Announcement

Collapse
No announcement yet.

ชาว INTEL AMD NVIDIA ทุกท่านตกลงจะลงทะเบียนฉีดวัคซีนโควิด กันไม้

Collapse
This topic is closed.
X
X
 
  • Filter
  • Time
  • Show
Clear All
new posts

  • Johnson & Johnson ถึงฟิลิปปินส์แล้วกว่า 1.6 ล้านโดส: วัคซีนที่สหรัฐอเมริกาบริจาคผ่าน Covax

    By
    Parichat Chk
    -
    16/07/2021
    วัคซีนที่สหรัฐอเมริกาตั้งใจบริจาคให้แก่ประเทศที่เหลือในโลกราว 80 ล้านโดสกำลังทยอยส่งมอบให้หลายประเทศแล้ว ก่อนหน้านี้สำหรับประเทศในอาเซียนสหรัฐฯ ก็บริจาคผ่านโครงการ Covax เริ่มจากเวียดนาม ลาว และล่าสุดฟิลิปปินส์



    วัคซีน Johnson & Johnson ปริมาณกว่า 1.6 ล้านโดสหรือ 1,606,600 โดสถึงฟิลิปปินส์แล้วเมื่อช่วงบ่ายที่ผ่านมานี้เอง ถือเป็นวัคซีนต้านโควิด-19 ที่สหรัฐฯ บริจาคผ่านโครงการ Covax สำหรับวัคซีนแบรนด์ Janssen หรือ Johnson & Johnson นี้ถือเป็นล็อตแรกที่มาถึงฟิลิปปินส์ด้วยเที่ยวบิน EK 0332 ช่วง 4 โมงเย็นที่ผ่านมาที่สนามบินนานาชาติ Ninoy Aquino เทอร์มินัล 3

    ทั้งนี้ สหรัฐฯ ทยอยบริจาควัคซีนให้ทั่วโลกราว 80 ล้านโดสและจะบริจาคให้ประเทศแถบแอฟริกา อเมริกาเหนือและใต้ รวมทั้งเอเชียราว 25 ล้านโดส

    องค์การอาหารและยาของฟิลิปปินส์เพิ่งจะอนุมัติวัคซีน Johnson & Johnson และ Bharat Biotech เมื่อกลางเดือนเมษายนที่ผ่านมานี้เอง ทั้งนี้ วัคซีน Johnson & Johnson จะมีการฉีดให้กับคนที่อายุ 18 ปีขึ้นไป

    ก่อนหน้านี้ วัคซีนนี้เคยมีผู้เชี่ยวชาญออกมาเตือนว่าอาจเพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคทางระบบประสาทที่หายาก เรียกว่าโรคกิลแลง-บาร์เร (Guillain-Barre Syndrome: GBS) ซึ่งอาจเป็นสาเหตที่ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือเคสที่เจอหนักหน่วงก็อาจถึงขั้นเป็นอัมพาตได้ ด้าน Johnson & Johnson ก็แถลงยืนยันเช่นกันว่า มีความเสี่ยงต่ำมากๆ และยังเป็นเคสที่หายากมากที่จะเป็นโรคดังกล่าว อย่างไรทางผู้ผลิตวัคซีนก็คำนึงถึงความปลอดภัยผู้รับวัคซีนอย่างมากอยู่แล้ว ซึ่งก็เคยเกิดขึ้นกับผู้ที่ได้รับวัคซีน Janssen ผ่านไปแล้วราว 42 วันได้เกิดอาการดังกล่าวและทาง John & ​Johnson ก็ได้แจ้งผลข้างเคียงที่มีอัตราค่อนข้างต่ำนี้กับทางองค์การอาหารและยาเช่นกัน



    ฟิลิปปินส์มีประชากรราว 108.1 ล้านคน มีการฉีดวัคซีนแล้วอย่างน้อย 1 โดสราว 10,026,722 คนหรือประมาณ 9.3% ของจำนวนประชากร ขณะที่คนที่ฉีดวัคซีนครบโดสแล้วมีจำนวน 4,047,792 คน หรือประมาณ 3.7% ของจำนวนประชากร

    Comment


    • ชาติยากจนในอาฟริกาก็จะได้ด้วยครับ



      US-donated vaccine deliveries to Africa set to begin, with first deliveries planned to Burkina Faso, Djibouti, and Ethiopia



      16 July 2021 – Following close collaboration between the African Union (AU)/ African Vaccine Acquisition Trust (AVAT), COVAX and the United States Government, AU Member States are set to receive approximately 25 million COVID-19 vaccines to enhance coverage across the continent – contributing to the AU target of vaccinating at least 60% of the African population. The shipments of these donated doses follow from the pledge made by President Biden, President of the United States of America in May to share 80 million doses globally.

