Announcement

Collapse
No announcement yet.

D.I.Y.ตอน ต่อแอมป์ 40+40 w. ราคาไม่ถึงพัน

Collapse
X
 
  • Filter
  • Time
  • Show
Clear All
new posts

  • ขอเอามาลง update ไว้ซะหน่อย เป็น Time tracking ไปด้วย
    ชอบลืม พอหลังๆแล้วนึกดูว่าทำอะไรเมื่อไหร่จำไม่ค่อยได้

    โชว์ได้แต่รูปวาด เหมือนเดิม 555+
    มีหม้อแปลง 300VA Output หลายอย่าง ก็กะจะใช้ซะเลย
    รวมกันซะทั้ง Dac ทั้ง Power ที่ว่าจะทำเล่นอยู่

    LM1875 ใส่ Option JFet input buffer ซะด้วยเผื่อไว้ใช้อื่นๆอีก
    กับพวก Source สัญญาณเบาๆ เผื่อวงจรไว้ Bias class A ด้วย
    Gain ไม่คงไม่โคลนกันละ Me นี่แหละโคลนเอง หุหุหุ


    By dracov at 2011-06-24

    LM1875 Mono block board



    คาดว่าจะทำเป็น Fully balanced ซะเลย ต้องใช้ Board 1875 4อัน

    วงจร Digital Reciever กับ Buffer หลอด ก็ออกแบบแล้ว
    Sim เอาในหัวว่าเวิร์ค เดี๋ยวต่อจริงก็รู้ 555+
    เสาร์ อาทิตย์ เดี๋ยวนั่งวาด PCB ซะหน่อย อาทิตย์นี้ขยันแฮ๊ะได้งานหลายอย่าง

    Edit: ใช้เพิ่มเติมเอาละกัน ยังไม่นานเท่าไหร่

    Buffer หลอด PCB ออกแบบแล้ว เอารูปมาให้ดูเล่นสวยๆ...(หรือเปล่า )


    By dracov at 2011-06-26

    อันนี้ค่อยพอเข้ากับกระทู้หน่อย เกรงใจกลัวทำ...ฯทู้รก
    Last edited by dracoV; 26 Jun 2011, 15:39:27.

    Comment


    • รบกวนนอกเรื่อง

      กล่องในรูปนี่ไปซื้อมาจากใหนครับ ชอบมาก

      Comment


      • รบกวนถามคุณ dracoV
        ว่าเวลารัน 3D จาก Eagle ต้องทำยังไงครับ ของผมรันแล้วอุปกรณ์ไม่ครบวางอุปกรณ์ไม่ตรงตำแหน่ง ขอบคุณครับ

        Comment


        • Originally posted by aong_mtn View Post
          รบกวนถามคุณ dracoV
          ว่าเวลารัน 3D จาก Eagle ต้องทำยังไงครับ ของผมรันแล้วอุปกรณ์ไม่ครบวางอุปกรณ์ไม่ตรงตำแหน่ง ขอบคุณครับ
          ผมก็รัน ulp แบบปกตินะ เลือกรันversionให้ตรงกับeagleที่ใช้ เช่น 3d50.ulp ก็ eagle V5.x
          ใช้ค่าdefault เลย

          - อุปกรณ์ไม่ครบเกิดจาก package ที่ใช้ไม่มีข้อมูลใน eagle3d ลองเปลี่ยน package ใกล้เคียงดู
          เช่น ผมใช้ C package CPOL-USE2.5-7 มันไม่มีข้อมูล ก็จะเป็น pad ว่างๆ
          ก็เปลี่ยนไปใช้ package CPOL-USE2.5-6 แทน ซึ่งมีข้อมูลใน EAGLE3d
          เวลาออกแบบผมจะเผื่อขนาดไว้เล็กน้อย ก็เลยไม่มีปัญหาเวลาเพิ่ม/ลดขนาดนิดหน่อย

          ส่วน package ไหนไม่มีข้อมูลจริงๆ ก็คงต้องปล่อยว่างไว้ครับ ในรูป render

          - ปัญหาตำแหน่งไม่ตรงนี่ของผมไม่เป็นนะ
          ลองไปโหลด eagle3d กับ POVray version ใหม่มาใช้ดูครับ
          -> http://www.matwei.de/doku.php?id=en:eagle3d:eagle3d
          -> http://www.povray.org/download/

          Comment


          • กลับถึงบ้านละครับ ^^
            พี่แมนคุมเสียงได้ดีกว่าพี่วันศุกร์ ฟ้า กับ เหวเลยครับ pro มากๆเลยครับ
            แล้วก็...รบกวนขอวงจร dac ที่พี่ให้ผมดูวันนี้ได้ไหมครับ ว่าจะขอที่นั่นแต่ไม่มีจังหวะ T^T
            ขอบคุณพี่แมนมากๆครับ

