วันนี้ก็เกิดการการเบื่อๆเซ็งๆอยู่เล็กน้อยจนถึงเซ็งๆมาก เลยคิดว่ามานั่งทำอะไรแบบนี้ซักหน่อยดีกว่า
สำหรับเรื่องที่เขียนในวันนี้ไม่ได้ไปเอาของฝรั่งหรือว่าของคนอื่นมานั่งแปลให้อ่านกันนะครับ นั่งเขียน
จากการที่ผมได้ทดลองเล่นกันจริงๆกับ AMD Phenom II X4,X3 และ X2 อยู่มากพอสมควรครับ
ปีนี้ก็ซื้อทั้งเมนบอร์ดกับซีพียูมาลองเล่นอยู่มากมายพอสมควรก็หมดไปเยอะ แต่ก็ความสุขที่เสียเงิน
ไม่ได้ไปสร้างความเดือนร้อนแก่คนอื่นทุกๆวันนี้ไปเดินพันทิพย์ก็จะมีตามร้านมักจะแซวๆว่า วันนี้จะมี
ซีพียูอะไรไปเล่นอีก ไม่งั้นก็ถามว่าวันนี้จะซื้อเมนบอร์ดรุ่นอะไรอีก ทั้งๆที่ของเทสที่ส่งมาเทสก็จริงๆ
แล้วก็สามารถเอามาเล่นได้ แต่รู้สึกว่ามันไม่ใช่ของตัวเองยังไงเล่นก็ไม่มีทางรู้สึกดีเท่าของตัวเอง ที่
เล่าให้ฟังก่อน เดี๋ยวจะมีพวกมาหาว่าอวดล่ำอวดรวยว่าจากขับ 350Z แล้วมาเปลี่ยนเป็น Honda อีก
ก็ผมไม่ได้ทำงานประจำควบทั้งสองอย่างนี่หว่า จะเอาตังที่ไหนไปเติมน้ำมันเครื่อง V6 3.5 ลิตรได้ไง
บอกตรงๆผมเป็นคนรักด้านคอมพิวเตอร์มาก ผมก็คิดว่าทำอะไรก็ทำซักอย่างให้จริงจังไปเลยจะดีกว่า
นอกเรื่องไปเยอะ แต่พูดจริงๆมันก็เขียนออกมาจากความเก็บกดที่อยู่ในใจของผมนั้นแหละ วันๆก็นั่ง
อยู่หน้าคอมไม่ได้ออกไปไหนนอกจากพันทิพย์และ7/11(ออกไปซื้ออะไรมาสูบ) วันนี้ที่ผมเขียนก็
จากประสบการณ์ที่ได้ลองเล่นและใช้งานจริง ไม่ใช่เอามาอัดโชว์แบบสุดๆแล้วก็เก็บเข้ากล่อง
แล้วไม่ได้เล่นในห้องที่มีอุณหภูมิเหมือนเมืองหนาว หรือว่าใช้ของเหลวช่วยระบายความร้อนครับ
เปิดคอร์
- Phenom II X3 710 (2 ตัว ซื้อเอง-ขายไปแล้ว)
- Phenom II X3 720 (1 ตัว ซื้อเอง-ขายไปแล้ว + ของทดสอบจากเอเอ็มดี 1ตัว-คืนไปแล้ว)
- Phenom II X2 550 (6 ตัว ฝากเพื่อนหิ้วมาจากนอกมาลองดู ทุกวันนี้ขายคนรู้จักไปหมดแล้ว)
- Semporn X1 140 (ของน้องแถวบ้านกับรุ่นน้องที่ทำงานเก่า ช่วยออกค่าลองไปตัวละ 2XX)
เปิด Cache L3
- Phenom II X4 810 (ซื้อมาทำ Core-Router 1ตัว + สำหรับใช้เทสทำบทความถึงทุกวันนี้)
- Phenom II X4 820 (ตัวที่ทางเอเอ็มดีส่งมาให้ทดสอบที่เพิ่งทำบทความไปไม่นานมานี้)
นิยามของซีพียูแต่ละยุค
AMD K8 = Socket 754 939 940 ยุคแรกของซีพียูที่มีคำสั่ง X86-64 ในซีพียูระดับที่คนทั่วๆ
ไปนั้นสามารถซื้อหามาใช้ได้ ส่วนมาต่อท้ายซื่อรุ่นก่อนหน้ารหัสของรุ่นจะมีคำว่า "64" กำกับไว้เสมอ
