Originally posted by nongnew2000
View Post
Announcement
Collapse
No announcement yet.
มาวัดไฟ ในเครื่องคอมพิวเตอร์ กินไฟ มาก/น้อย กันคะ
Collapse
X
-
Originally posted by เยียม View Postแนะนำเพิ่มเติมครับ ควรเลือก Psu Wattแท้ และควรเลือกที่ไฟ12V จ่าย 18A ขึ้นไปครับ(เป็นมาตรฐานไปแล้ว) coolermasterผมจ่าย 12V 20Aเลยครับ
ถ้าใครใช้สเปคเครื่องใกล้เคียงตามที่ทดลอง หรือมากกว่านั้น ก็จะได้คำนวณคร่าวๆ ได้ นะคะ
การที่มีไฟ 12V 18A-20A นั้น สำหรับเครื่องบางรุ่น ใช้งานน้อยมาก 4-8Amp ก็มีนะคะ
ถึงแม้สมัยนี้จะเป็นมาตราฐานขั้นต่ำ สำหรับปัจจุบันนี้แล้วก็ตาม
การ design board ทุกวันนี้ การ Drop จาก 12V ลงเหลือ 1.xxxxV ยังมีข้อเสียอยู่ คือ ทำให้มีความร้อนสูง เพราะช่วงการลดแรงดันไฟ มีความแตกต่างมาก
อนาคตอาจใช้ไฟจาก 3.3V --> 1.xxxxV - 0.8V ก้ได้นะคะ
Last edited by nongnew2000; 17 Jan 2007, 23:18:55.
Comment
-
คอมเมนต์เพิ่มเติมหน่อย น่าจะทำกราฟนะครับ มันเปรียบเทียบกระแสไฟตอนสถานะต่าง ๆ กันลำบากหน่ะถ้าไม่มีกราฟเนี่ย มันต้องดูย้อนไปย้อนมา อ้อน่าจะคล้องกระแสด้าน INPUT ทั้งหมด กระแสขาเข้า PSU หน่ะ แล้วคำนวณเป็นค่าไฟบ้านจะสมบูรณ์มากกว่านี้ครับ
(จะได้ฝากคำนวณซิสเต็มผมด้วยอิอิ)
Comment
-
Originally posted by m-1 View Postคอมเมนต์เพิ่มเติมหน่อย น่าจะทำกราฟนะครับ มันเปรียบเทียบกระแสไฟตอนสถานะต่าง ๆ กันลำบากหน่ะถ้าไม่มีกราฟเนี่ย มันต้องดูย้อนไปย้อนมา อ้อน่าจะคล้องกระแสด้าน INPUT ทั้งหมด กระแสขาเข้า PSU หน่ะ แล้วคำนวณเป็นค่าไฟบ้านจะสมบูรณ์มากกว่านี้ครับ
(จะได้ฝากคำนวณซิสเต็มผมด้วยอิอิ)
คือ ค่าไฟบ้าน คำนวณได้เลยคะ แค่ไปหนีบที่สาย power AC แต่ไม่ได้ทำการวัดให้ดูนะคะ
แต่ที่แน่ๆ คือ ถ้าคำนวณออกมาแล้ว การกินพลังงานไฟบ้านจะมากกว่า การจ่ายพลังงานไฟในเครื่องคอมพิวเตอร์นะคะ
เช่น power จ่ายไฟให้กับอุปกรณ์ต่างๆ ที่ 300W แต่การกินไฟจาก 220V จะอยู่ที่ 500W คะ แต่ละรุ่น แต่ละยี่ห้อ ก็ไม่เหมือนกันคะ
ส่วนเรื่องกราฟ คงทำลำบากมากคะ เพราะว่าต้องมีเครื่องมือที่ค่อนข้างมากมายคะ (งบน้อย)
ถ้าจะให้ทำกราฟเอง คง.... เหนื่อยมากๆ
Comment
-
Originally posted by nongnew2000 View Post
การ design board ทุกวันนี้ การ Drop จาก 12V ลงเหลือ 1.xxxxV ยังมีข้อเสียอยู่ คือ ทำให้มีความร้อนสูง เพราะช่วงการลดแรงดันไฟ มีความแตกต่างมาก
