Announcement

Collapse
No announcement yet.

e7200 กับ 6000+

Collapse
X
 
  • Filter
  • Time
  • Show
Clear All
new posts

  • #31
    Originally posted by WesleyAurelio View Post
    6000+ เทียบได้ E6550-E6600

    E7200 แรงกว่า แต่อย่าลากล่ะ ไม่งั้น E7200 ทิ้งไม่เห็นฝุ่น ใครเคยคล็อก 6000+ ถึง 4GHZ แล้วใช้ได้จริงเอามาโชว์หน่อยดิว่ะ ไอ้สาวกหัวสาก กูบอกแล้ว AMD ขี้แตก มีแต่ควายใช้ กากเอ้ย บอกแล้วไม่จำ
    โอ้ยฮาที่มิงพิมพ์วะชอบๆ555สุดๆวะ5555

    Comment


    • #32
      ไม่เเน่นะท่าน ไอพวกที่มีปัญญา คิดเเต่เรื่องไม่ดี เอาเเต่ก่อกวนคนอื่นเขา อาจจะไม่มีการศึกษาเลยก็ได้ไม้รู้จบ ป.6
      รึปล่าว เเต่ อย่าไปคิดมากคนไม่มีการศึกษาก็คิดได้เเค่นี้ เน้อ เกรียนWesleyAurelioเเละ เกรียน Amdkiki

      Comment


      • #33
        Originally posted by Mozartza View Post
        ไม่เเน่นะท่าน ไอพวกที่มีปัญญา คิดเเต่เรื่องไม่ดี เอาเเต่ก่อกวนคนอื่นเขา อาจจะไม่มีการศึกษาเลยก็ได้ไม้รู้จบ ป.6
        รึปล่าว เเต่ อย่าไปคิดมากคนไม่มีการศึกษาก็คิดได้เเค่นี้ เน้อ เกรียนWesleyAurelioเเละ เกรียน Amdkiki
        ดูอย่างในรูปนี่ก็อีกคนนึงครับ ใช้ Intel อยู่ อุตสาห์ สมัครสมาชิก แล้วก็อย่างในรูปแหละ ยกให้เขา

        Comment


        • #34
          เกรียนสองตัวอยู่กระทู้เดียวกันได้เนอะ แหมนึกว่าจะแยกย้ายกันไปทำมาหากิน

          Comment


          • #35
            ตูละเบื่อ อิอิ หาหลุมหลบระเบิดก่อน

            Comment


            • #36
              ความสำคัญและความหมายของสุขภาพจิต

              ปัจจุบันนี้มนุษย์เรามักจะดิ้นรนต่อสู้เพื่อเอาชนะโรคภัยไข้เจ็บต่างๆที่จะเกิดขึ้นกับทางร่างกายซึ่งคนส่วนใหญ่จะให้ความสนใจและเอาใจใส่อย่างจริงจัง ส่วนโรคทางจิตซึ่งนับวันจะเป็นปัญหาที่สำคัญของมนุษย์ กลับถูกมองข้ามและขาดการส่งเสริม จนทำให้สุขภาพจิตเสื่อมลงไปทุกวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประกอบอาชีพระดับผู้บริหารและนักธุรกิจจึงเรียกยุคนี้ว่า“ยุคแห่งความวิตกกังวล”ปัญหาของสุขภาพจิตเสื่อมกำลังระบาดไปสู่บุคคลหลาย ๆ อาชีพทั่วโลก โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ ๆ ที่มีความเจริญทางด้านเทคโนโลยีและอุตสาหกรรม วิถีชีวิตของสังคมเมืองจะเต็มไปด้วยการต่อสู้ ทำให้เกิดความยุ่งเหยิงวุ่นวาย เกิดความหวาดระแวง ความไม่มั่นคงในการดำรงชีวิต ความไม่เข้าใจซึ่งกันและกัน เป็นสาเหตุทำให้เกิดผลกระทบต่อภาวะจิตใจ เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา เช่น ปัญหาเชื้อชาติ ศาสนา ค่านิยม ปัญหาครอบครัว ปัญหาแก่งแย่งแข่งขันกันในสังคม ปัญหาการขัดแย้งของกลุ่มสถาบันต่าง ๆ เป็นต้นปัญหาดังกล่าวทำให้ชีวิตของคนขาดความสงบสุข มีความรู้สึกต่อชีวิตที่ไม่แน่นอน มีความทุกข์อยู่ในใจ ถ้าหากจะแก้ไขให้ดีขึ้นจะต้องอาศัยกระบวนการส่งเสริมปรับปรุงสุขภาพจิต มิฉะนั้นแล้วโรคจิตเสื่อมจะยิ่งระบาดขยายกว้างออกไปและเป็นอันตรายต่อมวลมนุษย์มากยิ่งขึ้นความหมายของสุขภาพจิตองค์การอนามัยโลกได้ให้ความหมายว่า “สุขภาพจิต” (Mental Health) หมายถึงสภาพชีวิตที่เป็นสุข ผู้ที่มีสุขภาพจิตดี ไม่ใช่เพียงแต่ปราศจากโรคจิต และโรคประสาทเท่านั้นแต่ยังสามารถปรับตัวให้อยู่ในสังคมและสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีความสุข มีสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลอื่นสาระสำคัญของสุขภาพจิต มี 2 ประการ คือ

