หัวเว่ย คลาวด์ เปิดตัวดาตา แวร์เฮาส์ 3.0 มุ่งนำทางการเปลี่ยนแปลง สร้างการเงินที่ฉลาดยิ่งขึ้นไปด้วยกัน
หัวเว่ย (Huawei) ได้จัดการประชุมสุดยอด หัวเว่ย โกลบอล อินเทลลิเจนท์ ไฟแนนซ์ ซัมมิต (Huawei Global Intelligent Finance Summit หรือ HiFS) ขึ้นที่เซี่ยงไฮ้ในวันที่ 7-8 มิถุนายนในหัวข้อ "นำทางการเปลี่ยนแปลง สร้างการเงินที่ฉลาดยิ่งขึ้นไปด้วยกัน" (Navigate Change, Shaping Smarter Finance Together) โดยในการประชุมนี้ คุณจาง ผิงอัน (Zhang Ping'an) ผู้อำนวยการบริหารของหัวเว่ย และซีอีโอของหัวเว่ย คลาวด์ ได้เปิดตัว หัวเว่ย คลาวด์ ดาตา แวร์เฮาส์ 3.0 (Huawei Cloud Data Warehouse 3.0) สู่ระดับโลก
เกาส์ดีบีในรูปแบบบริการคลังข้อมูลของหัวเว่ย คลาวด์ หรือบริการ GaussDB(DWS) นั้น เป็นคลังข้อมูลระบบคลาวด์ล้ำยุคสำหรับทุกสถานการณ์ โดยได้ปรับปรุงความสามารถการปฏิบัติการบนระบบคลาวด์ หรือคลาวด์เนทีฟ (cloud native) แบบไร้เซิร์ฟเวอร์ ลดความซับซ้อนของสถาปัตยกรรมไอที และทำให้ทุกคนสามารถใช้และวิเคราะห์ข้อมูล มุ่งเน้นไปที่การสำรวจสถานการณ์ใหม่ ๆ ทางธุรกิจอย่างเจาะลึก
GaussDB(DWS) สร้างคอร์อัจฉริยะ มอบข้อมูลที่มีมูลค่าสูง
เทคโนโลยีคลาวด์ได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็วนับตั้งแต่ทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งรวมถึงคลังข้อมูล คอนเทนเนอร์ และไมโครเซอร์วิส คลาวด์เนทีฟได้กลายมาเป็นเทรนด์ โดย GaussDB(DWS) ของหัวเว่ย คลาวด์ ใช้สถาปัตยกรรมที่แยกพื้นที่จัดเก็บ การประมวลผล และการจัดการออกจากกัน ซึ่งขีดความสามารถแบบคลาวด์เนทีฟนั้นทำให้ปรับขนาดทรัพยากรการประมวลผลและพื้นที่เก็บข้อมูลได้อย่างอิสระ เพื่อตอบสนองความต้องการทางธุรกิจ และรับประกันเสถียรภาพในช่วงเวลาที่มีผู้ใช้งานเป็นจำนวนมาก เทคโนโลยีการประมวลผลแบบกระจายของหัวเว่ย คลาวด์ ช่วยให้ผู้ใช้สามารถดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลบนโหนดที่อยู่ใกล้เคียงและตอบสนองต่อการประมวลผลข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
GaussDB(DWS) ของหัวเว่ย คลาวด์ ปรับปรุงประสิทธิภาพขึ้นอย่างมาก โดยนอกเหนือจากความสามารถในการประมวลผลแบบขนานระดับโหนดแบบดั้งเดิมแล้ว ยังรองรับการประมวลแบบขนานระดับผู้ปฏิบัติการและระดับคำสั่งด้วย ทำให้การประมวลผลข้อมูลเร็วขึ้นมาก ช่วยให้บริษัทในแวดวงการเงินจัดทำรายงานตามที่หน่วยงานกำกับดูแลกำหนดได้ในเวลาที่เหมาะสม
