ในยุคน้ำมันแพงแบบนี้หนทางที่ทุกคนจะช่วยชาติได้ก็คือการประหยัด แต่จะประหยัดกันแบบไดนั้นก็ขึ้นกับความเหมาะสมของแต่ละคนนะครับ ซึ่งในบทความนี้เราก็มีอีกหนึ่งวิธีในการประหยัดมาแนะนำกัน นั้นคือการทำรีไซเคิลในแบบ Extreme นั้นเอง
“การทำรีไซเคิลในแบบ Extreme” เป็นวิธีการดัดแปลงสิ่งของเหลือใช้ หรือสิ่งของที่ทิ้งแล้วมาประยุคหรือเอามาดัดแปลงให้สามารถเป็นอุปกรณ์ไฮเทค หรือทำมันให้มีค่าขึ้นมา แทนที่จะทิ้งให้ผุพังไปตามกาลเวลาหรือว่าทิ้งให้เป็นขยะรกบ้านนั้นเอง ซึ่งในบทความนี้ผมจะมาสาธิตวิธีการดัดแปลงเครื่องรับโทรทัศน์เก่าๆ ให้เป็นเคสหรือตัวถังของเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อย้อนรำลึกถึงความหลังเก่าๆ กับเครื่องรับโทรทัศน์ที่ทิ้งแล้ว ในอารมณ์แปลกใหม่ของเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นเอง
จับโทรทัศน์เก่ามาย้อมแมวใหม่
ก่อนอื่นเราจะต้องหาตัวถังของเครื่องรับโทรทัศน์มาให้ได้เสียก่อน ซึ่งอาจจะเป็นตัวถังเครื่องรับโทรทัศน์รุ่นใหม่ก็ได้ แต่อาจะดูไม่คลาสสิกเท่าเครื่องรับโทรทัศน์รุ่นเก่าๆ ที่เป็นไม้เพราะรูปร่างหน้าตาเครื่องรับโทรทัศน์รุ่นใหม่มันจะเหมือนคอมพิวเตอร์มากเกินไปนั้นเอง สำหรับแหล่งที่มีจำหน่ายเครื่องรับโทรทัศน์เก่าๆ นั้นก็หาได้ตามร้านซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ, ร้านขายของเก่า, โรงจำนำ หรือแม้กระทั้งห้องเก็บของเก่าๆ ของคุณปู่คุณย่าก็อาจจะมีได้เช่นกันครับ และหากได้มาแล้วก็จับมารื้อและทำความสะอาดเสียใหม่แบบที่เรากำลังทำอยู่นี้ยังไงละครับ
เครื่องรับโทรทัศน์ที่ทีมงานคอมมาร์ตซื้อมาจากร้านซ่อมโทรทัศน์ในราคาเพียง 200 บาท
ทำการรื้อเอาอุปกรณ์ภายในต่างๆ ออกมาให้หมดเพื่อทำความสะอาดและวางตำแหน่งอุปกรณ์ที่จะใส่ลงไป
จอภาพก็ถอดออกมาด้วย
สภาพเครื่องด้านหน้า หลังจากถอดอุปกรณ์ภายในออกแล้ว
สภาพเครื่องด้านหลัง จะเห็นว่าฝุ่นเต็มไปหมด
แกะหน้ากากที่เป็นพลาสติกต่างๆ ออกมาทำสีใหม่ด้วย
บริเวณด้านบนของเครื่องรับโทรทัศน์จะเป็นลายไม่แบบนี้ ต้องหาน้ำมันสนมาเช็ดทำความสะอาด
ฝาปิดด้านหลังเครื่องที่มีสายไฟต่างๆ ให้แกะออกให้หมด
เครื่องรับโทรทัศน์หลังจากทำความสะอาดและรื้อออกหมดแล้ว
