Announcement

Collapse
No announcement yet.

รู้จักกับ Modem แบบต่าง ๆ และหลักการเลือกซื้อให้ถูกวิธี

Collapse
X
 
  • Filter
  • Time
  • Show
Clear All
new posts

  • รู้จักกับ Modem แบบต่าง ๆ และหลักการเลือกซื้อให้ถูกวิธี

    โมเด็ม หรือ Modem ย่อมาจากคำว่า Modulation/Demodulation มีหน้าที่หลักคือ ทำการแปลงสัญญาณ ดิจิตอล ให้เป็นสัญญาณ เสียง และแปลง สัญญาณเสียง กลับมาเป็น สัญญาณดิจิตอล หรือทำความเข้าใจแบบง่าย ๆ ก็คือทำการแปลงข้อมูลต่าง ๆ ในระบบคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณเสียง เพื่อให้สามารถส่งออกไปทางคู่สายโทรศัพท์ได้ โดยที่ปลายทางก็จะมี Modem ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณเสียงที่ได้ กลับมาเป็นข้อมูลต่าง ๆ เหมือนเดิมได้

    ประโยชน์ที่เห็นและใช้งานกันค่อนข้างมาก คือการนำมาใช้สำหรับส่งข้อมูลต่าง ๆ หรือใช้สำหรับการเชื่อมต่อกับระบบอินเตอร์เน็ต นั่นเอง ซึ่งในที่นี้จะขอแนะนำให้ทำความรู้จักกับ โมเด็มแบบต่าง ๆ ไว้พอเป็นพื้นฐาน สำหรับการทำความเข้าใจเบื้องต้น

    มาตราฐานต่าง ๆ ของโมเด็ม

    สมัยแรก ๆ โมเด็มที่มีใช้งาน จะมีความเร็วแค่เพียง 1,200 bps เท่านั้น และได้มีการพัฒนาความเร็วให้มากขึ้นไปเรื่อย ๆ จนถึงปัจจุบัน ความเร็วของโมเด็มจะอยู่ที่ 56Kbps มาตราฐานของโมเด็มแต่ละรุ่นตามตารางต่อไปนี้


    รูปดูด้านล่างนะ


    Baud Rate คืออัตราการเปลี่ยนแปลงของลูกคลื่นสัญญาณ โดยมากจะมีค่าเป็น 2,400
    Bit Rate คืออัตราการส่งข้อมูล ที่สามารถรับส่งได้จริง

    ในส่วนของโมเด็มที่มีความเร็วสูงกว่า 33.6Kbps หรือที่เห็นเป็น 56Kbps นั้น ความจริงแล้วจะมีอัตราการรับข้อมูลได้สูงสุด ไม่เกิน 53Kbps และสามารถส่งข้อมูลได้สูงสุดเพียงแค่ประมาณ 33.6Kbps เท่านั้น ลองนึกภาพการเอาโมเด็มแบบ 56Kbps 2 ตัวมาต่อกันโดยตรง จะเห็นว่าถ้าหากอัตราการส่งข้อมูล จะได้ไม่เกิน 33.6Kbps หมายความว่า เราจะสามารถต่อโมเด็ม 2 ตัวด้วยกันตรง ๆ ได้ความเร็วไม่เกิน 33.6Kbps นะครับ หลายท่านคงจะงง ว่าแล้วที่เห็นความเร็วได้สูงกว่านั้นล่ะ คืออะไร คำตอบก็คือระบบ โมเด็มที่ ISP ส่วนใหญ่ใช้งานกันในการให้บริการด้วยความเร็ว 56Kbps จะเป็นการต่อโดยตรง เข้ากับชุมสายโทรศัพท์แบบดิจิตอล จึงทำให้สามารถส่งข้อมูลที่ความเร็วสูงสุด 53Kbps ได้ (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพ ของคู่สายและองค์ประกอบอื่น ๆ ด้วย)