จะสังเกตได้จากโลโก้ของซีพียูในยุค Socket 754 939 940 ได้ครับ
AMD K8.5 = ก็คือซีพียู K8 ที่มาปรับปรุงเพิ่มเติมในเรื่องของการรองรับเมโมรี DDR2 เข้ามาใช้ยุค
นี้ก็เป็นช่วงของซ๊อกเก็ต AM2 ยังมีการย้ำ "64" เหมือนกันยุค K8 AMD K8.5 ยังมีบัคในส่วนของ
Cool 'n' Quite ติดตามมาเหมือน AMD K8 เช่นกัน
AMD K10 = ยุคของ Phenom 1 การรองรับเมโมรีจากเดิมที่เคยเป็น DDR2 800 ก็เปลี่ยนมาเป็น
DDR2 1066 แต่พวก DDR2 800 667 ก็สามารถที่จะใช้งานร่วมกันได้ครับ ในยุค AMD K10 นั้น
เป็นยุคที่ทาง AMD แก้ไขปัญหาเรื่อง Cool 'n' Quite ไปได้หมดแล้ว แต่ก็ยังมีบางเว็บที่มีอคติกับ
AMD ชอบบอกว่ายังมีบัค Cool 'n' Quite อยู่ ส่วน Athlon X2 7X50 จริงๆแล้วมันก็คือ AMD
K10 ( Phenom 1 Dual Core) ช่วงนี้จะเป็น Socket AM2+
AMD K10.5 = ยุคของ AMD Phenom II และ Athlon II ที่เพิ่มการรองรับเมโมรี DDR3
เพิ่มเติมขึ้นมาจาก Socket AM2+ เลยทำให้เป็นที่มาของซ๊อกเก็ต AM3 ที่ในโปรแกรมยังแสดง
ว่าซ๊อกเก็ต AM3 เป็น Socket AM2+ เพราะว่า Socket AM3 มี ID Platform เหมือนกับ
Socket AM2+ เพื่อที่ทำให้ซีพียูซ๊อกเก็ต AM3 นั้นสามารถใช้งานร่วมเมนบอร์ดซ๊อกเก็ต AM2+
มีซีพียู AMD K10.5 สองรุ่นเท่านั้นที่เป็นซ๊อกเก็ต AM2+ คือรุ่น Phenom II X4 920 และ
940 Black Edition ใครมีไว้ก็เก็บไว้เป็นอนุสรณ์ได้เลย ไม่มีผลิตแล้วจริงๆ
แล้วซีพียูที่มันสามารถเปิดคอร์ กับ Cache L3 มันมาจากไหน

Phenom II : Revision RB-C2
อันนี้ก็พูดตามความเป็นจริง ขอก่อนเลยว่าอย่าเพิ่งมาต่อว่าผมและทางเว็บ ผมอยากจะให้ผู้ที่คิดจะ
ซื้อซีพียูลองเปิดคอร์นั้นได้คิดถึงความเสี่ยงด้วย ขอให้เข้าใจในความตั้งใจของผมด้วยก็แล้วกันครับ
ซีพียูที่สามารถเปิดคอร์และแคชได้พูดกันง่ายๆเลยคือซีพียู AMD Phenom II 900 Series ที่เกิด
ความผิดพลาดในการผลิต จึงทำให้มีการนำเทสอีกครั้งเพื่อมาทำเป็นซีพียู Phenom II 800 700
และ 500 เพื่อไม่ให้เป็นการเพิ่มต้นทุนและเสียเวลาออกแบบซีพียูรุ่นที่มีราคาประหยัดลงไปใหม่ จึง
ทำให้ AMD Phenom II นั้นมีราคาไม่สูงมากเหมือน AMD Phenom II 920 และ 940 BE ตอน
ที่ออกมาใหม่ๆ ก็ไม่รู้ทำไมผมถึงหาเงินไปซื้อ AMD Phenom II 920 วันแรกๆที่มีขายในเมืองไทย
ยอมรับว่าราคาสูงมากๆ แต่คนมันอยากได้ อิอิ เลยก็ต้องเสียเงินซื้อกันไปเพื่อที่อยากจะรู้ว่ามันแรง
