Announcement

Collapse
No announcement yet.

= Club - Microlab Solo 7C & Mod =

Collapse
X
 
  • Filter
  • Time
  • Show
Clear All
new posts

  • #46
    Originally posted by keang View Post
    ขอบคุณครับ อ่านเพลินแล้วยังได้ความรู้ด้วย
    ไม่ลองเปลี่ยนสายไฟACเครื่อง กับ เปลี่ยนRCA Jack เล่นดูละครับ
    น่าจะทำเป็นตัวต่อไปครับ

    Originally posted by dimarzioex View Post
    ทั้งโปรแกรมและตัว DAC เองผมปรับเป็น Flat หมดเลยครับ ในส่วนตัวผมคิดว่าลำโพงจะทำงานได้เต็มประสิทธิภาพหรือไม่นั้น อยู่ที่ต้นฉบับของไฟล์เสียงด้วย ซึ่ง Mp3 ถึงแม้ว่าบิตเรตจะสูง 320 Kbps แล้วนั้นก้อยังให้รายละัเอียดไม่ดีเท่าไหร่ เพราะเป็นการบีบอัดแบบ Lossy ไม่เหมือนกับ FLAC ที่บีบอัดแบบ Lossless ที่ใกล้เคียงต้นฉบับมากที่สุด ตอนนี้ผมก้อเลยฟังแต่เพลงสากลที่เปน FLAC กับ APE แค่นั้น เพราะเพลงไทยบอกได้คำเดียวว่าเสียงที่อัดมาไม่ได้เรื่องเอาซะเลย
    ไฟล์ ที่โหลดในบิทเก็บ flac ape บางไฟล์ ต้องดูคนปล่อยด้วยครับ โปรแกรมที่ rip ไฟล์ก็มีผล บางคนเอาอัลบั๊มดีๆมาปล่อย เสียง flac ไม่ได้เรื่องก็มี

    โปรแกรมที่ฟังก็มีผล MP3 บางเพลง เอา sam เล่น ก็ฟังเพราะได้ dsp มันปรับพอดีกับเพลง เพลงช้า เพลงร้อง เอา jriver เล่นก็ฟังก่อนนอนหลับสบาย

    Comment


    • #47
      Rยี่ห้อRoyal จะบอกว่าไม่ดีก็ไม่ได้น่ะ เพราะ ให้เสียงช่วงต้นเสียงของพวกเครื่องเคาะประเภทโลหะได้ดี ลักษณะที่ได้จะใกล้เคียงของจริง

      ปัญหาที่เจอกัน ส่วนใหญ่จะมีปัญหาที่ระดับความดัง
      ถ้าเปิดดังหน่อยจะมีอาการเสียงคมเป็นของแถม เพราะ เสียงโดยรวมมีแต่ต้นเสียง ขาดรายละเอียดหางเสียงขึ้นมารับช่วงรอยต่อของเสียง

      Comment


      • #48
        รับทราบครับ

        ผมว่าขึ้นกับคนเอามาใช้ด้วยล่ะ ว่าจะใช้งานได้เหมาะสมมั้ย

        Comment


        • #49
          รูปเยอะดีจัง เห็นละเอียดเลย ขอบคุณครับ

          -----------------------------
          ว่าไป R Royal ถูกๆนี่ ใช้ดีเหมือนกันนะในส่วนของวงจร DCหลักที่ไม่เกี่ยวกับสัญญาณ/ACมากนัก เช่น ส่วน DC Power
          ให้ความสเถียรได้ดีพอควร ไม่แพ้ R 1% แพงๆสักเท่าไหร่ และดีกว่า R carbon 5% 10% แพงๆซะอีกน่ะ

          Comment


          • #50
            Originally posted by ManiacMaew View Post
            อยากทราบเบอร์ สามขา 4ตัวที่ยึดไว้กับตัวถัง
            ขอยืมรูปจากท่าน ManiacMaew หน่อยครับ

            สายไฟที่เห็นนี้เราสามารถเปลี่ยนได้หมดเลยใช่ไหมครับ

            สายไฟดีๆนี้ดูยังไงครับ หรือใช้สายลำโพง

            Comment


            • #51
              สายไฟ ยังนึกไม่ออก หาดีๆมาเปลี่ยนยังไง แต่ถ้าจะเปลี่ยนบัดกรีปลั๊กขาวออกละบัดกรีสายตรงลงบอร์ดเลยดีกว่า

              Comment


              • #52
                ใช่ครับ เปลี่ยนได้หมดเลย

                การเลือกสายเชื่อมระบบเสียง


                ? ในกระบวนการผลิตสายจะมีการนำทองแดงมารีดให้ได้ขนาดตามต้องการ

                ซึ่งไม่ว่าจะผลิตในระบบใด การรีดทองแดงจะทำให้เกิดปัญหาสำคัญตามมา

                ได้แก่

                1. ปัญหาที่เกิดจากช่องว่างในเนื้อตัวนำ

                ซึ่งจะทำให้สารมลภาวะต่างๆ เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และคาร์บอน

                มอนน็อกไซด์ (CO) หรือแม้แต่ออกซิเจน (O2) เข้ามาทำปฏิกริยาให้เกิดสนิมออกไซด์

                (สนิมสีเขียว) ได้ง่าย ซึ่งมีผลทำให้สัญญาณที่ไหลผ่านไม่ได้ดี คุณภาพของเสียงก็ด้อยลง

                2. ปัญหาที่เกิดจากฉนวนของสาย

                โดยสายทั่วไปนิยมใช้ PVC ในการทำฉนวน ซึ่งสาร PVC มีข้อบกพร่องที่สำคัญคือ PVC

                จะเสื่อมตามการใช้งาน, PVC สามารถทำปฏิกริยากับสารเคมีได้ง่าย, PVC ติดไฟง่าย,

                PVC เป็นสารที่มีพิษ ซึ่งจะทำลายสภาพแวดล้อมและมีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

                ทางเคมี ทำให้คุณสมบัติของสายและสัญญาณที่ผ่านด้อยลงไป

                3. ปัญหาที่เกิดจากการสั่นสะเทือน (Vibration)

                หรือการหักงอในการใช้งานสายสัญญาณหรือสายไฟย่อมหลีกเลี่ยงการ

                หักงอหรือการตัดสายไปไม่ได้ ซึ่งการกระทำเหล่านี้จะทำให้คุณสมบัติทางกายภาพของ

                สายเปลี่ยนไป

                4. ปัญหาจากสัญญาณภายนอกเข้ามารบกวนสัญญาณภายในสาย

                สายที่คุณภาพไม่ดีนั้น สัญญาณรบกวนจากภายนอกจะเข้ามารบกวนได้ง่าย

                สายเชื่อมระบบบางชนิดในยุคสมัยแรกมีค่าอิมพีแดนซ์ประมาณ 8 โอห์ม ซึ่งสายที่มี

                อิมพีแดนซ์สูงเหล่านี้จะให้เสียงดีกว่าหรือแย่กว่า ก็ขึ้นอยู่กับความสามารถหรือความไร้

                ความสามารถในอันที่จะเกี่ยวเนื่องกับปัญหาต่างๆ ในเรื่องปัจจัยของสาย ได้แก่

                หลักสำคัญของสาย จะต้องไม่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสัญญาณที่วิ่งผ่าน