    นอกจากนี้ หากการเชื่อมต่อโมเด็มในแบบ 56Kbps โดยมีการต่อผ่านระบบ PABX หรือระบบโทรศัพท์ตู้สาขาต่าง ๆ (เช่น ตามหอพักหรือโรงแรม) จะสามารถเชื่อมต่อด้วยความเร็วสูงสุดที่ประมาณ 33.6Kbps เท่านั้น ด้วยเหตุผลที่ว่า ระบบ PABX จะมีการลดทอนระดับสัญญาณต่าง ๆ ลงไปอีก หากต้องการต่อใช้งานให้ได้ความเร็วใกล้เคียงกับ 56Kbps ก็ต้องต่อโดยใช้ สายโทรศัพท์ที่เป็นสายตรงจากชุมสายโทรศัพท์เท่านั้น

    มาตราฐานของ X2, K56Flex และ V.90

    ครั้งแรกที่มีการคิดมาตราฐานของโมเด็มที่มีความเร็วสูงกว่า 33.6Kbps หรือที่เรียกว่า 56Kbps จะมีอยู่ 2 มาตราฐานที่เกิดขึ้นมาก่อน แต่ไม่สามารถใช้งานด้วยกันได้ นั่นคือ X2 และ 56K Flex ซึ่งทำให้ผู้ใช้งานโมเด็ม ของทั้งสองมาตราฐานนี้ จะต้องใช้งานกับ ISP ที่รองรับระบบนั้น ๆ เท่านั้น ต่อมา เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหานี้ และการทำให้เป็นมาตราฐานเดียวกัน จึงได้มีมาตราฐาน V.90 เกิดขึ้นสำหรับการใช้งานในความเร็ว 56Kbps ซึ่งโมเด็มหลาย ๆ ยี่ห้อก็จะมีความสามารถ upgrade จากระบบเดิมให้เป็นแบบ V.90 ได้ด้วย ดังนั้นหากจะเลือกซื้อโมเด็มมาใช้งานในปัจจุบัน ควรเลือกยี่ห้อหรือรุ่นที่รองรับมาตราฐาน V.90 ไว้ด้วย เพื่อจะได้ไม่มีปัญหาในการใช้งาน

    ควรจะเปลี่ยนโมเด็มตัวใหม่หรือยัง

    จากประสบการณ์การใช้งานจริง โดยการใช้โมเด็มที่มีความเร็วตั้งแต่ 28.8Kbps, 33.6Kbps และ 56Kbps จะมีความรู้สึกที่ไม่ค่อยแตกต่างกันมากนัก โดยที่โมเด็มความเร็ว 56Kbps ที่เคยใช้งานจะสามารถต่อได้จริงที่ประมาณ 45Kbps ซึ่งหากเทียบกับการใช้งานโมเด็ม 28.8Kbps แล้วบอกได้เลยว่า ไม่รู้สึกถึงความแตกต่างมากนัก โดยเฉพาะ การใช้งานเล่น อินเตอร์เน็ต เปิดเว็บเพจแบบทั่ว ๆ ไป แต่ถ้าหากเป็นการใช้สำหรับดาวน์โหลดข้อมูลหรือไฟล์ต่าง ๆ ก็จะรู้สึกได้ว่าโมเด็มแบบ 56Kbps จะเร็วกว่าหน่อยนึง ดังนั้น หากใครที่ใช้โมเด็มความเร็วที่ 28.8Kbps อยู่ตอนนี้บอกได้เลยว่าไม่คุ้มที่จะเปลี่ยนเป็น 56Kbps ครับ ยกเว้นว่าคุณจะเป็นนักดาวน์โหลดข้อมูล ที่เน้นการดาวน์โหลดจริง ๆ

    ใช้โมเด็มแบบ Internal หรือ External ดี

    ลักษณะของโมเด็มสามารถแบ่งตามรูปร่างได้เป็น 2 แบบคือแบบติดตั้งภายใน (Internal) และแบบติดตั้งภายนอก (External) ทั้งสองอย่างนี้ก็มีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป ดังนั้นก่อนการเลือกซื้อลองพิจารณาข้อมูล ความแตกต่างและการใช้งาน

