Announcement

Collapse
No announcement yet.

D.I.Y.ตอน ต่อแอมป์ 40+40 w. ราคาไม่ถึงพัน

Collapse
X
 
  • Filter
  • Time
  • Show
Clear All
new posts

  • เราไม่พูดถึงว่า ลำโพงทั้ง2แบบถูกใช้ด้วยวัตถุประสงค์ที่ต่างกันสิ แต่เราพูดถึงเสียงที่ได้จากลำโพงทั้ง2แบบ

    เสียงพริ้ว เสียงไม่พริ้ว บอกเป็นตัวอักษรงัยดีหว่า ถ้านั่งฟังอยู่ด้วยกันจะชี้จุดให้ดูง่ายกว่าเยอะเลย
    พยายามหาเรื่องใกล้ตัวที่น่าจะยกเป็นตัวอย่างได้บ้าง มันคงไม่ตรงกับความหมายเป๊ะๆแต่จะมีลักษณะแบบนั้นให้เห็นบ้าง

    นักร้อง#1 - ถือไมค์จ่อติดปากแล้วก็ร้องในสภาพนั้นตลอดเวลา
    นักร้อง#2 - ถือไมค์มีการขยับเข้าออกตามจังหวะที่จะให้เสียงมีการผ่อนหนักเบา

    เสียงที่ได้จากนักร้องทั้ง2คนจะมีความแตกต่างกัน
    #1 จะเหมือนเสียงจากลำโพงทวีทเตอร์แบบฮอร์น ด้วยโครงสร้างที่มีปากฮอร์นเพื่อรีดเสียงให้เป็นลำ ทำให้การแยกระดับความดังค่อยด้อยลง
    #2 จะเหมือนเสียงจากลำโพงทวีทเตอร์แบบโดมผ้า สามารถให้ความแตกต่างของระดับความดัง


    นักร้องที่มีการเล่นระดับเสียงสูงเสียงต่ำขึ้นๆลงๆ เสี้ยงเอื้อน เสียงอออดอ้อนออเซาะ ถ้าฟังจากดอกลำโพงเสียงแหลมแบบโดมผ้าจะให้เสียงลักษณะนี้ได้ดีกว่าน่าฟังกว่า

    ถ้าเป็นเสียงของเครื่องเป่าทองเหลือง พวกแซก พวกเครื่องเคาะโลหะ ดอกลำโพงฮอร์นหรือดอกที่มีการเคลือบผิวโลหะจะให้เสียงห้วนคมแข็งแสบหูกว่าดอกแบบโดมผ้า

    Comment


    • ยกตัวอย่าง เสียงเคาะระฆัง

      พอไม้กระทบตัวระฆัง เสียงไม้กระทบระฆังจะดังขึ้น ในเวลานั้นตัวระฆังมีการแกว่งขยับโยกไปมาก็จะเกิดเสียงระฆังแกว่งไปมาด้วย และทั้ง2ช่วงก็จะมีเสียงการก้องกังวาลของตัวระฆังดังตลอดเวลาควบคู่ไปด้วย

      ลำดับเสียงที่เกิด
      มีเสียงตอนไม้กระทบผิวระฆังดังขึ้นก่อน, ตามด้วยเสียงตัวระฆังก้องกังวาลตามมา, มีเสียงตัวระฆังขยับแกว่งโยกไปมาพร้อมๆกับเสียงตัวระฆังก้องกังวาลต่อเนื่องตลอดเวลา

      ถ้าเราไปอยู่ในสถานที่จริงฟังเสียงจริงๆ จะได้ยินเสียงที่มีความ"พริ้ว"มีความต่อเนื่อง ตั้งแต่เสียงไม้กระทบจนถึงสิ้นสุดการก้องกังวาลของเนื้อโลหะที่ใช้ทำตัวระฆัง

      แต่เมื่อเราฟังผ่านเครื่องผ่านลำโพง เสียงที่ได้จะมีความแตกต่างไปตามประสิทธิภาพของชุดนั้นๆด้วย