กว่า Phenom 1 X4 มากมั๊ย แพงกว่า 955BE ราคาที่ขายตอนนี้ซะอีก
ความผิดอะไรของ Deneb Rev. RB-C2 ที่ต้องมาโดนลดแคชหรือปิดคอร์เอาไว้ขายในรุ่นเล็กกว่า
- การทำงานที่ผิดพลาด ไม่ว่าจะคำนวนอะไรที่ละเอียดๆแล้วไม่สามารถใช้ให้ผลที่ควรจะเป็นหรือว่า
ไม่สามารถที่จะทำงานหนักๆอย่างยาวนานและต่อเนื่องสาเหตุอาจจะเกิดมาจากความผิดพลาดของ
คอร์ๆนึงหรือว่า Cache L3 ในบางส่วน
- ความร้อนในการทำงานที่สูงเกินไปจากสิ่งที่จะควรเป็น ในกรณีนี้ Deneb Rev. RB-C2 อาจจะ
สามารถทำงานได้สมบรณ์แต่ว่า เนื่องจากความร้อนของตัวมันเองสูงมากเกินไปในการทำงานเลย
อาจจะต้องโดนลดขั้นลงมาเป็น Phenom II รุ่นอื่นๆแทนสาเหตุอาจจะเกิดมาจากความผิดพลาด
ของคอร์ๆนึงหรือว่า Cache L3 ที่ปล่อยความร้อนผิดปกติ
- การสิ้นเปลืองพลังงานมากผิดปกติจากสเป็คของการออกแบบ อาจจะทำให้ต้องใช้ไฟเลี้ยงที่สูงมาก
เกินไป ถ้าต้องใช้ไฟเลี้ยงสูงมากเกินไปก็จะทำให้ค่าการออกแบบในการปล่อยความร้อนผิดเพี้ยนไป
สาเหตุอาจจะเกิดมาจากความผิดพลาดของคอร์ๆนึงหรือว่า Cache L3 ที่ต้องการพลังงานมากเกิน
ในวงการผู้ผลิตซีพียูหรือว่ากราฟฟิกชิพ เรื่องการปิดหรือลดความสามารถในบางส่วนออกไปก็ไม่ใช่
เรื่องแปลกแต่อย่างไรครับ เพราะว่าเรื่องลักษณะนี้มันมีมานานแสนนานแล้ว ขึ้นอยู่กับว่าใครจะมานั่ง
สังเกตบ้างมั๊ย ทั้งการ์ดจอหรือว่าซีพียูก็มีให้เห็นได้ตั้งแต่อดีตจนถึงทุกๆวันนี้ ก็อย่าไปคิดว่าเรื่องการ
ที่ผู้ผลิตซีพียูหรือว่ากราฟฟิกชิพ มาปิดโน้นปิดนี่แล้วจับมาตั้งชื่อขายในรุ่นที่ต่ำกว่ามันเป็นเรื่องแปลก

ในภาพนี้ก็จะเป็นโครงสร้างของ AMD Athlon II X4 Codename Porpus อันนี้ต้องขอแสดง
ความเสียใจกับผู้ที่จะหวังเอา AMD Athlon II X4 หรือ X3 มาเปิด Cache L3 ให้มีเหมือนกับ
AMD Phenom II 900 และ 700 series ด้วยนะครับ เพราะว่า Athlon II X4 คือเป็นการนำ
Deneb Rev. RB-C2 มาตัด L3 ออกไปจากการออกแบบ โดยที่ Athlon II X4 นั้นเป็นการผลิต
จากโครงสร้างใหม่นะครับ (อันนี้ก็ไม่ขอยืนยันข้อมูล เพราะว่ามาจากแหล่งข่าวที่บอกไม่ได้) แต่ว่า
ยังมีโอกาสในการลุ่นเปิดคอร์กับ Athlon II X3 ได้อยู่เหมือนกัน

ตัวล่าสุดที่โดนคัดลดขั้นมาจาก รุ่นฉลอง 10 ปี AMD Athlon ที่มีชื่อรุ่นว่า Athlon II X2 ที่โดน
