Announcement

Collapse
No announcement yet.

รีวิว : เครื่องวัดการกินไฟ และ การกินไฟของคอมการ์ดจอแรงๆ ใช้ปกติก็กินไฟจริงไหม

Collapse
X
 
  • Filter
  • Time
  • Show
Clear All
new posts

  • รีวิว : เครื่องวัดการกินไฟ และ การกินไฟของคอมการ์ดจอแรงๆ ใช้ปกติก็กินไฟจริงไหม

    รีวิว : เครื่องวัดการกินไฟ และ การกินไฟของคอมการ์ดจอแรงๆ ใช้ปกติก็กินไฟจริงไหม

    สวัสดีครับผม วันนี้ผมจำพามาชมมินิรีวิวขำๆ สนุกๆ นะครับผม เนื่องจากมีหลายท่าน Request เข้ามาว่าอยากทราบเรื่องนี้ ผมจึงจัดให้เป็นกรณีพิเศษครับผม



    สำหรับคำถามวันนี้คือ


    1. คอมแรงๆ การ์ดจอแรงๆ ใช้งานทั่วไปก็กินไฟเยอะกว่าคอมบ้านๆ ไหม?

    2. PSU ตัวใหญ่ๆ Watt สูงๆ กินเยอะมาก ตามฉลากไหม


    และกิจกรรมแต่ละอย่างคอมกินไฟต่างกันเท่าไหร่และตกเป็นค่าไฟประมาณแค่ไหน?




    เดี๋ยวเรามาชมกันครับผม ก่อนอื่นมาพบกับอุปกรณ์ทดสอบกันก่อน





    ตามภาพเลยครับผม เป็นอุปกรณ์วัดอัตราการบริโภคพลังงานง่ายๆ บ้านๆ ไม่ใช่ระดับ referrence grade หรือระดับเครื่องมือวิทยาศาสตร์แต่อย่างใด แต่เท่านี้ก็น่าจะเพียงพอเหลือเฟือแล้วสำหรับกรณีนี้ครับผม


    จากการทดสอบคร่าวๆ เทียบกับค่าที่ได้จาก UPS APC ที่มี Micro Processor คอยคำนวนและวัดไฟ พบว่าถูกต้องตรงกัน ก็ถือว่าใช้งานวัดได้สบายๆ นะครับผม

  • #2
    โดยสเปคที่ทำการวัดกันมีดังนี้ครับ


    แทนค่าคอมทั่วไป ที่สเปคพอมีเรี่ยวแรงบ้างเล็กน้อยสำหรับการเอามาเป็นโจทย์ว่าการ์ดจอที่ค่อนข้างแรง + CPU ค่อนข้างแรงแบบนี้ กินไฟเยอะกว่าเดิมมากไหมนะครับ








    ตามภาพเลยครับ

    CPU : Core i7 4790 ตัวใหม่ล่าสุด

    Mainboard : Gigabyte Z97 Gaming 5

    Ram : G.Skill 8GB 2133

    SSD : Samsung Evo

    HDD : WD Blue

    CPU Cooler : H80i

    พัดลมเคสอีก 1 ตัว

    VGA : Sapphire R9-280x OC Edition 3GB Vapor-X

    PSU : Super Flower Leadex 650w 80+ Gold (90+)


    ตามนี้นะครับ มาดูกันว่ามันกินไฟมากน้อยแค่ไหนครับผม สำหรับกิจกรรมต่างๆ

    Comment


    • #3


      เริ่มจากเสียบปลั๊กค้างไว้ ไม่ได้เปิดเครื่อง

      กินไฟประมาณ 2.3W





      เปิดเครื่อง idle เฉยๆ โหลดบิททิ้งไว้

      กินไฟประมาณ 89.8W





      ท่องเว็บ ดู YouTube facebook แต่งภาพเบาๆ ทำงานอดิเรกทั่วไป

      กินไฟประมาณ 95W





      ใช้งาน CPU โหดๆ Render File แปลงหนัง แปลงวีดีโอ

      กินไฟประมาณ 156.5W





      ใช้โปรแกรม Burn CPU สุดโหด LinX 0.6.5 ซึ่งการใช้งานจริงแทบไม่มีทางที่ CPU จะทำงานระดับนี้

      กินไฟประมาณ 246W





      ใช้โปรแกรมเบิร์น CPU และ GPU ให้ทำงานโหดๆ 100% ไปพร้อมๆ กัน จำลองการเล่นเกมส์ 3D โหดๆ เช่น BF4 หรืออื่นๆ (ถ้าเกมส์ online เอาไปหาร 2 ได้เลย)

