อืม ทั้งขนาดและความเร็ว เลยล่ะนะ
Announcement
Collapse
No announcement yet.
AA Anti-Aliasing กับ Ram มันคือของคู่กัน
Collapse
This is a sticky topic.
X
X
-
ที่ผมเคยเทสมันก็แล้วแต่เกมส์ด้วยมั้งครับ อย่าง CRYSIS1 เปลี่ยนจาก 4X ไป 8x 6950 แรม 2 gig เฟรมตกนิดเดียว แต่GTX560 TI หายไปเป็น 10 ส่วนเกมส์อื่นๆ เป็นบ้างไม่เป็นบ้าง
พวกเว็บทดสอบ ผมสังเกตไม่ค่อยปรับ AA เยอะเท่าไหร่ ส่วนใหญ่จะแค่ 4x ซึ่งบางเกมส์มันก็ปรับได้แค่นั้น แต่เกมส์ไหนปรับได้ 8x 16x และปรับ resolution สูงๆ
แรมก็มีผลจริงๆครับ
เกมส์นี้ชัดเจน
เกมส์นี้ไม่มากเท่าไหร่
และเราลองมาดูค่ายเดียวกันอย่าง GTX470 กับ GTX560 TI นะครับ
เวลาเราดูพวกรีวิวตามเว็บต่างๆ จริงๆถ้าอยากรู้ว่าการ์ดตัวไหนแรงกว่ากัน อยากให้ดูว่าตอนปรับสุด มันเป็นยังไง เพราะเว็บส่วนใหญ่เทสกัน เปิด AA ไม่สุดครับ
จาก 3 ใน4 เกมส์ GTX470 โชว์เก๋า รีดพลังได้มากกว่า GTX560 TI ซึ่งจำนวนแรมที่มากกว่าแค่ 256 MB ก็น่าจะมีผลบ้างเหมือนกันครับ (GTX470 1280 MB GTX560 TI 1024 MB)Last edited by iceberg777; 21 Jul 2011, 05:16:00.
Comment
-
Originally posted by Zailencer View PostAA จากที่เคยอ่านมา ถ้าจำไม่ผิดมันเป็นลักษณะการซ้อนภาพ ตามจำนวน * มั้ง?
กำลังลองกับรูปนี้อยู่
ผลที่ได้คือ ภาพจะมีความคมมากขึ้นนั่นเอง และ เฟรมเรทจะไม่มีอาการตกลงไป แต่ก็แลกมากับการกินทรัพยากรเหมือนกัน จึงเกิด MSAA ขึ้นมาคือ ทำการเรนเดอร์เฉพาะจุด แต่ตัดเรื่องของ แสง เงา วัตถุโปร่งแสงออกไป ทำให้บางเกมส์เปิด AA ซะเนียนเนี้ยบเลย แต่ แสงเงากลับหยักๆเป็นรอยคลื่น
และ NVIDIA ก็ทำพวก CSAA ขึ้นมาครับ แต่จะเป็นการแบ่งรูปแบบไป เช่น 8CSA ก็จะเป็น 4XAA กับ 4CSAA ครับ (4+4 เป็น 8) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ทำให้ได้ภาพที่สวยสมบูรณ์มากขึ้นใกล้เคียง 8XAA แต่สามารถรันได้โดยใช้การใช้งานเครื่องเทียบเท่าหรือใกล้เคียงกับ 4XAA เท่านั้นเอง
หลักง่ายๆก็คือ จะเกลี่ยสีให้สมดุลย์กันและ ขยายออก ก่อนหดกลับเท่าขนาด ทำให้ได้ภาพที่ สมบูรณ์ใกล้เคียงกับการเปิด 8 AA มาก แต่ใช้ทรัพยาการเครื่องน้อยกว่าหลายสิบเปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว
และนี่แถมให้เป็นจุดปรับของเขียวที่ไม่ค่อยกินแรงเครื่องครับ
แต่ภาพที่ได้หลังจากเทสต์เกมส์บอกเลยว่า FPS ไม่ต่างจาก 4XAA เลยครับ แต่ว่าสวยกว่าในหลายๆจุด
ส่วนที่บอกว่า ทำไม 8AA แล้วภาพไม่ต่าง ก็ลองย่อภาพ น้องคนสวยคนนี้ดู
ใช้กล้องมือถือถ่ายมา ดูจะเห็นว่ามันไม่ค่อยคม แต่ถ้าลองย่อลงซัก 4 เท่ากับ 8 เท่า จะเห็นว่า มันคมพอๆกัน
แต่ที่แน่ๆ ช่วงบน สวยมาก... คอนเฟริมLast edited by KiDMaioRKz; 22 Jul 2011, 01:58:55.
