Announcement

Collapse
No announcement yet.

D.I.Y.ตอน ต่อแอมป์ 40+40 w. ราคาไม่ถึงพัน

Collapse
X
 
  • Filter
  • Time
  • Show
Clear All
new posts

  • "ลองทำความเข้าใจเรื่องCแบบฟิลม์ ลงลึกในรายละเอียดเพิ่มอีกหน่อย จะรู้ว่ามันมีจุดเริ่มต้นและจุดปลายของฟิลม์
    จุดเริ่มต้นกับจุดปลายนี่แหล่ะที่เป็นตัวกำหนดทิศทาง"

    จุดเริ่มต้นกับจุดปลายคืออะไรเหรอครับ ?
    ตามความเข้าใจผมโครงสร้างภายในมันเหมือนกัน ขอข้อมูลเพิ่มเติมด้วยครับ

    "สัญญาณ กับ กระแส แตกต่างกันอย่างไร "
    อันนี้ผมอธิบายไม่ถูก ความแตกต่างกัน มันก็ชัดเจนอยู่แล้วนี่ครับ ผมไม่รู้จะขยายความยังไง

    Comment


    • แก้ไขใหม่ปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ มะกี้ ซาวด์การ์ด มันเพี้ยนๆ
      My amplifier Frequency Respond (TR. 2SC5200 Toshiba)
      -test 20 Hz.


      -test 40 Hz.


      -test 120 Hz.


      -test 500 Hz.


      -test 1 kHz.



      -test 10 kHz.


      -test 20 kHz.


      เดี๋ยวบ่ายๆเทส Lm3575 ดีกว่า ^^
      Last edited by fenderfree; 11 Nov 2010, 16:25:09.

      Comment


      • #

        Originally posted by milestone View Post
        "ลองทำความเข้าใจเรื่องCแบบฟิลม์ ลงลึกในรายละเอียดเพิ่มอีกหน่อย จะรู้ว่ามันมีจุดเริ่มต้นและจุดปลายของฟิลม์
        จุดเริ่มต้นกับจุดปลายนี่แหล่ะที่เป็นตัวกำหนดทิศทาง"

        จุดเริ่มต้นกับจุดปลายคืออะไรเหรอครับ ?
        ตามความเข้าใจผมโครงสร้างภายในมันเหมือนกัน ขอข้อมูลเพิ่มเติมด้วยครับ

        ลองนึกถึง กระดาษยาวๆแบบเป็นเส้นๆ แผ่นนึง มาม้วนขดกลมๆดูครับ โครงสร้างของ C. จะคล้ายๆแบบนั้นครับ กระดาษก็เปรียบได้กับ แผ่นฟิงม์บาง ที่ตัดเป็นแผ่นยาวเป็นเส้นแล้วม้วนขด ส่วนขาต่อใช้งาน ก็จะต่อจาก จุดปลายของแผ่นฟิลม์นั้น คือปลายด้านในขด กับนอกขด ประมาณนั้น

        ส่วนของ C. แบบอื่นๆ ที่ค่าไมโครน้อยมาก แค่ใช้ แผ่นโลหะประกบฟิลม์ชิ้นเล็กๆ ก็เพียงพอ เช่น C. เซรามิกครับ

        ขั้ว C. เนี่ย สำคัญมากครับ การทำงานของ C. จะเป็นไปอย่างถูกต้อง ก็ต้องต่อให้ถูกขั้ว โรงงานผู้ผลิต จะกำหนดขั้วชัดเจน นั่นคือ ขาสั้น-ยาว และที่ฉลากพลาสติกหุ้มด้วย ไม่สามารถกำหนดไปมั่วๆได้เลยครับ ยกเว้น C. แบบไม่มีขั้ว เช่นไบโพล่าห์ C.เซรามิก หรือ C.แบบไมล่าห์ โพลีเอสเตอร์ ที่ไม่มีขั้ว

        โดยเฉพาะC. ในระบบบางตัว เช่น ภาคจ่ายไฟ เป็นตัวกรองไฟในภาคต่างๆ ของวงจร ถ้ากลับขั้ว C. จะบวม แตก หรือระเบิดได้

