ทำไม ไม่เอา 3G ให้มัน รอด ก่อนละ ครับ ค่อยคิดเพิ่ม ผมว่านะ
Announcement
Collapse
No announcement yet.
ข่าวด่วน! ไทยอาจจะไม่ได้ใช้ 3G แล้ว
Collapse
X
-
Originally posted by Dark_X View Postอัพเพิ่มแต่ใช้คลื่นความถี่เดิมใช่ป่าวครับ คือ 2100 Mhz
แต่งงว่า 3.9g กับ 4g เนี่ยมันเหมือนกันไม่ใช่หรอ
ข้อมูลเพิ่มเติมครับ
มันเป็นเทคโนโลยีที่พัฒนามาจาก 3 จีอ่ะครับ
3.9 generation - Long-Term Evolution
เป็นเทคโนโลยี ยุคที่ 3.9 ของโทรศัพท์
มัน จะรวมเอา
3 จี เข้ากับ จีพีอาร์เอส
ทำให้มีความเร็วมากขึ้น
รรอง รับการใช้งานทีมากกว่าเดิม
และมีแบนวิดกว้างขึ้น
ส่งข้อมูล ได้ทีละมากขึ้นอ่ะครับ
มัน ใกล้เคียงกัน 4 จีเลยอ่ะ ตัวนี้
2G = GSM
2.5G = GPRS
2.75G = EDGE
Then moving onto 3G systems:
3G = WCDMA, R99
3.5G = HSDPA
3.75G = HSUPA
3.8G = HSPA+ (HSPA Enhancements)
3.85G = 'HSPA+' + MIMO
3.9G = LTE
4G = NOT WiMAX
ถ้า ดูจริง ๆ 3.9 จี ก็ไวกว่า 3 จี อย่างน้อยประมาณ 20 เท่า
แล้วก็นี่ข่าวจากอีกแหล่งที่อธิบายมากกว่าหน่อย
กทช. เผย3จี เดิมล้าสมัย เปลี่ยนเป็น3.9 จี เพิ่มความเร็วอีก 20 เท่า บนคลื่นความถี่เดิม 2.1 กิกะเฮิร์ตซ วางกรอบตั้งราคาและรับฟังความคิดเห็นเดือนมิ.ย.ก่อนเปิดประมูลไลเซนส์ ก.ย.ยืนยันคนไทยได้ใช้ 3.9 จี ปีนี้ชัวร์ ชี้มาตรฐาน 4จีพร้อมปี54 ก่อนเข้าสู่เชิงพาณิชย์ในอีก3 ปี …<br />
เมื่อวันที่ 26 พ.ค. พ.อ.นที ศุกลรัตน์ กรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ในฐานะประธานกรรมการ 3จี เปิดเผยว่า หลังจากที่คณะทำงานได้เปิดรับฟังความคิดเห็นเฉพาะกลุ่มครั้งที่ 1 โดยมีผู้ประกอบการ นักวิชาการ ผู้บริโภค รวมประมาณ 150 คน เพื่อแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการอนุญาตประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อน ที่ 3จี เมื่อวันที่ 25 พ.ค.ที่ผ่านมา ที่ประชุมมีมติตรงกันว่าจะเพิ่มขีดความสามารถโครงข่ายโทรศัพท์ระบบ 3จี หรือ อัพเกรดให้มีความเร็วสูงขึ้นอีก 20 เท่า อัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูล 42 เมกะบิต คือปรับเป็นระบบ 3.9 จี บนคลื่นความถี่เดิมคือ 2.1 กิกะเฮิร์ตซ เนื่องจากมองว่าระบบโทรศัพท์ 3จี ค่อนข้างล้าสมัยไปแล้วในปัจจุบัน ประกอบกับประเทศไทยมีศักยภาพของระบบโทรคมนาคมเพียงพอที่จะเปิดให้บริการโครง ข่ายโทรศัพท์ระบบ 3.9จี ได้
