Announcement

Collapse
No announcement yet.

D + D + D + LCD Monitor Repair รับซ่อม และปรึกษาอาการเสีย จอ LCD TV , LCD FREE

Collapse
X
 
  • Filter
  • Time
  • Show
Clear All
new posts

  • วันอาทิตย์ที่ 1 มีนาคม 2558 17.28 น.

    คุณ พจน์การไฟฟ้า ( เพชรบูรณ์ )

    LCD Sony KLV-32S 400A อาการ ภาพเสียงปกติ แต่มีเม็ดสีเต็มหน้าจอ



    คุณ ดีเจ เชิดศักดิ์ 1

    ถ้ามีภาพให้ดูด้วยจะดีมาก ส่วนมากตัวเสียคือบอด T-CON
    วิธีเช็คง่ายๆ คือใช้มือจับที่ไอซี AS15 จะร้อนมาก
    ถ้าไม่มีไอซีเบอร์นี้ในบอด ก็ต้องเปลี่ยนทั้งบอด
    เป็นแนวทาง และความน่าจะเป็นครับ


    คุณ ดีเจ เชิดศักดิ์ 2

    ถ้ามีภาพให้ดูด้วยจะดีมาก ส่วนมากตัวเสียคือบอด T-CON
    วิธีเช็คง่ายๆ คือใช้มือจับที่ไอซี AS15 จะร้อนมาก
    ถ้าไม่มีไอซีเบอร์นี้ในบอด ก็ต้องเปลี่ยนทั้งบอด
    เป็นแนวทาง และความน่าจะเป็นครับ


    www ps-thai.org/index.php?showtopic=15342&pid=99496&mode=threaded&start=#entry99496

    ######################



    LCD SONY KLV-32EX600, ภาพเป็นเนกาทีป

    คุณ ยงยุทธ ( อุทัย ) 1

    ผมไม่รู้ว่าไอซีตัวไหนทำหน้าที่เหมือน AS15 ครับ จับตัวไอซีไม่มีตัวไหนร้อนผิดปกติครับ เช็คไฟทุกจุดปกติ ขอคำชี้แนะด้วยครับ

    คุณ ยงยุทธ ( อุทัย ) 2

    ปิดกระทู้ครับ เช็คเจอ L-PAGE ในเมนด์บอร์ดขาดครับ มีL-PAGE อยู่4-5 ชุดครับอยู่ใกล้สาย LVDS

    www ps-thai.org/index.php?showtopic=23718

    **********************

    Sony Bravia LCD สีเพี้ยน ทำไงดี?

    ความคิดเห็นที่ 5

    นัดช่างเข้ามาให้ช่วยดูล่วงหน้า 2 วัน เพิ่งเข้ามาวันนี้
    แจ้งอาการล่วงหน้าก่อนว่าเป็นยังไง ช่างก็จะได้ทราบข้อมูลคร่าวๆ
    และเตรียมอะไหล่มาเปลี่ยนให้ อันนี้จอมืดไปเลยแต่ยีงมีเสียงอยู่
    ช่างที่มาทำให้บอกว่าคอยล์เสีย ใช้เวลาไม่เกิน 20 นาทีก็เสร็จ
    ทำเร็วมาก เครื่องมือมาพร้อม ไม่พูดพร่ำทำเพลง ลงมือเลย
    โดนไป 1,600 + ค่าน้ำนิดหน่อย ไม่เกิน 2,000 ตอนแรกนึกว่ามากกว่านั้น
    แต่โดนแค่นีถือว่ารับได้ และช่างบอกว่ารับประกันให้ 90 วัน
    สำหรับอะไหล่ที่เปลี่ยนไปแล้ว ติดต่อที่ศูนย์ 02-715-6100
    อย่าลืมแจ้งรุ่น(Model) และหมายเลขเครื่อง (Serial No.) ให้กับ Call Center
    ได้ทราบเพื่อช่างจะได้เตรียมอะไหล่ไปถูกและไม่เสียเวลาในการวิเคราะห์นาน


    www pantip.com/topic/31304889
    Last edited by PERAWAT153; 22 Mar 2016, 10:05:36.

    Comment


    • วันอาทิตย์ที่ 1 มีนาคม 2558 20.45 น.

      # 1
      1. จอ lcd PANA เสีย


      ขอบคุณ ร้าน พงษ์พันธ์ จ. อ มากครับ

      1. ทีวี AKIRA ต้องการเมมโมรี่ครับ

      2. ทีวี แอลซีดี ALPHA 32นิ้ว ไอซีPFCระเบิด

      3. ทีวีLG 32นิ้ว มีภาพมีเสียงภาพเต้นเป็นจังหวะๆ

      4. เพื่อนๆพอจะรู้ไหมว่าไอซีตัวนี้เบอร์อะไรครับ

      5. SAMSUNG LCD.40นิ้ว-LA40A55OP1R

      6. FBT Haier รุ่น29F9D เบอร์อะไรครับ

      7. พลาสม่า ซัมซุง 51นิ้ว อาการดังภาพ

      8. ทีวี LCD พานาโซนิค อาการไม่มีภาพ

      9. ทีวี LCD LG รุ่น 32LH20R

      10. ทีวีชาร์ป อาการยืดบน หดล่าง อาการดังภาพ

      www ps-thai.org/index.php?act=Search&nav=au&CODE=show&searchid=15602195ec60275eb522c4a5e75a4bfe&search_in=posts&result_type=posts

      ####################

      ขอบคุุณเจ้าของเว็บข้างล่างนี้มากนะครับ

      # 2
      เปลืยนหลอดแบคไลท์จอคอมยากมากครับมาดู


      www ps-thai.org/index.php?showtopic=8277&pid=53753&mode=threaded&start=#entry53753

      ***********************

      ขอบคุณ ท่าน ช่างลือ มากครับ

      # 3
      อาการเสียเกี่ยวกับการแสดงภาพ


      เทคนิคการซ่อม PANEL จอ , กับสายแพร

      มาดูเทคนิคการตรวจซ่อม จากเวบ อ.สำราญ

      www pernchang-zoms.com/board/index.php?topic=761.0



      1.สาเหตุจริง ๆภาษาที่ศูนย์บริการเรียกกันคือ จอเสีย หรือ PANEL เสีย แต่ราคาสูงประมาณ 8,000 บาท
      (เปลี่ยนจอ หรือ PANEL)
      2.ในการการซ่อม นายช่างต้องรื้อจอ หรือ ถอด PANEL ออก จะเหลือชุด ที่เรียกว่า Liquid Crystal
      3.Liquid Crystal คือแผ่นฟิลม์สีดำนั้นละ ที่แตกง่าย
      4.ให้ใช้คัดเตอร์ ตัดที่ ดังตัวอย่างตามรูป
      4.1 CKV1
      4.2 CKV2
      4.3 CKV3
      4.4 CKV4
      4.5 CKVB1
      4.6 CKVB2
      4.7 CKVB3
      4.8 CKVB4
      5.หรือวัดแรงดันไฟข้อ 4.1 ถึง 4.8 แรงดันไฟเฉลี่ยต้องเท่า ๆกัน

      วิธีแยกว่าสายแพร 2 ส่วน ว่าด้านใดเสีย

      1. ถอดสายแพจาก T-CON เข้า PANEL
      2. ถ้าถอดเส้นไหนแล้วภาพปรกติ แต่ภาพมีครึ่งเดียว (ไม่มีเส้น)
      3.แสดงว่าด้านที่เหลือ เสียแน่นอน ให้ตัดลายวงจรตามข้อ 4.1 ถึง 4.8


      www nuayelectronic.com/index.php?topic=1423.0

      ***** ต้นฉบับรูปที่ซ่อม PANEL จอ เป็นวิธีซ่อมของเว็บซ่อมรัสเซียครับ *****
      Last edited by PERAWAT153; 23 Jun 2016, 22:05:20.

      Comment


      • วันจันทร์ที่ 2 มีนาคม 2558 17.15 น.

        ซ่อมจอ LCD-LED



        www nuayelectronic.com
        Last edited by PERAWAT153; 22 Mar 2016, 10:07:24.

        Comment


        • วันอังคารที่ 3 มีนาคม 2558 22.18 น.

          แนะนำจอ ของยี่ห้อ HUNNSTAR ( HSD190MEN3 ( 8G0 7B ) )กับ LG & PHILLIP ( LM190E03 ( TL )( B4 ) )





          เว็บซ่อมจอของ รัสเซีย

          www remont-aud.net/forum/78-12714-1

          ######################

          เว็บซ่อมจอของ รัฐเท็กซัส อเมริกา

          www eevblog.com/forum/repair/samsung-lcd-weird-failure-trying-to-repair/
          Last edited by PERAWAT153; 22 Mar 2016, 10:07:49.

          Comment


          • วันพุธที่ 4 มีนาคม 2558 10.00 น.

            เว็บแนะนำซ่อมของรัสเซีย

            ตัวแปลงจอเปล่า LCD Monitor ให้เป็น จอ LCD TV บอร์ดของจีนครับ
            พร้อมวิธีทำครับ








            www mysku.ru/blog/aliexpress/22977.html
            Last edited by PERAWAT153; 22 Mar 2016, 10:08:10.

            Comment


            • วันพุธที่ 4 มีนาคม 2558 19.00 น.

              แนะนำการโมดิฟาย เครืองจ่ายไฟเอนกประสงค์ สามารถดัดแปลงจ่ายไฟให้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ โดยการใช้เคสคอมที่ไม่ได้ใช้แล้วให้เกิดประโยชน์

              ดูรายละเอียดการทำทุกขั้นตอนได้จากเว็บข้างล่างนี้ครับ



              www monitor.net.ru/forum/topic378180-32.html

              ####################

              เดี๋ยวว่าง ๆ ผมจะทำเคสจ่ายไฟเอนกประสงค์ สามารถใช้ไฟจ่ายได้ 3 ชนิด สามารถใช้ตั้งบนโต๊ะ เพื่อใช้กับซ่อมต่าง ๆ ที่สามารถใช้ได้หลาย ๆ ชนิด ในเวลาเดียวกันครับ

              ทำเสร็จเมื่อไหร่ จะมารีวิวให้ดู เดี๋ยวเคลียงานก่อนนะครับ รับรองว่าไม่แพ้เว็บของนอกแน่นอนครับ

              1. สามารุจ่ายไฟได้ 0 - 30 V 3 A โดยใช้หม้อแปลงตัวที่ 1 เป็นวงจรเร็ทติฟาย 0 - 30 V เป็นตัวแรก ซึ่งสามารถจ่ายไฟให้แก่โน๊ตบุ๊ค ได้ทุกยี่ห้อ โดยผ่านการใช้หัวแปลง 24 หัว ที่เคยนำเสนอมาก่อนหน้านี้แล้วครับ

              2. ใช้ POWER SUPPLY COMPUTER 3.3 V , 5 V , 12 V มาแปลงใช้กับหัวต่อ USB หน้าเคส สามารถจ่ายไฟให้ตัวชาร์จมือถือได้ และเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดต่าง ๆ ได้อีกด้วยครับ

              แนะนำเว็บซ่อมของโปแลนด์ครับ

              www elektroda.pl/rtvforum/topic1903645.html

              แนะนำเว็บซ่อมของรัสเซียครับ

              www asorti.meximas.com/index.php?route=information/information&information_id=7

              www galaxybrain.ru/??????-??-????????-samsung-syncmaster-920nw/

              http://http://galaxybrain.ru/%D1%80%D0%B5%D0%BC%D0%BE%D0%BD%D1%82-%D0%B6%D0%BA-%D0%BC%D0%BE%D0%BD%D0%B8%D1%82%D0%BE%D1%80%D0%B0-samsung-syncmaster-710v/

              www monitorremont.blogspot.com/2010_06_01_archive.html

              www monitor.net.ru/forum/monitors-samsung-940-tms91429ct-info-254275.html

              www osta.ee/19-lcd-monitor-samsung-syncmaster-930bf-32884424.html

              www sun-store.ru/category_418.html
              Last edited by PERAWAT153; 17 Jul 2016, 08:03:16.