                ผลกระทบที่เกิดจากพื้นที่ผิวของสาย (Skin-Effect) เป็นปัจจัยสำคัญที่ลดทอน

                คุณภาพและประสิทธิภาพการนำสัญญาณของสาย ยิ่งมีพื้นที่ผิวมากก็ยิ่งผิดพลาดมาก

                ปฏิกริยาที่เกิดจาก ?สนามแม่เหล็ก? (Magnetic Interaction) เมื่อสายนั้นมี

                กระแสผ่านเข้าไปจะมีผลต่อคุณสมบัติทางอิเล็กทรอนิกส์ของสาย ทำให้ความถี่เพิ่มสูง

                ขึ้นและเกิดความผิดเพี้ยนสารตัวนำแต่ละชนิดมีคุณสมบัติในการถ่ายนำสัญญาณที่แตกต่างกัน

                ออกไป ตามค่าของความต้านทานจำเพาะของมัน นอกจากนี้

                ยังรวมถึง ?ความบริสุทธิ์? (Purity) และรูปแบบของ ?การตกผลึก? (Crystallization)

                ในตัวมันเองด้วย

                สายประเภทนี้ส่วนใหญ่จะถูกหาว่าเป็นเหตุให้สัญญาณจัดจ้านเกินไป หรือทำให้เกิด

                เสียงรบกวนขึ้น ซึ่งในความจริงแล้วสายเองไม่ได้มีความจัดจ้านเลย เพียงแต่เกิดจาก

                เพาเวอร์แอมป์ที่ต่ออยู่ได้ส่งสัญญาณที่ไม่สม่ำเสมอผ่านการถ่ายนำของสายนั้นต่างหาก

                สายบางประเภทที่มีค่าความจุสูงๆได้ถูกออกแบบโดยใช้เทคนิคที่เรียกกันว่า Litz

                ซึ่งหมายถึงการจัดเรียงตัวของสายที่หุ้มฉนวนแต่ละเส้น โดยแต่ละเส้นมีค่าทางอิเล็กทรอ-

                นิกส์ที่แตกต่างกัน สายแบบ Litz จึงมีค่าความจุที่หลากหลาย บาททีก็สูงมาก บางทีก็

                ต่ำมาก แม้ปัจจุบันก็ยังมีการเข้าใจผิดว่าสายประเภทนี้มีความจัดจ้านเกินไป ทั้งที่จริง

                ปัญหาคือเพาเวอร์แอมป์

                เช่นเดียวกับความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการใช้สายที่ใช้โลหะตัวนำที่เป็นทองแดงแบบ

                LC-OFC ที่บางคนก็ว่ามันไม่มีดีอะไร บางคันก็ว่ามันมีเสียงกวนและจัดจ้าน ซึ่งความ

                จริงแล้วการใช้สายแบบ LC-OFC เป็นเพียงทางเลือกหนึ่งที่เป็นไปได้ เพราะหากเป็นสาย

                ที่ทำมาจากทองแดงเกรดต่ำๆ เสียงที่ได้ก็คงไม่ดีเด่นอะไรนัก


                การออกแบบสายนำสัญญาณ

                ? การออกแบบสายเพื่อใช้กับ ?การนำสัญญาณระดับต่ำ? (Low Level) ก็มีปัญหา

                หลักๆคล้ายกับการออกแบบสายเชื่อมระบบอื่นๆ เพียงแต่ผลในเชิงกลที่เกี่ยวข้องกับ

                สนามแม่เหล็กนั้นลดลงไปอย่างมาก คุณสมบัติทางอิเล็กทรอนิกส์ของสารทำ

                ฉนวนนั้น มีความสำคัญมากกับสายนำสัญญาณระดับต่ำ โดยฉนวนจะไปลดหรือกัก

                เก็บพลังงานเอาไว้ และมันจะมีผลไปถึงสัญญาณเสียงที่ออกตรงปลายทางด้วย

                โดยทั่วไป ?ค่าความคงที่ของฉนวน? (Dielectric Constant) มักถูกนำมาใช้ใน

                การโฆษณาเพื่อเน้นไปที่สเปก แต่ความจริงมันไม่ได้เป็นสิ่งชัดเจนกับการบอกว่าสารที่

                ต่างไปนั้นจะให้ผลทางเสียง จริงๆ คือ ?ค่าสัมประสิทธิ์ของการดูดซับ? (Coeffient of

                absorption) นั้นไม่มีประโยชน์มากนัก แต่ที่มีความหมายและมีผลมากกว่าก็คือ ปัจจัยใน

                เรื่อง ?ความเร็วในการแพร่กระจาย? (Velocity of propagation and dissipation)

                ปัญหาก็คือตัวฉนวนจะก่อให้เกิดผลคล้าย ?ตัวเก็บประจุ? (Capacitor) โดยจะ

                กักพลังงานเอาไว้ แล้วลดระดับพลังงานลงในที่สุด ซึ่งปัญหาทำนองเดียวกันนี้ก็เกิดขึ้น

                กับสารที่ใช้ทำแผงวงจร, ทำสาย และตัวต้านทานเช่นกัน มีเพียง ?สายในอุดมคติ?

                (Ideal Wire) เท่านั้นที่ไม่มีปัญหาในเรื่องนี้ เมื่อนำ ?โลหะตัวนำในสภาพของแข็ง?

                (Solid Material) มาใช้ เราไม่สามารถเห็นถึงผลทางอิเล็กทรอนิกส์ได้โดยตรง การลดลง

                ของพลังงานจะเป็นตัวบอกให้ทราบ พลังงานที่ถูกดูดซับไว้นั้นก็ยังคงอยู่ที่จุดเดิม แล้ว

                เปลี่ยนสภาพออกไปเป็นพลังงานความร้อนและความร้อนนี้จะกลับไปมีผลต่อโลหะตัวนำ

                นั้นอีกครั้งในเรื่อง ?เฟส? (Phase) ที่เบี่ยงเบนไป แต่ไม่ใช่เรื่องของ ?การเลือกความถี่?

                (Frequency Selective) ที่ระดับความถี่สูงๆ โดยปกติฉนวนทุกชนิดจะมีการดูดซับ

                พลังงานเอาไว้ แต่บางครั้งก็ไม่มีผลมากนักเมื่อรวมกับคุณสมบัติอื่นๆ

                สารสำหรับทำเป็นฉนวนที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน มีอยู่ไม่กี่ชนิด อันได้แก่ PVC,

                Polyethylene, Polypropylene และ Taflon ซึ่งบรรดาสารเหล่านี้สามารถที่จะเกิด

                ?ฟองอากาศ? (air foam) ได้ด้วย

                การพิจารณาเลือกใช้สารใดก็จะดูจากผลกระทบที่มีต่อการถ่ายนำสัญญาณในระดับ

                ต่ำ สำหรับ PVC นั้นถือว่าด้อยที่สุดเพราะมีการดูดซับพลังงานไว้มากที่สุด ในขณะที่

                Polyethylene ได้รับความนิยมใช้กันมากที่สุด เพราะดูดซับพลังงานน้อยกว่า และมี

                ความเพี้ยนต่ำมาก โดยมันจะมีความแข็งแกร่งทางอิเล็กทรอนิคมากกว่า และ Teflon

                จะดีที่สุด (แต่ใช้กันน้อยเนื่องจากราคาสูง)