ในการช่วยให้ธนาคารต่าง ๆ จัดการกับสถานการณ์การวิเคราะห์ที่หลากหลายมากขึ้นในยุคที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลได้นั้น หัวเว่ย คลาวด์ ก็ให้บริการโซลูชันบูรณาการเลคเฮาส์ด้วย โดยเชื่อมโยง GaussDB(DWS) เข้ากับดาตาเลคแบบคลาวด์เนทีฟอย่างแมปรีดิวซ์ เซอร์วิส (MapReduce Service) ซึ่งรองรับข้อมูลหลายประเภท และอนุญาตให้มีกฎการเข้าถึงข้อมูลที่ยืดหยุ่นมากขึ้น คลังเก็บข้อมูลและดาตาเลคนี้ถูกรวมเอาไว้ในสถาปัตยกรรมเดียวกัน ช่วยให้บริษัทต่าง ๆ สำรวจมูลค่าของข้อมูลได้ดียิ่งขึ้น
นี่คือยุคของเศรษฐกิจดิจิทัล ข้อมูลขนาดใหญ่และปัญญาประดิษฐ์หรือเอไอ (AI) ถูกรวมเข้าด้วยกันอย่างลึกซึ้ง ช่วยเร่งการอัปเกรดทางดิจิทัลของอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดย GaussDB(DWS) ของหัวเว่ย คลาวด์ มอบความสามารถในการรวบรวม ประมวลผล จัดการ วิเคราะห์ และแสดงข้อมูล ซึ่งการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพระหว่างข้อมูลกับสายการผลิตเอไอ ทำให้เกิดการผลิตแบบกลุ่มและช่วยให้พัฒนาได้อย่างรวดเร็ว เอไอช่วยเพิ่มความสามารถในการประมวลผลข้อมูลที่ต่างกัน และผสานรวมได้เป็นอย่างดีกับสถานการณ์การใช้งานสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลอัจฉริยะ เช่น การคาดการณ์ การตัดสินใจ และการระบุตัวตน
GaussDB(DWS) ของหัวเว่ย คลาวด์ ตัวเลือกที่ดีกว่าสำหรับคลังข้อมูลทางการเงิน
ในการประชุมที่จัดขึ้นในช่วงบ่ายของวันที่ 7 มิถุนายน คุณวิลเลียม ตง (William Dong) ประธานฝ่ายการตลาดของหัวเว่ย คลาวด์ ได้อัปเกรด GaussDB(DWS) อย่างเป็นทางการ ในการกล่าวสุนทรพจน์หัวข้อ "หัวเว่ย คลาวด์: ผู้นำระบบคลาวด์เนทีฟสำหรับการเงินที่คล่องตัวและอัจฉริยะ" (Huawei Cloud: Leading Cloud Native for Agile and Smart Finance)
สำหรับธนาคารและสถาบันทางการเงินอื่น ๆ นั้น ประสิทธิภาพในการใช้และพัฒนาข้อมูลมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำเนินงาน โดยบริการ GaussDB(DWS) ของหัวเว่ย คลาวด์ มีรากฐานมาจากความต้องการของลูกค้า ความสามารถของระบบนี้ได้รับการตรวจสอบในโครงการของธนาคารขนาดใหญ่หลายแห่งที่มีมาตรฐาน เช่นเดียวกับบรรดาธุรกิจขนาดใหญ่ จนถึงขณะนี้ ธนาคารชั้นนำ 10 แห่งในจีน รวมถึงธนาคารไชน่า เมอร์แชนท์ส แบงก์ (China Merchants Bank หรือ CMB) และธนาคารแบงก์ ออฟ คอมมิวนิเคชันส์ (Bank of Communications หรือ BOC) ได้เลือกใช้บริการ GaussDB(DWS) ของหัวเว่ย คลาวด์