บริเวณด้านหน้าดูสวยและสะอาดขึ้นเยอะเลย
หลังจากแกะเอาชิ้นส่วนต่างๆ ออกหมดแล้วจะโล่งแบบนี้แหละครับ
จัดวางตำแหน่งภายในตัวโทรทัศน์เสียใหม่
เมื่อแกะชิ้นส่วนต่างๆ พร้อมกับเช็ดทำความสะอาดโครงของเครื่องรับโทรทัศน์หมดแล้ว ขั้นตอนต่อไปจะทำการจัดวางตำแหน่งของชิ้นใหม่ที่จะไปอยู่ในตัวถังของเครื่องรับโทรทัศน์ ไม่ว่าเมนบอร์ด, ฮาร์ดดิสก์, จอภาพแอลซีดี, ซีดีรอมและ เพาเวอร์ซัพพลาย
ทดลองเอาเมนบอร์ดมาวางเลย์เอาท์ก่อนติดตั้งจริง
นำเสาค้ำอุปกรณ์ต่างๆ มาวัดตำแหน่งรู เพื่อรอการยึดกาวในขั้นตอนต่อไป
ยึดเสาค้ำมายึดด้วยกาวยาง
ซีดีรอมติดตั้งไว้ด้านข้างเพื่อความสะดวก
เนื่องจากบริเวณด้านหน้าของเครื่องรับโทรทัศน์มีพื้นที่จำกัดมากที่จะติดตั้งอุปกรณ์เสริมต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ลงไป ฉะนั้นการจะติดตั้งอะไรใหญ่ๆ ลงไปคงต้องย้ายไปไว้ด้านหลังหรือด้านข้างของตัวเครื่องแทน อย่างเช่น ซีดีรอม ที่เราได้จัดวางเอาไว้บริเวณด้านขวาของตัวเครื่อง ซึ่งแน่นอนครับว่าจะต้องเจาะไม้บางส่วนออกไปเพื่อจะได้สอดตัวเครื่องซีดีรอมเข้ามาภายในได้
เจาะไม้บางส่วนออกไปเพื่อใช้ติดตั้งซีดีรอม
ตกแต่งขอบไม้ด้วยตะใบขนาดเล็ก
ติดตั้งซีดีรอมเข้าไปในรูที่เจาะเอาไว้
ภายในเครื่องรับโทรทัศน์ทำเสายึดซีดีรอมไว้ด้วยเพื่อความแข็งแรง
ยึดเสากับซีดีรอมเข้าด้วยกันด้วยน็อตขนาดเล็ก
ใส่จอ LCD แทนจอภาพเก่า
เนื่องจากเราต้องการให้การใช้พลังงานในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราปรับแต่งอยู่นี้ประหยัดไฟมากขึ้น และต้องการพื้นที่ใช้สอยภายในตัวถังของเครื่องรับโทรทัศน์ให้มีมากขึ้น เราจึงเปลี่ยนหลอดภาพเดิมของเครื่องรับโทรทัศน์ให้เป็นจอแอลซีดีแทน
บริเวณที่ใส่จอภาพแอลซีดีเมื่อมองจากด้านใน
นำจอภาพแอลซีดีขนาด 15 นิ้ว ใส่ลงไปภายใน โดยเราต้องรื้อฝาครอบจอแอลซีดีออก่อนด้วย
จัดวางตำแหน่งให้พอดีกับขนาดของจอเก่า
ยึดจอภาพด้วยน็อตทั้ง 4 มุม หรือจะใช้กาวยางยึดไว้ก็ได้
หลังจากติดตั้งเรียบร้อยแล้ว เมื่อมองจากด้านหลังตัวเครื่อง
แผงควบคุมจอภาพต่างๆ ยึดไว้ใกล้ จอภาพเพื่อไม่ให้สายไฟเกะกะเกินไป
สายของจอภาพที่ยาวเกินไปก็พันม้วนไว้แบบนี้ก็ได้
