Announcement

Collapse
No announcement yet.

แนวทางการโมดิฟายตามหลักการของข้าพเจ้า

Collapse
X
 
  • Filter
  • Time
  • Show
Clear All
new posts

  • [Review] แนวทางการโมดิฟายตามหลักการของข้าพเจ้า

    แนวทางการโมดิฟายตามหลักการของข้าพเจ้า
    เรื่องเรื่องจากเห็นพี่น้องหลายท่านที่ชอบครื่องเสียง รักเล่น และโมดฟาย โดยจ้างบ้าง ทำเองบ้าง
    วันนี้มีข้อคิดเห็นและข้อเสนแนะบางประการ จะมาแชร์ให้ท่านๆ ได้พอทราบโดยสังเขป
    สืบเนื่องจากที่ผ่านมา ท่านๆ อาจพอจำได้ว่า จริองๆแล้ว ผมมาจากสายหลอดก่อน จึงเข้ามาด้าน solid ซึ่งจริงๆแล้วเรื่อง โมนี่ ไม่ไช่ผมไม่แนะนำ แต่จริงๆเมื่อก่อน ผมนั่งปล้ำอยู่ 2 ปี เต็มๆ พอรู้เรื่องบางอย่างบ้าง วันนี้จึงขอแชร์ความรู้ที่มีเพื่อให้ท่านอื่นๆบ้าง

    1. โมแล้วบางส่วนดีขึ้น บางส่วนหายไป ถือว่าผิดร้ายแรง
    เรื่องนี้ ท่านอาจารย์จงจินต์เคยได้บอกไว้ในเว็บ audio teams ว่า สิ่งที่สำตัญที่สุด เมื่อเปลี่ยนอุปกรณ์หรือเพิ่มอะไรลงไปใน system ถ้ามีเสียงใดเสียงหนึ่งดีขึ้น โดยเสียงอื่นๆดรอปหรือหายไป ถือว่าของนั้นไม่ดีจริง
    จากการพิสูจน์ทฤษฎีนี้ ผมได้ทดลองอยู่หลายครั้ง พบว่า อุปกร์ณบางตัว มีผลเลิศในช่วงเสียงหนึ่งๆเท่านั้น ไม่ได้มีผลต่อเสียงโดยรวมทั้งหมดได้ ยกเว้นอุปกรณ์ เทพๆบางตัวเท่านั้น ที่สามารถยกระดับเสียงขึ้นทั้งกระดาน ซึ่ง ราคาพวกนี้ไม่ไช่ว่าจะถูก สิ่งที่นักโมต้องพิจารณา คือว่า เราจะทำอย่างไ ให้เสียงออกมาครบย่าน ทำอย่างไร จะใช้อุปกรณ์บางตัว ผสมผสานกันให้เสียงออกมาได้ครบย่าน ฝากให้ท่านๆพิจารณา
    ที่สำคัญอย่าได้ดีใจกับบางเสียงที่ดีขขึ้นมาเพียงเล็กน้อย แต่ให้คอยสังเกตว่าเสียงที่ดีขึ้นนั้น ไปกลบเสียงบางเสียงที่ดีอยู่แล้วให้หดลงหรือไม่ ถ้าไม่ แสดงว่าท่านมาถูกทางแล้ว

    2. โมต้นทาง เห็นผลกว่าโมปลายทาง
    เรื่องนี้ เป็นส่วนที่ดัดแปลงเอามาจากการเปลี่ยน CD ต้นทางแล้วท่านได้รับผลอย่างไร ถูกต้อง เสียงโดยรวมดีขึ้นแบบยกทั้งหน้ากระดาน
    ตรงนี้เป็นจุดให้พิจารณา คือ เมื่อท่านจะโมอะไร ในส่วนภาคต้นทางเช่น เปลี่ยน cap เปลียนขั้ว RCA เปลี่ยนสายไวริ่ง ถ้าทำต้นทาง จะเห็นผลมากกว่าทำที่ปลายทาง เพราะว่ากระแส วรจร และสัญญาน จะวิ่งได้ไวขึ้นมากขึ้นและมกำลังมากขึ้น ทดลองด้วยตนเองจนเห็นผลจริงตามนี้

    3. โมส่วนภาคขยายเห็นผลกว่าภาค power
    ภาคขยายเป็นส่วนสำคัญของเสียงโดยรวมของทั้ง system ทั้ง int power pre สิ่งนี้สำคัญมาก ถ้าท่านต้องการเปลี่ยนแนวเสียง โฟกัสไปที่ ภาคขยายก่อนเป็นอันดับต้นๆ เสียงที่ได้ ไม่ผิดหวังแน่นอนครับ