      ให้สังเกตุลักษณะเสียงระฆังในช่วงก้องกังวาล
      ออปแอมป์#1 - ให้เสียงไม้กระทบตัวระฆังได้ มีเสียงระฆังก้องกังวาลแบบสั้นๆ แต่ไม่สามารถให้เสียงช่วงตัวระฆังขยับแกว่งโยกไปมาได้
      ออปแอมป์#2 - ให้เสียงไม้กระทบตัวระฆังได้ มีเสียงช่วงตัวระฆังขยับแกว่งโยกไปมา มีเสียงระฆังก้องกังวาลตั้งแต่ต้นจนจบ


      EQ, Para-EQ
      จะช่วยเรื่องเน้นเสียงช่วงไหนให้ดังหรือเบา แต่ไม่สามารถให้เสียงที่ตัวมันไม่มีอยู่เดิมได้(เสียงระฆังขยับแกว่ง)

      ออปแอมป์ที่ดีกว่า (ออปแอมป์#2)
      จะช่วยถ่ายทอดเสียงที่มีทั้งหมดได้ครบถ้วนมากกว่า
      Last edited by keang; 3 Mar 2011, 10:00:28.

      Comment


      • พอจะนึกภาพ(เสียง)ออกละครับ แต่อยากรู้ว่าทำไม

        ให้สังเกตุลักษณะเสียงระฆังในช่วงก้องกังวาล
        ออปแอมป์#1 - ให้เสียงไม้กระทบตัวระฆังได้ มีเสียงระฆังก้องกังวาลแบบสั้นๆ แต่ไม่สามารถให้เสียงช่วงตัวระฆังขยับแกว่งโยกไปมาได้
        ออปแอมป์#2 - ให้เสียงไม้กระทบตัวระฆังได้ มีเสียงช่วงตัวระฆังขยับแกว่งโยกไปมา มีเสียงระฆังก้องกังวาลตั้งแต่ต้นจนจบ

        ออปแอมป์ตามความเข้าใจผมมันก็มีหน้าที่เพียงแค่ขยายสัญญาณ ขนาดเล็ก ไม่ได้เป็นแหล่งกำเนิดเสียง ไม่ได้สร้างสัญญาณเสียงขึ้นมา
        ช่วยอธิบายได้ไหมครับว่าทำไมเสียงช่วงตัวระฆังขยับแก่วงโยกไปมาได้ มันหายไปด้วยกระบวนการใด จับประเด็นแค่ตรงนี้ก็พอนะครับ ขอบคุณมาก ^^

        Comment


        • อันนี้ถามง่าย ตอบยากเลยวุ้ย

          - ก่อนอื่นอยากให้ลองเปลี่ยนมุมมองเพิ่มอีกหน่อย
          จากที่คิดว่า ไฟล์เพลงคือแหล่งกำเนิดเสียง / เครื่องคือตัวขยายสัญญาณให้แรงขึ้น
          เปลี่ยนเป็นแบบนี้
          ไฟล์เพลงคือแหล่งกำเนิดเสียง#1 / เครื่องก็คือแหล่งกำเนิดเสียงเหมือนกัน#2 / ลำโพงคือแหล่งกำเนิดเสียง#3
          เพราะว่า เมื่อสัญญาณผ่านแต่ละจุด มันจะถูกแปรเปลี่ยนไปตามคุณภาพและประสิทธิภาพของแต่ละจุดด้วย
          ประมาณว่า บางจุดมีลดทอน บางจุดมีบูสเพิ่ม บางจุดมีความเพี้ยนเกิดขึ้น หรือ บางจุดมีทั้ง เพี้ยน+บูสเพิ่ม+มีทั้งลดทอนเสียงบางช่วงไปด้วย


          - จริงๆบางทีมันไม่ได้หายไปแบบไม่มี แต่มันมีอยู่แต่น้อยมากจนไม่สามารถบอกได้ว่ามันคืออะไร
          อาจจะเป็นเพียงเสียงที่ได้ยิน แต่บอกรายละเอียดให้เรารับรู้ไม่ได้ว่า มันเสียงระฆังสั่นก้องกังวาลหรือเสียงตัวระฆังมันแกว่ง
          ประมาณว่ามันกลืนกันจนแยกไม่ออก หรือมันเบามากจนแทบไม่ได้ยินเพราะโดนเสียงอื่นกลบจนเกือบหมด