    Internal Modem External Modem
    ราคาถูก ราคาแพง
    ติดตั้งยาก ต้องเปิดฝาเครื่องเพื่อติดตั้ง ติดตั้งโดยใช้สายเคเบิลต่อผ่าน Serial Port
    ไม่เปลือง Serial Port ของเครื่องคอมพิวเตอร์ จะเปลือง Serial Port เพราะใช้ในการต่อกับโมเด็ม
    เคลื่อนย้ายไปใช้กับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นได้ลำบาก เคลื่อนย้ายไปใช้กับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นได้ง่าย
    ต้องการ ซีพียู ความเร็วสูงหรือ MMX ขึ้นไป ใช้กับ ซีพียู รุ่นเก่า ๆ ได้
    ไม่ต้องมีการต่อสายไฟหรือแหล่งจ่ายไฟเพิ่มเติม ต้องมีแหล่งจ่ายไฟและต่อสายไฟต่างหาก
    พบปัญหาต่าง ๆ ได้บ่อย เช่นสายหลุดง่าย ไม่ค่อยมีปัญหาในการใช้งาน

    WinModem

    มีโมเด็มบางประเภทที่ทำเป็นการ์ดเสียบในเครื่อง โดยตัดฟังค์ชันการควบคุมออกไป เหลือแต่ตัวแปลงสัญญาณ แล้วใช้ซีพียูทำงานแทน มักจะเรียกกันว่า WinModem หรือ Modem Riser โมเด็มประเภทนี้มีข้อดีคือ จะมีราคาถูกแต่จะต้องการซีพียู ที่มีความเร็วสูง ๆ จึงจะใช้งานได้ ข้อเสียคือ จะต้องใช้ซีพียูในการทำงานด้วยส่วนหนึ่ง จึงเป็นการไปถ่วงการทำงานของซีพียู จึงมักจะไม่นิยมใช้งานกัน

    Voice โมเด็ม

    ในโมเด็มบางรุ่น มีการเพิ่มความสามารถในการจัดการเรื่องของเสียงเข้าไป ทำให้สามารถใช้งานโมเด็มได้มากขึ้นเช่น เป็นระบบรับฝากข้อความ ระบบ Voice Mail Box หรือระบบการตอบรับโทรศัพท์ต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับซอฟต์แวร์ที่มีมาให้ด้วย นอกจากนี้ โมเด็มบางรุ่นสามารถทำงานได้ด้วยตัวเอง โดยที่ไม่ต้องเปิดเครืองคอมพิวเตอร์ไว้ก็ได้ เช่นตั้งให้เป็นเครื่องรับ FAX ได้โดยไม่ต้องเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ทิ้งไว้ โดยที่ราคาของโมเด็มแบบนี้ก็อาจจะแพงกว่าแบบธรรมดา

    FAX โมเด็ม

    โมเด็มที่มีความเร็วตั้งแต่ประมาณ 9,600 bps ขึ้นไปส่วนใหญ่จะมีการเพิ่มความสามารถในการรับส่ง FAX เข้ามาด้วย ที่จริงแล้ว การรับส่ง FAX กับการรับส่งข้อมูลของโมเด็มจะเป็นคนละมาตราฐานกัน และชุดคำสั่งก็จะแตกต่างกัน ดังนั้น หากเลือกซื้อโมเด็มใหม่ ก็ลองสังเกตุตรงนี้ด้วย ว่าสามารถใช้งานการรับส่ง FAX ได้ด้วยหรือไม่ หลักการใช้งานของ FAX โมเด็มคือ ในการส่ง FAX นั้น Windows ก็จะมองว่า FAX โมเด็มนั้นเป็นเครืองพิมพ์ตัวหนึ่ง ที่กำลังจะพิมพ์งานออกไป ส่วนการรับ FAX ก็จะมองว่าเป็นการรับไฟล์รูปภาพของ FAX ที่กำลังจะส่งเข้ามานั่นเอง ส่วนใหญ่แล้วจะนิยมใช้ซอฟต์แวร์ WINFAX ในการใช้งานรับส่ง FAX เพราะเป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้งานได้ค่อนข้างง่าย

