Announcement

Collapse
No announcement yet.

ชาว INTEL AMD NVIDIA ทุกท่านตกลงจะลงทะเบียนฉีดวัคซีนโควิด กันไม้

Collapse
This topic is closed.
X
X
 
  • Filter
  • Time
  • Show
Clear All
new posts




  • เห็นนักการเมืองกับเซเลปสามนิ้วโกหกกันเองว่า ประเทศไทยตรวจหาโควิดกันแค่วันละ 10,000 - 16,000 ราย แล้วก็สร้างเรื่องมโนกันเองว่า นี่ขนาดตรวจหลักหมื่น ยังเจอคนติดเชื้อวันละหลายพัน ระบบมันแย่มาก ตรวจวันละนิดเดียว ฯลฯ

    ที่สำคัญ นำมาด้อยค่าสลิ่ม ว่าไม่รู้จักเบิกเนตรซะบ้าง!!!
    แล้วก็ฟินกันเอง!!!

    ความจริง
    ช่วงวันที่ 4 กค.- 10 กค เราตรวจหาเชื้อทั้งหมด 450,597 ตัวอย่าง เฉลี่ยวันละ 64,371 ตัวอย่าง!!!!

    ตัวเลขนี้เพิ่มขึ้นอีกในสัปดาห์นี้ เพราะเพิ่มจุดตรวจ ปรับวิธีตรวจ ในพื้นที่ระบาดรุนแรง

    ยอดการตรวจนี้ ไม่ได้เพิ่งเพิ่มเดือนนี้ หรือเพิ่มหลังจากด่า ประเทศมันขับเคลื่อนด้วยการด่า แต่เขาเพิ่มมาตั้งแต่เดือนเมษายน 2564 (ดูในกราฟ)

    ถึงวันที่ 10 กค. 64 ประเทศไทยได้มีการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อวินิจฉัยโรคโควิด-19 โดยการตรวจหาสารพันธุกรรม (RT-PCR) ซึ่งเป็นวิธีมาตรฐานสากล ไปแล้ว 9,233,752 ตัวอย่าง คิดเป็น 131,949 ตัวอย่าง ต่อประชากรหนึ่งล้านคน

    แต่พวกมั่นใจสูง ความรู้ต่ำ ข้อมูลอ่อนแอ ก็นำมาโจมตี ทำให้ระบบเสียหาย สังคมเข้าใจผิด สับสน ดิสเครดิตคนที่เขาทำงานด้วยเหงื่อและเสี่ยงชีวิต

    ถามว่า รู้ความจริงแล้วควรทำไง?
    รู้ว่าตัวเองโกหกสังคม หรือเข้าใจผิด ทำไง?
    รู้อยู่แก่ใจ แต่จะทำรึเปล่า

    แหล่งข้อมูล: กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขและศูนย์ปฏิบัติการด้านนวัตกรรมการแพทย์และการวิจัยและพัฒนา สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.)
    กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
    วิจัยและนวัตกรรม

    Cr. สันติสุข มะโรงศรี

    #TeamThailand
    #เราจะผ่านเรื่องนี้ไปด้วยกัน
    #ธรรมศาสตร์พิทักษ์ธรรม
    #ThammasatPitakTham





    Comment



    • วันที่ 15 ก.ค.64 เป็นวันแรกที่ผู้ป่วยโควิด 19 รักษาอยู่ในระบบเกิน 1 แสนราย เสียชีวิตเกือบ 100 ราย

      ผู้ป่วยรายวันยังสูงมาก 8-9 พันคน ถ้าเทียบกับที่มีการคัดกรองได้ไม่เต็มที่ ตัวเลขจริง ๆ น่าจะเกินหมื่นไปแล้ว คนไข้นอน รพ.เพิ่มขึ้นเกือบ 10 เท่าในเวลาไม่ถึง 1 เดือน จาก 6,105 รายเมื่อ 19 มิ.ย.64 เป็น 58,582 ราย สภาพแบบนี้ทุก รพ.สาหัสกันหมด เบ่งเตียงกันเต็มที่ ทำงานไม่ได้หยุด ทุกโรงพยาบาลต้องการหมุนเตียงเพื่อรับผู้ป่วยให้ทัน ถึงแม้ใช้มาตรการแยกตัวที่บ้าน (Home isolation) แล้ว แต่โรงพยาบาลก็ยังแน่น ผู้ป่วยกว่าจะได้เตียงต้องใช้เวลาหลายวัน จึงเห็นภาพผู้ป่วยอาการหนักต้องเสียชีวิตระหว่างรอเตียงมากขึ้น

      ยังเห็นรถราติด คนใช้บริการรถสาธารณะ รถไฟฟ้ากันแน่น การขอความร่วมมือ WFH ดูไม่ค่อยได้ผล หลาย ๆ คนยังคงต้องออกมาทำงานกัน ไม่แน่ใจว่ามาตรการที่ออกมาจะได้ผลแค่ไหน คงต้องรออีกระยะ

      ตอนนี้คงต้องร่วมมือกันทุกฝ่าย บุคลากรทางการแพทย์ใน รพ.ต่าง ๆ ตอนนี้เราได้แค่ตั้งรับ เหมือนเขื่อนที่น้ำล้นเต็มที่ ถ้าไม่รีบลดภาวะน้ำหลาก ก็เพียงรอเวลาที่เขื่อนจะพัง ถึงตอนนั้นจะเห็นผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นมากกว่านี้อีก

      ช่วยกันป้องกันตนเองด้วยมาตรการสูงสุด อยู่บ้านให้มากที่สุด คิดเสมอว่าทุกคนอาจมีเชื้อที่จะติดต่อมาถึงเราได้ สวมหน้ากากอนามัยอย่างถูกต้อง ใช้สองชั้นยิ่งดี ล้างมือบ่อย ๆ คิดเสมอว่าพึ้นผิวรอบตัวอาจมีเชื้อที่จะติดมือเรามาได้ ทานอาหารสุก แล้วรีบรับวัคซีนให้เร็วที่สุดเมื่อมีโอกาส

      ขอเป็นกำลังใจ และขอให้ทุกคนโชคดีครับ

      พล.อ.ท.นพ.อนุตตร จิตตินันทน์
      ประธาน ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย

      Cr. Anutra Chittinandana

      #TeamThailand
      #เราจะผ่านเรื่องนี้ไปด้วยกัน
      #ธรรมศาสตร์พิทักษ์ธรรม
      #ThammasatPitakTham





      Comment


      • Comment


        • Comment





          • ประสิทธิภาพวัคซีนโควิด


            บุคลากรทางการแพทย์ได้รับวัคซีนซิโนแวค และ แอสตราเซเนกา 700,000 คน


            วัคซีนทั้ง 2 ชนิด ลดอาการป่วยรุนแรง และ ลดการเสียชีวิตได้มาก

            ใครยังไม่ได้ฉีด รักษาตัวดี ๆ อย่าให้ติด

            Comment





            • พบเชื้อ Covid-19 กลายพันธุ์จากสายพันธุ์ที่พบครั้งแรกในรัฐแคลิฟอร์เนียของสหรัฐฯสามารถต้านวัคซีน mRNA ได้
              .
              วารสาร Science ได้ตีพิมพ์งานวิจัยที่พบว่า Covid-19 สายพันธุ์ “Epsilon (เอพไซลอน)” หรือสายพันธุ์ B.1.427 / B.1.429 ซึ่งถูกพบเป็นครั้งแรกที่รัฐแคลิฟอร์เนียของสหรัฐฯ มีการกลายพันธุ์ที่บริเวณหนามโปรตีน (Spike) ที่ใช้ยึดเกาะกับเซลล์ของมนุษย์
              .
              ซึ่งการกลายพันธุ์ดังกล่าวส่งผลให้เชื้อสายพันธุ์ Epsilon ดื้อต่อแอนติบอดีที่เกิดจากการฉีดวัคซีน mRNA
              .
              เชื้อ SARS-CoV-2 B.1.427/B.1.429 หรือ Epsilon มีรายงานการพบเป็นครั้งแรกเมื่อต้นปี 2021 ในแคลิฟอร์เนีย ต่อมาเมื่อเดือนพฤษภาคม 2021 เชื้อสายพันธุ์ดังกล่าวถูกตรวจพบใน 34 ประเทศ

              Source : t.ly/6Mku
              .
              Photo : Scripps Research
              .
              Cr. TheState

              #TeamThailand
              #เราจะผ่านเรื่องนี้ไปด้วยกัน
              #ธรรมศาสตร์พิทักษ์ธรรม
              #ThammasatPitakTham





              Comment





              • เมื่อวันจันทร์ (12 ก.ค. 64) ทางสำนักงานอาหารและยาแห่งชาติสหรัฐฯ (เอฟดีเอ) เพิ่มเติมคำเตือนบนเอกสารข้อเท็จจริงของวัคซีนโควิด-19 จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน ระบุข้อมูลบ่งชี้ว่า มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับอาการระบบประสาทที่เกิดขึ้นยากมาก ๆ ในช่วง 6 สัปดาห์หลังฉีดวัคซีน
                .
                ในหนังสือที่ส่งถึงบริษัท ทางเอฟดีเอจัดให้โอกาสเกิดโรคกลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เร (Guillain Barre syndrome) หรือโรคระบบประสาทและกล้ามเนื้อที่ทำให้กล้ามเนื้ออัมพาตอ่อนแรงอย่างเฉียบพลัน ยังคงอยู่ในระดับ 'ต่ำมาก ๆ' และแนะนำว่าผู้ที่ได้รับวัคซีนของจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน ควรรีบไปพบแพทย์หากเกิดอาการต่าง ๆ ในนั้น รวมถึงอ่อนแรงหรือเป็นเหน็บชา เดินลำบากและเคลื่อนไหวใบหน้าลำบาก
                .
                มีประชาชนฉีดวัคซีนโดสเดียวของจอห์นสันแอนด์จอห์นสันแล้วราว ๆ 12.8 ล้านคนในสหรัฐฯ และทางเอฟดีเอระบุว่า ได้รับรายงานในเบื้องต้นเกี่ยวกับกลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เร ในบุคคลที่ฉีดวัคซีน 100 ราย ในนั้น 95 รายเป็นเคสอาการสาหัส ที่จำเป็นต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลและเสียชีวิต 1 ราย
                .
                จอห์นสันแอนด์จอห์นสันระบุในถ้อยแถลงว่าพวกเขาอยู่ระหว่างพูดคุยหารือกับทางคณะผู้ควบคุมกฎระเบียบเกี่ยวกับเคสอาการกิลแลง-บาร์เร
                .
                อย่างไรก็ตาม พวกเขาเน้นย้ำว่าเคสอาการกิลแลง-บาร์เร ที่ได้รับรายงานในบุคคลที่ฉีดวัคซีนของจอห์นสันแอนด์จอห์นสันนั้นถือเป็นอัตราที่เล็กน้อยมาก ๆ
                .
                สำหรับกลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เร หรืออาการระบบประสาท จัดอยู่ในภาวะภูมิคุ้มกันแปรปรวนที่พบได้ค่อนข้างยาก เกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติและผลิตสารภูมิคุ้มกันหรือแอนติบอดีออกมาทำลายเซลล์ประสาทของระบบประสาทรอบนอกจนอักเสบและสูญเสียการทำงาน ส่งผลให้ผู้ป่วยรู้สึกอ่อนแรง มึนงง เกิดเหน็บชาตามร่างกายในระยะแรก และอาการอาจรุนแรงขึ้นอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นอัมพาตในที่สุด
                .
                ทั้งนี้ เคสกลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เร เกิดขึ้นหลังจากติดเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัส ไม่มียาหรือวิธีรักษาเฉพาะ แต่ร่างกายคนเราสามารถเยียวยาตนเองให้หายได้ เพียงแต่ต้องใช้ระยะเวลา แนวทางการรักษาจึงทำโดยประคับประคองอาการไม่ให้แย่ลง เพื่อช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวได้เร็วขึ้น และคนส่วนใหญ่มักฟื้นตัวโดยสมบูรณ์จากอาการกิลแลง-บาร์เร
                .
                ที่ผ่านมา อาการดังกล่าวเคยถูกโยงกับวัคซีนต่าง ๆ นานา ที่เด่นชัดที่สุดคือ โครงการฉีดวัคซีนระหว่างการแพร่รระบาดของไข้หวัดหมูในสหรัฐฯ ช่วงปี 1976 และอีกหลายทศวรรษก็ถูกโยงกับวัคซีนที่ใช้ระหว่างโรคระบาดใหญ่ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ H1N1 ปี 2009
                .
                จากถ้อยแถลงของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติสหรัฐฯ (ซีดีซี) พบว่า เคสส่วนใหญ่เกิดกับผู้ชาย ในนั้นจำนวนมากมีอายุ 50 ปีขึ้นไป และซีดีซีพบว่ามันไม่สูงไปกว่าเคสอาการกิลแลง-บาร์เร ที่คาดหมายว่าจะเกิดกับบุคคลที่ได้รับวัคซีนเทคโนโลยี mRNA ของไฟเซอร์ อิงค์/ไบโอเอ็นเทค และโมเดอร์นา อิงค์
                .
                เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว คณะผู้ควบคุมกฎระเบียบยุโรปแนะนำออกคำเตือนแบบเดียวกันกับวัคซีนโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า ซึ่งใช้พื้นฐานเทคโนโลยีเดียวกับวัคซีนของจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน
                .
                คำเตือนนี้ถือเป็นอีกหนึ่งความผิดหวังสำหรับวัคซีนของจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน ซึ่งถูกคาดหวังว่าจะเป็นเครื่องไม้เครื่องมือสำคัญสำหรับฉีดวัคซีนแก่ประชาชนในพื้นที่ที่ยากเข้าถึงและในหมู่ผู้คนที่ลังเลฉีดวัคซีน เพราะมันใช้เพียงแค่โดสเดียว และสามารถเก็บรักษาในอุณหภูมิตู้เย็นปกติ ต่างจากวัคซีนของไฟเซอร์และโมเดอร์นา
                .
                แต่วัคซีนตัวนี้มีอันต้องสะดุดลง จากการถูกโยงกับอาการลิ่มเลือดอุดตันที่เกิดขึ้นน้อยมาก แต่เสี่ยงถึงขั้นเสียชีวิต และปัญหาการผลิตที่ล่าช้า ณ โรงงานผลิตหลัก
                .
                อย่างไรก็ตาม คณะผู้ควบคุมกฎระเบียบของสหรัฐฯ สรุปในเดือนเมษายน ว่า ประโยชน์ของวัคซีนมีมากกว่าความเสี่ยงจากประเด็นลิ่มเลือดอุดตัน
                .
                (รอยเตอร์)
                .
                ที่มา : https://mgronline.com/around/detail/9640000068027