อะแดปเตอร์จ่ายไฟให้จอภาพก็รื้อออกมาเหลือแต่วงจร จากนั้นติดไว้บริเวณด้านข้างดังภาพ
ดัดแปลงแผงควบคุมโทรทัศน์มาใช้ควบคุมคอมพิวเตอร์
ตามปรกติแล้วคอมพิวเตอร์จะมีหลอดไฟแสดงผลการทำงานไม่ว่าจะไฟ Power On หรือไฟแสดงการทำงานของฮาร์ดดิสก์ แต่เมื่อเรานำมันมาใส่ลงไปในเครื่องรับโทรทัศน์แล้วคุณสมบัติอันนั้นอาจจะหายไปได้เพราะไม่มีจุดยึดหลอดไฟแสดงผลดังกล่าวนั้นเอง ฉะนั้นเราจึงต้องดัดแปลงหลอดไฟแสดงผลบางส่วนของหน้าปัดของเครื่องรับโทรทัศน์เดิมให้สามารถแสดงผลเป็นไฟแสดงสถานะ Power On และไฟแสดงการทำงานของฮาร์ดดิสก์ แทนครับ
บริเวณแผงหน้าปัดเดิมที่เป็นหลอดไฟแอลอีดีแสดงผลต่างๆ
หลังจากเชื่อมต่อสายไฟจากหลอดไฟแอลอีดีเรียบร้อยแล้วก็สามารถนำไปเสียบกับเมนบอร์ดได้เลย
ประกอบแผงหน้าปัดกลับเข้าไปดังเดิม
บริเวณแผงหน้าปัดด้านหน้าที่ติดตั้งเรียบร้อยแล้ว
สามารถกดปุ่มต่างๆ ได้ตามปรกติ แต่ไม่สามารถใช้ควบคุมอะไรได้แล้ว
ปุ่มเปิด-ปิดโทรทัศน์สามารถดัดแปลงเป็นปุ่มเปิด-ปิดคอมพิวเตอร์ได้
ติดตั้งเมนบอร์ดและเพาเวอร์ซัพพลาย
ขั้นตอนสุดท้ายสำหรับการปรับแต่งครั้งนี้คือการติดตั้งแผงวงจรหลักของคอมพิวเตอร์หรือเมนบอร์ดพร้อมกับภาคจ่ายไฟลงไป ซึ่งก่อนหน้านี้เราได้วางจุดยึดน็อตต่างๆ ไว้หมดแล้วฉะนั้นขั้นตอนนี้ก็คงจะไม่ยากเกินอะไรมากมายนัก เพียงแต่ต้องคอยเก็บสายไฟต่างๆ ให้เรียบร้อยเพื่อให้การไหลเวียนของอากาศภายในตัวเครื่องนั้นเป็นไปได้ด้วยดี
ติดตั้งเมนบอร์ดลงไปก่อนเนื่องจากจะได้จัดสายไฟต่างๆ ได้สะดวกมากขึ้น
ยึดเมนบอร์ดด้วยน็อตทั้ง 4 มุม
ติดตั้งเพาเวอร์ซัพพลายไว้ด้านข้างเมนบอร์ด
นำเหล็กฉากมาดัดแปลงเป็นที่ยึดเพาเวอร์ซัพพลาย
เสียบสายไฟจากเพาเวอร์ซัพพลายให้กับเมนบอร์ด
ติดตั้งการ์ด TV Tuner
ภาพการติดตั้งอุปกรณ์ภายในต่างๆ เรียบร้อยแล้ว
ทำการปิดฝาหลังของเครื่อง
เสียบสายต่างๆ ด้านหลังให้เรียบร้อย เท่านี้เครื่องคอมพิวเตอร์ก็พร้อมใช้งานแล้ว
ผลงานที่เรียบร้อยแล้ว
เป็นอย่างไรบ้างครับกับผลงานการดัดแปลงให้คอมพิวเตอร์เข้าไปอยู่ในอุปกรณ์ต่างๆ ที่ไม่ใช่เพียงเคสเหล็กในแบบเดิมๆ ซึ่งนอกจากจะทำให้คอมพิวเตอร์ของเราสวยและแปลกไปกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ของคนอื่นๆ แล้ว ยังเป็นการช่วยชาติประหยัดจากการนำเข้าเครื่องใช้ไฟฟ้าราคาแพงจากต่างประเทศแล้วยังเป็นการใช้ทรัพยากรได้อย่างคุ้มค่าอีกวิธีด้วย