Comment
-
Originally posted by Yokboa View Postแล้ว
AF ล่ะจ๊ะที่รัก
ตอบ academy fantasia ตบฟว่ำนะจ๊ะ
จะได้เป็นบทฟวามที่สมบูรณ์
ป.ล.หมั่นไส้ avartar
อ่ะๆ จัดให้ๆ สำหรับ หยกคุง โดยเฉพาะ
AF หรือ Academy . ... (เบรคก่อนดีกว่าตู)
Anisotropic filterling หรือ การเปิดตัวกรองพื้นผิวระยะไกล นั่นเอง
ซึ่งหลักๆแล้ว การทำงานของการเรนเดอร์นั้น เวลาที่วัตถุเริ่มออกไกลมากขึ้น การ์ดจอที่ทำหน้าที่ระบายสีมันก็เหมือน นักเขียนการ์ตูนนั่นแหละ บางทีมันก็ขี้เกียจ พอภาพใกลๆ มากๆหน่อย มันก็ทำภาพเบลอๆ เอา (เกี่ยวกันมั้ยน่ะ)
คือการเรนเดอร์ภาพออกมานี่ ปกติจะมีระยะที่กำหนดไว้ แต่พอไปไกลๆเนี่ย มันยจะเบลอๆ ลดลง แต่ว่าคราวนี้น่ะ บางเกมส์ที่ Texture สวยๆ มันก็ไม่รู้สึก แต่บางเกมส์นี่ จะเห็น จุดตัดที่รับไม่ได้เลย (อย่างเกมส์แข่งรถนี่เจอบ่อย พื้นถนนสวยมากๆ แต่พอใกลๆออกไปเท่านั้นแหละ เห็นรอยตัดและภาพถนนเละๆ ไม่สวย ชัดๆเลย)
ดังนั้น จึงมีตัวช่วยเปิดตัวกรองพื้นผิวระยะใกลขึ้นมานั่นเองครับ
ก็เพื่อให้เห็นวัตถุหรือ Texture ไกลๆ ได้ชัดเจนขึ้น ซึ่งจะมีผู้เข้าแข่งขัน เอ๊ย ตัวเลือกให้คือ 8X 16X เป็นส่วนมาก (จริงๆก็มีแค่นี้แหละ)
ซึ่ง ยิ่งตัว * สูงมาก มันก็ยิ่งไกลมากขึ้น ความละเอียดที่จะต้องสร้างภาพแบบนั้นก็ยิ่งมากขึ้น ภาพก็จะมีความละเอียดสูงขึ้น
ซึ่งเมื่อเปิดโหมดนี้ เวลาที่เราเล่นเกมส์มองภาพระยะใกลๆ ภาพจะมีความสวยสด งดงาม และ คมมากขึ้น (ไม่มีพื้นเบลอๆให้เห็น) แต่ก็แลกมากับกำลังทรัพยาการที่ต้องจ่ายออกไป (แล้วลองคิดว่า AA ตามมาอีกจะขนาดไหน)
เอาล่ะ มาถึงตรงนี้ จะแบไต๋ให้เล็กน้อย จากที่ทดลองจริงๆนะครับ กับการ์ดจอตัวโหด 2 ค่าย (เป็นสิ่งที่ผมเก็บไว้มานานมากแล้ว)
ค่าของ Pixel Fill Rate กับ Texture Fill Rate
แท้จริงแล้ว ที่ผมลองดูมันคือค่าบอกความสามารถของ ชิพเซ็ต ในการ
รัน AA และ AF ได้กลายๆน่ะครับ