              1. การส่งเสริมความสมบูรณ์ทางจิตใจ ซึ่งหมายถึง การเสริมสร้างนิสัยให้เป็นผู้มีจิตใจดี มีความคิดดี ปรับตัวเข้ากับสังคมและสภาพแวดล้อมได้ดี มีการประกอบอาชีพที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง และส่วนรวม

              2. การป้องกันความพิการทางจิต ได้แก่ การป้องกันไม่ให้เกิดนิสัยที่ไม่ดีงามรวมทั้งพฤติกรรมที่ผิดปกติ

              ลักษณะของผู้ที่มีสุขภาพจิตดี สุขภาพจิตก็เหมือนสุขภาพกาย ย่อมอยู่ในสภาวะที่ดีบ้าง เสื่อมบ้างสลับกันไปผู้ที่มีสุขภาพจิตดีมีลักษณะ ดังนี้

              1. รู้จักประเมินความสามารถของตนได้อย่างถูกต้อง ไม่สูงหรือต่ำเกินไป

              2. เป็นผู้ที่รักชีวิต และพร้อมที่จะเผชิญโลก

              3. มีความกล้าหาญที่จะดำเนินชีวิตโดยไม่เบื่อหน่าย หรือท้อแท้ แม้จะประสบปัญหา อุปสรรค หรือความผิดพลาดในชีวิตเพียงใดก็ตาม

              4. การเปลี่ยนแปลงใด ๆ ในชีวิต ไม่สามารถสร้างความทุกข์อย่างใหญ่หลวงได้

              5. มีอารมณ์มั่นคง

              6. สามารถทำตนเองให้เป็นสุขได้ และในขณะเดียวกันก็ทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นสุขได้ด้วย

              7. มีลักษณะอบอุ่น น่าคบ เพื่อนฝูงรักใคร่

              8. ไม่ก้าวร้าว ระรานผู้อื่น

              ความบกพร่องทางจิต

              ความบกพร่องทางจิต หมายถึง สภาวะผิดปกติทางจิตใจของบุคคล ซึ่งแสดงออกโดยความทุกข์ใจ กลัดกลุ้ม วิตกกังวล ถ้าจิตไม่เข้มแข็ง อาการบกพร่องทางจิตก็ยิ่งจะทวีมากขึ้นจนกลายเป็นคนโรคจิตโรคประสาทไปความบกพร่องทางจิตไม่ได้หมายถึงการเป็นโรคจิต หรือเป็นบ้าแต่เพียงอย่างเดียวความจริงมีหลายระดับ ซึ่งจะมากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับพฤติกรรมที่แสดงออกมา

              สาเหตุของความบกพร่องทางจิตความบกพร่องทางจิตมีสาเหตุสำคัญ 2 ประการ คือ

              1. สาเหตุจากสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้แก่ สภาพชีวิตโดยทั่วไป เช่น สภาพชีวิตครอบครัว สังคม โรงเรียน สถานที่ทำงาน ถ้าบุคคลปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมนี้ไม่ได้ ก็อาจทำให้เกิดความบกพร่องทางจิตได้

              2. สาเหตุภายในตัวบุคคล หมายถึง สุขภาพทางกายโดยทั่วไป เช่น ความผิดปกติของสมอง หรือระบบประสาทส่วนกลาง มีผลให้เกิดความพิการต่ออวัยวะต่าง ๆ และการทำงานของร่างกาย

              ประเภทของความบกพร่องทางจิต มี 4 ลักษณะที่สำคัญ ดังนี้

              1. โรคจิต (Psychosis)

