Announcement

Collapse
No announcement yet.

อยากรู้ว่าทำไม Intel ยุค Core 2 ถึงมีอายุตลาดสั้น ทั้งที่ขายดีถล่มทลาย

Collapse
X
 
  • Filter
  • Time
  • Show
Clear All
new posts

  • อยากรู้ว่าทำไม Intel ยุค Core 2 ถึงมีอายุตลาดสั้น ทั้งที่ขายดีถล่มทลาย

    ยุค Intel NetBurst (Pentium 4) ทำตลาด 6 ปี 2000 - 2006
    ยุค Core i 2008 - 2020 ก็ 12 ปีแล้ว

    แต่ทำไมยุค Core 2 ทำตลาดแค่ 2 ปี คือ Conroe (65 nm) 2006-2007 กับ Penryn (45 nm) 2007-2008
    ทั้่งที่ขายดิบขายดีถล่มทลาย ใครๆ ต่างเรียกหาแต่ Core 2 Duo กับ Core 2 Quad
    เล่นเกมส์ก็โหด ทำงานก็ไว บอร์ดก็หาง่าย (Socket 775) ไม่กินไฟ เย็น OC ไกล ทำได้ง่าย คู่แข่งตอนนั้นก็ยังวนๆ กับ 90nm กับ 65nm

    แต่พอปี 2008 ก็ไม่ทำต่อ เปลี่ยนมาทำ Core i เฉยเลย
    เปิดตัวอย่างแรงด้วย Core 2 Duo 1.87 Ghz ตบ Athlon64x2 2.6 Ghz อย่างง่ายดาย
    Core 2 Quad Q6600 ตัวต่ำสุดของ Intel เทียบเท่า Phenomx4 9950 BE ตัวท็อปสุดของ AMD ยิ่งเอามา OC ยิ่งทิ้งห่ า ง เป็นทุ่ง
    แต่บทจะเลิกขายก็เลิกอย่างไวภายใน 2 ปี

    Core 2 มีข้อดีเต็มไปหมด เป็นยุครุ่งเรืองของ Intel ทั้งด้านประสิทธิภาพ ภาพลักษณ์องค์กร และผลประกอบการของบริษัท
    ทำไมตอนนั้น Intel ไม่ เอา Core microarchitecture มาพัฒนาต่อยอด แต่กลับเลือกเปลี่ยนเป็น Nehalem microarchitecture ทั้งที่ Core 2 เพิ่งทำตลาดได้ 2 ปี ?



    Last edited by หนูโด้ 1; 15 Jan 2020, 06:03:21.

  • #2
    มันก็แค่ชื่ออะครับ

    เปลี่ยน Core I ก็เพื่อ ลดความสับสน i3 i5 i7 i9 ตอน Core 2 Quad มันมั่วไปหมดแล้ว 6xxx 8xxx 9xxx

    Comment


    • #3
      Originally posted by Amethystx View Post
      มันก็แค่ชื่ออะครับ

      เปลี่ยน Core I ก็เพื่อ ลดความสับสน i3 i5 i7 i9 ตอน Core 2 Quad มันมั่วไปหมดแล้ว 6xxx 8xxx 9xxx
      ไม่ใช่แค่เปลี่ยนชื่อครับ เปลียนสถาปัตยกรรมภายในใหม่หมด

      Core 2
      core2extreme_quad_die.jpg

      Core i Gen 1
      1.jpg

      Comment


      • #4
        Core 2 มีข้อดีเต็มไปหมด เป็นยุครุ่งเรืองของ Intel ทั้งด้านประสิทธิภาพ ภาพลักษณ์องค์กร และผลประกอบการของบริษัท
        ทำไมตอนนั้น Intel ไม่ เอา Core microarchitecture มาพัฒนาต่อยอด แต่กลับเลือกเปลี่ยนเป็น Nehalem microarchitecture ทั้งที่ Core 2 เพิ่งทำตลาดได้ 2 ปี ?
        ดีถึงขนาดที่ว่า ถ้ามันใส่ HT มาให้ด้วยนะ ตบไอ้ซีพียูรุ่นใหม่ที่เป็น 8 Core เทียม (ในยุคถัดมา) ของบางค่ายได้เลยในด้านทำงาน เพราะในด้านเกมก็แรงกว่าอยู่แล้ว
        IPC ของ Core 2 นี่แรงมาก ๆ จากที่เคยใช้มา และผลทดสอบตามเว็บต่าง ๆ ขนาดไม่มี AVX ยังหวด CB R20 ไปได้ถึงเกือบพันคะแนนเลย (@ 4.3GHz)