                .
                Cr. THESTATETIMES

                #TeamThailand
                #เราจะผ่านเรื่องนี้ไปด้วยกัน
                #ธรรมศาสตร์พิทักษ์ธรรม
                #ThammasatPitakTham





                Comment





                • Covid-19: บริษัท Gavi ลงนามจัดซื้อล่วงหน้า วัคซีนต้านโควิด-19 ของ Sinopharm และ Sinovac จากจีนรวม 550 ล้านโดส ภายในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2022 เพื่อใช้ในโครงการ COVAX เพิ่มเติมจากอีก 110 ล้านโดส ที่ทั้ง 2 บริษัทจีนกำลังจะส่งมอบให้ COVAX เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนวัคซีน ที่แจกจ่ายให้แก่ประเทศยากจนทั่วโลก

                  เมื่อวานนี้ (12 กรกฎาคม) กลุ่มพันธมิตรโลกเพื่อวัคซีนและการสร้างภูมิคุ้มกัน หรือ Gavi เปิดเผยว่า ได้ลงนามในข้อตกลงจัดซื้อล่วงหน้า วัคซีนต้านโควิด-19 ของจีน เป็นจำนวน 550 ล้านโดส ภายในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2022 หรือปีหน้า เพื่อใช้ในโครงการ COVAX ขององค์การอนามัยโลก หรือ WHO

                  Gavi ซึ่งทำหน้าที่จัดซื้อวัคซีนต้านโควิดให้แก่ COVAX ได้ลงนามข้อตกลงจัดซื้อวัคซีนต้านโควิดล่วงหน้า กับ 2 บริษัทเวชภัณฑ์ยาของจีน คือ Sinopharm และ Sinovac

                  ทั้งนี้ ทั้งวัคซีน Sinopharm และ Sinovac ต่างได้รับอนุมัติจาก WHO ไปแล้ว ให้ใช้ในกรณีฉุกเฉินได้

                  การจัดซื้อวัคซีนล่วงหน้าจากจีนดังกล่าว เพิ่มเติมขึ้นจากวัคซีนจำนวน 110 ล้านโดส ที่ Sinopharm และ Sinovac กำลังจะส่งมอบให้แก่ COVAX ภายในสิ้นเดือนตุลาคมนี้ โดย 60 ล้านโดสจะมาจาก Sinopharm จะเริ่มส่งมอบวัคซีนได้ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมนี้ ไปจนถึงเดือนตุลาคมปีนี้ ส่วนอีก 50 ล้านโดส จะมาจาก Sinovac และส่งมอบได้ภายในเดือนกันยายนปีนี้

                  การจัดซื้อวัคซีนจีนล่วงหน้าของ COVAX ครั้งนี้ เกิดขึ้นหลังจาก WHO เพิ่งระบุว่า โควิดกลายพันธุ์ “Delta” กำลังกลายเป็นโควิดสายพันธุ์หลัก ที่กำลังระบาดหนักไปทั่วโลกกว่า 104 ประเทศแล้ว และกำลังคุกคามระบบสาธารณสุขทั่วโลก

                  คาดว่า วัคซีนของ 2 บริษัทจีน จะสามารถชดเชยการขาดแคลนวัคซีนที่ COVAX กำลังเผชิญอยู่ได้