กรรมาการ กทช. กล่าวต่อว่า หลังจากนี้ จะเปิดรับฟังความคิดเห็นหลักเกณฑ์ และกำหนดราคาใบอนุญาต (ไลเซนส์) จากทุกภาคส่วนในเดือน มิ.ย.-ก.ค. คาดการณ์ว่าจะออกใบอนุญาตได้ในเดือน ก.ย. และมั่นใจว่าผู้ประกอบการจะสามารถเปิดให้บริการ 3.9จี ทั่วประเทศภายในสิ้นปี 2553 แน่นอน
ทั้งนี้ คณะทำงานได้สรุปแนวทางการออกใบอนุญาต 3จี คือ จะแบ่งใบอนุญาตออกเป็น 3 ใบ จากคลื่นความถี่ทั้งหมด 45 เมกกะเฮิร์ตซ เพื่อให้สามารถครอบคลุมทั่วประเทศ นอกจากนี้จะส่งเสริมผู้ประกอบการรายย่อยในลักษณะผู้ให้บริการโทรศัพท์ เคลื่อนที่แบบไม่มีโครงข่าย เพื่อเช่าใช้โครงข่ายการให้บริการขายส่งบริการ หรือเอ็มวีเอ็นโอ (MVNO) ระดับท้องถิ่นและภูมิภาคทั่วประเทศ โดยมีข้อกำหนดว่าผู้รับใบอนุญาตต้องเผื่อโครงข่าย 40% สำหรับผู้ให้บริการ MVNO รายใหม่ด้วย อีกทั้ง ยังกำหนดให้ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตจะต้องยุติการให้บริการ 2จี หลังจากหมดสัญญาร่วมการงาน เพื่อการแข่งขันโดยเสรีและเป็นธรรม โดยจะเสนอให้คณะกรรมการ (บอร์ด) กทช.พิจารณาแนวทางดังกล่าวในวันที่ 4-5 มิ.ย.2553
สำหรับเหตุผลที่ กทช.ไม่ดำเนินการสู่ระบบ 4จี นั้น เนื่องจากมาตรฐานโครงข่าย 4 จี จะเริ่มต้นประมาณต้นปี 2554 หรือต้นปีหน้า โดยจะเข้าสู่เชิงพาณิชย์ ในการผลิตอุปกรณ์เต็มรูปแบบภายใน 3 จี สำหรับอัตราค่าบริการโทรศัพท์ระบบ 3.9จี คาดการณ์ว่าจะไม่แตกต่าง หรือสูงกว่าระบบ 3จี ที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบันมากนัก แต่ทั้งนี้ ค่าบริการอาจจะต้องดูในส่วนของการทำการตลาดของผู้ให้บริการแต่ละรายในอนาคต หลังจากเปิดให้บริการระบบ 3.9จี อย่างเต็มระบบอีกครั้ง.
โพสโดย ข่าวไอที
/ ที่มาของข่าว : ไทยรัฐออนไลน์ วันที่ 26 – 05 – 2553
ดังนั้นไม่ต้องห่วงว่ามือถือที่รองรับ 3G จะใช้ไม่ได้ครับผม ^ ^
Comment
-
สังคมไร้สาย (Wireless Society) (ตอนที่ 251) LTE: 4G หรือ 3.9G กันแน่
คนเราชอบเรียกอะไรง่ายๆ สั้นๆ เป็นที่จดจำได้ง่าย อย่างคนไทยยังเรียกชื่อเล่นกัน ตัวเลขบางทีก็ปัดให้เป็นตัวเลขกลมๆ ไม่ต้องมีจุดทศนิยม แต่บางทีตัวเลขก็มีความหมายลึกซึ้งมากกว่าที่จะปัดขึ้นหรือลงตามใจ อาทิเช่นถ้าบังเอิญมีความจำเป็นไปหยิบยืมเงินใครมาสักสามสิบห้าหมื่น (ลองใช้ภาษาเดิมๆ ดูบ้าง) เมื่อใกล้ถึงกำหนดที่จะต้องนำเงินส่งคืน ตาเพื่อนเจ้าหนี้เดินมาทวนเงินด้วยคำพูดว่า เอาคืนมาเลยสี่แสน เราที่เป็นคนยืมก็คงจะงงๆ ว่าเกิดอะไรขึ้น เจ้าของเงินก็บอกว่าปัดให้เป็นตัวเลขกลมๆ จำง่ายดี !!! ยกตัวอย่างเล่นๆ แต่เรื่องตัวเลขกับการตลาดในธุรกิจโทรคมนาคมทำให้เกิดความสับสนกันไม่ใช่น้อย อย่างเทคโนโลยี Long