Views: 288,293
แนวทางการดำเนินการ
การพัฒนาครูและบุคลากรอาชีวศึกษา ปีงบประมาณ 2556
ในรูปแบบสมาคม ชมรมและเครือข่าย
ภายใต้โครงการการสร้างองค์กรเครือข่ายอาชีวศึกษา
เพื่อการพัฒนาการอาชีวศึกษาอย่างมีคุณภาพและสู่สากล
--------------------
1. ที่มา
ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา มีนโยบายในการพัฒนาครูและบุคลากรอาชีวศึกษา ในรูปแบบที่ส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดสมาคม ชมรมและเครือข่ายบุคลากรอาชีวศึกษาเพื่อการพัฒนาการอาชีวศึกษาอย่างมีคุณภาพ ให้การพัฒนาบุคลากรเกิดจากความต้องการของบุคลากรที่เป็นสมาชิกของสมาคม ชมรมและเครือข่ายบุคลากรอาชีวศึกษาโดยความร่วมมือกับองค์กรภายนอกทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่ให้การสนับสนุนทรัพยากรในการพัฒนาบุคลากรและสอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาการอาชีวศึกษา พร้อมทั้งให้บุคลากรได้มีเครือข่ายในการพัฒนาร่วมกัน
2. วัตถุประสงค์
เพื่อสนับสนุนให้บุคลากรทุกภาคส่วน ประกอบด้วยครูและบุคลากรอาชีวศึกษาและมืออาชีพทั้งภาครัฐและเอกชนในวิชาชีพเดียวกันและที่เกี่ยวข้องได้เกิดการรวมกลุ่มเป็น สมาคม ชมรมและเครือข่าย ร่วมกันจัดทำกิจกรรมเพื่อการพัฒนาการอาชีวศึกษาให้มีคุณภาพ ได้แก่ พัฒนาครูและบุคลากรอาชีวศึกษาในรูปแบบต่างๆ เช่น แลกเปลี่ยนความรู้และความคิดเห็นทางด้านวิชาการ สื่อการสอน วิธีการสอนและประสบการณ์ ในการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน การบริหารจัดการและการปฏิบัติงานรวมถึงคุณภาพชีวิตในการปฏิบัติงาน ระหว่างเพื่อนสมาชิก
3. กลุ่มเป้าหมาย
1. ครูและบุคลากรอาชีวศึกษาจากหลายสถานศึกษาและหน่วยงานส่วนกลางที่มีวัตถุประสงค์เหมือนกันจัดตั้งเป็นชมรมวิชาชีพ โดยมีการสร้างความร่วมมือกับองค์กรภายนอกทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่ให้การสนับสนุนทรัพยากรในการพัฒนาศักยภาพหรือสมรรถนะของสมาชิกชมรม
2. สถานศึกษาที่รวมตัวเป็นอาชีวศึกษาจังหวัด สถาบันการอาชีวศึกษาหรือสถานศึกษาที่มีวัตถุประสงค์เหมือนกันรวมตัวกันเป็นเครือข่ายสถานศึกษา ร่วมมือกับองค์กรภายนอกทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่ให้การสนับสนุนทรัพยากรในการพัฒนาศักยภาพหรือสมรรถนะของสมาชิกในเครือข่ายสถานศึกษา
3. สำนักพัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรอาชีวศึกษาสร้างเครือข่ายกับหน่วยงานต่างๆ ในการพัฒนาครูและบุคลากรอาชีวศึกษาตามนโยบายและนวัตกรรมการใหม่ตามการเปลี่ยนแปลงและตามความจำเป็นเร่งด่วน
4. แนวทางการดำเนินการพัฒนาครูและบุคลากรอาชีวศึกษาในรูปแบบสมาคม ชมรม และ เครือข่าย
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดย สำนักพัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรอาชีวศึกษา ได้กำหนดแนวทางการดำเนินการพัฒนาครูและบุคลากรอาชีวศึกษาในรูปแบบสมาคม ชมรมและ เครือข่าย โดยมีรูปแบบการสร้างองค์กรเครือข่ายอาชีวศึกษาเพื่อการพัฒนาการอาชีวศึกษาอย่างมีคุณภาพและสู่สากลและแนวทางการดำเนินการดังนี้
การสร้างองค์กรเครือข่ายอาชีวศึกษาเพื่อการพัฒนาการอาชีวศึกษาอย่างมีคุณภาพและสู่สากล
