Announcement

Collapse
No announcement yet.

Review Wide Gamut Monitor มอนิเตอร์ระดับ พันล้านสี vs จอทั่วไปที่ 16.7 ล้านสี

Collapse
X
 
  • Filter
  • Time
  • Show
Clear All
new posts

  • Review Wide Gamut Monitor มอนิเตอร์ระดับ พันล้านสี vs จอทั่วไปที่ 16.7 ล้านสี

    Review + บทความ : Wide Gamut Monitor มอนิเตอร์ระดับ พันล้านสี vs จอทั่วไปที่ 16.7 ล้านสี


    สวัสดีครับเพื่อนๆ ทุกท่าน วันนี้ผมจะมารีวิว Monitor wide gamut + บทความเกี่ยวกับหน้าจอแบบ wide gamut ครับ


    หน้าจอคอมพิวเตอร์ แบบ wide gamut monitor นั้น จะเป็น Monitor ระดับโปรขึ้นไปครับ

    โดยจะมีราคาสูงกว่าหน้าจอทั่วไปนิดหน่อยครับ



    โดยพวก 24" ความละเอียดระดับธรรมดาสามัญ 1920x1200 จะมีราคาเริ่มต้นตั้งแต่ 16,xxx บาทขึ้นไปครับ

    และพวกที่มีความละเอียดและราคาเหมาะกับการทำงานมากกว่า พวก 27" ความละเอียดระดับ 2560 x 1440 จะมีราคาเริ่มต้นตั้งแต่ 26,xxx บาทขึ้นไปครับ



    โดยพระเอกของเราวันนี้จะเป็นจอ wide gamut จาก Dell รุ่น U2711 ขนาด 27" ความละเอียด 2560 x 1440 ราคาประมาณราวๆ 30,000 บาท ครับ (อีกไม่กี่วันจะ Review U2713H และ HM เพิ่มครับ รอชมครับ)








    จากรูปจะเห็นขนาดใหญ่โต พอสมควรครับ เทียบกับ 24" อย่าง U2414H ข้างๆ ทำเอา U2414H เล็กไปเลยทีเดียวครับ




    เพิ่มเติมวีดีโอ ของ U2711 ให้นะครับ พึ่งถ่ายมาตะกี้ครับ

    ไหนๆ จะถ่ายจอแล้วเลยถ่ายระบบ Menu อันสุดยอดของมันใน action มาให้ด้วยซะเลยครับ



    http://www.youtube.com/watch?v=wOZ1key2NIU

    จากวีดีโอจะเห็นว่าระบบสัมผัส ไม่ใช่ระบบโง่ๆ บ้านๆ แบบจอทั่วไปครับ เป็นระบบตรวจจับการเปลี่ยนแปลงของสนามแม่เหล็กครับ

    เวลาเอามือเข้าใกล้ หรือ มือผ่าน มันจะรู้ว่าเราเอามือไปใกล้ๆ แถวๆ ปุ่ม มันจะมีแสงสว่างมาต้อนรับเราก่อนครับ ถ้าเราไม่ต้องการกด มันก็จะดับไปครับ


    แสงนี้ฝังไว้ในจอ มองไม่เห็นเวลาปกติครับ เห็นเฉพาะเวลาจะ active menu


    และพอเราต้องการสัมผัส กดสัมผัส มันก็จะพาเราเข้าหน้า menu ครับ แสงสว่างที่เหลืออีก 4 ดวง รวมเป็น 5 ดวง จะสว่างขึ้นทั้งหมด เป็น indicator ให้เราครับ สามารถสัมผัสได้รัวๆ ไวๆ ไม่มีรวน เหมือนปุ่มสัมผัสบ้านๆ ที่พบในจอราคาต่ำกว่า 20,000 ครับ

    สัมผัสได้ไวกว่าปุ่มกายภาพอีกครับ โดยไม่รวนไม่พลาดเลยครับ


    นับเป็นระบบ Menu ที่ตั้งใจในการออกแบบเป็นอย่างดีครับ
    Last edited by Prime Time; 13 Jul 2014, 20:27:59.

  • #2
    ก่อนจะเข้าเรื่อง Monitor ไปว่ากันด้วยเรื่องของ Color Gamut ก่อนครับ



    อะไรคือ Wide Gamut Monitor?