        ส่วนการต่อ C. คับปลิ้ง จะมีขั้ว โดยปกติ ขั้ว + จะเป็นด้านอินพุตครับ ใช้ในการป้องกันไฟตรง(DC)รั่วไหลเข้าไปในภาคขยาย บางวงจร ออกแบบเป็น ไดเล็กคับปลิ้ง ก็จะไม่มี C. แต่อาจจะมี R. กันเหนียวไว้หน่อย

        ส่วนเรื่องสัญญาณ ก็คือว่า เจ้า C. เนี่ย มันสามารถใช้เป็นวงจรกรองความถี่ได้ เรื่องนี้ผมไม่รู้ลึกเท่าไร เอาง่ายๆเลย คือ มันจะสามารถกรองความถี่ต่ำได้

        In--------||--------Out
        อันนี้ ความถี่สูงผ่าน (High pass Filter) C.ถูกอนุกรมกับสัญญาณ

        -----|-----
        In = Out
        -----|-----
        อันนี้ ความถี่ต่ำผ่าน (Low Pass Filter) C.ถูกขนานไปกับสัญญาณ

        จะมีเครื่องเสียงอยู่แบบนึง ที่จะมี C. ต่อออกลำโพง เรียกเครื่องแบบนี้ว่า OTL ที่ต้องมี c. ต่อ เพราะว่าจะมีแรงดันไฟ DC.เป็นครึ่งนึงของไฟเลี้ยง ผ่านออกไปที่ลำโพง C.ตัวนี้ค่าจะสูงมากๆ เอาไว้กันไฟตรงผ่านไปที่ลำโพง แต่ว่า มันก็จะทำให้ เบสหายไปด้วยเหมือนกันครับ


        แม่นไม่แม่นยังไง รบกวนเซียนช่วยขยายความให้ทีครับ ฮ่าๆ

        Comment


        • Originally posted by milestone
          "ลองทำความเข้าใจเรื่องCแบบฟิลม์ ลงลึกในรายละเอียดเพิ่มอีกหน่อย จะรู้ว่ามันมีจุดเริ่มต้นและจุดปลายของฟิลม์
          จุดเริ่มต้นกับจุดปลายนี่แหล่ะที่เป็นตัวกำหนดทิศทาง"

          จุดเริ่มต้นกับจุดปลายคืออะไรเหรอครับ ?
          ตามความเข้าใจผมโครงสร้างภายในมันเหมือนกัน ขอข้อมูลเพิ่มเติมด้วยครับ
          Cชนิดฟิลม์ ไม่ว่าจะยี่ห้อไรรุ่นไร โครงสร้างโดยประมาณ ก็คือ
          เอาตัวนำมาเคลือบบนแผ่นฟิลม์ ต่อขาเข้าที่ฟิลม์ด้านนึง เสร็จแล้วก็ม้วนเป็นวงกลมวงรีตามรูปร่างของตัวมัน

          ลองนึกดูดีๆ ฟิลม์ที่เอามาม้วน มันจะมีปลายทั้ง2ด้าน แต่ด้านนึงต่อกับขา อีกด้านปล่อยลอย

          ทิศทางหรือจุดมาร์คให้รู้ว่าอันไหนคือทางเข้าอันไหนคือทางออก ก็มาจากเรื่องนี้แหล่ะ


          -----------------------------------------------


          ผมยกตัวอย่าง CชนิดPolystyreneแบบตัวใส ที่เห็นกันบ่อยๆราคาไม่สูง หาซื้อกันได้ง่ายๆ


          ลองสังเกตุที่รูปดีๆ ที่ตัวมันจะมีการแต้มสีที่ปลายด้านนึง หรือ ปลายทั้ง2ข้างมีอะไรให้แตกต่างกัน เพื่อบ่งบอกอะไรบางอย่าง

          ของที่มีมาตราฐานหน่อย จะมีการทำจุดสังเกตุให้รู้ว่า ด้านไหนคือต้นทางด้านไหนคือปลายทางของตัวแผ่นฟิลม์

          แต่ผมไม่ได้บอกว่า ผู้ผลิตทุกรายจะใส่ใจในรายละเอียดพวกนี้เหมือนกันหมด มีทั้งที่ผลิตมั่วๆแบบที่คุณmilestoneบอก ทั้งแบบที่ผมบอก

          บางยี่ห้อทิศทางก็เรียงตามตัวอักษร บางยี่ห้อก็ทิศทางกลับกัน
          พูดง่ายๆ พวกนี้ต้องลองเอามาเช็คทิศทางก่อน ถึงจะรู้ว่า ยี่ห้อนั้นใช้วิธีเรียงทิศทางแบบไหน


          Last edited by keang; 11 Nov 2010, 14:13:36.

