ตั้งแต่ผมเป็นสมาชิก เจอคำถามเรื่องค่าไฟของคอมที่แต่ละท่านใช้อยู่เป็นประจำ
ส่วนมากผมจะอธิบายวิธีคิดค่อนข้างละเอียด เพราะ ง่าย เพราะใช้แค่การบวกคูณหารเท่านั้น
หวังว่า เมื่อแต่ละท่านเข้าใจดีแล้ว ก็สามารถไปคำนวณกันได้เอง
และไปอธิบายให้ท่านอื่นๆที่สงสัยต่อได้
แล้วประเด็นนึง ที่ถกเถียงกันบ่อยในเว็บเรา คือการเปรียบเทียบค่าไฟ
หลายท่านบอก เทียบแล้วค่าไฟเล็กน้อย ไม่กี่บาท คิดทำไมให้เปลืองสมอง ค่า ... เยอะกว่า
หลายท่าน ก็คิดเป็นตัวเงินให้ดู ว่ามากจริงนะ หรือเล็กน้อยนะ
ถ้าคิดเลขถูกต้อง ก็ไม่มีปัญหาอะไรนะ
จะต่างกันสองสามหมื่น จะบอกเล็กน้อยแค่ไหน ผมก็ไม่ว่าอะไรนะ
เพราะการใช้เงินของแต่ละคนไม่เหมือนกัน
ยุคที่มีรถเมล์ร้อน ครีมน้ำเงิน 2.50 บาท ,ครีมแดง 3.50 บาท
ครีมแดงมาผมเคยไม่ขึ้น เพราะผมอยากประหยัดเงิน 1 บาท ผมคอยขึ้นครีมน้ำเงินครับ
ยุคที่ไอโฟนสามจีเริ่มเข้าไทย ตัวละสองหมื่นกว่า
ผมเคยซื้อแจกสาวอ่ะ ไม่ได้คิดจะจีบอะไรนะ เห็นเค้าอยากได้มากๆ ก็ซื้อให้ฟรีๆ
ครับ บางเวลา บาทนึงก็งก บางเวลาสองหมื่นก็ไม่งก
เพราะงั้น ใครจะงกค่าไฟหรือไม่ยังไง ผมก็ไม่สนใจ เพราะผมไม่ได้เป็นคนออกค่าไฟ อิ อิ
แต่ที่ต้องมาตั้งกระทู้ เพราะผมเจอบ่อยว่า มีการคิดกันผิดครับ
พอคิดผิด ก็ทำให้ได้ข้อมูลกันผิด เผยแพร่ข้อมูลกันผิด เชื่อกันผิด
ประเด็นของผมคือ การให้ข้อมูลที่ผิดนะ
ไม่ใช่เรื่องค่าไฟมากหรือน้อย
เรื่องคิดค่าไฟ คิดแล้ว น่าจะเคยอธิบายไปเกินสิบครั้งละ
แต่ก็ยังพบว่า ยังมีสมาชิกหลายท่าน ยังคิดค่าไฟกันผิด
ก็เลยมาตั้งเป็นกระทู้ เผื่อไว้วันหลัง จะได้ไม่ต้องอธิบายอะไรซ้ำอีก
แค่ทำลิ้งค์ชี้มาที่กระทู้นี้ครับ
--------------------------------------
ก่อนอื่น เราต้องรู้ก่อนว่า เราเสียค่าไฟหน่วยละเท่าไหร่
ถ้าเช่าห้อง เช่าหอพัก แล้วเจ้าของเค้ากำหนดราคาตายตัวมาให้ ก็เอาราคานั้นมาใช้ได้เลยครับ
แต่ถ้าไม่ใช่ ก็ต้องเอาบิลค่าไฟมาดูครับ
อันนี้ เป็นบิลค่าไฟเดือน ม.ค. ของบ้านผม (รูปใหญ่นิดนึง จะได้เห็นตัวเลขชัดนะ)

จุดที่เราต้องดู มีสองที่ คือตรงกรอบแดงที่ผมทำไว้
จำนวนหน่วย 398
ยอดค่าไฟ 1769.61
เดือน ม.ค. ผมเสียค่าไฟหน่วยละ 4.45 บาท (ยอดค่าไฟ/จำนวนหน่วย)
อันนี้ เป็นบิลค่าไฟเดือนนี้