    4. โมโดยใช้อุปกรณ์คัดเกรดแบบอายุการใช้งานนานเห็นผลกว่าอุปกร์ณธรรมดา
    อุปกรณ์คัดเกรด ในที่นี้ ไม่ไช่อุปกร์ณขี้หมูขี้หมมาที่ช่าง เขาอุปโลกขึ้นมาว่าเป็นของดี มาจากต่างประเทศ
    ท่านต้องเข้าใจในตัวอุปกร์ณนั้นๆก่อนสั่งให้เขาโม หรือทำเอง ว่า ตัวอุปกรณ์นี้ มีที่มาจากไหน ประเทศอะไร อายุกี่ปี อยู่ในเครื่องเสียงยี่ห้อไหนบ้าง
    ผมมีฟิวส์ท้ายเครื่องของ mcintosh รุ่นเก่า ไปซื้อมาจากร้านประจำ ตัวละ 200 ชนกับ hifi tuning ทอง ตัวละ 1500 สบายๆ
    เรื่องนี้ ต้องอยู่ประสบการณ์และการศึกษาข้อมูลต่างๆให้เข้าใจถ่องแท้ก่อนที่จะทำอะไรลงไปครับ

    5. โมโดยใช้ตะกั่วเงิน WBT ดีกว่าตะกั่วบ้านหม้อแบบไม่เห็นฝุ่น
    การโมโดยใช้ตะกั่วธรรมดา ถือว่าเป็นความผิดอย่างร้ายแรงในการโมดิฟายเครื่องเสียง ถึงขั้นหายนะอย่างร้ายแรง เนื่องจากตะกั่ว เป็นสะสารเดียวในการเชื่องต่ดกระแสและสัญญาน การใช้สารประกอบแบบอื่นมีผลอย่างร้านแรงต่อเสียงโดยรวมอย่างทันที ท่านที่เคยใช้ สามารถคอบแทนผมได้ทันทีว่า ตะกั่วธรรมดากับตะกั่ว WBT นั้น เสียงต่างกันเพียงใด
    เนื่องจากตะกั่ว WBT มีองค์ประกอบของตะกั่วและเงินในอัตราส่วนหนึ่งๆ ซึ่งมีพลต่อการจูนเสียงให้มีผลดีขึ้นได้
    สำหรับช่างฝีมือขั้นเทพ ที่ผมได้รัรู้มาจากอาจารย์ ว่าเป็นอาจารย์ของอาจารย์อีกที = อาจารย์ปู่ ขั้นเทพขนาดที่ว่า แค่จูนตะกั่ว ระกว่างตะกั่วธรรมดากับตะกั่วเงิน ให้เสียงแหลม กลาง ทุ้ม อิ่มเนียน หรือสดคม ได้ดั่งใจคิด เทพขนาดไหน ท่านๆคิดดู
    เรื่องนี้ผมลองดูแล้ว คอนเฟริมได้เลยว่า เสียงดีขึ้นล้าน% แต่ว่า อย่าได้ใช้มากไป หรือ ให้ตะกั่วเกาะกันเป็นก้อนมากไป จะลดทอนกระแสของแอมป์ หรือลำโพง ท่านๆไปได้

    6. สายไวร์ริ่งสำคัญ แต่ต้องใช้สายนอก
    สายไวริ่ง บางท่านบอกว่าใช้สายนอก สายเยอร์มัน ชักับโทรศัพท์ กับการทหาร กับการสื่อสาร แต่อย่าลืมว่า ท่านกำลังใช้กับเครื่องเสียง ความถี่ที่มันให้ได้ ตอบโจทย์เรื่องเสียงหรือไม่
    อีกอัน สายที่ว่า เอามาจากไหน ผลิตที่ไหน ปีอะไร ความบริสุทธ์เท่าไร Cryo หรือไม่ เรื่องนี้ต้องอยู่ในใจท่านๆเลย เพ่อว่ามีพลต่อสียงเหมือนตะกั่ว ถ้าท่านใช้ตะกั่วดี แต่สายห่วย ก็ไม่ต่างจากหายนะที่ผมได้บอกไปข้างต้นสักเท่าไร
    สานไวริ่งที่ผมแนะนำ มี 3 ยี่ห้อ Van den hul, Cardas, Kimber เนื่องจากทั้ง 3 แบรนด์นี้ คร่ำหวอดกับเรื่องเสียงมานาน คุณภาพของผลิตภัณ์เป็นที่ไว้ใจได้นเรื่องของคุณภาพการผลิต การตอบสนองของเสียงและความถี่
    Van den hul เป้นสายที่ผลิตใน Denmark ให้เสียงนุ่นนวลอิ่มอุ่น แหลมเนียน เบสพอดี ท่านที่ชอบเพลงร้องที่มีรูปวงสวยงาม จะชอบแบรนด์นี้เป็นพิเศษ
    Cardas ผลิตใน USA ภายการควบคุมของ Mr.Josh Cardas ให้บรรยากาศ และเสียงร้องที่อิ่มมาก
    Kimber ผลิตใน England เป็นสายที่ให้รายละเอียดเสียงสว่างสุดในบรรดา 3 ยี่ห้อ แต่เสียงที่ได้ยังขาดฐานต่ำ ท่านอาจใช้Kimber ผสมกับ Cardas เพื่อเพี่มเสียงเบส แต่รายละเอียดไม่หายไป
    ขอให้ท่านที่ลองแล้วได้ผลอย่างไร มาแจ้งเพื่อๆเป็นวิทยาทานด้วยครับ