โดย PFR (Pixel Fill Rate) ยิ่งสูงๆ ก็ยิ่งเปิด AA ได้ดีขึ้น (ซึ่งจุดเด่นของค่ายเขียวคือ ค่า PFR ที่สูงเป็นเหตุผลว่าทำไม ฝั่งเขียวเวลาเปิด AA ไม่ค่อยงอแง)
และ
โดย TFR (Texture Fill Rate) ยิ่งสูงๆ การเปิด AF ก็จะเนียนมากขึ้น (ค่ายแดงเวลาเปิด AF ภาพจะสวยและเนียน โดยไม่หน่วง)
โดยพื้นฐานบน ขนาดแรม ที่เท่ากัน ชนิดเดียวกัน และ ประสิทธิภาพใกล้เคียงกัน (HD 5850 VS GTX 460 1 GB (อันนี้ลองไว้นานแล้วก่อนจะเปลี่ยนมาเล่น 470))
แต่ทั้งหมดทั้งมวลนี้ก็จะประกอบไปด้วย RAM ที่จะเป็นตัวกำหนดครับ (ดังนั้นแรมจึงไม่ควรมองข้าม) ซึ่ง ในกรณีที่มีแรมสูงมากๆ และ แรมมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลเร็วมากๆ ก็ยิ่งทำให้ สามารถ เรนเดอร์ภาพต่างๆเพื่อรอแสดงผลได้ไวมากๆนั่นเอง (ลองคิดเล่นๆ ถ้าการแสดงผลเป็น FPS เนี่ย สมมติที่ 60+ คือ ลื่น แสดงว่า การ์ดจอ บางครั้งอาจจะต้องเรนเดอร์ภาพรอที่จะแสดงผลออกมา อีกเยอะกว่านั้นมาก เช่น 60 FPS การ์ดจออาจจะมีภาพรออกมาแล้ว ซัก 1800 FPS กันไปเลย (คือสามารถรองรับได้ถึง 30 วินาทีกันเลยทีเดียว) (แต่มันก็เว่อร์มากนะ คงเป็นการ์ดจอแห่งอนาคต เพราะที่เจอๆมา อย่างเก่งก็รันล่วงหน้าได้ประมาณ 5-7 วินาที เท่านั้นแหละ(แค่นั้นก็รันหัวฟูแล้ว)
นี่เอง ที่เป็นที่มาของการกระตุกๆ สำหรับการ์ดจอที่ไม่แรง แม้แรมจะเยอะ เพราะมันรันไม่ทัน พอรันไม่ทัน ต่อให้ แรมเยอะแค่ไหน มันก็ไม่มีอะไรจะเก็บ พอไม่มีอะไรจะเก็บ พอถึงตอนแสดงผลมันก็ไม่มีภาพที่เก็บไว้ มันก็เลยต้อง แสดงผลออกมาทั้งอย่างนั้นไปเลย
ทำให้มันพังไปบ่อยๆ
"และนี่คือคำตอบที่ว่า ทำไมทุกครั้งที่เข้าเกมส์ ทุกเกมส์เวลาเริ่มฉากจะต้องมีซักนิดหนึ่งให้เราเห็นการเรนเดอร์"
เพราะมันกำลังรันภาพต่างๆให้เราเห็นนั่นเอง และ มันก็จะรันรอต่อเนื่องให้เราเรื่อยๆ ดังนั้น การ์ดจอรุ่นใหญ่ๆ จึงตอบสนองได้ดีกว่า
"อ้าวแล้วเรื่องคอขวดล่ะ ?"