ปิดคอร์แล้วกลายเป็นน้องสมพรคนเล็กสุด อันนี้เท่าที่สอบถามข้อมูลมากจากบริษัทแห่งนึงในประเทศ
ที่อยู่ในกลุ่ม EU ได้บอกมาว่าโอกาสที่จะเปิดสมพรมันยากมั๊กๆ บางตัวเปิดได้ก็แต่ไม่สามารถทำงาน
หนักได้อย่างต่อเนื่องยาวนาน แต่บางตัวสามารถโอเวอร์คล๊อกไปที่ความเร็วสูงๆได้แต่ผ่านโปรแกรมที่
ใช้ในการทดสอบได้บางโปรแกรมเอง แต่บางตัวก็ผ่านได้สองสามอย่างก็มีครับ
ขอสรุปอีกครั้งสำหรับซีพียูที่สามารถเปิดคอร์และแคชได้ก็คือ
เปิดคอร์
- Phenom II X3 710 (B10),720 (B20) และ 740 (B40) - จากสามเป็นสี่
- Phenom II X2 550 (B50) และ 545 (B45) - จากสองเป็นสี่
- Semporn LE-140 (Athlon II X2 440) - จากหนึ่งเป็นสอง
- Athlon X2 7X50 และ Phenom 1 X3 8X50 (แต่ไม่เป็นที่นิยมกัน เพราะว่ามีน้อยตัวมากๆที่ทำได้)
- Athlon II X3 - จากสามเป็นสี่
เปิด Cache L3 จาก 4MB ไป 6MB
- Phenom II X4 820, 810, 805 และ 800 หลังจากการเปิด L3 แล้วชื่อยังคงเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนไป
สำหรับปัจจัยสำคัญที่จะทำให้สามารถเปิดคอร์และระเบิดแคช L3 ที่ซ่อนเอาไว้อันดับแรกเลยก็คือซีพียู
ในปัจจัยที่จะเป็นส่วนช่วยที่ทำให้สามารถเปิดคอร์และแคชได้ก็คือเมนบอร์ด ผมก็จะเขียนไว้ต่อจากนี้
สำหรับเรื่องที่เขียนในวันนี้ไม่ได้ไปเอาของฝรั่งหรือว่าของคนอื่นมานั่งแปลให้อ่านกันนะครับ นั่งเขียน
จากการที่ผมได้ทดลองเล่นกันจริงๆกับ AMD Phenom II X4,X3 และ X2 อยู่มากพอสมควรครับ
ปีนี้ก็ซื้อทั้งเมนบอร์ดกับซีพียูมาลองเล่นอยู่มากมายพอสมควรก็หมดไปเยอะ แต่ก็ความสุขที่เสียเงิน
ไม่ได้ไปสร้างความเดือนร้อนแก่คนอื่นทุกๆวันนี้ไปเดินพันทิพย์ก็จะมีตามร้านมักจะแซวๆว่า วันนี้จะมี
ซีพียูอะไรไปเล่นอีก ไม่งั้นก็ถามว่าวันนี้จะซื้อเมนบอร์ดรุ่นอะไรอีก ทั้งๆที่ของเทสที่ส่งมาเทสก็จริงๆ
แล้วก็สามารถเอามาเล่นได้ แต่รู้สึกว่ามันไม่ใช่ของตัวเองยังไงเล่นก็ไม่มีทางรู้สึกดีเท่าของตัวเอง ที่
เล่าให้ฟังก่อน เดี๋ยวจะมีพวกมาหาว่าอวดล่ำอวดรวยว่าจากขับ 350Z แล้วมาเปลี่ยนเป็น Honda อีก
ก็ผมไม่ได้ทำงานประจำควบทั้งสองอย่างนี่หว่า จะเอาตังที่ไหนไปเติมน้ำมันเครื่อง V6 3.5 ลิตรได้ไง
บอกตรงๆผมเป็นคนรักด้านคอมพิวเตอร์มาก ผมก็คิดว่าทำอะไรก็ทำซักอย่างให้จริงจังไปเลยจะดีกว่า
นอกเรื่องไปเยอะ แต่พูดจริงๆมันก็เขียนออกมาจากความเก็บกดที่อยู่ในใจของผมนั้นแหละ วันๆก็นั่ง