GaussDB(DWS) มีความสามารถในการโยกย้ายที่แข็งแกร่ง โดยธนาคาร CMB และ BOC ได้เลือกย้ายปริมาณงานจากเทราดาตา (Teradata) ส่วนธนาคารกวงฟา แบงก์ (Guangfa Bank หรือ CGB) ได้มีการย้ายปริมาณงานจากออราเคิล เอ็กซาดาตา (Oracle Exadata) ขณะที่ธนาคารไชน่า เอเวอร์ไบรท์ แบงก์ (China Everbright Bank) ได้มีการย้ายปริมาณงานจากหลากหลายผลิตภัณฑ์ เช่น กรีนพลัม (Greenplum) และเทราดาตา ซึ่งรวมข้อมูลทั่วทั้งธนาคารไว้ในที่เดียว
GaussDB(DWS) รับประกันความปลอดภัยสูง ระบบนี้เป็นคลังข้อมูลแห่งเดียวที่ได้รับรองความปลอดภัย Common Criteria ในประเทศจีน นอกจากนี้ยังเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมคลังข้อมูลด้วยเช่นกัน โดยเมื่อเดือนกันยายน 2565 หัวเว่ย คลาวด์ ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีสารสนเทศทางการเงิน (Financial Information & Technology Institute หรือ FITI) บวกกับธนาคารชั้นนำกว่า 10 แห่ง และพันธมิตร ได้เผยแพร่สมุดปกขาวคลังข้อมูลทางการเงิน (Financial Data Warehouse White Paper) เพื่ออำนวยความสะดวกในการพัฒนาแอปพลิเคชันข้อมูลทางการเงินด้วย
GaussDB(DWS) ของหัวเว่ย คลาวด์ เร่งการอัปเกรดอัจฉริยะ
คลังเก็บข้อมูลมีบทบาทสำคัญในเศรษฐกิจดิจิทัล โดย GaussDB(DWS) สั่งสมความเชี่ยวชาญทางเทคนิคมากว่า 10 ปี ทั้งยังมีแนวปฏิบัติข้ามโดเมนที่กว้างขวาง พร้อมเดินหน้าพัฒนาและใช้เทคโนโลยีคลังข้อมูล สร้างรากฐานที่มั่นคงสำหรับลูกค้า และช่วยให้บริษัทต่าง ๆ ปลดปล่อยมูลค่าในข้อมูลของตนได้
หัวเว่ย (Huawei) ได้จัดการประชุมสุดยอด หัวเว่ย โกลบอล อินเทลลิเจนท์ ไฟแนนซ์ ซัมมิต (Huawei Global Intelligent Finance Summit หรือ HiFS) ขึ้นที่เซี่ยงไฮ้ในวันที่ 7-8 มิถุนายนในหัวข้อ "นำทางการเปลี่ยนแปลง สร้างการเงินที่ฉลาดยิ่งขึ้นไปด้วยกัน" (Navigate Change, Shaping Smarter Finance Together) โดยในการประชุมนี้ คุณจาง ผิงอัน (Zhang Ping'an) ผู้อำนวยการบริหารของหัวเว่ย และซีอีโอของหัวเว่ย คลาวด์ ได้เปิดตัว หัวเว่ย คลาวด์ ดาตา แวร์เฮาส์ 3.0 (Huawei Cloud Data Warehouse 3.0) สู่ระดับโลก
เกาส์ดีบีในรูปแบบบริการคลังข้อมูลของหัวเว่ย คลาวด์ หรือบริการ GaussDB(DWS) นั้น เป็นคลังข้อมูลระบบคลาวด์ล้ำยุคสำหรับทุกสถานการณ์ โดยได้ปรับปรุงความสามารถการปฏิบัติการบนระบบคลาวด์ หรือคลาวด์เนทีฟ (cloud native) แบบไร้เซิร์ฟเวอร์ ลดความซับซ้อนของสถาปัตยกรรมไอที และทำให้ทุกคนสามารถใช้และวิเคราะห์ข้อมูล มุ่งเน้นไปที่การสำรวจสถานการณ์ใหม่ ๆ ทางธุรกิจอย่างเจาะลึก
GaussDB(DWS) สร้างคอร์อัจฉริยะ มอบข้อมูลที่มีมูลค่าสูง
