Announcement

Collapse
No announcement yet.

[สงสัย] TDP watt คืออะไรกันแน่? และเราจะรู้ได้ยังไงว่า CPU ตัวไหนกินไฟเท่าไหร่

Collapse
X
 
  • Filter
  • Time
  • Show
Clear All
new posts

  • [สงสัย] TDP watt คืออะไรกันแน่? และเราจะรู้ได้ยังไงว่า CPU ตัวไหนกินไฟเท่าไหร่

    สวัสดีครับ

    คือผมกำลังหาข้อมูลอยู่ว่า CPU ตัวไหนกินไฟเท่าไหร่? อัตราบริโภคเท่าไหร่? เมื่อก่อนดู TDP watt มาตลอด เพราะคิดว่ามันคือการบริโภคไฟ แต่เอ๊ะ

    หลังจากไปลองค้นหามาจริงๆ TDP Watt มันคือค่าความร้อนของอุปกรณ์
    ไม่ใช่อัตราการกินไฟที่เข้าใจมาตลอด (แป่ว)

    แล้วแบบนี้ เราจะทราบอัตราการกินไฟของอุปกรณ์ได้ยังไง? อย่างเช่น ในการเลือก CPU หา CPU ประหยัดไฟซักตัวนะครับ?
    เพราะผมงานผมต้องเกือบ Full Load ตลอด 24/7 นะครับ (ของเก่าใช้ A4-3400 จะเปลี่ยนมาใช้ G1610 เพราะเข้าใจว่าปรหยัดไฟกว่า แต่สงสัยจะไม่ใช่ซะละ..)

    ขอบคุณครับ

    (นั่งหา G1610T จนมึนละ)
    Last edited by popzeta2; 15 Aug 2013, 03:24:44.

  • #2
    ก็ราวๆ นั้นละ TDP ไม่ได้แปลว่ากินไฟ
    แต่ TDP น้อยกว่า ก็มีโอกาสที่จะกินไฟน้อยกว่าพวกที่ TDP มากกว่าเช่นกัน

    A4-3400 TDP 65 Watt
    G1610 TDP 55 Watt

    ดังนั้น G1610 กินไฟน้อยกว่า และ แรงกว่า A4 3400 แน่นอน

    Comment


    • #3
      ราวๆ นี้ละ สำหรับ Full load

      Comment


      • #4
        Originally posted by TWK. View Post
        ก็ราวๆ นั้นละ TDP ไม่ได้แปลว่ากินไฟ
        แต่ TDP น้อยกว่า ก็มีโอกาสที่จะกินไฟน้อยกว่าพวกที่ TDP มากกว่าเช่นกัน

        A4-3400 TDP 65 Watt
        G1610 TDP 55 Watt

        ดังนั้น G1610 กินไฟน้อยกว่า และ แรงกว่า A4 3400 แน่นอน
        คร้าบ คือผมสนใจ G1610T มากมาย แต่ดันอยู่เครื่อง OEM ช่างน่าเศร้า

        เพราะเครื่องที่ผมตามหาอยู่ มันต้องรัน 24/7/365 วัน นะครับ (บอร์ดมีพังใน 1 ปีแน่)
        รันที่ 80%-90% (ตาม A4-3400 เก่านะครับ)

        เลยอยากได้ที่มันประหยัด CPU หน่อย
        และต้องคำนวนงานไฟล์แบบวีดิโอได้ด้วยนะครับ เห้อ

        G1610T หาได้จากไหนหนอ อยากได้....

        ถ้าไม่ติดว่า ATOM มันเสียบ PCI-E อีก 2 อันไม่ได้นี้ ไปเอา ATOM มาใช้ละ...

        Comment


        • #5
          TDP Watt มันคือค่าความร้อนของอุปกรณ์
          พูดแบบนี้ ถูกต้องแค่ครึ่งนึงครับ

          เห็นหลายท่านโพสแบบนี้ แล้วก็โพสต่อๆกัน
          เหมือนเมื่อก่อนที่ชอบโพสต่อกันผิดๆว่ามันคือการกินไฟ

          ที่ถูกต้อง TDP มันเป็นค่าที่ได้จากสูตรที่เค้าใช้เวลาออกแบบระบบระบายความร้อนครับ
          ต้องเข้าใจสูตรอันนั้นก่อน จึงจะเข้าใจความหมายที่ถูกต้องของ TDP ครับ