              Comment


              • วันพุธที่ 4 มีนาคม 2558 20.30 น.

                แนะนำเพิ่มเติมครับ

                DIY ที่ชาร์ตแบตสํารองใช้ได้กับหลายแหล่งจ่ายด้วยวงจรลดแรงดัน LM2596S

                www thaiconverter.com/article/diy-ที่ชาร์ตแบตสํารองใช้ได้กับหลายแหล่งจ่ายด้วยวงจรลดแรงดัน-lm2596s

                DIY Mobile Iphone charger มาชาร์ท Iphoneด้วยแบตเตอรี่ AA 4ก้อนกันเถอะ

                www w2.pdamobiz.com/forum/printer_friendly_posts.asp?TID=194632

                www aekgadget.com/product/155/วงจร-ไฟจาก-12v-เป็น-5v-3a-พร้อม-usb-1-port
                Last edited by PERAWAT153; 17 Jul 2016, 08:04:31.

                Comment


                • วันพฤหัสที่ 5 มีนาคม 2558 10.35 น.

                  แนะนำการ DIY จอ LCD Monitor * 3 จอ ด้วยท่อแป๊ปประปาเหล็กครับ การ DIY ที่สวยงามครับ



                  www hardforum.com/showthread.php?t=1602409

                  www overclockers.com/forums/showthread.php/324442-DIY-LCD-MkIII-IMOG-edition

                  ทำขาแขวนจอ LCD TV จากเหล็กฉากรูครับ ใช้งบน้อย แต่ใช้งานได้ดีครับ ขอบคุณการ DIY ที่ดีและประหยัดครับ

                  www topicstock.pantip.com/home/topicstock/2009/08/R8183422/R8183422.html
                  Last edited by PERAWAT153; 17 Jul 2016, 08:06:43.

                  Comment


                  • วันพฤหัสที่ 5 มีนาคม 2558 16.30 น.

                    ความจริงเรื่องมิเตอร์ของการไฟฟ้าที่ติดอยู่ตามบ้านของเราในแง่มุมต่างๆ

                    เห็นว่ามีประโยชน์ครับ ไม่มากก็น้อย


                    www pui108diy.com/wp/?p=154

                    เกริ่น , การอ่านมิเตอร์, หลักการทั่วไป

                    ในหัวเรื่องนี้ผมอยากจะชื้ให้เห็นความจริงเรื่องมิเตอร์ของการไฟฟ้าที่ติดอยู่ตามบ้านของเราในแง่มุมต่างๆ ประเด็นหนึ่งต่างๆที่อาจยังเข้าใจผิด เช่น มิเตอร์การไฟฟ้าวัดการใช้ไฟฟ้าในบ้านจากอะไร เราสามารถวัดหรือคำนวนย้อนกลับไปว่าอุปกรณ์ต่างๆกินไฟเท่าไหร่กันแน่คำนวนกันอย่างไร การติดแค๊ปกับหลอดไฟช่วยให้ประหยัดไฟได้ไหม การแก้ไขพาวเวอร์แฟ็กเตอร์มีผลกับมิเตอร์หรือไม่อย่างไร เครื่องประหยัดไฟทีหลอกหลอนกันทั้งมีข้อเท็จจริงอย่างไร และเครื่องประหยัดไฟจริงๆมีอยู่ไหมครับบนโลกนี้ เหล่านี้เป็นประเด็นที่เราควรศึกษาและทำความเข้าใจกับมันให้ถูกต้อง รู้ทั้งเขาและเราจะได้สามารถยืนอยู่บนเหตุและผลด้วยปัญญาของเราจริงๆ

                    ในเรื่องนี้มีเนื้อหา ที่ค่อนข้างยากถึงยากมากเกี่ยวกับไฟฟ้ามีคำใหม่แปลกๆที่ไม่ค่อยคุ้นหูนัก และผมต้องบอกก่อนว่าไม่ได้เชี่ยวชาญเรื่องไฟฟ้า แต่ความสงสัยของผมทำให้ต้องค้นคว้าหาคำตอบกันจนได้ และผมพยายามที่จะอธิบายให้พอเข้าใจแต่มีเนื้อหาที่ดูเยิ่นเย้อและออกนอกเรื่องแล้ววกกลับมาให้เห็นว่ามันเป็นความจริงอย่างนั้น ซึ่งเนื้อหาที่ผมเขียนนั้นเพื่อให้ผู้ไม่ค่อยมีความรู้เรื่องไฟฟ้าเลยได้พอจับใจความได้บ้างคราวหลังมาอ่านอีกทีจะทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้น อันไหนเอาไปใช้ได้ก็เอาไปใช้ อันไหนยากก็ทิ้งๆเอาไว้ตรงนี้แหละครับ แต่ถ้าคนที่มีความรู้เรื่องไฟฟ้าหรือเรียนมาทางด้านนี้ถ้าผมเขียนหรือเสนอข้อความตรงไหนไม่ถูกช่วยคอมเม้นท์ให้ผมแก้ไขให้ถูกต้องตามความเป็นจริงด้วยครับจะเป็นพระคุณอย่างยิ่ง เพราะผมถือว่าสอนให้คนอื่นรู้แบบผิดๆ ผมจะผิดและโง่ไปอีกหลายชาติ
                    ก่อนอื่นเรามารู้จักมิเตอร์ไฟฟ้ากันก่อน KiloWatt-Hour Meter


                    มิเตอร์ไฟฟ้า ของการไฟฟ้าที่ขอมาติดหน้าบ้าน หรือเป็นแบบที่ซื้อเองมาติดให้ห้องเช่า หรือจะติดที่ไหนก็แล้วแต่ ในภาษาอังกฤษ มิเตอร์ตัวนี้เรียกว่า กิโลวัตต์-อาวมิเตอร์ KiloWatt-Hour Meter ที่เราใช้ๆกันตามบ้าน จะเป็นชนิด Single Phase Electro Magnetic Meter หรือ 3 Phase Electromagnetic Meter แปลเป็นไทย คือ เป็นมิเตอร์ชนิดแม่เหล็กไฟฟ้า ภาพอันล่างนี้เป็นมิเตอร์ไฟฟ้าของเยอรมันของเก่าซึ่งปัจจุบันไทยเราก็ยังใช้แบบประมาณนี้อยู่ ภาพจากwiki ครับ และ หาอ่านเรื่องมิเตอร์ไฟฟ้าได้จากWIKI(eng)



                    มิเตอร์ไฟฟ้าชนิดบอกค่าด้วยหน้าปัดเข็ม ภาพwiki





                    มิเตอร์ไฟฟ้าจากเยอรมันรุ่นเก่า ภาพwiki
                    กลไกการทำงาน ชนิดที่มี มิเตอร์เข็มเล็กๆบอกค่าเป็นหลักๆไป ซึ่งชอบใช้กับเมืองนอก เช่นประเทศอังกฤษ เมืองไทยไม่มี ภาษาอังกฤษเรียกว่า Single Phase Electromagnetic Clock Type Recording Meter





                    ลองอ่านมิเตอร์บอกค่าชนิดหน้าปัดเข็มในรูปได้เท่าไหร่ครับ วิธีอ่านมิเตอร์ชนิดหน้าปัดเข็ม
                    เรามาลองอ่านมิเตอร์แบบที่ใช้กันในเมืองไทยดูบ้าง




                    ส่วนภาพและหลักการทำงานที่เป็นภาษาไทยหาอ่านได้จากเอกสาร pdf กิโลวัตต์ฮาว์มิเตอร์ ส่วน vd0 สื่อวิดิทัศน์เรื่อง กิโลวัตต์ อาวร์มิเตอร์ เพาเวอร์มิเตอร์ ก็หาดูได้ครับจากเว็บเดียวกัน อาจารย์อธิบายอย่างละเอียด ส่วนที่ผมจะบอกเล่าและทดลองให้ดูนั้นเป็น ผล และเราจึงวกกลับไปหาเหตุครับ




                    ในเอกสารอธิบายหลักการทำงานดังนี้ว่า หลักการทํางาน ขดลวดกระแสและขดลวดแรงดันทําหน้าที่สร้างสนามแม่เหล็ก ส่งผ่านไปยังจานอะลูมิเนียมที่วางอยู่ระหว่างขดลวดทั้งสอง ทําให้เกิดแรงดันไฟฟ้าเหนี่ยวนํา และมี กระแสไหลวน (Eddy current) เกิดขึ้นในจานอะลูมิเนียม แรงต้านระหว่างกระแสไหลวน และสนามแม่เหล็กของขดลวดแรงดันจะทําให้เกิดแรงผลักขึ้น จานอะลูมิเนียมจึงหมุนไปได้ที่แกนของจานอะลูมิเนียมจะมีเฟืองติดอยู่ เฟืองนี้จะไปขับชุดตัวเลขที่หน้าปัทม์ของเครื่องวัด แรง ผลักที่เกิดขึ้นจะเป็นสัดส่วนระหว่างความเข้มของสนามแม่เหล็กของขดลวดแรงดันและกระแส ไหลวนในจานอะลูมิเนียม และขึ้นอยู่กับจํานวนรอบของขดลวดด้วย


                    คำว่า กระแสไหลวน หรือ Eddy current ผมก็ยังไม่เข้าใจนักไว้วันหลังจะขุดหาคำตอบให้ทั่ว แต่อยากรู้คร่าวๆการทดลองเรื่อง Eddy current ใน youtube มีเยอะเลยครับ ส่วนผมเจอคำนี้ในสมัยเรียนหม้อแปลง เจอคำนะครับ แต่ไม่เคยทดลองพิสูจน์ทราบ แต่จริงๆแล้วประโยชน์ของมันมีเยอะมากในแง่การประยุกต์ เช่นเตาแม่เหล็กไฟฟ้า ที่อยู่ตามร้านอาหารต่างๆในปัจจุบันที่เป็นประเภทต้มๆ เช่น เอ็มเค หรือหาซื้อเตานี้ได้ตามห้าง การให้ความร้อนของเตาเหล่านี้เกิดจาก หลักการสนามแม่เหล็ก และ eddy current ทั้งนั้นครับ