          ( ถ้าจะเปรียบก็เหมือนเครื่องส่วนใหญ่ เวลาเปิดเบามากหน่อย จะไม่ได้ยินเสียงบางเสียงต้องไปเร่งวอลลุ่มให้ดังขึ้น เพื่อจะได้ยินเสียงนั้น
          แต่ทว่า พอเราไปเร่งวอลลุ่มให้ดังขึ้นนั้น มันมีเอฟเฟคกับเสียงทั้งหมดด้วยเช่นกัน เสียงที่ของเดิมมันดังพอดีก็กลายเป็นดังลั่นดังมากเกินไป )
          ( เคยได้ยินคนหนังด้วยชุดที่คุณภาพไม่สมบูรณ์เท่าไหร่ เค้าบอกว่า ทำไมเสียงพูดเบาจัง ต้องเร่งวอลลุ่มเพื่อให้เสียงพูดดังขึ้น )



          ตรงนี้ถ้าเคยอ่านพวกคำวิจารณ์เครื่องเสียงหรือเล่นเครื่องเสียงแบบหลายระดับมาพอสมควร
          จะประมาณว่า เครื่องตัวนี้เหมาะสำหรับเครื่องดนตรีน้อยชิ้น เครื่องตัวนี้เหมาะสำหรับเครื่องดนตรีหลายชิ้น

          เครื่องตัวนี้เหมาะสำหรับเครื่องดนตรีน้อยชิ้นเครื่องที่เวลาเปิดเพลงที่เครื่องดนตรีน้อยชิ้น สามารถถ่ายทอดเสียงดนตรีได้ชัดเจน บอกตำแหน่งชิ้นดนตรีได้ชัดเจน
          แต่พอเปิดกับเพลงที่มีเครื่องดนตรีมากชิ้นขึ้น เสียงเครื่องดนตรีที่เคยได้ยินชัดเจนจะกลายเป็นเริ่มคลุมเครือมากขึ้น มิติเวทีเสียงหดแคบขึ้น

          เครื่องที่เหมาะกับเครื่องดนตรีหลายชิ้นเครื่องที่เวลาเปิดเพลงที่เครื่องดนตรีน้อยชิ้นหรือมากชิ้น ก็ยังสามารถแยกแยะเครื่องดนตรีเสียงดนตรีที่เล่นพร้อมๆกันได้ชัดเจน มิติเวทีเสียงก็ยังเหมือนเดิม



          เนื้อหาจริงๆจะแนวเดียวกับที่คุณmilestone, คุณเสือบอกไว้ที่ข้างล่าง
          Last edited by keang; 3 Mar 2011, 12:43:07.

          Comment


          • มันจะมีกระบวนการขยายในความถี่แต่ละช่วงอยู่ครับ
            บางครั้งก็จะมีการบูสบางช่วงขึ้นหรือดรอปสัญญาณลงด้วยด้วย แล้วแต่เทคโนโลยีภายใน
            ถ้าเป็นแบบของที่ราคาประหยัดหน่อยก็จะมีการขยายไม่ครบทุกย่าน ทำให้มีบางช่วงที่ขาดหายไป
            ซึ่งมักเป็นส่วนยิบย่อย ที่ไม่สำคัญมากสำหรับการขยายปกติ
            แต่บางครั้งมันสำคัญสำหรับคนที่ต้องการเก็บรายละเอียดครับ

            อาจอธิบายไม่ดีพอหรือมีอะไรผิดไป รอข้างบนอีดิทเดี๋ยวมาอ่านด้วย ^^

            Comment


            • Originally posted by fenderfree View Post
              พอจะนึกภาพ(เสียง)ออกละครับ แต่อยากรู้ว่าทำไม

              ให้สังเกตุลักษณะเสียงระฆังในช่วงก้องกังวาล
              ออปแอมป์#1 - ให้เสียงไม้กระทบตัวระฆังได้ มีเสียงระฆังก้องกังวาลแบบสั้นๆ แต่ไม่สามารถให้เสียงช่วงตัวระฆังขยับแกว่งโยกไปมาได้
              ออปแอมป์#2 - ให้เสียงไม้กระทบตัวระฆังได้ มีเสียงช่วงตัวระฆังขยับแกว่งโยกไปมา มีเสียงระฆังก้องกังวาลตั้งแต่ต้นจนจบ