        ส่วนตัวคิดว่าที่เขาเปลี่ยนสถาปัตยกรรม เพราะข้อจำกัดในการรับส่งข้อมูลของมันนี่แหละครับ เลยรวม Northbridge เข้าไปที่ตัวของซีพียูเลยในสถาปัตยกรรม Nehalem

        Comment


        • #5
          ตอนนั้นเป็นช่วงที่ intel กำลัง รีแบรนด์ครับ ตอนแรกลงตลาดด้วยชื่อ pentium dual core แต่ด้วยชื่อ pentium มันเห่ยไปแล้วจากการแพ้ athlon แบบหลุดหลุ่ย ทาง intel ก็พยายามหาชื่อใหม่ นั่นคือ core 2 duo แล้วก็มาลงเอยชื่อใหม่อีกรอบคือ core i ตอนตระกูล nehalem

          ตระกูลใหม่ๆก็ต่อยอดมาจาก core 2 นั้นล่ะครับ key ที่แท้จริงคือ wide dynamic execution ที่ประมวลผลได้ 4 ชุดคำสั่งต่อรอบสัญญาณนาฬิกา ขณะที่รุ่นเก่าๆทำได้แค่ 3 <<< ซึ่งจุดนี้ล่ะที่ amd ติดแงก แถมยังถอยหลังในยุค FX(ทำได้2มั่งเท่าที่จำได้) ซึ่งพอมาสู่ยุค ryzen ถึงทำได้ 4รอบเท่ากัน เลยทำให้ IPC ของ amd ขึ้นมาสูสีกับ intel ในปัจจุบัน

          แต่ ... intel อ้างว่าพวกเขาทำได้มากกว่า 4 แล้ว

          Comment


          • #6
            Core 2 Duo และ Core 2 Quad ทั้ง 65nm และ 45nm ใช้ LGA 775
            และชิพเซ็ต P965 X975 เป็นชิพเซ็ต Northbridge ภายนอก CPU ทำหน้าที่
            เป็น Memory Controller และ I/O Controller

            มาถึงยุค Core I Nehalem มีการใช้งาน L3 cache และผนวกเอา
            Memory Controller รวมทั้ง I/O Controller ในตัว CPU ครับ เปลี่ยน
            Socket เป็น LGA 1366 ถือว่าเป็นยุคที่ Intel ทิ้ง AMD อย่างเหนือชั้นครับ


            ปัจจุบัน CPU Intel กำลังพัฒนาไปไกลมากๆ จากยุคที่เราใช้งานอยู่ขณะนี้
            บรรยายทั้งหมดคงไม่ไหว ลองศึกษาข้อมูลจาก WIKICHIP เอาครับ
            เริ่มจากยุค Skylake Microarchitect ในปี 2013 กันเลยดีกว่าครับ
            https://en.wikichip.org/wiki/intel/m...ylake_(client)
            Last edited by Comlow; 9 Jan 2020, 07:37:16.

            Comment


            • #7
              775 อายุไม่สั้นนะ จนป่านนี้ก็ยังมีคนใช้อยู่อีกเยอะดูในคลับ 775 ได้ ผมก็ใช้ 775 ตั้งแต่ E6750 และ Q9550 มาสักสิบปีได้มั้ง แล้วจึงเปลี่ยนมาใช้ เจน4 1150 i5 4670k

              Comment


              • #8
                ก็ยังใช้อยู่นะ ฟังเพลง เล่นเกม(พอไหวแรงกว่า APU นิดหน่อย) เปิดNOX (สู้ APU ไม่ได้แบบขาดรอย แต่ก็เล่นได้)
                q9550 3.3.jpg

