Announcement

Collapse
No announcement yet.

อยากทราบว่า ทวิสเตอร์อยู่อยู่ในลำโพง มันทำหน้าที่อะไรคับ

Collapse
X
 
  • Filter
  • Time
  • Show
Clear All
new posts

  • อยากทราบว่า ทวิสเตอร์อยู่อยู่ในลำโพง มันทำหน้าที่อะไรคับ

    กราฟเสียงแบบนี้ มันคืออะไรคับ เขาดูกันยังไงคับ
    http://article.tech-labs.ru/img/article/8057/1.png
    ขอบคุณคับ

  • #2
    ไม่มีผู้รู้เลยหรอคับ

    Comment


    • #3
      ดอกลำโพงทวิสเตอร์ก็มีหน้าที่ผลิตความถี่สูง เขาเลยแยกเป็นหลายชนิด เพื่อให้ลำโพงตอบสนองแต่ละย่านได้ดี เช่นเสียงแหลมทวีสเตอร์ เสียงกลางก็มิดเบส เสียงเบสกับเสียงร้องด้วยก็มีวูฟเฟอร์ เสียงเบสต่ำๆลึกๆก็ซัพวูฟเฟอร์

      กราฟในรูปที่ท่านถามคือ ความถี่ของลำโพงที่ตอบสนองได้(สเปกลำโพงนั่นเอง)
      Last edited by carbon_za; 16 Feb 2012, 00:36:21.

      Comment


      • #4
        Originally posted by wokentappy View Post
        ไม่มีผู้รู้เลยหรอคับ
        อยากให้ลองค้นคว้าด้วยตัวเองก่อนครับ ผมลองเอาคำถามไปถามใน google ดู คิดว่าก็น่าจะพอคลายข้อสงสัยได้บ้างครับ ถ้าอ่านแล้วติดขัดตรงไหนค่อยมาสอบถามดูครับ

        หมายเหตุ ผมไม่ได้อยากมาม่านะครับ แต่คิดว่ามีผู้รู้หลายคนที่เห็นคำถามแล้ว แต่มีหลายเหตุผลที่ไม่สามารถตอบให้ได้ทันที

        http://www.google.co.th/#hl=th&sugex...w=1918&bih=873

        Comment


        • #5
          หัวกระทู้อย่างนึง เนื้อหากระทู้ก็อย่างนึง เอ้ออะไรนิ

          กราฟไม่ใด้เป็นตัวบ่งบอกว่าลำโพงตัวใหนดี ตัวใหนไม่ดี อย่าเข้าใจผิด ต่อให้สเปค(กราฟ)เทพขนาดใหนแต่ฟังแล้วไม่ชอบก็จบ

          แน่ใจแล้วเหรอว่าอยากเรียนรู้ ? มันอ่านยากพอสมควรนะบอกให้

          Comment


          • #6
            สีฟ้าคือ ความถี่ที่ตู้ซับทำได้

            สีเขียวคือกลางเแหลม

            Comment


            • #7
              เข้ามาช่วยในหัวข้อที่ว่า ทวีตเตอร์ในลำโพงทำหน้าที่อะไร ก่อนนะครับ

              (Driver Tweeter) ไดรเวอร์ทวีตเตอร์หรือที่คนส่วนใหญ่เรียกว่าดอกเสียงแหลม มันมีหน้าสร้างคลื่นเสียงความถี่สูง ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ที่ประมาณ 2,500 เฮิรทช์ขึ้นไป ลักษณะการทำงานของมันก็คือ เมื่อมีสัญญาณเข้ามาที่ทวีตเตอร์ สมมติว่าเป็นสัญญาณความถี่ 3,500-8,000 เฮิรทช์ ตัวมันเองก็จะขยับ 3,500-8,000 ครั้ง/วินาทีเช่นกัน และการขยับนี้ก็ขึ้นอยู่กับความถี่ที่ตัวทวีตเตอร์รับมาจากภาคขยายเสียงนั่นเอง

              คราวนี้สมมติว่าทวีตเตอร์ตัวหนึ่ง มีสเปคการตอบสนองความถี่ได้ตั้งแต่ 2,800 เฮิรทช์ ไปจนถึง 25,000 เฮิรทช์ มีค่าผิดพลาด +- 6 ดีบี โดยการป้อนสัญญาณทดสอบที่ระดับแรงดัน 2.83 โวลต์ แล้วก็ตั้งไมค์วัดเสียง***งจากลำโพงด้านหน้าออกมา 1 เมตร ทั้งหมดต้องวัดในแล็ปที่ไร้เสียงรบกวน