              ออปแอมป์ตามความเข้าใจผมมันก็มีหน้าที่เพียงแค่ขยายสัญญาณ ขนาดเล็ก ไม่ได้เป็นแหล่งกำเนิดเสียง ไม่ได้สร้างสัญญาณเสียงขึ้นมา
              ช่วยอธิบายได้ไหมครับว่าทำไมเสียงช่วงตัวระฆังขยับแก่วงโยกไปมาได้ มันหายไปด้วยกระบวนการใด จับประเด็นแค่ตรงนี้ก็พอนะครับ ขอบคุณมาก ^^
              ตรงนี้เหมือนกันกับเล่นสายครับ สายนี่หนักกว่าอีกเป็นแค่ทางเดินสัญญาณ กลับปรับบุคลิคเสียงได้ การทอดตัวของเสียงแหลม(กังวาล)
              สายทำได้ แต่ อีคิว ปรี ทำไม่ได้ (ปรับไม่ได้)

              Comment


              • เอา data sheet แบบถูกๆกับแบบ แพงๆ มาเปรียบเทียบให้ดูหน่อยได้มั้ยครับ (เรื่องมากจริงผมเนี่ย) เข้าใจว่าต้องลองเองถึงรู้ แต่ถ้าแนะนำอธิบายด้วยภาพคิดว่าน่าจะทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้น รบกวนหน่อยนะครับผม ^^
                Originally posted by milestone View Post
                มันจะมีกระบวนการขยายในความถี่แต่ละช่วงอยู่ครับ
                บางครั้งก็จะมีการบูสบางช่วงขึ้นหรือดรอปสัญญาณลงด้วยด้วย แล้วแต่เทคโนโลยีภายใน
                ถ้าเป็นแบบของที่ราคาประหยัดหน่อยก็จะมีการขยายไม่ครบทุกย่าน ทำให้มีบางช่วงที่ขาดหายไป
                ซึ่งมักเป็นส่วนยิบย่อย ที่ไม่สำคัญมากสำหรับการขยายปกติ
                แต่บางครั้งมันสำคัญสำหรับคนที่ต้องการเก็บรายละเอียดครับ

                อาจอธิบายไม่ดีพอหรือมีอะไรผิดไป รอข้างบนอีดิทเดี๋ยวมาอ่านด้วย ^^

                Comment


                • เอาแบบสุดโต่งเลยก็เอา datasheet ของ OPA637 กับ JRC4558 ไม่ก็พวก OPA2132 ก็ได้
                  มันจะโชว์ตรงกราฟตอบสนองความถี่ครับ

                  ใน datasheet ของ OPA637 มันจะเทียบกับ OPA627 ให้ดูด้วยครับ
                  Last edited by milestone; 3 Mar 2011, 11:50:45.

                  Comment


                  • ใจเย็นๆครับ ดูกราฟดูสเปค ถ้าเราไม่รู้ว่าแต่ละจุดมันคืออะไร หมายถึงอะไร มีตัวแปรอะไรบ้าง
                    ก็เหมือนเราไปดูภาพศิลปะแหล่ะครับ เห็นภาพเป็นเส้นๆ เห็นภาพมีสีๆ เส้นๆสีๆอันไหนสะดุดตากว่ากันแค่นั้นเอง
                    แต่เราไม่รู้ว่าภาพนั้นคนวาดต้องการสื่ออะไรหรือคิดอะไรตอนวาดภาพนั้น

                    เบอร์ดีๆแพงๆ จะเห็นว่ามันตอบสนองความถี่ได้กว้างกว่าเบอร์ราคาถูกกว่า
                    แต่เดี๋ยวก็มีคำถามแย้งมาได้ว่า อ้าวตรงช่วงกลางมันก็ทำได้ราบเรียบเหมือนกัน เสียงมันก็ต้องเหมือนกันสิ

                    ยกตัวอย่างเฉพาะช่วงที่หูเราได้ยินละกัน
                    เบอร์4558 ตอบสนองได้ราบเรียบตั้งแต่ 20-20KHz
                    เบอร์637 ตอบสนองได้ราบเรียบตั้งแต่ 10-1,000KHz