              2. โรคประสาท (Neurosis)

              3. บุคลิกภาพแปรปรวน (Personality Disorders)

              4. ความเบี่ยงเบนทางเพศ (Sexual Diviation)

              Comment


              • #37
                โรคจิต (Psychosis)

                เป็นลักษณะความผิดปกติทางจิตที่รุนแรงที่สุด คนทั่วไปมักเรียกว่าพวกวิกลจริตหรือคนบ้า ผู้ที่เป็นโรคจิตจะมีโลกเฉพาะของตน จึงพูดคุยกับคนปกติไม่รู้เรื่อง และบางครั้งอาจมีการอาละวาดอย่างรุนแรง เป็นพวกที่ไม่มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม ต้องอยู่ในความดูแลของผู้อื่น หรือต้องได้รับการเยียวยารักษาเป็นพิเศษ อาการสำคัญของโรคจิต คือหลงผิด และประสาทหลอนประเภทของโรคจิต แบ่งได้จากสาเหตุที่ทำให้เป็นโรคจิต มี 2 ประเภท คือ

                1. โรคจิตที่มีสาเหตุมาจากความผิดปกติทางร่างกาย แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ

                1.1 โรคจิตที่เกิดจากความพิการทางสมอง เช่น สมองได้รับความกระทบกระเทือน หลอดโลหิตในสมองแข็งตัว เป็นโรคลมชัก มีเนื้องอกในสมอง ซิฟิลิสขึ้นสมองตลอดจนบุคคลในวัยชราที่สมองทำงานได้ไม่เต็มที่ หรือเรียกว่าสมองเหี่ยวในวัยชรา เป็นต้นอาการของโรคบุคลิกภาพเปลี่ยนไปจากเดิมอย่างมากชนิดกลับหน้ามือเป็นหลังมือ เช่น เคยประหยัดกลับสุรุ่ยสุร่าย เคยสุภาพกลับมุทะลุดุดัน นอกจากนี้ยังพบอาการทางประสาทอย่างเด่นชัดอีกด้วย เช่น เป็นอัมพาต พูดไม่ชัด เดินเปะปะ เนื้อตัวสั่น อุจจาระปัสสาวะไม่เป็นปกติ เป็นต้น

                1.2 โรคจิตที่เป็นผลมาจากการแพ้พิษสิ่งต่าง ๆ เช่น พิษสุรา ฝิ่น กัญชาเฮโรอีน สารหนู สารตะกั่ว หรือพิษของอาการไข้ที่เกิดจากไทฟอยด์ ปอดบวม เป็นต้นอาการของโรค มึนงง ตกใจง่าย กลัวง่าย มีอาการทางประสาทหลอนได้ยินเสียงแปลก ๆ เช่น ได้ยินคนชักชวน ท้าทาย ดุด่า เห็นภาพมีคนมาทำร้ายตน บางครั้งพวกนี้ถึงกับฆ่าคนตายได้ บางรายมีอาการเป็นอัมพาต เป็นต้น

                2. โรคจิตที่มีสาเหตุมาจากความผิดปกติทางหน้าที่ของจิตใจ แบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 4 ประเภท ดังนี้

                2.1 โรคจิตเภท (Schizophrenia) หมายถึง การแตกแยกระหว่างความคิดและอารมณ์ หรือความคิดแปรปรวน โรคจิตเภทนี้โดยมากจะปรากฏระหว่างอายุ 20 - 35 ปี แต่ส่วนมากจะพบในวัยคนหนุ่มสาว คนโสด หย่า ร้าง ส่วนแม่หม้ายพ่อหม้ายน้อยลงมา สำหรับผู้ที่แต่งงานแล้ว และยังอยู่ร่วมกันจะพบโรคนี้ต่ำสุด

                ลักษณะสำคัญของโรคจิตเภท

                1. หลีกหนีความจริงและไม่สนใจบุคคลและสิ่งต่าง ๆ รอบตัว

                2. มีอารมณ์หวั่นไหวง่ายและโดยมากการตอบโต้ทางอารมณ์จะไม่สอดคล้องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

                3. กระบวนการต่าง ๆ ของความคิดยุ่งเหยิง สับสนอลหม่าน

                4. มีอาการหลงผิดและประสาทหลอน เช่น หลงว่ามีเสียงที่มีอิทธิพลมาบังคับหลงว่าคนมาคอยปองร้าย