    No dial tone detect
    การแก้ไขปัญหา No dial tone detect เมื่อทำการต่ออินเตอร์เน็ต ถ้าข้อความแบบนี้เกิดขึ้น (มักจะเป็นกับบางคู่สายโทรศัพท์) ปีญหานี้เกิดจากตัวชิปของโมเด็ม ไม่สามารถรับรู้สัญญาณ dial tone ที่ส่งมาจากชุมสายโทรศัพท์ได้ ด้วยเหตุผลอะไรซักอย่าง การแก้ไขทำได้โดยการยกเลิกการ detect dial tone ออกซะ โดยการเลือกที่เมนู Properties ของ Connection นั้น ๆ เลือกที่ Configure... และเลือกที่ Connection ทำการยกเลิกการติ๊กที่ช่อง Wait for dial tone before dialing ครับ

    การแก้ไขปัญหาสายหลุดบ่อย
    เป็นปัญหาที่อาจจะยังไม่มีวิธีการแก้ไขที่ดีนัก แต่ให้ลองใส่ค่า s10=255 เข้าไปในช่องของ Extra Setting โดยเข้าที่ Properties >> Configure >> Connection >> Advanced >> Extra Setting ครับ อาจจะช่วยได้บ้าง

    ทั้งหมดนี้ คงจะทำให้ได้รู้จักกับโมเด็มกันมากขึ้นบ้างนะครับ อาจจะไม่มีรายละเอียดมากนักแต่หวังว่าอย่างน้อย คุณก็ได้รู้จักกับอุปกรณ์ ที่ต้องใช้งานกันอยู่เกือบทุกวันได้มากขึ้น

  • #2
    โมเด็มกำลังต่อด้วยความเร็วเท่าไร

    การดูความเร็วของโมเด็มในขณะที่ใช้งานอยู่นั้น สามารถดูได้จากที่ไอคอน ของการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตทางด้านล่าง ขวามือ โดยจะมีรูปและรายละเอียดของการเชื่อมต่อ รวมถึงความเร็วที่ต่อได้ในขณะนั้นแสดงไว้ (สำหรับบางเครื่องที่ลง Driver ของโมเด็มไม่ถูกต้อง ค่าความเร็วการเชื่อมต่ออาจจะแสดงผิดพลาด เช่นกลายเป็น 115,200 กรณีนี้ ให้ลองหา Driver ของ Modem มาลงใหม่ดูนะครับ)



    ทำความเข้าใจกับโมเด็มกันก่อน

    ก่อนการเริ่มต้นปรับแต่งหรือปรับเปลี่ยนการทำงานต่าง ๆ ของโมเด็ม ลองมาทำความเข้าใจและรู้จักกับโมเด็มแบบต่าง ๆ กันก่อน เพื่อเป็นความรู้ในเบื้องต้น และเป็นการทำความรู้จักกับโมเด็มที่เราใช้งานอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ ว่าเป็นแบบไหน ระบบใด ด้วยครับ รายละเอียดให้อ่านที่หน้า รู้จักกับ Modem แบบต่าง ๆ ครับ

    ปรับแต่งเครื่องคอมพิวเตอร์ ให้ทำงานได้เร็วขึ้น

    หลังจากนั้น มาทำการปรับแต่งคอมพิวเตอร์ หรือระบบ Windows 98 ให้สามารถทำงานได้เร็วขึ้นก่อน อาจจะไม่เกี่ยวกับ การใช้งานมเด็มท่าไรนัก แต่ส่วนหนึ่งก็คือ ช่วยให้การใช้งานคอมพิวเตอร์นั้น มีประสิทธิภาพและทำงานได้เร็วขึ้น ไม่มากก็น้อยครับ รายละเอียดให้อ่านที่หน้า ปรับแต่ง Windows ให้เร็วขึ้น ครับ