    ก่อนอื่นขออธิบายคำว่า Gamut คร่าวๆ ก่อนครับ

    Gamut สำหรับที่ใช้ในวงการ Monitor คร่าวๆ คือ ความกว้างของช่วงสีที่จอนั้นๆ รองรับครับ

    โดยมีชื่อเรียก/จัดหมวดหมู่เป็น color space ต่างๆ กันครับ


    เช่น

    CIE1976
    Adobe RGB
    sRGB

    เป็นต้นครับ





    ดูภาพนะครับ Color Space แต่ละแบบจะครอบคลุมแสงที่มนุษย์มองเห็นไม่เท่ากัน มากน้อยก็ว่ากันไปครับ

    Comment


    • #3
      ทีนี้ลองมาแยกกันครับ


      1. จอธรรมดา หรือ Standard Gamut หรือจอที่คน 99% บนโลกนี้ใช้ ไม่ว่าจะ

      จอ IPS AOC LG Dell ที่ขายกันทั่วไปจอละ 5,000 - 15,000 บาท
      จอ TN/*VA/PLS ของ Acer, Samsung, BenQ และอื่นๆ ที่ไม่ได้กล่าวถึง ที่ขายกันราคา 3,000 - 20,0000 บาท
      จอ Retina ทั้งหลายของ Apple
      จอ iMac


      พวกนี้้จะเป็น Standard Gamut กันแทบทั้งสิ้นครับ

      คือ ครอบคลุม ประมาณ 70% +- ของ CIE1976 Color Space ครับ

      และครอบคลุมแค่เกือบๆ 100% ของ sRGB (ในรุ่นแพงๆ นะครับ)




      2. จอ Wide Gamut พวกนี้มีคนใช้น้อยมากบนโลก ไม่รู้จะถึง 1% หรือเปล่านะครับ

      จอ IPS Dell พวกรุ่น PremierColor แพงๆ หน่อยหลัก 20,000+ โดยส่วนมาก
      จอ NEC รุ่นเทพๆ แพงๆ ราคาครึ่งแสน
      จอ EIZO รุ่นเทพๆ แพงๆ ราคาหลายหมื่น หรือ หลายแสน

      อะไรพวกนี้เป็นต้นครับ ที่ระบุว่า Wide Gamut


      พวกนี้จะครอบคลุม ประมาณ 110-120% ของ CIE1976 Color Space ครับ

      หรือครอบคลุมทะลุ sRGB ไปเยอะครับ

      ครอบคลุม Adobe RGB 100%

      Comment


      • #4
        เมื่อแยกจอ Standard Gamut กับ Wide Gamut และเข้าใจ Color Space คร่าวๆ แล้ว มาดูต่อว่ามันต่างกันยังไงครับ


        อย่างง่ายและย่อสุด

        1. จอ Standard Gamut แสดงสีได้ 16,777,216 (ประมาณสิบหกล้าน) สี

        2. จอ Wide Gamut แสดงสีได้ 1,073,000,000 (พันสามสิบเจ็บล้าน) สี

        เท่ากับว่าจอ Wide Gamut แสดงสีได้มากกว่าจอทั่วไป 1,056,000,000 (พันห้าสิบหกล้าน) สี แสดงได้มากกว่ากันเป็นพันล้านสีครับ


        ยังไม่นับว่าจอทั่วไปส่วนมาก ไม่ใช่ 16.7 ล้านสีแท้ๆ ด้วยนะครับ มีการใช้เทคนิคช่วยประหยัดต้นทุนตัว Panel จริงๆ เป็น 6bit หรือ 2 แสนกว่าสี เท่านั้นเองครับ แล้วเอามาผ่านเทคนิคอย่าง dithering และอื่นๆ ช่วยให้เขียน spec ได้ 16 ล้านสีครับ


        อย่างละเอียดขึ้นมาหน่อย





        ลองดูครับ เป็น Profile สีที่วัดเสร็จ ของ จอ 2 แบบครับ อันนี้ผมวัดเอง ถ่ายเองด้วย Colorimeter ของตัวเองนะครับ

