วันนี้ขอแจกแจงเรื่อง Socket ของ CPU สำหรับหลายๆ ท่านที่ยังอาจไม่ทราบ
การเลือกซื้อ CPU นั้นเราควรพิจารณาว่า CPU ของเรานั้นใช้กับ Socket แบบใด เพื่อที่เราจะได้เลือกซื้อเมนบอร์ดมาใช้งานได้อย่างถูกต้องและ Socket ที่ถูกใช้เป็นมาตรฐานในปัจจุบันรวมไปถึงอนาคตของพีซีทั้งค่าย Intel และค่าย AMD มีดังต่อไปนี้
ซ็อคเก็ตของ CPU ในปัจจุบัน
สำหรับ Socket Intel
Socket LGA 775

หรือเรียกว่า Socket T เป็นซ็อคเก็ตที่ถูกใช้กับซีพียู Intel ในตระกูล Celeron , Pentium และ Core 2 ทุกรุ่น มีจำนวนขาจำนวนขาที่ใช้รองรับตัวซีพียูทั้งสิ้น 775 ขา ในอดีตถือว่าเป็นมาตรฐานที่ถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย แต่ปัจจุบันกำลังจะถูกแทนที่ด้วยซีพียูรุ่นใหม่ๆ LGA 775 นี้ถือเป็นซ็อคเก็ตรุ่นแรกที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้งานกับซีพียู Pentium 4 รหัส Prescott ของ Intel ที่ก็ถือเป็นซีพียูรุ่นแรกที่ได้เปลี่ยนมาใช้บรรจุภัณฑ์แบบ LGA นี้เช่นกัน โดยก่อนหน้านี้ซีพียูทุกรุ่นใช้บรรจุภัณฑ์แบบ PGA บน Socket 478 มาโดยตลอด
Socket LGA 1156

หรือเรียกว่า Socket H เป็นซ็อคเก็ตที่ใช้กับซีพียู Intel ในตระกูล Core i3 (5xx-Clarkdale) , i5 (6xx-Clarkdale/7xx-Lynnfield) และ i7 (8xx-Lynnfield) มีจำนวนขาที่รองรับซีพียูทั้งหมด 1156 ขา สาเหตุหลักที่ทำให้ซีพียูเหล่านี้มีจำนวนขามากขึ้นเพราะ ได้รับการปรับเปลี่ยนโครงสร้างภายในโดยเอาส่วนควบคุมหน่วยความจำ (Memory Controller) และส่วนควบคุมกราฟฟิก (PCI-Express Controller) จากเดิมที่เคยอยู่ในชิปเซ็ตเข้าไปไว้ภายในตัวซีพียู ในปีที่ผ่านมาซ็อตเก็ตแบบนี้ถือเป็นมาตรฐานซึ่งได้ถูกนำมาใช้งานกันอย่างแพร่หลาย
Socket LGA 1366

หรือเรียกว่า Socket B เป็นซ็อตเก็ตที่ถูกใช้กับซีพียู Intel ในตระกูล Core i7 รหัส 9xx ทั้งแบบ Quad-Core (4 แกนประมวลผล) และแบบ Hexa-Core (6 แกนประมวลผล) มีจำนวนขาที่ใช้รองรับตัวซีพียูทั้งสิ้น 1366 ขา ด้วยเหตุที่ซีพียูรุ่นนี้มีส่วนควบคุมหน่วยความจำ DDR3 แบบ Tripple-Channel อยู่ภายในตัวทำให้มีจำนวนขามากขึ้นส่งผลให้ตัวซีพียูเองมีขนาดที่ใหญ่ขึ้นตามไปด้วย ปัจจุบันซ็อตเก็ตชนิดนี้ได้รับความนิยมในกลุ่มผู้ที่ต้องการใช้งานแรม DDR3 แบบ Tripple-Channel เพื่อเพิ่มศักยภาพในการรับส่งข้อมูลกับแรม
Socket LGA 1155

