Announcement

Collapse
No announcement yet.

บทเรียนที่แสนแพงจากภาคจ่ายไฟ(Power supply)

Collapse
X
 
  • Filter
  • Time
  • Show
Clear All
new posts

  • บทเรียนที่แสนแพงจากภาคจ่ายไฟ(Power supply)

    ไม่ใช่ช่างคอมพ์มืออาชีพ แต่เผอิญได้มีโอกาส ได้ซ่อมคอมพ์เก่าของลูกค้าที่เขาให้มาซ่อม เพื่อนำไปบริจาค
    คอมพ์ของผมที่ใช้อยู่ปัจจุบัน ได้เปลี่ยนภาคจ่ายไฟจาก350Wเป็น550W
    ใช้ตอนแรกก็ไม่มีอะไร แต่มาช่วงหลังๆเริ่มมีอะไรแปลกๆเกิดขึ้นกับอุปกรณ์คอมพ์พิวเตอร์
    มีอุปกรณ์บางชิ้น เช่น CDrom , Harddisk เป็นต้น เริ่มทยอยเสียโดยไม่ทราบสาเหตุ
    ทำให้ CDrom driveและHarddiskของผมและลูกค้า พังไปอย่างละ3ตัว ซึ่งเป็นบทเรียนราคาแพง แต่จะต้องไม่เกิดกับผู้อื่นอีกต่อไป
    การใช้งานPower supplyที่มีวัตต์สูงๆ โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ มีผลต่ออุปกรณ์คอมพ์พิวเตอร์นะครับ โปรดระวัง!(เดี๋ยวจะหาว่าหล่อไม่เตือน)
    สรุป..ไม่ควรใช้ภาคจ่ายไฟเกินกว่า350W(สูงสุด400W) กับคอมพ์พิวเตอร์ที่ท่านใช้งานอยู่ เพราะว่าถ้าอุปกรณํบางชิ้น
    ไม่สามารถรับกระแสส่วนเกินจากPower supplyได้ ก็จะทำให้อุปกรณ์นั้นๆ ค่อยๆทยอยเสื่อมและแสียไปในที่สุด (เสียความรู้สึก+เสียเงิน)
    -----------------------------------------------------------------------
    ข้อสังเกตุ:คอมพ์พิวเตอร์รุ่นเก่า มักใช้Power supply วัตต์ต่ำ (ประมาณ200-300วัตต์)จึงไม่ค่อยเจออุปกรณ์เสื่อมหรือเสียมากนัก
    -----------------------------------------------------------------------
    ความรู้เกี่ยวกับHarddisk
    มีฮาร์ดดิสก์ยี่ห้อหนึ่ง(WD)มดแดงกินน้ำตาล ชอบเข้าไปทำรัง ใช้ได้ไม่เกิน2ปีเจ๊ง
    ควรหมั่นตรวจสอบบริเวณที่ตั้งคอมพ์พิวเตอร์ของท่าน อย่าให้มีมดประเภทนี้เข้ามาเป็นอันขาด
    ถ้ามี ควรถอดฮาร์ดดิสก์ ออกมาเป่าทำความสะอาด หรืออาจถึงขั้นต้องใช้ช่างผู้ชำนาญ
    ถอดแผงควบคุมออกมาทำความสะอาด เพราะใต้แผง มีโฟมปิดทับอยู่ มดชอบเจาะเข้าไปทำรัง
    อาจทำให้อุปกรณ์อีเล็คทรอนิดส์ บนแผงควบคุมซ๊อตเสียหายได้ภายหลัง ถ้าไม่เอามดออก
    ----------------------------------------------

  • #2
    ไม่ทราบว่าใช้ Power supply แบบไหนครับ

    มันเป็นที่ Power supply ตัวนั้นมันจ่ายไฟไม่นิ่งเองรึป่าวครับ

    ของผมใช้ 450W มาสองปี แล้วก็เปลี่ยนเป็น 500W มาสองสามปีแล้ว ก็ยังปกติดีทุกอย่างนะครับ
    (ที่เปลี่ยนเพราะ มันติดไปพร้อมเคส เพื่อนยืมไปใช้ ^_^)
    Last edited by ozeris; 7 Mar 2010, 20:23:28.