                  ทั้งนี้ COVAX เป็นโครงการที่ก่อตั้งขึ้น โดยมีจุดประสงค์เพื่อจัดหาและแจกจ่ายวัคซีนต้านโควิด ไปถึงประเทศยากจนทั่วโลกอย่างทั่วถึง ดูแลโดย WHO ร่วมกับ Gavi ซึ่งเป็นพันธมิตรระดับโลกที่ประกอบด้วยทั้งภาครัฐและเอกชน

                  Gavi เปิดเผยรายละเอียดของข้อตกลงนี้ว่า จะทำให้ Gavi มีสิทธิ์จะซื้อวัคซีนจาก Sinopharm 60 ล้านโดสในไตรมาส 4 ของปีนี้ และอีก 50 ล้านโดสในช่วงครึ่งแรกของปีหน้า พร้อมทั้ง เผยว่ามีสิทธิ์จะซื้อวัคซีนจาก Sinovac อีก 150 ล้านโดสในไตรมาส 4 ของปีนี้ และอีก 180 ล้านโดสในช่วงครึ่งแรกของปี 2022
                  —————
                  ภาพ: Reuters

                  Cr. TNNWorldNews

                  #TeamThailand
                  #เราจะผ่านเรื่องนี้ไปด้วยกัน
                  #ธรรมศาสตร์พิทักษ์ธรรม
                  #ThammasatPitakTham





                  Comment





                  • เมื่อวันที่ 11 ก.ค. เว็บไซต์ The Straits Times ได้ลงข่าวเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนในประเทศไทย โดยมีพาดหัวข่าวแปลเป็นไทยว่า “บุคลากรทางการแพทย์ไทยนับร้อยยังคงติดเชื้อโควิด ถึงแม้จะได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว” โดยมีเนื้อข่าวดังนี้
                    .
                    กรุงเทพ (รอยเตอร์) – รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขของไทยได้ออกมาแถลงเมื่อวันอาทิตย์ที่ 11 ก.ค. ว่ามีบุคลากรทางการแพทย์มากกว่า 600 คน ซึ่งได้รับวัคซีนซิโนแวคของจีนครบ 2 เข็มแล้วติดเชื้อโควิด-19
                    .
                    โดยมีเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ได้รับวัคซีนซิโนแวคครบ 2 โดสไปแล้ว 677,348 คน และพบว่ามีผู้ติดเชื้อ 618 คน ซึ่งข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขก็ได้แสดงข้อมูลตั้งแต่เดือน เม.ย.-ก.ค. ว่ามีพยาบาลเสียชีวิตและมีบุคลากรทางการแพทย์บางคนที่ป่วยหนักในภาวะวิกฤต
                    .
                    “มีผู้เชี่ยวชาญได้ให้คำแนะนำถึงการฉีดวัคซีนโดสที่ 3 เพื่อกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของบุคลากรการแพทย์ที่มีความเสี่ยงสูง” นายแพทย์โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค ได้กล่าวในการแถลงข่าว
                    .
                    “ซึ่งตรงนี้จะใช้วัคซีนตัวที่ต่างออกไป เช่น ตัวที่เป็น ไวรัล เวกเตอร์ ของ AstraZeneca หรือตัววัคซีน mRNA ที่ประเทศไทยจะได้รับในเวลาอันใกล้นี้”
                    ............................................................................
                    โดยเฟซบุ๊กแฟนเพจของ The Straits Times ก็ได้โพสต์ข่าวนี้ด้วย โดยผู้ติดตามแฟนเพจสามารถเข้ามาให้คอมเมนต์มากมาย โดยชาวอาเซียนหลายๆคนซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวสิงคโปร์ และมาเลเซีย ได้เข้ามาคอมเมนต์ถึงประสิทธิภาพของวัคซีนซิโนแวค, การนำเสนอข่าวของ The Straits Times โดยเฉพาะพาดหัวข่าวที่อ่านแล้วดูพุ่งเป้าโจมตีวัคซีน ดังนี้
                    .
                    .
                    - Richard Ker- (มาเลเซีย)
                    เป็นรายงานข่าวที่มีอคตินะครับ คนอังกฤษมากกว่า 68% ได้รับวัคซีน AZ แต่ตอนนี้พวกเขาติดมากกว่า 30,000 คนต่อวัน แบบนี้เป็นข่าวบ้างไหม


                    ------> -Eugene Beh-(สิงคโปร์) : ถึงคุณ Richard Ker อธิบายให้หน่อยว่าข่าวมีอคติตรงไหน?


                    ------> -Tan Kia Sin-(สิงคโปร์) : ถึงคุณ Eugene Beh จำนวนคนติดเชื้อ 618 ต่อผู้ฉีดไปแล้ว 677,348 ถือว่านิดเดียวนะ ผมคิดว่าบุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้าของสิงคโปร์ที่ได้รับวัคซีนครบโดสแล้ว มีเปอร์เซ็นติดเชื้อสูงกว่าที่ประเทศไทยอีกนะ, มีคลัสเตอร์หนึ่งในสิงคโปร์ ครึ่งนึงของผู้สูงอายุที่ติดเชื้อ เป็นผู้ที่ได้รับวัคซีนครบ 2 เข็มแล้ว
                    .


                    -Ge Fang Long-
                    ถ้าพาดหัวขาวมาแนวนี้ “พบเกือบ 1% ของบุคลากรแพทย์ไทยติดเชื้อ หลังฉีดวัคซีนซิโนแวคครบโดสแล้ว”
                    รู้สึกต่างกันไหมครับ เพราะจริงๆมันก็มีเคสมากมายที่ติดเชื้อหลังจากฉีด AZ, ไฟเซอร์, โมเดอร์นา ในประเทศอังกฤษ, อเมริกา หรือแม้แต่ออสเตรเลีย แต่ก็ไม่เห็น Straits Times ลงข่าว
                    .
                    -Eddy Chai-
                    พาดหัวชี้นำเนอะ เพราะวัคซีนไม่ได้ป้องกันไม่ให้ติดเชื้อเสียหน่อย แต่มันทำให้ความเสี่ยงในการเสียชีวิตหลังติดเชื้อลงลงต่างหาก
                    .
                    -Grant Cowan-(ออสเตรเลีย)
                    ว่าไงดีล่ะ มันน่าประหลาดใจไม่น้อยนะ ที่บอกว่าวัคซีนตัวนี้มีการป้องกันได้แค่ 51% จากหน่วยงานที่เชื่อถือได้