หรือเรียกว่า Socket H2 เป็นซ็อคเก็ตใหม่ในปี 2011 ที่จะมาแทน LGA 1156 เดิม โดยจะถูกใช้กับซีพียู Intel (32 nm) ทั้งในแบบ Dual-Core (2 แกนประมวลผล) และ Quad-Core บนสถาปัตยกรรม Sandy Bridge ในกลุ่มซีพียู Desktop ทุ่กรุ่น ทั้ง Pentium , Core i3 , i5 และ i7 ที่ได้รับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายในใหม่ ซึ่งจะถูกใช้งานกับซิปเซ็ต PCH ใหม่ในตระกูล P6x , H6x และ Q6x ทำให้ไม่สามารถนำซีพียูรุ่นเดิมที่เป็น LGA 1156 มาใช้งานบนเมนบอร์ดหรือซ็อตเก็ตที่เป็น LGA 1155 ได้
Socket LGA 1356

หรือเรียกว่า Socket B2 เป็นซ็อตเก็ตใหม่ในปี 2011 ที่มาแทน LGA 1366 เดิม โดยจะถูกใช้กับซีพียู Intel ทั้งในแบบ Hexa-Core (6 แกนประมวลผล) และ Octa-Core (8 แกนประมวลผล) บนสถาปัตยกรรม Sandy Bridge ในกลุ่ม Desktop ระดับ High Performance ที่ได้รับการปรับเปลี่ยนโครงสร้างภายในแต่ยังคงใช้ส่วนควบคุมหน่วยความจำ DDR3 ในแบบ Tripple-Channel อยู่ ซึ่งจะถูกใช้งานกับซิปเซ็ต PCH ใหม่ที่คาดว่าน่าจะเป็น X68 ทำให้ไม่สามารถนำเอาซีพียูรุ่นเดิมที่เป็น LGA 1366 มาใช้งานบนเมนบอร์ดหรือซ็อคเก็ตที่เป็น LGA 1356 ได้
Socket LGA 2011

หรือเรียกว่า Socket R เป็นซ็อตเก็ตใหม่ในปี 2011 ที่จะถูกนำมาใช้งานกับซีพียู Intel ทั้งในแบบ Quad-Core , Hexa-Core และ Octa-Core บนสถามปัตยกรรม Sandy Bridge ในกลุ่มของเครื่อง Server ระดับสูง ทั้งเมนบอร์ดแบบซ็อคเก็ตเดี่ยวหรือมากกว่า 2 ซ็อคเก็ตขึ้นไป โดยจุดเด่นของซีพียูนอกจากจะมีจำนวนขามากถึง 2011 ขา ทำให้ตัวซีพียูมีขนาดใหญ่เนื่องมาจากภายในบรรจุส่วนควบคุมหน่วยความจำ DDR3 ในแบบ Quad-Channel หรือ 4 ช่องทาง (เสียบแรมแบบ 4 แถว) เอาไว้ ซึ่งดูแล้วน่าจะเหมาะกับงานที่ต้องใช้แรมจำนวนมากและต้องการประสิทธิภาพในการประมวลผลที่ดีเยี่ยม ยังมีส่วนควบคุมกราฟฟิก (PCI- Express Controller) ที่สนับสนุนการเชื่อมต่อด้วยบัสหรือช่องทางมากถึง 40 lenes และมีช่องทางในการเชื่อมต่อระหว่างซีพียูด้วยกันผ่านบัส QPI มาให้ถึง 2 จุด (Links) ซึ่งจากจากซีพียูในแบบ LGA 1356 ที่มีบัส QPI มาให้เพียงจุดเดียว
---------------------
สำหรับ Socket AMD
Socket AM2 และ AM2+ (Socket 940)