                ?ค่าความจุ? (Capacitance) จะมีความสำคัญมากกับสายนำสัญญาณระดับต่ำ

                ด้วยเหตุผลคือ หากสายนั้นมีค่าความจุสูงและมาก สัญญาณปรีเอาท์จากเครื่องเล่น

                ต่างๆ จะไม่สามารถขับสัญญาณออกมาได้ค่าความเพี้ยนจะไม่เกิดขึ้นภายในสายแต่เกิด

                จากตัวสายเอง

                ดังนั้นมันจะไม่มีข้อด้อยใดๆ จากการใช้สายนำสัญญาณระดับต่ำที่มีค่าความจุน้อย

                เหตุผลสำคัญประการหนึ่งคือ ค่าความจุที่สูงๆ นี้ก่อให้เกิดสนามแม่เหล็กขึ้นระหว่าง

                ?ตัวนำแบบลบ? (Negative) และ ?แบบบวก? (Postitive) ซึ่งนั่นหมายความว่า

                พลังงานเป็นจำนวนมากจะถูกกักเอาไว้ที่ฉนวน สรุปก็คือไม่ว่าจะใช้สารใดมาเป็นตัว

                ฉนวนก็ตาม ค่าความจุจะมีผลมากกว่า ยิ่งค่าความจุต่ำเท่าใดก็จะมีปัญหาลดน้อยลง

                เท่านั้น

                ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสาย

                1. เช่นกันกับอุปกรณ์ระบบเสียงรถยนต์ชิ้นอื่นๆ สายก็ต้องการระยะเวลาใน

                การอุ่นเครื่องเหมือนกัน โดยสายจะปรับตัวเองให้ทำงานจนได้คุณภาพเสียงออกมา เมื่อ

                ผ่านการใช้งานไปแล้วประมาณ 2-3 สัปดาห์เวลาที่ใช้มักเป็นการช่วยทำให้สารที่ใช้ทำ

                ฉนวนปรับสภาพทางอิเล็กทรอนิกส์จนเข้าที่เข้าทาง

                2. สายทั้งหลายจะมี ?ทิศทาง? (Direction) ในการถ่ายนำด้วยกันทั้งสิ้น ไม่

                ว่าจะเป็นสายไฟธรรมดา จนถึงสายพิเศษที่ทำการโลหะเงินบริสุทธิ์ ดังนั้นในการใช้งาน

                บางชนิดจำเป็นต้องคำนึงถึงทิศทางด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสายนำสัญญาณเสียงและสาย

                ลำโพง บางครั้งต้องใช้ไปในทิศทางเดียวกันบางทีก็ต้องใช้ในทิศทางตรงกันข้าม สายบาง

                ยี่ห้อที่ผลิตโดยบริษัทชื่อดังจะมีการทำคู่มือ เพื่อการใช้งานมาให้ด้วย หรือไม่ก็แจ้งไว้ที่

                ?ตัวแกนของโรลสาย? (Spool) และหากไม่มีแจ้งเอาไว้ อาจต้องใช้การเปรียบเทียบดู

                ว่าด้านไหนจะได้เสียงดีกว่ากัน ซึ่งเปรียบเทียบได้ง่ายพอควร

                3. พาสซีฟ-ครอสโอเวอร์ของลำโพงบางยี่ห้อ สามารถต่อแบบ ?ไบไวร์? (Biwire)

                ได้ทันที โดยมีขั้วอันหนึ่งสำหรับวูฟเฟอร์และขั้วอีกอันหนึ่งสำหรับทวีตเตอร์

                ซึ่งวิธีการนี้สามารถลดความเพี้ยนบางอย่างของลำโพงลงได้

                การต่อสายลำโพงแบบไบไวร์นั้น จะต้องใช้สายทั้งสองเส้นทีเหมือนกัน หรือ

                ออกแบบมาลักษณะเดียวกัน หากสายทั้งสองมีความแตกต่างกันในเรื่องของเฟสมาก จะ

                เกิดลักษณะการเลื่อนเฟสมากๆ ความสมบูรณ์และความเข้ากันได้ของลำโพงทั้งสอง

                ก็จะด้อยลง

                4. การเชื่อมต่อสายเพื่อให้มีคุณภาพสูงสุดนั้นมักเป็นการต่อแบบเชิงกล การบัดกรี

                ไม่มีผลต่อการถ่ายนำที่ดีนัก เพราะตะกั่วไม่ใช่ตัวนำที่ดี ซึ่งการเชื่อมต่อสายด้วยการ

                บัดกรีนั้นจะใช้ตะกั่วน้อยสุด ให้ผิวของโลหะตัวนำสัมผัสกันและกันมากที่สุด การ

                หลอมละลายให้ติดกันจึงเป็นวิธีการต่อสายที่ดีที่สุด

                ตัวนำสัญญาณชนิดต่างๆ


                ? สายนำสัญญาณโดยทั่วไปมักนิยมใช้โลหะทองแดง (Copper) เป็นตัวถ่ายนำ

                สัญญาณ แต่ถึงจะใช้ทองแดงเป็นสารตัวนำสัญญาณเหมือนกัน แต่คุณภาพของการถ่าย

                นำสัญญาณจะเด่นจะด้อยก็ขึ้นอยู่กับกรรมวิธีในการผลิตทองแดงนั้นๆ ขึ้นมา โดยเน้นให้มี

                ความบริสุทธิ์สูงสุด เพื่อให้คลื่นสัญญาณเสียงผ่านได้สะดวกมากที่สุด จนเกิดการแปลง

                สัญญาณที่สุดปลายทาง ชื่อของทองแดงจึงถูกเรียกแตกต่างกันไปตามกระบวนการใน

                การผลิตขึ้นมา ที่พบเห็นกันบ่อยก็ได้แก่ TPC (Tough Pitch Copper)

                ? เป็นสายที่ผลิตขึ้นเพื่อการใช้งานเกี่ยวกับไฟฟ้าทั่วไป อาทิ สายไฟบ้าน ซึ่งอาจมี

                การนำมาใช้กับระบบเสียงอยู่เหมือนกัน แต่เป็นสายแบบธรรมดา กระบวนการผลิตเส้น

                ทองแดงชนิดนี้จะใช้กรรมวิธีการหลอมปกติแล้วปล่อยให้เย็นตัวลงในสภาพบรรยากาศที่

                มีออกซิเจน (Oxygen) อยู่ประมาณ 300-500 PPM (PPM: Part Per Million หรือ

                หนึ่งล้านส่วน) เส้นทองแดงชนิดนี้นอกจากตัวเนื้อโลหะตัวนำเป็นทองแดงแล้ว ยังมีส่วน

                ผสมของไฮโดรเจน (Hydrogen) อยู่ด้วย OFC (Oxygen Free Copper)

                ? เป็นสายที่ผลิตขึ้นโดยเน้นการกำจัดไฮโดรเจนออกไป และลดปริมาณของ

                ออกซิเจนลงให้มากที่สุด โดยการหลอมโลหะทองแดงให้อ่อนตัวลงเพื่อลดโครงสร้างของ

                ผลึกทองแดงให้เล็กลง สายประเภท OFC นี้ จะมีค่าความบริสุทธิ์ของทองแดงมากถึง

                99.99% และมีออกซิเจนเจือปนอยู่น้อยมากประมาณไม่ถึง 10 PPM

                PCOCC (Pure Copper by OHNO Continuouse Casting Precess)

                ? กรรมวิธีการผลิตแบบนี้ ปัจจุบันถือว่าสุดยอดทางเทคนิคการผลิตทองแดง เพื่อเพิ่ม

                ขีดความสามารถในการถ่ายนำสัญญาณพัฒนาขึ้นโดยศาสตราจารย์ OHNO แห่ง

                Chiba Institute of Technoloty เริ่มต้นจากการหลอมทองแดงให้เกี่ยวเนื่องกันแบบ

                โมด์ความร้อน เพื่อทำให้ทองแดงเหลือเพียง ?ผลึกเดี่ยว? (Monocrystallization)

                การเกิดเป็นผลึกเดี่ยวนี้เอง จึงไม่มีทั้งออกซิเจนและไฮโดรเจน และยังช่วยลด

                อัตราส่วนของแรงดึงต่อแรงดันลงได้มากอีกด้วย จึงทำให้มีค่าความพลิกผันมากกว่า

                ค่า Q นอกจากนั้น PCOCC ยังมีแรงต้านทานต่อสนามแม่เหล็ก อันเป็นปัจจัยสำคัญ

                ที่ก่อให้เกิดการสั่นสะเทือนภายในตัวนำสัญญาณต่างๆที่ผ่านเข้ามาจึงไม่มีการ

                บิดเบือน ปัจจุบันด้วยเทคนิคของ PCOCC นี้ ทำให้มีค่าความบริสุทธิ์ของทองแดงมาก

                ถึง 99,99999% เลยทีเดียว มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า ?สาย 7N?