                    กลับมาเรื่องมิเตอร์ต่อ บ้านใครเป็นมิเตอร์เฟสเดียวก็ดู 2 รูปบนนะครับ แต่บ้านใครที่ค่อนข้างใหญ่มีแอร์และเครื่องใช้ไฟฟ้าเยอะ ก็จะขอมิเตอร์เป็นแบบ 3เฟส ดู2รูปล่างที่เป็นแบบ 2จานหมุนและ 3จานหมุน ใช้หลักการทำงานเดียวกัน ถ้าใช้อยู่เฟสเดียวมันก็หมุนจานที่ 1 อยู่บนแกนเดียวกันนั่นแหละ ถ้าใช้ 2 เฟส ก็มี2จาน หมุนพร้อมๆกัน โดยแรงผลักให้มิเตอร์หมุนก็ต่างๆกันออกไป ส่วนใหญ่การออกแบบมิเตอร์เขาคำนวนมาละเอียดแล้ว



                    ขออธิบายสั้นๆง่ายๆคือ มิเตอร์เฟสเดียว จะมีสายไฟเข้ามิเตอร์จากการไฟฟ้า 2สาย คือสายไลน์ สายที่มีไฟ เอามือจับแล้วไฟดูด และอีกสายเรียกว่า นิวทรอล คือสายเป็นกลาง เอามือจับไม่ดูด แต่อย่าไปจับเลยดีที่สุด L (Line ไลน์ ) และ N (Neutral นิวทรอล) มีค่าความต่างศักย์ที่การไฟฟ้าจ่าย 220-235 โวลท์ โดยประมาณ เป็นค่าคงที่ และสายที่ออกจากมิเตอร์ ก็เป็น N กับ L เช่นกัน เมื่อมีการใช้ไฟฟ้าจากอุปกรณ์ไฟฟ้า ทำให้มีกระแสไหลผ่านมิเตอร์ไฟฟ้า โวล์ทหรือ ความต่างศักย์ไฟฟ้าก็มีอยู่แล้ว ทำให้จานหมุนตัวเลขมิเตอร์ก็หมุนไป ปัญหาต่อไปคือ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าอุปกรณ์ไฟฟ้าตัวไหนใช้ไฟแล้วทำให้มิเตอร์หมุนเร็วหมุนช้า และหมุนได้เลขเท่าไหร่ เราสามารถคำนวนได้ไหมอย่างไร****


                    ถ้าเราลองอ่านดูหลักการทำงานคร่าวๆการที่มิเตอร์จะหมุนเร็วหรือหมุนช้า จะ อยู่ที่กระแสที่ใช้กับเครื่องไฟฟ้าอย่างเดียวเท่านั้น แต่จริงๆแล้วไม่ใช่ทั้งหมดและบางกรณีก็ไม่ได้อยู่ที่กระแสอย่างเดียว โดยเฉพาะมิเตอร์การไฟฟ้าชนิดนี้ ทำไมจึงเป็นเช่นนั้นซึ่งจะตอบกันตอนท้ายๆเรื่อง****




                    ตั้งคำถามเรื่องการหมุนของมิเตอร์ , ค่าไฟที่บ้านหน่วยละ?, สูตรหากำลังวัตต์เตารีด



                    ความสงสัยของผมในตอนแรกมันสับสนมากเนื่องจากเคยไปดูอุปกรณ์ลดค่าไฟฟ้า ส่วนใหญ่เขาจะชอบแสดงให้ดู โดยมีเครื่องมือวัดวัดกระแสไฟชนิดแคล้ม หรือหน้าปัดแบบเข็ม และชอบแสดงเป็นหลักการว่าถ้าลดกระแสไฟลงแล้วค่าไฟจะลดลง ซึ่งดูแล้วก็เป็นหลักการที่น่าสนใจ
                    ผมจึงไปค้นหาคำตอบจากอินเตอร์เน็ทที่บรรดาผู้รู้และผู้ตอบมักจะถามกันเสมอและเป็นคำถามยอดฮิต คือ

                    1 ถ้าถามแบบชาวบ้านๆ ต้องถามว่า วัตต์-อาวมิเตอร์ หรือมิเตอร์การไฟฟ้า เข็มจะหมุนเร็วหรือช้า ขึ้นกับกระแสที่ไหล่ผ่านมิเตอร์อย่างเดียวหรือเปล่า ในเมื่อโวลท์ทีส่งมาก็คงที่ ถ้าเราเอาตัววัดแอมป์ไปวัดกับเครื่องใช้ไฟฟ้า เราก็น่าจะคำนวนย้อนกลับไปว่ามิเตอร์ขึ้นเท่าไหร่ได้เมื่อใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าไปนาน 1 ชั่วโมง****

                    2 ถ้าถามแบบคนเรียนไฟฟ้า เขาก็จะถามว่า วัตต์-อาวมิเตอร์ หรือมิเตอร์การไฟฟ้าที่ใช้ตามบ้าน วัด กำลังไฟฟ้าที่ใช้จริง (real power ,true power) หรือกำลังไฟฟ้าปรากฏ (หรือกำลังไฟฟ้าทั้งหมด apparent power, total power)

                    ใช่ครับ 2ข้อที่ถามมันคือคำถามเดียวกัน แต่มองกันในคนละแง่การอธิบายทางปฏิบัติ กับทฤษฎี เวลาตอบต้องใช้ทั้งสองอย่างตอบจึงจะเคลียร์ครับ ซึ่งถ้าเราตอบคำถามเบื้องต้นเหล่านี้ได้ จะเป็นประตูสู่คำตอบของทุกคำถาม


                    เนื่องจากเรียนทางด้านเครื่องกลความรู้ทางไฟฟ้าไม่มาก เลยขออธิบายง่ายๆแบบชาวบ้านๆก่อน
                    กิโลวัตต์-อาวมิเตอร์ วัดค่า ที่ได้ 1 หน่วย เรียกว่า 1กิโลวัตต์อาว หรือ 1Kwh หน่วยนี้เอาไว้คิดค่าไฟฟ้า สมมติราคาหน่วยละ 2.8-4.5 บาทอะไรก็ว่าไป หลักการของ หน่วย หรือ 1 หน่วย หรือ 1กิโลวัตต์-อาว 1KWh ก็คือ เมื่อมีการใช้ไฟไป 1KW นาน 1 ชั่วโมงนั่นเอง มิเตอร์ก็จะขึ้นที่หลักหน่วยเพิ่มที่ละหนึ่งค่า



                    ถ้าเทียบง่ายๆ เตารีด 1 ตัว กินไฟ 1000วัตต์ หรือ 1กิโลวัตต์ ก็เท่ากับเปิดเตารีด 1ตัว นาน 1 ชั่วโมง ถ้าค่าไฟ หน่วยละ 4.5 บาท ก็ต้องเสียตังค์ 4.5บาท ต่อ เลขที่เพิ่มขึ้น 1หน่วย บนมิเตอร์ไฟฟ้าแหละครับ (ดูทีหลักหน่วยของมิเตอร์เท่านั้น)

                    **********************************

                    การคำนวนว่าบ้านท่าน ค่าไฟหน่วยละกี่บาท เรามาลอง คำนวนแบบชาวบ้านๆนะครับ



                    คือ เอาบิลค่าไฟ มาดู ได้ค่าไฟเท่าไหร่ก็แล้วแต่ จะบวกค่าFT ค่าแวท ค่าบริการอะไรไม่ต้องสนใจ เอาเงินที่เราจ่ายจริงกับค่าไฟมาคำนวนกัน คือเอามาหารกับหน่วยบนมิเตอร์ไฟฟ้าที่ใช้ไปในเดือนนั้น เพราะค่าไฟใช้มากหน่วยที่เราต้องจ่ายจะแพงกว่าค่าไฟที่ใช้น้อย แต่ละบ้านค่าไฟต่อหน่วยจึงอาจไม่เท่ากัน บิลค่าไฟที่เห็นเป็นแบบประเภท 2.1.2 คือกิจการขนาดเล็ก จะเป็นบ้านก็ได้ แต่ถ้าขอมิเตอร์แบบ 3 เฟส ก็จะได้อยู่ในประเภทกิจการขนาดเล็ก


                    อ่าวมาลองคำนวนกันดูว่าค่าไฟบ้านใครตกหน่วยละเท่าไหร่ เอาแบบง่ายๆ ชาวบ้านๆ
                    ค่าไฟฟ้าเดือนนี้ = 3498.41 บาท , ใช้ไฟไปเป็นจำนวน 783 หน่วย
                    ฉะนั้น ค่าไฟบ้านผม หน่วยละ 3498.41/783 =4.47 บาท
                    ถ้าแปลแบบชาวบ้านๆ คือ เปิดเตารีดนาน 1ชั่วโมง โดยทีเตารีดไม่ตัด คือร้อนตลอดเวลา เราต้องจ่ายค่าไฟ = 4.47 บาท


                    เอาละครับ ขอยัด สูตรการคำนวน กำลังไฟฟ้าให้หนึ่งสูตรครับ เพื่อว่าจะได้อธิบายกันต่อไปโดยสามารถอิงหลักวิชาการหรือทฤษฎีได้ และสามารถคำนวนค่าไฟฟ้าได้อย่างถูกต้องโดยได้ค่าที่ใกล้เคียง ในที่นี้เราคงรู้จักคำว่า โวลท์ (ความต่างศักย์ไฟฟ้า V ) และ กระแส (I ) กันแล้วถ้ายังไม่ทราบลองหาบทความที่ใกล้เคียงอ่านดู หรือไม่ก็ ที่ ฟิสิกส์ราชมงคล โดยถามอากู ดูนะครับ


                    คือ P =VI และ P=I*IR = V*V/R ก็ได้ ถ้าแทนด้วย V=IR
                    กำลังไฟฟ้า(วัตต์) = โวลท์ x กระแส(แอมป์)
                    ในที่นี้มี คำว่า R (ความต้านทานไฟฟ้า หน่วยคือ โอห์ม , ohm) เพิ่มด้วย
                    ถ้าเรามีแคล้มแอมป์ หรือ มิลติมิเตอร์ทีมีมีการวัดแอมป์ได้ หรือลองอ่านที่ฉลากไฟฟ้าดู ถ้าเรารู้กระแส กับ โวลท์ เราคำนวน กำลังไฟฟ้าได้ทันทีโดยเฉพาะเตารีด เครื่องทำน้ำร้อน กาต้มน้ำร้อน แต่อุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างอื่น ยังไม่แน่ว่าใช้สูตรนี้นะครับ ในทางกลับกัน ถ้าเครื่องไฟฟ้านั้นมีฉลากบอกว่ากินไฟฟ้า หรือกำลังไฟฟ้า บอกมาว่ากี่วัตต์ เราก็สามารถ คำนวนกลับไป หากระแสได้แน่ๆครับ เนื่องจากรู้โวลท์และ วัตต์ หาอ่านได้ในบทความเรื่องฉลากไฟฟ้า****