          Comment


          • ตรงนั้นละครับที่ผมมอง
            กระแสไฟมันวื่งผ่านม้วนกระดาษ ตัวมันเองไม่ทราบหรอกว่าอยู่ด้านในขดหรือด้านนอกขดแค่วิ่งจากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่งเท่านั้นเอง
            ต่างกับแบบอิเล็กโทรไลต์ซึ่งมีขั้วกั้นแน่นอน ส่วนเหตุผลที่กล่าวมา เราอนุมานกันเอง โดย "คิดว่า"
            หรือมีการพิสูจน์กันแล้วด้วยการวัดแบบใด เพราะผมดูมันไม่เป็นเหตุเป็นผลกันซักเท่าไหร่
            เพราะถ้าเชื่อตามๆกันเพราะเค้าบอกมา มันก็เป็นการไบแอสตัวเองไปในตัวแล้วครับ

            ผมคิดว่าหลายๆคนคงเข้าใจนิสัยผมนะครับ ขอโทษที่ทำให้ลำบากกัน

            Comment


            • Originally posted by milestone
              ตรงนั้นละครับที่ผมมอง
              กระแสไฟมันวื่งผ่านม้วนกระดาษ ตัวมันเองไม่ทราบหรอกว่าอยู่ด้านในขดหรือด้านนอกขดแค่วิ่งจากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่งเท่านั้นเอง
              ต่างกับแบบอิเล็กโทรไลต์ซึ่งมีขั้วกั้นแน่นอน
              อะไรคือสิ่งพิสูจน์ชี้ว่า ว่า
              - ชนิดฟิลม์ไม่มีขั้วกั้น ?
              - ทำไมเอาCอิเลคทรอไลติค2ตัวมาต่อกันแบบนึง ทำให้กลายเป็นแบบ2ขั้ว(BI-Polar)ได้ จะต่อไฟเข้าด้านไหนก็ไม่มีการระเบิด ?


              Originally posted by milestone
              ส่วนเหตุผลที่กล่าวมา เราอนุมานกันเอง โดย "คิดว่า"
              หรือมีการพิสูจน์กันแล้วด้วยการวัดแบบใด เพราะผมดูมันไม่เป็นเหตุเป็นผลกันซักเท่าไหร่
              เพราะถ้าเชื่อตามๆกันเพราะเค้าบอกมา มันก็เป็นการไบแอสตัวเองไปในตัวแล้วครับ

              ผมคิดว่าหลายๆคนคงเข้าใจนิสัยผมนะครับ ขอโทษที่ทำให้ลำบากกัน
              เรื่องพวกนี้ อยู่ที่ว่าสงสัยแล้วเก็บเงียบกับสงสัยแล้วลอง ส่วนที่ว่าลองแล้วจะมีผลต่างหรือไม่ อันนั้นเป็นอีกเรื่องนึง
              ของแบบนี้บังคับให้ลองกันไม่ได้ คนที่ทดลองคือคนที่ได้ประโยชน์ หาใช่คนอื่นไม่

              ฝากให้คิดประเด็นนึง
              - ที่เอาฟิลม์มาม้วนเป็นวงกลม มันเกิดค่าไรขึ้น ?
              Last edited by keang; 11 Nov 2010, 14:27:10.

              Comment


              • My LM3875TF. Test
                20 Hz.


                40 Hz.


                120 Hz.


                500 Hz.


                1 kHz.


                10 kHZ.


                20 kHz.

                Comment


                • ชนิดฟิลม์ไม่มีขั้วกั้น ?