                การถักเกลียว

                บทสรุปของสายนำสัญญาณ

                ? ในการติดตั้งระบบเสียงรถยนต์นั้น ปัญหาที่สร้างความรำคาญให้กับงานติดตั้งทั้ง

                หลายก็คือ เสียงรบกวนที่ดูราวกับปัญหาน่าปวดหัว จริงๆแล้วปัญหาก็เกิดเพราะไฟฟ้าที่

                ได้จากไดชาร์จรถยนต์นั้นเป็นไฟฟ้ากระแสสลับแบบ 3 เฟส จากนั้นเมื่อผ่านชุดไดโอด

                เพื่อแปลงเป็นไฟตรงจะเกิดลักษณะที่เรียกกันว่า ?ริพเพิล? (Ripple) คือเป็นไฟบวกที่ไม่

                เรียบ ยิ่งความเร็วรอบมาก ริพเพิลนี้ก็จะมากตามไปด้วย และทำให้เกิดเสียงรบกวนใน

                ระดับหนึ่งขึ้นมา ดังนั้นจะเห็นว่าเสียงรบกวน จะมีก็ต่อเมื่อสตาร์ตเครื่องยนต์ และระบบ

                เสียงเรียกใช้ไฟจากไดชาร์จ

                เมื่อเราใช้ตัวถังรถเป็นทางเดินกลับของแรงดันไฟ และแรงดันไฟนั้นก็มีลักษณะเป็น

                ริพเพิล จึงก่อให้เกิดสนามแม่เหล็กไฟฟ้าและมีอยู่เช่นนี้ในรถเกือบทุกคัน มันมีอิทธิพลต่อ

                อุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆในรถน้อยมาก แต่มีอิทธิพลกับระบบเสียงที่ติดตั้งเข้าไป ในทาง

                ฟิสิกส์แล้วพบว่าเมื่อมีกระแสไหลผ่านตัวนำจะก่อให้เกิดสนามแม่เหล็กฟ้า และเมื่อมี

                โลหะตัวนำไปตัดผ่านอยู่ภายในสนามแม่เหล็กไฟฟ้านั้นก็จะเกิดการเหนี่ยวนำ ทำให้

                เกิดความต่างศักย์ทางไฟฟ้าขึ้น และก่อให้เกิดกระแสไฟฟ้าไหลในโลหะตัวนำตัวที่สอง

                นั้นด้วย ซึ่งเราเรียกว่า กระแสเหนี่ยวนำ ในกรณีที่เราใช้สายสัญญาณแบบ

                ?โคแอคเชียล? (Co-Axial) โดยใช้โลหะตัวนำอยู่กลางเป็นขั้วบวกและใช้ชีลด์

                (Shield) เป็นขั้วลบ เมื่อมีสนามแม่เหล็กไฟฟ้าเกิดขึ้น บริเวณ A และ B จะได้รับ

                อิทธิพลจากสนามแม่เหล็กไฟฟ้าไม่เท่ากัน ก่อให้เกิดความต่างศักย์ และเกิดกระแส

                เหนี่ยวนำขึ้น ส่งผลให้เกิดเสียงรบกวนเล็ดลอดเข้ามาในระบบการถ่ายนำสัญญาณ

                และจะยิ่งมีผลมากขึ้นหากสายนั้นมีระยะทางที่อยู่ในสนามแม่เหล็กมากขึ้น ยิ่งในกรณีการ

                เดินสายนำสัญญาณสองเส้นขนานกัน จะพบว่าเมื่อมีสนามแม่เหล็กไฟฟ้าเกิดขึ้น จะมี

                อิทธิพลกับสายนำสัญญาณทั้งสองในระดับที่ไม่เท่ากัน และจะเกิด ?ลูป? (Loop) ของ

                กระแสเหนี่ยวนำขึ้น และนำไปสู่การแทรกซ้อนของเสียงรบกวนเข้าสู่ระบบเสียง

                วิธีที่ดีที่สุดเท่าที่เคยค้นคิดกันมา ก็คือ การใช้สาย ?ระบบสมมาตร? (Balanced

                Line) ที่มีการชดเชยต่างๆจนไม่เกิดความต่างศักย์ขึ้น แต่ก็อีกนั่นแหละเทคนิคสมมาตร

                นี้ค่อนข้างแพงเกินไป จึงมักใช้กับระบบที่มีมูลค่าสูงๆ

                การถักเกลียว

                ? จากปัญหาโครงสร้างของสายแบบโคแอคเชียล วิศวกรผู้ออกแบบสายนำสัญญาณ

                จึงทำการศึกษาและค้นคิดวิธีการใหม่ที่สามารถชดเชยปัญหาจากสนามแม่เหล็กไฟฟ้าลง โดยนำ

                สายสัญญาณทั้งบวกและลบมาทำการ ?ถักเกลียว? เข้าด้วยกัน

                เมื่อสายเกลียวผ่านในสนามแม่เหล็กไฟฟ้า จะเกิดอิทธิพลแก่สายทั้งบวกและลบ

                ในระดับที่แตกต่างกันไป และเกิดการชดเชยกันขึ้นจนไม่เกิดค่าความต่างศักย์ขึ้น หรือหาก

                จะเกิดขึ้นก็มีเพียงเล็กน้อย มีผลให้ไม่เกิดกระแสเหนี่ยวนำและไม่เกิดการรบกวนขึ้น

                จุดเด่นสำคัญของสายถักเกลียวต่อการแก้ปัญหาเสียงรบกวนจากสนามแม่เหล็ก

                ไฟฟ้า คือ สนนราคาที่ไม่สูงเกินเอื้อม ดังนั้นทฤษฎีแห่งสายนำสัญญาณในยุค 2004 ขอ

                เพียงมีการถักเกลียวก็จัดว่าเหมาะสมต่อการเลือกใช้งาน

                หน้าที่ของสายในระบบ

                ? สายที่นำมาใช้ในระบบมีหลายแบบ แต่ที่เรียกกันตามสามัญนั้นแยกเป็น 3 ประเภท คือ สายนำ

