Announcement

Collapse
No announcement yet.

เกาะช้างมีปะการังฟอกขาวไหม ติดตาม Reef Watch

Collapse
X
 
  • Filter
  • Time
  • Show
Clear All
new posts

  • [Travel] เกาะช้างมีปะการังฟอกขาวไหม ติดตาม Reef Watch



    คุณณัฐวัชร์ คำเสน นักวิชาการเผยแพร่ กรมทรัพยากรธรรมชาติและชายฝั่ง (เสื้อสีดำ)
    คุณเพชรรุ่ง สุขพงษ์ กรรมการเครือข่ายอันดามันเหนือ (เสื้อสีเขียว)
    Mr.Sacha Ulmer ผู้ก่อตั้งโครงการอุตสาหกรรมดำน้ำ คนไทยทำได้
    และนักศึกษาในโครงการฯ จากสาขาการท่องเที่ยวและการโรงแรม คณะสังคมศาสตร์ มศว
    ................................................................

    ในระหว่างการฝึกงานที่เกาะช้างแห่งนี้ นอกจากจะได้ฝึกงานในส่วนของโรงแรมและธุรกิจดำน้ำแล้ว ยังมีอีกหนึ่งกิจกรรมดีๆ ที่ผมและเพื่อนๆ อีก 8 คนได้มีโอกาสได้ทำร่วมกันก่อนฝึกงานจบ นั่นก็คือ การเข้าร่วมอบรม และ Work Shop กับพี่เจ้าหน้าที่จากกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

    ในหัวข้อ ?อาชีพไกด์ดำน้ำเพื่อการอนุรักษ์ทะเลไทยแห่งอาเซียน? (ภายใต้โครงการกรีนฟินส์) เมื่อวันที่ 6 ? 7 เมษายนที่ผ่าน ณ โรงแรม The Emerald Cove เกาะช้าง จ.ตราด

    ความรู้สึกตอนแรกที่เห็นกำหนดการ ยอมรับว่า ตัวเองไม่ได้มีความอยากจะไปร่วมฟังสักเท่าไหร่ เพราะดูเป็นวิชาการมากกกกกกกกกกกกกกกก จนมาสะดุดกับกำหนดการวันที่ 2 ที่เห็นว่ามีได้ไปดำน้ำ ก็เริ่มเอนเอียงเบาๆ แต่ตอนนั้นยังไม่รู้ว่าดำน้ำเพื่อไปทำอะไร รู้แค่ดำน้ำก็เลย อะๆๆๆ ลองไปดูละกัน




    ?น้องคิดว่า ปะการังเป็นสัตว์หรือเป็นพืช? คำถามแรกจากพี่วิทยากร ?ใครคิดว่าเป็นพืชยกมือขึ้น!!!?

    ผมยกมือสุดแขน

    ?พี่ขอเฉลยว่า .... เป็น....สัตว์ค่า+++?

    พอได้ยินคำตอบเท่านั้นแหละ ผมนี่ตาสะพรึงโตเป็นไข่***นเลย อะไรกันปะการังเป็นสัตว์หรอ การฟังบรรยายครั้งนี้ชักจะไม่ธรรมดาแล้วสิ !!!

    ตามนั้นแหละครับเจ้าปะการังเป็นสัตว์ หน้าตาหลากหลายแตกต่างกันออกไป ที่น่าตะลึงไปมากกว่านั้นสำหรับผม คือ บางชนิดสามารถเคลื่อนที่ได้ !!!

    ......พระเจ้า ไม่เคยรู้มาก่อนเลย......




    นอกจากชนิดของปะการังที่พี่ๆได้อธิบายให้ผมฟัง ก็ยังมีเรื่องการปลูกจิตสำนึกให้เรารักท้องทะเลของเรามากขึ้น เช่น การทิ้งขยะ ผมเอง และเพื่อนๆ หลายคนอาจจะเคยคิดว่า ขยะเล็กน้อยแค่นี้ชิ้นเดียวไม่เป็นไรหรอก ซึ่งมันเป็นสิ่งที่อาจจะไม่ผิด แต่แน่นอนว่า สำหรับเจ้าสัตว์ทะเลตัวเล็กๆ ที่ต้องมาได้รับผลกระทบจากขยะเหล่านี้ เช่น ปูเสฉวน ที่ต้องอาศัยคอขวดที่แตกมาเป็นบ้านสุดท้ายก็ต้องตายเพราะไม่มีที่บังความร้อน หรือสัตว์อีกหลายๆตัวที่ต้องจบชีวิตลงด้วยขยะ เพื่อนๆ คงได้คำตอบกันนะครับว่า ขยะเล็กน้อยแค่นี้ชิ้นเดียวมันไม่เป็นอะไรจริงไหม