จำนวนหน่วย 1198
ยอดค่าไฟ 5480.57
เดือนนี้ ผมเสียค่าไฟหน่วยละ 4.57 บาท (ยอดค่าไฟ/จำนวนหน่วย)
จะเห็นว่า ราคาค่าไฟต่อหน่วยในแต่ละช่วงเวลา ราคาไม่เท่ากันเป๊ะ
แต่ปกติ จะไม่แตกต่างกันมาก
ถ้าไม่ซีเรียส ก็เอาค่าเฉลี่ยคร่าวๆ
ตามบิลบ้านผม ผมใช้ค่า 4.50 บาท/หน่วย
แต่ถ้าใครอยากให้ถูกต้องมากขึ้น
ก็ต้องเอาใบเสร็จทั้งปีมาหาค่าเฉลี่ย
ราคาค่าไฟต่อหน่วย = ยอดค่าไฟทั้งปี/จำนวนหน่วยที่ใช้ทั้งปี
เมื่อเรารู้ราคาค่าไฟต่อหน่วยแล้ว
สิ่งต่อไปที่เราต้องรู้คือ คอมที่เราใช้ ใช้ไฟกี่หน่วย
มีวิธีเดียวที่จะรู้ได้ถูกต้อง คือ ต้องหามิเตอร์มาวัดครับ
มิเตอร์ที่การไฟฟ้าใช้ เรียกว่า watthour meter

เป็นมิเตอร์ที่แสดงค่า ของผลการคูณ ของค่า watt x hour
ก็คือ ค่าการใช้กำลังงาน (watt) คูณกับ ระยะเวลาเป็นชั่วโมง (hour)
หน่วยของการไฟฟ้า จะคิดที่ 1000 watthour = 1 หน่วย
หรือ 1 หน่วย = 1000 watthour = 1 KWH
เดี๋ยวนี้มีแบบ plug-in ที่เป็นตัวเลขดิจิตอลให้เลือกใช้หลายแบบ
เท่าที่เคยเทียบ ค่าก็ตรงกะมิเตอร์ของการไฟฟ้าครับ

(ถ้าวัดโหลดน้อยๆ ค่าจะผิดพลาดมาก)
จะสังเกตุเห็นว่า เราไม่เคยเห็นรีวิววัดค่า KWH เลย
แปลว่า เราไม่เคยเห็นรีวิววัดค่าไฟที่ต้องจ่ายเลยครับ
แล้วที่เราเห็นเค้าบอกเรื่องกินไฟตามรีวิวต่างๆ คืออะไร
อันนั้น คือการใช้ กำลังงาน ครับ (ภาษาที่เราเรียก ก็คือ การกินไฟ)
รูปนี้ วัดการกินไฟของแทปเล็ต (ตัวที่ผมกำลังพิมพิ์อยู่นี่)

สาเหตุที่รีวิวต่างๆ วัดค่า w แต่ไม่ได้วัด KWH
เพราะค่า KWH ขึ้นกับ hour ก็คือ ขึ้นกับการใช้งานจริงว่าใช้งานยังไง
แต่ละคน ใช้งานไม่เหมือนกัน เค้าจึงวัดแต่ค่า w แล้วให้แต่ละคนไปคำนวณค่า KWH กันเอง
เช่น แทปเล็ตข้างบน ตอนดูยูทูป ocz กินไฟ 4.2 w
ถ้าผมอยากรู้ว่า ถ้าผมดูยูทูป ocz แบบนี้ วันละ 2 ชม.
ดูวันละ 2 ชม. อย่างนี้เหมือนกันทุกวัน เดือนนึงจะเสียค่าไฟเท่าไหร่
ให้เอา 4.2 w มาคูณ 2 ชม. แล้วคูณด้วย 30 วัน
จะได้ 4.2 x 2 x 30 = 252 watthour = 0.252 KWH = 0.252 หน่วย
ถ้าคิดค่าไฟที่ 4.50 บาท/หน่วย
เดือนนึงจะเสียค่าไฟ 0.252 x 4.5 = 1.13 บาท
อันนี้ เป็นตัวอย่างให้เห็นว่า เราเอาค่าวัตต์ที่เห็นตามรีวิวมาใช้คิดค่าไฟยังไง
แต่การใช้งานจริงๆ การกินไฟของคอม มันไม่นิ่งครับ
ดูยูทูป 480p กับ 1080p กินไฟไม่เท่ากันครับ
เทส 3dmark ตลอดการเทส ก็กินไฟแตกต่างกันได้เป็นสิบเป็นร้อยวัตต์
เล่นเกมส์เดียวกัน แต่ละช่วงแต่ละฉากก็กินไฟไม่เท่ากันครับ
โหลดเมะ กินไฟ 3.8 W