        1. Standard Gamut รุ่นค่อนข้างดี Dell U2414H ราคา 8,xxx บาท ซึ่งครอบคลุม 100% ของ sRGB (หลังจาก Calibrate แล้ว)

        2. Wide Gamut บน Dell U2711 ราคาเกือบๆ 30,000 บาท ซึ่งครอบคุลมทะลุ sRGB ไปเยอะมากๆ



        อย่างละเอียดขึ้นอีก

        หลายท่านอาจจะสงสัยว่า Wide Gamut และ Standard Gamut มันแสดงสีได้ต่างกันแค่นั้น แล้วในการใช้งานจริงมันต่างกันแค่ไหน


        อันนี้ตัวเลขทางวิทยาศาสตร์บอกไว้ค่อนข้างชัดเจนครับ 16 ล้านสี กับ 1 พันกว่าล้านสี ต่างกันมากแค่ไหน พันกว่าล้านสี ที่ wide gamut แสดงได้มากกว่าครับ
        Last edited by Prime Time; 13 Jul 2014, 17:39:40.

        Comment


        • #5
          ทีนี้อ่านแค่ตัวเลขอาจจะจินตนาการ ได้ไม่ออกครับ




          ผมบรรยายคร่าวๆ ครับ

          มันสามารถลงไปในแต่ละสีได้ลึกกว่า จัดกว่า แดงได้มากกว่า เขียวได้มากกว่า และน้ำเงินได้มากกว่า รวมแล้ว 3 แม่สีทำให้ สร้างทุกสีได้ลึกกว่า และไล่ skintone ของ มนุษย์ได้ลึกกว่ามากๆ ครับ


          ประมาณว่า เป็นสีที่มีในชีวิต ที่จอคอมทั่วไปแสดงไม่ได้ มันไม่ได้แค่สด แบบจอที่ Oversaturated นะครับ แต่มันแสดงได้เหมือนคนจริงๆ สิ่งของสิ่งนั้นจริงๆ ตั้งอยู่ตรงหน้าคุณเลยครับ

          คือมันบรรยายเป็นคำพูดไม่ได้ ถ้าไม่เคยเห็นด้วยตาจะคิดว่าจอปกติก็แสดงสีได้เหมือนแล้ว จริงๆ แล้ว ไม่ใช่เลยครับ


          การไล่ skintone
          การไล่ เฉดต่างๆ
          สีสันต่างๆ ที่จอทั่วไป ไปไม่ถึง


          ผลออกมารวมกัน มันจะเหมือนของจริงมากๆ ครับ อย่างรูปที่ถ่ายมาจากกล้องดีๆ เนี่ย เปิดเทียบกับจอทั่วไปเหมือนอันนึงเป็นแค่ CG อีกอันเป็นมนุษย์จริงๆ เลยครับ ไม่น่าเชื่อว่าการไล่โทนสีมันมีผลมากๆ จริงๆ ครับ


          เหมือนมนุษย์จริงๆ มายืนตรงหน้ายังไงก็ยังงั้นครับ บอกไม่ถูกครับ (จอต้องผ่านการ Calibrate ก่อนนะครับ โดยเฉพาะจอ wide gamut ผู้เชี่ยวชาญบอกเลยว่าจำเป็นต้อง calibrate เพื่อสร้าง Profile ของจอตัวนั้นๆ ออกมาก่อนครับ)


          หรืออย่างรูปโลหะ อะไรก็แล้วแต่ที่เราดูในจอทั่วไป เราดูแล้วรู้ว่ามันคือภาพ แต่กับ wide gamut ที่ผ่านการ calibrate ตามคำแนะนำแล้ว เอามาเปิดเหล็กดู มันทำให้ชื่อได้จริงๆ ว่าเป็นเหล็กชิ้นนั้นไม่ใช้แค่ภาพเหล็กครับ



          ประมาณนี้เลยสำหรับบุคคลทั่วไป ที่ดูรูปจากกล้องดีๆ หรือภาพที่ถ่ายโดยกล้องดีๆ (โดยมีข้อแม้ว่าคนทำภาพจะต้องไม่ convert รูปเป็น sRGB ไปเสียก่อนนะครับ)