                สัญญาณ, สายลำโพง และสายไฟกำลัง

                1. สายนำสัญญาณ หรือเรียกกันทั่วไปว่าสาย RCA มีหน้าที่ในการนำสัญญาณระดับ

                ต่ำจากหัวแจ็ค RCA ที่ตัววิทยุซีดีไปยังอุปกรณ์ต่างๆ อาทิ ครอสโอเวอร์ ตลอดไป

                จนถึงเพาเวอร์แอมป์ พูดง่ายๆ ก็คือ สายนำสัญญาณมีหน้าที่นำพาสัญญาณเสียงจาก

                อุปกรณ์หนึ่งไปยังอุปกรณ์อีกตัวหนึ่ง โดยต่ออยู่ระหว่างชิ้นอุปกรณ์ระบบเสียงรถยนต์

                2. สายลำโพง มีหน้าที่ในการนำกระแสเสียงจากเอาท์พุทของเพาเวอร์แอมป์ไปยัง

                ลำโพง (กรณีไม่มีพาสซีฟครอสโอเวอร์) หรือจากเอาท์พุทของเพาเวอร์แอมป์ไปยังพาส-

                ซีฟครอสโอเวอร์ และจากพาสซีฟครอสโอเวอร์ไปยังลำโพงแต่ละตัว(แหลม-ทวีตเตอร์/

                ทุ้ม-มิดวูฟเฟอร์)

                3. สายไฟกำลัง มีหน้าที่นำกระแสไฟแรงดันจากแบตเตอรี่ไปป้อนจ่ายให้กับชิ้นอุปกรณ์

                ระบบเสียงรถยนต์ อาทิ วิทยุเทป, วิทยุซีดี,เพาเวอร์แอมป์ ฯลฯ เพื่อให้ชิ้นอุปกรณ์ระบบ

                เสียงแต่ละชิ้นมีไฟเลี้ยงในการทำงานให้เกิดเป็นเสียง

                สมมุติวางระบบเป็นวิทยุซีดีไฮเพาเวอร์ขับลำโพงคู่หน้า และคู่หลัง ก็ต้องใช้สายไฟ

                กำลังหนึ่งชุด ในการนำกระแสไฟจากแบต-เตอรี่ป้อนให้กับวิทยุซีดี (ดีที่สุดคือเดินตรง

                จากแบตเตอรี่เข้าไฟตรงของวิทยุซีดี) และสายลำโพง 2 ชุด เดินจากวิทยุซีดีไปยังลำ-

                โพงคู่หน้า 1 ชุด และจากวิทยุซีดีไปยังลำโพงคู่หลัง 1 ชุด ไม่ต้องใช้สายนำสัญญาณเนื่อง

                จากในระบบนี้ไม่มีเพาเวอร์แอมป์ต่ออยู่ในทำนองเดียวกัน ถ้าวางระบบเป็น

                วิทยุซีดีขับผ่านเพาเวอร์แอมป์ 2 เครื่อง สำหรับลำโพงชุดหน้า และลำโพงชุดหลังแยก

                อิสระ ก็ต้องใช้สายไฟกำลัง 3 ชุดในการนำกระแสไฟ หรือเดินสายไฟกำลังขนาดใหญ่ 1

                ชุด แล้วไปแยกเข้าอุปกรณ์แต่ละตัวใช้สายลำโพง 2 ชุดเดินจากเพาเวอร์-

                แอมป์ไปลำโพงคู่หน้า 1 ชุด และจากเพาเวอร์แอมป์ไปลำโพงคู่หลัง 1 ชุด ใช้สาย

                RCA อีก 2 ชุด เพื่อนำสัญญาณจากวิทยุซีดีไปป้อนเข้าเพาเวอร์แอมป์แต่ละตัว

                จุดสำคัญในการเลือกสาย

                ? ด้วยความที่สายแต่ละประเภทมีหน้าที่ใช้งานแตกต่างกันไป จุดสำคัญในการเลือกใช้สายแต่ละ

                ประเภทสำหรับระบบเสียงรถยนต์ ย่อมมีข้อแตกต่างกันออกไปด้วยเช่นกัน จุดหลักที่ต้องสังเกต

                สำหรับการเลือกสายแต่ละประเภทมีดังต่อไปนี้

                1. สายนำสัญญาณระดับมาตรฐาน จุดที่ต้องสังเกตสำหรับการเลือกใช้สายนำ

                สัญญาณ (สาย RCA) มีดังต่อไปนี้

                1.1 รอยต่อระหว่างเส้นสายนำสัญญาณและขั้วหัวแจ็คต้องแนบสนิท

                เป็นส่วนเดียวกันมากที่สุด (เพื่อลดความต้านทานให้น้อยที่สุด)

                1.2 เนื้อทองแดงภายในควรมีความบริสุทธิ์ เป็นไปได้ควรเลือกสาย

                นำสัญญาณที่เส้นลวดภายในแบบ OFC ถึง OFCC

                1.3 มีผนังเซลที่เป็นซีลหุ้มเอาไว้ตลอดทั้งสายจากปลายถึงปลาย เพื่อช่วย

                ป้องกันสัญญาณรบกวนได้ระดับหนึ่งในปัจจุบันจะเน้นถึงการถักเกลียว

                ตัวนำสายภายใน ซึ่งให้ผลในการป้องกันสัญญาณรบกวนจากสนาม

                แม่เหล็กได้ดีที่สุด

                1.4 วัสดุที่ใช้ห่อหุ้มสายทั้งหมดต้องมีความยืดหยุ่น ไม่แข็งขืนตัว หรือหดตัว

                ตามสภาพอุณหภูมิในรถ

                1.5 บริเวณปลายหัวแจ็คควรเป็นวัสดุที่ไม่มีปฏิกริยาต่อออกไซด์ (ไม่เกิด

                สนิม) เลือกได้ทั้งแบบเคลือบผิวทอง หรือเคลือบโรเดี่ยม

                1.6 ตัวหนีบที่ปลายตัวแจ็คต้องมีการหนีบที่แน่นหนามากที่สุด ทดสอบได้

                โดยการเสียบเข้าไปที่หัวแจ็ค RCAของเพาเวอร์แอมป์แล้วลองดึงออก

                ถ้าดึงออกยากที่สุดก็ถือว่าดีที่สุด

                2. สายลำโพงระดับมาตรฐาน จุดที่ต้องสังเกตสำหรับการเลือกใช้สายลำโพง มีดังต่อ

                ไปนี้

                2.1 ตัวสายต้องมีเปลือกหุ้มที่ยืดหยุ่นสามารถดัดโค้งงอได้ง่ายโดยไม่

                เปราะแตก

                2.2 เส้นตัวนำภายในควรมีสภาพความเป็นทองแดงสูง

                2.3 มีจุดสังเกตของเส้นสายบวกและเส้นสายลบที่เด่นชัด เพื่อความสะดวก

                ในการติดตั้ง

                2.4 เปลือกที่หุ้มห่อสายต้องทนต่อกรด ความร้อน และน้ำยาเคมีต่างๆ ได้ดี

                3. สายไฟกำลังระดับมาตรฐาน จุดที่ต้องสังเกตสำหรับการเลือกใช้สายไฟกำลัง มีดัง

                ต่อไปนี้

                3.1 เปลือกที่ห่อหุ้มสายต้องมีความยืดหยุ่นสูง เพื่อความสะดวกในการติดตั้ง

                3.2 เปลือกที่หุ้มสายต้องทนทานต่อน้ำยาเคมี, กรด และความร้อนได้ดี

                3.3 ขนาดพื้นที่ของตัวนำกระแสไฟภายในสาย ต้องมีพื้นที่หน้าตัดตรง

                ตามเบอร์ที่กำหนดจริงๆ

                3.4 ต้องมีแรงต้านทานภายในของสายต่ำที่สุด

                ความยาวของสายในการเดินระบบ

                ? ในการติดตั้งระบบเสียงรถยนต์แต่ละครั้งควรที่จะได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับขนาดความยาว

