หัวเว่ย (Huawei) ได้จัดงานประกาศเปิดตัวนวัตกรรมและแนวปฏิบัติว่าด้วยผลิตภัณฑ์และโซลูชันของหัวเว่ย (Huawei Product & Solution Innovation and Practice) ระหว่างงานโมบายล์ เวิลด์ คองเกรส (Mobile World Congress หรือ MWC) ประจำปี 2566 ที่เซี่ยงไฮ้ และได้ใช้โอกาสนี้ในการเปิดตัวแนวปฏิบัติในการนำโซลูชันอินเทลลิเจนซ์ อ็อปติกซ์ (Intelligent OptiX) ไปใช้ประโยชน์รวม 4 ด้านด้วยกัน เพื่อนำเทคโนโลยี F5.5G ไปใช้ในแวดวงสมาร์ทโฮม องค์กรธุรกิจขนาดเล็กและรายย่อย การผลิตอัตฉริยะ และเครือข่ายบริเวณเมืองใหญ่
คุณริชาร์ด จิน (Richard Jin) ประธานกลุ่มผลิตภัณฑ์ธุรกิจออปติคอลของหัวเว่ย เปิดเผยว่า 1Gbps นั้นมีอยู่ทุกที่ และ 10Gbps ก็กำลังเริ่มขึ้น โดยในปีที่ผ่านมา นวัตกรรม F5.5G ของหัวเว่ย เช่น FTTR F30/B30, 50G PON, Alps-WDM และ 400G/800G ได้มีการนำมาใช้อย่างแพร่หลายในเอเชีย ยุโรป ตะวันออกกลาง แอฟริกา และลาตินอเมริกา ซึ่งเข้ามาเปลี่ยนแปลงชีวิตและการทำงานของผู้คนอย่างมาก เราหวังว่าผู้ให้บริการและพันธมิตรจะหันมามองนวัตกรรม F5.5G กันมากขึ้น และร่วมกันเพื่อเดินหน้าสู่ยุค "10Gbps ทุกที่"
สำหรับสมาร์ทโฮมนั้น ครัวเรือนกว่า 4.6 ล้านรายใช้บริการหัวเว่ย เอฟทีทีอาร์ (Huawei FTTR) เพื่อสร้างการเชื่อมต่อไวไฟในบ้านความเร็วระดับ 1Gbps โดยในบราซิลนั้น ออย (Oi) และหัวเว่ยได้ริเริ่มนำเอฟทีทีอาร์ไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในลาตินอเมริกา ทั้งสองใช้ประโยชน์จากแบนด์วิดท์สูงพิเศษ การครอบคลุมที่กว้างเป็นพิเศษ การทำงานพร้อมกันที่สูงเป็นพิเศษ และบริการระดับ 5A เพื่อสร้างบ้านอัจฉริยะที่มีระบบอัจฉริยะทั้งบ้านระดับอัลตรากิกะบิต (ultra-gigabit) ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ความพึงพอใจของผู้บริโภค และรายได้เฉลี่ยต่อลูกค้าหนึ่งคน (ARPU) ให้กับออย
สำหรับองค์กรขนาดเล็กและรายย่อยแล้ว ธุรกิจองค์กรหลายหมื่นแห่งได้นำโซลูชันหัวเว่ย เอฟทีทีอาร์ มาใช้ โดยไชน่า ยูนิคอม เหอหนาน (China Unicom Henan) ใช้ประโยชน์จากข้อดีของ B30 เช่น ไวไฟระดับอัลตรากิกะบิต, เทอร์มินัลที่ทำงานพร้อมกัน 300 ตัว และระบบซ่อมบำรุงอัจฉริยะบนแอป และได้เปิดตัวแพ็กเกจฟิวชัน เอฟทีทีอาร์ B30 เพื่อรองรับกับสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น สำนักงาน ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านสะดวกซื้อ และการป้องกันความปลอดภัย ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ไชน่า ยูนิคอม เหอหนาน ดึงดูดผู้ใช้ระดับองค์กรได้เกือบ 10,000 ราย และเพิ่มความพึงพอใจของผู้บริโภคได้ถึง 20% ซึ่งช่วยองค์กรขนาดเล็กและรายย่อยพลิกโฉมสู่ดิจิทัลได้อย่างมาก