                Comment


                • #9
                  Originally posted by Comlow View Post
                  Core 2 Duo และ Core 2 Quad ทั้ง 65nm และ 45nm ใช้ LGA 775
                  และชิพเซ็ต P965 X975 เป็นชิพเซ็ต Northbridge ภายนอก CPU ทำหน้าที่
                  เป็น Memory Controller และ I/O Controller

                  มาถึงยุค Core I Nehalem มีการใช้งาน L3 cache และผนวกเอา
                  Memory Controller รวมทั้ง I/O Controller ในตัว CPU ครับ เปลี่ยน
                  Socket เป็น LGA 1366 ถือว่าเป็นยุคที่ Intel ทิ้ง AMD อย่างเหนือชั้นครับ


                  ปัจจุบัน CPU Intel กำลังพัฒนาไปไกลมากๆ จากยุคที่เราใช้งานอยู่ขณะนี้
                  บรรยายทั้งหมดคงไม่ไหว ลองศึกษาข้อมูลจาก WIKICHIP เอาครับ
                  เริ่มจากยุค Skylake Microarchitect ในปี 2013 กันเลยดีกว่าครับ
                  https://en.wikichip.org/wiki/intel/m...ylake_(client)
                  ตอนนั้นไม่สนใจเลยว่า amd เป็นไง เคยใช้แต่อินเทล ก็ซื้อ q8200 มาใช้แทน p4 3.0 แค่นั้น หลังจากนั้นก็ไม่ได้สนใจ

                  พึ่งมาสนใจอีกทีก็ตอนเจน 7 กับไรเซน รุ่นแรก
                  Last edited by ToehNarak; 9 Jan 2020, 10:27:21.

                  Comment


                  • #10
                    ผู้ถือหุ้น AMD มากระตุ้นยอดขายแหระ

                    Comment


                    • #11


                      ด้าน Hardware และสถาปัตยกรรม Intel ไปไกลมากถึงยุค 2 x LOAD 512-bit (64Byte) และ 2 x STORE (64BYTE) แล้วใน Icelake CPU


                      ส่วน AMD RYZEN 3000 ยังอยู่ในยุค 2 x LOAD 256-bit (32Byte) และ 1 x STORE (32Byte) ใน Ryzen 3000/4000 Series


                      ลองพิจารณาแค่นี้ก็ชัดเจนครับว่า ใครล้าหลังกว่าใคร และควรเสียเงินเลือกใช้สินค้าค่ายไหน
                      Last edited by Comlow; 9 Jan 2020, 16:27:10.

                      Comment


                      • #12
                        Originally posted by isoon View Post
                        ก็ยังใช้อยู่นะ ฟังเพลง เล่นเกม(พอไหวแรงกว่า APU นิดหน่อย) เปิดNOX (สู้ APU ไม่ได้แบบขาดรอย แต่ก็เล่นได้)
                        [ATTACH=CONFIG]4480255[/ATTACH]
                        ไม่นิดแล้วนะผมว่า เพราะ Q9550 นี่ 4C/4T แท้ ๆ ส่วน APU ตัว Top ยังแค่ 2C/4T

                        ถ้า 2/4 แล้ว IPC เท่า i3-3220 ยังพอฟัดกับ Q9550 ได้ แต่ APU นี่ IPC ต่ำมาก

                        Comment


                        • #13
                          Originally posted by Comlow View Post


                          ด้าน Hardware และสถาปัตยกรรม Intel ไปไกลมากถึงยุค 2 x LOAD 512-bit (64Byte) และ 2 x STORE (64BYTE) แล้วใน Icelake CPU


                          ส่วน AMD RYZEN 3000 ยังอยู่ในยุค 2 x LOAD 256-bit (32Byte) และ 1 x STORE (32Byte) ใน Ryzen 3000/4000 Series


                          ลองพิจารณาแค่นี้ก็ชัดเจนครับว่า ใครล้าหลังกว่าใคร และควรเสียเงินเลือกใช้สินค้าค่ายไหน

                          โอ้ว ขอบคุณครับ ล้ำไปไกลมาก Intel มาแน่ ว่าแต่รูปดังกล่าวคือ Ice Lake ของ PC ที่ยังไม่ออก หรือ Ice Lake Mobile ครับ