ที่เห็นส่วนต่างของแรงดันค่อนข้างมากนั่น จริงๆ กลับมีประโยชน์ในการจ่ายกำลังงานเป็นอย่างมาก
การลดระดับแรงดันจาก 12 โวลท์ให้เหลือ 1 - 2 โวลท์(Vcore)ใช้หลักการ switching
ทำการสับ(switching)แรงดัน 12 โวลท์ให้มีค่า Duty cycle น้อยกว่า 1 ซึ่งเมื่อเฉลี่ยแล้วจะได้
ระดับแรงดันตามต้องการ(ใช้หลักการหาค่าเฉลี่ยของรูปสัญญาณในหนึ่งคาบเวลา)
โดยจะแบ่งชุด switching ออกเป็นหลายๆ ชุด (บางเมนบอร์ด 4 ชุด หรือ 6 ชุด หรือ 8 ชุดก็มี)
เพื่อให้มุมต่างเฟสของแรงดันแต่ละชุดที่ค่าน้อยที่สุด โดยจะส่งผลให้หลังจากการ filter แล้วจะได้แรงดันที่เรียบ
หลักการ switching นี้ยังถูกนำไปใช้ในอุปกรณ์หลายๆ อย่าง เช่น Power Amp รถยนต์ หรือแม้แต่
walkman สมัยที่ยังเป็นเทปก็อาศัยหลักการนี้เช่นกัน
=====================================================
นำเสนอได้ดีครับ นึกว่าจะเป็นแม่ค้าอย่างเดียวซะอีก
Comment
-
Originally posted by nongnew2000 View Postคือ ค่าไฟบ้าน คำนวณได้เลยคะ แค่ไปหนีบที่สาย power AC แต่ไม่ได้ทำการวัดให้ดูนะคะ
แต่ที่แน่ๆ คือ ถ้าคำนวณออกมาแล้ว การกินพลังงานไฟบ้านจะมากกว่า การจ่ายพลังงานไฟในเครื่องคอมพิวเตอร์นะคะ
เช่น power จ่ายไฟให้กับอุปกรณ์ต่างๆ ที่ 300W แต่การกินไฟจาก 220V จะอยู่ที่ 500W คะ แต่ละรุ่น แต่ละยี่ห้อ ก็ไม่เหมือนกันคะ
ส่วนเรื่องกราฟ คงทำลำบากมากคะ เพราะว่าต้องมีเครื่องมือที่ค่อนข้างมากมายคะ (งบน้อย)
ถ้าจะให้ทำกราฟเอง คง.... เหนื่อยมากๆ
Comment
-
Originally posted by pod View Postอนาคตก็ยังคงใช้แรงดัน 12 โวลท์เป็นแหล่งจ่ายหลักให้กับ ซีพียู และ กราฟฟิคการ์ด
ที่เห็นส่วนต่างของแรงดันค่อนข้างมากนั่น จริงๆ กลับมีประโยชน์ในการจ่ายกำลังงานเป็นอย่างมาก
การลดระดับแรงดันจาก 12 โวลท์ให้เหลือ 1 - 2 โวลท์(Vcore)ใช้หลักการ switching
ทำการสับ(switching)แรงดัน 12 โวลท์ให้มีค่า Duty cycle น้อยกว่า 1 ซึ่งเมื่อเฉลี่ยแล้วจะได้
ระดับแรงดันตามต้องการ(ใช้หลักการหาค่าเฉลี่ยของรูปสัญญาณในหนึ่งคาบเวลา)
โดยจะแบ่งชุด switching ออกเป็นหลายๆ ชุด (บางเมนบอร์ด 4 ชุด หรือ 6 ชุด หรือ 8 ชุดก็มี)
เพื่อให้มุมต่างเฟสของแรงดันแต่ละชุดที่ค่าน้อยที่สุด โดยจะส่งผลให้หลังจากการ filter แล้วจะได้แรงดันที่เรียบ
หลักการ switching นี้ยังถูกนำไปใช้ในอุปกรณ์หลายๆ อย่าง เช่น Power Amp รถยนต์ หรือแม้แต่
walkman สมัยที่ยังเป็นเทปก็อาศัยหลักการนี้เช่นกัน