ดู Absolute Duo ตอน 7 กินไฟ 5.1 W

เทส 3dmark03 กินไฟ 5.6 W

idle เปิดเครื่องไว้เฉยๆ กินไฟ 3.1 W

การกินไฟของจริง มันจะสวิงจากค่าที่เห็นนะครับ มากน้อยแล้วแต่โปรแกรมครับ
แปลว่า ถ้าเราใช้ค่าวัตต์ที่เห็นตามรีวิวมาใช้คิดค่าไฟ เราจะได้ค่าคร่าวๆ(?)
ซึ่งผิดพลาดแค่ไหน อันนี้แล้วแต่กรณี อาจใกล้เคียงมากหรือใช้ไม่ได้เลยก็ได้
อยากรู้ปริมาณการกินไฟที่ถูกต้องเป๊ะจริงๆ ต้องหามิเตอร์วัดค่า KWH มาวัดด้วยตัวเองครับ
(มิเตอร์บางตัวจะคำนวณเป็นค่าไฟมาให้ได้ แต่เราต้องป้อนราคาค่าไฟต่อหน่วยให้ถูกต้องด้วย)
สำหรับการคิดค่าไฟ ย้ำตรงนี้อีกทีว่า เราต้องหาค่าไฟต่อหน่วยของเราก่อนครับ
ตามที่ผมอธิบายข้างบน ก็ต้องเอาบิลของจริงมาคิดครับ
ถ้าเอาค่าวัตต์ของคอมอย่างเดียว ไปใส่โปรแกรมให้บอกค่าไฟ โดยที่ไม่ได้ป้อนค่าไฟต่อหน่วยจากบิลของจริง แบบนี้ผิดครับ
อีกตัวอย่างครับ
ถ้าจะเทียบอุปกรณ์สองอัน เช่น 494w vs. 320w ว่าต้องจ่ายค่าไฟต่างกันแค่ไหน
ถ้าบ้านผมนะ ค่าไฟหน่วยละ 4.50 บาท (อยู่หอ โดน 8 บาท ก็คิด 8 บาท)
แล้วเอาผลต่างของวัตต์มาลบ เช่น 494w vs. 320w = 494 - 320 = 174w
ถ้าใช้ทุกวันๆละ 2 ชม.
เดือนนึง(30 วัน) ค่าไฟจะต่างกัน 174 x 2 x 30 x 4.5 / 1000 = 46.98 บาท
ถ้าใช้ทุกวันๆละ 8 ชม. เดือนนึงค่าไฟจะต่างกัน 187.92 บาท
ถ้าใช้ทุกวันๆละ 8 ชม. ปีนึงค่าไฟจะต่างกัน 2255 บาท
ถ้าใช้ทุกวันๆละ 8 ชม. สามปี ค่าไฟจะต่างกัน 6765 บาท
--------------------------------------
เนื่องจาก กระทู้ออกทะเล ! จึงขอเสริมความเข้าใจนิดนึงครับ
วิธีคิดค่าไฟที่อธิบายข้างบน เอาไปใช้กะเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไปได้ครับ
เตารีด หม้อหุงข้าว พัดลม ทีวี แอร์ หลอดไส้ หลอดตะเกียบ หลอดLED ฯลฯ ก็ใช้วิธีคิดแบบนี้เหมือนกันหมด
เช่น ไฟรั้วรอบบ้านผม ตอนนี้ใช้หลอดยาว 36W 16 หลอด
ปกติ จะเปิดตอนฟ้ามืด ก็คือวันละประมาณ 12 ชม. (เปิดแบบนี้มา 15 ปีละ จ่ายค่าไฟส่วนนี้ไปสองแสนบาทได้ละ!)
ถ้าจะเปลี่ยนเป็นหลอดผอม (T5) 28W อยากรู้ว่า ปีนึงจะประหยัดค่าไฟได้เท่าไหร่
คิดตามสูตรได้เลยครับ
กินไฟต่างกัน 16 x (36 - 28) = 128 W
ปีนึงใช้ไฟต่างกัน 128 x 12 x 365 / 1000 = 560 KWH
1 ปี ประหยัดค่าไฟได้ = 560 x 4.5 = 2520 บาท
5 ปี ประหยัดค่าไฟได้ 12600 บาท
คำตอบตรงนี้้ เราเอาไปชั่งน้ำหนักได้ว่า คุ้มกะค่าแรง ค่าของ ค่าความวุ่นวาย ที่ต้องเปลี่ยนรึเปล่า