          แล้วแบบนี้ เราจะทราบอัตราการกินไฟของอุปกรณ์ได้ยังไง?
          ปกติ datasheet ของ ic ทุกตัว จะมีสเปคบอกการกินไฟกว้างๆครับ
          แต่ละตัวกินไฟไม่เท่ากัน ในทางปฎิบัติ จึงต้องมาวัดเอาเอง
          เวลาเราเลือกซื้อ ก็ให้ดูรีวิวที่เว็บต่างๆเค้าวัดการกินไฟ(จริง) ให้ดูอันนั้นเป็นแนวทางครับ

          อยากได้ G1610T แนะนำซื้อ G1610 แล้วลดตัวคูณลงจาก 26 -> 23
          แล้วปรับไฟเลี้ยงลง ก็น่าจะกินไฟพอๆกัน หรืออาจจะกินไฟน้อยกว่าก็ได้ครับ
          ในทางปฎิบัติ คิดว่าถ้าใช้แบบเดิมๆ ทั้งสองตัวกินไฟไม่ต่างกันมากครับ

          Comment


          • #6
            Originally posted by m shifu View Post
            พูดแบบนี้ ถูกต้องแค่ครึ่งนึงครับ

            เห็นหลายท่านโพสแบบนี้ แล้วก็โพสต่อๆกัน
            เหมือนเมื่อก่อนที่ชอบโพสต่อกันผิดๆว่ามันคือการกินไฟ

            ที่ถูกต้อง TDP มันเป็นค่าที่ได้จากสูตรที่เค้าใช้เวลาออกแบบระบบระบายความร้อนครับ
            ต้องเข้าใจสูตรอันนั้นก่อน จึงจะเข้าใจความหมายที่ถูกต้องของ TDP ครับ


            ปกติ datasheet ของ ic ทุกตัว จะมีสเปคบอกการกินไฟกว้างๆครับ
            แต่ละตัวกินไฟไม่เท่ากัน ในทางปฎิบัติ จึงต้องมาวัดเอาเอง
            เวลาเราเลือกซื้อ ก็ให้ดูรีวิวที่เว็บต่างๆเค้าวัดการกินไฟ(จริง) ให้ดูอันนั้นเป็นแนวทางครับ

            อยากได้ G1610T แนะนำซื้อ G1610 แล้วลดตัวคูณลงจาก 26 -> 23
            แล้วปรับไฟเลี้ยงลง ก็น่าจะกินไฟพอๆกัน หรืออาจจะกินไฟน้อยกว่าก็ได้ครับ
            ในทางปฎิบัติ คิดว่าถ้าใช้แบบเดิมๆ ทั้งสองตัวกินไฟไม่ต่างกันมากครับ
            พแจะมัหนังสือหรือลิ้งไหนที่อธิบายเรื่อง TDP อย่างละเอียดไหมครับผมอยากทราบรายละเอียดทั้งหมด

            ส่วนมากเจออังกฤษ อ่านแล้วก็งงเพราะภาษาผมด้อยมาก

            Comment


            • #7
              คู่มือ cpu แต่ละรุ่นของ intel มีอธิบายครับ (เป็นภาษาอังกฤษ)
              แต่ต้องรู้เรื่องระบบความร้อนก่อน ถึงจะอ่านเข้าใจ
              เหมือนที่ผมเคยเปรียบว่า จะคูณเลขได้ ต้องบวกเลขให้เป็นก่อน

              ถ้าเอาภาษาไทย จำได้ว่า วารสารเซมิคอนดัคเตอร์ เล่มแรกๆ(กว่าสามสิบปีก่อน) มีอธิบายสูตรนี้(มั้ง)
              นอกนั้น ไม่รู้ว่ามีอีกรึเปล่า
              จริงๆศัพท์ทางอิเล็กฯ เราใช้ทับศัพท์ทั้งนั้นครับ
              ไม่ต้องเก่งอังกฤษ ก็รู้เรื่องได้หมด
              อยู่ที่เรียนตามสเตปรึเปล่าเท่านั้นเอง
              ถ้าข้ามสเตป ต่อให้เก่งอังกฤษ ก็รู้แบบไม่เข้าใจจริงครับ

              Comment


              • #8
                แล้วเวลากินไฟมันกินยังไงหว่า สมมุติฟูลโหลด 65w มันก็กินไฟ 65w ทุกๆวินาทีเลยหรือเปล่าฮะ เวลาคิดค่าไฟ เค้าคิดกันยังไงอ่า สงสัยมานานแล้วเหมือนกัน