นี่ไงจะอธิบายอยู่ การทำงาน จำได้ใช่มั้ยว่าการ์ดจอระบายสี CPU วาดภาพ ดังนั้น โครงร่างหลักที่จะสร้างให้เกิด มิติ CPU นั่นแหละที่กำหนดออกมา และการ์ดจอก็ทำหน้าที่ ใส่ Texture เข้าไปก่อน และปั่น Pixel ออกมาให้ได้เท่ากับขนาด Resolution และ แสดงผลออกมานั่นเอง
แล้วถ้า CPU เขียนไม่ทัน แต่การ์ดจอเร็วเทพล่ะ ???
มันก็จะเกิดจังหวะการว่างงาน ซึ่งจังหวะนั้นน่ะ เกิดจากช่วงที่ CPU อาจจะยังเขียนอยู่ หรือว่า ไม่มีอะไรจะเขียนแล้ว จึงเกิด อาการ "สะดุด" นั่นเอง ดังนั้นในการเล่นเกมส์ หลายๆคน มองการ์ดจอเป็นเรื่องสำคัญสุด ใช่ แต่จริงๆแล้ว สิ่งที่สำคัญสุดจริงๆคือ
"องค์ประกอบโดยรวมทั้งหมด" ครับผม
อย่าลืมนะครับ เวลาที่ "แรมบนตัวการ์ดจอไม่พอ เราก็ต้องเรียกร้องพึ่งพา แรมระบบ"(อันนี้แหละที่ท่านซอร์นช่วยไขข้อข้องใจที่มีมาแสนนานของผมในทันที(บรรลุทันที) ว่าทำไม Wing Of Liberty คร่าชีวิตเพื่อนพ้อง 3 ทหารเสือแดง เขียว เพื่อนๆผมไป (6870 *2 กับ 460 *1 ตัวเดี้ยงกันหมด( 3คน คนละตัวน่ะครับ))
เพราะผมเป็นคนเดียวที่แรม 8 GB บนเครื่อง (คิดว่ามันคงได้แรมระบบนี้ช่วยชีวิตการ์ดจอผมด้วย)
เพราะว่าเล่นกันแบบว่า เปิดสุดทั้งหมด AA AF อัดให้หนักสุด วัดใจ (เดี้ยงกันไปคนละอาทิตย์สองอาทิตย์)
ดังนั้นแล้ว "การ์ดจอแรงๆ ไม่ใช่จะเล่นเกมส์ลื่น เสมอไป"
แต่องค์ประกอบมวลรวมทั้งหมดต่างหากที่สำคัญด้วย ซึ่ง นี่แหละที่เป็นเหมือนศิลปะเลยสำหรับการประกอบ PC เพื่อเล่นเกมส์ซักเครื่อง
"มันไม่ใช่อีกต่อไปแล้ว กับการที่ เอะอะ อะไรๆ ก็ใส่ๆมันเข้าไป มันไม่ใช่อีกแล้ว กับการที่ เฮ้ย บอร์ดรุ่นนี้ ใส่ตรงนี้กับตัวนี้ แค่นี้พอ จะเอาบอร์ดใหญ่ๆไปทำไมวะ ?"