                    ตัวอย่างการคำนวนเตารีด ส่วนใหญ่เตารีด เมื่ออ่านฉลากข้างกล่อง จะบอกว่ากินไฟ 1000W หรือ 1 kW ถ้าเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าเตารีดเราสามารถแทนค่าสูตร หาค่าที่ไม่รู้ได้เกือบทุกตัว


                    ในกรณีวัดมาแต่แอมป์ ก็จะหาค่าวัตต์ได้ ตัวเลขนี้เป็นการประมาณ เพราะในความเป็นจริงจะไม่มีทางได้1000w เป๊ะ
                    \r\nP = 220โวลท์ x 4.55 แอมป์ = 1000 วัตต์
                    การคำนวนของจริง เช่น วัดRมาได้ 51.8 โอห์ม หา P=?
                    \r\nP=V*V/R = 230*230/51.8 = 1021 W คือวัตต์ จากการคำนวนจริงๆโดยประมาณ ในความเป็นจริงวัตต์ไม่มีทางได้ 1000W เป๊ะๆ หรอกครับ มันมีหลายตัวแปร เช่นไฟการไฟฟ้าบางบ้านได้ 230 V หรืออาจเป็นที่เตารีดเองเมื่อร้อนความต้านทานไฟฟ้า ก็จะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ฉะนั้นค่าวัตต์ตามฉลาก จะได้เป๊ะก็ต่อเมื่อทดสอบตามเงื่อนไขที่เขากำหนด แต่ในห้องทดสอบจะได้ใกล้เคียงมาก




                    ลองอ่านการวัดกระแสด้วยคลิ๊ปแอมป์ ที่พันทิพดูครับ แล้วลองคำนวนวัตต์ที่นี่ดูครับ

                    www topicstock.pantip.com/home/topicstock/2006/09/R4721257/R4721257.html


                    ลองอ่านในกระทู้พันทิพ เขาวัดกระแสแล้วคำนวนค่าไฟกันน่ะครับ ผมอ่านแล้วก็ยังมึนๆ ว่าอันไหนถูกอันไหนผิดหว่า แล้วยิ่งมีคำว่า พาวเวอร์แฟกเตอร์เข้ามาเกียวข้อง แล้วจะเริ่มมึนมากขึ้นครับ แล้วก็มีการต่อcap ซึ่งมีการจ่ายกระแส แต่มิเตอร์การไฟฟ้าก็ไม่ขึ้นไม่เดินไม่หมุน อ่าครับยิ่งมึนเป็นทวีคูณเลยครับ แล้วยังมีคำถามอีกว่า แคล้มแอมป์ที่วัดอ่ะวัดค่า rms หรือเปล่า อ่าคำถามมีอีกมากมาย


                    ชนิดของโหลดเครื่องใช้ไฟฟ้า R L C , กำลังวัตต์ของหลอดไส้?, สูตรหากำลังวัตต์อิงพาวเวอร์แฟคเตอร์



                    ก่อนที่ผมจะหาตอบคำถามที่ตั้งมาเยอะแยะ เรามารู้จักธรรมชาติของชนิดอุปกรณ์ไฟฟ้า หรือประเภทของอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เกี่ยวข้องกับ กระแส (แอมป์ ,A )และ กำลังงานจริงที่มันได้หรือใช้ไป (วัตต์ ,W) เราแบ่งอุปกรณ์ไฟฟ้าเป็น 3 ประเภทดังนี้


                    ก. โหลดรีซีสทีฟ หรือ โหลดความต้านทานไฟฟ้า (Load R , Resistive Load ) คือเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่มีลวดให้ความร้อน หรือแสงสว่างบางประเภท เช่น เตารีด เครื่องทำน้ำอุ่น หลอดไฟฟ้าชนิดไส้ที่สมัยก่อนชอบใช้กัน ถ้าเรามีมิเตอร์วัดไฟฟ้า สามารถวัดกระแส หรือโอมห์(หน่วยวัดค่าความต้านทานไฟฟ้า) ก็จะใช้สูตรหา กำลังไฟฟ้าได้โดยตรง คือ P=VI =I*IR=V*V/R แต่มีข้อยกเว้น(อีกแล้ว)ครับ เฉพาะ หลอดไฟไส้ต้องวัดกระแสเท่านั้นและใช้สูตร P=VI เท่านั้นจริงๆ ซึ่งสูตรหากำลังไฟดังกล่าวมันมีประโยชน์มากครับ โดยเฉพาะกับฮีตเตอร์ คือขดให้ความร้อน ถ้าเรารู้ความต้านทาน เราก็หากำลังไฟฟ้าได้ครับ ที่ใช้ๆกันในชีวิตประจำวัน เช่นเครื่องรีดถุง หรือ ตู้อบ ถ้ารู้หลักพวกนี้เราก็ออกแบบเองได้ ทำเองได้ ไว้ผมค่อยเพิ่มให้ในหัวข้ออื่นๆ


                    ถามว่า หลอดไส้ ทำไมถึงใช้สูตร P=V*V/R=I*IR ไม่ได้ครับ ปัญหานี้ต้องไปถามเอดิสันครับผู้ผลิตหลอดไฟครับ หรือลองถาม wiki ดูจะกระจ่างครับ หลอดไส้ภาษาอังกฤษเขาว่า Incandescent_light_bulb เขาบอกว่าเวลาหลอดไฟจะสว่างอุณหภูมิของไส้มันจะใกล้จุดหลอดละลายมันจึงเปล่งรังสีออกมาเป็นแสงได้ แต่การที่อุณหภูมิเพิ่มขึ้น ทำให้R เพิ่มขึ้น ประมาณ 15 เท่า ของ R ที่อุณหภูมิปรกติ เก็ทไหมครับ


                    วีดีโออันล่างคือหลักวิธีการทำหลอดไฟครับ ชอบตรงพิธีกรทำหน้าขึงขังดี



                    ถ้าไม่เก็ทก็เอางี้ครับ ผมลองทดลองดู ถ้าเราวัด I=0.0475A และ R =479 โอห์ม โดยที่ V =230V
                    เราลองมาเข้าสูตร หา P หรือการกินไฟ ของหลอดไส้ขนาด5W ดูครับ
                    \r\nP=VI = 230 V x 0.0475A = 10.9 W
                    =I*IR = 0.0475A x 0.0475A x 479 ohm = 22.7 W
                    =V*V/R = 230 V x 230 V x 479 ohm = 110 W
                    คุณคิดว่าหลอดไฟแบบไส้ ชนิด 5 วัตต์ ที่เป็นโหลดความต้านทาน จะกินไฟกี่วัตต์ครับ เข้าสูตรไหนถูกอ่ะ คำตอบคือทุกสูตรถูกครับ แต่เราหาหรือวัดค่าความต้านทานหรือR ในสภาพวะที่มันเย็นๆ ไฟไม่สว่างฉะนั้น ค่าRดังกล่าวจึงไม่ถูกต้อง




                    ถ้าเอาคำที่ว่าบอกว่า ค.ต.ท ตอนไฟสว่าง = Rตอนหลอดแดงๆ = ประมาณ 15เท่า ของตอนR เย็นๆ
                    ฉะนั้น R ที่ถูกต้องคือค่าประมาณของ = 15 x479 ohm =7125 โอห์ม จริงๆมันไม่ถูกไม่ใกล่เคียงเท่าไหร่
                    ลองกดดูอีกที I*IR = 0.0475A x 0.0475A x 479 ohm =16 W
                    \r\nV*V/R = 230 V x 230 V x 7125 ohm = 7.4 W อ่ะเริ่มใกล้เคียง แสดงว่าคำพูดว่า 15 เท่านี้
                    พอใช้ได้ แต่ไม่ใช่ค่าที่ใกล้ถูก ฉะนั้น P=VI =10.9W ซึ่งไม่มีตัวแปรของR จึงใกล้ที่สุด
                    **** คำถาม แล้วทำไมตั้งชื่อว่า หลอดไส้ 5W ทั้งๆที่มีกินไฟ 11W อันนี้ไม่เข้าใจเหมือนกัน ****
                    และ R ตอนที่หลอดสว่างจ้า ไส้ทังสเตนตัวนี้ ควร มีค่า R อยู่ที่



                    \r\n10.9 =I*IR =0.0475x 0.0475x R
                    \r\nR= 4831 โอห์ม ซึ่งเป็นค่าที่ได้จากการแทนสูตรนั่นแหละ เราจะวัดค่าโอห์มตอนสว่างๆนี้ได้ไหม คำตอบคือยากครับ ผมลองรีบปิดไฟแล้วรีบวัดค่าโอห์ม(หายไป3วินาที)ปรากฎว่าได้ 900 กว่าโอห์ม และ ลดลงเหลือ 500โอห์ม ภายในเวลา2-3 วินาที
                    แต่ถ้าเป็นพวกเตารีด เราวัดR ที่เย็นๆได้ครับ เพราะลวดความร้อนส่วนใหญ่เป็นลวด นิโครม Nichrome wiki บอกว่า R ตอนร้อนๆ 300-500 องศาC ความต้านทานเพิ่มขึ้นประมาณ 3-8% ครับ ฉะนั้นเข้าสูตรได้ ได้ค่าใกล้เคียง



                    ข. โหลดอินดักทีฟ หรือโหลดขดลวด (load L ) ตัวย่อ L มาจากอะไรจำไม่ได้อ่ะ แต่ประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เข้าข่ายคือ หม้อแปลงไฟฟ้าชนิดขดลวดทองแดง บาลาสต์ มอเตอร์ เตาแม่เหล็กไฟฟ้า ที่นึกๆได้ก็เท่านี้ เมื่อเปิดหม้อแปลง หรือ บาลาสต์ ก็จะเกิดกระแสจำนวนมาก กระแสส่วนนึงจะพยายามสร้างสนามแม่เหล็ก บางส่วนก็สูญเสียไปในขดลวดและอุปกรณ์ ผมอธิบายได้แค่นี้เพราะมันค่อนข้างยากใช้เวลาอีกมากนะและเพราะผมไม่เข้าใจมากนัก เขาบอกว่ากระแสที่เกิดขึ้นต้องเอาไปประคองสนามแม่เหล็กที่เกิดในตัวอุปกรณ์ กำลังงานที่ใช้ หรือกำลังงานที่หม้อแปลงนั้นใช้ จะไม่สามารถหาได้จากสูตร P=VI โดยตรง