    Comment


    • #3
      ผมเห็นต่างครับ

      อุปกรณ์ต่างๆของ com ต้องการกระแสและแรงดัน (กระแส x แรงดัน = Power) ค่าๆหนึ่งที่ทำให้ตัวมันเองทำงานได้ และถ้ามันทำงานเป็นปรกตินั้นมันจะดึงกระแสเท่าที่มันใช้แค่นั้นครับ แต่แรงดันนั้นต้องคงที่นะ ซึ่งสามารถ +/- ได้นิดหน่อยตาม Spec ของอุปกรณ์ เช่น +/- 10%

      ซึ่งถ้ามองในรูป กำลัง หรือ Power นั้น สามารถสรุปได้ว่านั้นโหลดก็จะกิน Power ค่าๆหนึ่งที่มันต้องการ แค่นั้นครับ

      ส่วน PSU มีหน้าที่จ่าย Power (กระแส x แรงดัน) ที่โหลดต้องการนั้นให้ได้(อย่างมีสเถียรภาพ)ครับ

      สรุปก็คือโหลดหรืออุปกรณ์ต้องการแค่ใหนมันก็จ่ายออกไปเท่านั้น

      ดังนั้น PSU 300W ไม่ได้หมายความว่ามันจ่ายกำลังจะออกไปทั้ง 300W ในขณะที่โหลดต้องการกำลังแค่ 100W แต่มันก็จะจ่ายแค่ 100W เท่านั้น ในกรณีนี้ถ้าใช้ PSU 1000W มันก็จ่ายแค่ 100W ครับ

      ยกตัวอย่างให้เห็นชัดๆ เช่น หลอดไฟ 100W ก็กินไฟแค่ 100W ครับ ซึ่งไฟฟ้าตามบ้านทั่วๆไปสามารถจ่ายได้มากกว่านั้นมากครับ

      ไม่อยากให้คนที่ไม่มีความรู้พื้นฐานทางด้านไฟฟ้าเข้ามาอ่านแล้วเข้าใจผิดกันน่ะครับ

      ผมมองว่าในกรณีของ จขกท คงจะเกิดจากความผิดปกติของตัว PSU เอง อาจจะเกิดจากแรงดันสูงหรือต่ำกว่าปกติ หรือแรงดันไม่นิ่ง หรือสาเหตุอื่นๆ เช่น คุณภาพของอุปกรณ์...etc.

      โดยทั่วๆไปแล้ว PSU ที่มี Power สูงกว่าจะให้แรงดันที่นิ่งกว่า PSU ที่มี power ที่ต่ำกว่า (แรงดันเท่ากัน) ในกรณีที่โหลดเหมือนกัน ซึ่งเกิดจาก Output impedance ที่ต่ำกว่าครับ ใช้กฏของโอห์มพิสูจน์ได้ง่ายๆครับ
      Last edited by Jansilp; 20 Mar 2010, 22:00:09.

      Comment


      • #4
        Originally posted by Jansilp View Post
        ผมเห็นต่างครับ

        อุปกรณ์ต่างๆของ com ต้องการกระแสและแรงดัน (กระแส x แรงดัน = Power) ค่าๆหนึ่งที่ทำให้ตัวมันเองทำงานได้ และถ้ามันทำงานเป็นปรกตินั้นมันจะดึงกระแสเท่าที่มันใช้แค่นั้นครับ แต่แรงดันนั้นต้องคงที่นะ ซึ่งสามารถ +/- ได้นิดหน่อยตาม Spec ของอุปกรณ์ เช่น +/- 10%