                    ------> -Benjamin New- : คุณคิดว่าติดเชื้อ 600 เคส จากการฉีด 600,000 คน เท่ากับ 0.1% ใช่ไหม? นั่นมันคือป้องกันได้ 99.9% เลยนะ


                    -----> -Khor Wee Siong- : น่าทึ่งใช่ไหมล่ะ ติดเชื้อ 618 คนจาก 677,348 คนที่ฉีดวัคซีนแล้ว. นี่มันแค่ 0.09% ซึ่งเท่ากับว่าได้ผลการป้องกันมากกว่า 99.9%. นั่นมันมากกว่าผลการศึกษาของที่ไหนอีกนะ
                    .
                    -Steven Png-
                    ดูเหมือนว่าซิโนแวคจะทำงานได้ดีในไทยนะ หวังว่าจะเกิดผลดีอย่างนี้ในสิงคโปร์บ้าง
                    .
                    -Sivaruban Kandasamy- (มาเลเซีย)
                    เป็นการรายงานข่าวที่แย่มาก นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อคุณไม่เข้าใจเหตุผลว่าฉีดวัคซีนกันเพื่ออะไร
                    .
                    -Bryan Teo- (สิงคโปร์)
                    มันมีการปลุกปั่นประชาชนของเราจนกลัวที่จะไม่เลือกฉีดซิโนแวค แล้วไปเลือกไฟเซอร์, ซึ่งไฟเซอร์ก็มี เทมาเส็ก (บรรษัทเพื่อการลงทุนแห่งชาติสิงคโปร์) ไปลงทุนอยู่. ทุกคนควรรู้ตัวได้แล้วว่าวัคซีนที่เราได้ ไม่ได้สร้างภูมิคุ้มกัน
                    .
                    -Jonathan Tan-(สิงคโปร์)
                    600 เคสติดเชื้อจาก 677,000 คน นั่นมันน้อยกว่า 0.1% อีกนะ มันไม่ใช่ว่าดีมากแล้วเหรอ?
                    แต่พาดหัวข่าวก็เสี้ยมให้ดูไม่ดี สำนักข่าวก็ควรจะมีความเป็นมืออาชีพหน่อยนะ.
                    .
                    - Mohd Faliq Putrans- (มาเลเซีย)
                    ในมาเลเซียก็มีบุคลากรทางการแพทย์ติดเชื้อหลังจากได้วัคซีนไฟเซอร์ครบ 2 โดสนะ ช่วยรายงานข่าวให้เป็นธรรมหน่อย ผมก็ไม่ใช่พวกเข้าข้างจีนนะ แต่รำคาญพวกสื่อที่ไม่เป็นกลาง
                    .
                    -Steven Chong- (มาเลเซีย)
                    สวัสดี ถึงใครก็ตามที่เขียนข่าวนี้ วัคซีนไม่ได้หมายความว่าฉีดแล้วจะไม่ติดเชื้อ มันหมายความว่าจะช่วยให้ภูมิคุ้มกันในร่างกายคุณมีข้อมูลของไวรัส และพร้อมสร้างภูมิมาสู้มันในกรณีที่คุณติดเชื้อ มันช่วยลดความหนักหน่วงในยามที่คุณติดเชื้อ เพราะภูมิคุ้มกันมันรู้จักตัวไวรัสและโจมตีมันได้


                    ....เหมือนคุณเป็นนักคาราเต้สายดำ นั่นไม่ได้หมายความว่าคุณจะไม่ได้รับการบาดเจ็บจากการโดนทำร้ายนะ...
                    แต่มันช่วยให้เราได้รู้จักการป้องกันตนเอง


                    ถ้ากลับไปที่ตัวเลขนะ จาก 677,348 คน เรายังมีคาราเต้สายดำอีก 676,730 คนที่ชนะ ซึ่งตัวเลขมันไม่เลวเลย
                    แล้ววัคซีนตัวอื่นว่าไงบ้างอะ ขอข้อมูลหน่อยได้ไหม
                    .
                    -Inamul Hoque- (อินเดีย)
                    ติดเชื้อ 0.1% นั่นเป็นตัวเลขที่รับได้นะ
                    .
                    -Kelvin Chan-
                    ยิ่งเขาโจมตี เราก็ยิ่งสงสัย และยิ่งอยากฉีดซิโนแวคมากขึ้น ฮ่าๆๆๆ
                    .
                    (แก้ไขเติมคอมเมนต์ และแก้คำผิด)
                    .
                    -Kittiphit Rojsasitham-(ไทย)
                    ถ้าคุณเชื่อในประสิทธิภาพของซิโนแวคแล้วล่ะก็ งั้นก็เอาไฟเซอร์มาสิ พวกคุณมันโชคดีมากรู้มั้ยที่ได้วัคซีน mRNA คนไทยต้องกดดันรัฐบาลตั้งหลายเดือนเพื่อให้ซื้อไฟเซอร์ซึ่งกว่าเราจะได้ก็ ควอเตอร์ 4


                    แล้วก็มีคลัสเตอร์สถานีตำรวจกลางกรุงเทพ เจ้าหน้าที่ตำรวจทุกคนที่ฉีดซิโนแวคติดเชื้อกันหมด ส่วนคนที่ฉีด AZ ไม่ติด


                    -----> -Aidalina Mahmud- (มาเลเซีย) : ถึงคุณ Kittiphit Rojsasitham คุณต้องอ่านรายงานทางการแพทย์และถามผู้เชี่ยวชาญนะ อย่าเอาคำพูดจากพวกนักข่าวหรือสำนักข่าวมา มันมีหลายวิธีที่จะได้อ่านข้อมูลหลักฐานทางการแพทย์