            Comment


            • ได้ครับเดี๋ยวขอหาๆก่อน ^^

              Comment


              • Originally posted by fenderfree View Post
                ได้ครับเดี๋ยวขอหาๆก่อน ^^
                ขอบคุณครับ แล้วก็....กล่อง dac ของพี่ซื้อที่ไหนหรอครับ ขอบคุณล่วงหน้าครับ

                Comment


                • ^
                  ^
                  ลืมไป ขอ coax นะครับ ขอบคุณงัฟฟฟฟ

                  Comment


                  • ขอบคุณมากครับ เดี๋ยวผมจะลองทำดู

                    Comment


                    • บอร์ดเงียบๆ ขอ Update อีกซักหน่อยละกัน (อาทิตย์นี้ขยัน )

                      ภาค Power supply ออกแบบแล้ว PCB ด้วย


                      By dracov at 2011-06-26

                      ต้องการ +-24V แบบนิ่งๆกระแสสูงๆหน่อยมาใช้ แต่พวก IC regulator ก็มีแต่กระแสไม่มาก
                      เลยจัด discrete regulator ซะเลย ว่าจะลองวงจรคล้ายๆกันนี้มาหลายทีแล้วแต่ยังไม่มีโอกาศ
                      คราวนี้เลยจัดเต็มซะเลย ใช้ MOSFET 24A 4ตัว N-channel ไฟ+ 2ตัว P-channel ไฟ- 2ตัว
                      ขนานกันซะ

                      ตัววงจรคงเปิดเผยไม่ได้ เพราะไปจิ๊กของชาวบ้านนอกเขามาโดยไม่ได้บอกกล่าว
                      เอามาแปลงใช้กับอุปกรณ์ที่มีอยู่และหาง่ายๆหน่อยในเมืองไทย
                      ตัดบางส่วนที่(คิดว่า)ไม่จำเป็นออก เพิ่มบางส่วนที่อยากเพิ่มเข้าไป
                      คำนวณค่าต่างๆคร่าวๆ เดี๋ยวต้องคำนวณละเอียดๆอีกที กลัวบึ้มเหมือนกัน
                      เดี๋ยวต่อจริงก็รู้ อิอิอิ

                      ปล. คุณเสือครับ C Rifa สีขาวๆในรูป 12ตัวนี่ Size มันเท่าไหร่ครับ เส้นผ่าศูนย์กลางxความสูงxขาห่.าง
                      จะเอามาใช้มั่ง อ้อ... ไม่ทราบว่าซื้อที่ไหนราคาเท่าไหร่ครับ ถ้าไม่สะดวกหน้าไมค์ขอหลังไมค์ก็ได้ครับ
                      ขอบคุณครับ
                      Last edited by dracoV; 27 Jun 2011, 12:36:02.

                      Comment


                      • ^
                        C Rifa 6800uf/63vdc
                        สูง 5cm
                        เส้นผ่าศูนย์กลาง 3.5 cm
                        ขาห่.าง 1 cm
                        80฿ ไพศาล ครับ

                        Comment


                        • ซัพพลายของแอมป์ ไม่ใช่เพียงแค่เรื่อง ไฟนิ่งไม่นิ่ง, ไฟพอไม่พอ, noiseมากหรือน้อย
                          แต่เป็นเรื่องทำงัยให้จ่ายไฟได้เร็วทันใจ ผู้ผลิตหลายรายเลยใช้วิธีเพิ่มวงจรSnubberเข้าไป เพื่อดึงภาคจ่ายไฟให้จ่ายไฟตลอดเวลา

                          ซัพพลายทั่วไปจะเน้นจ่ายไฟเฉพาะเมื่อโหลดมีการดึงไฟไปใช้ ดังนั้นจึงมีช่วงรอยต่อของการจ่ายไฟเกิดขึ้นในระบบ
                          วงจรSnubberเป็นโหลดตัวน้อยๆของภาคจ่ายไฟ เพื่อให้ภาคจ่ายไฟนั้นทำการจ่ายไฟเลี้ยงตลอดเวลา เวลาแอมป์ต้องการใช้ไฟก็จะดึงไฟไปใช้ได้ทันที


                          วงจรSnubber เมื่อมีข้อดีก็ย่อมต้องมีข้อด้อยในตัว
                          ถ้าสังเกตุดีๆ เครื่องที่ใช้ภาคจ่ายไฟแบบมีวงจรSnubber จะเด่นเรื่องเสียงทุ้มตอนบน,กลาง,แหลม
                          แต่ด้อยเรื่องพละกำลัง เรื่องความหนักแน่น ของเสียงทุ้มตอนล่างจนถึงโลว์
                          Last edited by keang; 27 Jun 2011, 14:50:38.