        ซึ่งถ้ามองในรูป กำลัง หรือ Power นั้น สามารถสรุปได้ว่านั้นโหลดก็จะกิน Power ค่าๆหนึ่งที่มันต้องการ แค่นั้นครับ

        ส่วน PSU มีหน้าที่จ่าย Power (กระแส x แรงดัน) ที่โหลดต้องการนั้นให้ได้(อย่างมีสเถียรภาพ)ครับ

        สรุปก็คือโหลดหรืออุปกรณ์ต้องการแค่ใหนมันก็จ่ายออกไปเท่านั้น

        ดังนั้น PSU 300W ไม่ได้หมายความว่ามันจ่ายกำลังจะออกไปทั้ง 300W ในขณะที่โหลดต้องการกำลังแค่ 100W แต่มันก็จะจ่ายแค่ 100W เท่านั้น ในกรณีนี้ถ้าใช้ PSU 1000W มันก็จ่ายแค่ 100W ครับ

        ยกตัวอย่างให้เห็นชัดๆ เช่น หลอดไฟ 100W ก็กินไฟแค่ 100W ครับ ซึ่งไฟฟ้าตามบ้านทั่วๆไปสามารถจ่ายได้มากกว่านั้นมากครับ

        ไม่อยากให้คนที่ไม่มีความรู้พื้นฐานทางด้านไฟฟ้าเข้ามาอ่านแล้วเข้าใจผิดกันน่ะครับ

        ผมมองว่าในกรณีของ จขกท คงจะเกิดจากความผิดปกติของตัว PSU เอง อาจจะเกิดจากแรงดันสูงหรือต่ำกว่าปกติ หรือแรงดันไม่นิ่ง หรือสาเหตุอื่นๆ เช่น คุณภาพของอุปกรณ์...etc.

        โดยทั่วๆไปแล้ว PSU ที่มี Power สูงกว่าจะให้แรงดันที่นิ่งกว่า PSU ที่มี power ที่ต่ำกว่า (แรงดันเท่ากัน) ในกรณีที่โหลดเหมือนกัน ซึ่งเกิดจาก Output impedance ที่ต่ำกว่าครับ ใช้กฏของโอห์มพิสูจน์ได้ง่ายๆครับ

        ปล.ผมจบ วศม.ไฟฟ้า ครับ
        เข้าใจ
        แต่ถ้า PSU 300W ในขณะที่โหลดต้องการกำลังเกิน300Wสมมุติ400W ละจะเกิดไรขึ้น คือพังแน่นอน

        Comment


        • #5
          สมมุติผมจะประกอบคอมใหม่ ผมจะเลือกซื้อ PWS ที่มี วัตต์สูงๆ

          มันจะต้องจ่ายค่าไฟเท่ากับ PWS ที่มีวัตต์ น้อยๆรึเปล่าครับ

          Comment


          • #6
            Originally posted by IceSwen99 View Post
            สมมุติผมจะประกอบคอมใหม่ ผมจะเลือกซื้อ PWS ที่มี วัตต์สูงๆ

            มันจะต้องจ่ายค่าไฟเท่ากับ PWS ที่มีวัตต์ น้อยๆรึเปล่าครับ
            วัตต์สูงกับวัตต์น้อย กำลังที่จ่ายไฟได้สูงสุดไม่เท่ากันครับ
            แต่ถ้าเครื่องเราใช้ไฟน้อย แล้วไปซื้อวัตต์สูงมา มันก็จ่ายน้อยๆ ได้เหมือนกันครับ (ข้างบนบอกละเอียดละ ^_^)

            ถ้าจะซื้อใหม่ แนะนำให้หาตัวที่มันแปะไว้ว่า 80 Plus อะไรพวกนี้อ่ะครับ ซึ่งมันจะแพงกว่าแบบไม่มี ^_^

            ^80PLUS มันก็คือ มาตรฐานรับรองสำหรับ PSU ที่มีค่าประสิทธิภาพ ที่สูงกว่า 80%
            Last edited by ozeris; 7 Mar 2010, 22:58:27.