                    -----> -Wenyou Seow-(มาเลเซีย) : ถึงคุณ Kittiphit Rojsasitham แม้ว่าจะติดเชื้อแต่ก็ไม่ต้องเข้าห้อง ICU หากคุณฉีดวัคซีนที่ WHO ให้การรับรอง
                    .
                    -Siang- (มาเลเซีย)
                    ในขณะที่แพทย์ด่านหน้าที่ฉีดวัคซีนครบโดสของเราติดเชื้อกันเป็นพันๆ ในมาเลเซีย ...ผมมั่นใจมากว่าพวกเขาฉีดไฟเซอร์ ....แล้วไงอะ??
                    .
                    -Du Ruo Gu-(สิงคโปร์)
                    งั้นนี่ก็กลายเป็นข่าวที่พิสูจน์ว่าซิโนแวคมีประสิทธิภาพมากสินะ? อุ๊ย ฮา


                    -------------------------------
                    แหล่งข่าว
                    https://www.straitstimes.com/.../hundreds-of-thai-medical...


                    https://www.facebook.com/story.php?story_fbid=10158014361382115&id=129011692114

                    Comment




                    • ชาวเน็ตแห่แชร์ แพทย์สหรัฐฯ แนะควรปฏิบัติตัวอย่างไร เมื่อไม่มีเตียงในโรงพยาบาล

                      แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคปอด อธิบาย 8 ข้อ ติดโควิดลงปอด แต่ไม่มีเตียงโรงพยาบาล ควรปฏิบัติตัวอย่างไร

                      วันนี้ (11 ก.ค.) ผู้ใช้ยูทูป Doctor Tany ของ นพ.​ธนีย์ ธนียวัน อาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคปอด วิกฤต​บำบัด และการปลูกถ่ายปอด ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เผยแพร่วีดีโอคลิปความยาวเกือบ 20 นาที หัวข้อ "ติดโควิดลงปอด แต่ไม่มีเตียงโรงพยาบาล ควรปฏิบัติตัวอย่างไร" โดยระบุว่า ในระหว่างรอเตียงโรงพยาบาล

                      1. ถ้ามีอาการเหนื่อยให้สงสัยว่าโควิดลงปอดไว้ก่อน สำหรับคนที่ไม่แน่ใจว่าเหนื่อย ให้ลองเดินไปมา ลุกยืนจากท่านั่งสักสามครั้ง หรือกลั้นหายใจสัก 10-15 วินาที ถ้าทำแล้วเหนื่อย ก็แสดงว่าเหนื่อยจริงๆ ถ้าคนที่มีเครื่องวัดออกซิเจนแล้วเจอออกซิเจนต่ำกว่า 94 % ลงไปก็ถือว่าโควิดน่าจะลงปอด ให้ทำในข้ออื่นๆ ด้วย

                      2. นอนคว่ำ อย่าเดินไปมามากถ้าเหนื่อย ถ้านอนคว่ำไม่ได้ให้นอนตะแคง สำหรับคนท้องให้นอนตะแคงเอาด้านซ้ายลง

                      3. พยายามขยับขาบ่อยๆ ถ้านอน เพื่อป้องกันการเกิดลิ่มเลือด

                      4. ทานอาหารให้พอ ถ้าทานไม่ได้ให้ทานน้ำประมาณ 2-2.5 ลิตรต่อวัน ทานมากไปก็ไม่ดี ถ้าทานอาหารไม่ได้เลยควรทานน้ำเกลือแร่ เช่น ที่ใช้เวลาท้องเสีย น้ำเกลือแร่ที่ทานเวลาออกกำลังกาย ถ้าไม่มีให้ผสมเกลือสักช้อนชานึงกับน้ำตาลลงในน้ำแล้วดื่มได้

                      5. ทานยาประจำตัวสม่ำเสมอ อย่าขาด กรณีที่เป็นเบาหวานควรตรวจน้ำตาลบ่อยๆ ถ้าต่ำควรงดอินซุลิน หรือยาทาน ถ้าเป็นโรคความดันโลหิตสูง ควรวัดความดันบ่อยๆ ถ้าต่ำเช่น 90/60 ควรงดยา ถ้าทานยาขับปัสสาวะอยู่และทานน้ำไม่ได้ ให้งดยาไปก่อน

                      6. เตรียมยาพาราเซตามอล ไทลินอล ไว้ทานเวลามีไข้ อย่าทานยากลุ่มอื่นโดยเฉพาะ NSAID เช่น ibuprofen, naproxen, mefenamic acid (ponstan), diclofenac (voltaren) เพราะอาจทำให้เกิดปัญหาได้ ถ้าแพ้ยาพาราให้เช็ดตัวเอา ถ้าจะทานสมุนไพรฟ้าทะลายโจร ก็ทานตามที่กำหนดที่ข้างฉลาก อย่าทานเกิน ท่านที่มีโรคตับห้ามทานเพราะอาจทำให้ตับวาย

                      7. ถ้าเหนื่อยมาก อย่าไปเข้าห้องน้ำ เพราะการเบ่งถ่าย และลุกนั่งอาจทำให้เป็นลมหมดสติ หัวใจหยุดเต้นได้ ควรเข้าที่ข้างเตียงเลยดีที่สุด ใช้กระโถน กระดาษ หรืออะไรที่หาได้ ...ถ้าจะเข้าห้องน้ำ อย่าล็อกประตูเด็ดขาด และควรบอกคนอื่นๆในครอบครัวด้วย มีหลายรายที่เหนื่อยแล้วไปเข้าห้องน้ำ จากนั้นเป็นลม หัวใจหยุดเต้นครับ ท่านที่ท้องผูก ให้ทานยาระบาย ทานน้ำมากๆ การเบ่งอุจจาระจะทำให้หน้ามืดได้ในกรณีที่ออกซิเจนต่ำ

                      8. หมั่นติดต่อกับครอบครัว ญาติ เพื่อนๆ เพื่อแจ้งอาการสม่ำเสมอ

                      Cr. CocoNews

                      #TeamThailand
                      #เราจะผ่านเรื่องนี้ไปด้วยกัน
                      #ธรรมศาสตร์พิทักษ์ธรรม
                      #ThammasatPitakTham

                      ดูคลิปได้ที่ >> https://www.youtube.com/watch?v=phrV4gMhyIo





                      Comment





                      • องค์การอนามัยโลกยัน วัคซีนทุกตัวที่อนุมัติป้องกันความรุนแรงจากสายพันธุ์เดลตาได้