                    พูดง่ายๆคือเราวัดกระแสที่ไหลผ่านตัวมัน ก็ไม่สามารถคำนวนวัตต์จริงๆที่ใช้งานได้ ต้องใช้สูตร
                    \r\nP =VI cos? = VI x powerfactor =VI x P.F.
                    มีแหล่งความรู้ที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องไฟฟ้าที่ดีเข้าใจง่ายภาพประกอบเยอะ แถมมีรวมเล่มเป็น pdf ด้วย เสียอย่างเดียวเป็นภาษาอังกฤษ คือเว็ป


                    www ibiblio.org/kuphaldt/electricCircuits/


                    สนใจเรื่อง หม้อแปลง มอเตอร์ ไฟฟ้าทั้งหมด ตั้งแต่เบสิกสำหรับคนเรียนไฟฟ้าอิเล็คทรอนิค อีตาคนเขียนคนนี้ (Tony R. Kuphaldt) ขยันโคตรๆเลยครับ นับถือ


                    \r\ncos? ,power factor หรือ P.F. คืออะไร ไว้ผมจะยกตัวอย่างให้ทราบทีหลังครับ โดยเฉพาะตัวอย่างบาลาสต์ที่ใช้กับหลอดฟลูออเรสเซนต์ แปลสั้นๆว่า ตัวประกอบกำลัง มันมีความหมายง่ายๆคือ P.F. คือกำลังงานจริงๆ(real power )เอามาหารกับกำลังงานปรากฎ (apparent power) ขออธิบายแบบข้ามๆคือกำลังไฟฟ้าปรากฎคือ ถ้าเราวัดค่า I ด้วยมิลติมิเตอร์ แล้วเราเอาคูณกับ V จริงๆแล้วพวกเครื่องใช้ไฟฟ้าโหลดRจะได้กำลังงานจริงๆ แต่พวกเครื่องใช้ไฟฟ้าโหลดL V*I จะได้กำลังไฟฟ้าปรากฎ ซึ่งจะมากกว่ากำลังจริงๆทุกครั้ง เพราะอะไร เพราะพฤติกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดโหลดL มีพฤติกรรมเช่นนี้ และเขายังบอกกันต่อไปว่า เนื่องจากมันมีพฤติกรรมที่ต้องประคองสนามแม่เหล็กให้เกิดขึ้น สนามแม่เหล็กจะเกิดทีหลัง โวลท์ และกระแสก็เกิดขึ้นทีหลังโวลท์เช่นกัน ภาษาไฟฟ้าจึงเรียกว่า LAG ซึ่งเป็นคำเดียวกับตอนเล่นเกมส์แล้วเซอฟเวอร์เกิดช้า (เรียกว่า แม่ง แล็ก ว่ะ) และ Lag อยู่ หรือตามอยู่ 90 องศา เมื่อต่ออุปกรณ์เหล่านี้เดี่ยวๆกับ ไฟบ้าน



                    กระแสจึงเกิดตามสนามแม่เหล็ก I คือกระแสที่เกิดขึ้น ตามหลัง(lag) V ตามหลังยังไง ก็volt ขึ้นไปถึงยอดคลื่นแล้ว กระแสเพิ่งเริ่มเดินเตาะแตะออกมาจาก พื้น
                    หาอ่านเรื่อง powerfactor(en) openbookproject ได้เลยครับกระจ่างมากๆ
                    นอกเรื่องนิดนึง อินดักชั่น หมายถึงการเหนี่ยวนำในหม้อแปลงหรือมอเตอร์มีคำนี้ ตอนสมัยเรียนผมก็เรียนพวกวิชา electromagnetic กับ electrical machine เป็นวิชาที่ผมคิดว่าหาความเข้าใจในวิชาได้ยาก จนหาประโยชน์เอามาประยุกต์ในชีวิตประจำวันมิได้โดยเฉพาะสมการคำนวนมีเยอะแยะมึนตึบ แต่พอมาดูเขาเอาไปประยุกต์ใช้ สร้างเตาแม่เหล็กไฟฟ้า ร้อนถึงขนาดหลอมโลหะได้สบายก็เกิดกิเลสอยากเรียนรู้ดูบ้าง ดูในยูทูป ในการทดลองเหล่านี้เกี่ยวข้องกับ การเหนี่ยวนำไฟฟ้า สนามแม่เหล็ก และคำว่า เอ็ดดีเคอเร้นท์ ทั้งนั้นครับ




                    ผมคิดว่า การเรียนบางทีควรเรียนแบบกลับหลัง ลองให้เล่นและทดลองก่อน แล้วค่อยมาสมการ แล้วค่อยกลับไปที่ออกแบบ เพราะบางทีมันไม่เก็ท ไม่เข้าใจเลยสักนิด สำหรับคนที่เรียนเครื่องกลหรือสาขาอะไรก็ได้ที่อ่อนไฟฟ้ามา แต่อย่างไรก็ตามผมก็ยังมีความรู้แค่แบบงูๆปลาในวิชาดังกล่าว.


                    ค. โหลดคาปาซิทิฟ (Load C , Capacitive Load ) ส่วนใหญ่อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านโดยตรงจะไม่ค่อยมี ส่วนใหญ่มันเกิดจากอุปกรณ์ที่เรียกว่าคาปาซิเตอร์ ที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น ที่ใช้กับไฟบ้านไฟฟ้ากระแสสลับเท่านั้นจึงจะมีพฤติกรรมว่า โหลดคาปาซิแตนซ์ คาปาซิเตอร์ตามธรรมชาติมันมีหน้าที่ ชาร์จไฟเข้า และ จ่ายไฟออก โดยเฉพาะ ถ้าไฟฟ้าที่จ่ายให้มันตกลงในกรณีกระแสสลับที่เป็นรูปคลื่น มีไฟขึ้นไฟลงใน 1 วินาที ถึง 50 ชุดลูกคลื่น ในกรณีที่ไฟเริ่มขึ้น คาปาซิเตอร์จะทำหน้าทีชาร์จไฟจากการไฟฟ้า และไฟฟ้าคลื่นตกลง คาปาซิเตอร์ก็ทำหน้าที่จ่ายไฟคืนให้กับการไฟฟ้า ถ้าไม่มีอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆต่อเข้ากับมัน เข้า=ออก อุปกรณ์นี้จึงไม่มีผลต่อกำลังงานจริง มิเตอร์ไฟฟ้าของการไฟฟ้าก็จะไม่หมุน ส่วนใหญ่คาปาซิเตอร์ หรือแคปชนิดกระแสสลับ เอาไว้แก้ค่า powerfactorโดยรวมหรืออาจพ่วงขนานกับโหลดLบางชนิด และก็มีใช้เฉพาะทางกับมอเตอร์ 1 เฟส เช่นใช้ในการสตาร์ทมอเตอร์เพื่อเพิ่มกำลังฉุดแล้วตัดออกเรียก cap start หรือ ใช้เอาไว้ต่อเข้ากับขดมอเตอร์เพิ่มอีกชุดเพื่อทำหน้าที่สร้างสนามแม่เหล็กหมุนให้กับมอเตอร์เรียกว่า cap run เพราะหลักการดังที่กล่าวไปคือไฟตก แคปจะจ่ายกระแส ไฟขึ้น แคปจะชาร์จไฟ จึงสร้างสนามแม่เหล็กให้มอเตอร์ได้ในขณะที่มีไฟเข้าขดมอเตอร์เดี่ยวๆ ขดลวดจะทำหน้าที่สร้างสนามแม่เหล็กกระแสที่เกิดขึ้นนั้นมุมจะตรงกันข้ามกับแคปรวมกัน 180 องศา โดยปรกติ กระแสที่เกิดจากcap จะนำหน้า(lead) โวลท์อยู่ 90 องศา ดูในวงจรแค๊ปเดียวๆตามรูปข้างล่าง



                    ภาพจาก openbookproject.net กราฟที่เกิดจากวงจรข้างล่าง e คือ volt และ i คือ กระแสครับ จะเห็นว่ากระแสที่เกิดจากคาปาซิเตอร์ล้วนๆ มีลักษณะนำ(lead) 90องศา ดูตอนขาโวล์ทเริ่มขึ้นจากพื้นครับกระแสจะนำโด่งไปถึงยอดแล้วครับ อันนี้เป็นพฤติกรรมของพวกโหลดC


                    วงจร ในรูป เอา คาปาซิเตอร์ C ต่อเข้ากับ ไฟฟ้าสลับ จะมีพฤติกกรมดังกราฟก่อนหน้านี้
                    ลองหาอ่านความรู้เบื้องต้นไฟฟ้า ที่อธิบายเป็นคำๆดูนะครับพอให้คำจำกัดความชัดเจนในทางไฟฟ้า โดยเฉพาะหัวข้อ power factor (ภาษาไทยครับ)
                    และถ้าอยากทดลอง ว่าโหลดแต่ละอันทำงานอย่างไรก็ที่นี่ครับ แต่อาจต้องไปโหลดปลั๊กอินจาวาก่อนนะครับจึงใช้งาน ได้ ฟิสิกส์ราชมงคล(ทดลองวงจรR L C ) อีกเช่นเคยครับ




                    ทดลองลดกระแสไฟหลอดฟลูออเรสเซนต์ ,ติดแค๊ปลดกระแสไฟ? ,หลอด36W กินไฟ?