      The first shipments, planned for the coming days, will see nearly a million doses of the Johnson & Johnson COVID-19 vaccine delivered to Burkina Faso, Djibouti, and Ethiopia.

      In total, approximately 25 million doses of COVID-19 vaccines will be made available to 49 African countries in the coming weeks. The African Union/Africa CDC, AVAT, AFreximbank, COVAX and the US Government have collaborated fully in this process and will continue to support countries’ access to COVID-19 vaccines and readiness for delivery.

      "In partnership with the African Union and COVAX, the United States is proud to donate 25 million COVID-19 vaccines to 49 African countries. The Biden Administration is committed to leading the global response to the pandemic by providing safe and effective vaccines to the world. Working together, we can save lives and bring the COVID-19 pandemic to an end,” said Gayle Smith, Coordinator for COVID-19 Recovery and Global Health, US Department of State.

      “Today is a proud moment for Africa in ensuring equitable access to COVID-19 vaccines,” said Dr John Nkengasong, Director of Africa CDC.

      “We appreciate the US Government for their support in helping contribute to the AU target to vaccinate 60% of the population in Africa especially at this moment when we are witnessing the third-wave in a number of African countries,” said Strive Masiyiwa, African Union Special Envoy.

      “We are pleased to be working closely with the African Union and the US Government to ensure equitable access and timely delivery of approximately 25 million doses to the continent. As the continent battles a surge in cases, we need collective action as we work towards our shared goal of protecting the African population and turning the tide globally against the pandemic,” said Dr Seth Berkley, CEO of Gavi, the Vaccine Alliance, which leads on procurement and delivery at scale for COVAX.

      “The donation of about 25 million doses of COVID-19 vaccine to Africa by the U.S. Government is a welcome significant gesture. As part of the African Vaccine Acquisition Task Team (AVATT) efforts, Afreximbank put in place a US$2 billion Advance Procurement Commitment (APC) Guarantee facility, which ultimately made it possible to secure access to 400 million doses of Johnson and Johnson Covid-19 vaccine. These combined efforts give reason to be optimistic that the African Union's goal of at least 60% vaccination coverage will be achieved soon,” said Prof. Benedict Oramah, President of Afreximbank.

      “Only through Africa’s determination, and our global collective effort to ensure that everyone everywhere has access to the vaccine, will we be able to come out of this pandemic, knowing that we did not leave anyone behind, especially Africa,” said Dr Vera Songwe, Executive Secretary, United Nations Economic Commission for Africa.

      All doses will be delivered by COVAX, which expects to deliver 620 million doses to Africa by the end of 2021, rising to 1 billion doses by the end of the first quarter of 2022. This will contribute to the AU’s goal of 60% coverage.
      Last edited by ssk; 17 Jul 2021, 10:15:38.

      Comment



      • จริงไม่เจริงไม่รู้ เป้นแนวทาง

        Comment




        • tony: เอาที่พวกมรึงสบายใจ.. = =

          Comment




          • เอาความโง่ของรัฐบาล.. มาประจานอีกรอบ..