แอร์รุ่นเก่ากินไฟเยอะ เปลี่ยนเป็นแอร์รุ่นใหม่ที่กินไฟน้อยกว่า ดีกว่า ?
คำถามลักษณะนี้ เจอบ่อยนะ
อีกตัวอย่าง คำถามของนักลงทุนทำเหมือง
ย้ำว่าให้ดูเป็นตัวอย่างนะ ห้ามเอาไปแตกประเด็น
จะเห็นว่า
1. เค้าคิดค่าไฟต่ำกว่าความจริง
2. ผลคือ ทำให้ กำไรที่คิดว่าจะได้ จะต่ำกว่าที่คิด
3. ถ้าผลประกอบการแย่ลงถึงจุดนึง จะขาดทุนโดยไม่รู้ตัว เพราะคิดว่าตัวเองยังมีกำไรอยู่ (เนื่องจากคิดต้นทุนค่าไฟผิด)
ถ้าเราคิดค่าไฟได้ถูกต้อง ก็จะเป็นประโยชน์กะตัวเราเองครับ
ส่วนมากผมจะอธิบายวิธีคิดค่อนข้างละเอียด เพราะ ง่าย เพราะใช้แค่การบวกคูณหารเท่านั้น
หวังว่า เมื่อแต่ละท่านเข้าใจดีแล้ว ก็สามารถไปคำนวณกันได้เอง
และไปอธิบายให้ท่านอื่นๆที่สงสัยต่อได้
แล้วประเด็นนึง ที่ถกเถียงกันบ่อยในเว็บเรา คือการเปรียบเทียบค่าไฟ
หลายท่านบอก เทียบแล้วค่าไฟเล็กน้อย ไม่กี่บาท คิดทำไมให้เปลืองสมอง ค่า ... เยอะกว่า
หลายท่าน ก็คิดเป็นตัวเงินให้ดู ว่ามากจริงนะ หรือเล็กน้อยนะ
ถ้าคิดเลขถูกต้อง ก็ไม่มีปัญหาอะไรนะ
จะต่างกันสองสามหมื่น จะบอกเล็กน้อยแค่ไหน ผมก็ไม่ว่าอะไรนะ
เพราะการใช้เงินของแต่ละคนไม่เหมือนกัน
ยุคที่มีรถเมล์ร้อน ครีมน้ำเงิน 2.50 บาท ,ครีมแดง 3.50 บาท
ครีมแดงมาผมเคยไม่ขึ้น เพราะผมอยากประหยัดเงิน 1 บาท ผมคอยขึ้นครีมน้ำเงินครับ
ยุคที่ไอโฟนสามจีเริ่มเข้าไทย ตัวละสองหมื่นกว่า
ผมเคยซื้อแจกสาวอ่ะ ไม่ได้คิดจะจีบอะไรนะ เห็นเค้าอยากได้มากๆ ก็ซื้อให้ฟรีๆ
ครับ บางเวลา บาทนึงก็งก บางเวลาสองหมื่นก็ไม่งก
เพราะงั้น ใครจะงกค่าไฟหรือไม่ยังไง ผมก็ไม่สนใจ เพราะผมไม่ได้เป็นคนออกค่าไฟ อิ อิ
แต่ที่ต้องมาตั้งกระทู้ เพราะผมเจอบ่อยว่า มีการคิดกันผิดครับ
พอคิดผิด ก็ทำให้ได้ข้อมูลกันผิด เผยแพร่ข้อมูลกันผิด เชื่อกันผิด
ประเด็นของผมคือ การให้ข้อมูลที่ผิดนะ
ไม่ใช่เรื่องค่าไฟมากหรือน้อย
เรื่องคิดค่าไฟ คิดแล้ว น่าจะเคยอธิบายไปเกินสิบครั้งละ
แต่ก็ยังพบว่า ยังมีสมาชิกหลายท่าน ยังคิดค่าไฟกันผิด
ก็เลยมาตั้งเป็นกระทู้ เผื่อไว้วันหลัง จะได้ไม่ต้องอธิบายอะไรซ้ำอีก
แค่ทำลิ้งค์ชี้มาที่กระทู้นี้ครับ
--------------------------------------
ก่อนอื่น เราต้องรู้ก่อนว่า เราเสียค่าไฟหน่วยละเท่าไหร่
ถ้าเช่าห้อง เช่าหอพัก แล้วเจ้าของเค้ากำหนดราคาตายตัวมาให้ ก็เอาราคานั้นมาใช้ได้เลยครับ
แต่ถ้าไม่ใช่ ก็ต้องเอาบิลค่าไฟมาดูครับ
อันนี้ เป็นบิลค่าไฟเดือน ม.ค. ของบ้านผม (รูปใหญ่นิดนึง จะได้เห็นตัวเลขชัดนะ)