                          Comment


                          • ขอบคุณมากครับ
                            กะๆไว้ประมาณนั้นเหมือนกัน ~เส้นผ่าฯ 3ซม. เดาใกล้เคียง
                            ไม่ต้องแก้ PCB มาก แค่ขยับนิดหน่อยกับเพิ่มระยะขาอีกนิด ง่ายเลย

                            --------------------------
                            ใช่แล้วครับ การออกแบบซัพพลายให้ตอบสนองเร็ว/Noise ต่ำ นี่สำคัญกับคุณภาพโดยรวม
                            +กับการจ่ายกำลังได้พอเพียงด้วย
                            และซัพพลาย dual rail +- ที่สำคัญคือโวลท์+และ-ต้องใกล้กันมากที่สุด
                            ซึ่งมีผลทำให้ CMRR ดีขึ้นมาก

                            ยกตัวอย่างจากวงจรนี้ ที่ผมทำ(ไม่ได้ออกแบบเองทั้งหมด)
                            ภาค Regulator จะใช้ CCS จ่ายไฟให้กับ zener diode เพื่อสร้าง voltage reference ที่คงที่
                            ดีกว่าการใช้ R มาก
                            และมี low pass filter เพื่อกำจัด Noise จาก Diode ทำให้วงจรโดยรวม Noise ต่ำมาก <12uV

                            Output voltage สร้างจาก voltage reference ขยายด้วย Error Amplifier ใช้หลักการออกแบบ
                            แบบ Op amp ที่มี Open loop gain สูงมาก ไฟที่จ่ายให้ตัว Error Amplifier ก็แยกด้วย Capacitance multiplier
                            เพิ่ม PSRR

                            Error Amplifier 2stage
                            Stage ที่1 สร้างใช้ Current mirror กับ CCS
                            Stage ที่2 ส่วนขยาย Volt ใช้ CCS เป็น load
                            ส่วน Output หรือจะเรียก Stage ที่3 ก็ได้ ใช้ Hi-power MOSFET แบบ Source follower
                            ทำให้จ่ายกระแสได้สูงและเร็ว

                            ส่วนของ Voltage ใช้หลักการ Tracking rail
                            โดย Volt+ สร้างจาก voltage reference ตามข้างต้น ส่วน Volt- ใช้การนำ V+ out
                            มาผ่าน Error amplifier ที่มี Gain -1 ก็คือได้ V+ กลับข้างที่ Negative rail
                            เพราะงั้น V+ เพิ่มหรือลดมากน้อยเท่าไหร่ก็จะได้ V-ที่เท่าๆกันเสมอ ทำให้ V+ V- ใกล้กันมาก
                            ทำให้ CMRR ดีมาก

                            ออกแบบให้มี Wide bandwidth (เกินกว่า Audio rangeมาก) ทำให้จ่ายไฟได้มั่นคงทุกย่านความถี่เสียง
                            มี Output impedance ที่ต่ำมากระดับ Micro Ohms ดีกว่า C Electrolyte low ESR ทั้งหลายมาก
                            และบวกกับ Wide bandwidth รักษา Output impedance ที่ต่ำไว้ได้ทุกย่านความถี่ทำให้จ่ายไฟได้
                            เร็วและมั่นคงกว่า C Electrolyte low ESR อีก
                            ใช้ได้กับวงจร High Capacitive Load ด้วยรับได้ถึงกว่า 10000 uF

                            ใช้ Hi-power Hi-current MOSFET เป็นตัวส่ง Output ใช้ MOSFET กระแสสูง
                            ทำให้มี Headroom สูงมาก (กระแสจริงที่ใช้ไม่น่าเกิน 5-10A)
                            และ MOSFET นี่มันดี(แปลก)อย่างคือยิ่งร้อนยิ่งจ่ายไฟได้มาก (แต่ร้อนมากก็อาจพังก่อน )
                            ไม่เหมือน BJT
                            เพราะงั้นกระแสที่จ่ายได้ก็ถูกจำกัดโดยการระบายความร้อนของตัว MOSFET
                            ระบายได้ดีเท่าไหร่ก็จ่ายกระแสได้มากเท่านั้น ก็จำกัดอยู่ที่ตัว Transformer ละครับ

                            Comment


                            • ^^^^^
                              ขอแบบเข้าใจง่ายหน่อยครับ อ่านไม่รู้เรื่องเลย
                              มีลิงค์หรือหนังสือแนะให้อ่านก็ได้
                              หรือ พวกตัวย่อ ขอคำเต็มๆหน่อยจะได้ googlingหาเอาได้ง่ายหน่อย