=====================================================
นำเสนอได้ดีครับ นึกว่าจะเป็นแม่ค้าอย่างเดียวซะอีก
Comment
-
Originally posted by m-1 View Postไอ้เจ้า คลิปแอมป์นี่ คล้องหลายเส้นได้ด้วยเหรอครับ เคยใช้คล้องเส้นเดียวตลอด (A/C น่ะ)
Originally posted by m-1 View Postน่าจะคล้องกระแสด้าน INPUT ทั้งหมด กระแสขาเข้า PSU หน่ะ แล้วคำนวณเป็นค่าไฟบ้านจะสมบูรณ์มากกว่านี้ครับ
(จะได้ฝากคำนวณซิสเต็มผมด้วยอิอิ)
Originally posted by nongnew2000 View Postคือ ค่าไฟบ้าน คำนวณได้เลยคะ แค่ไปหนีบที่สาย power AC แต่ไม่ได้ทำการวัดให้ดูนะคะ
แต่ที่แน่ๆ คือ ถ้าคำนวณออกมาแล้ว การกินพลังงานไฟบ้านจะมากกว่า การจ่ายพลังงานไฟในเครื่องคอมพิวเตอร์นะคะ
เช่น power จ่ายไฟให้กับอุปกรณ์ต่างๆ ที่ 300W แต่การกินไฟจาก 220V จะอยู่ที่ 500W คะ แต่ละรุ่น แต่ละยี่ห้อ ก็ไม่เหมือนกันคะ
ส่วนตามที่ท่านได้วัดมาให้ดูนั้นก็ไม่ผิด เพราะที่ท่านวัดมานั้นเป็นการวัดอัตราการใช้พลังงานสุทธิทั้งหมดของอุปกรณ์ในเครื่อง การวัดในลักษณะนี้เราไม่สามารถเอามาใช้ในการคำนวณค่าไฟได้ แต่จะเป็นการวัดเพื่อใช้ในการตัดสินใจว่า เครื่องคอมพิวเตอร์ของเรานั้น ควรที่จะซื้อ PSU ที่มีขนาดเท่าไหร่มาใช้งานดี อย่างเช่นถ้าท่านวัดการใช้พลังงานของอุปกรณ์ทุกชิ้นในเครื่องแล้วได้พลังงานออกมา 300W เราก็จะรู้ได้ว่าเราควรที่จะซื้อ PSU ที่สามารถจ่ายไฟได้มากกว่า 300W ขึ้นไป ตรงนี้ของแนะนำนิดนึง.....
ในการเลือกซื้อ PSU ที่หลายๆคนถามมาว่าทำไมเราต้องซื้อให้มันจ่ายไฟได้มากกว่าที่เครื่องเราใช้จริงด้วย เอาง่ายๆสมมติจากข้างบนถ้าเครื่องของเราใช้พลังงานทั้งหมด 300W เราก็ต้องมาดูกันก่อนอีกว่าที่ 300W นี่นั้นเป็นการใช้ในช่วงใด ช่วงของ Full Load หรือว่า Idle ถ้าสมมติว่าที่ 300W นี้เป็นช่วงของ Full Load เราก็ต้องมาคำนึงอีกว่า ลักษณะการใช้งานของเรานั้นเป็นอย่างไร ถ้าเราใช้เครื่องในแบบที่ใก้เคียง Full Load ตลอดเวลา เช่นใช้เครื่องเล่นเกมทั้งวันแบบต่อเนื่องยาวนาน หรือใครที่ใช้เครื่องในการ Encode หนังต่างๆที่จะใช้ระยะเวลาต่อเนื่องนานๆ ถ้าเป็นในลักษณะนี้ เราจะคิดว่าถ้าอย่างนั้นเราซื้อ PSU ที่สามารถจ่ายไฟได้ซัก 350W ก็คงจะเพียงพอ แต่นี่คือคำตอบที่ผิด แต่ก็ใช่ว่าจะใช้งานไม่ได้ มันก็สามารถใช้งานได้อยู่ เราก็ต้องย้อนมาดูองค์ประกอบหลายๆอย่าง