            Comment





            • Comment


              • Originally posted by sUmmOnEr View Post


                เอาความโง่ของรัฐบาล.. มาประจานอีกรอบ..
                ไทย ไม่เข้าร่วม COVAX



                วันนี้ (6 กุมภาพันธ์) นพ.นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ เปิดเผยกรณีการเข้าร่วมโครงการ COVAX ของประเทศไทย ว่า ‘COVAX Facility‘ เป็นโครงการประสานงานที่ถูกตั้งขึ้น มีเป้าหมายเพื่อแจกจ่ายวัคซีนโควิด-19 ให้กับประเทศยากจน โดยในอาเซียนมีประเทศที่ได้รับวัคซีนฟรี ได้แก่ กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว เมียนมา ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม ส่วนประเทศไทย บรูไน สิงคโปร์ และมาเลเซีย ไม่อยู่ในเกณฑ์ที่จะได้รับวัคซีนฟรี หากจะเข้าร่วมโครงการต้องนำเงินไปร่วมลงขันในการจัดหาวัคซีนโควิด-19 ซึ่งประเทศไทยมีแผนร่วมจัดหาวัคซีนโควิด-19 กับ COVAX ตั้งแต่ต้น และได้ส่งหนังสือแสดงเจตนารมณ์เข้าร่วมตั้งแต่ช่วงต้นของโครงการ โดยกระทรวงสาธารณสุขได้จัดตั้งคณะทำงานเฉพาะที่ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญในหลายด้าน เป็นความร่วมมือจากหลายฝ่ายทั้งในและนอกกระทรวงสาธารณสุข ทั้งด้านวิชาการ กฎหมาย การเงิน ขึ้นมา เพื่อพิจารณาเงื่อนไขการทำข้อตกลงกับ COVAX ด้วย



                นพ.นครกล่าวต่อว่า การทำข้อตกลงจองวัคซีนโควิด-19 ไม่ว่าจะเป็นการทำข้อตกลงผ่าน COVAX หรือการทำข้อตกลงโดยตรงกับผู้ผลิต จำเป็นต้องพิจารณาข้อมูลและบริบทหลายๆ ด้านประกอบกัน เนื่องจากการตัดสินใจในการทำข้อตกลงจองวัคซีนในขณะนั้น เป็นความจริงที่ว่าวัคซีนโควิด-19 ของทุกบริษัทยังอยู่ระหว่างการพัฒนาทั้งสิ้น ยังไม่ทราบว่าวัคซีนชนิดใดจะประสบความสำเร็จ และยังไม่มีข้อมูลประสิทธิภาพและความปลอดภัยของวัคซีนที่มากเพียงพอ เสียเงินค่าจองไปแล้วก็อาจไม่ได้รับวัคซีนหากการพัฒนาล้มเหลว การตัดสินใจทำข้อตกลงจึงอยู่บนพื้นฐานของการชั่งน้ำหนักระหว่างประโยชน์และความเสี่ยงที่ประเทศจะได้รับหากจองวัคซีน และเมื่อพิจารณาเงื่อนไขการจองวัคซีนผ่าน COVAX พบว่า การจองจะต้องมีค่าธรรมเนียมดำเนินการโดยคิดเพิ่มจากราคาวัคซีน



                นพ.นครกล่าวด้วยว่า การจองแบบเลือกผู้ผลิตไม่ได้มีค่าธรรมเนียม 1.6 ดอลลาร์สหรัฐต่อโดส การจองแบบเลือกผู้ผลิตได้คิดค่าจองเพิ่ม 3.5 ดอลลาร์ต่อโดส (รวมค่าธรรมเนียม 1.6 ดอลลาร์ต่อโดส และค่าประกันความเสี่ยง 0.4 ดอลลาร์ต่อโดส)



                ทั้งนี้ แม้จะเลือกทำสัญญาจองซื้อแบบเลือกผู้ผลิตได้ แต่ไม่มีอิสระในการเลือกที่แท้จริง โดย COVAX จะเปิดโอกาสให้ผู้ซื้อตัดสินใจได้สองรอบ ในรอบแรก COVAX จะเสนอรายชื่อผู้ผลิตที่ COVAX มีข้อตกลงแล้วมาให้ ซึ่งไม่ใช่รายชื่อผู้ผลิตที่มีทั้งหมดในโลก หากผู้ซื้อไม่สนใจผู้ผลิตในรายการที่เสนอ จะต้องรอการประกาศตัวเลือกในรอบต่อไป ทำให้ได้วัคซีนช้าลง และหากเลือกผู้ผลิตที่มีชื่อในรายการ COVAX จะนำเงินที่ผู้ซื้อจ่ายไปจองวัคซีนกับผู้ผลิตก่อน แล้วผู้ซื้อจึงจะมีสิทธิ์เลือกในรอบที่สองว่าจะทำสัญญากับผู้ผลิตรายนั้นหรือไม่ ซึ่งถ้าตัดสินใจไม่ทำสัญญาไม่ว่าด้วยเหตุผลใดๆ จะต้องเสียค่าใช้จ่ายล่วงหน้าที่จ่ายไปแล้วทั้งหมด และไม่ได้เงินคืนแม้ว่าการเลิกสัญญาจะเกิดจากการพัฒนาวัคซีนไม่สำเร็จ