จุดที่เราต้องดู มีสองที่ คือตรงกรอบแดงที่ผมทำไว้
จำนวนหน่วย 398
ยอดค่าไฟ 1769.61
เดือน ม.ค. ผมเสียค่าไฟหน่วยละ 4.45 บาท (ยอดค่าไฟ/จำนวนหน่วย)
อันนี้ เป็นบิลค่าไฟเดือนนี้

จำนวนหน่วย 1198
ยอดค่าไฟ 5480.57
เดือนนี้ ผมเสียค่าไฟหน่วยละ 4.57 บาท (ยอดค่าไฟ/จำนวนหน่วย)
จะเห็นว่า ราคาค่าไฟต่อหน่วยในแต่ละช่วงเวลา ราคาไม่เท่ากันเป๊ะ
แต่ปกติ จะไม่แตกต่างกันมาก
ถ้าไม่ซีเรียส ก็เอาค่าเฉลี่ยคร่าวๆ
ตามบิลบ้านผม ผมใช้ค่า 4.50 บาท/หน่วย
แต่ถ้าใครอยากให้ถูกต้องมากขึ้น
ก็ต้องเอาใบเสร็จทั้งปีมาหาค่าเฉลี่ย
ราคาค่าไฟต่อหน่วย = ยอดค่าไฟทั้งปี/จำนวนหน่วยที่ใช้ทั้งปี
เมื่อเรารู้ราคาค่าไฟต่อหน่วยแล้ว
สิ่งต่อไปที่เราต้องรู้คือ คอมที่เราใช้ ใช้ไฟกี่หน่วย
มีวิธีเดียวที่จะรู้ได้ถูกต้อง คือ ต้องหามิเตอร์มาวัดครับ
มิเตอร์ที่การไฟฟ้าใช้ เรียกว่า watthour meter

เป็นมิเตอร์ที่แสดงค่า ของผลการคูณ ของค่า watt x hour
ก็คือ ค่าการใช้กำลังงาน (watt) คูณกับ ระยะเวลาเป็นชั่วโมง (hour)
หน่วยของการไฟฟ้า จะคิดที่ 1000 watthour = 1 หน่วย
หรือ 1 หน่วย = 1000 watthour = 1 KWH
เดี๋ยวนี้มีแบบ plug-in ที่เป็นตัวเลขดิจิตอลให้เลือกใช้หลายแบบ
เท่าที่เคยเทียบ ค่าก็ตรงกะมิเตอร์ของการไฟฟ้าครับ

