Announcement

Collapse
No announcement yet.

QPI คืออะไร

Collapse
X
 
  • Filter
  • Time
  • Show
Clear All
new posts

  • #46
    สรุป i7 ใช้สูตรคำนวนใหม่กับชื่อใหม่ QPI แต่ไปๆ มาๆ ต่อ MHz ก็ได้ค่า bandwidth เท่ากันสินะ ตามภาพจาก link ของคุณ LittleWiz



    ค่า HT-link 3.1 ที่จะใช้กับ Bulldozer : 3.2GHz/16bit = 12.8GB/s*2(bi-directional)=25.6GB/s พอดีกันเลย - -"

    จริงๆ ถ้า AMD จะใช้ 32bit ค่ามันก็สูงกว่า QPI ใน i Series ของอินเทล ตั้งแต่ HT3.0 แล้วหล่ะ แต่ดันไม่ใช้

    สรุป Bandwidth ของ Bulldozer ยังไม่ได้สูงกว่า i7 (แต่มีดีที่ใช้มานานและเสถียรมากกว่า..ลื่นกว่า จุดไฟเรียบร้อย)

    Comment


    • #47
      Originally posted by tam02526 View Post
      สรุป i7 ใช้สูตรคำนวนใหม่กับชื่อใหม่ QPI แต่ไปๆ มาๆ ต่อ MHz ก็ได้ค่า bandwidth เท่ากันสินะ ตามภาพจาก link ของคุณ LittleWiz



      ค่า HT-link 3.1 ที่จะใช้กับ Bulldozer : 3.2GHz/16bit = 12.8GB/s*2(bi-directional)=25.6GB/s พอดีกันเลย - -"

      จริงๆ ถ้า AMD จะใช้ 32bit ค่ามันก็สูงกว่า QPI ใน i Series ของอินเทล ตั้งแต่ HT3.0 แล้วหล่ะ แต่ดันไม่ใช้

      สรุป Bandwidth ของ Bulldozer ยังไม่ได้สูงกว่า i7 (แต่มีดีที่ใช้มานานและเสถียรมากกว่า..ลื่นกว่า จุดไฟเรียบร้อย)
      การตลาดไงคะการตลาดเราว่าที่ AMD ไม่ใช้ 32 bit ตอนนี้ก็เพราะว่า เรายังไม่ได้มีความจำเป็นอะไรที่จะต้องใช้ Bandwidth กว้างขนาดนั้น ถ้าอยากได้ Bandwidth เยอะๆ ก็ ยัดเพิ่มเข้าไป อีก ซัก Link 2 Linkเพราะว่าถ้าจำไม่ผิด Phenom เองก็ใช้ 1 Lik HT3.0 2.0GHz@16 bit link width ใน bulldozer เราคิดว่าคงมี HT3.1 3 x 16bit link width แบบ Opteron เหมือน ตัว Opteron 6000 series ไงคะ แถมยังมี HT Assit Techlonogy ที่ช่วยจัดการการรับส่งข้อมูลผ่าน HyperTransport ให้มีประสิทธิภาพขึ้น เพราะตัว Bulldozer นี้ก็ออกมาเพื่อ Server และ Workstation เหมือนกับ Opteron อยู่แล้ว แถมถ้าใช้ 32 Bit Link ก็ทำให้ต้นทุนสูงขึ้น เพราะถ้าหากยัดเข้าไปซะหรูหราฟู่ฟ่า ต้นทุนก็สูง ราคา CPU ก็สูงตาม ผิด Concept AMD - Smarter Choice "ถูก และ ดี" (อันนี้อวยเข้า AMD นิดส์นึง อย่าว่าเรานะคะ เราเป็น Fanboy AMD)