                นอกจากนี้ การซื้อวัคซีนจะต้องซื้อตามราคาจริงจากผู้ผลิต โดยต้องยอมรับทุกเงื่อนไข ไม่มีอำนาจต่อรองใดๆ ทั้งสิ้น รวมทั้งยังต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ค่าขนส่งวัคซีน ค่าใช้จ่ายในการขึ้นทะเบียนวัคซีนในประเทศและภาษี เป็นต้น



                “การทำความตกลงซื้อวัคซีนโควิด-19 จากผู้ผลิตโดยตรง มีความยืดหยุ่นมากกว่า เราสามารถกำหนดจำนวนวัคซีนที่จะซื้อได้ สามารถต่อรองราคา หากซื้อเป็นจำนวนมาก ราคาก็ถูกลง และยังสามารถต่อรองเงื่อนไข ขอบเขตความรับผิดชอบได้ตามสมควร ทั้งนี้ การซื้อวัคซีนผ่าน COVAX ยังกำหนดให้ซื้อขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 10% ของจำนวนประชากร หากต้องการวัคซีนรวดเร็ว ผู้ซื้อต้องยอมรับเงื่อนไขและความรับผิดชอบใดๆ ตามที่ผู้ผลิตเสนออีกด้วย อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังคงเจรจากับ COVAX อย่างต่อเนื่อง และหากมีการปรับเงื่อนไขรวมถึงข้อเสนอที่ประเทศจะได้ประโยชน์ ก็อาจมีการทำข้อตกลงผ่าน COVAX ได้” นพ.นครกล่าว
                https://thestandard.co/nvi-explain-w...joining-covax/

                Comment


                • 3.5 USD แค่ 120 บาทเอง ถูกกว่าค่าจัดการของ อภ อีก รายนั้นเห็นว่า
                  3-400 + VAT เลยออกมา 5 ร้อยกว่า
                  นะแกร้....................................

                  แล้วรู้มั้ยว่าประเทศที่เข้า COVAX น่ะ สามารถขอซื้อสิทธิมาตั้งโรงงานเองได้ด้วยนะ
                  ถ้ายอมจ่ายค่าลิขสิทธิร่วม แต่ต้องผลิตให้ covax ก่อนจำนวนนึงแบบ INDIA น่ะ
                  ทาง COVAX ถึงบีบ INDIA กับ SII ไม่ได้ เต็มที่ไง




                  Last edited by ssk; 17 Jul 2021, 12:13:10.

                  Comment


                  • Comment





                    • 17 กรกฎาคม 2564 ศ.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตรศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ตอบคำถามประเด็น 'วัคซีนโควิด-19' ผ่านคลับเฮาส์ (ClubHouse) Q&A : คณบดีศิริราช เรื่องวัคซีน COVID-19 และประเด็นต่าง ๆ เพื่อสื่อสารสร้างความเข้าใจให้บุคลากรทางการแพทย์ และนักศึกษา รวมถึงเปิดโอกาสให้มีการพูดคุยกันเลือกบูสเตอร์โดสได้ ไฟเซอร์ หรือ แอสตร้าเซนเนก้า กรณีฉีดวัคซีนเข็ม 3 ให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ เมื่อคืนวันที่ 16 กรกฎาคมที่ผ่านมา

                      ศ.นพ.ประสิทธิ์ กล่าวว่า เนื่องจากมีวัคซีน mRNA จากไฟเซอร์ 1.5 ล้านโดส ซึ่งในตอนแรกวางแผนว่าจะให้กับกลุ่มเสี่ยงและ 7 กลุ่มโรค ทั้งนี้ ที่ประชุมเสนอให้ แบ่งจำนวน 6-7 แสนโดส เพื่อให้บุคลากรด้านสุขภาพเพราะคนเหล่านี้เป็นกลุ่มเสี่ยง

                      ทั้งนี้ ในสัปดาห์ที่ผ่านมามี google form ส่งมาจากกรมควบคุมโรค โดยให้คณบดีส่งเป็นยอดคร่าวๆ ของทั้ง 3 โรงพยาบาล ว่าผู้ที่เคยได้รับวัคซีนซิโนแวคไปแล้วจำนวนกี่คน แต่เนื่องจากติดเสาร์อาทิตย์จึงรอให้วันทำการ แล้วสำรวจให้แน่ชัดก่อน