AM2 และ AM2+ เป็นซ็อคเก็ตที่ถูกใช้กับซีพียูรุ่นเก่าของค่าย AMD ในตระกูล Sempron , Athlon 64 X2/FX , Athlon X2 , Phenom X3/X4/FX และ Phenom II มีจำนวนรูที่ใช้เสียบขาซีพียูเท่ากันคือ 940 รู และสนับสนุนแรมแบบ DDR2 เหมือนกัน แต่ต่างกันเพียงบนเมนบอร์ดที่ใช้ซ็อคเก็ต AM2 จะสนับสนุนความเร็วบัสสูงสุดที่ 1 GHz บนมาตรฐานของ HyperTransport 2.0 (HT 2.0) ส่วนเมนบอร์ดที่ใช้ซ็อคเก็ต AM2+ จะสนับสนุนความเร็วบัสสูงสุดที่ 2.6 GHz บนมาตรฐาน HyperTransport 3.0 (HT 3.0) ดังนั้นถึงแม้จะสามารถสลับสับเปลี่ยนโดยนำเอาซีพียู AM2 ไปใช้งานบนซ็อคเก็ต AM2+ หรือนำเอาซีพียู AM2+ ไปใช้งานบนซ็อคเก็ต AM2 ได้ แต่ผลลัพธ์ที่ได้ก็คือ ซีพียู AM2+ ที่ทำงานบนซ็อคเก็ต AM2 จะถูกจำกัดด้วยขีดความสามารถของเมนบอร์ดที่ใช้ กล่าวคือจะมีความเร็วบัสสูงสุดเพียง 1 GHz เท่านั้น บนมาตรฐาน HyperTransport 2.0 เช่นเดียวกันถ้านำซีพียู AM2 ไปใช้งานบนซ็อคเก็ต AM2+ มันก็ไม่ได้ทำงานเร็วขึ้นตามขีดความสามารถของเมนบอร์ดที่ใช้แต่อย่างใด
Socket AM3 และ AM3+ (Socket 938)

AM3 เป็นซ็อคเก็ตที่ถูกใช้งานกับซีพียูของ AMD ในรุ่นปัจจุบัน ในตระกูล Sempron , Athlon II และ Phenom II มีจำนวนรูที่ใช้เสียบขาซีพียูทั้งสิ้น 941 รู แต่ตัวซียูที่ใช้กับซ็อคเก็ต AM3 นี้ มีจำนวนขาเพียง 938 ขา ซึ่งสนับสนุนแรมทั้งแบบ DDR2 และ DDR3 ทำให้เราสามารถนำเอาซีพยูที่เป็น AM3 ไปใช้งานบนเมนบอร์ดที่มีซ็อคเก็ตเป็น AM2/AM2+ ได้ เพียงแต่ต้องมีการอัพเดทไบออสเพื่อให้เมนบอร์ดรู้จักซีพียู หรือเลือกใช้เมนบอร์ดที่สนับสนุนซีพียูที่เป็น AM3 ซึ่งจะมีข้อความกำกับไว้บนกล่องว่า "AM3 Ready" ส่วนซีพียูที่เป็น AM2+ ก็สามารถนำไปใช้งานบนเมนบอร์ดที่เป็นซ็อคเก็ต AM3 ได้ แต่ต้องเป็นรุ่นที่สนับสนุนแรม DDR2 เท่านั้น ไม่สามารถใช้งานกับเมนบอร์ดที่สนับสนุนแรม DDR3 ได้
ส่วน AM3+ ก็เป็นซ็อคเก็ตใหม่ที่ได้รับการปรับปรุงมาจาก AM3 เดิม ซึ่งคาดว่าน่าจะถูกนำมาใช้กับซีพียูที่เป็น 32 nm ของ AMD บนสถาปัตยกรรม Bulldozer ภายใต้รหัส Zambezi ในแบบ Octa-Core (8 แกนประมวลผล) ที่สนับสนุน DDR3 ในแบบ Dual-Channel ภายในปี 2011
ปล.หวังว่าคงเป็นประโยชน์บ้าง...ครับ
การเลือกซื้อ CPU นั้นเราควรพิจารณาว่า CPU ของเรานั้นใช้กับ Socket แบบใด เพื่อที่เราจะได้เลือกซื้อเมนบอร์ดมาใช้งานได้อย่างถูกต้องและ Socket ที่ถูกใช้เป็นมาตรฐานในปัจจุบันรวมไปถึงอนาคตของพีซีทั้งค่าย Intel และค่าย AMD มีดังต่อไปนี้
ซ็อคเก็ตของ CPU ในปัจจุบัน
สำหรับ Socket Intel
Socket LGA 775