      ************************ เพิ่มเติมนิดนึง Bulldozer เป็น SMT CPU นะคะ คล้ายๆ Hyper Threading ของ intel แต่วิธีการคนละแบบ ค่ะ ขณะที่ Intel พยายามหาทางแก้ HyperTransport ทาง AMD ก็ไม่ได้นิ่งดูดาย พัฒนา SMT ให้สู้กับ Intel ได้ และ ตัว Bulldozer ก็ยังเป็น 32nm. high-K ด้วย ได้ประโยชน์จาก Cross Lisence Agreement intel แน่เลย คริคริ แต่สุดท้าย.....ผลประโยชน์ก็ตกอยู่ที่ ผู้บริโภคอยู่ดี.... ก็ต้องเลือก และตัดสินใจว่าจะใช้เทคโนโลยีใด ให้เกิดประโยชน์/คุ้มค่าที่สุด.....แต่เรา ขอ AMD ค่า...


      ปล... AMD ไม่ร้อนแล้วนะคะ เอิ๊กๆ แอบแซว บอกเพื่อนใช้ AMD ทีไร เพื่อนบอก AMD ร้อนทุกที....... ชั้นใช้ Athlon x2 5600+ ย่ะไม่ใช่ นกย่างสายฟ้า.....
      Last edited by LittleWiz; 29 Jul 2010, 02:45:11.

      Comment


      • #48
        ความรู้ๆ

        Comment


        • #49
          Originally posted by m shifu View Post
          ผมอ่าน #28 แล้ว ก็เข้าใจถูกต้องนะครับ
          เพียงแต่ intel เค้าชอบตั้งศัพท์ใหม่ๆ คนทั่วไปจะได้นึกว่าเป็นของใหม่ ทั้งๆที่มันเป็นของเก่า
          อย่าง ICH10 ที่เดิมเราเรียกว่า Southbridge ก็เปลี่ยนชื่อเรียกเป็น I/O Controller Hub
          ดังนั้น จะเรียก X58 ว่า NB ก็ได้ถ้าความเข้าใจเราถูกต้องนะ

          ผมว่าถ้าเราสนใจเรื่องไหนพิเศษ เราก็จะเก่งเรื่องนั้นครับ
          เพียงแต่ว่า ถ้าเราไม่ได้เรียนพื้นฐานด้านนั้นมา ความรู้ความเข้าใจมันไม่แน่น และไปต่อลำบาก
          ผมรู้จักช่างคอมหลายคนที่ไม่ได้เรียนมาทางนี้ แต่ประสบการณ์กว่ายี่สิบปี ทำให้เค้าเก่ง
          แต่ถ้าถามเหตุผล เค้าจะตอบไม่ได้ ตอบได้ก็ผิด เพราะขาดพื้นฐาน

          แต่เนื้อหาการเรียนตามหลักสูตร ผมว่ามันก็ไม่ดีเท่าไหร่ บอกตรงๆว่า ไม่ชอบเลย
          เคยคุยกับ นศ.วิศวะ หลายคน ถามอะไรก็ตอบไม่ได้ ตอบได้ก็ผิด

          ตอนผมเรียน เค้าสอน assembly ตอนปีสุดท้าย แต่ผมเขียนเป็นตั้งแต่ตอนอยู่ปี 2
          ตอนเรียน ป.ตรี ผมอ่าน nuclear physics (หนังสือเรียนของ ป.โท วิทยาศาสตร์)
          เพื่อทำความเข้าใจเรื่อง crystal defects ซึ่งต้องรู้ ถ้าเราจะผลิตไอซีให้ได้ yield สูง
          พูดง่ายๆคือ ผมศึกษาเรื่องที่ไม่ได้อยู่ในหลักสูตรการเรียนโดยไม่มีครูสอนมาตั้งแต่เด็ก

          ที่เห็นต้องเรียนในตำราจากครู คงเป็นวิชา calculus อ่านเองคงไม่ไปไหน
          ถ้าจะเข้าใจเรื่องไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ อย่างหมดเปลือก ก็ขาดเรื่องนี้ไม่ได้ครับ
          คนที่เรียนทางสายศิลป์จะลำบากตรงนี้แหละ