อยู่หน้าคอมไม่ได้ออกไปไหนนอกจากพันทิพย์และ7/11(ออกไปซื้ออะไรมาสูบ) วันนี้ที่ผมเขียนก็
จากประสบการณ์ที่ได้ลองเล่นและใช้งานจริง ไม่ใช่เอามาอัดโชว์แบบสุดๆแล้วก็เก็บเข้ากล่อง
แล้วไม่ได้เล่นในห้องที่มีอุณหภูมิเหมือนเมืองหนาว หรือว่าใช้ของเหลวช่วยระบายความร้อนครับ
เปิดคอร์
- Phenom II X3 710 (2 ตัว ซื้อเอง-ขายไปแล้ว)
- Phenom II X3 720 (1 ตัว ซื้อเอง-ขายไปแล้ว + ของทดสอบจากเอเอ็มดี 1ตัว-คืนไปแล้ว)
- Phenom II X2 550 (6 ตัว ฝากเพื่อนหิ้วมาจากนอกมาลองดู ทุกวันนี้ขายคนรู้จักไปหมดแล้ว)
- Semporn X1 140 (ของน้องแถวบ้านกับรุ่นน้องที่ทำงานเก่า ช่วยออกค่าลองไปตัวละ 2XX)
เปิด Cache L3
- Phenom II X4 810 (ซื้อมาทำ Core-Router 1ตัว + สำหรับใช้เทสทำบทความถึงทุกวันนี้)
- Phenom II X4 820 (ตัวที่ทางเอเอ็มดีส่งมาให้ทดสอบที่เพิ่งทำบทความไปไม่นานมานี้)
นิยามของซีพียูแต่ละยุค
AMD K8 = Socket 754 939 940 ยุคแรกของซีพียูที่มีคำสั่ง X86-64 ในซีพียูระดับที่คนทั่วๆ
ไปนั้นสามารถซื้อหามาใช้ได้ ส่วนมาต่อท้ายซื่อรุ่นก่อนหน้ารหัสของรุ่นจะมีคำว่า "64" กำกับไว้เสมอ
จะสังเกตได้จากโลโก้ของซีพียูในยุค Socket 754 939 940 ได้ครับ
AMD K8.5 = ก็คือซีพียู K8 ที่มาปรับปรุงเพิ่มเติมในเรื่องของการรองรับเมโมรี DDR2 เข้ามาใช้ยุค
นี้ก็เป็นช่วงของซ๊อกเก็ต AM2 ยังมีการย้ำ "64" เหมือนกันยุค K8 AMD K8.5 ยังมีบัคในส่วนของ
Cool 'n' Quite ติดตามมาเหมือน AMD K8 เช่นกัน
AMD K10 = ยุคของ Phenom 1 การรองรับเมโมรีจากเดิมที่เคยเป็น DDR2 800 ก็เปลี่ยนมาเป็น
DDR2 1066 แต่พวก DDR2 800 667 ก็สามารถที่จะใช้งานร่วมกันได้ครับ ในยุค AMD K10 นั้น
เป็นยุคที่ทาง AMD แก้ไขปัญหาเรื่อง Cool 'n' Quite ไปได้หมดแล้ว แต่ก็ยังมีบางเว็บที่มีอคติกับ
AMD ชอบบอกว่ายังมีบัค Cool 'n' Quite อยู่ ส่วน Athlon X2 7X50 จริงๆแล้วมันก็คือ AMD
K10 ( Phenom 1 Dual Core) ช่วงนี้จะเป็น Socket AM2+
AMD K10.5 = ยุคของ AMD Phenom II และ Athlon II ที่เพิ่มการรองรับเมโมรี DDR3
เพิ่มเติมขึ้นมาจาก Socket AM2+ เลยทำให้เป็นที่มาของซ๊อกเก็ต AM3 ที่ในโปรแกรมยังแสดง
ว่าซ๊อกเก็ต AM3 เป็น Socket AM2+ เพราะว่า Socket AM3 มี ID Platform เหมือนกับ
Socket AM2+ เพื่อที่ทำให้ซีพียูซ๊อกเก็ต AM3 นั้นสามารถใช้งานร่วมเมนบอร์ดซ๊อกเก็ต AM2+