                    ผมขอยกตัวอย่างอุปกรณ์ในชีวิตประจำวัน คือชุดหลอดฟลูออเรสเซนต์ ซึ่งในวงจรจะมีบัลลาสต์ แสดงพฤติกรรมแบบโหลดL แต่ตัวบาลาสเองถ้าเราวัดโอมห์ดูก็พบว่ามีค่า หรือพฤติกรรมแบบ โหลดR ด้วย แต่ที่ยกมา เพราะเป็นโหลด L ที่คงที่กระแสไฟฟ้าหรือโหลดคงที่ไม่เหมือนกับ มอเตอร์ แล้วเราจะติดอุปกรณ์ที่ทำให้กระแสลดลงที่ใช้ๆกันอยู่ครับนั่นก็คือคาปาซิเตอร์ครับ
                    ชุดหลอดฟลูออเรสเซนต์แบบเก่าที่ใช้บัลลาสต์ชนิดคอยล์ทองแดง และยังไม่ติดcapเพื่อลดกระแสไฟ ก็คือหลอดฟลูออเรสเซนต์หรือที่เรียกกันผิดๆว่าหลอดนีออนที่บ้านคนทั่วไปส่วนใหญ่ใช้กัน



                    ปัญหาที่คนที่เรียนไฟฟ้าชอบถามกันแต่ไม่มีบทสรุปตอบกันแน่นอนคือ เปิดไฟหลอดฟลูออเรสเซนต์ 36W 1หลอดกินไฟเท่าไหร่ เปิด1ชม. มิเตอร์ของการไฟฟ้าขึ้นกี่หน่วย <<ลองคลิ๊กลิ้งค์ดู ผมอ่านแล้วเขาก็ถกเถียงกันได้ข้อสรุปและเขาเข้าใจของเขา แต่ขาดการทดลอง ผมก็เลยพยายามหาคำตอบทำการทดลองและเอาทฤษฎีมาจับครับ
                    คำถามแรก



                    \r\n1 ถ้าเปิดหลอดฟลูออเรสเซนต์ 36W 1หลอด กินไฟกี่วัตต์
                    ในตัวอย่าง เป็นแบบบาลาลส์หม้อแปลงแบบไม่มีcap ดูที่ฉลาก จะเขียนว่า บาลาสต์ for 36(40W) 220V 50Hz 0.43A cos?=0.49(0.54)



                    ไม่เห็นบอกอัตราการกินไฟ (วัตต์) เลย ถ้าดูที่หลอด แน่นอนเขียนว่า 36W




                    ไม่พูดพร่ำทำเพลงละครับ วัดกระแสดูเลย ได้ค่าเท่าไหรครับ ประมาณ 0.44 A เปิดปุ๊ปติดปั๊ปวัดเลย แต่พอเปิดไปนานๆมันค่าที่ได้มันอาจจะลดลงได้นิดหน่อยก็ได้เพราะมันจะร้อน แต่ค่าที่ได้ก็โอเคครับ ใกล้เคียงกับค่าที่ฉลากคือ 0.43A อาจเป็นที่มิเตอร์ก็ได้ครับมันไม่ได้วัดค่าเป็น RMS (root meam square, เป็นค่าเฉลี่ยการวัดลูกคลื่นไฟฟ้าชนิดหนึ่งที่สากลนิยมใช้กัน เมื่อวัดแล้วจะมีค่าใกล้เคียงกันเข้าใจกันและอ้างอิงกันได้ แต่มิเตอร์วัดราคาสูงครับ ) ในมิเตอร์ธรรมดา ใช้การวัดค่า peak คือค่าสูงสุดที่มันวัดได้แล้วเอาค่าค่านึงมาหาร จะได้ค่าเฉลี่ยที่ใกล้เคียง ตราบที่ไฟฟ้าเป็นกราฟลูกคลื่นเป็นแบบ sine wave แต่ถ้าลูกคลื่นเป็นสีเหลี่ยม ใช้มิเตอร์ธรรมดาวัด ค่าที่ได้มันเพี้ยนไปโลกพระจันทร์เลยก็ได้ครับ


                    รามาลองเข้าสูตรกันครับ สูตรกำลังไฟฟ้า
                    ถ้าดูตามวงจร กระแสที่ไหลผ่านคือ 0.43A V=220V กำลังวัตต์ก็น่าจะเป็น
                    \r\nP=VI =220 โวลท์ x 0.43 แอมป์ =94.6 วัตต์ โวลท์แอมป์ (VA)
                    แต่เนื่องจากบาลาสเป็นแบบโหลดขนิดL ค่า 94.6 จึงไม่ใช่ค่าวัตต์ ไม่ใช่กำลังงานที่แท้จริง ในทางที่เขาเรียนไฟฟ้ากันมา ค่านี้ถือเป็นค่ากำลังไฟฟ้าปรากฎ หรือกำลังไฟฟ้ารวมค่า มีหน่วยเป็น โวลท์แอมป์ (VA) รู้จักกำลังไฟฟ้าปรากฎ(appearent power) แล้วใช่ไหมครับ เอามิเตอร์วัดแอมป์มาวัดกับอุปกรณ์ไฟฟ้าอะไรก็ได้ แล้วเอามาคูณ 220V จะได้ค่ากำลังไฟฟ้าปรากฎ อ่ามีชื่อนี้ให้ยุ่งยากทำไมหว่า กำลังไฟฟ้าปรากฎจะเท่ากับกำลังไฟฟ้าจริงก็ต่อเมือเป็นโหลดR คือพวกเตารีด เครื่องทำน้ำอุ่นอะไรทำนองนี้ ค่านี้เอาไปใช้อะไรอย่างอื่นได้ไหมครับ เอาไปใช้กับหม้อแปลงไฟได้ครับ






                    วลาซื้อหม้อแปลง หรือ เราอ่านฉลากหม้อแปลง มันจะบอกเป็น โวลท์-แอมป์ เช่น ถ้าเราซื้อหม้อแปลงเก่าที่คลองถมมา ฉลากหม้อแปลงบอก ขนาด 500VA เป็นหม้อแปลง จากไฟจาก 220V เป็น 110V ถามว่าหม้อแปลงนี้ทนได้กี่แอมป์ครับ ถ้าเราเอาไปใช้กับ มอเตอร์แวคคั่มขนาด 100V 150W 2.2A ใช้ได้ไหมครับ หม้อแปลงไหม้ไหม ลองดูที่นี่นะครับเว็ปลิงค์***กำลังทำ**** คำตอบ ก็ใช้สูตร P=VI แทนค่าสำหรับหม้อแปลงลงไป หา I = P/V = 500/100 = 5A จ่ายมอเตอร์ได้สบาย ฉะนั้นหน่วย VA เป็นหน่วยที่ใช้งานได้ในชีวิตประจำวันครับ



                    แต่เขาบอกว่ามีค่า power factor หรือ cos?=0.49(0.54) ในที่นี้ใช้หลอด 36 W ค่า power factor หรือ cos?=0.49 (ถ้าเป็นหลอด(40)วัตต์ ใช้ค่า (0.54))
                    เข้าสูตรใหม่



                    \r\nP = VI cos? = 220 โวลท์ x 0.43 แอมป์ x 0.49 = 46.35 W
                    \r\n46.35 W อันนี้คือ ค่าวัตต์หรือ อัตราการกินไฟที่แท้จริง ซึ่งฉลากบนบัลลาสต์ที่บอกได้เพราะเขาวัดมาแล้วครับ ถามว่าทำไมต้องบอกอ้อมๆ ว่า cos? หรือ P.F. เพราะเขาต้องการให้เราไปแก้ PF เพื่อลดค่ากระแสลงเอาเอง ในภาคอุตสาหกรรม PF มีผลอย่างมากกับค่าไฟ เขาจะค่าพาวเวอร์แฟ็กเตอร์ส่วนเกินซึ่งจะเป็นเป็นหน่วยของ kvar คือพูดง่ายๆเก็บตังค์ค่า พาวเวอร์แฟ็กเตอร์ อ่ะครับ แต่ของมิเตอร์ตามบ้าน ประเภท ที่อยู่อาศัย หรือกิจการขนาดเล็กเขาไม่เก็บค่า พาวเวอร์แฟ็กเตอร์
                    สรุป คือถ้าหลอดฟลูออเรสเซนต์36W เมื่อใช้กับบาลาสต์ขดลวดตามรูป จะกินไฟราวๆ 50W ครับ
                    แต่ ถ้าหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ 36W เมื่อใช้กับบาลาสต์อิเล็คทรอนิกที่ลูกนึง200กว่า-900บาท ใช้ได้นานราวๆ2หมื่น 5หมื่น 7หมื่น 1แสนชั่วโมง แล้วแต่ราคา ราคาสูงก็ทนหน่อยใช้ได้นาน อัตราการกินไฟราวๆ 36 W โดยประมาณ ดูจากอะไรครับ ดาต้าชีท Philipsที่ทางผู้ผลิตได้ให้ไว้




                    บัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์ philips EB-C LTD power factor =0.95
                    ในรูปบอกว่า ค่า power factor = 0.95 ดูรุ่นในบรรทัดที่สองที่ใช้กับหลอด 36W จำนวน 1 หลอด
                    กำลังวัตต์ขาเข้า= 36 W แสดงว่าเมื่อเอาไปต่อกับหลอดไฟจะกินไฟโดยประมาณ 36W
                    กระแสขาเข้าขณะทำงาน =0.16A ถ้าเราลองคำนวนตามสูตร P = VI cos? =VI*PF.=220A*0.16A*0.95 = 33.5W
                    แต่เชื่อขนมกินได้เลยว่า 36W แน่ๆ ไม่ใช่ 33.5W เพราะบางที่ไฟฟ้าบ้าน สูงถึง 230V และบางทีดาต้าชีทบอก 0.16A มันอาจเป็น 0.169A ก็ได้



                    แต่เป็นที่น่าสังเกตลองอ่านดู บรรทัดที่ สี่ ใช้กับหลอด 36W 2หลอด แต่กินไฟ เหลือเพียง 67W แทนที่จะเป็น 72W อ่าครับ ดีครับประหยัดดี ในพวกหลอดไฟ ถ้าดาต้าชีทบอกวัตต์มาเท่าไหร่ นั่นคือค่าประมาณการกินไฟที่ใกล้เคียงที่สุด ไม่ต้องเอามาอะไรมาวัดกัน เพราะหลอดไฟมีโหลดคงที่ตลอดเวลาครับ ไม่เหมือนแอร์หรือตู้เย็นพอเย็นมันก็ตัดพอร้อนคอมเพรสเซอร์ก็ทำงาน

                    เรามาทำความเข้าใจกับ พาวเวอร์แฟกเตอร์ กับกระแสกันต่อนะครับ ถ้าเกิดว่าผมจะทำการทดลองต่อไป ด้วยการลดกระแสที่ชุดหลอดไฟทั้งหมดที่กินกระแสทั้งหมดไปต้องทำอย่างไรครับ เรามาลองดูบัลลาสต์ philips รุ่น การสูญเสียน้อย BTA 36L04 วัตต์สูญเสียกับคอยล์ตัวมันเอง =5.5W ที่ 20องศาC ดูในดาต้าชีทนะครับ คือที่ผมเลือกมาดูตัวนี้ ผมอยากรู้ว่าเขาปรับปรุง ค่า power factor กันอย่างไร



                    ดูวงจรทางซ้ายล่าง หรือดูข้อมูลในตารางด้านซ้าย สำหรับวงจรต่อหลอด 36W 1 หลอด มีค่า C(uF)= ? , 4.0+-10% 250V I(A)= 0.43 , 0.23 และ ? คือ 0.50 , >0.85 มีความหมายคือ
                    ถ้าไม่ได้ต่อC(uF) กระแสใช้งาน I(A)= 0.43 ค่า power factor หรือสัญลักษณ์ ? คือ 0.50
                    ถ้าต่อแค๊ป capacitor หรือ C(uF)= 4uF 250V กระแสใช้งาน I(A)= 0.23 ค่า power factor หรือสัญลักษณ์ ? คือ >0.85
                    สรุปง่ายๆคือ ต่อ cap กระแสจะลด ค่า power factor จะเพิ่มขึ้น มาลองดูวงจรกัน