(ถ้าวัดโหลดน้อยๆ ค่าจะผิดพลาดมาก)
จะสังเกตุเห็นว่า เราไม่เคยเห็นรีวิววัดค่า KWH เลย
แปลว่า เราไม่เคยเห็นรีวิววัดค่าไฟที่ต้องจ่ายเลยครับ
แล้วที่เราเห็นเค้าบอกเรื่องกินไฟตามรีวิวต่างๆ คืออะไร
อันนั้น คือการใช้ กำลังงาน ครับ (ภาษาที่เราเรียก ก็คือ การกินไฟ)
รูปนี้ วัดการกินไฟของแทปเล็ต (ตัวที่ผมกำลังพิมพิ์อยู่นี่)

สาเหตุที่รีวิวต่างๆ วัดค่า w แต่ไม่ได้วัด KWH
เพราะค่า KWH ขึ้นกับ hour ก็คือ ขึ้นกับการใช้งานจริงว่าใช้งานยังไง
แต่ละคน ใช้งานไม่เหมือนกัน เค้าจึงวัดแต่ค่า w แล้วให้แต่ละคนไปคำนวณค่า KWH กันเอง
เช่น แทปเล็ตข้างบน ตอนดูยูทูป ocz กินไฟ 4.2 w
ถ้าผมอยากรู้ว่า ถ้าผมดูยูทูป ocz แบบนี้ วันละ 2 ชม.
ดูวันละ 2 ชม. อย่างนี้เหมือนกันทุกวัน เดือนนึงจะเสียค่าไฟเท่าไหร่
ให้เอา 4.2 w มาคูณ 2 ชม. แล้วคูณด้วย 30 วัน
จะได้ 4.2 x 2 x 30 = 252 watthour = 0.252 KWH = 0.252 หน่วย
ถ้าคิดค่าไฟที่ 4.50 บาท/หน่วย
เดือนนึงจะเสียค่าไฟ 0.252 x 4.5 = 1.13 บาท
อันนี้ เป็นตัวอย่างให้เห็นว่า เราเอาค่าวัตต์ที่เห็นตามรีวิวมาใช้คิดค่าไฟยังไง
แต่การใช้งานจริงๆ การกินไฟของคอม มันไม่นิ่งครับ
ดูยูทูป 480p กับ 1080p กินไฟไม่เท่ากันครับ
เทส 3dmark ตลอดการเทส ก็กินไฟแตกต่างกันได้เป็นสิบเป็นร้อยวัตต์
เล่นเกมส์เดียวกัน แต่ละช่วงแต่ละฉากก็กินไฟไม่เท่ากันครับ
โหลดเมะ กินไฟ 3.8 W