                          สำหรับผม ระยะเวลาที่ Intel เพลี่ยงพล้ำมักจะไม่นาน แล้วพอกลับมาเอาคืนจะเป็นการเอาคืนแบบทบต้นทบดอกหมดจดแล้วจะยืนหนึ่งไปอีกนับ 10 ปี ผมคาดหวังความห่ า งชั้นเหมือนตอน Core 2 Duo ออกมาปราบตระกูล Athlon64x2 นะครับ ขอให้แรงทิ้งห่ า งกันสุดกู่แบบนั้นเลย
                          Last edited by หนูโด้ 1; 10 Jan 2020, 03:41:42.

                          Comment


                          • #14
                            Originally posted by Comlow View Post


                            ด้าน Hardware และสถาปัตยกรรม Intel ไปไกลมากถึงยุค 2 x LOAD 512-bit (64Byte) และ 2 x STORE (64BYTE) แล้วใน Icelake CPU


                            ส่วน AMD RYZEN 3000 ยังอยู่ในยุค 2 x LOAD 256-bit (32Byte) และ 1 x STORE (32Byte) ใน Ryzen 3000/4000 Series


                            ลองพิจารณาแค่นี้ก็ชัดเจนครับว่า ใครล้าหลังกว่าใคร และควรเสียเงินเลือกใช้สินค้าค่ายไหน
                            ท่าน Comlow พอจะอธิบายสถาปัตยกรรมฝั่ง Mobile ระหว่าง WhiskyLake กับ Zen Core ได้ไหมครับ ว่าทำไม i3-8145U (2C/4T) ถึงเทียบเท่า Ryzen 5 3500U (4C/8T) กับ Ryzen 7 3700U (4C/8T) ได้

                            แอบสงสัยมานานละ ทุกวันนี้มีแต่ผลเทสต์ไปแย้งเวลาโดนบลัฟใส่ แต่ไม่มีข้อมูลเรื่องสถาปัตยกรรมเลย

                            Comment


                            • #15
                              ท่าน Comlow พอจะอธิบายสถาปัตยกรรมฝั่ง Mobile ระหว่าง WhiskyLake กับ Zen Core ได้ไหมครับ ว่าทำไม i3-8145U (2C/4T) ถึงเทียบเท่า Ryzen 5 3500U (4C/8T) กับ Ryzen 7 3700U (4C/8T) ได้

                              แอบสงสัยมานานละ ทุกวันนี้มีแต่ผลเทสต์ไปแย้งเวลาโดนบลัฟใส่ แต่ไม่มีข้อมูลเรื่องสถาปัตยกรรมเลย
                              ยินดีครับ สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะ Mobile Ryzen 3000 Series พัฒนาจากสถาปัตยกรรม ZEN+ เทียบเท่า Boardwell Microarchitect เท่านั้น
                              ทรัพยากรภายใน Mobile Ryzen รุ่นนี้จะด้อยกว่า Skylake Microarchitect อยู่ราวๆ 15-25% แม้จะมีจำนวน Core ที่มากกว่า แต่การประมวลผล
                              ช้ากว่า ย่อมส่งผลให้ประสิทธิภาพโดยรวมต่ำกว่าไปโดยปริยายครับ

                              ในขณะที่ Whiskey Lake นั้นเป็นสถาปัตยกรรมที่ Intel พัฒนาต่อยอดมาจาก Kaby Lake Microarchitect อีกที หลายๆ อย่างที่เป็นจุดอ่อนใน Skylake
                              Microarchitect ได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้น พร้อมกับเทคโนโลยีการผลิต 14+nm ที่ดีกว่า 14nm เดิมและ 12nm FinFet ของ TSMC ที่ AMD ใช้ในการ
                              พัฒนา Zen+ Microarchitect มาก ทำให้ประสิทธิภาพของ Whiskey Lake Mobile ดีกว่า Mobile Ryzen 3000 Series นั้นเองครับผม ด้วยเหตุนี้เอง
                              Whiskey Lake Core i3 8145U จึงให้ผลงานออกมาเหนือกว่า Ryzen ทั้งสองรุ่นที่ท่านกล่าวมาครับผม

                              Comment

                              Working...
                              X