                  ตัวเก็บประจุแบบอิเล็กโทรไลต์ จะมีมีความแตกต่างในเรื่องของวัสดุที่ใช้ทำขั้วแคโทดและแอโนด โดยจะเป็นโลหะที่มีค่าออกซิเดชั่น-รีดักชันแตกต่างกันค่อนข้างมาก
                  ซึ่งเป็นไปตามกฎออกเตต กล่าวโดยง่ายก็คือด้านหนึ่งทำจากโลหะที่มีความสามารถในการรับอิเล็กตรอนดี อีกด้านทำจากโลหะที่จ่ายอิเล็กตรอนดี ทำให้กระแสผ่านอิเล็กโทรไลต์
                  ซึ่งเป็นตัวกลางง่าย ถ้าเราต่อกลับขั้วก็จะทำให้กระแสไหลยากเป็นทวีคูณ เมื่อกระแสไหลไม่ได้ก็ไม่เกิดไฟฟ้า แต่พลังงานที่ถูกส่งออกมาจะถูกแปรรูปเป็นพลังงานความร้อน
                  ทำให้อิเล็กโทรไลต์เดือดกลายเป็นไอ เมื่อไอที่มากขึ้นไม่มีที่ไปในภาชนะปิด จึงเกิดการระเบิดขึ้นครับ
                  ส่วนตัวเก็บประจุแบบฟิล์ม ใช้วิธีคล้ายๆกันแต่ใช้วัสดุที่ใช้ทำขั้วตัวเดียวกัน และคั่นด้วยตัวไดอิเล็กทริกแล้วม้วนเป็นทรงกลม โดยถ้าเรายังไม่นำขั้วตัวเก็บประจุมาต่อกัน
                  อิเล็กตรอนก็ยังคงอยู่ที่แผ่นเพลต แต่ถ้ามีการครบวงจร ระหว่างแผ่นเพลตทั้งสองเมื่อไร อิเล็กตรอนก็จะวิ่งจากแผ่นเพลตทางด้านลบ ไปครบวงจรที่แผ่นเพลตบวกทันที
                  เราเรียกว่า "การคายประจุ" ผมถึงได้กล่าวว่ามันไม่มีขั้วกั้นไงครับ

                  ทำไมเอาCอิเลคทรอไลติค2ตัวมาต่อกันแบบนึง ทำให้กลายเป็นแบบ2ขั้ว(BI-Polar)ได้ จะต่อไฟเข้าด้านไหนก็ไม่มีการระเบิด ?

                  เคยได้ยินแต่ยังไม่เคยเห็นครับ ใช่การต่ออนุกรมหรือเปล่าครับ ยังไงรบกวนขอดูวิธีต่อด้วย

                  ที่เอาฟิลม์มาม้วนเป็นวงกลม มันเกิดค่าไรขึ้น ?

                  เดาว่าคงเข้าใจว่าเกิดสนามแม่เหล็กแต่จริงแล้วไม่เกิดนะครับ เพราะไดอิเล็กทริกจะดูดกลืนแบบฟูเรียทรานฟอร์ม
                  ซึ่งให้เข้าใจง่ายก็คือมีฉนวนมากั้นทำให้เสมือนว่าเพลตนั้นยังคงเป็นเส้นตรงอยู่นั่นเอง

                  "เรื่องพวกนี้ อยู่ที่ว่าสงสัยแล้วเก็บเงียบกับสงสัยแล้วลอง ส่วนที่ว่าลองแล้วจะมีผลต่างหรือไม่ อันนั้นเป็นอีกเรื่องนึง
                  ของแบบนี้บังคับให้ลองกันไม่ได้ คนที่ทดลองคือคนที่ได้ประโยชน์ หาใช่คนอื่นไม่"
                  จริงแล้วก็เป็นเรื่องดี แต่ถ้าเราทดสอบแล้ววิธีการทดสอบไม่เหมาะสม เช่น เราเอาเทอร์โมมิเตอร์วัดไข้ไปให้ศพอมในปาก
                  แล้วสรุปว่าที่อุณหภูมิลดเพราะวิญญาณออกจากร่าง ผมว่าบางทีมันก็ไม่เกิดประโยชน์เท่าที่ควร แค่รู้สึกว่าได้ทำแค่นั้นเอง
                  อย่างน้อยเราควรรู้ก่อนว่าจะทำอะไร วัดอย่างไร โดยเฉพาะการ blind test มันไม่น่าได้ผลเท่าที่ควร
                  เพราะเครื่องของตัวเองฟังทุกวัน เครื่องเดียวกัน เพลงเดียวกัน แต่ละวันยังเพราะไม่เท่ากันเลย (เอ หรือผมเป็นคนเดียวหว่า -*- )

                  ปล. สงสารคุณ fenderfree ไม่มีคนคุยเรื่องโตชิบ้าเครื่องใหม่ของเค้าเลย ขอโทษนะครับผมไม่เคยใช้ มันใช้อะไรได้บ้างครับ TT
                  Last edited by milestone; 11 Nov 2010, 20:30:29.