          น้องสาวผมก็เรียนสายศิลป์มาตั้งแต่มัธยมต้น จนจบนิเทศน์
          เค้าเคยทำงานกับบริษัทใหญ่อันดับโลก โดยมีลูกน้องที่จบ ป.โท วิศวะ 4 คน คอยช่วยเหลือ
          อนาคต คุณ LittleWiz ก็อาจเหมือนน้องสาวผม มีลูกน้องที่จบ ป.โท วิศวะ 4 คน
          ไม่ได้เรียนวิศวะ แต่มีลูกน้องเป็นวิศวกร ก็น่ารักไปอีกแบบครับ
          นานๆเจอคนแบบคุณนี่รู้สึกดีนะครับ
          ผมเองก็ชอบศึกษาค้นคว้าเองเป็นอย่างมาก ผมเริ่มเล่นอิเล็กทรอนิกส์ตั้งแต่ ม.3 ( 13 ปีผ่านมาละ )
          โดยที่ไม่มีใครสอนเลยแม่แต่น้อย อ่านหนังสือเก่าๆของพ่อ ( ปี 2527 ) แรกๆก็อ่านไม่รู้เรื่องครับ

          แต่ด้วยความสนใจ ก็อ่านซ้ำๆเล่มนึง 20-30 รอบ หรืออาจมากกว่านั้น จากไม่รู้จนเข้าใจ
          แล้วก็เริ่มทดลองเอง ปฏิบัติ ออกแบบวงจรเอง คำนวณเอง ในระดับการประยุกต์ใช้
          ค้นคว้าเองอย่างต่อเนื่อง มาตลอด 5 ปี แบบว่า ในขณะที่เพื่อนชอบไปนู้นไปนี่ ผมก็เข้าห้องสมุด
          อ่านหนังสือแทบทุกเล่มที่เกี่ยวกับอิเล็กทรอนิกส์ รวมไปถึงวิทยาศาสตร์อื่นๆ

          ก่อนเข้าเรียนมหาลัยทางวิทย์-คอมจริงๆอยากเข้าอิเล็กลาดกระบัง
          แต่ขาดไป 10คะแนน ฮ่าๆ อดซะ พอเข้ามาเรียนรู้เรื่องคอมพิวเตอร์
          มันเลยเห็นโครงสร้างพื้นฐานทั้งหมดของคอมพิวเตอร์เลย แล้วก็ยังมองว่า
          คอมมันแค่ พาทหนึ่งของอิเล็กทรอนิกส์แค่นั้นแถมยังมีความรู้เรื่องอุปกรณ์
          อิเล็กทรอนิกส์แทบทุกชนิดจริงๆ ไม่ว่าจะเป็นหลักการทำงาน โครงสร้างของอุปกรณ์ชนิดต่างๆ
          ในระดับสารกึ่งตัวนำ ค่าความไม่สเถียรภายใน เทรดโฮล เรื่องต่างๆนาๆ
          ขนาดเรื่องการระบายความร้อน ปัญหาหลักของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ก็ยังศึกษา
          จนอดคิดไม่ได้ว่า เพียงไม่กี่สิบปี เทคโนโลยีมันจะโตเร็วได้ขนาดนี้ เป็นแบบก้าวกระโดดจนน่ากลัว
          ทุกวันนี้ความรู้เกหล่านั้นมันก็ยังอยู่ในหัวตลอด เห็นเครื่องใช้ไฟฟ้า หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
          ก็สามารถบอกโครงสร้างการทำงานพื้นฐานได้ไม่ยาก แต่เดี๋ยวนี้ ทุกสิ่งอย่าง ถูกจับยัดลงชิปหมดละ
          ทำให้คนที่เพิ่งเริ่มรู้จักอิเล็กทรอนิกส์ สามารถทำความเข้าใจการทำงานของวงจรได้ยาก
          รู้แต่เพียงว่า ไอซีเบอร์นั้นของค่ายนั้นค่ายนี้ทำอะไรได้