          นอกจากนั้นก็จะมีเรื่องของการเอาไว้ทำงานเฉพาะทาง งานทางการแพทย์บางประเภท, งานออกแบบ, งานสีสันและสิ่งพิมพ์ที่ทำงานคู่กับเครื่องพิมพ์ระดับสูงที่แสดงสีได้สูงเช่นกันครับ ส่วนของงานเฉพาะทางผมจะไม่พูดนะครับ เดี๋ยวจะหาว่าเอามะพร้าวมาขายสวย

          Comment


          • #6
            กลับมาคั่นด้วยเรื่องทางเทคนิคต่อครับ

            จอ Wide Gamut นั้นจะใช้ Backlight (ส่วนนี้อ่านได้ในกระทู้เก่าเกี่ยวกับชนิดของ backlight ของจอ LCD/LED ครับ)

            จะใช้ Backlight ที่แตกต่างกับจอ Standard Gamut ครับ


            Backlight ที่ใช้น้้นจะมี 2 แบบ


            A.แบบแรก Wide Gamut CCFL เป็น CCFL ให้ spectrum ได้ครอบคลุมกว่า CCFL ธรรมดามากๆ ครับ แบบแรกนี้นรกมากๆ ครับ

            ภาพสวย ถูกครับ ให้สีสันได้มหาศาลถูกครับ แต่ข้อเสีย

            1. มันกินไฟเยอะมากๆ ครับ เยอะประมาณตัวจอนั้นเปลืองไฟกว่าตัวคอมพิวเตอร์อีกครับ
            2. มันร้อนมากๆ ครับ ร้อนจริงๆ นะครับ เหมือนตั้งเตารีดเอาไว้ข้างหน้า ตลอดเวลา รับรู้ได้ถึงความร้อนที่แผ่ออกมาได้ตลอดเวลา ถ้าเอามือไปจับด้านหลังนี่จะรู้สึกได้เลยว่าร้อนมากๆ ร้อนกว่าความร้อนที่ตัว computer ปล่อยออกมาเยอะครับ ร้อนกว่าหลายเท่า

            ดังนั้นมันจึงต้องเปิดแอร์เล่นตลอด แอร์จะกินไฟกว่าเดิม เพราะมันแผ่ความร้อน ทำให้แอร์ทำงานหนักขึ้น และตัวมันเองก็กินไฟเยอะอยู่แล้วด้วย รวมๆ แล้วท่านจะต้องจ่ายค่าไฟกันอานเลยทีเดียวครับ



            B. แบบที่สอง GB LED เป็น LED 3 สี เขียว ฟ้า แดง ผสมสีกันออกมาเป็นสีขาวสมบูรณ์ครับ (ส่วนพวก LED บ้านๆ เป็น LED หลอดเดียวสีออกฟ้าๆ แต่เคลือบสารให้แสงที่ผ่านออกมาดูขาวครับ)

            ด้วยความที่แสงขาวของจอแบบนี้ผสมจาก LED 3 สี มาเป็นสีขาว มันจึงปรับได้ด้วยว่าขาวจริงไหม ขาวแค่ไหน โดยไม่ต้องใช้ PANEL ช่วย ทำให้ได้สีขาวที่ดีกว่า LED standard gamut แบบบ้านๆ มากครับ

            สามารถให้ spectrum ได้ครอบคลุมมากกว่า LED บ้านๆ เยอะครับ


            ภาพสวย สีสัน สมจริง เหมือน Wide Gamut CCFL ครับ แต่

            1. กินไฟน้อยกว่า CCFL อันบน
            2. แทบไม่ร้อนเลย

            ดังนั้นมันเป็นแบบที่ดีกว่าครับ

            Comment


            • #7
              กลับมาที่การใช้งานครับ

              จอ wide gamut นั้นไม่ว่าสีสันมันจะสมจริง ขนาดที่ว่าถ้าคุณเปิดรูปดาราที่คุณชอบแบบความละเอียดสูงและไม่ได้ถูกลด color space มันเหมือนจริง เหมือนดาราคนนั้นๆ มายืนอยู่หน้าคุณจริงๆ ครับ ทำให้เชื่อได้จริงๆ ว่าเป็นมนุษย์มากกว่ารูปภาพนั้น