"มันไม่ใช่อีกแล้ว กับการที่ HDD ใส่ๆไปเหอะให้มันเก็บข้อมูลเยอะๆก็พอ (เพราะบางเกมทส์ที่เจอมา HDD ทำงานตลอด แสดงว่า ใครที่บอกว่า HDD ไม่เกี่ยวกับตอนเล่นเกมส์ ไม่จริงเสมอไปอีกแล้ว)"
"มันไม่ใช่อีกแล้วกับการที่ "จะเอา GTX 295 ใส่กับ PSU 500 Watt"
"มันไม่ใช่อีกแล้วกับคำว่า PSU อ่ะ ใส่ๆไปเหอะ แค่มันไม่ดับก็แปลว่าไฟพอ" แค่นั้น
มันไม่ใช่แค่นั้นแล้วครับ เพราะการประกอบ PC ซักเครื่องมาเล่นเกมส์ให้ "ลงตัว" คือ ศิลปะแห่งการทำความเข้าใจกันเลยทีเดียว
ดังนั้น ขอปูทาง เปิดตัว ผลงาน บ้าๆบอๆ ของผมเลยนะครับ กับ Project Ultimate Gamer (PUG) ที่ผมจะเอา ทุกความรู้ จากประสบการณ์จริงๆ ทั้งหมด และ ข้อมูลจากหลายๆแหล่ง มายำรวมกัน แล้วจะยัดเยียดมันให้กับหลายๆ ท่านได้ลองศึกษากันดูซึ่งจะเป็นจากประสบการณ์ที่ผ่านมือมาจริงๆ เล่นจริงๆ ลองจริงๆ ไม่อิงตารางอ้างหัวชนฝาอีกต่อไป
เป็นความรู้ความเข้าใจที่เกิดจากผมประกอบคอมพ์เอามานั่นเล่นเกมส์ ไปเลย
ไว้เดี๋ยวลงตัวจะพิมพ์ให้อ่านเล่นเอาเพลินๆนะครับ ก็ไม่มีอะไรมาก แบ่งกันไปเป็นเรื่องๆ
เน้นเรื่อง Hardware ว่า เวลาจะเลือก ควรมองจากอะไรบ้าง อันไหนงกดี ไม่งกดี อันไหนใส่แล้วคุ้ม ใส่แล้วลุ้น เอามาทำเครื่องเล่นเกมส์เพลินๆ กัน ก็เท่านั้นเองครับผม ^ ^
Comment
-
Originally posted by huano View Postงงครับ แรมที่มีผลต่อ AA คือแรมบนตัวการ์ดจอหรือแรมเครื่องอ่ะครับ
สำหรับผมถ้าให้เลือก AA กะ รายละเอียด ผมเอารายละเอียดสูงสุด แล้วยอมตัด AA=0 ดีกว่า ส่วน resolution ก็เลือกเอาจนกว่าจะยอมรับการกระตุกได้ ...ถ้าแย่กว่านั้น คือ คอมฯสเปคกากๆ ก็ยอม low detail ,AA=0 resolution สูงสุดเท่าที่จะรับได้(อย่างน้อย 1300x1000 ....แต่ถ้าถึงขั้น resolution 800x600 ถึงจะเล่นได้นี่ ผมว่าเลิกเล่น แล้วไปหยอดกระปุกเก็บเงินซื้อเครื่องใหม่ดีกว่า รอไปสอยเทพในอนาคตข้างหน้า....โอมจงลงมา จงลงมา (ราคา)อิ อิ
Comment
-
Originally posted by KAYAZUDA View Postหยกโหดอ่ะ ถึงกับตบฟว่ำเรย เกือบเล่นไปแระนะเนี่ย
อ่ะๆ จัดให้ๆ สำหรับ หยกคุง โดยเฉพาะ
AF หรือ Academy . ... (เบรคก่อนดีกว่าตู)
Anisotropic filterling หรือ การเปิดตัวกรองพื้นผิวระยะไกล นั่นเอง