                        หัวหน้านักวิทยาศาสตร์องค์การอนามัยโลกยืนยัน วัคซีนทั้งหมดที่อนุมัติให้ใช้ในกรณีฉุกเฉินสามารถป้องกันอาการรุนแรง การเข้าโรงพยาบาล และการเสียชีวิตจากเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์เดลตาได้ แม้แต่ละตัวจะต่างกันเรื่องการป้องกันการติดเชื้อก็ตาม แนะควรฉีดวัคซีนทันทีที่ถึงคิว และปฏิบัติตามมาตรการป้องกันต่างๆ ต่อไป เพื่อตัดวงจรและควบคุมการระบาด

                        วันที่ 10 ก.ค. ดร.ซุมยา สวามินาธาน หัวหน้านักวิทยาศาสตร์องค์การอนามัยโลก (WHO) กล่าวถึงไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เดลตา ในรายการวิทยาศาสตร์ใน 5 นาที ว่า สายพันธุ์เดลตาเป็นสายพันธุ์ที่น่ากังวลสายพันธุ์ที่ 4 ที่องค์การอนามัยโลกได้มีการระบุไว้ ด้วยเหตุผลที่ว่าแพร่กระจายได้ง่ายกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิม และยังสามารถต้านแอนติบอดี้ (ภูมิคุ้มกัน) ที่มีในเลือดของเราได้ด้วย นั่นหมายความว่า เราต้องการแอนติบอดี้ในระดับที่สูงกว่าเพื่อที่จะสู้กับสายพันธุ์นี้ เมื่อเทียบกับสายพันธุ์อัลฟา เป็นต้น

                        “ทีนี้ ข่าวดีคือ วัคซีนทั้งหมดที่องค์การอนามัยโลกอนุมัติให้ใช้ในกรณีฉุกเฉินสามารถป้องกันอาการรุนแรง การเข้าโรงพยาบาล และการเสียชีวิต ซึ่งอาจเกิดจากสายพันธุ์เดลตาได้ การศึกษาในประเทศที่มีรายงานสายพันธุ์เดลตาแสดงให้เห็นว่า คนที่ได้รับวัคซีนแล้วมีแนวโน้มต่ำกว่ามากที่จะเข้าโรงพยาบาล และคุณต้องได้รับวัคซีนครบคอร์สเพื่อให้ได้ภูมิคุ้มกันสายพันธุ์เดลตาเต็มที่ เพราะฉะนั้นสิ่งสำคัญคือ หากสามารถเข้าถึงวัคซีนที่ทางองค์การอนามัยโลกอนุมัติใช้แล้ว ให้รีบฉีดวัคซีนและฉีดให้ครบคอร์ส เพื่อที่จะมีภูมิคุ้มกันสายพันธุ์เดลตา และสายพันธุ์อื่นๆ”

                        เมื่อถามถึงระดับภูมิคุ้มกันกรณีที่ได้รับวัคซีนเพียง 1 โดส เมื่อเทียบกับครบโดส ดร.ซุมยา กล่าวว่า เป้าหมายหลักของวัคซีนเหล่านี้คือการป้องกันโรคที่มีอาการรุนแรง เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราต้องการ คือ ถึงแม้ติดเชื้อก็หายได้ และไม่ป่วยอาการรุนแรง นั่นคือสิ่งที่วัคซีนเหล่านี้ทำได้ดีมาก แน่นอนมีระดับต่างกัน คุณอาจจะอ่านเรื่องการทดลองประสิทธิภาพมา ซึ่งมีตั้งแต่ 70-90% แต่ถ้ามองเรื่องป้องกันอาการรุนแรง และการเข้าโรงพยาบาล วัคซีนทุกตัวดีมาก และมีประสิทธิภาพมากกว่า 90%

                        “วัคซีนต่างกันเรื่องการป้องกันการติดเชื้อ ความจริงเราก็ยังจะมีวัคซีนที่ป้องกันการติดเชื้อหรือการป่วยได้ 100% แต่วัคซีนที่เรามีในขณะนี้ไม่มีตัวไหนเลยที่ป้องกันได้ 100% นี่เป็นเหตุผลว่า ถึงแม้จะได้รับวัคซีนแล้วก็ยังมีโอกาสติดเชื้อ แต่จะมีอาการไม่รุนแรง หรือไม่มีอาการเลย และโอกาสที่จะมีอาการรุนแรงนั้นน้อยมาก”

                        เมื่อถามว่า ถ้าเราติดเชื้อหรือแพร่เชื้อไปยังคนอื่นได้หลังฉีดวัคซีนครบ แล้วเราจะฉีดวัคซีนไปทำไม ดร.ซุมยากล่าวว่า มีสองเหตุผลที่ดีมากๆ ข้อแรก เพื่อปกป้องตัวเองจากการป่วยรุนแรงหากเกิดติดเชื้อขึ้นมา เรารู้ว่ามีสัดส่วนของประชากรในทุกกลุ่มอายุที่ป่วยรุนแรงและมีโอกาสเสียชีวิตจากโรคนี้ ซึ่งเราอยากป้องกันในส่วนนี้ นั่นคือเหตุผลว่าทำไมถึงควรฉีดวัคซีน

                        ข้อสอง ถ้าฉีดแล้วและถึงแม้จะติดเชื้อ เรารู้ว่าวัคซีนไม่ได้ป้องกันได้ 100% เราจะมีความเสี่ยงเพียงเล็กน้อยที่จะแพร่เชื้อให้คนอื่น เราจึงอยากมีความเสี่ยงในการแพร่เชื้อทำไม ทำไมถึงอยากจะเป็นหนึ่งคนในวงจรของการแพร่ระบาด สิ่งที่เราอยากทำทั่วโลกขณะนี้ คือการตัดวงจรของการระบาด ควบคุมการระบาดให้ได้ นั่นเป็นเหตุผลที่เราบอกว่า ควรฉีดวัคซีนทันทีที่ถึงคิวของเรา และให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันต่างๆ ต่อไปเพื่อปกป้องตนเองและคนรอบข้างของเรา