                ของสายแต่ละประเภท ที่ต้องนำมาใช้ร่วมกับระบบเสียงรถยนต์ โดยมีหลักมาตรฐานของขนาดความ

                ยาวต่างๆดังนี้

                1. ความยาวของสายนำสัญญาณ

                ? สายนำสัญญาณที่เดินระหว่างชิ้นอุปกรณ์ในส่วนหน้าหรือส่วนอื่นๆ อาทิ จาก

                วิทยุซีดีไปยังอุปกรณ์ปรับแต่งเสียง หรือจากอิเล็กทรอนิสก์ครอสโอเวอร์

                ไปยังเพาเวอร์แอมป์ที่อยู่ใต้ลิ้นชักเก็บของ จะมีขนาดความยาวประมาณ 3 ฟุตหรือ 1 เมตร

                ? สายนำสัญญาณที่เดินจากชิ้นอุปกรณ์ส่วนหน้าไปยังชิ้นอุปกรณ์หรือเพาเวอร์แอมป์

                ที่ติดตั้งเอาไว้ใต้เบาะที่นั่งชุดหน้า จะมีขนาดความยาวประมาณ 10 ฟุตหรือ 3 เมตร

                ? สายนำสัญญาณที่เดินจากชิ้นอุปกรณ์ส่วนหน้าไปยังชิ้นอุปกรณ์หรือเพาเวอร์แอมป์

                ที่ติดตั้งเอาไว้ในห้องสัมภาระท้ายรถ จะมีขนาดความยาวประมาณ 16 ฟุตหรือ 5 เมตร

                2. ความยาวของสายลำโพง

                ? สายลำโพงที่เดินจากวิทยุซีดี (หน้า) หรือเพาเวอร์แอมป์ (หลัง) ไปยังลำโพงคู่

                หน้าเพียงคู่เดียว ใช้ขนาดความยาวรวมประมาณ 24 ฟุตหรือ 8 เมตร

                ? สายลำโพงที่เดินจากวิทยุซีดี (หน้า) หรือเพาเวอร์แอมป์ (หลัง) ไปยังลำโพงคู่

                หน้าและคู่หลัง ใช้ขนาดความยาวรวม ประมาณ 48 ฟุตหรือ 16 เมตร

                ? สายลำโพงที่เดินจากเพาเวอร์แอมป์ (หลัง) ไปยังชุดซับวูฟเฟอร์ ใช้ขนาดความ

                ยาวรวมประมาณ 12 ฟุตหรือ 3.5 เมตร

                3. ความยาวของสายไฟหลัก/สายกราวน์

                ? ขนาดความยาวของสายไฟหลักที่เดินจากแบตเตอรี่ไปยังเพาเวอร์แอมป์แต่ละตัว ที่

                มักติดตั้งเอาไว้ในห้องสัมภาระท้ายรถ จะมีขนาดความยาวประมาณ 20 ฟุตหรือ 6

                เมตร และจุดที่ทำการติดตั้งฟิวส์ป้องกันสายไฟหลักจะต้องอยู่ในช่วงสายไฟหลักที่นับจาก

                ขั้วต่อแบตเตอรี่ไม่เกินกว่า 18 นิ้ว

                ? ความยาวของสายไฟกราวน์ จากเพาเวอร์แอมป์ลงกราวน์ ควรมีขนาดความยาวไม่

                เกินกว่า 4 ฟุตหรือ 1.2 เมตร

                ? ขนาดความยาวของสายไฟรีโมท เพื่อควบคุมการเปิด/ปิดเพาเวอร์แอมป์จะมีขนาด

                ความยาวประมาณ 16 ฟุตหรือ 5 เมตร ขนาดสายลำโพงที่เหมาะสมกับ

                กำลังขับในระบบ

                ? ในการเลือกขนาดของเบอร์สายลำโพงที่จะนำไปใช้งานนั้น ส่วนใหญ่จะเทียบ

                จากขนาดกำลังขับต่อแชนแนล หรือแต่ละช่องของตัวเพาเวอร์แอมป์

                หรือภาคขยาย โดยมีหลักมาตรฐานในการเลือกขนาดของเบอร์สายลำโพงดังต่อไปนี้

                ? ระดับกำลังขับ 1-50 วัตต์ต่อช่องเลือกใช้สายลำโพงไม่ต่ำกว่าเบอร์ 16 Awg

                หรือ 14 Awg

                ? ระดับกำลังขับ 50-150 วัตต์ต่อช่องเลือกใช้สายลำโพงไม่ต่ำกว่าเบอร์ 14 Awg

                หรือ 12 Awg

                ? ระดับกำลังขับ 150 วัตต์ต่อช่องขึ้นไปเลือกใช้สายลำโพงไม่ต่ำกว่าเบอร์ 12 Awg

                ขนาดสายไฟหลักที่เหมาะสมกับขนาดเพาเวอร์แอมป์

                ? การเลือกขนาดของเบอร์สายไฟหลัก ต้องคำนึงถึงหลัก 2 ประการ คือ ขนาดกำลังขับหรือ

                อัตราการบริโภคกระแสของเพาเวอร์แอมป์ และระยะความ***งระหว่างแบตเตอรี่กับเพาเวอร์แอมป์ มี

                หลักการพิจารณาดังต่อไปนี้

                ? อัตราการกินกระแสรวม 0-20 A ระยะความยาว 10-13 ฟุต (3-4 เมตร)

                ใช้สายไฟหลักเบอร์ 10 Awg ระยะความยาว 19-22 ฟุต (6-7 เมตร) ใช้สายไฟ

                หลักเบอร์ 8 Awg

                ? อัตราการกินกระแสรวม 20-35 A ระยะความยาว 3-4 เมตร ใช้สายไฟหลัก

                เบอร์ 8 Awg ระยะความยาว 6-7 เมตร ใช้สายไฟหลักเบอร์ 6 Awg

                ? อัตราการกินกระแสรวม 35-50 A ระยะความยาว 3-4 เมตร ใช้สายไฟหลัก

                เบอร์ 6 Awg ระยะความยาว 6-7 เมตร ใช้สายไฟหลักเบอร์ 4 Awg

                ? อัตราการกินกระแสรวม 50-65 A ระยะความยาว 3-4 เมตร ใช้สายไฟหลัก

                เบอร์ 4 Awg ระยะความยาว 6-7 เมตร ใช้

                สายไฟหลักเบอร์ 4 Awg

                ? อัตราการกินกระแสรวม 65-85 A ระยะความยาว 3-4 เมตร ใช้สายไฟหลัก

                เบอร์ 4 Awg ระยะความยาว 6-7 เมตร ใช้สายไฟหลักเบอร์ 2 Awg

                ? อัตราการกินกระแสรวม 85-105 A ระยะความยาว 3-4 เมตร ใช้สายไฟหลัก

                เบอร์ 2 Awg ระยะความยาว 6-7 เมตร ใช้สายไฟหลักเบอร์ 2 Awg

                ? อัตราการกินกระแสรวม 105-125 A ระยะความยาว 3-4 เมตร ใช้สายไฟหลัก

                เบอร์ 2 Awg ระยะความยาว 6-7 เมตร ใช้สายไฟหลักเบอร์ 0 Awg

                ? อัตราการกินกระแสรวม 125-150 A ระยะความยาว 3-4 เมตร ใช้สายไฟหลัก

                เบอร์ 2 Awg ระยะความยาว 6-7 เมตร ใช้สายไฟหลักเบอร์ 0 Awg

                เบอร์สายไฟกราวน์และความยาวที่เหมาะสม

                ? สายที่มีความจำเป็นและสำคัญมาก สำหรับการติดตั้งระบบเสียงรถยนต์อีกแบบ

                หนึ่ง คือ สายไฟกราวน์ ซึ่งต้องคำนึงถึงการใช้งานมากพอๆ กับสายไฟหลัก โดยทั่วไปยึด

                หลักที่ว่าสายไฟหลักที่เดินเข้าเพาเวอร์แอมป์ เลือกใช้เป็นเบอร์อะไร สายไฟกราวน์จากตัว