                    ตรงช่วงความถี่20-20KHzนี่แหล่ะที่จะเป็นประเด็นโต้แย้งได้ว่า มันราบเรียบเหมือนกัน หูคนก็ได้ยินช่วงนี้ได้เป็นปรกติอยู่แล้ว ฉะนั้นมันต้องได้เสียงเหมือนๆกันสิ
                    แต่ในทางปฏิบัติกลับกลายเป็นว่า ออปแอมป์เบอร์หลายๆเบอร์ก็ให้เสียงในช่วงความถี่นี้ได้ต่างกันอีก

                    ออปแอมป์ทุกเบอร์ ถ้าเราป้อนความถี่ทีละ1ความถี่ให้มันทำงาน มันทำงานได้กราฟที่สวย ตรงตามดาต้าชีทตรงตามสเปค
                    แต่เมื่อเราป้อนความถี่มากกว่า1เป็น2-5ความถี่เข้าไปพร้อมๆกัน เช่น 20Hz, 100Hz, 500Hz, 1KHz, 10KHz คราวนี้เราจะเริ่มเห็นความแตกต่างได้มากขึ้น
                    ความถี่เป็นรูปแบบลูกคลื่นsinewave ก็อาจจะเห็นรอยขยักเล็กๆ หรือ รอยคลิปบนยอดคลื่น
                    ลองเปลี่ยนจากsinewaveเป็นรูปแบบสี่เหลี่ยมsquarewaveบ้าง เริ่มเห็นขอบมุมของคลื่นจากเดิมเป็นมุมเหลี่ยมก็เป็นมุมโค้งมนมากขึ้น หรืออาจเห็นขอบบนของยอดคลื่นเป็นรอยขยักเล็กด้วย

                    ยิ่งเราเพิ่มความถี่เข้าไปพร้อมๆกันมากเท่าไหร่ เราจะยิ่งเห็นความแตกต่างได้มากขึ้น




                    Last edited by keang; 3 Mar 2011, 12:19:28.

                    Comment


                    • ก็ประเด็นเดียวกับ C นั่นละครับ ความจุก็บอกเท่ากันแต่ความเร็วในการจ่ายกระแสต่างกัน
                      ในกราฟเค้าบอกว่าตอบสนองได้แต่เค้าไม่ได้บอกว่า
                      ตอบสนองไวแค่ไหน ขยายแล้วนิ่งแค่ไหน กำลังเท่าไหร่
                      ผมว่าตรงนี้ละคือแนวเสียงของออปแอมป์

                      Comment


                      • ลองทำความเข้าใจ ลองนึกเปรียบเทียบดูดีๆ
                        ถ้ามั่วได้ลงตัว จะได้คำตอบเรื่องสายไฟac เรื่องfuse เรื่องเสียงของตัวอะหลั่ย เรื่องสายสัญญาณ เรื่องฯลฯ
                        เพราะ ทั้งหมดมันก็อยู่บนพื้นฐานเดียวกัน

                        Comment


                        • กระทู้มัน 55 หน้าเลย ไม่ได้เข้ามาดูนาน
                          ก่อนที่ผมจะตอบอะไรไปก็ขอเกริ่นอะไรนิดละกัน
                          ผมศึกษาอิเล็กทรอนิกส์มานานแล้ว ประมาณ 14 ปีที่แล้ว ( ตั้งแต่อายุ 15)
                          ระยะเวลาในการศึกษา 5 ปี ค้นคว้าเองตลอด ประกอบวงจรอิเล็กทั้งที่ออกแบบเอง
                          และตามหนังสือมา น่าจะเกือบร้อย วงจรได้ เขียนปรินท์เอง ใช้ตั้งแต่ปากกาเมจิก
                          ยัน Dry film ช่วงหลังๆก็ไปเล่นพวกอุปกรณ์ SMD แต่หลังๆก็แทบไม่ได้จับ
                          แต่ทฤษฏี กับ สิ่งที่ได้มากกว่าทฤษฎีมันก็ยังคงอยู่ ใช้ได้ทุกยุคทุกสมัย

                          ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า วงการเสียงนั้น
                          คนส่วนมากเอา อารมณ์และความรู้สึกของตนเองมาตัดสินวงจร เพราะคนส่วนมาก ไม่มีเครื่องมือวัด
                          ที่มีคุณภาพไปวัดค่าต่างๆได้ นักฟัง กับนักประดิษฐ์ ( ผู้ออกแบบวงจร ) จะคิดต่างกัน