มีซีพียู AMD K10.5 สองรุ่นเท่านั้นที่เป็นซ๊อกเก็ต AM2+ คือรุ่น Phenom II X4 920 และ
940 Black Edition ใครมีไว้ก็เก็บไว้เป็นอนุสรณ์ได้เลย ไม่มีผลิตแล้วจริงๆ
แล้วซีพียูที่มันสามารถเปิดคอร์ กับ Cache L3 มันมาจากไหน

Phenom II : Revision RB-C2
อันนี้ก็พูดตามความเป็นจริง ขอก่อนเลยว่าอย่าเพิ่งมาต่อว่าผมและทางเว็บ ผมอยากจะให้ผู้ที่คิดจะ
ซื้อซีพียูลองเปิดคอร์นั้นได้คิดถึงความเสี่ยงด้วย ขอให้เข้าใจในความตั้งใจของผมด้วยก็แล้วกันครับ
ซีพียูที่สามารถเปิดคอร์และแคชได้พูดกันง่ายๆเลยคือซีพียู AMD Phenom II 900 Series ที่เกิด
ความผิดพลาดในการผลิต จึงทำให้มีการนำเทสอีกครั้งเพื่อมาทำเป็นซีพียู Phenom II 800 700
และ 500 เพื่อไม่ให้เป็นการเพิ่มต้นทุนและเสียเวลาออกแบบซีพียูรุ่นที่มีราคาประหยัดลงไปใหม่ จึง
ทำให้ AMD Phenom II นั้นมีราคาไม่สูงมากเหมือน AMD Phenom II 920 และ 940 BE ตอน
ที่ออกมาใหม่ๆ ก็ไม่รู้ทำไมผมถึงหาเงินไปซื้อ AMD Phenom II 920 วันแรกๆที่มีขายในเมืองไทย
ยอมรับว่าราคาสูงมากๆ แต่คนมันอยากได้ อิอิ เลยก็ต้องเสียเงินซื้อกันไปเพื่อที่อยากจะรู้ว่ามันแรง
กว่า Phenom 1 X4 มากมั๊ย แพงกว่า 955BE ราคาที่ขายตอนนี้ซะอีก
ความผิดอะไรของ Deneb Rev. RB-C2 ที่ต้องมาโดนลดแคชหรือปิดคอร์เอาไว้ขายในรุ่นเล็กกว่า
- การทำงานที่ผิดพลาด ไม่ว่าจะคำนวนอะไรที่ละเอียดๆแล้วไม่สามารถใช้ให้ผลที่ควรจะเป็นหรือว่า
ไม่สามารถที่จะทำงานหนักๆอย่างยาวนานและต่อเนื่องสาเหตุอาจจะเกิดมาจากความผิดพลาดของ
คอร์ๆนึงหรือว่า Cache L3 ในบางส่วน
- ความร้อนในการทำงานที่สูงเกินไปจากสิ่งที่จะควรเป็น ในกรณีนี้ Deneb Rev. RB-C2 อาจจะ
สามารถทำงานได้สมบรณ์แต่ว่า เนื่องจากความร้อนของตัวมันเองสูงมากเกินไปในการทำงานเลย
อาจจะต้องโดนลดขั้นลงมาเป็น Phenom II รุ่นอื่นๆแทนสาเหตุอาจจะเกิดมาจากความผิดพลาด
ของคอร์ๆนึงหรือว่า Cache L3 ที่ปล่อยความร้อนผิดปกติ
- การสิ้นเปลืองพลังงานมากผิดปกติจากสเป็คของการออกแบบ อาจจะทำให้ต้องใช้ไฟเลี้ยงที่สูงมาก
เกินไป ถ้าต้องใช้ไฟเลี้ยงสูงมากเกินไปก็จะทำให้ค่าการออกแบบในการปล่อยความร้อนผิดเพี้ยนไป
สาเหตุอาจจะเกิดมาจากความผิดพลาดของคอร์ๆนึงหรือว่า Cache L3 ที่ต้องการพลังงานมากเกิน
ในวงการผู้ผลิตซีพียูหรือว่ากราฟฟิกชิพ เรื่องการปิดหรือลดความสามารถในบางส่วนออกไปก็ไม่ใช่