ดู Absolute Duo ตอน 7 กินไฟ 5.1 W

เทส 3dmark03 กินไฟ 5.6 W

idle เปิดเครื่องไว้เฉยๆ กินไฟ 3.1 W

การกินไฟของจริง มันจะสวิงจากค่าที่เห็นนะครับ มากน้อยแล้วแต่โปรแกรมครับ
แปลว่า ถ้าเราใช้ค่าวัตต์ที่เห็นตามรีวิวมาใช้คิดค่าไฟ เราจะได้ค่าคร่าวๆ(?)
ซึ่งผิดพลาดแค่ไหน อันนี้แล้วแต่กรณี อาจใกล้เคียงมากหรือใช้ไม่ได้เลยก็ได้
อยากรู้ปริมาณการกินไฟที่ถูกต้องเป๊ะจริงๆ ต้องหามิเตอร์วัดค่า KWH มาวัดด้วยตัวเองครับ
(มิเตอร์บางตัวจะคำนวณเป็นค่าไฟมาให้ได้ แต่เราต้องป้อนราคาค่าไฟต่อหน่วยให้ถูกต้องด้วย)
สำหรับการคิดค่าไฟ ย้ำตรงนี้อีกทีว่า เราต้องหาค่าไฟต่อหน่วยของเราก่อนครับ
ตามที่ผมอธิบายข้างบน ก็ต้องเอาบิลของจริงมาคิดครับ
ถ้าเอาค่าวัตต์ของคอมอย่างเดียว ไปใส่โปรแกรมให้บอกค่าไฟ โดยที่ไม่ได้ป้อนค่าไฟต่อหน่วยจากบิลของจริง แบบนี้ผิดครับ
อีกตัวอย่างครับ
ถ้าจะเทียบอุปกรณ์สองอัน เช่น 494w vs. 320w ว่าต้องจ่ายค่าไฟต่างกันแค่ไหน
ถ้าบ้านผมนะ ค่าไฟหน่วยละ 4.50 บาท (อยู่หอ โดน 8 บาท ก็คิด 8 บาท)
แล้วเอาผลต่างของวัตต์มาลบ เช่น 494w vs. 320w = 494 - 320 = 174w
ถ้าใช้ทุกวันๆละ 2 ชม.
เดือนนึง(30 วัน) ค่าไฟจะต่างกัน 174 x 2 x 30 x 4.5 / 1000 = 46.98 บาท
ถ้าใช้ทุกวันๆละ 8 ชม. เดือนนึงค่าไฟจะต่างกัน 187.92 บาท
ถ้าใช้ทุกวันๆละ 8 ชม. ปีนึงค่าไฟจะต่างกัน 2255 บาท
ถ้าใช้ทุกวันๆละ 8 ชม. สามปี ค่าไฟจะต่างกัน 6765 บาท
--------------------------------------
เนื่องจาก กระทู้ออกทะเล ! จึงขอเสริมความเข้าใจนิดนึงครับ
วิธีคิดค่าไฟที่อธิบายข้างบน เอาไปใช้กะเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไปได้ครับ
เตารีด หม้อหุงข้าว พัดลม ทีวี แอร์ หลอดไส้ หลอดตะเกียบ หลอดLED ฯลฯ ก็ใช้วิธีคิดแบบนี้เหมือนกันหมด
เช่น ไฟรั้วรอบบ้านผม ตอนนี้ใช้หลอดยาว 36W 16 หลอด
ปกติ จะเปิดตอนฟ้ามืด ก็คือวันละประมาณ 12 ชม. (เปิดแบบนี้มา 15 ปีละ จ่ายค่าไฟส่วนนี้ไปสองแสนบาทได้ละ!)
ถ้าจะเปลี่ยนเป็นหลอดผอม (T5) 28W อยากรู้ว่า ปีนึงจะประหยัดค่าไฟได้เท่าไหร่
คิดตามสูตรได้เลยครับ
กินไฟต่างกัน 16 x (36 - 28) = 128 W
ปีนึงใช้ไฟต่างกัน 128 x 12 x 365 / 1000 = 560 KWH
1 ปี ประหยัดค่าไฟได้ = 560 x 4.5 = 2520 บาท
5 ปี ประหยัดค่าไฟได้ 12600 บาท
คำตอบตรงนี้้ เราเอาไปชั่งน้ำหนักได้ว่า คุ้มกะค่าแรง ค่าของ ค่าความวุ่นวาย ที่ต้องเปลี่ยนรึเปล่า
แอร์รุ่นเก่ากินไฟเยอะ เปลี่ยนเป็นแอร์รุ่นใหม่ที่กินไฟน้อยกว่า ดีกว่า ?
คำถามลักษณะนี้ เจอบ่อยนะ
อีกตัวอย่าง คำถามของนักลงทุนทำเหมือง
Originally posted by ZeeDZAAZ
View Post
จะเห็นว่า
1. เค้าคิดค่าไฟต่ำกว่าความจริง
2. ผลคือ ทำให้ กำไรที่คิดว่าจะได้ จะต่ำกว่าที่คิด
3. ถ้าผลประกอบการแย่ลงถึงจุดนึง จะขาดทุนโดยไม่รู้ตัว เพราะคิดว่าตัวเองยังมีกำไรอยู่ (เนื่องจากคิดต้นทุนค่าไฟผิด)
ถ้าเราคิดค่าไฟได้ถูกต้อง ก็จะเป็นประโยชน์กะตัวเราเองครับ
Comment