                เพาเวอร์แอมป์ไปยังจุดกราวน์ก็ควรใช้เบอร์เดียวกันหรือใหญ่กว่า ห้ามใช้ขนาดต่ำกว่า

                เบอร์สายไฟหลักเป็นอันขาด

                ความสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่จะต้องเอาใจใส่ก็คือ ระยะความยาวจากขั้วกราวน์ที่

                เพาเวอร์แอมป์ไปยังจุดลงกราวน์ไม่ควรเกินกว่า 4 ฟุตหรือ 1.2 เมตร คือสายไฟกราวน์

                ไม่ควรยาวเกินกว่า 1.2 เมตร ขนาดของสายไฟรีโมท ไม่ควรเลือกใช้

                ขนาดของเบอร์สายไฟรีโมทต่ำกว่าเบอร์ 18 Awg เพราะอาจมีปัญหาในเรื่องของการไม่

                สามารถป้อนจ่ายกระแสไปยังภาคสวิทชิ่งในตัวเพาเวอร์แอมป์ได้พอเพียง ผลกระทบที่

                จับใจความได้คือ เพาเวอร์แอมป์ติดๆ ดับๆ สลับกันไป

                หลักการจับใจความเสียงเพื่อเปรียบเทียบสาย

                ? ในบางครั้งเพื่อสร้างความมั่นใจในการเลือกใช้ ?สาย? โดยเฉพาะสายนำสัญญาณที่มีคุณภาพดี

                กว่า จึงอาจต้องมีการทดสอบเปรียบเทียบ เพื่อให้เกิดความมั่นใจ โดยใช้หลักในการจับใจความเปรียบ

                เทียบทางด้านเสียงได้ดังต่อไปนี้

                1. ให้ลดระดับความดังของชุดซับวูฟเฟอร์ลงจนหมด รวมไปถึงปุ่มปรับช่วยเสียงทุ้ม

                (เบส) ให้ลดลงจนเป็นลบมากที่สุด จากนั้นเปิดเพลงที่คุ้นหูเพื่อฟังเปรียบเทียบการถ่าย

                นำเสียงในย่านแหลมถึงแหลมสูง เพื่อจับใจความว่าสายนำสัญญาณเส้นไหนให้โน๊ตเสียง

                ในย่านแหลมได้ใสสะอาด และให้ได้ถึง 20 kHz ได้จริงมากกว่ากัน โดยเปิดระดับความ

                ดังในการฟังปกติ

                2. ให้ลดระดับของปุ่มปรับช่วยเสียงแหลม (ทรีเบิ้ล) ให้ลดลงจนเป็นลบมากที่สุด พร้อม

                คืนปุ่มปรับช่วยเสียงทุ้มกลับมาจุดกึ่งกลาง (0) จากนั้นเปิดเพลงเดิมที่ใช้ฟังในขั้นที่ 1

                เพื่อจับใจความอีกครั้งหนึ่งว่าเสียงโน้ตเบสของสายเส้นไหนให้น้ำหนักและการทิ้งตัวของ

                เสียงเบสได้สมบูรณ์กว่ากัน

                3. ให้คืนปุ่มปรับช่วยเสียงแหลมกลับมาจุดกึ่งกลาง(0) ปลดปุ่มลาวน์เนส (ไม่ใช้งาน)

                ปรับเพิ่มระดับความดังของชุดซับวูฟเฟอร์จนเหมาะสม จากนั้นให้ฟังใจความการแผ่ขยาย

                ของระนาบเสียงจากลำโพงแต่ละด้าน (ซ้าย/ขวา) ว่าสายนำสัญญาณเส้นไหนมีอาณาเขต

                ของการแผ่ขยายแนวระนาบได้ดีกว่ากัน

                สายนำสัญญาณที่มีคุณภาพดีจะสามารถทำให้ขอบเขตของเสียงจากซ้าย

                จรดขวาบรรจบซ้อนทับกันพอดีบริเวณกึ่งกลาง ซึ่งทำให้ผู้ฟังรู้ว่าเสียงไม่ได้มี

                ทิศทางส่งออกมาจากตัวลำโพงแต่ละด้านแต่แผ่ขยายเป็นแนวกว้าง


                ที่มา : เสริมสกุล ศรีจั่นเพชร จาก car audio

                Comment


                • #53
                  มีใครสนใจคิดจะเจาะรูกันห้องบนล่างเพื่อเพิ่มปริมาตรห้องรึปล่าวครับ อาจจะใส่ท่อ 4" จูนหรือไม่ก็ได้ แล้วใช้ท่อพอร์ตเดิมอาจจะบนหรือล่างท่อเดียว เพื่อให้เบสลงต่ำได้อีก

                  Comment


                  • #54
                    Originally posted by dimarzioex View Post
                    มีใครสนใจคิดจะเจาะรูกันห้องบนล่างเพื่อเพิ่มปริมาตรห้องรึปล่าวครับ อาจจะใส่ท่อ 4" จูนหรือไม่ก็ได้ แล้วใช้ท่อพอร์ตเดิมอาจจะบนหรือล่างท่อเดียว เพื่อให้เบสลงต่ำได้อีก
                    มันจะกวนเสียงกลางละเปล่า ไปยุ่งกะตู้มัน น่าเปลี่ยน cap มากกว่า


                    ลองเปลี่ยนสายไฟแล้ว เอาสายแข็งเดินเมน 2.5 sq mm แทนของเก่า 0.75 sq mm ปลั๊กยางของ national สีดำ ซื้อมาหลายตัว เลือกตัวที่เสียบแน่นที่สุด
                    ถ้าเปลี่ยนสายไฟอย่างลืมหาปืนกาวด้วย 555 นี่เอาดินน้ำมันอุดอยู่ เดี๋ยวหาปืนกาวเจอค่อยเอาไปอัดใหม่

                    งบประมาณ สายไฟเมตรละ18บาท 2เมตร 36 บาท หัวกลมดำ national 20 บาท ไม่ถึง 60 บาท ถ้าฟังออกค่อยหาสายไฟเทพใช้ ฟังไม่ออก ไม่เปลืองตัง

                    เปลี่ยนเสร็จลองฟังคร่าวๆ เพลงไทย บอย โกสิยพงษ์ day dreaming rip จาก CD เสียงเบส จะออกมาดีกว่าเดิมหน่อย แบบ คลื่นเสียงมันสั่นขากางเกงมากกว่าเดิม กลางแหลม ยังไม่ชัว แต่ไม่เน่ากว่าเดิม ลองฟังไปเรื่อยๆก่อน เดี๋ยวค่อยมารายงานต่อ
                    Last edited by prapharn; 27 Apr 2012, 16:42:34.