                5. ลักษณะนิสัยส่วนตัวเสื่อมลงหรือเลวลง เช่น แสดงท่าทางการเคลื่อนไหวแปลก ๆ มีคำพูดแปลก ๆ และผิดปกติ

                6. อาการของโรคจะค่อยเป็นค่อยไป จนกระทั่งทวีความรุนแรงมากขึ้น บางรายถึงกับพยายามฆ่าตัวตายสาเหตุของโรคจิตเภท

                สาเหตุของโรคนี้ยังไม่สามารถทราบได้แน่นอน สันนิษฐานว่าเกิดจากสาเหตุใหญ่ ๆ 3 ประการ คือ

                1. สาเหตุทางจิตใจ เกิดจากเป็นคนมีจิตใจอ่อนแอ อ่อนไหวต่อสิ่งยั่วเย้าต่าง ๆของสังคมได้ง่าย เข้ากับใครไม่ได้ หันมาสนใจตัวเอง ชอบอยู่คนเดียว แก้ปัญหาโดยไม่ปรึกษาใคร ถามเองตอบเอง

                2. สาเหตุทางร่างกาย

                1) กรรมพันธุ์ เป็นสาเหตุของโรคจิตเภทน้อยมาก และพบเป็นบางครอบครัวเท่านั้น เป็นเพียงสาเหตุเริ่มแรกเท่านั้น

                2) สมอง จะมีฮอร์โมนประสาทที่ชื่อว่า โดปามีน (Dopamine) ถ้าผู้ใดมีอยู่มากกว่าปกติ ก็จะทำให้ผู้นั้นมีความคิดแปรปรวนไป และคนที่เป็นเนื้องอกในสมองก็จะเกิดโรคจิตเภทขึ้นได้

                3. สาเหตุจากสภาพแวดล้อม จากการที่สมาชิกในครอบครัวไม่เคยพูดจาปราศัยกัน ไม่มีความใกล้ชิดสนิทสนมกัน คนใดคนหนึ่งเป็นใหญ่ในครอบครัว ไม่ยอมฟังความคิดเห็นของกันและกัน การทะเลาะของพ่อกับแม่ให้ลูกเห็น การเลี้ยงดูของพ่อแม่ไม่ถูกต้อง พ่อแม่ป่วยเป็นโรคจิตเภท จะมีผลเสียไปถึงเด็กได้มาก

                2.2 โรคจิตประเภทอารมณ์วิปลาสหรืออารมณ์แปรปรวนชนิดรุนแรง (Major Affective Disorders) เป็นโรคจิตชนิดหนึ่งที่มีความวิปลาสของอารมณ์หรือมีอารมณ์ชนิดรุนแรงซึ่งประกอบด้วยลักษณะที่สำคัญคือ มีความผิดปกติของอารมณ์เป็นอย่างมาก เช่น ซึมเศร้ามากหรืออารมณ์รื่นเริง เป็นสุขสนุกสนานมาก ตื่นเต้นมากหรือหงุดหงิดมาก ปริมาณความสุขและความเศร้ามักจะไม่ได้สัดส่วนกับสถานการณ์ในชีวิตของผู้ป่วย จึงทำให้ความคิดความประพฤติพลอยสับสนวุ่นวายไปตามแรงของอารมณ์ด้วย จะพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย 3 ใน 2 ซึ่ง แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ

                1) แบบคลั่ง (Manic Type) ลักษณะที่สำคัญคือ คำพูดและความคิดไม่สอดคล้องกัน พูดอย่างรวดเร็วแต่ว่าไม่เป็นเรื่องเป็นราว พูดไม่หยุด ด่าไม่หยุด คลั่งลืมตัว อยู่นิ่งไม่ได้ ออกท่าทางเต้นแร้งเต้นกาเรื่อยเปื่อยไปจนถึงไม่นุ่งผ้านุ่งผ่อน บางรายไม่ยอมนอนจนเป็นอันตรายต่อชีวิต

                2) แบบซึมเศร้า (Depressive Type) ลักษณะที่สำคัญคือ อารมณ์เศร้า มีความทุกข์ใจ กังวลใจ ขาดความสนใจในตนเอง หมดอาลัยตายอยากในชีวิต ความคิดและการเคลื่อนไหวเชื่องช้า อาการซึมเศร้านี้ในบางรายจะปรากฏว่า มีอาการหลงผิดและประสาทหลอนถ้ามีความเศร้าจัดจะทำลายตัวเองและฆ่าตัวตายหลาย ๆ วิธี เช่น กินยาตาย ยิงตัวตาย แขวนตัวตาย ส่วนพวกที่เศร้าอย่างสุดชีวิตจริง ๆ จะมีอาการหมดอาลัยในชีวิต จะนอนนิ่งเฉยรอให้ร่างกายละลายหายไปจากโลกเอง