    7. Cap ภาคขยาย โมแล้วเสียงจะเปลี่ยนเหมือนเปลี่ยนแอมป์
    CAP = Capacitor หรือตัวเก็บประจุ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ผมชอบมากที่สุดในการโม เนื่องจากให้ผลต่อเสียงโดยรวมสำหรับมุมมองของผมนะครับ มากที่สุด
    อ้างอิง : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%...B8%88%E0%B8%B8
    ตัวเก็บประจุชนิดคงที่ Fixed capacitor
    Capacitor ชนิดนี้จะมีขั้วบวกและขั้วลบบอกไว้ ส่วนใหญ่จะเป็นแบบกลมดังนั้น การนำไปใช้งานจะต้องคำนึงถึงการต่อขั้วให้กับ Capacitor ด้วย จะสังเกตขั้วง่าย ๆ ขั้วไหนที่เป็นขั้วลบจะมีลูกศรชี้ไปที่ขั้วนั้น และในลูกศรจะมีเครื่องหมายลบบอกเอาไว้
    ? ตัวเก็บประจุแบบกระดาษ (Paper capacitor) ตัวเก็บประจุแบบกระดาษ นำไปใช้งานซึ่งต้องการค่าความต้านทานของฉนวนที่มี ค่าสูง และ มี เสถียรภาพต่ออุณหภูมิสูงได้ดี มีค่าความจุที่ดีใน ย่านอุณหภูมิที่กว้าง
    ? ตัวเก็บประจุแบบไมก้า (Mica capacitor)
    ตัวเก็บประจุแบบไมก้านี้ จะมีเสถียรภาพต่ออุณหภูมิ และ ความถี่ดี มีค่าตัวประกอบการสูญเสียต่ำ และ สามารถทำงาน ได้ดีที่ความถี่สูง จะถูกนำมาใช้ในงานหลายอย่าง เช่น ในวงจะจูนวงจรออสซิสเตอร์ วงจรกรองสัญญาณ และวงจรขยาย ความ ถี่วิทยุกำลังสูง จะไม่มีการผลิตตัวเก็บประจุแบบไมก้าค่าความจุสูงๆ ออกมา เนื่องจากไมก้ามีราคาแพง จะทำให้ค่าใช้จ่ายในการ ผลิตสูงเกินไป
    ? ตัวเก็บประจุแบบเซรามิก (Ceramic capacitor)
    ตัวเก็บประจุชนิดเซรามิก โดยทั่วไปตัวเก็บประจุชนิดนี้มีลักษณะกลมๆ แบนๆ บางครั้งอาจพบแบบสี่เหลี่ยมแบนๆ ส่วนใหญ่ตัวเก็บประจุชนิดนี้ มีค่าน้อยกว่า 1 ไมโครฟารัด และเป็นตัวเก็บประจุชนิดที่ไม่มีขั้ว และสามารถทนแรงดันได้ประมาณ 50-100 โวลต์ค่าความจุของตัวเก็บประจุชนิดเซรามิกที่มีใช้กันในปัจจุบันอยู่ในช่วง 1 พิโกฟารัด ถึง 0.1 ไมโครฟารัด
    ? ตัวเก็บประจุแบบอิเล็กโทรไลติก (Electrolytic capacitor)
    ตัวเก็บประจุชนิดอิเล็กโทรไลติก ตัวเก็บประจุชนิดนี้ต้องระวังในการนำไปใช้งานด้วย เพราะมีขั้วที่แน่นอนพิมพ์ติดไว้ด้าน ข้างตัวถังอยู่แล้ว ถ้าป้อนแรงดันให้กับตัวเก็บประจุผิดขั้ว อาจเกิดความเสียหายกับตัวมันและอุปกรณ์ที่ประกอบร่วมกันได้ ขั้วของตัวเก็บประจุชนิดนี้สังเกตได้ง่ายๆ เมื่อตอนซื้อมา คือ ขาที่ยาวจะเป็นขั้วบวก และขาที่สั้นจะเป็นขั้วลบ