หรือเรียกว่า Socket T เป็นซ็อคเก็ตที่ถูกใช้กับซีพียู Intel ในตระกูล Celeron , Pentium และ Core 2 ทุกรุ่น มีจำนวนขาจำนวนขาที่ใช้รองรับตัวซีพียูทั้งสิ้น 775 ขา ในอดีตถือว่าเป็นมาตรฐานที่ถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย แต่ปัจจุบันกำลังจะถูกแทนที่ด้วยซีพียูรุ่นใหม่ๆ LGA 775 นี้ถือเป็นซ็อคเก็ตรุ่นแรกที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้งานกับซีพียู Pentium 4 รหัส Prescott ของ Intel ที่ก็ถือเป็นซีพียูรุ่นแรกที่ได้เปลี่ยนมาใช้บรรจุภัณฑ์แบบ LGA นี้เช่นกัน โดยก่อนหน้านี้ซีพียูทุกรุ่นใช้บรรจุภัณฑ์แบบ PGA บน Socket 478 มาโดยตลอด
Socket LGA 1156

หรือเรียกว่า Socket H เป็นซ็อคเก็ตที่ใช้กับซีพียู Intel ในตระกูล Core i3 (5xx-Clarkdale) , i5 (6xx-Clarkdale/7xx-Lynnfield) และ i7 (8xx-Lynnfield) มีจำนวนขาที่รองรับซีพียูทั้งหมด 1156 ขา สาเหตุหลักที่ทำให้ซีพียูเหล่านี้มีจำนวนขามากขึ้นเพราะ ได้รับการปรับเปลี่ยนโครงสร้างภายในโดยเอาส่วนควบคุมหน่วยความจำ (Memory Controller) และส่วนควบคุมกราฟฟิก (PCI-Express Controller) จากเดิมที่เคยอยู่ในชิปเซ็ตเข้าไปไว้ภายในตัวซีพียู ในปีที่ผ่านมาซ็อตเก็ตแบบนี้ถือเป็นมาตรฐานซึ่งได้ถูกนำมาใช้งานกันอย่างแพร่หลาย
Socket LGA 1366

หรือเรียกว่า Socket B เป็นซ็อตเก็ตที่ถูกใช้กับซีพียู Intel ในตระกูล Core i7 รหัส 9xx ทั้งแบบ Quad-Core (4 แกนประมวลผล) และแบบ Hexa-Core (6 แกนประมวลผล) มีจำนวนขาที่ใช้รองรับตัวซีพียูทั้งสิ้น 1366 ขา ด้วยเหตุที่ซีพียูรุ่นนี้มีส่วนควบคุมหน่วยความจำ DDR3 แบบ Tripple-Channel อยู่ภายในตัวทำให้มีจำนวนขามากขึ้นส่งผลให้ตัวซีพียูเองมีขนาดที่ใหญ่ขึ้นตามไปด้วย ปัจจุบันซ็อตเก็ตชนิดนี้ได้รับความนิยมในกลุ่มผู้ที่ต้องการใช้งานแรม DDR3 แบบ Tripple-Channel เพื่อเพิ่มศักยภาพในการรับส่งข้อมูลกับแรม
Socket LGA 1155