                2.3 โรคจิตประเภทภาวะระแวง (Paranoid State) ลักษณะที่สำคัญคือ หวาดระแวงและอาการหลงผิดมีความรุนแรงมาก ส่วนมากผู้ที่เป็นโรคจิตประเภทนี้ไม่มีอาการประสาทหลอน แต่มีอาการที่แสดงออกถึงความหวาดระแวง สงสัย และขาดความไว้วางใจจากบุคคลอื่น มีความคิดหลอกตนเองว่าจะมีคนมาทำร้าย ภาวะระแวงนี้จะมีความรุนแรงขึ้นเป็นลำดับ โดยจะเริ่มจากเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น การเงิน การงาน หรือสามีภรรยาที่ไม่ซื่อสัตย์ต่อกัน เกิดความรู้สึกว่ามีคนคอยเอาเปรียบ พูดเท็จต่อเขา หรือต่อต้าน หรือตามรบกวนตามแกล้งเขา พวกที่มีอาการภาวะระแวงมักจะพัฒนามาจากอาการหลงเป็นใหญ่ เขาจะลุ่มหลงอยู่ในเรื่องหนึ่งเรื่องใดอย่างรุนแรงและจริงจัง มีความแปรปรวนทะเยอทะยานสูงยิ่ง มีอารมณ์อ่อนไหวต่อคำวิพากษ์วิจารณ์อย่างยิ่งเกลียดชังบุคคลอื่นไปหมด ลักษณะเหล่านี้จะนำไปสู่ความผิดหวังสิ้นหวังในชีวิต หากเขาพลาดในสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างรุนแรงเขาก็จะโทษและตำหนิบุคคลอื่น

                2.4 โรคจิตประเภทวัยเสื่อม (Involutional Melancholia) ลักษณะที่สำคัญคือเริ่มด้วยความรู้สึกเศร้าใจ เสียใจต่อตนเอง จนร้องไห้คร่ำครวญ บ่อยครั้งรู้สึกไม่เป็นสุข ไม่สบายใจ หวาดกลัวและกังวลมากเกินไป แม้แต่เรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ และเรื่องในอดีตที่ผ่านมา ระยะต่อมาจะแสดงอาการหมดแรงตัดสินใจไม่ได้ ไม่มีกระจิตกระใจทำอะไร ทำให้ผู้ป่วยฉุนเฉียวง่าย หงุดหงิดผ่อนอารมณ์ไม่ได้ ทำอะไรไม่มียืดหยุ่น บางรายอาจโทษตัวเอง ชอบประณามหรือด่าตนเองให้ต่ำลง หลายรายมีอาการวิตกกังวล หวาดหวั่นพรั่นพรึงและตึงเครียดร่วมด้วย มักจะอยากคิดฆ่าตัวตายบางรายไม่ยอมรับประทานอาหาร เพราะไม่ต้องการมีชีวิตอยู่ มักจะเกิดเฉพาะบุคคลที่มีอายุอยู่ในบั้นปลายของชีวิตในผู้หญิงพบเมื่ออายุ40-45ปีมักพบในสังคมเมืองมากกว่าสังคมในชนบทที่มีฐานะทางเศรษฐกิจตกต่ำ

                Comment


                • #38
                  โรคประสาท (Neurosis)

                  โรคประสาทเป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติทางจิตใจอย่างหนึ่ง ที่มีความขัดแย้งภายในจิตใจและมีความวิตกกังวลเป็นพื้นฐาน เนื่องจากบุคคลที่มีความอ่อนแอผิดปกติ จนไม่สามารถทนต่อความกดดันของสังคมและสิ่งแวดล้อมได้ โรคประสาทมีความรุนแรงน้อยกว่าโรคจิต เพราะผู้ป่วยยังรู้จักตนเอง สามารถรับรู้สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ในโลกแห่งความเป็นจริงไม่มีอาการหลงผิด หรือประสาทหลอน สามารถติดต่อกับผู้อื่นได้