    เริ่มต้นการปรับเปลี่ยนการใช้งานโมเด็ม

    มีปัจจัยหลาย ๆ อย่างในการใช้งานโมเด็ม ให้ได้ความเร็วสูงขึ้น ลองมาดูและพยายามปรับเปลี่ยนตามให้ได้มากหัวข้อที่สุดนะครับ ข้อไหนที่ติดปัญหา ทำไม่ได้หรือไม่สะดวกก็อาจจะข้ามไปได้ แต่อย่างไรก็ตาม อยากให้ทำการตรวจสอบและทำตามนี้ในทุก ๆ หัวข้อครับ เพื่อการใช้งานให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด

    1. Update Driver ของโมเด็มให้เป็นเวอร์ชันใหม่

    หากหาได้ ควรที่จะทำการหา Driver ของโมเด็มที่เป็นเวอร์ชันใหม่ ๆ มาลงแทนของเดิม เนื่องจากใน Driver ใหม่ ๆ อาจจะมีการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ของโมเด็มนั้นได้ แหล่งที่ใช้สำหรับหา Driver ก็คือเว็บไซต์ของผู้ผลิตโมเด็มนั่นแหละครับ หากหาไม่ได้ ลองเข้าไปดูตามเว็บไซต์ที่มี Driver ต่าง ๆ เช่น http://www.driverfiles.net , http://www.windrivers.com หรือ http://www.driverzone.com ครับ

    2. หลีกเลี่ยงการใช้โมเด็มแบบ Internal หรือแบบ Built in

    โมเด็มแบบ Internal หรือแบบ Built in ที่มีมากับเมนบอร์ดบางรุ่น ส่วนมากจะเป็นการ์ดเล็ก ๆ ใช้เสียบกับสล็อต PCI หรือ AMR บนเครื่องคอมพิวเตอร์ โมเด็มพวกนี้จะมีราคาถูกกว่าแบบ External หลายเท่า แต่ข้อเสียคือ จะเป็นโมเด็มที่เรียกว่า ซอฟต์แวร์โมเด็ม ซึ่งจะต้องใช้ ซีพียู ส่วนหนึ่งช่วยในการทำงานด้วย ดังนั้น หากความเร็วของซีพียูไม่มากพอ (ควรจะเป็น 200MMX ขึ้นไป) อาจจะก่อให้เกิดปัญหาสายหลุดบ่อย ๆ ตามมาได้ ดังนั้น หากเป็นไปได้ ควรจะยอมจ่ายเงินเพิ่มอีกหน่อย ซื้อโมเด็มแบบ External มาใช้ดีกว่าครับ แต่ก็อาจจะมีโมเด็มบางรุ่นที่เป็นลักษณะของ Internal Modem แต่ทำงานในแบบ ฮาร์ดแวร์โมเด็มได้ เช่นของ wincomm ในกรณีเช่นนี้ก็ใช้ได้เหมือนกันครับ ในกรณีที่คุณมีโมเด็มแบบ Internal อยู่แล้วก็ไม่เป็นไร ใช้ไปเถอะครับ ถ้าไม่สร้างปัญหาให้คุณมากนัก ก็คงจะไม่จำเป็นถึงกับต้องเสียเงินเปลี่ยนโมเด็มใหม่นะครับ อันไหนพอใช้ได้ก็ใช้ไปเถอะ นอกเสียจากว่าจะไม่ไหวจริง ๆ แล้วเท่านั้น