ซึ่งหลักๆแล้ว การทำงานของการเรนเดอร์นั้น เวลาที่วัตถุเริ่มออกไกลมากขึ้น การ์ดจอที่ทำหน้าที่ระบายสีมันก็เหมือน นักเขียนการ์ตูนนั่นแหละ บางทีมันก็ขี้เกียจ พอภาพใกลๆ มากๆหน่อย มันก็ทำภาพเบลอๆ เอา (เกี่ยวกันมั้ยน่ะ)
คือการเรนเดอร์ภาพออกมานี่ ปกติจะมีระยะที่กำหนดไว้ แต่พอไปไกลๆเนี่ย มันยจะเบลอๆ ลดลง แต่ว่าคราวนี้น่ะ บางเกมส์ที่ Texture สวยๆ มันก็ไม่รู้สึก แต่บางเกมส์นี่ จะเห็น จุดตัดที่รับไม่ได้เลย (อย่างเกมส์แข่งรถนี่เจอบ่อย พื้นถนนสวยมากๆ แต่พอใกลๆออกไปเท่านั้นแหละ เห็นรอยตัดและภาพถนนเละๆ ไม่สวย ชัดๆเลย)
ดังนั้น จึงมีตัวช่วยเปิดตัวกรองพื้นผิวระยะใกลขึ้นมานั่นเองครับ
ก็เพื่อให้เห็นวัตถุหรือ Texture ไกลๆ ได้ชัดเจนขึ้น ซึ่งจะมีผู้เข้าแข่งขัน เอ๊ย ตัวเลือกให้คือ 8X 16X เป็นส่วนมาก (จริงๆก็มีแค่นี้แหละ)
ซึ่ง ยิ่งตัว * สูงมาก มันก็ยิ่งไกลมากขึ้น ความละเอียดที่จะต้องสร้างภาพแบบนั้นก็ยิ่งมากขึ้น ภาพก็จะมีความละเอียดสูงขึ้น
ซึ่งเมื่อเปิดโหมดนี้ เวลาที่เราเล่นเกมส์มองภาพระยะใกลๆ ภาพจะมีความสวยสด งดงาม และ คมมากขึ้น (ไม่มีพื้นเบลอๆให้เห็น) แต่ก็แลกมากับกำลังทรัพยาการที่ต้องจ่ายออกไป (แล้วลองคิดว่า AA ตามมาอีกจะขนาดไหน)
เอาล่ะ มาถึงตรงนี้ จะแบไต๋ให้เล็กน้อย จากที่ทดลองจริงๆนะครับ กับการ์ดจอตัวโหด 2 ค่าย (เป็นสิ่งที่ผมเก็บไว้มานานมากแล้ว)
ค่าของ Pixel Fill Rate กับ Texture Fill Rate
แท้จริงแล้ว ที่ผมลองดูมันคือค่าบอกความสามารถของ ชิพเซ็ต ในการ
รัน AA และ AF ได้กลายๆน่ะครับ
โดย PFR (Pixel Fill Rate) ยิ่งสูงๆ ก็ยิ่งเปิด AA ได้ดีขึ้น (ซึ่งจุดเด่นของค่ายเขียวคือ ค่า PFR ที่สูงเป็นเหตุผลว่าทำไม ฝั่งเขียวเวลาเปิด AA ไม่ค่อยงอแง)
และ
โดย TFR (Texture Fill Rate) ยิ่งสูงๆ การเปิด AF ก็จะเนียนมากขึ้น (ค่ายแดงเวลาเปิด AF ภาพจะสวยและเนียน โดยไม่หน่วง)
โดยพื้นฐานบน ขนาดแรม ที่เท่ากัน ชนิดเดียวกัน และ ประสิทธิภาพใกล้เคียงกัน (HD 5850 VS GTX 460 1 GB (อันนี้ลองไว้นานแล้วก่อนจะเปลี่ยนมาเล่น 470))