            Comment


            • #7
              ขอบคุณครับ

              แล้วเสียค่าไฟเท่ากันด้วยรึเปล่าครับ หรือ วัตต์สูงเสียเยอะกว่า

              [ ค่าไฟฟ้าที่ต้องจ่ายต่อเดือนอ่าครับ ]

              Comment


              • #8
                ส่วนมากจะเจอ Power supply ที่ไม่ค่อยดีจะทำให้ HDD พังง่ายขึ้น
                แต่ Power supply ที่วัตต์สูง ยังไม่เคยเห็นว่าทำให้เครื่องพังเร็วขึ้นเลย
                เจ้าของกระทู้เปลี่ยนไปใช้ของอะไร ยี่ห้อไรครับ

                Comment


                • #9
                  Originally posted by IceSwen99 View Post
                  ขอบคุณครับ

                  แล้วเสียค่าไฟเท่ากันด้วยรึเปล่าครับ หรือ วัตต์สูงเสียเยอะกว่า

                  [ ค่าไฟฟ้าที่ต้องจ่ายต่อเดือนอ่าครับ ]
                  เสียตามที่ใช้ครับ วัตต์สูงก็เสียไฟน้อย ถ้าเครื่องเราใช้ไฟน้อย

                  แต่ถ้าอยากประหยัดไฟจริงๆ ควรเลือกตัวที่มีมาตรฐานด้วยนะครับ
                  เพราะมันจะใช้ไฟได้มีประสิทธิภาพมากกว่ากันครับ (แต่มันแพงกว่า ^_^)

                  Comment


                  • #10
                    เจ้าของกระทู้คงไม่ได้เรียนไฟฟ้าเหรอิเล็กทรอนิกส์มานะครับเลยออกมาบอกอย่างนี้
                    คนที่เรียนมาทุกคนเข้าจะรู้ว่ามันไม่ใช่

                    Comment


                    • #11
                      มันอาจจะพังเพราะสิ่งที่มองไม่เห็นก็ได้นะ

                      แต่ได้ความรู้ดีนะ

                      Comment


                      • #12
                        Originally posted by nartzuzaa View Post
                        เข้าใจ
                        แต่ถ้า PSU 300W ในขณะที่โหลดต้องการกำลังเกิน300Wสมมุติ400W ละจะเกิดไรขึ้น คือพังแน่นอน
                        มันจะตัดการทำงานเนื่องจากโหลดเกินครับ พูดง่ายๆก็คือ ดับ นั่นเอง

                        Comment


                        • #13
                          มดนี่ปัญหาหลักเลย ทั้งดื้อและงอน จนทำให้ HDD พังเอาดื้อๆเพราะเทอเห็นหนังชมพูในเครื่อง อิอิ