- อย่างแรกที่บอกว่าเครื่องกินไฟ 300W แล้วใช้ PSU 350W ก็น่าจะพอ คำที่ว่าพอนั้นถูกต้อง แต่ลองคิดดูว่า เครื่องใช้ไฟ 300W แต่ PSU จ่ายไฟได้สูงสุด ( Peak ) 350W นี่ก็แสดงว่าตลอดเวลาที่เครื่องของเราดึงไฟ Full Load ที่ 300W PSU ของเราจะต้องรับ Load เกือบ 100% ตลอดเวลาเช่นกัน ( ประมาณ 86% ) แล้วก็ลองคิดตามกันดูว่าผลที่ตามมาจะเป็นเช่นไร ทั้งเรื่องของความร้อนที่เกิดขึ้นย่อมต้องสูงมาก แล้วก็จะส่งผลถึงเรื่องของอายุการใช้งานที่สั้นลงของตัว PSU เอง ตรงนี้แค่มองกันแบบทางกายภาพ และถ้ามองกันแบบลึกๆอีกหน่อย เราต้องมาดูกันอีกนิดว่าจริงๆแล้ว PSU ที่บอกว่า 350W นั้นสามารถจ่ายไฟได้สูงสุดในแบบต่อเนื่อง ( Continue ) ได้กี่ watt กันแน่ ข้อมูลตรงนี้แน่นอนว่า PSU แต่ละตัวจะสามารถจ่ายได้ไม่เท่ากัน
- สังเกตจากการทดสอบที่เราได้มีการทดสอบ PSU จากหน้าเวป ตามที่เราได้มีการวัดการจ่ายพลังงานที่จะมีอยู่ 2 รูปแบบใหญ่ๆ คือวัดกันในแบบ Single กับ Combine ถ้าใครที่สังเกตุกันอยู่บ่อยๆก็จะเห้นว่า เมื่อเราให้ load กับ PSU ในแบบ Combine ตัว PSU จะมีอัตราการจ่ายพลังงานที่ลดลงจากแบบ Single ตรงจุดนี้ลองดูตัวอย่างเช่น ที่ไฟ 5V จะจ่ายไฟได้ 20A และไฟ 3.3V จ่ายไฟได้ 10A แต่ถ้าเราให้ load พร้อมกันทั้ง 5V และ 3.3V เราจะเห็นว่าจากลาเบลของ PSU จะบอกว่ามันสามารถจ่ายได้แค่ 24A แทนที่จะเป็น 30A แล้วก้มาในส่วนของไฟ 12V ที่มีแหล่งจากมากกว่า 1 ชุด เช่น 12V1 = 20A , 12V2 = 20A , 12V3 = 20A ถ้ารวมกันก็เท่ากับว่ามันจะจ่ายไฟ 12V = 60A แต่ไม่เป็นเช่นนั้น เพราะเมื่อเราให้ Load พร้อมกันทั้ง 3 ชุด ถ้าดูจากลาเบลหรือข้างกล่องก็จะมีบอกไว้ว่า combine 12V = 50A นั่นก็คือ PSU ตัวนี้จะจ่ายไฟ 12V ได้จริงในกรณีที่มีโหลดทั้ง 3 ชุดได้สูงสุดเพียง 50A แทนที่จะเป็น 60A ...... ตรงนี้ก็น่าจะเห็นได้ชัดขึ้นแล้วใช่มั๊ยหละครับ
Ex. PSU ตัวนี้จากลาเบลจะบอกว่าไฟ 5V จ่ายได้ 30A / ไฟ 3.3V = 24A ถ้าคำนวณแยกแล้วเอามารวมกันก็จะได้ 5x30 = 150W , 3.3x24 = 79.2W แล้วถ้าเอามารวมกันของ 5V และ 3.3V ก็ควรจะจ่ายได้รวมกัน 229.2W แต่ทางผู้ผลิตแจ้งมาว่าจะจ่ายได้เพียง 170W ส่วนที่ไฟ 12V มี 4 แหล่งจ่าย แหล่งละ 18A ถ้าเอามารวมกันก็แสดงว่ามันควรจะจ่ายได้ (12x18)x4 = 864W แต่เมื่อ combine แล้วจะได้แค่ 650W รวมแล้ว PSU ตัวนี้จะสามารถจ่ายไฟได้รวมกันสูงสุดที่ 650+170 = 820W