                  สาเหตุของโรคประสาท

                  มีสาเหตุมาจากความขัดแย้งในจิตใจ ความวิตกกังวล ความกระทบกระเทือนทางจิตบางอย่างที่ก่อให้เกิดความรู้สึกไม่สบายใจ ไม่สามารถแก้ปัญหาหรือตอบโต้ปัญหาเพื่อปกป้องตนเองให้หลุดพ้นจากความตึงเครียดได้ นอกเหนือจากบุคคลนั้นจะแก้ปัญหาให้แก่ตนเองไม่ได้แล้ว เขาอาจจะนำความยุ่งยากมาสู่ทั้งตัวของเขาเองและบุคคลอื่นอีกด้วย เป็นผลให้บุคคลนั้นไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ในที่สุด

                  ประเภทของโรคประสาท แบ่งออกได้ 7 ประเภท ดังนี้

                  1. โรคประสาทประเภทวิตกกังวล (Anxiety Neurosis) เป็นโรคประสาทที่พบมากที่สุด จะพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย อาการที่เกิดขึ้นหรือแสดงออกมีทั้งทางร่างกายและจิตใจ เช่น มีความกระวนกระวาย หงุดหงิด ตกใจง่าย เมื่ออารมณ์ตึงเครียดมากขึ้นจะแสดงอาการทางร่างกายอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างเกิดขึ้น เช่น หัวใจเต้นเร็วและแรง ใจสั่นมือสั่น เหงื่อออกท่วมตัว คอแห้ง ความดันของเลือดเปลี่ยนแปลง อาจถึงหน้ามืดหมดสติก็เป็นได้

                  2. โรคประสาทประเภทฮีสทีเรีย (Hysterical Neurosis) เกิดจากความขัดแย้งหรือถูกบีบคั้นทางจิตใจอย่างรุนแรง แล้วแปรรูปมาสู่สภาพอาการทางกาย มีอาการที่เกิดขึ้นกับส่วนของร่างกายที่อยู่ภายใต้อำนาจของจิตใจ เช่น กล้ามเนื้ออ่อนกำลัง อัมพาต เวลาไม่พอใจมาก ๆ ก็กรีดเสียงร้อง กระทืบเท้า เตะ ถีบ ชัก เกร็ง เดินไม่ตรง หรือบางครั้งหมดความรู้สึกชา เสียวแปลบ ทำให้ประสาทสัมผัสสูญเสียไปบางส่วนหรือทั้งหมดโรคประสาทประเภทนี้มักเข้าใจว่าเป็นโรคเกี่ยวกับความรักหรือกามารมณ์ มีความ?้องการทางเพศอย่างรุนแรงอย่างที่คนทั่วไปเข้าใจผิดๆกันซึ่งความจริงแล้วไม่ใช่แต่เป็นลักษณะของการป้องกันตนเองโดยไม่รู้สึกตัว ทั้งนี้เพื่อเรียกร้องความสนใจหรือเพื่อหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ไม่พึงปรารถนา

                  3. โรคประสาทประเภทกลัว (Phobia Neurosis) เกิดจากความกลัวที่รุนแรงกลัวอย่างต่อเนื่องและไม่มีเหตุผล กลัวทั้งวัตถุ สิ่งของ และสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าวัตถุสิ่งของและสถานการณ์นั้น ๆ ไม่มีอันตราย แต่ก็เกิดความกลัวโรคประสาทกลัวที่พบเสมอ ๆ ได้แก่ กลัวความมืด กลัวความสูง กลัวที่โล่งกลัวความเจ็บปวด กลัวพายุ ฟ้าร้อง ฟ้าแลบ กลัวความโดดเดี่ยว กลัวไฟ ฯลฯ

                  4. โรคประสาทประเภทย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive-Compulsive Neurosis) โรค