                    นื่องจากอุปกรณ์ทดลอง หลอดใช้ฟิลิป และบาลาสใช้ Racer อันที่เคยเสนอไปแล้ว เลยใช้ แคปต่างๆดังนี้
                    ในการทดลองลดกระแสด้วยการปรับแก้ค่า power factor ใช้ cap ดังรูป 5uf 4uF และ2.5uF
                    ผลการทดลอง วัดกระแสได้ลดลงตามลำดับจาก 0.44A เป็น 0.217A ,0.247A และ 0.297A




                    คำตอบคือมันลดกระแสได้ครับ เนื่องจากบัลลาสต์เป็นโหลดL แสดงว่ามีอุปกรณ์ที่ลดกระแสลง และมีขายตามท้องตลาดง่ายๆอย่างหนึ่งก็คือ cap cap ที่เขาแนะนำให้ใช้คือ 4 uF ก็จริงครับ แต่แค๊ปที่ซื้อมาเป็นแค๊ปที่ใช้กับพัดลม เวลาเปิดมีเสียงครางเบาๆมากผมไม่แน่ใจว่าใช้แล้วจะมีปัญหาอะไรหรือเปล่าแต่ก็เลือกแบบ400V แล้วกะว่าทนๆ แต่มันไม่น่าจะเวิก เทียบกับ 5uF อันที่มาเป็นของฟิลิปเลยแต่ uFสูงกว่านิดหน่อย ไม่มีเสียงครางอะไร เงียบกริป


                    \r\ncap โหลดC ทำให้ลดกระแสลงได้อย่างไร ถ้าจะตอบแบบชาวบ้านๆคือ แค๊ปทำหน้าชาร์จไฟเวลาโวลท์ขึ้น และจ่ายไฟเวลาโวลท์สลับขาลง มันเลยไปช่วยเติมเต็มกับหม้อแปลงหรือบัลลาสต์ที่ต้องการใช้ไฟเพื่อประคองสนามแม่เหล็กในหม้อแปลง ถามต่อไปครับ ถ้าเราหาแค๊ปสูงๆมาติด เช่น 10 uF กระแสมันจะลดลงอีกหรือเปล่านี่ อ่าน่าสนใจครับ แต่ผมเอาไว้ทดลองทีหลังละกัน แต่การติดแค๊ปควรทำตามคำแนะนำของฉลากหรือที่เขาคำนวนมาว่าให้ติดแค๊ปเท่าไหร่ ในที่นี้การติดแค๊ป ตามฉลากของฟิลิปส์ มีจุดมุ่งหมายให้แก้ค่า พาวเวอร์แฟ็กเตอร์ เพื่อลดค่าไฟที่การไฟฟ้าเก็บในภาคอุตสาหกรรม คือค่าพาวเวอร์แฟ็กเตอร์ส่วนเกิน ถ้าติดเข้าไปเกินหรือมากเกินไปมันจะมีผลกระทบกับกราฟไฟฟ้าจะถูกรบกวน เรียกว่าฮาร์มอนิก ทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าบางชนิดเสื่อมหรือเกิดความเสียหายได้ง่าย




                    ลดกระแสไฟแล้วมิเตอร์หมุนช้าลง? เหตุผล?, ติดตั้งผิด มิเตอร์หมุนจะช้าลง? สูตรจับเวลาหากำลังวัตต์?



                    คำถามต่อไปคือ เมื่อ ต่อแค๊ป กับชุดหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ ขนาด 36 W ชนิดบาลาสต์คอยล์ทองแดง แล้ว กระแสนั้นลดลง คำถามคือ แล้วมิเตอร์การไฟฟ้าจะหมุน ช้าลงหรือเปล่าครับ
                    ในการนี้ผมมีอุปกรณ์การทดลองอีกตัว คือมิเตอร์การไฟฟ้า ที่ได้มาคือ มิเตอร์ไฟฟ้าเฟสเดียวขนาด 5/15 A เวลาไปซื้อที่่ร้านไฟฟ้า ต้องบอกขนาดให้ถูกตามที่เราต้องการใช้จริง ในที่นี้ 5/15A ก็คือสูงสุด กระแสจะทนได้ 15A หรือเปิด เตารีดได้ 3 ตัว มิเตอร์อาจจพังได้ครับ ถ้าขนาดใหญ่ขึ้นมาอีกนิด ก็มี 10/30A และ 15/45A ครับ การจะขอมิเตอร์ขนาดเท่าไหรต้องคำนวนการกินไฟดูครับ เอาง่ายๆ ถ้ามี แอร์ 1ตัว แบบไม่ใหญ่ 10/30 พอไหว แต่ให้ดีก็ รับ 15/45 A เลยครับ เปิดแอร์ในบ้าน 2 ตัวสบายๆ ลองดูบทความเรื่องฉลากไฟฟ้า*** แล้วคำนวนโหลดในบ้านดูคร่าวๆครับ หรือเอกสารที่นี่ เลือกขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าให้เหมาะกับบ้าน (สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น))
                    มิเตอร์ไฟฟ้าที่ใช้ทดสอบ ของมิซูบิชิ ตอนไปร้านไฟฟ้า เขาบอก 200 บาท มีกล่อง ป้ายหรือเนมเพลทมันก็เขียน Mitsubishi พอถามว่านี่ของแท้เปล่า เขาบอกว่าของแท้ 740 บาท เลยตัดใจเอาตัวแท้มา กลัวเขาคาริเบทมาไม่แม่น พอเอามาหน้าตาดีกว่าตัวปลอมนิดหน่อย แต่เขาบอกว่าไม่มีกล่อง เพราะเขาสั่งมาขายกล่องนึงบรรจุ 4 เครื่อง กำลังงงๆว่าของแท้กลับไม่มีกล่องบรรจุให้ ช่างมันเถอะ ก็เลยหิ้วใส่ถุงเอากลับมาบ้านซะ




                    พอได้มาปุ๊ปก็ต่อไฟลองกับหลอดไฟปั๊ปเลย เอาวางนอนกับพื้น ปรากฎว่ามันไม่หมุน ก็เลยคิดว่าเอาล่ะสิเสียเปล่าหว่า เห็นมันจะหมุนแต่เหมือนหมุนไม่ไปก็เลยยกขึ้นจับตั้ง มันหมุนดีแหะ แสดงว่า เอานอนมันไม่หมุน



                    อืมแปลกจัง
                    ผมก็เลยค้นคว้าต่อไปว่า ทำไม่มันหมุน พบว่า มันมีแบริ่งชนิดแม่เหล็กผสมอยู่ ถ้ามิเตอร์ถูกจับตั้งขึ้น ตัวชุดจานหมุนจะมีแบริ่งแม่เหล็ก(magnets) ติดอยู่ที่ฐานหมุนและก้านหมุน พูดง่ายๆ คือมันจะลอยอยู่ แล้วก็มีก้านประคองบนล่าง(guide pin)เพื่อไม่ให้มันหลุดออกไฟจากแนวที่หมุนของวอร์มเกียร์ ปัญหาคือ ถ้ามิเตอร์ไม่อยู่ตรงแนวศูนย์ หรือแนวตั้ง ก้านจาน(rotor shaft) ก็จะเอียงไปถูกับชิ้นส่วนอื่นๆของฐานบนหรือล่างของชุดประคองจาน (ดูรูปยังไม่เคลียร์เท่าไหร่) ทำให้เกิดแรงฝืดขึ้น มิเตอร์จึงทำงานผิดปรกติ หรือวัดค่าได้น้อยกว่าความเป็นจริง




                    ในมิเตอร์นี้มีข้อความสำคัญคือ 1200 rev/kWh มีความหมายว่า มิเตอร์นี้ต้องหมุนถึง 1200 รอบ จะได้การกินไฟเท่ากับ 1 kWh หรือมิเตอร์ขึ้น 1 หน่วย ข้อมูลนี้ ถ้าเราเอามาคิดย้อนกลับด้วยการจับเวลาใน1รอบการหมุน ของอุปกรณ์ที่เราต้องการวัด เช่น จับเวลา 1รอบ เราจะรู้ได้หรือไม่ว่าอุปกรณ์นั้นกินไฟกี่วัตต์ ยกตัวอย่างเช่น การทดลองนี้ จับเวลาโดยเฉลี่ยของหลอดไฟ36วัตต์ ได้ค่าการหมุนของมิเตอร์ 1 รอบ ใช้เวลา 67 วินาที อยากรู้ว่า หลอดไฟฟลูออเรสเซนต์นี้กินไฟกี่วัตต์โดยประมาณ คิดอย่างนี้ครับ



                    \r\n1200 rev/kWh
                    = 1 รอบ ต่อ 1/1200 kWh
                    = 1 รอบ ต่อ 1/1200 kWs*3600 = 1รอบ ต่อ 3 kWs หรือ = 1รอบ จะกินพลังงานไป 3 กิโลจูล
                    จูลหรือ กิโลจูล เป็นหน่วยของพลังงานแท้ๆ ถ้าเทียบง่ายๆก็ แคลอรี่ หรือ กิโลแคลลอรี่ (1cal=4.185 Jule) มันไม่ได้บอกว่าอัตราการเผาผลาญเป็นเท่าไหร่ ซึ่งเทียบได้กับกิโลวัตต์ หรือ วัตต์ จะบอกอัตราการกินพลังงานใน 1 วินาที เช่นวิ่งเหยาะๆ ผลาญแคลลอรี่ไป 600 กิโลแคลลอรี่ ใน 1ชั่วโมง =600*4.185/3600 = 0.697 kW
                    ฉะนั้น เราวัดได้ 1รอบ ใช้เวลา 67 วินาที
                    จะได้อัตราการซดพลังงาน หรือ กำลังงาน= 3/67 kW = 0.0447 kW = 44.7 W ซึ่งคือค่าการกินไฟหรือ พาวเวอร์ หรือ กำลังงานจริงๆ หรือ real power ประมาณ 44.7 W ซึ่งเป็นค่าใกล้เคียงกับที่เราคำนวนจากสูตร
                    \r\nP = VI cos? = 220 โวลท์ x 0.43 แอมป์ x 0.49 = 46.35 W
                    ถ้าอยากได้ค่าประมาณที่ถูกต้องกว่านี้ เราก็จับเวลา สัก 4-5 รอบ ได้เวลาเท่าไหร่ก็เข้าสูตรนี้



                    เฉพาะมิเตอร์ 1200 rev/kWh ได้สูตร
                    \r\np= 3000*จำนวนรอบที่มิเตอร์หมุน/เวลาที่มิเตอร์หมุนมีหน่วยเป็นวินาที W (หน่วยเป็น วัตต์)





                    แต่ถ้าอยากให้เป็นสูตรสากล
                    \r\nP = (1000 *3600/สเป็คrev) * (จำนวนรอบที่มิเตอร์หมุน/เวลาที่มิเตอร์หมุนมีหน่วยเป็นวินาที ) W
                    มิเตอร์ 5(15) 1200 rev/kWh P= 3000 *n/t วัตต์ n=รอบที่มิเตอร์หมุน , t=เวลาวินาที่ที่จับได้
                    มิเตอร์ 15(45) 400 rev/kWh ก็ใช้สูตร P= 9000 *n/t วัตต์
                    มิเตอร์ 30(100) 200 rev/kWh ก็ใช้สูตร P= 18000 *n/t วัตต์
                    มิเตอร์ 50(150) 100 rev/kWh ก็ใช้สูตร P= 36000 *n/t วัตต์
                    ทีนี้ก็รู้วิธีคำนวนวัตต์ จากรอบการหมุนแล้วนะครับ ถ้ามันหมุนช้ามากเราก็จับเวลาเอารอบเดียวพอ ไม่กี่นาทีคงได้
                    มาเข้าเรื่องต่อการทดลองลดกระแสให้กับหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ 36 W ด้วยการต่อแค๊ป ขนานเข้าไปได้ผลเป็นอย่างไร ผมทำวีดีโอให้ชมแล้วครับ เริ่มขี้เกียจอธิบายแล้ว
                    Last edited by PERAWAT153; 17 Jul 2016, 08:07:20.