          ทุกวันนี้ก็ยังพอเห็นคนตอบคำถามเชิงโครงสร้างไม่มากนัก เพราะเด็กรุ่นใหม่ ( รุ่นเก่า บางคน )
          มาถึงก็เข้ามาที่คอมพิวเตอร์เลย ไม่ได้ผ่านการเรียนรู้เรื่องพื้นฐานมาก่อน
          ใช้อย่างเดียว ดังนั้นเวลามีคำถามขึ้นมา ก็ไม่แปลกที่จะต้องถาม เพราะไม่เคยผ่านยุค
          การค้นหาข้อมูลโดยไม่มีคอมพิวเตอร์มาก่อน สมัยก่อนนี่เข้าห้องสมุดกว่าจะได้ข้อมูล
          เปิดหนังสือไม่รู้กี่เล่ม เดี๋ยวนี้มี google บางคนยังไม่คิดอยากจะใช้เลย ทั้งๆที่ internet
          อยู่แค่ปลายนิ้ว ... ถ้าค้นแล้วไม่เจอ แล้วมาถามอันนี้ไม่ผิด
          แค่การที่เราคิด key word ในการหาข้อมูล ก็เป็นการฝึกสมองแล้วครับ

          แต่ก็อย่าไปยึดติดกับเทคโลโลยีมาก เพราะมันเปลี่ยนแปลงได้ตลอด
          ตราบเท่าที่มนุษย์ยังสามารถจินตนาการได้ครับ สักวันจะต้องมี
          รูปแบบสถาปัตยกรรมแบบใหม่ออกมาแน่นอน

          สุดท้ายที่อยากฝาก ไม่ว่าใครจะรู้มากรู้น้อย ประสบความสำเร็จมากมายแค่ไหนก็ตาม
          แต่ถึงปลายทางของชีวิต มันวัดกันที่ความ บริบูรณ์ในการเป็นมนุษย์
          วิทยาศาสตร์ + ธรรมะ ไปด้วยกันได้

          Comment


          • #50
            O.O นานแล้วนะเนี่ย

            Comment


            • #51
              มึน

              Comment


              • #52
                ก็ไม่นานนี่ครับ เพราะยังไง มันยังอยู่ในช่วงเทคโนโลยี
                จะขุดขึ้นมาให้คนอื่นอ่านก็ไม่เป็นไร เพราะคนที่ยังไม่เคยอ่านยังมีอีกเยอะ
                ดีกว่าขุดกระทู้ซ้ำซากขึ้นมานะครับ

                Comment


                • #53
                  Originally posted by zicmaxx View Post
                  ก็ไม่นานนี่ครับ เพราะยังไง มันยังอยู่ในช่วงเทคโนโลยี
                  จะขุดขึ้นมาให้คนอื่นอ่านก็ไม่เป็นไร เพราะคนที่ยังไม่เคยอ่านยังมีอีกเยอะ
                  ดีกว่าขุดกระทู้ซ้ำซากขึ้นมานะครับ
                  อือๆ นึกว่าจะไม่มีประโยชน์แล้วซะอีก

                  Comment


                  • #54
                    ต้องมาแยกกันก่อนไหมครับว่า X58 กับ P55 มันต่างกัน

                    Comment


                    • #55
                      Originally posted by touchz View Post
                      ต้องมาแยกกันก่อนไหมครับว่า X58 กับ P55 มันต่างกัน
                      มันไม่เหมือนกันหรอคับ

                      Comment


                      • #56
                        Originally posted by touchz View Post
                        ต้องมาแยกกันก่อนไหมครับว่า X58 กับ P55 มันต่างกัน
                        คนละ platform ต่างกันเยอะมากนะ
                        เช่น X58 มีขา QPI แต่ P55 ไม่มีขา QPI เลยแม้แต่ขาเดียว (จะต่อกับ i7-920 ยังไง?)