                  ประสาทชนิดนี้อาจมีลักษณะย้ำคิดอย่างเดียวหรือย้ำทำอย่างเดียวหรือมีทั้งย้ำคิดย้ำทำร่วมกันการย้ำคิดนั้นเป็นการคิดซ้ำซากเกี่ยวกับสิ่งที่เจ้าตัวหมกมุ่นขึ้นมาเอง และจดจ่อผูกผันอยู่กับการคิดนั้น จนทำให้เกิดความวิตกกังวลอย่างรุนแรงขึ้น เป็นอุปสรรคต่อการทำกิจกรรมต่าง ๆ จนไม่สามารถมีความผาสุกในชีวิตของเขาได้การย้ำทำ(Compulsive)ก็เป็นการกระทำที่ซ้ำแล้วซ้ำอีกโดยไม่สามารถควบคุมหรือบังคับตนเองได้ เช่น ลงจากรถยนต์ส่วนตัวปิดประตูรถเสร็จแล้วก็ต้องเดินย้อนกลับไปดูว่าล็อคกุญแจประตูแล้วหรือยัง ปิดวิทยุแล้วหรือยัง ซึ่งคนธรรมดาจะตรวจดูเพียงครั้งเดียวก็พอแต่คนที่เป็นโรคประสาทจะทำซ้ำๆอยู่นั่นเองคนไข้ส่วนใหญ่จะมีอาการทั้งย้ำคิดและย้ำทำควบคู่กันไป

                  5. โรคประสาทประเภทซึมเศร้า (Depressive Neurosis) เป็นโรคประสาทที่มีอาการซึม เศร้าโศกเสียใจ และผิดหวัง มีความกลัดกลุ้มอย่างผิดธรรมดามักจะมองโลกในแง่ร้ายมองตัวเองไม่มีค่าชอบคิดมากและหากมีอาการรุนแรงถึงที่สุดก็จะมีอาการพยายามฆ่าตัวตาย อาการซึมเศร้านี้มักจะเกิดหลังจากที่มีสิ่งมากระตุ้นเกี่ยวกับการสูญเสีย เช่น การตายของบุคคลที่เกี่ยวข้องในครอบครัว การสูญเสียทรัพย์สินเงินทอง เสียชื่อเสียงเกียรติยศ เป็นต้นอาการที่บ่งถึงความรู้สึกซึมเศร้า ได้แก่ อ่อนเพลีย หงุดหงิด กระวนกระวายตัดสินใจไม่ค่อยได้ เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ คิดถึงแต่เรื่องที่ทำให้ผิดหวังซ้ำแล้วซ้ำอีก เป็นต้น

                  6. โรคประสาทประเภทท้อแท้ (Neurasthenia Neurosis) เป็นลักษณะของโรคประสาทที่ผู้ป่วยจะมีอาการท้อแท้ใจ เหนื่อยอ่อน หมดเรี่ยวหมดแรง ความคิดความจำเลอะเลือนบางครั้งทำอะไรไม่ได้เลย หมดกำลังใจไม่อยากทำอะไร ใจคอหดหู่ จะมีอาการทางกายปรากฏให้เห็นคือปวดศีรษะ เบื่ออาหาร ท้องอืด ท้องเฟ้อ สมรรถภาพในด้านต่าง ๆ เสื่อมถอยไปหมดไม่เป็นตัวของตัวเอง อาการลังเลไม่กล้ารับผิดชอบ และไม่วางใจตัวเอง เป็นต้น

                  7.โรคประสาทประเภทหมกมุ่นครุ่นคิด(HypochondricalNeurosis)เป็นโรคประสาทที่เกิดจากการครุ่นคิดและวิตกกังวลเกี่ยวกับสุขภาพร่างกายของตนเองอยู่ตลอดเวลา กลัวว่าจะเกิดโรคอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นกับอวัยวะต่าง ๆ เช่น มีความรู้สึกว่าระบบย่อยอาหารผิดปกติหัวใจและปอดทำงานผิดปกติ จะพยายามครุ่นคิดอยู่ตลอดเวลาว่าตนเป็นหรือกำลังจะเป็นโรคชนิดนั้นชนิดนี้ แม้ว่าแพทย์จะตรวจไม่พบ สาเหตุทางร่างกายก็ตาม

                  Comment


                  • #39
                    บุคคลิกภาพแปรปรวน (Personality Disorder) แบ่งได้เป็น 5 กลุ่ม คือ

                    1.กลุ่มที่มีบุคลิกภาพแปลกประหลาด(TheEccentricGroup)พวกนี้จะมีนิสัยใจคอและกิริยามารยาทแตกต่างจากบุคคลอื่นอย่างเห็นได้ชัด พฤติกรรมของบุคคลกลุ่มนี้จะชอบพูดปด ขี้ระแวง มีความขมขื่นในชีวิต ชอบแต่งตัวสกปรก หรือแตกต่างกับคนอื่น เช่น ใส่เสื้อบางในฤดูหนาว ใส่เสื้อหนาในฤดูร้อน เป็นต้น