    3. เลือกโมเด็มให้ตรงกับ ISP หรือเลือกเบอร์ ISP ให้ตรงกับโมเด็ม

    จากในหน้าเว็บเรื่อง รู้จักกับโมเด็มแบบต่าง ๆ จะเห็นได้ว่า มาตราฐานของโมเด็มมีหลายแบบ เช่น V.34, X2, K56 หรือ V.90 ซึ่งมาตราฐานล่าสุดก็จะเป็น V.90 ในขณะนี้ แต่อย่าเพิ่งหวังนะครับว่า ISP แต่ละยี่ห้อ จะมีการปรับเปลี่ยนมาตราฐานต่าง ๆ ให้เป็น V.90 กันหมดแล้ว หลาย ๆ ISP มักจะแจ้งเบอร์ที่เป็นมาตราฐานต่าง ๆ ไว้ด้วย เช่นหากใช้โมเด็มแบบ X2 ต้องต่อไปที่เบอร์หนึ่ง แต่ถ้าใช้โมเด็มแบบ K56 หรือ V.90 ก็ต้องหมุนไปที่อีกเลขหมายหนึ่ง เป็นต้น แบบนี้ให้ลองดูมาตราฐานของแต่ละ ISP และเลือกใช้โมเด็ม หรือเลือกเบอร์สำหรับต่อให้ถูกต้องด้วยนะครับ (ถ้ามีให้เลือก) หากเลือกผิดหรือว่า ISP ที่ใช้งานนั้นไม่มีให้เลือก ก็อาจจะต่อได้แค่ความเร็ว 33.6 K. เท่านั้นก็ได้ ทำให้ใช้ความเร็วไม่เต็มที่ครับ

    ในเรื่องนี้ สำหรับบาง ISP ที่มีลูกค้าใช้งานกันมาก ๆ ในบางครั้ง การเปลี่ยนไปใช้เลขหมายที่เป็น 33.6 K. ในบางครั้ง สามารถใช้งานอินเตอร์เน็ตได้เร็วกว่าเลขหมายที่เป็น 56K. ซะอีกนะครับ ด้วยเหตุผลง่าย ๆ คือ คนส่วนมากจะใช้โมเด็มแบบ 56K. ดังนั้นทุกคนก็จะใช้เลขหมายที่เป็น 56K. กันหมด ถึงแม้ว่าระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับ ISP จะเป็น 56K. ก็ตาม แต่จะเกิดการคับคั่งของข้อมูลจาก ISP นั้น ออกไปที่อื่น ๆ แทนครับ ดังนั้น ถึงแม้ว่าจะใช้โมเด็มต่อได้ความเร็วเพียง 33.6 K. เท่านั้น แต่อัตราการรับส่งข้อมูล อาจจะทำได้ดีกว่าก็ได้ (ในบางครั้งนะครับ)

    4. ตรวจสอบสภาพคู่สายโทรศัพท์ ให้มีสัญญาณรบกวนน้อยที่สุด

    ลองตรวจสอบสภาพคู่สายโทรศัพท์ที่ใช้งานอยู่ ว่ามีสัญญาณในระดับปกติ หรือมีสัญญาณรบกวนแทรกเข้ามาหรือไม่ อาจจะทดสอบโดยใช้หูฟังก็ได้ครับ โดยยกหูขึ้นมาฟังและสังเกตุจากการใช้งานในแบบโทรศัพท์ธรรมดา เมื่อคุยกับเพื่อน ๆ ว่าเสียงที่ได้ยิน เบากว่าปกติหรือไม่ มีเสียงซ่า หรือเสียงคลื่นวิทยุแทรกเข้ามาหรือไม่ ลองเอาโทรศัพท์เครื่องนั้นไปใช้กับ เลขหมายอื่น ๆ ดู ถ้าปัญหาไม่ได้อยู่ที่เครื่องโทรศัพท์ ก็แสดงว่าเป็นปัญหาของคู่สายโทรศัพท์ครับ พยายามเดินสายโทรศัพท์ในบ้าน จากจุดต่อขององค์การโทรศัพท์ที่หน้าบ้าน ให้สั้นที่สุด หากเป็นไปได้ ทุกจุดควรจะทำความสะอาด อย่าให้มีรอยสนิม หรือหากบัดกรีได้ก็ควรทำไปเลย ระวังอย่าให้น้ำซึมเข้าจุดต่อต่าง ๆ ได้ ซึ่งเป็นปัญหาหลักโดยเฉพาะหน้าฝน หรือเมื่อมีฝนตกครับ อาจจะนำเอาถุงพลาสติกไปครอบไว้ที่ตัวต่อสายโทรศัพท์หรือตัวกันฟ้า เพื่อป้องกันน้ำเข้าด้วย ทั้งหมดนี้ ถ้าคิดว่าทำการแก้ไขเองภายในบ้านแล้ว ยังเสียงเบาหรือมีเสียงรบกวนแทรกเข้ามา ลองโทรแจ้งไปที่เลขหมาย 17-xxx (กด 17 แล้วตามด้วย 3 ตัวแรกของเบอร์โทรศัพท์ บ้านคุณ) เพื่อให้ช่างขององค์การฯ ช่วยแก้ไขเรื่องสัญญาณให้