เทคโนโลยีคลาวด์ได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็วนับตั้งแต่ทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งรวมถึงคลังข้อมูล คอนเทนเนอร์ และไมโครเซอร์วิส คลาวด์เนทีฟได้กลายมาเป็นเทรนด์ โดย GaussDB(DWS) ของหัวเว่ย คลาวด์ ใช้สถาปัตยกรรมที่แยกพื้นที่จัดเก็บ การประมวลผล และการจัดการออกจากกัน ซึ่งขีดความสามารถแบบคลาวด์เนทีฟนั้นทำให้ปรับขนาดทรัพยากรการประมวลผลและพื้นที่เก็บข้อมูลได้อย่างอิสระ เพื่อตอบสนองความต้องการทางธุรกิจ และรับประกันเสถียรภาพในช่วงเวลาที่มีผู้ใช้งานเป็นจำนวนมาก เทคโนโลยีการประมวลผลแบบกระจายของหัวเว่ย คลาวด์ ช่วยให้ผู้ใช้สามารถดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลบนโหนดที่อยู่ใกล้เคียงและตอบสนองต่อการประมวลผลข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
GaussDB(DWS) ของหัวเว่ย คลาวด์ ปรับปรุงประสิทธิภาพขึ้นอย่างมาก โดยนอกเหนือจากความสามารถในการประมวลผลแบบขนานระดับโหนดแบบดั้งเดิมแล้ว ยังรองรับการประมวลแบบขนานระดับผู้ปฏิบัติการและระดับคำสั่งด้วย ทำให้การประมวลผลข้อมูลเร็วขึ้นมาก ช่วยให้บริษัทในแวดวงการเงินจัดทำรายงานตามที่หน่วยงานกำกับดูแลกำหนดได้ในเวลาที่เหมาะสม
ในการช่วยให้ธนาคารต่าง ๆ จัดการกับสถานการณ์การวิเคราะห์ที่หลากหลายมากขึ้นในยุคที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลได้นั้น หัวเว่ย คลาวด์ ก็ให้บริการโซลูชันบูรณาการเลคเฮาส์ด้วย โดยเชื่อมโยง GaussDB(DWS) เข้ากับดาตาเลคแบบคลาวด์เนทีฟอย่างแมปรีดิวซ์ เซอร์วิส (MapReduce Service) ซึ่งรองรับข้อมูลหลายประเภท และอนุญาตให้มีกฎการเข้าถึงข้อมูลที่ยืดหยุ่นมากขึ้น คลังเก็บข้อมูลและดาตาเลคนี้ถูกรวมเอาไว้ในสถาปัตยกรรมเดียวกัน ช่วยให้บริษัทต่าง ๆ สำรวจมูลค่าของข้อมูลได้ดียิ่งขึ้น
นี่คือยุคของเศรษฐกิจดิจิทัล ข้อมูลขนาดใหญ่และปัญญาประดิษฐ์หรือเอไอ (AI) ถูกรวมเข้าด้วยกันอย่างลึกซึ้ง ช่วยเร่งการอัปเกรดทางดิจิทัลของอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดย GaussDB(DWS) ของหัวเว่ย คลาวด์ มอบความสามารถในการรวบรวม ประมวลผล จัดการ วิเคราะห์ และแสดงข้อมูล ซึ่งการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพระหว่างข้อมูลกับสายการผลิตเอไอ ทำให้เกิดการผลิตแบบกลุ่มและช่วยให้พัฒนาได้อย่างรวดเร็ว เอไอช่วยเพิ่มความสามารถในการประมวลผลข้อมูลที่ต่างกัน และผสานรวมได้เป็นอย่างดีกับสถานการณ์การใช้งานสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลอัจฉริยะ เช่น การคาดการณ์ การตัดสินใจ และการระบุตัวตน
GaussDB(DWS) ของหัวเว่ย คลาวด์ ตัวเลือกที่ดีกว่าสำหรับคลังข้อมูลทางการเงิน