                    Comment


                    • #55
                      โอ้ววว บอย โกสิยพงษ์ day dreaming ผมฟังอยู่เหมือนกันครับ Rip เป็น Flac เสียงดีมาก เพลงของบอยก้อเพราะดีครับ

                      Comment


                      • #56
                        ฟังๆไป เหมือนน่าจะมีแววบานหาสายไฟดีๆมาเปลี่ยนนะ ฟังเพลงเพราะขึ้น ได้อารมเหมือนจังหวะดีขึ้น ช่วงดนตรีโหม มัน แรงดีขึ้นไม่ค่อยวูบแบบเก่า ตอนฟังดังๆนะ

                        อัพเดท เสียบไฟกลับเฟส 5555 เช๊คไฟสายไหน ละเสียบให้ถูกเบสลงพื้นเลย กลางแหลมลอยมาอีก มิน่าฟังละทะแม่งๆ ฟังกับดนตรีวงใหญ่ละมันเพี๊ยนเลยเอะใจ แกะมาดูสายไหนสายไฟละกลับใหม่
                        Last edited by prapharn; 27 Apr 2012, 21:48:21.

                        Comment


                        • #57
                          ใช้มา 4 เดือนแล้ว เดิมๆมาก ก็พอใจกับเสียงแล้วนะครับ น่าเสียดายโมไม่เป็น - -

                          Comment


                          • #58
                            Originally posted by redondo16 View Post
                            ใช้มา 4 เดือนแล้ว เดิมๆมาก ก็พอใจกับเสียงแล้วนะครับ น่าเสียดายโมไม่เป็น - -
                            พอใจก็ดีละครับ ไม่เหนื่อยไม่เครียด 555
                            ทำไปเรื่อยๆ หาวิธี ง่ายๆที่สุดลงทุนน้อยที่สุด
                            แต่ก็สมกะที่ Peter Larsen ออกแบบนะ Solo7C

                            Comment


                            • #59
                              เรื่องการกลับสายแหล่งจ่ายไฟแล้วเสียงดีขึ้น ในความคิดผมไม่คิดอย่างงั้นนะคับ เพราะต่อให้เรากลับสายยังไงพอผ่าน Diode Bridge แล้วมันก้อมีการเรียงกระแสแบบเต็มคลื่น และมันก้อมีขั้ว + - ของมัน จะให้ดีก้อเลือก Diode ที่เป็นเบอร์ MUR ก้อจะทำให้ Switch ไฟได้เร็วขึ้นกว่าไดโอดทั่วไป ส่วนจะวูบไม่วูบอยู่ที่แหล่งจ่ายกับกำลังขับของแอมป์มากกว่า เช่นถ้าแอมป์บริโภคไฟ 35 0 35V 3A เป็นอย่างต่ำ แต่หม้อแปลงคุณ 35 0 35V แค่ 2A ไฟมันก้อไม่พอแล้ว เวลาฟังเบาๆก้ออาจจะได้ ไม่มีปัญหาอะไร แต่พอเปิดดังๆมันจะทำให้เสียงพร่าออกมาเพราะไฟไม่พอเลี้ยงวงจร คุณจะต้องเผื่อกระแสให้มันด้วย เนื่องจากปกติอาจจะกินที่ 3A ก้อจริงแต่จะมีบางช่วงที่เสียงเครื่องดนตรีชิ้นใดชิ้นหนึ่งดังขึ้นมากระทันหันมันจะเกิดการ Peak ของสัญญาณแล้วกระแสไฟมันก็จะ Peak ด้วยอาจจะกินกระแสจากเดิมเป็นเท่าตัวหรือสองเท่าตัวเลยก้อได้ อีกอย่างคือที่หลายๆคนนำตัวเก็บประจุค่าสูงๆมาขนานกันหลายๆตัวในชุด Supply เพื่อมาช่วยในช่วงที่สัญญาณ Peak มันก็ช่วยได้ระดับหนึ่ง แต่จะรู้ได้ยังไงว่ามันจะ Peak แค่จังหวะเดียว บางครั้งการ Peak ของสัญญาณเป็นการลากเสียงของเนื้อเบสไม่ใช่แค่ Peak เพราะเหยียบกระเดื่องกลองหนึ่งครั้ง ถ้าหม้อแปลงคุณกระแสไม่พอเป็นทุนอยู่แล้ว ถึงต่อตัวเก็บประจุเท่าไหร่ไฟก้อไม่พออยู่ดี แล้วจะทำให้หม้อแปลงร้อนขึ้นไปอีกเพราะมันทำงานเต็มที่ตลอดเวลา ทำให้งบบานปลายไปกับตัวเก็บประจุอีก อย่างคนที่เล่นเครื่องเสียงรถยนต์ก้อชอบใส่ Cap กันบอกว่าใส่แล้วเสียงดี แต่พอไปที่ Cap พอเบสออกมาทีนึงไฟตกเหลือ 11V ก้อมี ถ้าไฟเหลือๆจริง Cap มันก้อจะช่วยรักษาระดับแรงดันไฟให้คงที่ และทำให้ไฟเรียบขึ้น อีกอย่างถ้ากำลังขับแอมป์ 50W แต่เอาลำโพง 200W มาเปิดยังไงซะเปิดดังๆก็พร่าชัว เพราะแอมป์กำลังขับไม่พอ ทำให้แอมป์ทำงานหนักและล้าเพราะมันไม่แมชกับลำโพง เผลอๆลำโพงอาจจะไปก่อนวัยอันควรอีก อีกอย่างค่า THD หรือ Total Harmonic Distortion จะเยอะหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับว่าวงจรออกแบบมาดีแค่ไหน รวมถึงการเลือกใช้อุปกรณ์ที่มีค่าความคลาดเคลื่อนน้อย วงจรก็จะคลาดเคลื่อนน้อยไปด้วย ในความคิดของผมเสียงที่ดีคือลำโพงที่สามารถขับความถี่เสียงออกมาได้หมดในระดับความดังเท่ากันทุกความถี่หรือความเป็น Flat แต่อย่างว่าล่ะคับแต่ละคนชอบฟังแนวเพลงไม่เหมือนกัน บางคนก็ Flat บางคนชอบแต่เสียงเบสไม่สนกลางแหลมขอให้สะเทือนไว้ก่อนแล้วถือว่าเสียงดี = = บางคนก้อชอบฟังแหลมจัดออกแนวลูกทุ่งได้ยินแต่เสียงความถี่สูงออกมา สรุปคือเลือกลำโพงในแนวเสียงที่เราชอบเป็นอันดีที่สุดครับ เพราะบางคนอาจจะบอกว่าลำโพงตัวนี้ดีเพราะเค้าชอบเสียงแนวนี้แต่อีกคนชอบเพลงอีกแนวกลับทำให้ไม่ถูกใจลำโพงตัวนี้แล้วก้อสรุปว่าเสียงไม่ดี เพราะไม่มีสิ่งที่เราต้องการ และเมื่อเราเลือกลำโพงที่เราถูกใจแล้ว ค่อยไปอับเกรดตามกำลังทรัพของเรา ก็ทำให้เรารู้สึกดีได้แล้ว เราควรที่จะศึกษาไว้เพราะมันไม่เสียหาย แต่บางครั้งถ้าเราตามมันเยอะไปจนไม่รู้จักความพอดีเราอาจจะอัพเกรดของราคาแพงไปก้อจริง แต่ความรู้สึกลึกๆแล้วเราอาจจะแยกไม่ออกก้อได้ว่ามันดีกว่าเดิมตรงไหน
                              Last edited by dimarzioex; 27 Apr 2012, 23:16:45.

                              Comment


                              • #60
                                เปิดดังของผมนี่แค่ 35 นะ ปรกติ 30 แต่ 35 ช่วงฟังเพลง rock กลองมันเบาๆลงนิด

                                Comment

                                Working...
                                X