                        อนึ่ง ทวิตเตอร์ขององค์การอนามัยโลก ประจำประเทศไทย ระบุว่า วัคซีนที่ได้รับการรับรองและขึ้นทะเบียน ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ ข้อมูล ณ วันที่ 7 กรกฎาคม 2564 ประเทศไทยมีวัคซีน 3 ชนิดที่ให้บริการ ได้แก่ แอสตร้าเซนเนก้า ซิโนฟาร์ม และ ซิโนแวค

                        Cr. MGR ONLINE

                        #TeamThailand
                        #เราจะผ่านเรื่องนี้ไปด้วยกัน
                        #ธรรมศาสตร์พิทักษ์ธรรม
                        #ThammasatPitakTham

                        https://m.youtube.com/watch?v=8-PNYhUFsMo





                        Comment




                        • Europe: EMA พบวัคซีน mRNA ของ Pfizer และ Moderna เกี่ยวข้องเชื่อมโยงโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ พร้อมแนะนำประชาชนที่มีประวัติอาการเส้นเลือดฝอยรั่ว หลีกเลี่ยงการฉีดวัคซีนของ Johnson & Johnson

                          สำนักงานยายุโรป หรือ EMA แถลงเมื่อวานนี้ (9 กรกฎาคม) ว่า พบความเชื่อมโยงที่มีความเป็นไปได้ระหว่างการเกิดอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบที่เกิดขึ้นได้ยาก กับวัคซีนต้านเชื้อไวรัสโควิด-19 จากบริษัท Pfizer และ Moderna และแนะนำประชาชนที่มีประวัติการป่วยเป็นโรคที่เกี่ยวกับเลือดให้หลีกเลี่ยงการฉีดวัคซีน Johnson & Johnson หรือ J&J ด้วย

                          คณะกรรมการด้านความปลอดภัยของ EMA ระบุว่า โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ และเยื่อบุหัวใจอักเสบ ต้องถูกระบุว่า มีความเป็นไปได้ที่เกิดจากผลข้างเคียงจากการใช้วัคซีน mRNA ทั้งสองชนิด

                          กรณีดังกล่าว ส่วนใหญ่เกิดขึ้นภายใน 14 วันหลังจากฉีดวัคซีน และมักเกิดขึ้นหลังจากฉีดเข็มที่ 2 โดยเกิดในกลุ่มวัยรุ่นชาย ซึ่งสอดคล้องกับหลักฐานจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของสหรัฐฯ เมื่อเดือนที่แล้ว

                          คณะกรรมการด้านความปลอดภัยของ EMA ยังแนะนำให้ประชาชนที่มีประวัติเกิดอาการเส้นเลือดฝอยรั่ว ต้องไม่ฉีดวัคซีนของ Johnson&Johnson ซึ่งเป็นเพียงตัวเดียวที่ใช้ฉีดแบบ 1 โดส

                          ก่อนหน้านี้ เมื่อเดือนที่แล้ว EMA เรียกร้องให้เพิ่มกลุ่มอาการเส้นเลือดฝอยรั่ว เป็นอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้วัคซีน AstraZeneca ด้วย ซึ่งอาการดังกล่าว จะส่งผลให้เกิดอาการบวมและความดันโลหิตลดลง
                          —————
                          ภาพ: Reuters

                          Cr. TNNWorldNews

                          #TeamThailand
                          #เราจะผ่านเรื่องนี้ไปด้วยกัน
                          #ธรรมศาสตร์พิทักษ์ธรรม
                          #ThammasatPitakTham





                          Comment



                          • รมว.สาธารณสุข กล่าวอีกว่าได้สั่งการให้ นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการองค์การอาหารและยา (อย.) เชิญผู้แทนของบริษัทวัคซีน ที่ได้ขึ้นทะเบียนวัคซีนในประเทศไทยทุกราย เข้าพบในสัปดาห์หน้า เพื่อหารือถึงแนวทางที่ประเทศไทย จะได้รับวัคซีนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะวัคซีน mRNA ที่ประชาชนต้องการ ซึ่งขณะนี้ผู้แทนของโมเดอร์นา ได้ตอบรับที่จะร่วมหารือกับผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข แล้ว รวมทั้ง ได้มีการยื่นข้อเสนอไปที่บริษัท ไฟเซอร์ ประเทศไทย เพื่อสั่งซื้อวัคซีน เพิ่มขึ้นอีก 50 ล้านโดส ซึ่งคาดว่าจะมีการประชุมเพื่อหาแนวทางความร่วมมือกันเร็วๆนี้

                            Comment


                            • Originally posted by THEFOOL View Post

                              รมว.สาธารณสุข กล่าวอีกว่าได้สั่งการให้ นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการองค์การอาหารและยา (อย.) เชิญผู้แทนของบริษัทวัคซีน ที่ได้ขึ้นทะเบียนวัคซีนในประเทศไทยทุกราย เข้าพบในสัปดาห์หน้า เพื่อหารือถึงแนวทางที่ประเทศไทย จะได้รับวัคซีนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะวัคซีน mRNA ที่ประชาชนต้องการ ซึ่งขณะนี้ผู้แทนของโมเดอร์นา ได้ตอบรับที่จะร่วมหารือกับผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข แล้ว รวมทั้ง ได้มีการยื่นข้อเสนอไปที่บริษัท ไฟเซอร์ ประเทศไทย เพื่อสั่งซื้อวัคซีน เพิ่มขึ้นอีก 50 ล้านโดส ซึ่งคาดว่าจะมีการประชุมเพื่อหาแนวทางความร่วมมือกันเร็วๆนี้
                              มาให้จริงเหอะ จะอวยให้ เจ็ดวันเจ็ดคืน กัวจะเล่นเกมส์ บ้าบอไม่รู้อะไรอีก

                              Comment


                              • จีนตั้งโรงงาน mRNA หัวใจอักเสบ ไม่ยักกัวแฮะ
                                ประเทศวัคซีนเชื้อตาย หัวใจอักเสบไม่กัวแต่กัว วัคซีนกากกก ฉีดแล้วเหมือนน้ำเกลือมากกว่า
                                https://mgronline.com/china/detail/9630000130368

                                Comment

                                Working...
                                X