    ? ตัวเก็บประจุแบบน้ำมัน (Oil capacitor)
    ? ตัวเก็บประจุแบบโพลีสไตลีน (Polyethylene capacitor)
    ? ตัวเก็บประจุ แทนทาลั่ม (Tantalum capacitor)
    ตัวเก็บประจุแบบแทนทาลั่ม จะให้ค่าความจุสูงในขณะที่ตัวถังที่บรรจุมีขนาดเล็ก และมีอายุในการเก็บรักษาดีมาก ตัวเก็บประจุแบบแทนทาลั่มนี้มีหลายชนิดให้เลือกใช้ เช่น ชนิด โซลิต ( solid type ) ชนิด ซินเทอร์สลัก ( sintered slug ) ชนิดฟอลย์ธรรมดา ( plain foil ) ชนิดเอ็ชฟอยล์ ( etched foil ) ชนิดเว็ทสลัก ( wet slug ) และ ชนิดชิป ( chip ) การนำไปใช้งานต่างๆ ประกอบด้วยวงจรกรองความถี่ต่ำ วงจรส่งผ่านสัญญาณ ชนิด โซลิตนั้นไม่ไวต่ออุณหภูมิ และ มีค่าคุณ สมบัติระหว่างค่าความจุอุณหภูมิต่ำกว่า ตัวเก็บประจุ แบบอิเล็กทรอไลติกชนิดใด ๆ สำหรับงานที่ตัวเก็บประจุแบบแทนทาลั่มไม่เหมาะกับ วงจรตั้งเวลาที่ใช้ RC ระบบกระตุ้น ( triggering system ) หรือ วงจรเลื่อนเฟส ( phase - shift net work ) เนื่องจากตัวเก็บประจุแบบนี้ มีค่าคุณสมบัติของการดูดกลืนของไดอิเล็กตริก สูง ซึ่งหมายถึงเมื่อตัวเก็บประจุถูกคายประจุ สารไดอิเล็กตริกยังคงมีประจุหลงเหลืออยู่ ดังนั้นเม้ว่าตัวเก็บประจุที่มีคุณสมบัติของ การดูดกลืนของสารไดอิเล็กตริกสูงจะถูกคายประจุประจุจนเป็นศูนษ์แล้วก็ตาม จะยังคงมีประจุเหลืออยู่เป็นจำนวนมากพอ ที่ จะทำ ให้เกิดปัญหาในวงจรตั้งเวลา และ วงจรอื่นที่คล้ายกัน
    ? ตัวเก็บประจุแบบไมลา (Milar capacitor)
    ? ตัวเก็บประจุแบบไบโพลา (Bipolar capacitor)
    ? ตัวเก็บประจุแบบโพลีโพรไพลีน (Poiypropyrene)
    [แก้] ตัวเก็บประจุแบบปรับค่าได้ Variable capacitor
    เป็น Capacitor ชนิดที่ไม่มีค่าคงที่ ซึ่งจะมีการนำวัสดุต่างๆ มาสร้างขึ้นเป็น Capacitor โดยทั่วไปจะมีค่าความจุไม่มากนัก โดยประมาณไม่เกิน 1 ไมโครฟารัด (m F) Capacitor ชนิดนี้เปลี่ยนค่าความจุได้ จึงพบเห็นอยู่ ในเครื่องรับวิทยุต่าง ๆ ซึ่งเป็นตัวเลือกหาสถานีวิทยุโดยมีแกนหมุน Trimmer หรือ Padder เป็น Capacitor ชนิดปรับค่าได้ ซึ่งคล้าย ๆ กับ Variable Capacitor แต่จะมีขนาดเล็กกว่า การใช้ Capacitor แบบนี้ถ้าต่อในวงจรแบบอนุกรมกับวงจรเรียกว่า Padder Capacitor ถ้านำมาต่อขนานกับวงจร เรียกว่า Trimmer