                          นักฟัง มักจะใช้จินตการในเรื่องเสียงมากกว่า การใช้ทฤษฎี แต่มักจะลืมไปว่า ธรรมชาติของมนุษย์มันต่างกัน
                          การตอบสนองย่านความถี่เสียงของหูมนุษย์ในแต่ละวัยต่างกัน ความชอบในฮาโมนิคของเสียงต่างกัน
                          ดังนั้น การที่คนนึงชอบ ไม่ได้หมายความว่า อีกคนต้องชอบ

                          นักประดิษฐ์ มักจะเชื่อในทฤษฎีมากกว่า ค่าที่สามารถวัดได้ ย่านความถี่ในการตอบสนอง การชดเชยต่างๆ
                          นักประดิษฐ์ คือคนกลาง มีความเห็นเป็นกลาง การออกแบบ ต้องสามารถมีการปรับเปลี่ยนค่าบางค่าได้
                          เพื่อความชอบของคนฟังที่หลากหลาย แต่ก็ต้องมีการทดสอบด้วยนักฟัง ซึ่งต้องแชร์ความเห็นกัน

                          ดังนั้น เวลาเราได้ยินหรืออ่านคำอธิบายจากใคร
                          เราต้องรู้ว่า คนนั้นเป็นนักฟังหรือนักประดิษฐ์ เราจึงค่อยมาวิเคราะห์ว่า สิ่งที่เค้าพูด
                          ควรยึดเอามาเป็นที่ตั้งหรือไม่

                          พอจะนึกภาพ(เสียง)ออกละครับ แต่อยากรู้ว่าทำไม

                          ให้สังเกตุลักษณะเสียงระฆังในช่วงก้องกังวาล
                          ออปแอมป์#1 - ให้เสียงไม้กระทบตัวระฆังได้ มีเสียงระฆังก้องกังวาลแบบสั้นๆ แต่ไม่สามารถให้เสียงช่วงตัวระฆังขยับแกว่งโยกไปมาได้
                          ออปแอมป์#2 - ให้เสียงไม้กระทบตัวระฆังได้ มีเสียงช่วงตัวระฆังขยับแกว่งโยกไปมา มีเสียงระฆังก้องกังวาลตั้งแต่ต้นจนจบ

                          ออปแอมป์ตามความเข้าใจผมมันก็มีหน้าที่เพียงแค่ขยายสัญญาณ ขนาดเล็ก ไม่ได้เป็นแหล่งกำเนิดเสียง ไม่ได้สร้างสัญญาณเสียงขึ้นมา
                          ช่วยอธิบายได้ไหมครับว่าทำไมเสียงช่วงตัวระฆังขยับแก่วงโยกไปมาได้ มันหายไปด้วยกระบวนการใด จับประเด็นแค่ตรงนี้ก็พอนะครับ ขอบคุณมาก ^^
                          ผมขออธิบายแบบนี้นะครับ ในฐานะที่ผมเล่นอิเล็กทรอนิกส์มาพอสมควร อ่านหนังสือมาเยอะพอสมควร
                          Op-Amp เป็นวงจรขยายสัญญาณ ก็จริงนะครับ แต่วงจรเหล่านี้ประดิษฐ์จาก Material ประเภท Semi-Conductor
                          การตอบสนองความถี่ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับวงจรเพียงอย่างเดียว แต่มันรวมถึงคุณภาพของ Material ที่เอามาทำด้วย
                          ปริมาณการเจือสารเพื่อทำให้ตอบสนองความถี่ต่างๆ ก็ต่างกัน
                          ยกตัวอย่าง J-FET,MOS-FET ที่มี 3 ขา เป็นอุปกรณ์ประเภทวงจรเดียว ทำไมจึงตอบสนอง ความถี่ต่างกัน
                          ก็เพราะคุณสมบัติของตัวมันเอง ที่มาจากขั้นตอนการผลิต
                          แต่ในขณะเดียวกัน ใน Op-Amp มี J-FET,MOS-FET จำนวนมาก ก็ส่งผลให้
                          Op-Amp มีย่านความถี่ในการตอบสนองที่ต่างกันไปด้วย