การสร้างองค์กรเครือข่ายอาชีวศึกษาเพื่อการพัฒนาการอาชีวศึกษาอย่างมีคุณภาพและสู่สากล สำหรับการพัฒนาครูและบุคลากรอาชีวศึกษา ได้กำหนดการรวมกลุ่มเป็นรูปแบบสมาคม ชมรมและ เครือข่ายโดยสร้างความร่วมมือกับองค์กรภายนอกทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาครูและบุคลากรอาชีวศึกษา
รูปแบบสมาคม และชมรม เป็นการสนับสนุนให้บุคลากรทุกภาคส่วน ประกอบด้วยครูและบุคลากรอาชีวศึกษาและมืออาชีพทั้งภาครัฐและเอกชนในวิชาชีพเดียวกันและที่เกี่ยวข้องได้เกิดการรวมกลุ่ม
รูปแบบเครือข่าย เป็นรูปแบบเครือข่ายสถานศึกษา เป็นเครือข่ายที่เกิดการรวมกลุ่มเป็นอาชีวศึกษาจังหวัด สถาบันการอาชีวศึกษาจังหวัด และสถานศึกษาที่มีวัตถุประสงค์เดียวกันหรือเหมือนกันรวมตัวกันเป็นเครือข่ายและสร้างความร่วมมือกับองค์กรภายนอกทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาครูและบุคลากรอาชีวศึกษา
เครือข่ายสำนักพัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรอาชีวศึกษา เป็นเครือข่ายที่สำนักพัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรอาชีวศึกษาสร้างความร่วมมือกับองค์กรภายนอกทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาครูและบุคลากรอาชีวศึกษาตามนโยบายและนวัตกรรมการใหม่ตามการเปลี่ยนแปลงและตามความจำเป็นเร่งด่วน
หลักการและเหตุผลของการจัดตั้งชมรม
ช่างซ่อมตัวถังและสีรถยนต์ เป็นอาชีพที่มีความต้องการจากตลาดแรงงานและผู้ประกอบการจำนวนมาก
มีสถานศึกษาเพียงไม่กี่แห่งที่ผลิตบุคลากรที่ป้อนให้กับสถานประกอบการ ทั้งในหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) มีผู้เข้าสู่กระบวนการเรียนการสอนและสำเร็จการศึกษาออกไปจำนวนน้อย เนื่องจากสถานศึกษาซึ่งเป็นผู้ผลิตมีจำนวนน้อย นักเรียนนักศึกษาหรือผู้สนใจ รวมทั้งสถานประกอบการ ไม่มีข้อมูลว่ามีการจัดการเรียนการสอนในสาขาอาชีพดังกล่าว เพื่อผลิตและรับเข้าทำงาน กลุ่มวิทยาลัยสารพัดช่าง เป็นสถานศึกษาอาชีวศึกษา จำนวน 10 แห่ง ได้แก่
1. วิทยาลัยสารพัดช่างนครหลวง 2. วิทยาลัยสารพัดช่างราชบุรี
3. วิทยาลัยสารพัดช่างเชียงใหม่ 4. วิทยาลัยสารพัดช่างนครราชสีมา
5. วิทยาลัยสารพัดช่างสงขลา 6. วิทยาลัยสารพัดช่างชลบุรี
7. วิทยาลัยสารพัดช่างกาฬสินธุ์ 8. วิทยาลัยสารพัดช่างอุบลราชธานี
9. วิทยาลัยสารพัดช่างชุมพร 10. วิทยาลัยสารพัดช่างสมุทรปราการ
ได้เข้าร่วมโครงการความร่วมมือทางวิชาการด้านตัวถังและสีรถยนต์ ระหว่างในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กับ บริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ตั้งแต่ปี พ.ศ.2537 เป็นต้นมา
เพื่อผลิตบุคลากรด้านตัวถังและสีรถยนต์ รวมทั้งพัฒนาบุคลากรที่เป็นครูผู้สอนซึ่งอยู่ในสถานศึกษาดังกล่าว ขณะนี้ได้ลงนามความร่วมมือมาเป็นระยะที่ 3 เพื่อสร้างเครือข่ายการทำงาน การรวมตัวกันในรูปแบบชมรมวิชาชีพนับเป็นวิถีทางหนึ่งที่จะพัฒนาสถานศึกษา บุคลากร นักเรียนนักศึกษาในอาชีพ วิธีการดำเนินการ การประสานงานกับภาคเอกชน สร้างความเข้มแข็งสามารถปฏิบัติภารกิจได้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
วัตถุประสงค์
1. พัฒนาครูและบุคลากรในกลุ่มอาชีพเทคโนโลยีตัวถังและสีรถยนต์ ให้มีศักยภาพที่เหมาะสมทันต่อการ
เปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี
2. สร้างเครือข่ายเพื่อประสานร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของ บุคคล องค์กร หน่วยงาน
สถานประกอบการ ที่อยู่ในกลุ่มอาชีพช่างตัวถังและสีรถยนต์