              ...ตัดฉากกลับมาที่ลำโพงทวีตเตอร์อีกครั้ง คราวนี้เมื่อมีสัญญาณความถี่ 1,500 ถึง 2,750 เฮิรทช์เข้ามาที่ลำโพงทวีตเตอร์ ตัวมันเองจะเคลื่อนที่ขยับตัวมากเกินความสามารถที่จะรับได้ ถ้ายังฝืนให้ขยับหรือเปิดต่อไป ตัวลำโพงทวีตเตอร์จะพังหรือวอยซ์ขาด เพราะยังไม่ถึงจุดที่มันสามารถทำงานได้อย่างปลอดภัยตามสเปคที่ว่า 2,800-25,000 เอิรทช์ อีกอย่างครับ เรื่องของความถี่นั้นมันมีอยู่ว่า ความถี่ต่ำคลื่นเสียงยาว ความถี่สูงคลื่นเสียงสั้น ...เปรียบเทียบความถี่ต่ำได้กับก้อนหินขนาดใหญ่ 10 ก้อน แล้วโยนลงน้ำทีละลูก ก็จะเกิดคลื่นลูกใหญ่กระจายเป็นวงกว้างไปไกล โยน 10 ลูกก็กระจายซ้อนกันไปเรื่อย ส่วนความถี่สูงก็เป็นหินก้อนเล็กๆ 10 ลูก โยนลงน้ำทีละลูกเหมือนกัน แต่คลื่นที่กระจายมันเล็กกว่าหินก้อนใหญ่ใช่ไหมครับ ...จ๋อม...เดียวหาย

              นั่นแหละคือที่มาของ ความถี่ต่ำคลื่นเสียงยาว ความถี่สูงคลื่นเสียงสั้น

              ระยะขยับตัวของทวีตเตอร์นั้นมันแคบ สั้น ขยับตัวได้ไม่มาก ถ้าขยับมากมันจะตอบสนองความถี่สูงได้ไม่ดีเท่าที่ควร คราวนี้ถ้าเราเอาความถี่ต่ำเกินไปป้อนให้มัน มันจะออกอาการสำลัก จนจุุกและตาย.....จึงต้องใช้อุปกรณ์มาช่วยกรองหรือกั้นความถี่ให้มันก่อนที่จะใช้งาน และตัวอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ตรงนี้คือ คาปาซิเตอร์ หรือคะแปซิเตอร์ หรือ C นั่นเองครับ และคาปาซิเตอร์มันจะยอมให้ความถี่สูงผ่าน แต่ความถี่ต่ำมันจะกั้นไว้ ในขณะเดียวกันก็ยังเป็นตัวกำหนดความถี่ให้กับทวีตเตอร์ด้วย และแน่นอนในเมื่อมันทำงานในความถี่ต่ำไม่ได้ เราจึงต้องหาลำโพงขนาดใหญ่มาทำหน้าที่แทน ก็คือดอกลำโพงเสียงทุ้มหรือวูฟเฟอร์นั้นเองครับ ส่วนคำตอบที่ว่าทวีตเตอร์มีหน้าที่อะไรคุณน่าจะได้คำตอบแล้วครับ ฮ่า....

              สำหรับกราฟที่สงสัยก็อย่างที่คุณ klaza007a ว่านั่นแหละครับ

              แต่ผมขอเพิ่มอีกนิดหนึ่งคือ ในกราฟของลำโพงแซทเทิร์นไลท์จะมีช่วงการตอบสนองความถีอยู่ที่ 200 เฮิรทช์ไปจนถึง 10,000 หรือ 10 กิโลเฮิรทช์ ที่ระดับความดัง 85 ดีบี และที่ระดับความถี่ 600 เฮิรทช์ เสียงจะเบาลงมาเกือบๆ 5 ดีบี ในส่วนที่ราบเรียบที่สุดจะมีช่วงแคบมากคือ ช่วง 2 กิโลเฮิรทช์ถึง 4 กิโลเฮิรทช์ และเสียงความถี่สูงของลำโพงตัวนี้จะหายวูบไปเลยหลังจากความถี่ 10 กิโลเฮิรทช์ขึ้นไป ซึ่งน่าจะมาจากวงจรเน็ทเวิร์คที่ออกแบบให้มันชันมาก

              สำหรับลำโพงซับวูฟเฟอร์ จะมีช่วงตอบสนองความถี่ประมาณ 55 เฮิรทช์ถึง 130 เฮิรทช์ ที่ระดับความดัง แถวๆ 80 ดีบี และแถวๆความถี่ 60 เฮิรทช์ เสียงจะโด่งขึ้นมาเกิน 85 ดีบี ซึ่งเสียงเบสส์ความถี่นี้จะดังและเด่นมากเป็นพิเศษ ในขณะเดียวเมื่อเอามาใช้ในห้องก็ต้องระวังความถี่นี้เช่นกัน เพราะอาจจะเกิดการสั่นค้างของความถี่ 60 เฮิรทช์ที่ดังมากเกินไปจนมันไปกลบความถี่แถวๆ 100 เฮิรทช์นิดๆได้ เพราะความถี่ตรงนี้เบามากครับ

              ...เอาแค่นี้ก่อนนะครับ กินกำลังงานมาโขทีเดียว

              Comment


              • #8
                กระจ่าง แท๊งยู

                Comment

                Working...
                X