    บรรยากาศ รายละเอียด เสียงร้อง พลัง ออกมาจากเจ้าตัวชิ้นเล็กๆนี่ทั้งหมดทั้งสิ้น เปลี่ยนแล้วเห็นผลเหมือนเปลี่ยนแอมป์
    Cap ที่ผมชอบใช้มากที่สุดคือแบบ Paper in oil มี 2 ยี่ห้อ คือ
    1. Jensen รุ่น Copper Floyd paper in oil Denmark เนื้อเสียงอุ่นหนา รายะละเอียดเป็นประกายยอดเยี่ยม พละกำลังดี เนียนมากๆ กลางดีมาก หวานมากๆ หละไม่หดห้วน เบสดี
    2. Mundorf silver-gold paper in oil Germany สด พลกำลังดี สมจริง รายละเอียดยอดเยี่ยม เบสดี กลางเนียนไม่ค่อยอิ่ม
    อยากให้ได้ลองกัน แล้วจะชอบ เหมือนผม

    8. ขั้วต่อลำโพง ใครว่าไม่สำคัญ
    ขั้วต่อลำโพงนี่ ถ้าท่านๆเคยเห็นลำโพงระดับเทพ แอมป์ระดับเทพนี่ ท่านจะรู้ว่า เรื่องนี้มีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากจุด contact ระหว่างลำโพงกับแอมป์นั่นมาจาก ขั้วเล็กๆนี่ ซึ่งถ้าขั้วเล็กๆนี่ไม่ดี นั่นหมายถึงความสูญเปล่าที่ท่านได้อัพเกรดไป แม้ท่านจะใช้สายลำโพงเทพแค่ไหน แต่ถ้าขั้วลำโพงท่านห่วย นั่นก็คือห่วยเช่นกันครับ
    ขั้วลำโพงที่ผมแนะนำมี 2 ยี่ห้อ
    1. Michell Engineering England เป็นขั้วลำโพงที่ใช้ในลำโพง proac ทุกรุ่นเรื่องมา รุ่นที่ผมชอบใช้มากที่สุดคือ big mother แบบ rhodium ให้พลังและหัวเสียงดีขึ้นโดยไม่ไปลดทอนส่วนใด
    2. Cardas USA ขั้วลำโพงเทพที่ jeff Rowland ใช้ในแอมป์ของเขาทุกรุ่น แนวเสียงอิ่มเนียนเป็นประกาย สะอาดและมีพลัง เสียงร้องดีมาก แต่ราคาแพงหน่อย
    3. WBT Germany เป็นผู้ที่คร่ำหวอดในวงการเครื่องเสียงและ accessory มานาน อุปกรณ์ที่ WBT ผลิต ล้วมเป็นอุปกร์ณขั้นเทพ ให้เสียงดีทั้งสิ้น ไม่มีข้อคอมเมท์ครับ ดีทุกอย่าง เสียงอย่างเดียว แพงมาก

    9. ชุดที่โม เมื่อเทียบเสียงแล้ว จะดีขึ้นเฉพาะชุดนั้นๆ เปลี่ยนชุดอื่นๆแล้วเสียงจะเปลี่ยนไป ไม่ลงตัว
    การโม คือการที่เราเอาเครื่องมาทำการเปลี่ยนวงจร เทียบเสียงใน system หนึ่งๆที่เรามี หรือเป็นชุดที่เราเตรียมเทส ดังนั้น การที่เราจูนเสียงให้ดีขึ้น มันเป็นเฉพาะชุดนั้นๆที่ดำเนิการ เมื่อเปลี่ยน Factor ใดๆ เสียงในโจทย์เดียวกัน ย่อมเปลี่ยนตามแต่จะดีขึ้น เหมาะสมหรือ matching หรือไม่ ต้องดูเป็นชุดๆไป ฉนั้น เมื่อท่านทำการอัพเกรด โมเครื่องแล้ว ท่านอาจพอในกับตรงชุดนี้ เมื่อเปลี่ยนสายลำโพง ท่านอาจว่าเสียงทำไม เสียงไม่เหมือนเดิมด้วยเหตุนี้แหละครับ

    10. เติมอุปกรณ์มากไป กำลังหด
    กสนใช้อุปกรณ์เพื่อช่วยให้เสียงดีขึ้นอย่าง CAP หรืออื่นๆ อย่าลืมว่ามันมีค่าความต้านทานในตัวของมัน เมื่อทำการโม ต้องพิจารณาจุดนี้ด้วย ถ้าท่านใส่อะไรมากไป เสียงมันอาจดี แต่พละกำลังอาจหายไปเนื่องจากความต้านทานภายในที่มากขึ้น ทำหกระแสส่งยากขึ้น พาลให้เสียงหายหรืออาจทำให้เครื่องเสียในอนาคตได้ ต้องระวังครับ