                  Comment


                  • แหะๆ.. toshiba คือทรานซิสเตอร์แอมป์ น่ะครับ ^^

                    Comment


                    • โทดครับ ผมดูไม่หมดนึกว่ายี่ห้อกับรุ่นของออซิโลสโคป ใช้ทำอะไรในการทำแอมป์ได้มั่งครับ

                      Comment


                      • ดูกราฟไม่ออกหง่ะ มันมีวิธีอ่านกราฟยังไงเหรอ

                        Comment


                        • วัดการตอบสนองความถี่ได้ ครับ

                          Comment


                          • ถ้าแอมป์มันตอบสนองความถี่ได้ราบเรียบ คลื่นแต่ละลูกมันจะเท่ากันครับ

                            Comment


                            • Originally posted by milestone
                              ทำไมเอาCอิเลคทรอไลติค2ตัวมาต่อกันแบบนึง ทำให้กลายเป็นแบบ2ขั้ว(BI-Polar)ได้ จะต่อไฟเข้าด้านไหนก็ไม่มีการระเบิด ?

                              เคยได้ยินแต่ยังไม่เคยเห็นครับ ใช่การต่ออนุกรมหรือเปล่าครับ ยังไงรบกวนขอดูวิธีต่อด้วย
                              ต่อแบบอนุกรมนั่นแหล่ะ
                              เสริชดูในเวปเลยครับ เรื่องนี้เฉพาะในบ้านเราทำกันมากว่า20ปีแล้ว

                              Originally posted by milestone
                              ที่เอาฟิลม์มาม้วนเป็นวงกลม มันเกิดค่าไรขึ้น ?

                              เดาว่าคงเข้าใจว่าเกิดสนามแม่เหล็กแต่จริงแล้วไม่เกิดนะครับ เพราะไดอิเล็กทริกจะดูดกลืนแบบฟูเรียทรานฟอร์ม
                              ซึ่งให้เข้าใจง่ายก็คือมีฉนวนมากั้นทำให้เสมือนว่าเพลตนั้นยังคงเป็นเส้นตรงอยู่นั่นเอง
                              นอกจากสนามแม่เหล็ก คิดว่าเกิดไรได้อีกครับ

                              ยกตัวอย่างเรื่องนึง ยี่ห้อเดียวกัน รุ่นเดียวกัน ผลิตล็อทเดียวกัน ค่าทุกอย่างเท่ากัน
                              ต่างกันที่รูปร่าง ตัวนึงแบบกลม อีกตัวแบบรูปไข่ เสียงดันไม่เหมือนกัน


                              --------------------------------------------------------


                              เรื่องสโคป สมัยก่อนเคยใช้น่ะ มีครบหมด ทั้งaudio gen ทั้งaudio sweep ทั้งสเปคตรัมอนาไลเซอร์ ทั้งดัมมี่โหลด
                              แต่พอไปเจอเหตุการณ์นึง เครื่อง2เครื่อง เทสด้วยอินพุทเดียวกัน ดิสเพลย์ผลออกมาเหมือนกัน แต่พอเปิดฟังเสียง-ดันต่างกัน

                              ต่อมาเลยเลิกใช้เพื่อหาจุดต่างไปโดยปริยาย กลายเป็นมาใช้เพื่อหาจุดเสียซะมากกว่า นอกจากนั้นก็ไม่ได้ใช้ทำไรอีก
                              สุดท้ายตั้งทิ้งไว้เฉยๆในตู้เก็บเครื่องมือมากว่า17ปี (ไม่รู้ป่านนี้เจ๊งไปยัง)
                              Last edited by keang; 11 Nov 2010, 21:27:04.

                              Comment


                              • เออ c film เหลี่ยมๆ แบบwima evox หรือ rifa โครงสร้างข้างในมันต่างกับพวกกลมๆ มั้ยเนี้ย

                                Comment

                                Working...
                                X