term evolution (LTE) ที่ท่านผู้รู้หลายท่านในบ้านเราบอกว่าตั้งชื่อได้เชยมาก ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งที่โอเปอเรเตอร์ฝั่งตะวันตก ทึกทักเรียกเอาว่าเป็น 4G ก๊คงบอกว่าพูดความจริงไม่หมดเสีย แต่ก็คงต้องเข้าใจว่าอาจจะทนต่อกลยุทธ์ทางการตลาดของคู่แข่งที่ประโคมคำว่า 4G จากค่ายที่ใช้เทคโนโลยี WiMAX ไม่ไหว เลยต้องออกมาพูดบ้างว่าระบบ LTE ที่กำลังวางโครงข่ายนั้นเป็น 4G เหมือนกัน แต่ในทางกลับกันต้องปรบมือให้กับชาวเอเชียอย่างญี่ปุ่นที่ทางองค์กรกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคม (Telecom regulator) ออกประกาศชัดเจนว่า LTE ที่จะให้บริการกันนั้นเป็นการอนุญาตให้ทดลองใช้งานระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 3.9 (3.9G) เนื่องจากผู้ที่กำหนดว่าเทคโนโลยีใดเป็น 4G นั้นก็คือสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ International Telecommunication Union หรือที่รู้จักกันในนาม ITU นั้น เพียงแค่กำหนดกรอบความสามารถของเทคโนโลยีที่เข้าข่ายเป็นเทคโนโลยี 4G ไว้ และเทคโนโลยีที่น่าจะเป็นหนึ่งใน 4G ก็คือ LTE-Advanced ครับ สำหรับมุมมองของผู้ใช้แล้วก็คงไม่สนใจว่าเป็นกี่G แต่ขอให้ใช้งานได้ตามที่ต้องการด้วยราคาที่เหมาะสมเป็นพอ
ขออนุญาตเล่าถึงเทคโนโลยี LTE ซึ่งเป็นระบบสื่อสารไร้สายที่มีการพัฒนาขึ้นมาอีกขั้นและถูกกำหนดในมาตรฐานของ 3rd Generation Partnership Project (3GPP) Release 8 ซึ่งอันที่จริงแล้วเทคโนโลยีสื่อสารไร้สายที่มีใช้กันอยู่ในบ้านเราไม่ว่าจะเป็น GSM, GPRS, EDGE หรือ 3G ที่มีการพูดถึงกันมากก็อยู่ภายใต้มาตรฐานนี้ด้วย (แต่ Release แตกต่างกันไป) โดยภายใต้มาตรฐาน 3GPP Release 8 นี้ก็พยายามกำหนดมาตรฐานเพื่อการอัพเกรดจาก 3G ไปสู่ 4G และโครงสร้างให้เป็นแบบไอพีทั้งหมดที่มีลำดับขั้นน้อยชั้น (All-IP flat architecture) นั้นเอง
ภาพรวมของ LTE นั้นมุ่งไปที่สองประเด็นหลักของความต้องการพื้นฐานหลักในระบบสื่อสารโทรคมนาคมก็คือความเร็วในการรับส่งข้อมูล และดีเลย์หรือค่าความหน่วงที่เกิดขึ้นในระบบ (latency) โดยมีความเร็วอย่างน้อย 100Mbps (downlink) และ 50Mbps (uplink) ส่วนดีเลย์กำหนดให้มีค่าต่ำกว่า 10ms สำหรับแบนด์วิทธ์ก็เปิดกว้างเริ่มตั้งแต่ปริมาณน้อยๆ จนถึง 20MHz การที่กำหนดให้มีแบนด์วิทธ์แถบความถี่น้อยด้วยนั้นก็เพื่อเปิดไว้ให้กับบางพื้นที่ที่มีปริมาณไม่มาก แต่ถ้าเราต้องการประสิทธิภาพสูงๆ ก็คงหนีไม่พ้นที่จะต้องการทรัพยากรความถี่แถบกว้าง