    11. ตะกั่ว เวลาบัดกรี ถ้าใช้บากไปหรือถ้าบัดกรีไม่ดี เสียงจะขุ่น
    การบัดกรีตะกั่ว เป้นทั้งศาสตร์และศิลป์ ทำอย่างไรให้สามารถเชื่อมวงจรได้ โดยทิ้งตะกั่วให้เกิดความต้านทานน้อยที่สุด ท่านจะเจอได้จากช่างฝีมือขึ้นเทพเท่านั้นที่จะบัดกรีตะกั่วโดยเหลือแค่คราบเท่านั้น แต่ก็ติดแน่นพอที่จะไม่ทำให้อุปกร์ณที่ติดหลุดออกไป
    เรื่องนี้อาจต้องใช้ความพยายามและความชำนาญเป็นปีๆจึงจะทำได้ ซึ่งท่านๆที่ DIY ต้องหัดเรื่องนี้ให้มาก เพราะว่าเป็นเรื่องพื้นฐานสุดของการหัดเล่น DIY แล้วครับ

    12. วงจรสั้นที่สุด ดีที่สุด
    การวางอุปกรณ์และวงจรต่างๆ นั้น ตามหลักการและทฤษฎีแล้ว ถ้าวงจรยิ่งชิดกันมาก ความต้านทานจะน้อย การสูญเสียจะเกิดน้อยและทำให้พลังมีมาก แต่ท่านต้องและกเอากับคลื่นรบกวนที่จะเกิดจากการวางวงจรชิดกันด้วย ลากรใช้อุปกร์ณ เช่นสายไวริ่ง cap หรืออื่นๆก็เช่นกัน ต้องสั้นที่สุดเพื่อลดการสูญเสีย ไม่ไช่เอาสายไวริ่ง บัดกรีแล้วทิ้งไว้ในแอมป์หรือลำโพงเป็นเมตร เผื่อไว้คราวหน้าใช้ต่อ ผมบอกได้เลยว่า เมื่อท่านเปลี่ยนให้สั้นลง ท่านจะพบว่าเสียงดีขึ้นไปอีก พลัง ประกาย ไดนามิกเพิ่มขี้นเองเลยครับ

    13. หูใครก็หูใคร
    เมื่อเวลาโมเสร็จ เราฟังของเราว่าดี เพื่อนเรามา แล้วบอกว่า อืม เสียงไม่ไช่หวะ เสียงไม่มีเบส เอ้าก็ไปเติมเบสไป อีกคนมาบอกแหลมห้วน เอ้า เติมแหลม อีกคนมาบอกว่าเบสเยอะไป เสียงแหลมจัดจ้าน
    ท่านจะเชื่อใคร ผมแนะนำให้เชื่อตัวเองครับ ไม่ว่าให้คนนั้นมันจะเทพแค่ไหน เป็นใครผมก็ไม่สน ผมสนว่า ผมฟังเพราะเป็นอันใช้ได้ อย่าได้ไปเชื่อใคร เพราะว่าหูเรามีเท่ากัน อาจมีประสบการต่างกัน แต่ความชอบ อย่างไรก็ต่าง บางคนชอบเค็ม บางคนหวาน บางคนเปรี้ยว ไม่เหมือนกัน เอาที่เราชอบสุดเป็นใช้ได้ครับ

    14. เรื่องหลอด ยุโรปดีสุด ยกเว้นรัสเซียและเชค
    ขอเสริมเรื่องของหลอดนิดนึง หลอดนั้นเป็นอุปกร์ณที่ผลาญชีวิตคนไปมากกว่าจะผลิดมันออกมาได้ ในยุคก่อนนั้น จะต้องเอาตะกั่วมาบดละเอียด แล้วเอาขดลอดทองแดงมาชุบและฉาบด้วยตะกั่วเหล่านี้ สุดท้ายก็ทำเป็นสูญญากาศแล้วเอาสารปลอดเข้าไปเพื่อให้เกิด ออกซิเดชั่นอย่างสมบูรณ์
    ซึ่งกรรมวิธีการผลิตในยุคที่คนเรายังไม่รู้จักภัยของตะกั่ว ท่านคิดว่าคนตายไปกี่คน? ลองคิดเลนๆนะครับ
    ถ้าไม่ตายทันที ก็ต้องได้รับผลกระทบจากการปลดและตะกั่วจนพิการ ขอแนะนำว่า ท่านที่ใช้แอมป์หลอด จงใช้หลอดของท่านอย่างคุ้มค่ามากที่สุด เพราะนั่นคือชีวิตคน
    กลับมาต่อเรื่องหลอด คาแรคเตอร์ของหลอด เหมือนกับประเทศผู้ผลิต
    USA ออกสด ลูกทุ่ง ออกแนวคันทรี่นิดๆ ให้พลังดี แต่ไม่ค่อยเนียน
    England ให้เสียงเนียน บรรยากาศดี นุ่มนวล ฟังสบาย ออกแนบผู้ดี เก็บเนื้อเก็บตัวหน่อยๆ ผมของหลอดจากประเทศนี้มากสุด เหมาะฟัง jazz
    Germany ให้เสียงดี วงกว้าง บรรยากาศไช้ได้ หัวโน๊ต หางเสียงดีมาก ออกแนวเครื่องวงใหญ่ เหมาะฟัง ออเคสตร้า
    ยุโรปอื่นๆ ออกเสียงสะอาด เนียน ไม่โดเด่นด้านใด เท่าไร ดี แต่ไม่โดดเด่น
    ท่านที่ต้องการเปลี่ยนหลอด ขอให้ใช้จุดสังเกตุของผมเป็นบรรทัดฐานในการเลือกอัพเกรดหลอดของท่านครับ