      กินไฟประมาณ 302.9W








      อันนี้ของแถม เป็น Function ของเจ้า Meter ตัวนี้บอกได้ว่าใช้ไฟประมาณนี้จะกินไฟประมาณเท่าไหร่ต่อชั่วโมง

      และบอกได้ว่าทั้งหมดตั้งแต่วัดมากินไฟไปแล้วกี่หน่วยครับ

      Comment


      • #4
        จากนั้นเรามาสรุปกันง่ายๆ ครับ



        การ์ดจอแรงมากๆ นั้น กินไฟเฉพาะเวลาทำงานเต็มที่เท่านั้น ใช้งานปกติหรือเล่นเกมส์ปกติ กินไฟนิดเดียวเองครับผม เรียกได้ว่าแทบจะเท่ากันกับการ์ดจอรุ่นล่างๆ เลยครับผม แทบไม่ต่างกับ onboard เรื่องการกินไฟ


        CPU แรงๆ ก็เช่นกันครับ


        และ PSU Watt สูงๆ ก็เช่นกันครับ กินไฟไม่ได้แตกต่างกับ Watt ต่ำๆ เลยในโหลดเท่ากัน เรียกได้ว่าใช้เท่าไหร่กินเท่านั้นดีกว่าครับผม ดังนั้นซื้อใหญ่ๆ ไว้ก่อนได้ ไม่กระทบค่าไฟแน่นอนครับ





        และอีกข้อสังเกตุการกินไฟน้อยๆ นี้ "ส่วนนึง" อาจจะมาจากการที่ PSU แพงๆ ดีๆ พวกนี้ สอบผ่านมารตฐาน 80+ (ในกรณีนี้ระดับ Gold 90+) ซึ่งหมายถึงใช้ไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ


        ท้าวความก่อนว่า การแปลงไฟฟ้า 220v จากปลั๊กไฟ ให้เป็น 12v 5v 3.3v ที่ใช้ใน PC นั้น ระหว่างกระบวนการแปลง มีอัตราการสูญเสียครับ


        เช่น โหลดต้องการไฟฟ้า 100W แต่อาจจะต้องดึงจากเต้ารับหรือปลั๊กไฟ 160W เพราะมีการสูญเสียประมาณ 60W สำหรับ PSU ห่วยๆ


        ในขณะที่ PSU ดีๆ สมมุติ 90+ ในกรณีนี้มีประสิทธิภาพการสูญเสียต่ำกว่า 10% ดังนั้นสมมุติคอมใช้ไฟในเครื่อง 100W ก็ดึงจากเต้ารับแค่ 108W เป็นต้นครับ



        ดังนั้นนอกจาก PSU แพงๆ จะเชื่อถือได้มากกว่า จ่ายไฟได้มากกว่า และเสถียรกว่าแล้วนั้น ยังประหยัดค่าไฟกว่า PSU กระป๋องด้วยเป็นต้นครับ

        Comment


        • #5
          ทีนี้ลองมาคำนวนค่าไฟขำๆ กันนะครับว่าแต่ละกิจกรรมกินไฟเท่าไหร่ สมมุติว่าค่าไฟหน่วยละ 4 บาท นะครับ


          โดยวิธีการคิดคือ 1 หน่วย = 1KW ครับ




          เริ่มจากเสียบปลั๊กค้างไว้ ไม่ได้เปิดเครื่อง

          กินไฟประมาณ 2.3W

          หรือวันละ 55.2W หรือเดือนละ 1,656W

          เดือนละ 6.64 บาท หรือวันละไม่ถึง 25 สตางค์ กรณีเสียบคาไว้ 24 ชั่วโมง ทุกวันตลอดเดือนไม่ปิดเลย






          เปิดเครื่อง idle เฉยๆ โหลดบิททิ้งไว้

          กินไฟประมาณ 89.8W

          หรือวันละ 2155.2W หรือเดือนละ 64,656W

          เดือนละ 258.64 บาท หรือวันละไม่ถึง 9 บาท กรณีเปิดโหลดบิตคาไว้ 24 ชั่วโมง ทุกวันตลอดเดือนไม่ปิดเลย







          ท่องเว็บ ดู YouTube facebook แต่งภาพเบาๆ ทำงานอดิเรกทั่วไป

          กินไฟประมาณ 95W

          หรือวันละ 2280W หรือเดือนละ 68,400W

          เดือนละ 273.60 บาท หรือวันละไม่ถึง 9 บาท 50 สตางค์ กรณีเปิดเล่นแบบนี้แบบ non stop คาไว้ 24 ชั่วโมง ทุกวันตลอดเดือนไม่ปิดเลย






