยวกับค่าติดลบ

                            ไฟฟ้า DC จะกลับทิศทางได้ต้องทำการเปลี่ยนขั้ว แต่ไฟฟ้า AC ขั้วยังต่อเหมือนเดิม แต่กระแสจะไหลสลับไปมา เป็นรูปร่างประมาณ sine wave (เรียกรวมๆว่า sinusoidal)
                            มีแกน x ตัดแกน y ที่ 0

                            แต่ถ้าไฟฟ้า DC แบบ sine wave ถ้ามี amplitude 1V อาจจะขึ้นลง จาก 0V ถึง 2V ไม่ใช่ -1V ถึง 1V
                            ขึ้นอยู่กับไฟ reference (Vref)ว่าอยู่เท่าไหร่ (ในกรณีนี้) Vref=1V
                            Vref=5V จะเป็น sine wave แบบ จุดต่ำสุดอยู่ที่ 4V สูงสุด 6V

                            ถ้าไฟฟ้า AC ที่มี Amplitude เท่ากับ 1A จะขึ้นลง 1A แบบสลับข้าง
                            ถ้าพูดว่าทิศทางตรงข้ามคือ "-" ก็จะเป็น -1A ถึง 1A

                            อธิบายได้ประมาณนี้แหละครับ

                            Comment


                            • #15
                              Originally posted by tawat_kun View Post
                              เพิ่มเติมอีกนิดนึงครับ เป็นคำถาม

                              1. ถ้ามีตัวแปลงไฟฟ้า DC to DC ที่แปลงไฟฟ้า จาก 5V ได้เป็น รูปร่าง sine wave 1mV 1MHz ไฟฟ้าที่ออกมานี้จะเป็นไฟฟ้า DC หรือ AC เพราะอะไร
                              Output ; Vref ??
                              2. ถ้ามี transformer แปลงไฟฟ้าจาก 220V, 50Hz ไปเป็น 5V, 1aHz (atto Hertz=10^(-18) Hertz) ไฟฟ้าที่ออกมาจะเป็น AC / DC
                              ถ้าหม้อแปลงอย่างเดียว จะทำงานได้ก็ต้องใช้ไฟ AC (เพราะจำเป็นต้องอาศัยสนามแม่เหล็ก) และไฟออกมาก็เป็น AC เพราะมาจากสนามแม่เหล็ก
                              แต่ถ้าพูดถึง ตัวแปลงไฟฟ้า(Adaptor) มันจะมีวงจรเรียงกระแสเพิ่มขึ้นมา มันจะได้ไฟ DC ผสม AC หน่อยๆ แล้วถ้าเป็นวงจรดีๆหน่อย จะมี C ฟิลเตอร์ ก็จะทำให้ไฟ AC ที่ผสมอยู่มันลดลง
                              มีคำถามท้ายบทด้วยแฮะ

                              Comment

                              Working...
                              X