                    Comment


                    • วันศุกร์ที่ 6 มีนาคม 2558 10.13 น.

                      แนะนำที่เรียนต่อ ปวช ฟรีครับ เหมาะสำหรับน้อง ๆ ที่กำลังหาที่เรียนต่อ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย เพราะได้รับการสนับสนุนจากกรมอาชีวะศึกษาครับ แต่รับเฉพาะโค้วต้าละ 20 คน และ แผนกช่างยนต์ 40 คนครับ อยู่เขตป้อมปราบครับ

                      เรียนดีมีทุนการศึกษาด้วยครับ และสามารถกู้ กยศ ได้ด้วยครับ

                      ติดต่อได้ที่ วิทยาลัยสารพัดช่างพระนคร ใกล้วัดสระเกศ ดูได้รายละเอียดได้ที่เว็บข้างล่างนี้ครับ



                      www bpc.ac.th
                      Last edited by PERAWAT153; 17 Jul 2016, 08:07:47.

                      Comment


                      • วันเสาร์ที่ 7 มีนาคม 2558 10.13 น.


                        แนะนำเว็บซ่อมจอ LCD Monitor ของคนเขียนหนังสือ LCD Monitor Repaiir

                        How To Repair Dell E153Fpc LCD Monitor With Display Shutdown Problem

                        www electronicrepairguide.com/dell-e153fpc-lcd-monitor-repair.html
                        Last edited by PERAWAT153; 23 Jun 2016, 22:07:33.

                        Comment


                        • วันเสาร์ที่ 7 มีนาคม 2558 19.00 น.

                          แนะนำเว็บซ่อมจอ LCD Monitor ของคนเขียนหนังสือ LCD Monitor Repaiir

                          How To Repair ACER AL712 LCD Monitor With Display Shutdown Problem

                          www electronicrepairguide.com/acer-al712-lcd-monitor-repair.html

                          ####################

                          ***** แนะนำเว็บซ่อมจอ LCD Monitor ของ ญี่ปุ่นครับ หายากด้วยนะครับ *****

                          www irohani.chakin.com/Repair_records/LCD_monitor_2.htm
                          Last edited by PERAWAT153; 23 Jun 2016, 22:07:58.

                          Comment


                          • วันอาทิตย์ที่ 8 มีนาคม 2558 9.50 น.

                            www irohani.chakin.com/Repair_records/LCD_monitor_2.htm

                            คุณ WICHIAN001

                            ขาย ชุดซ่อม จอ LCD power supply + inverter



                            ชุดซ่อม จอ LCD? มี ชุดจ่ายไฟ + ชุดไฟสูง ใช้ได้ตั้งแต่ 15-22 นิ้ว
                            ชุดนี้ขาย 550 บาท + EMS 50 บาท ครับ
                            ตอนนี้มี 3 ชุด&
                            #160; 080-1968044



                            แกะออกมาครับ? ?

                            เอา แผง power เก่าออกทิ้งไป เอาตัวใหม่ใส่แทน

                            ดูต่อไปที่ #271
                            ครับ
                            Last edited by PERAWAT153; 23 Jun 2016, 22:08:26.

                            Comment



                            • ภาพนี้ไม่ใช่ว่าผมถ่ายมาไม่ชัดนะครับ ภาพจะเป็นเส้นตามแนวนอนละเอียดเลยครับ
                              ผมเคยสอบถามช่าง 1 ท่าน เขาว่ามาแบบนี้
                              วงจรไดร์วิ่งเสียครับ เป็นอุปกรณ์ SMD ชิพ มีขนาดเท่าปลายเล็บ ถอดออกมาไปเดินหาซื้อบ้านหม้อ ไม่มีร้านไหนขาย
                              สรุปต้องเปลี่ยนทั้งพาแนล / จอ ครับ บ้านหม้อไม่มีพาแนลขายอีกเช่นกัน ต้องไปหาซื้อมือสองตามเซียร์ ซึ่งถ้าเป็นช่างด้วยกันเค้าจะไม่ขาย (วงการนี้ไม่ปราณีใคร)
                              เค้าจะเก็บไว้เปลี่ยนให้ลูกค้าเขาเอง ถ้า 20 - 22 นิ้ว ราคาน่าจะประมาณ 2000 - 3000 บาทครับ ราคาเกือบเท่าส่งศูนย์
                              จอผมเป็นจอ Led LG 23 นิ้ว 26EA63 ถ้าส่งให้ศูนย์ LG ซ่อมนี่จะคุ้มไหมครับหรือว่าซื้อใหม่คุ้มกว่า
                              Last edited by baccano; 8 Mar 2015, 10:48:26.

                              Comment


                              • เคยทำจอให้เพื่อน เพื่อนเอาจอ LCD Monitor SAMSUNG SyncMaster 740 N 2 ตัวมาให้ซ่อม ปรากฎว่า บอร์ด POWER เสียทั้ง 2 จอ พอดีเอาบอร์ดของ SAMSUNG SyncMaster 730 BW

                                ไปใส่ทั้งชุด ใช้กันได้ เปิดติด ภาพสวย แต่เคสมีสนิมนิดหน่อย ปิดจ๊อบ เพื่อนไม่ว่าอะไร แต่บอกว่าใช้วิธีการยำ ใช่ไหม เราก็ฟังแล้วรู้สึกแปลก ตกลง ดีไม่ดีครับ ไม่เข้าใจคำพูดของเพื่อนจริง ๆ เหมือนเราทำอะไรไม่ดีครับ ตั้งแต่นั้น จะไม่ค่อยทำอะไรให้ใครครับ กลัวคำว่า " ยำ " จริง ๆ ครับ ไม่เข้าใจ ว่า ถ้าส่งเข้าบริษัท ๆ คิดเงินซัก 1500 บาท จะพูดว่าบริษัท " ยำ " รึเปล่า

                                ความหมายของคำว่า
                                " ยำ " หมายถึงการกระทำที่ทำลายไม่ใช่หรือครับ จะมาใช้กับการซ่อมที่มีความรู้ และ ศิลปะได้อย่างไรครับ กรุณาใช้คำพูดใหม่ ไม่เช่นนั้น ท่านจะไม่มีคนที่พร้อมจะทำให้พวกท่าน อย่างแท้จริง แล้วจะมาว่าคนอื่นไม่จริงใจกับท่าน ในเมื่อท่านไม่เคยไว้วางใจเลย แลัวอย่าไปว่าคนอื่นว่า เอาแต่เงิน ในเมื่อสมองของพวกเราคิดอย่างนั้นกันหมด

                                ########################

                                หาบอร์ด 20 นิ้วที่จอเสียครับ ต้องดูที่สายแพรว่าเป็นขนาดเท่าใด หาบอร์ดรุ่นเล็กเปลี่ยนที่จอแตกหรือจอที่มีปัญหาครับ ถ้ารู้รหัสจอ แต่ต้องแปลงสายจาก POWER มาที่ MAINBOARD

                                เรื่องอะไหล่ บ้านเรา ถ้านำมาขาย จะขายยากครับ เพราะช่างบ้านเรา บางครั้งก็มีความจำเป็นที่หาซื้ออะไหล่ยากครับ บางตัวจะไม่มีขายครับ ถ้าคุณไม่เชื่อว่าหาซื้อดูที่บ้านหม้อดูครับ ไม่ลองดู ก็รู้เขารู้เรานะครับ

                                เพิ่มเติมครับ บางทีอะไหล่บางตัวที่หายาก บางครั้งช่างก็ต้องเก็บไว้ใช้เองครับ มีเงินก็หาซื้อไม่ได้ครับ ถ้าเราไม่ลองไปเดินทางไปซื้อด้วยตัวเอง จะไม่มีทางรู้เลยว่า อะไหล่มันหาซื้อยาก ซึ่งต้องใช้ประสบการณ์ เรียนรู้กับการซื้อของด้วยตัวเองเท่านั้น ถึงจะรู้ครับ บางอย่างไม่เข้าไปถึงที่จริง ก็ไม่มีวันเข้าใจครับ
                                การที่ช่างเห็นว่าอะไหล่หายาก ก็จะเก็บไว้ซ่อมแพง ๆ ก็ไม่สามารถโทษช่างได้นะครับ เพราะอะไหล่บางตัวก็ไม่มีจริง ๆ ครับ ถ้ามาใส่ให้ลูกค้า แล้วคิดราคาไม่ถึง 1000 บาท ท่านว่ามันจะคุ้มค่าไหมครับ ถ้าซ่อมแพง ๆ ลูกค้า ถ้าเป็นจอตัวที่แพง ก็คงจะซ่อมครับ ถ้าซื้อใหม่ถูกกว่า ก็คงไม่ซ่อมหรอกครับ


                                กลับกันนะครับ ถ้าท่านเป็นช่าง แล้วลูกค้านำจอมาซ่อม ซึ่งอะไหล่หายากและแพง ท่านจะซ่อมแค่ 1000 บาท หรือ ถ้าต้องดัดแปลงเยอะ อะไหล่ก็ 500 - 800 บาท ถ้าคิดราคา 1000 บาท เป็นท่านจะซ่อมไหมครับ แล้วจะเหลืออะไรครับ ถ้าแล้วต้องดัดแปลงเยอะ ทำออกมาแล้วไม่เหมือนเดิม ลูกค้าไม่ว่าอะไร ลับหลัง ลูกค้าว่าเรายำเครื่อง ท่านเป็นช่างจะรู้สึกอย่างไรครับ ผมว่า ท่านคงจะไม่ปลื้มนะครับ

                                ***** ใจเขาใจเรานะครับ *****

                                #####################

                                ขาย ชุดซ่อม จอ LCD power supply + inverter

                                www udon108.com/thai/showthread.php?t=164389
                                Last edited by PERAWAT153; 23 Jun 2016, 22:08:54.

                                Comment

                                Working...
                                X