                          Comment


                          • #14
                            Originally posted by sak2005 View Post
                            ไม่ใช่ช่างคอมพ์มืออาชีพ แต่เผอิญได้มีโอกาส ได้ซ่อมคอมพ์เก่าของลูกค้าที่เขาให้มาซ่อม เพื่อนำไปบริจาค
                            คอมพ์ของผมที่ใช้อยู่ปัจจุบัน ได้เปลี่ยนภาคจ่ายไฟจาก350Wเป็น550W
                            ใช้ตอนแรกก็ไม่มีอะไร แต่มาช่วงหลังๆเริ่มมีอะไรแปลกๆเกิดขึ้นกับอุปกรณ์คอมพ์พิวเตอร์
                            มีอุปกรณ์บางชิ้น เช่น CDrom , Harddisk เป็นต้น เริ่มทยอยเสียโดยไม่ทราบสาเหตุ
                            ทำให้ CDrom driveและHarddiskของผมและลูกค้า พังไปอย่างละ3ตัว ซึ่งเป็นบทเรียนราคาแพง แต่จะต้องไม่เกิดกับผู้อื่นอีกต่อไป
                            การใช้งานPower supplyที่มีวัตต์สูงๆ โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ มีผลต่ออุปกรณ์คอมพ์พิวเตอร์นะครับ โปรดระวัง!(เดี๋ยวจะหาว่าหล่อไม่เตือน)
                            สรุป..ไม่ควรใช้ภาคจ่ายไฟเกินกว่า350W(สูงสุด400W) กับคอมพ์พิวเตอร์ที่ท่านใช้งานอยู่ เพราะว่าถ้าอุปกรณํบางชิ้น
                            ไม่สามารถรับกระแสส่วนเกินจากPower supplyได้ ก็จะทำให้อุปกรณ์นั้นๆ ค่อยๆทยอยเสื่อมและแสียไปในที่สุด (เสียความรู้สึก+เสียเงิน)
                            -----------------------------------------------------------------------
                            ข้อสังเกตุ:คอมพ์พิวเตอร์รุ่นเก่า มักใช้Power supply วัตต์ต่ำ (ประมาณ200-300วัตต์)จึงไม่ค่อยเจออุปกรณ์เสื่อมหรือเสียมากนัก
                            -----------------------------------------------------------------------
                            ท่านเข้าใจอะไรผิดหรือเปล่าครับ PSU ไม่ว่าจะ 500w หรือ 1000w มันก็จะจ่าย watt เท่าที่ระบบต้องการครับ เดี๊ยวผมจะยกตัวอย่างคราวๆให้ดู นี้ยังไม่นับค่าการศุนย์เปล่าจากความร้อนนะครับ

                            ตัวอย่าง1. PSU 350w
                            ระบบต้องการไฟในสภาวะ Full load 300w PSU ก็จ่าย300w PSU ต้องทำงาน 95% เพื่อจะจ่ายไฟให้ระบบได้ 300w

                            ตัวอย่าง2. PSU 500w
                            ระบบต้องการไฟในสภาวะ Full load 300w PSU ก็จ่ายแค่300w ครับ แล้ว PSU ต้องทำงาน 60% เพื่อจะจ่ายไฟให้ระบบได้ 300w

                            ตัวอย่าง3. PSU 1000w
                            ระบบต้องการไฟในสภาวะ Full load 300w PSU ก็จ่ายแค่300w ครับ แล้ว PSU ต้องทำงาน 30% เพื่อจะจ่ายไฟให้ระบบได้ 300w

                            ท่านจะเห็นนะครับว่า เยอะ PSU watt เยอะๆจะมีความสามารถจ่ายได้เยอะกว่า แถมไม่ต้องทำงานหนักๆเพื่อจะจ่ายไฟให้ระบบ ยิ่งทำงานน้อยก็ยิ่งเย็นครับ

                            อย่าลืมนะครับ การแปลงไฟจาก AC เป็น DC มันจะมีค่าศูนย์เปล่า ที่อยู่ในรูปของความร้อน PSUยิ่งร้อน ความสามารถในการจ่ายไฟก็ลดลงครับ ในตัวอย่างที่1 PSU ตัวนั้นอาจจะต้องจ่ายถึง350w เลยซึ่ง PSU ต้องทำงาน100%ตลอด อายุสั่นแน่ๆครับตัวนี้

                            Comment


                            • #15
                              ผมว่าคอมรุ่นเก่ามันไม่มี hardware ที่มีความต้องการกำลังไฟมากขนาดนั้นมั้งครับ
                              มันเลยใช้ PSU Watt ต่ำๆพอ
                              -*-


                              ปล.เด๋วดูก่อนมดบ้านผมมีสีไรมั่ง
                              สงสัยต้องเอาถาดน้ำมารองขาตั้งเคสแล้ว
                              55555+
                              Last edited by YapRider; 11 Mar 2010, 14:50:50.

                              Comment

                              Working...
                              X