              แต่
              แต่
              แต่

              มันไม่เหมาะกับทุกคนนะครับ


              การที่คุณจะมีจอ wide gamut ในครอบครอง คุณต้องเป็นคน 1 ใน 2 ประเภท

              1. เป็นคนที่มีความเข้าใจเรื่อง color management อย่างดี และมีเครื่องมือ Calibrate ดีๆ ต้องเตรียมเงินเพิ่มจากค่าจอไว้อีกอย่างน้อยๆ ก็เพิ่มไปอีก 7,000 -10,000 บาทจากราคาจอ ครับ

              หรือ

              2. คุณเป็นคนที่มีคนรู้จักมีความเข้าใจเรื่อง color management ที่พร้อมจะสอนคุณปรับจอ และเขาคนนั้นมี Colorimeter รุ่นใหม่ๆ ดีๆ ที่รองรับจอ wide gamut ที่จะทำ profile จอ และ calibrate จอให้คุณ (Profile สำหรับ wide gamut มากๆ นะครับ เพราะมันจะวัดจากบุคลิคของจอตัวนั้นๆ ต่อให้รุ่นเดียวกัน ผลิตพร้อมกันก็ใช้กันไม่ได้ครับ ตัวไหนตัวนั้นต่างกันมากๆ ครับ)

              เพราะ OS และ Software ต่างๆ ในเครื่องจะอ่านค่าจาก Profile ไปใช้งานในการจัดการกับจอ wide gamut ครับ

              ใน Profile จะต้องมีบุคลิคสีของจอตัวนั้นๆ และอื่นๆ อีกเยอะครับ


              ถ้าคุณไม่ใช่ 1 ใน 2 คนจากข้างบน

              คุณจะพบปัญหาจาก จอ Wide Gamut มากมายครับ


              สีผิดปกติ
              สีเพี้ยน
              สีจัด สีจืด สีสารพัด สับสนไปหมดครับ


              ดังนั้นก่อนจะซื้อจอ wide gamut นั้น ผมขอเน้นย้ำ 2 ข้อด้านบนก่อนนะครับ


              1. คุณต้องเป็นคนที่เข้าใจเรื่อง color management สำหรับ wide gamut monitor และมีเครื่องมือครบ

              หรือ

              2. คุณต้องรู้จักกับคนแรกให้เขาทำให้ในครั้งแรก และสอนคุณในบางจุด


              ถ้าคุณไม่ใช่ 1 ใน 2 คนนี้ ขอย้ำอีกที ว่าให้หลีกเลี่ยงทุกกรณีครับ ไปซื้อจอ Standard Gamut ชีวิตจะง่ายขึ้นครับ






              ข้อเสียตามด้านบนครับ





              จบเรื่องจอ Wide Gamut อย่างคร่าวๆ นะครับ

              Comment


              • #8
                มาต่อกันที่ มินิรีวิว จอ U2711 นะครับ MINI เพราะมันหาซื้อไม่ได้แล้ว ตอนนี้เหลือแต่ U2713H มาแทนสำหรับ Wide Gamut ครับ (HM ไม่ใช่ Wide Gamut นะครับ) ตัว U2713 ติดไว้ก่อนเดี๋ยวไม่กี่วันมารีวิวให้ครับ



                ภาพจอตามด้านบนที่หัวกระทู้เลยครับ


                แบบภาพแทนสวยๆ จากเว็บ ลองดูครับ







                http://www.youtube.com/watch?v=1rrrpDDo7Vc

                Comment


                • #9
                  A. งานประกอบเรียกว่าเทพครับ

                  1. ขาตั้งทีเห็นเป็นเหล็ก เป็นเหล็กจริงๆ นะครับ ไม่ใช่ plastic พ่นสีแบบรุ่นถูกๆ เป็นเหล็กตันทั้งแท่ง เคาะแล้วชัดเลยเหล็กทั้งแท่งครับ

                  2. วัสดุที่ใช้เป็นวัสดุอย่างดีทั้งสิ้นครับ จับแล้วรู้เลยว่ามีราคาครับ

                  3. ตั้งไว้เห็นก็รู้ว่าแพงครับ




                  B. พอร์ตเชื่อมต่อโครตของความครบครันครับ ดูตามภาพครับ



                  C. ระบบไฟ indicator สวยงามครับ เป็นไฟสีฟ้าอ่อนๆ จะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีส้มเวลา Standby ครับ และกระพริบช้าๆ ครับ