          ใช้งาน CPU โหดๆ Render File แปลงหนัง แปลงวีดีโอ

          กินไฟประมาณ 156.5W

          หรือวันละ 3756W หรือเดือนละ 112,680W

          เดือนละ 450.75 บาท หรือวันละ 15 บาท กรณีเปิดแปลงไฟล์โหดๆ non stop คาไว้ 24 ชั่วโมง ทุกวันตลอดเดือนไม่ปิดเลย




          ใช้โปรแกรม Burn CPU สุดโหด LinX 0.6.5 ซึ่งการใช้งานจริงแทบไม่มีทางที่ CPU จะทำงานระดับนี้

          กินไฟประมาณ 246W

          อันนี้ไม่คำนวนให้เพราะไม่น่าเกิดได้ในชีวิตจริงนะครับ





          ใช้โปรแกรมเบิร์น CPU และ GPU ให้ทำงานโหดๆ 100% ไปพร้อมๆ กัน จำลองการเล่นเกมส์ 3D โหดๆ เช่น BF4 หรืออื่นๆ (ถ้าเกมส์ online เอาไปหาร 2 ได้เลย)

          กินไฟประมาณ 302.9W

          หรือวันละ 7272W หรือเดือนละ 218,160W

          เดือนละ 872.64 บาท หรือวันละ 29 บาท กรณีเปิดเล่นเกมส์โหดๆ พวกเกมส์แรงๆ สเปคสูงๆ คาไว้ 24 ชั่วโมง ทุกวันตลอดเดือนไม่ปิดเลย

          Comment


          • #6
            เทียบกับ PSU ติดเคสบ้านๆ กับคอม Spec บ้านๆ เก่า อีกตัว การ์ดจอระดับล่างสุด กินไฟมากกว่า set บนนี้อีกครับ



            เทียบกับเครื่อง Brand อย่างดี PSU watt ต่ำ การ์ดจอออนบอร์ด ทำกิจกรรมเดียวกันกินไฟแทบจะเท่าๆ กันเลย แทบไม่แตกต่างครับ






            ประมาณนี้ครับผม จะเห็นได้ว่าใช้งานทั่วไปนั้นแทบไม่กระทบค่าไฟเลยครับ กับ VGA แรงๆ และ PSU ใหญ่ๆ ใช้เท่าไหร่กินเท่านั้นครับผม





            วันนี้ขอลาไปแต่เพียงเท่านี้ครับ คงจะตอบข้อสงสัยในใจเพื่อนๆ ได้ไม่มากก็น้อยครับ

            Comment


            • #7
              จัดใหม่เลยเหรอครับเสี่ย

              Comment


              • #8
                อ่อตัวนี้เป็นเครื่องสำรอง เอาไว้ทดสอบนั่นนี่เฉยๆ ครับท่าน วันนี้พอดีมีคน PM มาถามเลยเอามาลงตรงนี้ด้วยเลยเผื่อท่านอื่นๆ สงสัยด้วยพอดีครับผม


                ขอบคุณท่าน NeroAngel ที่แวะมาทักทายกันด้วยครับผม ขอบคุณครับ

                Comment


                • #9
                  จดๆๆ ความรู้ทั้งน้านน อิอิ

                  Comment


                  • #10
                    เข้ามาฟังด้วยครับผม

                    Comment


                    • #11
                      ขอบพระคุณท่านมากครับ
                      คงจะตอบคำถามของหลายๆท่านได้ดีเลย ว่า psu ที่ W สูงๆ กินไฟกว่า W ต่ำๆหรือเปล่า

                      Comment


                      • #12
                        FX-8350@4.7GHz + R9 280X ใช้ทำงาน รัน Passware Kit Forensic แกะ Password (CPU 100% + GPU 100%)
                        ใช้มิเตอร์รุ่นเดียวกันจับ...ผลออกมา ทะลุ 650 วัตต์
                        Last edited by AlphaZero; 31 Oct 2014, 10:37:09.

                        Comment


                        • #13
                          Originally posted by AlphaZero View Post
                          FX-8350@4.7GHz + R9 280X ใช้ทำงาน รัน Passware Kit Forensic แกะ Password (CPU 100% + GPU 100%)
                          ใช้มิเตอร์รุ่นเดียวกันจับ...ผลออกมา ทะลุ 650 วัตต์

                          Comment


                          • #14
                            มิเตอร์ใช้รุ่นเดียวกันเลยครับ

                            Comment


                            • #15
                              เอาไว้เป็นกระทู้เปรียบเทียบได้เลย เพราะเห็นมีถามกันจัง

                              Comment

                              Working...
                              X