แต่ทั้งหมดทั้งมวลนี้ก็จะประกอบไปด้วย RAM ที่จะเป็นตัวกำหนดครับ (ดังนั้นแรมจึงไม่ควรมองข้าม) ซึ่ง ในกรณีที่มีแรมสูงมากๆ และ แรมมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลเร็วมากๆ ก็ยิ่งทำให้ สามารถ เรนเดอร์ภาพต่างๆเพื่อรอแสดงผลได้ไวมากๆนั่นเอง (ลองคิดเล่นๆ ถ้าการแสดงผลเป็น FPS เนี่ย สมมติที่ 60+ คือ ลื่น แสดงว่า การ์ดจอ บางครั้งอาจจะต้องเรนเดอร์ภาพรอที่จะแสดงผลออกมา อีกเยอะกว่านั้นมาก เช่น 60 FPS การ์ดจออาจจะมีภาพรออกมาแล้ว ซัก 1800 FPS กันไปเลย (คือสามารถรองรับได้ถึง 30 วินาทีกันเลยทีเดียว) (แต่มันก็เว่อร์มากนะ คงเป็นการ์ดจอแห่งอนาคต เพราะที่เจอๆมา อย่างเก่งก็รันล่วงหน้าได้ประมาณ 5-7 วินาที เท่านั้นแหละ(แค่นั้นก็รันหัวฟูแล้ว)
นี่เอง ที่เป็นที่มาของการกระตุกๆ สำหรับการ์ดจอที่ไม่แรง แม้แรมจะเยอะ เพราะมันรันไม่ทัน พอรันไม่ทัน ต่อให้ แรมเยอะแค่ไหน มันก็ไม่มีอะไรจะเก็บ พอไม่มีอะไรจะเก็บ พอถึงตอนแสดงผลมันก็ไม่มีภาพที่เก็บไว้ มันก็เลยต้อง แสดงผลออกมาทั้งอย่างนั้นไปเลย
ทำให้มันพังไปบ่อยๆ
"และนี่คือคำตอบที่ว่า ทำไมทุกครั้งที่เข้าเกมส์ ทุกเกมส์เวลาเริ่มฉากจะต้องมีซักนิดหนึ่งให้เราเห็นการเรนเดอร์"
เพราะมันกำลังรันภาพต่างๆให้เราเห็นนั่นเอง และ มันก็จะรันรอต่อเนื่องให้เราเรื่อยๆ ดังนั้น การ์ดจอรุ่นใหญ่ๆ จึงตอบสนองได้ดีกว่า
"อ้าวแล้วเรื่องคอขวดล่ะ ?"
นี่ไงจะอธิบายอยู่ การทำงาน จำได้ใช่มั้ยว่าการ์ดจอระบายสี CPU วาดภาพ ดังนั้น โครงร่างหลักที่จะสร้างให้เกิด มิติ CPU นั่นแหละที่กำหนดออกมา และการ์ดจอก็ทำหน้าที่ ใส่ Texture เข้าไปก่อน และปั่น Pixel ออกมาให้ได้เท่ากับขนาด Resolution และ แสดงผลออกมานั่นเอง
แล้วถ้า CPU เขียนไม่ทัน แต่การ์ดจอเร็วเทพล่ะ ???
มันก็จะเกิดจังหวะการว่างงาน ซึ่งจังหวะนั้นน่ะ เกิดจากช่วงที่ CPU อาจจะยังเขียนอยู่ หรือว่า ไม่มีอะไรจะเขียนแล้ว จึงเกิด อาการ "สะดุด" นั่นเอง ดังนั้นในการเล่นเกมส์ หลายๆคน มองการ์ดจอเป็นเรื่องสำคัญสุด ใช่ แต่จริงๆแล้ว สิ่งที่สำคัญสุดจริงๆคือ
"องค์ประกอบโดยรวมทั้งหมด" ครับผม