                Comment


                • #9
                  เอาแบบคร่าวๆนะ
                  cpu แบบ cmos ตัวนึง ที่มีทรานซิสเตอร์ 1000 ล้านตัว
                  จุดที่มันจะกินไฟเยอะ คือจุดที่ทรานซิสเตอร์แต่ละตัว มีการเปลี่ยน logic จาก 1->0 หรือ 0->1 เท่านั้น
                  การเปลี่ยน logic ของทรานซิสเตอร์ใน cpu ที่เราใช้กันตอนนี้ มีความถี่สูงสุดถึงระดับ GHz คือ ระดับพันล้านครั้งต่อวินาที
                  ดังนั้น การกินไฟจริงๆของ cpu จะเปลี่ยนแปลงมากน้อยขึ้นลงแตกต่างกันมากระดับพันล้านครั้งต่อวินาทีเช่นกัน
                  ปริมาณการกินไฟตอนไม่เปลี่ยน logic กับตอนเปลี่ยน logic จะมีค่าแตกต่างกันมากๆ เช่น หลายพันเท่า
                  คนออกแบบ เค้าจึงต้องใส่ตัวเก็บประจุพิเศษต่อคร่อมขาไฟเลี้ยงของ cpu แบบใกล้ชิดกับขา cpu มากที่สุด (decoupling capacitor)
                  เพื่อให้ปริมาณการกินไฟจริงๆจากวงจรจ่ายไฟเลี้ยง(VRD หรือ VRM) สวิงน้อยลงมากๆ

                  เวลาทำงานจริง ทรานซิสเตอร์ทั้ง 1000 ล้านตัวนี้ จะมีการเปลี่ยน logic พร้อมกันแค่บางตัวในแต่ละช่วงเวลา(ไม่ใช่ทุกตัว)
                  ให้เปรียบกับคนบนโลกนี้ ที่ทำอะไรไม่พร้อมกันทุกคน แบบนั้นนะ
                  การกินไฟจริงๆจากวงจรจ่ายไฟเลี้ยง ก็ยังสวิงจากจำนวนทรานซิสเตอร์(ที่เปลี่ยน logic)ที่ไม่เท่ากัน ตามแต่ละคำสั่ง(micro code ฯลฯ)
                  ซึ่งเวลาเรารันโปรแกรมอะไรก็ตาม มันจะใช้คำสั่งที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

                  มิเตอร์ต่างๆที่เราใช้กันทั่วไป จะมีรอบการอ่านค่าที่ช้ากว่ามากๆๆๆๆ
                  เช่น พวก plug-in ที่เว็บเราใช้วัดวัตต์ มีความถี่แค่ 2-3 ครั้งต่อวินาที(มั้ง)
                  หรือหม้อไฟของการไฟฟ้า จะใช้เป็นแมคคานิกส์ หมุนไปเรื่อยๆ
                  จะเห็นว่า ค่าจากมิเตอร์ จริงๆเป็นการอ่านค่าเฉลี่ย

                  ดังนั้น ต่อให้เราอ่านค่าจากมิเตอร์ได้ 65 นิ่งๆตลอดเวลา
                  ก็ไม่ได้หมายความว่า จริงๆมันใช้ไฟ 65 นิ่งๆตลอดเวลา
                  65 เป็นค่าที่ถูกเฉลี่ยมาแล้วครับ

                  การไฟฟ้าคิดค่าไฟจาก kilowatt-hour meter
                  แปลง่ายๆคือ ค่าวัตต์ x เวลาที่ใช้(ชม.) หาร 1000 = จำนวนหน่วย
                  เช่น ใช้ไฟ 500W(ค่าเฉลี่ย) นาน 4ชม. = 500 x 4 / 1000 = 2 หน่วย
                  แล้วเอา 2 หน่วย ไปคิดค่าไฟอีกทีครับ

                  Comment


                  • #10
                    Originally posted by kkungvs1 View Post
                    แล้วเวลากินไฟมันกินยังไงหว่า สมมุติฟูลโหลด 65w มันก็กินไฟ 65w ทุกๆวินาทีเลยหรือเปล่าฮะ เวลาคิดค่าไฟ เค้าคิดกันยังไงอ่า สงสัยมานานแล้วเหมือนกัน
                    65Watt all time.