“การทำรีไซเคิลในแบบ Extreme” เป็นวิธีการดัดแปลงสิ่งของเหลือใช้ หรือสิ่งของที่ทิ้งแล้วมาประยุคหรือเอามาดัดแปลงให้สามารถเป็นอุปกรณ์ไฮเทค หรือทำมันให้มีค่าขึ้นมา แทนที่จะทิ้งให้ผุพังไปตามกาลเวลาหรือว่าทิ้งให้เป็นขยะรกบ้านนั้นเอง ซึ่งในบทความนี้ผมจะมาสาธิตวิธีการดัดแปลงเครื่องรับโทรทัศน์เก่าๆ ให้เป็นเคสหรือตัวถังของเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อย้อนรำลึกถึงความหลังเก่าๆ กับเครื่องรับโทรทัศน์ที่ทิ้งแล้ว ในอารมณ์แปลกใหม่ของเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นเอง
จับโทรทัศน์เก่ามาย้อมแมวใหม่
ก่อนอื่นเราจะต้องหาตัวถังของเครื่องรับโทรทัศน์มาให้ได้เสียก่อน ซึ่งอาจจะเป็นตัวถังเครื่องรับโทรทัศน์รุ่นใหม่ก็ได้ แต่อาจะดูไม่คลาสสิกเท่าเครื่องรับโทรทัศน์รุ่นเก่าๆ ที่เป็นไม้เพราะรูปร่างหน้าตาเครื่องรับโทรทัศน์รุ่นใหม่มันจะเหมือนคอมพิวเตอร์มากเกินไปนั้นเอง สำหรับแหล่งที่มีจำหน่ายเครื่องรับโทรทัศน์เก่าๆ นั้นก็หาได้ตามร้านซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ, ร้านขายของเก่า, โรงจำนำ หรือแม้กระทั้งห้องเก็บของเก่าๆ ของคุณปู่คุณย่าก็อาจจะมีได้เช่นกันครับ และหากได้มาแล้วก็จับมารื้อและทำความสะอาดเสียใหม่แบบที่เรากำลังทำอยู่นี้ยังไงละครับ
เครื่องรับโทรทัศน์ที่ทีมงานคอมมาร์ตซื้อมาจากร้านซ่อมโทรทัศน์ในราคาเพียง 200 บาท
ทำการรื้อเอาอุปกรณ์ภายในต่างๆ ออกมาให้หมดเพื่อทำความสะอาดและวางตำแหน่งอุปกรณ์ที่จะใส่ลงไป
จอภาพก็ถอดออกมาด้วย
สภาพเครื่องด้านหน้า หลังจากถอดอุปกรณ์ภายในออกแล้ว
สภาพเครื่องด้านหลัง จะเห็นว่าฝุ่นเต็มไปหมด
แกะหน้ากากที่เป็นพลาสติกต่างๆ ออกมาทำสีใหม่ด้วย
บริเวณด้านบนของเครื่องรับโทรทัศน์จะเป็นลายไม่แบบนี้ ต้องหาน้ำมันสนมาเช็ดทำความสะอาด
ฝาปิดด้านหลังเครื่องที่มีสายไฟต่างๆ ให้แกะออกให้หมด
เครื่องรับโทรทัศน์หลังจากทำความสะอาดและรื้อออกหมดแล้ว
บริเวณด้านหน้าดูสวยและสะอาดขึ้นเยอะเลย
หลังจากแกะเอาชิ้นส่วนต่างๆ ออกหมดแล้วจะโล่งแบบนี้แหละครับ