จุดประสงค์หลักของ LTE ก็เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ความถี่ (Spectral efficiency) เพื่อลดต้นทุนต่อบิตที่รับส่ง พัฒนาบริการใหม่ๆ โดยใช้คลื่นความถี่ย่านใหม่หรือย่านเดิมหลังจากการจัดสรรคลื่นความถี่ (Refarming) ซึ่งถ้าเปรียบเปรยกันให้เห็นภาพก็ไม่ต่างอะไรกับการที่พื้นที่ใจกลางเมืองมีอาคารบ้านช่องอยู่แล้ว (มีผู้ให้บริการใช้ช่วงความถี่หนึ่งอยู่) จึงมีความจำเป็นต้องออกไปชานเมืองเพื่อสร้างอาคารที่อยู่ใหม่ (คลื่นความถี่ย่านใหม่) แต่แน่นอน ถ้าใครอยากจะสร้างตรงไหนก็ได้ตามใจไม่มีกฎกติกากันก็คงวุ่นวายน่าดู จึงจำเป็นต้องมีคนกลางมาคอยดูแลจัดสรร แล้วถ้าที่มีสิ่งปลูกสร้างอยู่แล้วแต่ใช้ประโยชน์ได้อย่างไม่เต็มที่ หรือต้องนำมาใช้ประโยชน์ด้านอื่นเพื่อเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมก็จะถูกเวนคืนที่ดิน ก็คือการทำ Refarming นั้นเอง
http://www.telecomjournal.net/index....1924&Itemid=47
สังคมไร้สาย (Wireless Society) (ตอนที่ 287) 3.9G (LTE) แรงจริงไหม
การเปิดตัวบริการโมบายบรอดแบนด์ด้วยเทคโนโลยี Long-Term Evolution (LTE) เป็นรายแรกของโลกโดยโอเปอเรเตอร์จากสวีเดน ได้สร้างกระแส เหมือนปลุกให้สายตาทุกคู่มองไปที่โอเปอเรเตอร์รายนี้ ว่าจะได้ความเร็วในการรับส่งข้อมูลอย่างที่อ้างไว้หรือเปล่า บ้านเรายังไม่มีเทคโนโลยี LTE ให้ลอง จึงจำเป็นต้องมองหาบทวิเคราะห์ต่างประเทศ ว่าทดลองแล้วถูกอกถูกใจผู้ใช้กันหรือไม่
อันที่จริง TeliaSonera เปิดตัวบริการโดยชูประเด็นว่าเป็น 4G หรือระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่4 แต่อย่างที่เคยเล่ามาหลายครั้งแล้วว่า ถ้าว่ากันจริงๆ ตามหลักวิชาการแล้ว มันยังเป็นแค่ 3.9G แต่การตลาดก็จำเป็นต้องส่ง Message ที่ดึงดูดความสนใจของตลาดหน่อย ถ้าออกบริการแล้วเรียกว่า 3.9G สงสัยอาจจะกลัวลูกค้าไม่ซื้อ รอให้เป็น 4G ก่อนดีกว่า และเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า LTE จะสามารถพัฒนาไปเป็นระดับ 4G ได้ด้วยการขยับไปเป็น LTE-Advanced ซึ่งน่าจะเป็นส่วนหนึ่งของ IMT-Advanced มาตรฐาน 4G ที่สมบูรณ์แบบจริงๆ
ว่าไปแล้วเทคโนโลยีไหนก็หนีไม่พ้นกฎธรรมชาติที่ว่า เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปได้ หรือทางบริหารเรารู้จักกันดีว่า Product Life cycle การเกิดขึ้นใหม่ของเทคโนโลยีอย่าง LTE ก็เป็นเหมือนคลื่นเทคโนโลยีอีกลูกหนึ่งที่รองรับคลื่นลูกที่แล้วอย่างเทคโนโลยี 3G สำหรับ LTE ก็เปรียบเสมือนเป็นเทคโนโลยีรองรับจุดเริ่มต้นของคลื่นลูกใหม่นี้นั่นเอง