                    Comment


                    • #11
                      ความจริงแล้ว ไม่ควรคิดไฟแค่ CPU น่ะครับ ควรดู ค่าไฟรวมทั้งหมด ยิ่งเป็นการเปรียบเทียบกับ ตระกูลAPU กับCpuปกติ ยิ่งไม่ควรไปใหญ่ ถ้าเปรียบเทียบกัน เพราะAPU ไม่จำเป็นต้องใส่การ์ดจอมันเล่นเกมส์Onlineทั่วไปได้แล้ว แต่CPUปกติมันไม่ใช่ ต้องใส่การ์ดจอถึงจะเล่นได้(ถ้าไม่ใส่ก็เล่นได้แต่กระตุกสุดๆ) การ์ดจอทั่วไปกินไฟประมาณ 150+ตัวเรือธงก็ประมาณ220+

                      Comment


                      • #12
                        Originally posted by m shifu View Post
                        เวลาเราเลือกซื้อ ก็ให้ดูรีวิวที่เว็บต่างๆเค้าวัดการกินไฟ(จริง) ให้ดูอันนั้นเป็นแนวทางครับ
                        apu ที่ขายอยู่นี่ เท่าที่ดูรีวิวต่างๆ กินไฟเยอะพอตัวเลย โหลดทีว่ากันเป็น 100W
                        ผมคอย kaveri หวังว่ามันจะกินไฟน้อยลง แต่ก็เลื่อนไปปีหน้าซะงั้น

                        เอา all in one จอ 20" ที่ผมวัดเองให้ดูเป็นตัวอย่างอันนึง (ผมใช้มิเตอร์ตัวที่แม่นยำกว่าที่เว็บเราใช้รีวิวนะ)
                        วัดการใช้ไฟ(จากไฟบ้าน)ทั้งระบบ(รวมจอ)
                        i3-3220 geforce615 ลง 7 64bit
                        idle 35W (เล่นเว็บประมาณนี้)
                        ดูเมะ 1080p 45W
                        3dmark03 58W-65W พีคสุดที่ 76W ได้คะแนน 16xxx
                        idle ปิดหน้าจอ 19.5W (โหลดบิทประมาณนี้มั้ง)

                        ผมเคยเห็นรีวิว A4-3400 รัน 3dmark03 ใช้ไฟแถวๆ 70W มั้ง ได้คะแนน 12xxx มั้ง (ไม่แน่ใจว่าเสียบการ์ดเพิ่มรึเปล่า)
                        ถ้ามองรวมๆแบบนี้ i3-3220 geforce615 กินไฟน้อยกว่า แต่แรงกว่า A4-3400

                        แต่ถ้าจะเทียบ G1610 กับ A4-3400
                        ต้องดูระบบทั้งหมด และโปรแกรมที่ใช้อีกที ถึงจะบอกได้ว่าแตกต่างกันแค่ไหน(ทั้งเรื่องการกินไฟ และการใช้งาน)ครับ

                        Comment


                        • #13
                          Originally posted by kkungvs1 View Post
                          แล้วเวลากินไฟมันกินยังไงหว่า สมมุติฟูลโหลด 65w มันก็กินไฟ 65w ทุกๆวินาทีเลยหรือเปล่าฮะ เวลาคิดค่าไฟ เค้าคิดกันยังไงอ่า สงสัยมานานแล้วเหมือนกัน
                          W เป็นหน่วยที่เทียบต่อวินาทีอยู่แล้วครับ

                          จูล ต่อ วินาที = วัตต์

                          Comment


                          • #14
                            Originally posted by m shifu View Post
                            การไฟฟ้าคิดค่าไฟจาก kilowatt-hour meter
                            แปลง่ายๆคือ ค่าวัตต์ x เวลาที่ใช้(ชม.) หาร 1000 = จำนวนหน่วย
                            เช่น ใช้ไฟ 500W(ค่าเฉลี่ย) นาน 4ชม. = 500 x 4 / 1000 = 2 หน่วย
                            แล้วเอา 2 หน่วย ไปคิดค่าไฟอีกทีครับ
                            Originally posted by Arjuna View Post
                            65Watt all time.
                            Originally posted by Evo_IX View Post
                            W เป็นหน่วยที่เทียบต่อวินาทีอยู่แล้วครับ

                            จูล ต่อ วินาที = วัตต์
                            อย่างนี้นี่เอง ขอบคุณครับ

                            Comment


                            • #15
                              เจอเว็บเราเคยรีวิว A4-3400 (ไม่รวมจอ)
                              3dmark03 ใช้ไฟ 82W ได้คะแนน 13976



                              ของผม i3-3220 geforce615 (รวมจอ)
                              3dmark03 ใช้ไฟ 58W-65W พีคสุดที่ 76W ได้คะแนน 16xxx
                              ถ้าหักจอ 15W จะเหลือ 43W-50W พีคสุดที่ 61W

                              Comment

                              Working...
                              X