การพัฒนาครูและบุคลากรอาชีวศึกษา ปีงบประมาณ 2556
ในรูปแบบสมาคม ชมรมและเครือข่าย
ภายใต้โครงการการสร้างองค์กรเครือข่ายอาชีวศึกษา
เพื่อการพัฒนาการอาชีวศึกษาอย่างมีคุณภาพและสู่สากล
--------------------
1. ที่มา
ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา มีนโยบายในการพัฒนาครูและบุคลากรอาชีวศึกษา ในรูปแบบที่ส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดสมาคม ชมรมและเครือข่ายบุคลากรอาชีวศึกษาเพื่อการพัฒนาการอาชีวศึกษาอย่างมีคุณภาพ ให้การพัฒนาบุคลากรเกิดจากความต้องการของบุคลากรที่เป็นสมาชิกของสมาคม ชมรมและเครือข่ายบุคลากรอาชีวศึกษาโดยความร่วมมือกับองค์กรภายนอกทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่ให้การสนับสนุนทรัพยากรในการพัฒนาบุคลากรและสอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาการอาชีวศึกษา พร้อมทั้งให้บุคลากรได้มีเครือข่ายในการพัฒนาร่วมกัน
2. วัตถุประสงค์
เพื่อสนับสนุนให้บุคลากรทุกภาคส่วน ประกอบด้วยครูและบุคลากรอาชีวศึกษาและมืออาชีพทั้งภาครัฐและเอกชนในวิชาชีพเดียวกันและที่เกี่ยวข้องได้เกิดการรวมกลุ่มเป็น สมาคม ชมรมและเครือข่าย ร่วมกันจัดทำกิจกรรมเพื่อการพัฒนาการอาชีวศึกษาให้มีคุณภาพ ได้แก่ พัฒนาครูและบุคลากรอาชีวศึกษาในรูปแบบต่างๆ เช่น แลกเปลี่ยนความรู้และความคิดเห็นทางด้านวิชาการ สื่อการสอน วิธีการสอนและประสบการณ์ ในการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน การบริหารจัดการและการปฏิบัติงานรวมถึงคุณภาพชีวิตในการปฏิบัติงาน ระหว่างเพื่อนสมาชิก
3. กลุ่มเป้าหมาย
1. ครูและบุคลากรอาชีวศึกษาจากหลายสถานศึกษาและหน่วยงานส่วนกลางที่มีวัตถุประสงค์เหมือนกันจัดตั้งเป็นชมรมวิชาชีพ โดยมีการสร้างความร่วมมือกับองค์กรภายนอกทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่ให้การสนับสนุนทรัพยากรในการพัฒนาศักยภาพหรือสมรรถนะของสมาชิกชมรม
2. สถานศึกษาที่รวมตัวเป็นอาชีวศึกษาจังหวัด สถาบันการอาชีวศึกษาหรือสถานศึกษาที่มีวัตถุประสงค์เหมือนกันรวมตัวกันเป็นเครือข่ายสถานศึกษา ร่วมมือกับองค์กรภายนอกทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่ให้การสนับสนุนทรัพยากรในการพัฒนาศักยภาพหรือสมรรถนะของสมาชิกในเครือข่ายสถานศึกษา
3. สำนักพัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรอาชีวศึกษาสร้างเครือข่ายกับหน่วยงานต่างๆ ในการพัฒนาครูและบุคลากรอาชีวศึกษาตามนโยบายและนวัตกรรมการใหม่ตามการเปลี่ยนแปลงและตามความจำเป็นเร่งด่วน
4. แนวทางการดำเนินการพัฒนาครูและบุคลากรอาชีวศึกษาในรูปแบบสมาคม ชมรม และ เครือข่าย
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดย สำนักพัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรอาชีวศึกษา ได้กำหนดแนวทางการดำเนินการพัฒนาครูและบุคลากรอาชีวศึกษาในรูปแบบสมาคม ชมรมและ เครือข่าย โดยมีรูปแบบการสร้างองค์กรเครือข่ายอาชีวศึกษาเพื่อการพัฒนาการอาชีวศึกษาอย่างมีคุณภาพและสู่สากลและแนวทางการดำเนินการดังนี้
การสร้างองค์กรเครือข่ายอาชีวศึกษาเพื่อการพัฒนาการอาชีวศึกษาอย่างมีคุณภาพและสู่สากล
การสร้างองค์กรเครือข่ายอาชีวศึกษาเพื่อการพัฒนาการอาชีวศึกษาอย่างมีคุณภาพและสู่สากล สำหรับการพัฒนาครูและบุคลากรอาชีวศึกษา ได้กำหนดการรวมกลุ่มเป็นรูปแบบสมาคม ชมรมและ เครือข่ายโดยสร้างความร่วมมือกับองค์กรภายนอกทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาครูและบุคลากรอาชีวศึกษา