จัดวางตำแหน่งภายในตัวโทรทัศน์เสียใหม่
เมื่อแกะชิ้นส่วนต่างๆ พร้อมกับเช็ดทำความสะอาดโครงของเครื่องรับโทรทัศน์หมดแล้ว ขั้นตอนต่อไปจะทำการจัดวางตำแหน่งของชิ้นใหม่ที่จะไปอยู่ในตัวถังของเครื่องรับโทรทัศน์ ไม่ว่าเมนบอร์ด, ฮาร์ดดิสก์, จอภาพแอลซีดี, ซีดีรอมและ เพาเวอร์ซัพพลาย
ทดลองเอาเมนบอร์ดมาวางเลย์เอาท์ก่อนติดตั้งจริง
นำเสาค้ำอุปกรณ์ต่างๆ มาวัดตำแหน่งรู เพื่อรอการยึดกาวในขั้นตอนต่อไป
ยึดเสาค้ำมายึดด้วยกาวยาง
ซีดีรอมติดตั้งไว้ด้านข้างเพื่อความสะดวก
เนื่องจากบริเวณด้านหน้าของเครื่องรับโทรทัศน์มีพื้นที่จำกัดมากที่จะติดตั้งอุปกรณ์เสริมต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ลงไป ฉะนั้นการจะติดตั้งอะไรใหญ่ๆ ลงไปคงต้องย้ายไปไว้ด้านหลังหรือด้านข้างของตัวเครื่องแทน อย่างเช่น ซีดีรอม ที่เราได้จัดวางเอาไว้บริเวณด้านขวาของตัวเครื่อง ซึ่งแน่นอนครับว่าจะต้องเจาะไม้บางส่วนออกไปเพื่อจะได้สอดตัวเครื่องซีดีรอมเข้ามาภายในได้
เจาะไม้บางส่วนออกไปเพื่อใช้ติดตั้งซีดีรอม
ตกแต่งขอบไม้ด้วยตะใบขนาดเล็ก
ติดตั้งซีดีรอมเข้าไปในรูที่เจาะเอาไว้
ภายในเครื่องรับโทรทัศน์ทำเสายึดซีดีรอมไว้ด้วยเพื่อความแข็งแรง
ยึดเสากับซีดีรอมเข้าด้วยกันด้วยน็อตขนาดเล็ก
ใส่จอ LCD แทนจอภาพเก่า
เนื่องจากเราต้องการให้การใช้พลังงานในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราปรับแต่งอยู่นี้ประหยัดไฟมากขึ้น และต้องการพื้นที่ใช้สอยภายในตัวถังของเครื่องรับโทรทัศน์ให้มีมากขึ้น เราจึงเปลี่ยนหลอดภาพเดิมของเครื่องรับโทรทัศน์ให้เป็นจอแอลซีดีแทน
บริเวณที่ใส่จอภาพแอลซีดีเมื่อมองจากด้านใน
นำจอภาพแอลซีดีขนาด 15 นิ้ว ใส่ลงไปภายใน โดยเราต้องรื้อฝาครอบจอแอลซีดีออก่อนด้วย
จัดวางตำแหน่งให้พอดีกับขนาดของจอเก่า
ยึดจอภาพด้วยน็อตทั้ง 4 มุม หรือจะใช้กาวยางยึดไว้ก็ได้
หลังจากติดตั้งเรียบร้อยแล้ว เมื่อมองจากด้านหลังตัวเครื่อง
แผงควบคุมจอภาพต่างๆ ยึดไว้ใกล้ จอภาพเพื่อไม่ให้สายไฟเกะกะเกินไป
สายของจอภาพที่ยาวเกินไปก็พันม้วนไว้แบบนี้ก็ได้
อะแดปเตอร์จ่ายไฟให้จอภาพก็รื้อออกมาเหลือแต่วงจร จากนั้นติดไว้บริเวณด้านข้างดังภาพ
ดัดแปลงแผงควบคุมโทรทัศน์มาใช้ควบคุมคอมพิวเตอร์