                          Op-Amp ที่พวกคุณใช้อยู่มันเป็นแค่ Op-Amp ที่ออกแบบมาใช้ในย่านความถี่หนึ่งเท่านั้น
                          เช่น 10Hz-100KHz ซึ่งสามารถ ปรับได้ ขึ้นอยู่กับวงจรภายนอก ที่เป็นตัวกำหนดย่านจริงอีกที
                          แต่ ....... เนื่องจาก คุณสมบัติเฉพาะของ J-FET,MOS-FET ภายใน มันมีข้อจำกัดในการตอบสนองความถี่
                          ข้อจำกัดนี้มันคืออะไร ซึ่งต้องไปพูดถึงในเรืองของวัสดุศาสตร์กันเลยทีเดียว คือ ปริมาณกระแสไฟ ที่สามารถบังคับ
                          ให้ผ่านได้ในตัวอุปกรณ์จะลดลง เมือความถี่สูงกว่าจุดอิ่มตัวของตัวอุปกรณ์ จึงต้องมีการออกแบบวงจรชดเชยภายใน
                          แต่ยังไงก็แล้วแต่ อุปกรณ์ที่ต่อภายนอก Op-Amp นั้น ผู้ออกแบบ คำนึงถึงการใช้ที่หลากหลายของผู้ใช้งาน
                          จึงทำให้สามารถต่ออุปกรณ์ภายนอกเป็นมาตรฐานได้ ( ตามรูปแบบวงจรขยายทั่วๆไปของ Op-Amp )

                          แล้วที่ว่า เสียงบางช่วงหายไป
                          สิ่งที่ต้องคำนึงถึงอีกอย่างคือ Dynamic range ของเสียง เนื่องจากเสียงเพลงมีการเปลี่ยนช่วงจาก ต่ำไปสูง
                          หรือสูงไปต่ำ นั่นคือสิ่งที่เรียกว่า ช่วงเวลาการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงความถี่ของอุปกรณ์
                          ซึ่งมันมีผลทั้ง ขนาดและช่วงเวลาการเปลี่ยน ตรงนี้มันเป็นคุณสมบัติเฉพาะของอุปกรณ์ Semi-Conductor
                          ดังนั้นถ้าเอาอุปกรณ์แบบไหนมาทำ Op-Amp ก็จะมีคุณภาพและคุณสมบัติตามนั้นด้วย
                          แต่วงจรที่ออกแบบภายนอกก็สามารถช่วยแก้ไขได้ในบางจุด แต่ ไม่ใช่วงจรเดียวใช้กับ Op-Amp ทุกตัว

                          การชดเชยทั่วๆไปก็จะเป็นวงจร RC ที่ร่วมอยู่ด้วย เพื่อกำหนดย่านความถี่ แต่ Op-Amp บางตัวที่คุณภาพดีๆ
                          จะมีขาเยอะเป็นพิเศษ ( ที่ไม่ใช่ประเภทวงจร Amplifier ขับลำโพง) ให้ต่ออุปกรณ์ ชดเชยค่า
                          ที่วงจรภายในไม่สามารถปรับให้ตายตัวได้ ขึ้นอยู่กับย่านความถี่ที่ผู้ใช้ต้องการ

                          ดังนั้นจะสรุปได้ว่า การที่เสียงบางอย่างเบาลงไป จริงๆมันไม่ได้เบาลงไปเพียงแค่เสียงเดียว
                          แต่ความถี่ในช่วงนั้นมันจะเบาลงไปทั้งหมด เพราะ Op-Amp ไม่สามารถตอบสนองต่อย่านความถี่นั้นได้ 100%
                          เนืองจากปัจจัยหลายๆ เช่น วงจรชดเชยภายนอก คุณสมบัติเฉพาะของอุปกรณ์ภายใน
                          รวมถึงคุณภาพของอุปกรณ์ภายนอกที่ใช้

                          ตัวอย่างต่อให้ได้ C เทพแค่ไหน แต่ใช้กับ 1458 มันก็ไม่ทำให้ 1458 ตอบสนองความถี่สูงได้ดีกว่า 5532
                          หรอกครับ

                          ดังนั้นจึงมีวงจร Equalizer , Pre-Amp ต่างๆน่า ที่สามารถปรับความถี่ให้ได้ตามต้องการ หรือผิดเพี้ยนน้อยที่สุด

                          สำหรับ Op-Amp ที่เอามาทำ Power Amp ก็มีหลักการเดียวกัน เพียงแต่ว่า ภายในจะมีการออกแบบการขยาย
                          หลายระดับ เพื่อลดความเพี้ยนในการตอบสนองต่อแรงดันและกระแสที่สูง เพื่อไปขับลำโพง
                          Last edited by zicmaxx; 3 Mar 2011, 13:57:53.