ในแง่ของการผลิตอัจฉริยะนั้น สถาบันวิจัยไชน่า เทเลคอม (China Telecom Research Institute) ได้ทำงานร่วมกับหัวเว่ย เพื่อดำเนินการนำร่องอินเทอร์เน็ตเชิงอุตสาหกรรมที่ใช้ 50G PON จนสำเร็จเป็นรายแรกของโลก โดยเครือข่าย 50G PON ของหัวเว่ยให้แบนด์วิดท์ 10Gbps สำหรับแคมปัส ช่วยให้ตรวจสอบด้วยแสงอัตโนมัติ (AOI) ได้อย่างน่าเชื่อถือและยืดหยุ่นในภาคอุตสาหกรรม ทั้งยังทำให้ตรวจสอบได้ดีขึ้นถึง 10 เท่า มอบผลประโยชน์อันดีสำหรับการผลิตอัจฉริยะ ปัจจุบัน หัวเว่ยได้ดำเนินการตรวจสอบนวัตกรรมสำหรับโซลูชัน 50G PON ร่วมกับพันธมิตรกว่า 30 รายทั่วโลก
ไชน่า ยูนิคอม ฉงชิ่ง (China Unicom Chongqing) นำโซลูชัน Alps-WDM ของหัวเว่ยมาใช้สร้างเครือข่ายรถไฟใต้ดิน โดยมีต้นทุนรวมในการเป็นเจ้าของ (TCO) ที่เหมาะสมที่สุด โซลูชัน Alps-WDM ของหัวเว่ยเพิ่มอัตราความยาวคลื่นเดียวจาก 10G เป็น 100G ณ จุดเข้าถึงแบบรวม และสร้างกลุ่มทรัพยากรแบนด์วิดท์ที่ใช้ร่วมกันได้หลายพื้นที่เพื่อรองรับการใช้งานตามความต้องการ นอกจากนี้ยังช่วยสร้างวงเวลาแฝงต่ำเป็นพิเศษ โดยมี "ความครอบคลุม 1 มิลลิวินาทีในเมืองหลัก 2.5 มิลลิวินาทีสำหรับทั้งเมือง และ 3 มิลลิวินาทีในเฉิงตู-ฉงชิ่ง" จนถึงขณะนี้ โซลูชัน Alps-WDM ของหัวเว่ยมีการนำไปใช้ทางการค้าในหลายรูปแบบทั่วโลก
ทั้งนี้ ยุค 10Gbps อยู่ใกล้แค่เอื้อม โดยหัวเว่ยขอเชิญชวนให้ทุกฝ่ายในอุตสาหกรรม ร่วมสร้างสรรค์และยกระดับสถานการณ์การใช้งาน F5.5G และใช้ F5.5G กับทุกด้านของเศรษฐกิจดิจิทัล เพื่อให้เกิด "10Gbps ทุกที่"
รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/214...red_Speech.jpg
image widget
หัวเว่ย (Huawei) ได้จัดงานประกาศเปิดตัวนวัตกรรมและแนวปฏิบัติว่าด้วยผลิตภัณฑ์และโซลูชันของหัวเว่ย (Huawei Product & Solution Innovation and Practice) ระหว่างงานโมบายล์ เวิลด์ คองเกรส (Mobile World Congress หรือ MWC) ประจำปี 2566 ที่เซี่ยงไฮ้ และได้ใช้โอกาสนี้ในการเปิดตัวแนวปฏิบัติในการนำโซลูชันอินเทลลิเจนซ์ อ็อปติกซ์ (Intelligent OptiX) ไปใช้ประโยชน์รวม 4 ด้านด้วยกัน เพื่อนำเทคโนโลยี F5.5G ไปใช้ในแวดวงสมาร์ทโฮม องค์กรธุรกิจขนาดเล็กและรายย่อย การผลิตอัตฉริยะ และเครือข่ายบริเวณเมืองใหญ่
คุณริชาร์ด จิน (Richard Jin) ประธานกลุ่มผลิตภัณฑ์ธุรกิจออปติคอลของหัวเว่ย เปิดเผยว่า 1Gbps นั้นมีอยู่ทุกที่ และ 10Gbps ก็กำลังเริ่มขึ้น โดยในปีที่ผ่านมา นวัตกรรม F5.5G ของหัวเว่ย เช่น FTTR F30/B30, 50G PON, Alps-WDM และ 400G/800G ได้มีการนำมาใช้อย่างแพร่หลายในเอเชีย ยุโรป ตะวันออกกลาง แอฟริกา และลาตินอเมริกา ซึ่งเข้ามาเปลี่ยนแปลงชีวิตและการทำงานของผู้คนอย่างมาก เราหวังว่าผู้ให้บริการและพันธมิตรจะหันมามองนวัตกรรม F5.5G กันมากขึ้น และร่วมกันเพื่อเดินหน้าสู่ยุค "10Gbps ทุกที่"