เราลองมาหาคำตอบเรื่องความเร็วในการรับส่งข้อมูล ภายใต้การใช้งานจริงดูว่า เทคโนโลยี LTE เมื่อใช้งานจริงๆ แล้ว จะได้ความเร็วเป็นอย่างไรบ้าง ล่าสุดมีการทดสอบกันที่สวีเดน พบว่าได้ความเร็วสูงถึง 45Mbps ผลการทดสอบจากบริษัทวิจัยตลาด Northstream ต่างจากที่บริษัทเดียวกันนี้ได้ทดสอบไว้ครั้งแรก ในครั้งนั้นได้ทดสอบภายในและนอกอาคาร แต่ความเร็วอยู่แค่ 12Mbps เท่านั้น ข้อมูลนี้เป็นเหมือนเสียงสะท้อนจากลูกค้า เป็นผลที่น่าสนใจเนื่องจากไม่ได้เป็นประสบการณ์การทดสอบจากโอเปอเรเตอร์ ผู้ให้บริการเอง ซึ่งแน่นอนจะต้องเข้าข้างตัวเองอยู่บ้างตามธรรมชาติ
การทดสอบครั้งนี้เป็นเพียงการเล่าประสบการณ์การใช้งานอย่างคร่าวๆ โดยทางผู้ทดสอบเองได้ย้ำไว้ใน Blog ว่า การทดสอบครั้งนี้ไม่ได้ทดสอบภายใต้หลักการทางวิทยาศาสตร์ แต่เป็นการทดสอบเบื้องต้นเท่านั้น แต่นี่แหละคือประสบการณ์ตรงจากลูกค้าที่ใช้งาน เราคงไม่สามารถที่จะคาดหวังว่าผู้ใช้งานทั่วไปจะมีเครื่องไม้เครื่องมือที่เอาไว้ช่วยตรวจสอบประสิทธิภาพของระบบ เพราะต้องอย่าลืมว่าตามหลักวิศวกรรมศาสตร์แล้ว เราต้องพิจารณาอีกหลายปัจจัย เช่น จำนวนผู้ใช้ภายใต้ eNobeB เดียวกัน ซึ่งโดยปกติแล้วโอเปอเรเตอร์จะทำ Loaded test เพื่อจำลองการใช้งานจริง
นอกจากนั้นการเคลื่อนที่ของผู้ใช้งานก็จะมีส่วนกับความเร็วอีกด้วย ซึ่งการทดสอบครั้งหลังนี้ทางผู้ทดสอบเคลื่อนที่ด้วยรถบัส รถยนต์ ผ่านตัวเมืองเพื่อตรวจสอบในพื้นที่ต่างๆ พบว่าความเร็วที่รับได้สูงมากกว่า 25Mbps โดยส่วนใหญ่ และสูงสุดได้ถึง 45Mbps ทั้งภายในอาคารและนอกอาคาร โดยสรุปแล้วทางผู้ทดสอบรู้สึกพอใจกับประสิทธิภาพในปัจจุบัน พร้อมคาดหวังความเร็วที่สูงขึ้นไปอีกในอนาคต การเปิดให้บริการในครั้งนี้ยังเป็นการพิสูจน์ให้เห็นถึงสัจจธรรมที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ความถี่สูงย่อมมาพร้อมกับความท้าทายในการออกแบบ วางระบบภายในอาคาร อย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก
http://www.telecomjournal.net/index....2970&Itemid=47
ผมว่าถ้ามันใช้คลื่นความถี่ 2100 เดิมได้ก็ดี
Comment
-
Originally posted by saejan View Postทำใม 3g มานไม่ลงตัว ก็น่าจะไปเล่น 2.9g ก่อนนะ นี่กระโดดข้ามขั้นไปอะไรอีกเนี่ย แล้วมานจะลงตัวเหรอ หุหุหุ
2.9G ไม่เคยได้ยิน 3.9ก้ไม่เคย
เอาเนตบ้านเร็วๆก่อนก้ได้นะ 4G มันขั้นต่ำ 20Mbps เลยหนิ เนตตามบ้านเมืองไทยยังไม่ถึงเลย
Comment
Comment