                          Comment


                          • กระจ่างเลยครับพี่ zicmaxx นั่งมีนอยู่ตั้งนาน ช่วยออกความเห็นเรื่อง "เสียงพริ้ว" หน่อยครับ ได้มุมมองจากพี่คงกระจ่างขึ้นเยอะ ว่างๆเข้ามาบ่อยๆนะครับ ขอบคุณมาก^^
                            ปล.ถ้ามีใครทำเครื่องปรับเสียง พวก อิมแพ็ค เสียงพริ้ว dynamic range เสียงอิ่มเสียงหวาน etc. ออกมาขายคงดีเนอะ
                            Last edited by fenderfree; 3 Mar 2011, 14:10:35.

                            Comment


                            • thx ท่านzicmaxx เช่นกัน

                              ช่วยขยายความเพิ่มได้มั้ย ค่า dynamic range มาก น้อย แล้วจะส่งผลต่อเสียงเวลาฟังยัง
                              เวลาฟังแล้วมันจะรู้สึกต่างกันยังไง

                              Comment


                              • Originally posted by ManiacMaew View Post
                                thx ท่านzicmaxx เช่นกัน

                                ช่วยขยายความเพิ่มได้มั้ย ค่า dynamic range มาก น้อย แล้วจะส่งผลต่อเสียงเวลาฟังยัง
                                เวลาฟังแล้วมันจะรู้สึกต่างกันยังไง
                                อย่างที่บอกไปด้านบนครับ Dynamic Range กว้าง จะช่วยให้เก็บรายละเอียดของเสียงได้ครบถ้วนมากขึ้นครับ
                                เพราะสามารถตอบสนองความถี่ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ได้ดีในช่วงย่านความถี่ที่กำหนด

                                เหมือนอย่างรูปกราฟจากตัวอย่างด้านบนแหละครับ ถ้าเกิดการตอบสนองไม่ทัน ส่วนของ Amplitude มันจะลดลง
                                แต่ไม่ได้ถูกคลิป ออกไปนะ Amplitude เปรียบง่ายๆก็เหมือนความดังของเสียงนั่นแหละ

                                ดังนั้นไม่แปลกว่าทำไม Op-Amp จึงมีหลายราคาครับ ของดีย่อมแพงเป็นธรรมดา

                                ส่วนเรื่อง อิมแพ็ค เสียงพริ้ว เสียงอิ่มเสียงหวาน ผมถือว่าเป็นความชอบช่วนตัว ไม่สามารถวัดออกมาเป็นตัวเลขได้
                                และไม่สามารถเอามาเป็นมาตรฐานได้ครับ ถ้ามีใครบอกผมเรื่องเสียงพวกนี้ ผมก็จนปัญญาที่จะเข้าใจเหมือนกัน

                                เมื่อก่อนผมก็ชอบประกอบวงจรเครื่องขยายเล่นนะครับ ก็เล่นตั้งแต่ง่ายๆก็พวก Power Transistor จน Power MOSFET
                                200-300W หมดตังไปเยอะ แต่เอาเข้าจริงก็ไม่ได้ใช้จริงๆจังๆ เพราะเปิดดัง เดี๋ยวโดนด่า - -
                                พวก IC ก็เคยใช้ สูงสุดก็แบบ 100W แต่ข้อจำกัดมันเยอะ เสียงก็งั้นๆ เลยไม่ค่อยชอบ เพราะเสียทีก็ต้องปาไอซีทิ้งไปเลย
                                เมื่อก่อนวงจรขยายก็มีคลาสไม่มากเท่าไหร่ A,B,C,D,AB,E แต่มาหลังๆมันมี F,G,H ซึ่งพวกนี้ผมไม่ได้ศึกษา

                                Comment

                                Working...
                                X