ในการประชุมที่จัดขึ้นในช่วงบ่ายของวันที่ 7 มิถุนายน คุณวิลเลียม ตง (William Dong) ประธานฝ่ายการตลาดของหัวเว่ย คลาวด์ ได้อัปเกรด GaussDB(DWS) อย่างเป็นทางการ ในการกล่าวสุนทรพจน์หัวข้อ "หัวเว่ย คลาวด์: ผู้นำระบบคลาวด์เนทีฟสำหรับการเงินที่คล่องตัวและอัจฉริยะ" (Huawei Cloud: Leading Cloud Native for Agile and Smart Finance)
สำหรับธนาคารและสถาบันทางการเงินอื่น ๆ นั้น ประสิทธิภาพในการใช้และพัฒนาข้อมูลมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำเนินงาน โดยบริการ GaussDB(DWS) ของหัวเว่ย คลาวด์ มีรากฐานมาจากความต้องการของลูกค้า ความสามารถของระบบนี้ได้รับการตรวจสอบในโครงการของธนาคารขนาดใหญ่หลายแห่งที่มีมาตรฐาน เช่นเดียวกับบรรดาธุรกิจขนาดใหญ่ จนถึงขณะนี้ ธนาคารชั้นนำ 10 แห่งในจีน รวมถึงธนาคารไชน่า เมอร์แชนท์ส แบงก์ (China Merchants Bank หรือ CMB) และธนาคารแบงก์ ออฟ คอมมิวนิเคชันส์ (Bank of Communications หรือ BOC) ได้เลือกใช้บริการ GaussDB(DWS) ของหัวเว่ย คลาวด์
GaussDB(DWS) มีความสามารถในการโยกย้ายที่แข็งแกร่ง โดยธนาคาร CMB และ BOC ได้เลือกย้ายปริมาณงานจากเทราดาตา (Teradata) ส่วนธนาคารกวงฟา แบงก์ (Guangfa Bank หรือ CGB) ได้มีการย้ายปริมาณงานจากออราเคิล เอ็กซาดาตา (Oracle Exadata) ขณะที่ธนาคารไชน่า เอเวอร์ไบรท์ แบงก์ (China Everbright Bank) ได้มีการย้ายปริมาณงานจากหลากหลายผลิตภัณฑ์ เช่น กรีนพลัม (Greenplum) และเทราดาตา ซึ่งรวมข้อมูลทั่วทั้งธนาคารไว้ในที่เดียว
GaussDB(DWS) รับประกันความปลอดภัยสูง ระบบนี้เป็นคลังข้อมูลแห่งเดียวที่ได้รับรองความปลอดภัย Common Criteria ในประเทศจีน นอกจากนี้ยังเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมคลังข้อมูลด้วยเช่นกัน โดยเมื่อเดือนกันยายน 2565 หัวเว่ย คลาวด์ ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีสารสนเทศทางการเงิน (Financial Information & Technology Institute หรือ FITI) บวกกับธนาคารชั้นนำกว่า 10 แห่ง และพันธมิตร ได้เผยแพร่สมุดปกขาวคลังข้อมูลทางการเงิน (Financial Data Warehouse White Paper) เพื่ออำนวยความสะดวกในการพัฒนาแอปพลิเคชันข้อมูลทางการเงินด้วย
GaussDB(DWS) ของหัวเว่ย คลาวด์ เร่งการอัปเกรดอัจฉริยะ
คลังเก็บข้อมูลมีบทบาทสำคัญในเศรษฐกิจดิจิทัล โดย GaussDB(DWS) สั่งสมความเชี่ยวชาญทางเทคนิคมากว่า 10 ปี ทั้งยังมีแนวปฏิบัติข้ามโดเมนที่กว้างขวาง พร้อมเดินหน้าพัฒนาและใช้เทคโนโลยีคลังข้อมูล สร้างรากฐานที่มั่นคงสำหรับลูกค้า และช่วยให้บริษัทต่าง ๆ ปลดปล่อยมูลค่าในข้อมูลของตนได้