                              Comment


                              • วงจรแต่ละแบบแต่ละระบบ มีส่วนดีส่วนด้อยปะปนกัน เพราะมีตัวแปรส่วนอื่นประกอบด้วย
                                ต้องลองทำดูครับ จะได้รู้ว่าผลลัพท์ดีกว่าในทุกด้านแบบที่ตั้งใจไว้หรือเปล่า


                                ตัวอย่างเล็กๆ
                                - กดน๊อยซ์ให้ต่ำจนไม่มีเลย ได้แบคกราวน์ที่เงียบ แต่สิ่งที่สูญหายไปคือความเป็นบรรยากาศของเสียง, เสียงก้องเสียงเอื้อน, เสียงสะท้อน
                                - มีวจรตรวจสอบหลายชั้นหลายสเตปหลายส่วน ไฟเอ้าท์พุทถูกเฉลี่ยไปในหลายทาง การจ่ายแบบฉับพลันในปริมาณมากก็ย่อมด้อยลง
                                - Super MOSFETจ่ายได้เร็วจ่ายได้สูง แต่ถ้าเทียบกับCคุณภาพสูงในวงจรพื่นฐาน ลักษณะของเสียงทุ้มก็มีความต่างในบางจุด ไดนามิค, น้ำหนักเสียง, ความต่อเนื่องของเสียงทุ้ม, เสียงกลาง, เสียงแหลม
                                - CCSได้ความต่อเนื่องดี แต่ก็ความสดจะลดลง, น้ำหนักเสียงลดลง, ไดนามิคด้อยลง

                                ถ้าเปรียบให้เห็นชัดขึ้นมาหน่อย
                                DACของburr-brownเด่นที่ค่าs/nต่ำกว่าหลายยี่ห้อ เมื่อฟังเทียบกับยี่ห้ออื่นที่ค่าs/nสูงกว่า เช่น CS, Philips
                                ชิบDACแต่ละยี่ห้อ กลับให้บรรยากาศดนตรีที่ต่างกัน เด่นที่เสียงคนละช่วงกัน



                                ขอเสริมเรื่องนึง เป็นความเห็นส่วนตัว
                                ประเด็นหนึ่งที่ไม่อยากให้มองข้ามคือเรื่องอิมพิแดนซ์
                                "เอ้าท์พุทอิมพิแดนซ์ของภาคจ่ายไฟ" & "อินพุทอิมพิแดนซ์ของขารับไฟเลี้ยงภายในของโหลด"
                                ค่าอิมพิแดนซ์ทั้ง2ส่วน จะสูงหรือต่ำก็แล้วแต่จะมีผลย้อนกลับไปหาแต่ละส่วนตลอดเวลา ทำให้การทำงานไม่คงที่ ไม่เป็นไปตามทฤษฏี
                                ลองหาวิธีทำให้ค่าอิมพิแดนซ์ทั้ง2ส่วนแมชกันให้ได้, ลองหาวิธีคุมอิมพิแดนซ์ให้คงที่ให้นิ่งตลอดทุกช่วงความถี่

                                ถ้านึกไม่ออก ก็ให้มองไปที่ ค่าเอ้าท์พุทอิมพิแดนซ์ของเครื่องเล่นต้นทาง(CD) กับ ค่าอินพุทอิมพิแดนซ์ของเครื่องรับปลายทาง(Pre Amp)
                                เหตุใดถึงต้องมีการกำหนดค่าอินพุท/เอ้าท์พุทอิมพิแดนซ์ของตัวส่งตัวรับในแต่ละส่วนด้วย
                                เพียงแค่ค่าเอ้าท์พุทอิมพแดนซ์ของเครื่องต้นทางเปลี่ยน หรือ ค่าอินพุทอิมพิแดนซ์ของเครื่องรับเปลี่ยน แนวเสียงก็เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย


                                ใครสงสัยค่าอินพุท/เอ้าท์พุทอิมพิแดนซ์มีผลด้านไหนบ้าง มีผลย้อนกลับอะไรบ้าง
                                ลองหาข้อมูลจากระบบสายส่ง หรือเรื่องค่าSWRในระบบสายส่งสายอากาศของพวกเล่นวิทยุรับส่งก็ได้



                                ถ้าไม่คิด ไม่ลอง ก็ไม่มีการเรียนรู้ ไม่มีการพัฒนา < ขอเอาใจช่วยครับ
                                มีหลายสิ่งหลายอย่างที่เป็นตัวแปร ที่เป็นความลับ ที่ผู้ผลิตไม่ได้บอกไว้ เพราะเป็นเรื่องเงื่อนไขการค้า
                                ใครอยากรู้ก็ต้องค้นคว้าต้องทดลองด้วยตัวเอง และต้องจับประเด็นให้ได้ด้วยตัวเอง
                                Last edited by keang; 27 Jun 2011, 19:42:06.

                                Comment

                                Working...
                                X