    มาถึงกิจกรรมหลักของการอบรมครั้งนี้ คือ การบรรยายเรื่องReef Watch พูดง่ายๆ ก็คือ เป็นการดูคุณภาพปะการังว่ายังมีสุขภาพดีอยู่ไหม ลักษณะของสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเลเป็นเช่นไรบ้าง พื้นที่ส่วนมากประกอบด้วยอะไรบ้าง และทำการบันทึกผล และส่งกลับเข้าไปเก็บในฐานข้อมูล เพื่อใช้ในการจัดการกับปะการังในอนาคตต่อไป

    ซึ่งพวกเราถูกแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม โดยกลุ่มแรกออกไปทำ Reef Watch ที่บริเวณหินราบเหนือ ส่วนกลุ่มพวกผมได้ทำReef Watch ที่บริเวณหินสามสาว




    จากการเก็บสะสมประสบการณ์การดำน้ำมาทั้งหมด 4 ไดรฟ์ (เหมือนจะเยอะ ฮ่าๆๆๆ ) สิ่งหนึ่งที่ผมรู้สึกว่าพัฒนาขึ้นคือการควบคุมการทรงตัวและลมหายใจได้ดีขึ้น ซึ่งทักษะนี้เป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะถ้าควบคุมได้ไม่ดีเราอาจไปสัมผัสเจ้าปะการังซึ่งสุดท้ายมันจะไม่เกิดประโยชน์อะไรเลยหากเราควบคุมการลอยตัวไม่ได้

    หลังจากที่ทุกคนสำรวจเสร็จและขึ้นมาบนผิวน้ำในใจคิดว่า ทำไมเราไม่เห็นปะการังที่ฟอกขาวหรือเจ็บป่วยเลย แต่ยังไม่กล้าพูดเพราะมันเป็นการทำ Reef Watch ครั้งแรก กลัวดูผิด แต่ปรากฏว่า พี่จากกรมทรัพฯ ก็บอกเหมือนกับเราว่า ปะการังที่นี่ยังไม่พบเจอการฟอกขาว หรือป่วย หรือพบก็น้อยมากแทบจะไม่พบเลย ซึ่งก็ถือเป็นข่าวดีสำหรับพวกเรา



    หลังจากเสร็จสิ้นการดำน้ำ ขั้นตอนสุดท้ายคือการส่งข้อมูลกลับ ทำการคีย์ข้อมูลต่างๆ ที่ได้ถกเถียง ....ฮ่าๆๆ ..... เรียกว่า หารือกับเพื่อนๆ ดีกว่า กลับไปยังฐานข้อมูลเพื่อใช้ประโยชน์ในอนาคตต่อไป



    สุดท้ายนี้ต้องขอขอบคุณพี่ๆ จากกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ที่ได้มาให้ความรู้และร่วมดำน้ำเพื่อทำ Reef Watch ไปพร้อมๆ กับพวกเราด้วย อยู่กับเราตั้งแต่เริ่มจนจบทั้ง 2 วันเลย ถือเป็นประสบการณ์ดีๆ ที่น่าจดจำอีกหนึ่ง ฝากถึงเพื่อนๆ ให้ลองหาข้อมูลเกี่ยวกับ Reef Watch หรือลองติดต่อทางพี่ๆ เพื่อขอข้อมูล เพราะเมื่อเพื่อนๆสามารถทำ Reef Watch เป็น เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ก็สามารถเป็นอีกหนึ่งแรงกำลังในการช่วยดูแลเจ้าปะการังของเราได้


    รายงานโดย เต๋า-สุรศักดิ์ - อุตสาหกรรมดำน้ำ คนไทยทำได้ รุ่นที่ 9 (ปีที่4/2559)
    www.facebook.com/seaeventsBangkok

  • #2
    ขอบคุณมากครับ


    สล็อตออนไลน์

    Comment

    Working...
    X