    15. ที่สุด คืนสู่สามัญ แพ้พ่ายต่อ solid brand
    เมือ่ฟังไปมากๆ โมมากๆเข้า พยายามจะท้าชนต่อสุดๆแห่งวงการ เจ้าแห่งเสียงคือ jeff และ mark (ความคิดผมคนเดียวนะครับ) พยายามอยู่นาน พบแต่ความล้มเหลว ไม่สามารถทำให้ดีเท่าหรือเหนือกว่าได้ แม้จะไม่อั้นงบแล้วก็ตาม สุดท้าบพับโปรเจค เอาเงินไปซื้อเลย จะได้จบให้รู้แล้วรู้เรื่องไป สุดท้ายก็มีทั้ง 2 ตัวนี้ในครอบครองและก็พอใจจนจบและไม่คิดจะไปตัวอื่นใดต่อไปแล้วครับ

    หวังว่าประสบการโมของผม ซึ่งที่เขียนมานี่ประมาณ 1 ใน 10 ที่ผมมีทั้งหมด แต่เขียนต่อไปไม่ไหวแล้ว จะเป็นประโยชน์ต่อพี่น้องท่านอื่นๆไม่มากก็น้อย

    มังกรซ่อนกาย
    Last edited by HiddenDragon; 3 Mar 2012, 18:12:25.

  • #2
    ขอบคุณสาระความรู้ดีๆครับ

    Comment


    • #3
      ขอบคุณครับ

      Comment


      • #4
        ขอบคุณครับ เคยมีคนในนี้บอกผมว่าถ้าฟังไม่เป็นแปลว่าผมโชคดีทุกวันนี้ยังนึกถึงอยู่

        Comment


        • #5
          ผมก็ฟังไม่เป็นเช่นกันครับ โชคดีจริงๆ

          Comment


          • #6
            จานปู่ที่คุณมังกรพูดถึง เคยสั่งผลิตตะกั่วโมเป็นแบรนด์ของตัวเองด้วย สั่งสเปคแม้กระทั่งกลิ่นของตะกั่ว
            เสียงที่ได้ก็ตามสไตล์เสียงของจานปู่

            ขอบคุณสำหรับประสบการณ์ดีๆครับ

            Comment


            • #7
              เรื่องของหลอด น่ากลัวมากครับ :-0

              โมให้ดี equipment นี้สำคัญจริง

              Comment


              • #8
                ชอบข้อ 13 จังคับ หูใครก็หูใคร อาจจะถูกใจคนอื่นแต่ไม่ถูกใจเราก็ได้

                ขอบคุณมากนะคับ

                Comment


                • #9
                  Originally posted by aon2008 View Post
                  ชอบข้อ 13 จังคับ หูใครก็หูใคร อาจจะถูกใจคนอื่นแต่ไม่ถูกใจเราก็ได้

                  ขอบคุณมากนะคับ

                  มันก็ต้องเป็นแบบนั้นอยู่แล้ว บางทีผมไปฟังที่เขาว่าดีๆ แต่ผมใม่ชอบผมก็จะว่ามันเสียงห่วย เวลาโมอย่าเอาลำโพงที่สูดกู่มาโมหากลางๆ ธรรมดาๆ เรื่องตระกั่ว ถ้าใช้เงินใบบางส่วนเสียงมันจะแบบ....... บอกใม่ถูก สรุปใม่ชอบ
                  ผมใช้แต่ตระกั่วธรรมดา+สายทองแดง ทั้งๆที่สายเงินแท้ๆ มีเต็มบ้าน เคยลองเอาสายเงินใส่เข้าไป แทบเตะเครื่องทิ้งเลย 5555

                  Comment


                  • #10
                    ถ้าเจอตัวนี้ ผมขายไป ท่านซื้อได้เลยนะครับ ผมโมไว้สุดชีวิต เสียงกิน แอมป์ราคาไม่เกินแสนทุกตัว
                    ขายไปประมาณ 1 ปีแล้วครับ

