ตามปรกติแล้วคอมพิวเตอร์จะมีหลอดไฟแสดงผลการทำงานไม่ว่าจะไฟ Power On หรือไฟแสดงการทำงานของฮาร์ดดิสก์ แต่เมื่อเรานำมันมาใส่ลงไปในเครื่องรับโทรทัศน์แล้วคุณสมบัติอันนั้นอาจจะหายไปได้เพราะไม่มีจุดยึดหลอดไฟแสดงผลดังกล่าวนั้นเอง ฉะนั้นเราจึงต้องดัดแปลงหลอดไฟแสดงผลบางส่วนของหน้าปัดของเครื่องรับโทรทัศน์เดิมให้สามารถแสดงผลเป็นไฟแสดงสถานะ Power On และไฟแสดงการทำงานของฮาร์ดดิสก์ แทนครับ
บริเวณแผงหน้าปัดเดิมที่เป็นหลอดไฟแอลอีดีแสดงผลต่างๆ
หลังจากเชื่อมต่อสายไฟจากหลอดไฟแอลอีดีเรียบร้อยแล้วก็สามารถนำไปเสียบกับเมนบอร์ดได้เลย
ประกอบแผงหน้าปัดกลับเข้าไปดังเดิม
บริเวณแผงหน้าปัดด้านหน้าที่ติดตั้งเรียบร้อยแล้ว
สามารถกดปุ่มต่างๆ ได้ตามปรกติ แต่ไม่สามารถใช้ควบคุมอะไรได้แล้ว
ปุ่มเปิด-ปิดโทรทัศน์สามารถดัดแปลงเป็นปุ่มเปิด-ปิดคอมพิวเตอร์ได้
ติดตั้งเมนบอร์ดและเพาเวอร์ซัพพลาย
ขั้นตอนสุดท้ายสำหรับการปรับแต่งครั้งนี้คือการติดตั้งแผงวงจรหลักของคอมพิวเตอร์หรือเมนบอร์ดพร้อมกับภาคจ่ายไฟลงไป ซึ่งก่อนหน้านี้เราได้วางจุดยึดน็อตต่างๆ ไว้หมดแล้วฉะนั้นขั้นตอนนี้ก็คงจะไม่ยากเกินอะไรมากมายนัก เพียงแต่ต้องคอยเก็บสายไฟต่างๆ ให้เรียบร้อยเพื่อให้การไหลเวียนของอากาศภายในตัวเครื่องนั้นเป็นไปได้ด้วยดี
ติดตั้งเมนบอร์ดลงไปก่อนเนื่องจากจะได้จัดสายไฟต่างๆ ได้สะดวกมากขึ้น
ยึดเมนบอร์ดด้วยน็อตทั้ง 4 มุม
ติดตั้งเพาเวอร์ซัพพลายไว้ด้านข้างเมนบอร์ด
นำเหล็กฉากมาดัดแปลงเป็นที่ยึดเพาเวอร์ซัพพลาย
เสียบสายไฟจากเพาเวอร์ซัพพลายให้กับเมนบอร์ด
ติดตั้งการ์ด TV Tuner
ภาพการติดตั้งอุปกรณ์ภายในต่างๆ เรียบร้อยแล้ว
ทำการปิดฝาหลังของเครื่อง
เสียบสายต่างๆ ด้านหลังให้เรียบร้อย เท่านี้เครื่องคอมพิวเตอร์ก็พร้อมใช้งานแล้ว
ผลงานที่เรียบร้อยแล้ว
เป็นอย่างไรบ้างครับกับผลงานการดัดแปลงให้คอมพิวเตอร์เข้าไปอยู่ในอุปกรณ์ต่างๆ ที่ไม่ใช่เพียงเคสเหล็กในแบบเดิมๆ ซึ่งนอกจากจะทำให้คอมพิวเตอร์ของเราสวยและแปลกไปกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ของคนอื่นๆ แล้ว ยังเป็นการช่วยชาติประหยัดจากการนำเข้าเครื่องใช้ไฟฟ้าราคาแพงจากต่างประเทศแล้วยังเป็นการใช้ทรัพยากรได้อย่างคุ้มค่าอีกวิธีด้วย
Comment