                        ถ้าต้องการเข้าใจการทำงานของ chipset (X58 P55 P45 P35 945 ... ) ควรศึกษาระบบของ cpu 8080
                        เพราะ ใน chipset ที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ประกอบไปด้วย ic support ของ 8080 (ยุค 8 บิท)
                        เช่น 8237 Programmable DMA Controller ,8259 Programmable interrupt controller
                        นอกจากนี้ ถ้าเราศึกษาตั้งแต่ 8080 ก็จะพบว่า i7 i5 i3 pentium celeron ฯลฯ ก็มีวงจรของ 8080 อยู่ภายในครบ

                        การพัฒนาที่ผ่านมา เป็นการต่อยอด ไม่ได้เอาของเก่าออกนะ
                        i7 i5 i3 pentium celeron ฯลฯ ยังสามารถใช้ชุดคำสั่งขนาด 8 บิท ของ 8080 ได้
                        แน่นอนว่า ใช้ชุดคำสั่ง 16 บิท ของ 8086 ได้เช่นกัน

                        chipset ที่เราใช้ในปัจจุบัน ก็เป็นการเอาวงจรสมัย 8 บิท มาปรับปรุง แล้วยัดใส่ลงใน die อันเดียวกัน
                        คำว่า chipset หมายถึง chip support หลายๆตัว เช่น 8237 8259 เอามารวมกันเป็น set บน die อันเดียวกัน

                        ถ้าเป็นพวก microcontroller จะมีการเอา cpu รวมลงไปบน die เดียวกับ chipset พวกนี้ด้วย เช่น 8048 (สามสิบปีได้แล้ว)
                        i3 p6000 ก็รวม die cpu ลงไปบน package เดียวกับ die chipset (บางส่วน)
                        อนาคต cpu คงเห็น gpu chipset รวมกับ บน die เดียวกันนะ
                        Last edited by m shifu; 1 Aug 2010, 21:11:42.

                        Comment


                        • #57
                          ผมว่าคำตอบของท่าน golfkungja อ่านแล้วเข้าใจง่ายดี มีการใส่คำตอบที่จขกท.ต้องการด้วย
                          ส่วนคำตอบของท่าน m shifu วิชาการมากๆ ผมอ่านแล้วงง คนอ่านเข้าใจไปประยุกต์ได้ต้องเทพมากๆ

                          Comment


                          • #58
                            ไม่มีความต่างระหว่างQPI6400และQPI8000ครับ

                            Comment


                            • #59
                              Originally posted by zicmaxx View Post
                              นานๆเจอคนแบบคุณนี่รู้สึกดีนะครับ
                              ผมเองก็ชอบศึกษาค้นคว้าเองเป็นอย่างมาก ผมเริ่มเล่นอิเล็กทรอนิกส์ตั้งแต่ ม.3 ( 13 ปีผ่านมาละ )
                              โดยที่ไม่มีใครสอนเลยแม่แต่น้อย อ่านหนังสือเก่าๆของพ่อ ( ปี 2527 ) แรกๆก็อ่านไม่รู้เรื่องครับ

                              แต่ด้วยความสนใจ ก็อ่านซ้ำๆเล่มนึง 20-30 รอบ หรืออาจมากกว่านั้น จากไม่รู้จนเข้าใจ
                              แล้วก็เริ่มทดลองเอง ปฏิบัติ ออกแบบวงจรเอง คำนวณเอง ในระดับการประยุกต์ใช้
                              ค้นคว้าเองอย่างต่อเนื่อง มาตลอด 5 ปี แบบว่า ในขณะที่เพื่อนชอบไปนู้นไปนี่ ผมก็เข้าห้องสมุด
                              อ่านหนังสือแทบทุกเล่มที่เกี่ยวกับอิเล็กทรอนิกส์ รวมไปถึงวิทยาศาสตร์อื่นๆ