หรือเรียกว่า Socket H2 เป็นซ็อคเก็ตใหม่ในปี 2011 ที่จะมาแทน LGA 1156 เดิม โดยจะถูกใช้กับซีพียู Intel (32 nm) ทั้งในแบบ Dual-Core (2 แกนประมวลผล) และ Quad-Core บนสถาปัตยกรรม Sandy Bridge ในกลุ่มซีพียู Desktop ทุ่กรุ่น ทั้ง Pentium , Core i3 , i5 และ i7 ที่ได้รับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายในใหม่ ซึ่งจะถูกใช้งานกับซิปเซ็ต PCH ใหม่ในตระกูล P6x , H6x และ Q6x ทำให้ไม่สามารถนำซีพียูรุ่นเดิมที่เป็น LGA 1156 มาใช้งานบนเมนบอร์ดหรือซ็อตเก็ตที่เป็น LGA 1155 ได้
Socket LGA 1356

หรือเรียกว่า Socket B2 เป็นซ็อตเก็ตใหม่ในปี 2011 ที่มาแทน LGA 1366 เดิม โดยจะถูกใช้กับซีพียู Intel ทั้งในแบบ Hexa-Core (6 แกนประมวลผล) และ Octa-Core (8 แกนประมวลผล) บนสถาปัตยกรรม Sandy Bridge ในกลุ่ม Desktop ระดับ High Performance ที่ได้รับการปรับเปลี่ยนโครงสร้างภายในแต่ยังคงใช้ส่วนควบคุมหน่วยความจำ DDR3 ในแบบ Tripple-Channel อยู่ ซึ่งจะถูกใช้งานกับซิปเซ็ต PCH ใหม่ที่คาดว่าน่าจะเป็น X68 ทำให้ไม่สามารถนำเอาซีพียูรุ่นเดิมที่เป็น LGA 1366 มาใช้งานบนเมนบอร์ดหรือซ็อคเก็ตที่เป็น LGA 1356 ได้
Socket LGA 2011

หรือเรียกว่า Socket R เป็นซ็อตเก็ตใหม่ในปี 2011 ที่จะถูกนำมาใช้งานกับซีพียู Intel ทั้งในแบบ Quad-Core , Hexa-Core และ Octa-Core บนสถามปัตยกรรม Sandy Bridge ในกลุ่มของเครื่อง Server ระดับสูง ทั้งเมนบอร์ดแบบซ็อคเก็ตเดี่ยวหรือมากกว่า 2 ซ็อคเก็ตขึ้นไป โดยจุดเด่นของซีพียูนอกจากจะมีจำนวนขามากถึง 2011 ขา ทำให้ตัวซีพียูมีขนาดใหญ่เนื่องมาจากภายในบรรจุส่วนควบคุมหน่วยความจำ DDR3 ในแบบ Quad-Channel หรือ 4 ช่องทาง (เสียบแรมแบบ 4 แถว) เอาไว้ ซึ่งดูแล้วน่าจะเหมาะกับงานที่ต้องใช้แรมจำนวนมากและต้องการประสิทธิภาพในการประมวลผลที่ดีเยี่ยม ยังมีส่วนควบคุมกราฟฟิก (PCI- Express Controller) ที่สนับสนุนการเชื่อมต่อด้วยบัสหรือช่องทางมากถึง 40 lenes และมีช่องทางในการเชื่อมต่อระหว่างซีพียูด้วยกันผ่านบัส QPI มาให้ถึง 2 จุด (Links) ซึ่งจากจากซีพียูในแบบ LGA 1356 ที่มีบัส QPI มาให้เพียงจุดเดียว
---------------------
สำหรับ Socket AMD
Socket AM2 และ AM2+ (Socket 940)