สำหรับสมาร์ทโฮมนั้น ครัวเรือนกว่า 4.6 ล้านรายใช้บริการหัวเว่ย เอฟทีทีอาร์ (Huawei FTTR) เพื่อสร้างการเชื่อมต่อไวไฟในบ้านความเร็วระดับ 1Gbps โดยในบราซิลนั้น ออย (Oi) และหัวเว่ยได้ริเริ่มนำเอฟทีทีอาร์ไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในลาตินอเมริกา ทั้งสองใช้ประโยชน์จากแบนด์วิดท์สูงพิเศษ การครอบคลุมที่กว้างเป็นพิเศษ การทำงานพร้อมกันที่สูงเป็นพิเศษ และบริการระดับ 5A เพื่อสร้างบ้านอัจฉริยะที่มีระบบอัจฉริยะทั้งบ้านระดับอัลตรากิกะบิต (ultra-gigabit) ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ความพึงพอใจของผู้บริโภค และรายได้เฉลี่ยต่อลูกค้าหนึ่งคน (ARPU) ให้กับออย
สำหรับองค์กรขนาดเล็กและรายย่อยแล้ว ธุรกิจองค์กรหลายหมื่นแห่งได้นำโซลูชันหัวเว่ย เอฟทีทีอาร์ มาใช้ โดยไชน่า ยูนิคอม เหอหนาน (China Unicom Henan) ใช้ประโยชน์จากข้อดีของ B30 เช่น ไวไฟระดับอัลตรากิกะบิต, เทอร์มินัลที่ทำงานพร้อมกัน 300 ตัว และระบบซ่อมบำรุงอัจฉริยะบนแอป และได้เปิดตัวแพ็กเกจฟิวชัน เอฟทีทีอาร์ B30 เพื่อรองรับกับสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น สำนักงาน ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านสะดวกซื้อ และการป้องกันความปลอดภัย ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ไชน่า ยูนิคอม เหอหนาน ดึงดูดผู้ใช้ระดับองค์กรได้เกือบ 10,000 ราย และเพิ่มความพึงพอใจของผู้บริโภคได้ถึง 20% ซึ่งช่วยองค์กรขนาดเล็กและรายย่อยพลิกโฉมสู่ดิจิทัลได้อย่างมาก
ในแง่ของการผลิตอัจฉริยะนั้น สถาบันวิจัยไชน่า เทเลคอม (China Telecom Research Institute) ได้ทำงานร่วมกับหัวเว่ย เพื่อดำเนินการนำร่องอินเทอร์เน็ตเชิงอุตสาหกรรมที่ใช้ 50G PON จนสำเร็จเป็นรายแรกของโลก โดยเครือข่าย 50G PON ของหัวเว่ยให้แบนด์วิดท์ 10Gbps สำหรับแคมปัส ช่วยให้ตรวจสอบด้วยแสงอัตโนมัติ (AOI) ได้อย่างน่าเชื่อถือและยืดหยุ่นในภาคอุตสาหกรรม ทั้งยังทำให้ตรวจสอบได้ดีขึ้นถึง 10 เท่า มอบผลประโยชน์อันดีสำหรับการผลิตอัจฉริยะ ปัจจุบัน หัวเว่ยได้ดำเนินการตรวจสอบนวัตกรรมสำหรับโซลูชัน 50G PON ร่วมกับพันธมิตรกว่า 30 รายทั่วโลก
ไชน่า ยูนิคอม ฉงชิ่ง (China Unicom Chongqing) นำโซลูชัน Alps-WDM ของหัวเว่ยมาใช้สร้างเครือข่ายรถไฟใต้ดิน โดยมีต้นทุนรวมในการเป็นเจ้าของ (TCO) ที่เหมาะสมที่สุด โซลูชัน Alps-WDM ของหัวเว่ยเพิ่มอัตราความยาวคลื่นเดียวจาก 10G เป็น 100G ณ จุดเข้าถึงแบบรวม และสร้างกลุ่มทรัพยากรแบนด์วิดท์ที่ใช้ร่วมกันได้หลายพื้นที่เพื่อรองรับการใช้งานตามความต้องการ นอกจากนี้ยังช่วยสร้างวงเวลาแฝงต่ำเป็นพิเศษ โดยมี "ความครอบคลุม 1 มิลลิวินาทีในเมืองหลัก 2.5 มิลลิวินาทีสำหรับทั้งเมือง และ 3 มิลลิวินาทีในเฉิงตู-ฉงชิ่ง" จนถึงขณะนี้ โซลูชัน Alps-WDM ของหัวเว่ยมีการนำไปใช้ทางการค้าในหลายรูปแบบทั่วโลก
ทั้งนี้ ยุค 10Gbps อยู่ใกล้แค่เอื้อม โดยหัวเว่ยขอเชิญชวนให้ทุกฝ่ายในอุตสาหกรรม ร่วมสร้างสรรค์และยกระดับสถานการณ์การใช้งาน F5.5G และใช้ F5.5G กับทุกด้านของเศรษฐกิจดิจิทัล เพื่อให้เกิด "10Gbps ทุกที่"
รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/214...red_Speech.jpg
image widget