อย่าลืมนะครับ เวลาที่ "แรมบนตัวการ์ดจอไม่พอ เราก็ต้องเรียกร้องพึ่งพา แรมระบบ"(อันนี้แหละที่ท่านซอร์นช่วยไขข้อข้องใจที่มีมาแสนนานของผมในทันที(บรรลุทันที) ว่าทำไม Wing Of Liberty คร่าชีวิตเพื่อนพ้อง 3 ทหารเสือแดง เขียว เพื่อนๆผมไป (6870 *2 กับ 460 *1 ตัวเดี้ยงกันหมด( 3คน คนละตัวน่ะครับ))
เพราะผมเป็นคนเดียวที่แรม 8 GB บนเครื่อง (คิดว่ามันคงได้แรมระบบนี้ช่วยชีวิตการ์ดจอผมด้วย)
เพราะว่าเล่นกันแบบว่า เปิดสุดทั้งหมด AA AF อัดให้หนักสุด วัดใจ (เดี้ยงกันไปคนละอาทิตย์สองอาทิตย์)
ดังนั้นแล้ว "การ์ดจอแรงๆ ไม่ใช่จะเล่นเกมส์ลื่น เสมอไป"
แต่องค์ประกอบมวลรวมทั้งหมดต่างหากที่สำคัญด้วย ซึ่ง นี่แหละที่เป็นเหมือนศิลปะเลยสำหรับการประกอบ PC เพื่อเล่นเกมส์ซักเครื่อง
"มันไม่ใช่อีกต่อไปแล้ว กับการที่ เอะอะ อะไรๆ ก็ใส่ๆมันเข้าไป มันไม่ใช่อีกแล้ว กับการที่ เฮ้ย บอร์ดรุ่นนี้ ใส่ตรงนี้กับตัวนี้ แค่นี้พอ จะเอาบอร์ดใหญ่ๆไปทำไมวะ ?"
"มันไม่ใช่อีกแล้ว กับการที่ HDD ใส่ๆไปเหอะให้มันเก็บข้อมูลเยอะๆก็พอ (เพราะบางเกมทส์ที่เจอมา HDD ทำงานตลอด แสดงว่า ใครที่บอกว่า HDD ไม่เกี่ยวกับตอนเล่นเกมส์ ไม่จริงเสมอไปอีกแล้ว)"
"มันไม่ใช่อีกแล้วกับการที่ "จะเอา GTX 295 ใส่กับ PSU 500 Watt"
"มันไม่ใช่อีกแล้วกับคำว่า PSU อ่ะ ใส่ๆไปเหอะ แค่มันไม่ดับก็แปลว่าไฟพอ" แค่นั้น
มันไม่ใช่แค่นั้นแล้วครับ เพราะการประกอบ PC ซักเครื่องมาเล่นเกมส์ให้ "ลงตัว" คือ ศิลปะแห่งการทำความเข้าใจกันเลยทีเดียว
ดังนั้น ขอปูทาง เปิดตัว ผลงาน บ้าๆบอๆ ของผมเลยนะครับ กับ Project Ultimate Gamer (PUG) ที่ผมจะเอา ทุกความรู้ จากประสบการณ์จริงๆ ทั้งหมด และ ข้อมูลจากหลายๆแหล่ง มายำรวมกัน แล้วจะยัดเยียดมันให้กับหลายๆ ท่านได้ลองศึกษากันดูซึ่งจะเป็นจากประสบการณ์ที่ผ่านมือมาจริงๆ เล่นจริงๆ ลองจริงๆ ไม่อิงตารางอ้างหัวชนฝาอีกต่อไป
เป็นความรู้ความเข้าใจที่เกิดจากผมประกอบคอมพ์เอามานั่นเล่นเกมส์ ไปเลย
ไว้เดี๋ยวลงตัวจะพิมพ์ให้อ่านเล่นเอาเพลินๆนะครับ ก็ไม่มีอะไรมาก แบ่งกันไปเป็นเรื่องๆ
เน้นเรื่อง Hardware ว่า เวลาจะเลือก ควรมองจากอะไรบ้าง อันไหนงกดี ไม่งกดี อันไหนใส่แล้วคุ้ม ใส่แล้วลุ้น เอามาทำเครื่องเล่นเกมส์เพลินๆ กัน ก็เท่านั้นเองครับผม ^ ^
ขอบคุณหลายๆ ไม่ยกไปไว้หน้าแรกด้วย
Comment
Comment