AM2 และ AM2+ เป็นซ็อคเก็ตที่ถูกใช้กับซีพียูรุ่นเก่าของค่าย AMD ในตระกูล Sempron , Athlon 64 X2/FX , Athlon X2 , Phenom X3/X4/FX และ Phenom II มีจำนวนรูที่ใช้เสียบขาซีพียูเท่ากันคือ 940 รู และสนับสนุนแรมแบบ DDR2 เหมือนกัน แต่ต่างกันเพียงบนเมนบอร์ดที่ใช้ซ็อคเก็ต AM2 จะสนับสนุนความเร็วบัสสูงสุดที่ 1 GHz บนมาตรฐานของ HyperTransport 2.0 (HT 2.0) ส่วนเมนบอร์ดที่ใช้ซ็อคเก็ต AM2+ จะสนับสนุนความเร็วบัสสูงสุดที่ 2.6 GHz บนมาตรฐาน HyperTransport 3.0 (HT 3.0) ดังนั้นถึงแม้จะสามารถสลับสับเปลี่ยนโดยนำเอาซีพียู AM2 ไปใช้งานบนซ็อคเก็ต AM2+ หรือนำเอาซีพียู AM2+ ไปใช้งานบนซ็อคเก็ต AM2 ได้ แต่ผลลัพธ์ที่ได้ก็คือ ซีพียู AM2+ ที่ทำงานบนซ็อคเก็ต AM2 จะถูกจำกัดด้วยขีดความสามารถของเมนบอร์ดที่ใช้ กล่าวคือจะมีความเร็วบัสสูงสุดเพียง 1 GHz เท่านั้น บนมาตรฐาน HyperTransport 2.0 เช่นเดียวกันถ้านำซีพียู AM2 ไปใช้งานบนซ็อคเก็ต AM2+ มันก็ไม่ได้ทำงานเร็วขึ้นตามขีดความสามารถของเมนบอร์ดที่ใช้แต่อย่างใด
Socket AM3 และ AM3+ (Socket 938)

AM3 เป็นซ็อคเก็ตที่ถูกใช้งานกับซีพียูของ AMD ในรุ่นปัจจุบัน ในตระกูล Sempron , Athlon II และ Phenom II มีจำนวนรูที่ใช้เสียบขาซีพียูทั้งสิ้น 941 รู แต่ตัวซียูที่ใช้กับซ็อคเก็ต AM3 นี้ มีจำนวนขาเพียง 938 ขา ซึ่งสนับสนุนแรมทั้งแบบ DDR2 และ DDR3 ทำให้เราสามารถนำเอาซีพยูที่เป็น AM3 ไปใช้งานบนเมนบอร์ดที่มีซ็อคเก็ตเป็น AM2/AM2+ ได้ เพียงแต่ต้องมีการอัพเดทไบออสเพื่อให้เมนบอร์ดรู้จักซีพียู หรือเลือกใช้เมนบอร์ดที่สนับสนุนซีพียูที่เป็น AM3 ซึ่งจะมีข้อความกำกับไว้บนกล่องว่า "AM3 Ready" ส่วนซีพียูที่เป็น AM2+ ก็สามารถนำไปใช้งานบนเมนบอร์ดที่เป็นซ็อคเก็ต AM3 ได้ แต่ต้องเป็นรุ่นที่สนับสนุนแรม DDR2 เท่านั้น ไม่สามารถใช้งานกับเมนบอร์ดที่สนับสนุนแรม DDR3 ได้
ส่วน AM3+ ก็เป็นซ็อคเก็ตใหม่ที่ได้รับการปรับปรุงมาจาก AM3 เดิม ซึ่งคาดว่าน่าจะถูกนำมาใช้กับซีพียูที่เป็น 32 nm ของ AMD บนสถาปัตยกรรม Bulldozer ภายใต้รหัส Zambezi ในแบบ Octa-Core (8 แกนประมวลผล) ที่สนับสนุน DDR3 ในแบบ Dual-Channel ภายในปี 2011
ปล.หวังว่าคงเป็นประโยชน์บ้าง...ครับ
Comment