                              ก่อนเข้าเรียนมหาลัยทางวิทย์-คอมจริงๆอยากเข้าอิเล็กลาดกระบัง
                              แต่ขาดไป 10คะแนน ฮ่าๆ อดซะ พอเข้ามาเรียนรู้เรื่องคอมพิวเตอร์
                              มันเลยเห็นโครงสร้างพื้นฐานทั้งหมดของคอมพิวเตอร์เลย แล้วก็ยังมองว่า
                              คอมมันแค่ พาทหนึ่งของอิเล็กทรอนิกส์แค่นั้นแถมยังมีความรู้เรื่องอุปกรณ์
                              อิเล็กทรอนิกส์แทบทุกชนิดจริงๆ ไม่ว่าจะเป็นหลักการทำงาน โครงสร้างของอุปกรณ์ชนิดต่างๆ
                              ในระดับสารกึ่งตัวนำ ค่าความไม่สเถียรภายใน เทรดโฮล เรื่องต่างๆนาๆ
                              ขนาดเรื่องการระบายความร้อน ปัญหาหลักของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ก็ยังศึกษา
                              จนอดคิดไม่ได้ว่า เพียงไม่กี่สิบปี เทคโนโลยีมันจะโตเร็วได้ขนาดนี้ เป็นแบบก้าวกระโดดจนน่ากลัว
                              ทุกวันนี้ความรู้เกหล่านั้นมันก็ยังอยู่ในหัวตลอด เห็นเครื่องใช้ไฟฟ้า หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
                              ก็สามารถบอกโครงสร้างการทำงานพื้นฐานได้ไม่ยาก แต่เดี๋ยวนี้ ทุกสิ่งอย่าง ถูกจับยัดลงชิปหมดละ
                              ทำให้คนที่เพิ่งเริ่มรู้จักอิเล็กทรอนิกส์ สามารถทำความเข้าใจการทำงานของวงจรได้ยาก
                              รู้แต่เพียงว่า ไอซีเบอร์นั้นของค่ายนั้นค่ายนี้ทำอะไรได้

                              ทุกวันนี้ก็ยังพอเห็นคนตอบคำถามเชิงโครงสร้างไม่มากนัก เพราะเด็กรุ่นใหม่ ( รุ่นเก่า บางคน )
                              มาถึงก็เข้ามาที่คอมพิวเตอร์เลย ไม่ได้ผ่านการเรียนรู้เรื่องพื้นฐานมาก่อน
                              ใช้อย่างเดียว ดังนั้นเวลามีคำถามขึ้นมา ก็ไม่แปลกที่จะต้องถาม เพราะไม่เคยผ่านยุค
                              การค้นหาข้อมูลโดยไม่มีคอมพิวเตอร์มาก่อน สมัยก่อนนี่เข้าห้องสมุดกว่าจะได้ข้อมูล
                              เปิดหนังสือไม่รู้กี่เล่ม เดี๋ยวนี้มี google บางคนยังไม่คิดอยากจะใช้เลย ทั้งๆที่ internet
                              อยู่แค่ปลายนิ้ว ... ถ้าค้นแล้วไม่เจอ แล้วมาถามอันนี้ไม่ผิด
                              แค่การที่เราคิด key word ในการหาข้อมูล ก็เป็นการฝึกสมองแล้วครับ

                              แต่ก็อย่าไปยึดติดกับเทคโลโลยีมาก เพราะมันเปลี่ยนแปลงได้ตลอด
                              ตราบเท่าที่มนุษย์ยังสามารถจินตนาการได้ครับ สักวันจะต้องมี
                              รูปแบบสถาปัตยกรรมแบบใหม่ออกมาแน่นอน

                              สุดท้ายที่อยากฝาก ไม่ว่าใครจะรู้มากรู้น้อย ประสบความสำเร็จมากมายแค่ไหนก็ตาม
                              แต่ถึงปลายทางของชีวิต มันวัดกันที่ความ บริบูรณ์ในการเป็นมนุษย์
                              วิทยาศาสตร์ + ธรรมะ ไปด้วยกันได้
                              อาเมน

                              Comment


                              • #60
                                คาระวะทุกท่านคนละจอกที่นำความรู้มาแบ่งปันครับผม

                                Comment

                                Working...
                                X