                    2. กลุ่มที่มีปมด้อย (The Inferior Group) พวกนี้จะมีปมด้อยอยู่ในจิตใจอย่างลึกซึ้ง เช่น ตำหนิตนเอง ไม่เชื่อความสามารถของตนเองมักมีอาการทางประสาทร่วมด้วย เช่น วิตกกังวล ไม่ชอบเข้าสังคม บางคนแสดงพฤติกรรมก้าวร้าว เพื่อกลบเกลื่อนความรู้สึกเป็นปมด้อย

                    3. กลุ่มที่ต้องการพึ่งผู้อื่น (The Dependent Group) มักจะมีอารมณ์เหมือนเด็ก ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง ต้องพึ่งผู้อื่น ไม่สามารถดำเนินการใดๆได้ถ้าไม่ได้การช่วยเหลือจากผู้อื่นถ้าจำเป็นต้องพึ่งตนเองอย่างมากและปรับตัวไม่ทันก็อาจเป็นโรคประสาทได้ง่าย

                    4. กลุ่มที่ต่อต้านสังคม (The Anti-Social Group) พวกนี้จะมีความก้าวร้าว ชอบฝ่าฝืนระเบียบของสังคม ชอบตามใจตนเอง มักจะเกิดความขัดแย้งระหว่างค่านิยมของสังคม กับความต้องการของตนอยู่เสมอ และหาความสบายใจจากการกระทำของตนไม่ได้

                    5. กลุ่มที่มีอารมณ์หวั่นไหวง่าย (The Emotionaly Unstable Group) มักจะมีอารมณ์ไม่มั่นคง จิตใจอ่อนไหวง่าย ควบคุมตนเองไม่ได้ และจะระบายอารมณ์ทางการแสดงออกทางร่างกาย เช่น กระตุก ติดอ่าง กัดเล็บ ดึงผม เขย่าขา และมักลดความเครียดด้วยการดื่มเหล้ากลายเป็นคนติดยาเสพติดความเบี่ยงเบนทางเพศ (Sexual Diviation)มักจะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “กามวิปริต”ซึ่งหมายถึงบุคคลที่มีพฤติกรรมชอบฝ่าฝืนกฎเกณฑ์ของสังคมในเรื่องเพศชอบปลดปล่อยความกังวลใจโดยการปฏิบัติทางเพศไปในรูปแบบต่าง ๆ กันความเบี่ยงเบนทางเพศ สามารถแบ่งออกได้ 14 ประเภท

                    Comment


                    • #40
                      ขอบคุณครับสำหรับบทความ ผมเข้าใจพวกเค้าแล้วครับ

                      Comment


                      • #41
                        ปล ทุกอย่างควรเริ่มต้นที่ตัวเองครับ แล้วสิ่งดีๆจะตามมาครับ

                        Comment


                        • #42
                          Last edited by Mozartza; 7 Dec 2008, 16:14:17.

                          Comment


                          • #43
                            Originally posted by Mozartza View Post
                            ดูอย่างในรูปนี่ก็อีกคนนึงครับ ใช้ Intel อยู่ อุตสาห์ สมัครสมาชิก แล้วก็อย่างในรูปแหละ ยกให้เขา

                            เรียนคุณ Drunk
                            ขอโทษนะครับ คุณรู้ได้ไงว่าผมใช้ intel ผมใช้ AMD มาตั้งเเต่ Duron เเล้วผมก็กำลังจะซื้อเครื่องใหม่ซึ่งเป็น AMDไม่ใช่ INTEL ภายในต้นปีหน้านี้ขอความกรุณาหาข้อมูลที่ถูกต้องก่อนที่จะมาโพสกล่าวหาคนอื่นเขาเเบบนี้
                            ป.ล.ที่ผมสมัครชิกนี้เป็นสมาชิกเเรกของผมในเวปไซค์นี้ ขอบคุณครับ
                            = =" เค้าแค่หมายถึงคนในลายเซ็นเค้าครับ เค้าไม่ได้บอกว่านายเป็นคนในรูปงะ
                            Last edited by inside-idea; 7 Dec 2008, 15:54:05.

                            Comment


                            • #44
                              ซะงั้น ต้องขอโทดด้วยเราเข้าใจผิด เเย่เลย - - ขอบคุณ inside-idea ครับที่ทำให้ผมเข้าใจ

                              Comment


                              • #45
                                ขออนุญาติเเก้ไขข้อแความเเล้วนะครับ

                                Comment

                                Working...
                                X