                  D. ระบบไฟ indicator ของ menu และระบบการควบคุมเทพมากๆ ครับ

                  1. เป็น Capacitive sensing แท้ๆ ครับ แบบเดียวกับใน ipad ครับ ไม่เหมือนปุ่มสัมผัสของจอราคาถูกๆ พวกราคา 9,000 - 10,000 นะครับ

                  1.1 ปุ่มสัมผัสของเจ้าตัวนี้ แค่เอามือผ่านมันรู้ว่ามือเราอยู่แถวนั้นครับ ไฟ indicator จะสว่างขึ้นมา 1 จุดก่อน ไฟนี้ปกติมองไม่เห็นนะครับ ฝังอยู่ในเนื้อจอ พอเอามือเข้าใกล้ๆ จะสว่างขึ้นมาครับ

                  1.2 กดที่แสงนั้น จะมี Menu ขึ้นมา พร้อมแสงอีก 4 จุด รวมเป็น 5 จุดครับ

                  1.3 เป็นปุ่ม touch แบบ ipad แท้ๆ คือ Capacitive sensing แท้ๆ ตรวจจับสนามแม่เหล้กที่เปลี่ยนไปรอบตัวมันครับ ไม่มีคำว่ากดพลาดแบบจอทั่วไปครับ มันกดได้แม่นยำกว่าปุ่มทางกายภาพทั่วไปอีกครับ ไม่มีวันพลาดครับ ผมลองทุกทางแล้ว ไม่มีพลาดเลยครับ ไม่มีไม่ติด ไม่มีเบิ้ล ไม่มีพลาด เหมือนใช้ iPad ยังไงยังงั้นครับ เหมือนปุ่มกายภาพที่สัมผัสได้ครับ ไม่มีวันพลาดแบบนั้นเลยครับ

                  เรียกได้ว่าเป็นระบบควบคุมในอุดมคติ หรือในฝันเลยครับ คือ แม่นยำเท่ากับปุ่มกายภาพ ไม่เคยพลาด ไม่มีพลาด มีไฟเรืองแสงในตัว ว่าปุ่มไหนกดได้ และเมื่อกดไม่ได้หรือไม่ใช้ไฟจะดับไป ถ้าเอามือเข้าใกล้ไฟจะติด

                  ย้ำอีกทีว่า ไม่มีพลาดจริงๆ ครับ กดง่ายมากๆ ด้วย อันนี้บอกไม่ถูกเหมือนกันครับ ลองไปจิ้มปุ่มของ U2713H ตาม shop ดูจะเข้าใจครับ (U2713H เท่านั้นนะครับ HM เป็นปุ่มกายภาพแบบดั้งเดิมครับ)

                  1.4 การจัดเรียง Menu เทพตามแบบ Dell ครับ ไม่รู้ทำไมจอยี่ห้ออื่นๆ ไม่ Copy ไปบ้างครับ

                  Comment


                  • #10
                    E. ภาพ ภาพสวยงามและคมกริบครับ สมกับเป็นจอขนาด 2560 x 1440 ครับ

                    อย่าเอาจอ 1920 x 1080 ขนาด 27" ทั่วไปมาเทียบนะครับ พวกนั้น แค่เหมือนเอาภาพมายืดๆ แตกๆ มัวๆ


                    แต่เจ้านี่ชัดแจ๋วมากๆ ครับ DPI สูงมากๆ ครับ สำหรับจอคอม คมกริบครับ ถ้าใช้สัก 5 นาทีไปใช้จอทั่วไปจะรู้สึกว่าจอทั่วไปมัวทันทีครับ


                    มีพื้นที่ทำงานเหลือเยอะมากๆ ครับ ตามภาพครับ



                    ลองดูครับ หน้าต่าง firefox ใน Photoshop คือ หน้อจอขนาด 1920 x 1080 ครับ ที่เหลือคือพื้นที่ทำงานที่เพิ่มมาครับ