                    Comment


                    • #11
                      อยากได้แอมป์หลอดแต่ว่าแต่ละตัวราคาแรงๆจนจับต้องไม่ได้ ขอบคุณมากครับ จขกท ได้ความรู้ในการโมดิฟายบ้างครับ บางข้อผมสามารถนำไปใช้ได้
                      ผมพึ่งหัดทำครับ พึ่งเข้าวงการได้ ไม่กีเดือนไม่เคยเรียนด้านนี้มาก่อน หมดไปหลายเหมือนกันครับในการโมดิฟายจากของดีจนกล้ายเป็นของพังครับ

                      ผมเองก็พึ่งค้นพบครับว่า แต่ละชุดไม่เหมือนกัน ความเข้ากันได้ได้ระหว่างอุปกรณ์ในชุด
                      ผมพึ่งหัดทำ 3886 สำเร็จตัวแรกที่ไม่จี่ฮัม ที่ผ่านมาฮัมจี่กระจายครับ พังมาแล้วตั้งแต่1875 3875 พังมาเยอะครับ หมด ic ไปหลายคู่นับเป็นเงินเฉพาะ ic มากเลยครับ 3875 ผมทำพังไป 5คู่ครับ
                      สุดท้าย3886 เสีย ic ไปตัวเดียวครับ ก็สำเร็จ ผมเอามาจับคู่กับลำโพง Jamo s604 เล่นด้วย Cd player sony รุ่นเก่า เสียงที่ได้ดีมากครับ มันเข้ากันได้ดีมากครับ ฟังแล้วเพลินไปเลยครับ พอผมทดลองเปลียนลำโพงเป็น Infinity รุ่น Reference 30 เสียงมันเปลี่ยนไปเลยครับ เสียงจากที่เคยนุ่มๆกล้ายเป็นเสียงโปร่งบาง ฟังแล้วชักจะกัดหูซะแล้วครับ ลำโพงกับแอมป์มันคงไม่เข้ากันหรือมันไปทางเดียวกันมันเลยส่งกันไปในทางนั้นเกินไปคือโปร่งบาง

                      ผมมี PM5004 อีกตัว ตัวนี้กับ Infinity รุ่น Reference 30 ฟังดีฟังแล้วนุ่มแน่น ทั้งรายละเอียดเบส มีครบหมดฟังแล้วเพลินไปอีกแบบ แต่พอเอาลำโพง jamo มาจับกับPM5004 เสียงมันก็ดีครับแต่เสียงมันยังขาดทางด้านนุ่มแน่นไป
                      สรุปว่าผมก็พึ่งจะเข้าใจว่าทำไม เขาจังบอกกันว่าจะชื้อแอมป์ให้ยกลำโพงไป จะชื้อลำโพงใหยกแอมป์ไป พึ่งจะเข้าใจก็ต่อเมื่อผมมีแอมป์ 2ตัว ลำโพง 2คู่
                      ไม่ว่าของจะแพงหรือมีราคาแค่ไหน ถ้ามันเข้ากับชุดนั้นไม่ได้มันก็เปล่าประโยชน์

                      Comment


                      • #12
                        ใส้แหล่มมาก สำหรับแท่น mono ใช้ R WELWYN ของอังกฤษซะด้วย เสียงน่าจะอิ่มหนา พอตัวเลย

                        อยากจะแจมรูปแอมป์ที่ตัวเองทำเองอยู่เหมือนกันแต่คงต้องให้พี่เค้าอณุญาตก่อน
                        Last edited by numz; 4 Mar 2012, 19:56:31.

                        Comment


                        • #13
                          งงตรง Jeff กับ mark นี่คนไหนเหรอครับ นึกไม่ออก

                          Comment


                          • #14
                            น่าจะเป้นแบรน Jeff Rowland กับ Mark Levinson หละครับ

                            Comment


                            • #15
                              Jeff rowland
                              http://www.soundstagelive.com/factorytours/jeffrowland/

                              คนทางซ้ายนะครับ แก่ๆ สูงๆ


                              แอมป์ของแก



                              Mark Levinson
                              http://en.wikipedia.org/wiki/Mark_Levinson

                              รูป


                              รูปแอมป์


                              สองเทพแห่งวงการเครื่องเสียง
                              Jeff เป็นวิศกรอวกาศของนาซ่า
                              Mark เป็นนักดนตรีมืออาชีพที่ฟังเครื่องเสียงที่ไหนก็ไม่เท่าเล่นสดเลยผลิตเองซะเลย

                              Comment

                              Working...
                              X