แต่จะเห็นว่าทางผู้ผลิตการันตีมาเพียง 750W นี่ก็แสดงว่าตามสเป็คแล้วมันจะสามารถจ่ายไฟได้สูงสุด ( Peak = 820W ) แต่ไม่ทราบว่าจะจ่ายได้นานเท่าไหร่ ขึ้นอยู่กับการป้องกันของแต่ละผู้ผลิต บางรายอาจจะแจ้งมาว่าได้เพียง 60 วินาที บางรายก็อาจจะได้เพียง 30 วินาที แล้วที่การรันตีมาที่ 750W นั้นน่าจะเป็นการการันตีมาว่า PSU ตัวนี้จะสามารถจ่ายไฟได้สูงสุดในแบบต่อเนื่อง ( Continue ) 750W
( หมายเหตุ* ลาเบลที่นำมาให้ดูนี้ นำมาใช้เป็นตัวอย่างในการคำนวณเท่านั้น ไม่ได้เป็นการนำมาเพื่อส่งเสริมการขายหรือโปรโมทสินค้าแต่อย่างไร )
แล้วแบบนี้เราจะใช้ PSU กี่ watt ดีหละสำหรับเครื่องนี้ที่กินไฟ 300W ระดับที่แนะนำอันนี้ก็จะขึ้นอยู่กับงบประมาณและความสามารถของแต่ละคน จากข้อมูลที่หาๆมา แนะนำว่าเราไม่ควรจะให้ PSU ของเรานั้นมีการใช้งานแบบ Full Load 100% เราควรจะใช้ PSU ที่สามารถจ่ายไฟให้กับเครื่องคอมฯ แล้วตัวเองยังคงทำงานอยู่ในระดับที่ไม่ควรเกิน 80% แล้วถ้าต่ำกว่านี้จะดีมั๊ยเช่น 50-60% คำตอบคือดีแน่นอน แต่ก็จะเป็นการสิ้นเปลืองโดยเปล่าประโยชน์ ถ้างั้นเรามาลองคำนวณกันดูว่าจาก 300W ของการใช้ไฟในเครื่องเราน่าจะซื้อ PSU ซักกี่ Watt มาใช้งานดี ถ้าจะไม่ให้เกิน 80% ก็น่าจะอยู่ที่ระดับ 375W แล้วเราก็ต้องมาดูราคากันอีกนิดว่า PSU ที่ 375W กับ PSU ที่สูงกว่านี้นิดหน่อยเช่น 400W แตกต่างกันมากแค่ไหน ถ้าต่างกว่ากันไม่มากแล้วสามารถซื้อไหว เราก็น่าจะหยิบเอา PSU 400W มาใช้งาน เมื่อใช้ PSU ที่ 400W ก็เท่ากับว่า PSU เราจะทำงานเบาลงขึ้นอีก คือจะมีภาระมาอยุ่ที่ 75% เมื่อเป็นเช่นนี้อายุการใช้งานของ PSU เราก็จะยาวนานขึ้นอีก ก็สามารถช่วยในการลดต้นทุนระยะยาวได้ด้วย หรือมองในอีกมุม หากเราจะเพิ่มอุปกรณ์บางตัวให้กับเครื่อง เราก็ไม่ต้องมาห่วงว่า PSU ที่มีอยู่จะสามารถใช้งานได้อยู่หรือไม่ จะต้องซื้อ PSU ใหม่หรือเปล่า
.... เฮ้อ ขี้เกียจแระ เอาไว้วันไหนขยันๆจะมาบอกเล่ากันต่อแล้วกันน่ะ
ปล. ถึง nongnew2000 บทความเจ๋งมากเลยครับ ช่วยให้หลายๆคนกระจ่างขึ้นแยะเลย ขอบคุณสำหรับเวลาที่สละไปเพื่อนำมาให้พวกเราได้ชมกันนะครับ และก็แนะนำนิดนะครับ ในการวัดแรงเคลื่อน ( V ) ควรที่จะไปวัดให้ใกล้กับ Load มากที่สุดนะครับ เช่นไปจิ้มที่หัวต่อ 24pin ที่ต่อลงบอร์ด เราจะได้แรงเคลื่อนที่คลาดเคลื่อนน้อยที่สุดLast edited by ZoLKoRn; 30 Apr 2007, 21:32:12.
Comment
Comment