รูปแบบสมาคม และชมรม เป็นการสนับสนุนให้บุคลากรทุกภาคส่วน ประกอบด้วยครูและบุคลากรอาชีวศึกษาและมืออาชีพทั้งภาครัฐและเอกชนในวิชาชีพเดียวกันและที่เกี่ยวข้องได้เกิดการรวมกลุ่ม
รูปแบบเครือข่าย เป็นรูปแบบเครือข่ายสถานศึกษา เป็นเครือข่ายที่เกิดการรวมกลุ่มเป็นอาชีวศึกษาจังหวัด สถาบันการอาชีวศึกษาจังหวัด และสถานศึกษาที่มีวัตถุประสงค์เดียวกันหรือเหมือนกันรวมตัวกันเป็นเครือข่ายและสร้างความร่วมมือกับองค์กรภายนอกทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาครูและบุคลากรอาชีวศึกษา
เครือข่ายสำนักพัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรอาชีวศึกษา เป็นเครือข่ายที่สำนักพัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรอาชีวศึกษาสร้างความร่วมมือกับองค์กรภายนอกทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาครูและบุคลากรอาชีวศึกษาตามนโยบายและนวัตกรรมการใหม่ตามการเปลี่ยนแปลงและตามความจำเป็นเร่งด่วน
หลักการและเหตุผลของการจัดตั้งชมรม
ช่างซ่อมตัวถังและสีรถยนต์ เป็นอาชีพที่มีความต้องการจากตลาดแรงงานและผู้ประกอบการจำนวนมาก
มีสถานศึกษาเพียงไม่กี่แห่งที่ผลิตบุคลากรที่ป้อนให้กับสถานประกอบการ ทั้งในหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) มีผู้เข้าสู่กระบวนการเรียนการสอนและสำเร็จการศึกษาออกไปจำนวนน้อย เนื่องจากสถานศึกษาซึ่งเป็นผู้ผลิตมีจำนวนน้อย นักเรียนนักศึกษาหรือผู้สนใจ รวมทั้งสถานประกอบการ ไม่มีข้อมูลว่ามีการจัดการเรียนการสอนในสาขาอาชีพดังกล่าว เพื่อผลิตและรับเข้าทำงาน กลุ่มวิทยาลัยสารพัดช่าง เป็นสถานศึกษาอาชีวศึกษา จำนวน 10 แห่ง ได้แก่
1. วิทยาลัยสารพัดช่างนครหลวง 2. วิทยาลัยสารพัดช่างราชบุรี
3. วิทยาลัยสารพัดช่างเชียงใหม่ 4. วิทยาลัยสารพัดช่างนครราชสีมา
5. วิทยาลัยสารพัดช่างสงขลา 6. วิทยาลัยสารพัดช่างชลบุรี
7. วิทยาลัยสารพัดช่างกาฬสินธุ์ 8. วิทยาลัยสารพัดช่างอุบลราชธานี
9. วิทยาลัยสารพัดช่างชุมพร 10. วิทยาลัยสารพัดช่างสมุทรปราการ
ได้เข้าร่วมโครงการความร่วมมือทางวิชาการด้านตัวถังและสีรถยนต์ ระหว่างในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กับ บริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ตั้งแต่ปี พ.ศ.2537 เป็นต้นมา
เพื่อผลิตบุคลากรด้านตัวถังและสีรถยนต์ รวมทั้งพัฒนาบุคลากรที่เป็นครูผู้สอนซึ่งอยู่ในสถานศึกษาดังกล่าว ขณะนี้ได้ลงนามความร่วมมือมาเป็นระยะที่ 3 เพื่อสร้างเครือข่ายการทำงาน การรวมตัวกันในรูปแบบชมรมวิชาชีพนับเป็นวิถีทางหนึ่งที่จะพัฒนาสถานศึกษา บุคลากร นักเรียนนักศึกษาในอาชีพ วิธีการดำเนินการ การประสานงานกับภาคเอกชน สร้างความเข้มแข็งสามารถปฏิบัติภารกิจได้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
วัตถุประสงค์
1. พัฒนาครูและบุคลากรในกลุ่มอาชีพเทคโนโลยีตัวถังและสีรถยนต์ ให้มีศักยภาพที่เหมาะสมทันต่อการ
เปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี
2. สร้างเครือข่ายเพื่อประสานร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของ บุคคล องค์กร หน่วยงาน
สถานประกอบการ ที่อยู่ในกลุ่มอาชีพช่างตัวถังและสีรถยนต์
Comment