                    แต่ coating ยังเป็นแบบเกรนหยาบ ตามแบบจอ IPS ก่อนยุค AH-IPS ครับ (ตัวใหม่ U2713 เลยเป็น semi-glossy เลยทีเดียวครับ)


                    backlight leak น้อยกว่า จอบ้านๆ และ IPS glow น้อยกว่าจอ IPS บ้านๆ มากครับ แทบไม่มีเลยครับ

                    (IPS Glow ในจอ IPS ระดับราคาทั่วไปหรือระดับล่าง คือเวลาเปิดไฟแล้วเปิดภาพมืดๆ มุมซ้ายล่างจะออกสีขาวๆ ฟ้าๆ มุมขวาล่างจะออกส้มๆ ครับ)


                    มุมมองดีกว่า IPS ถูกๆ ครับ อย่าคิดว่าเป็น IPS แล้วมุมมองจะเท่ากันนะครับ ใน Spec จะเขียนว่า 178 องศาเท่ากัน แต่มีสิ่งที่เขาไม่ได้บอกครับ


                    จอ IPS มี glow เวลามองเยื้องจากมุมบนข้างลงมา หรือมองมุมบนๆ ภาพจะเสีย contrast คือจะมีแสงขาวๆ ส้มๆ บางมาบัง

                    แต่เจ้า H-IPS ราคาแพงตัวนี้แทบไม่มีครับ มุมมองเลยดีกว่า IPS บ้านๆ ครับ

                    Comment


                    • #11
                      F. การกินไฟ อันนี้สุุดๆ ครับ กินไฟมากกว่า Computer ทั้งเครื่องตอนใช้งานไม่หนักอีกครับ กินประมาณ 122 กว่า W แทบตลอดเวลาครับ


                      G. ความร้อน ร้อนแบบเดียวกับเปิดเตารีดวางไว้บนโต๊ะเลยครับ ไอร้อนประเภทเดียวกันแผ่มากระทบมือและหน้าตลอดเวลาครับ ต้องเปิดแอร์ตลอดครับ (สำหรับผมนะครับ ท่านอื่นอาจจะทนได้ แล้วแต่คนครับ)


                      H. อื่นๆ เจ้าตัวนี้มาพร้อม Card Reader ในตัว และ USB hub ในตัวครับ สะดวกมากๆ ครับ เสียบได้เลยครับ รองรับ memory แทบทุกแบบที่มีในท้องตลอดครับ


                      I. การปรับขาตั้งก็ตาม style Dell ครับ สุดยอดน่าจะที่สุดในตลาดครับ





                      โดยรวมเป็นจอที่ดีมากๆ ตัวนึง ตามระดับราคาของมันครับ



                      วันนี้ขอลาไปแต่เพียงเท่านี้ก่อนครับ กับ มินิรีวิว และ บทความ เรื่อง wide gamut ก่อนจะรีวิว Dell U2713H / HM อีกทีครับ

                      Comment


                      • #12
                        ความรู้เพียบ!

                        Comment


                        • #13
                          ความรู้ทั้งนั้น ขอบคุณครับ กำลังจะจัด Dell U2413H อยากรู้ว่านอกจากขนาดแล้วมีอะไรที่แตกต่างกับ Dell U2713H บ้างครับ

                          Comment


                          • #14
                            ขอบคุณท่าน SolomakiN และท่าน search012 ที่แวะเข้ามาเยี่ยมชมเช่นกันครับ


                            U2413 กับ U2713H

                            นอกจากขนาดกับความละเอียดแล้ว แทบไม่มีอะไรต่างกันครับ ต่างแค่ 2 อย่างนี้เท่านั้นครับ

                            Comment


                            • #15
                              ถ้าเทียบราคากับประสิทธืภาพผมว่าคุ้มมากนะ ถ้าคนที่จะเอาไปใช้งานละเอียดๆจริง คอเกมส์กับคอหนังผมว่าถ้าเปลี่ยนได้คงเปลี่ยนมาใช้ตัวนี้แล้ว แต่เรื่องกินไฟนี่สิไม่นึกว่าจะมากขนาดนี้ ถ้าเป็นแบ็คไลท์ GB LED มันก็ยังกินไฟมากหรือครับ

                              Comment

                              Working...
                              X