เรื่องแปลกแต่อย่างไรครับ เพราะว่าเรื่องลักษณะนี้มันมีมานานแสนนานแล้ว ขึ้นอยู่กับว่าใครจะมานั่ง
สังเกตบ้างมั๊ย ทั้งการ์ดจอหรือว่าซีพียูก็มีให้เห็นได้ตั้งแต่อดีตจนถึงทุกๆวันนี้ ก็อย่าไปคิดว่าเรื่องการ
ที่ผู้ผลิตซีพียูหรือว่ากราฟฟิกชิพ มาปิดโน้นปิดนี่แล้วจับมาตั้งชื่อขายในรุ่นที่ต่ำกว่ามันเป็นเรื่องแปลก

ในภาพนี้ก็จะเป็นโครงสร้างของ AMD Athlon II X4 Codename Porpus อันนี้ต้องขอแสดง
ความเสียใจกับผู้ที่จะหวังเอา AMD Athlon II X4 หรือ X3 มาเปิด Cache L3 ให้มีเหมือนกับ
AMD Phenom II 900 และ 700 series ด้วยนะครับ เพราะว่า Athlon II X4 คือเป็นการนำ
Deneb Rev. RB-C2 มาตัด L3 ออกไปจากการออกแบบ โดยที่ Athlon II X4 นั้นเป็นการผลิต
จากโครงสร้างใหม่นะครับ (อันนี้ก็ไม่ขอยืนยันข้อมูล เพราะว่ามาจากแหล่งข่าวที่บอกไม่ได้) แต่ว่า
ยังมีโอกาสในการลุ่นเปิดคอร์กับ Athlon II X3 ได้อยู่เหมือนกัน

ตัวล่าสุดที่โดนคัดลดขั้นมาจาก รุ่นฉลอง 10 ปี AMD Athlon ที่มีชื่อรุ่นว่า Athlon II X2 ที่โดน
ปิดคอร์แล้วกลายเป็นน้องสมพรคนเล็กสุด อันนี้เท่าที่สอบถามข้อมูลมากจากบริษัทแห่งนึงในประเทศ
ที่อยู่ในกลุ่ม EU ได้บอกมาว่าโอกาสที่จะเปิดสมพรมันยากมั๊กๆ บางตัวเปิดได้ก็แต่ไม่สามารถทำงาน
หนักได้อย่างต่อเนื่องยาวนาน แต่บางตัวสามารถโอเวอร์คล๊อกไปที่ความเร็วสูงๆได้แต่ผ่านโปรแกรมที่
ใช้ในการทดสอบได้บางโปรแกรมเอง แต่บางตัวก็ผ่านได้สองสามอย่างก็มีครับ
ขอสรุปอีกครั้งสำหรับซีพียูที่สามารถเปิดคอร์และแคชได้ก็คือ
เปิดคอร์
- Phenom II X3 710 (B10),720 (B20) และ 740 (B40) - จากสามเป็นสี่
- Phenom II X2 550 (B50) และ 545 (B45) - จากสองเป็นสี่
- Semporn LE-140 (Athlon II X2 440) - จากหนึ่งเป็นสอง
- Athlon X2 7X50 และ Phenom 1 X3 8X50 (แต่ไม่เป็นที่นิยมกัน เพราะว่ามีน้อยตัวมากๆที่ทำได้)
- Athlon II X3 - จากสามเป็นสี่
เปิด Cache L3 จาก 4MB ไป 6MB
- Phenom II X4 820, 810, 805 และ 800 หลังจากการเปิด L3 แล้วชื่อยังคงเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนไป
สำหรับปัจจัยสำคัญที่จะทำให้สามารถเปิดคอร์และระเบิดแคช L3 ที่ซ่อนเอาไว้อันดับแรกเลยก็คือซีพียู
ในปัจจัยที่จะเป็นส่วนช่วยที่ทำให้สามารถเปิดคอร์และแคชได้ก็คือเมนบอร์ด ผมก็จะเขียนไว้ต่อจากนี้
Comment