    5. พยายามหลีกเลี่ยงการต่อเครื่องโทรศัพท์พ่วงกัน

    หลีกเลี่ยงการต่อเครื่องโทรศัพท์พ่วงกันหลาย ๆ เครื่อง เพราะจะเป็นการลดทอนสัญญาณที่มาจากชุมสายโทรศัพท์ลงไปอย่างมาก หากเป็นไปได้ ไม่ควรต่อเครื่องโทรศัพท์ไว้เลยด้วยซ้ำ นอกจากนี้ ควรที่จะต่อเครื่องโทรศัพท์จากด้านหลังของโมเด็ม ที่มีช่อง Phone แทนการต่อพ่วงตรง ๆ เข้ากับโมเด็มด้วยครับ สำหรับเรื่องนี้ ให้สังเกตุเมื่อเราใช้งานโมเด็ม ขณะที่โมเด็มกำลังถูกใช้งาน ลองยกหูเครื่องโทรศัพท์มาฟังเสียงดู ในโมเด็มบางรุ่น เมื่อตัวโมเด็มกำลังถูกใช้งาน จะมีการตัดสายสัญญาณของโทรศัพท์ออก แต่บางรุ่นจะไม่มีการตัด คือจะเหมือนกับการต่อพ่วงกับโมเด็มอยู่ตลอดเวลา หากเรายกหูขึ้นมาฟังแล้วไม่ได้ยินอะไรเลย แปลว่าโมเด็มตัวนั้นมีการตัดสัญญาณสายโทรศัพท์ออกด้วย ก็จะดีกว่ารุ่นที่ไม่มีการตัดสัญญาณครับ

    6. ยกเลิกการใช้งาน บริการรับสายเรียกซ้อน

    บริการรับสายเรียกซ้อนขององค์การโทรศัพท์ ที่เห็นโฆษณาอยู่ในทีวี บ่อย ๆ นั่นแหละครับ ตัวปัญหาของการทำให้สายหลุด เพราะว่าในขณะที่กำลังใช้งานโมเด็มอยู่นั้น หากมีใครโทรเข้ามาหาเราที่เลขหมายนั้น จะมีสัญญาณเตือนแทรกเข้ามา ซึ่งกรณีเช่นนี้ โมเด็มบางตัวสายจะหลุดไปเลยทันที แต่โมเด็มบางตัวสายอาจจะไม่หลุด แต่จะมีการหยุดรับส่งข้อมูลชั่วคราว เพื่อตัดปัญหานี้ ให้ทำการยกเลิกการใช้งาน บริการรับสายเรียกซ้อนออกไปซะ โดยอาจจะยกเลิกแบบชั่วคราวก็ได้ และเมื่อต้องการใช้งานใหม่ ก็ค่อยเปิดรับบริการนี้ใหม่ก็ได้

    การยกเลิกบริการรับสายเรียกซ้อนชั่วคราว ให้ยกหูแล้วกด #43# รอฟังสัญญาณตอบรับแล้ววางสาย
    การเปิดใช้บริการรับสายเรียกซ้อนใหม่ ให้ยกหูแล้วกด *43# รอฟังสัญญาณตอบรับแล้ววางสาย

    Comment


    • #3
      ขอบคุณครับ

      Comment

      Working...
      X