                      ศ.นพ.ประสิทธิ์ กล่าวว่า หลังจากนั้น ได้ส่งจำนวนบุคลากร ทั้งหมด 22,731 คน ซึ่งรวมทั้งแพทย์ พยาบาล ทันตแพทย์ เจ้าหน้าที่ห้องแล็บ รังสี และบุคลากรสุขภาพทุกประเภท โดยมีการสำรวจภายในในระบบให้ลงชื่อเลือกฉีดเข็ม 3 ได้ ไม่มีการบังคับ แล้วจะรวบรวมส่งยอดที่แท้จริงส่งให้อีกครั้ง

                      มีการเปิดให้เลือกได้ว่าเข็มที่ 3 จะฉีด mRNA (ไฟเซอร์) หรือ ไวรัล เวกเตอร์ (แอสตร้าเซนเนก้า) ซึ่งในวันนี้ (16 ก.ค. 64) เรื่องเข้าศบค.ใหญ่ทั้งหมดและอนุมัติอย่างเป็นทางการ บุคลากรด่านหน้าด้านสุขภาพทุกคนที่ฉีดซิโนแวค 2 เข็มจะได้รับบูสเตอร์ และเลือกได้อย่างใดอย่างหนึ่ง คือไฟเซอร์ จาก 1.5 ล้านโดสที่ได้รับบริจาค หรือแอสตร้าเซนเนก้า

                      ย้ำว่า แล้วแต่เลือก จะเปิดโอกาสให้แพทย์ทุกคนเลือกได้เท่าเทียมกัน บางคนอยากฉีดแอสตร้าฯ บางคนอยากฉีดไฟเซอร์ ก็เลือกได้ตามความเหมาะสม มีคนเลือกแอสตร้าฯ มาแล้วบางส่วนเช่นกัน
                      “สำหรับคนที่ได้รับแอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็ม เชื่อว่ายังเพียงพอต่อการกระตุ้นภูมิคุ้มกันและป้องกันเดลต้า ดังนั้น ควรจะให้ลำดับความสำคัญกับบุคลากรที่ได้ซิโนแวค 2 เข็ม รวมถึง กลุ่มเสี่ยง และ 7 กลุ่มโรคก่อน ซึ่งขณะนี้ยังได้รับไม่ครบ” ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ กล่าว

                      นอกจากนี้ ศิริราช ได้จ่าย 26 ล้านบาท เพื่อสั่งจองวัคซีนโมเดอร์นา (Moderna) ผ่านสภากาชาดไทย ไป 20,000 โดส อาจจะมาเดือนตุลาคม ซึ่งยังไม่แน่ใจว่ามาช่วงนั้นหรือไม่ แต่จ่ายเงินไปแล้ว

                      ขณะเดียวกัน วัคซีนเจนเนอเรชัน 2 ไทยกำลังติดต่อไว้แต่เนิ่น ๆ จะได้ไม่เสียโอกาส อย่างน้อย 120 ล้านโดส

                      อย่างไรก็ตาม ชิโนแวค กระตุ้น humoral immunity ไม่ค่อยดี กระตุ้น CMI ดี ตอนนี้ไม่เหมาะสมกับเชื้อสายพันธ์เดลตา ไวรัล เวกเตอร์ mRNA กระตุ้นได้ดีทั้งคู่ มีการทดลองสนับสนุนผลของการใช้ ชิโนแวค กับแอสตร้าเซนเนก้า แล้วเพิ่มขึ้นดี น่าจะเป็นทางที่เหมาะสม ตอนนี้ แอสตร้าฯเราผลิตแต่ไม่ใช่เจ้าของ กำลังกดดัน ต่อรอง และอาจถึงขั้นฟ้องร้อง ซึ่งตอนนี้ ไฟเซอร์ ดีกว่าแน่นอน ตอนสั่ง ชิโนแวคในตอนนั้น ไม่มีการเชิญผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็น ซึ่งเข้ามาทีหลัง อันที่จริงควรสั่งเฟส 3 ปีที่แล้ว ประเทศอื่น ๆ เริ่มสั่ง แต่ประเทศไทยเย็นใจคุมได้เลยยังไม่สั่ง ตอนนี้เราสั่งแล้วแต่ต้องรอ

                      ศ.นพ.ประสิทธิ์ ยืนยันว่า ไม่ได้โปรชิโนแวค ตอนนี้โครงการโคแว็กซ์ ก็สั่งชิโนแวค แต่เราจะไม่สั่งแล้ว มีการติดต่อทั้ง จอนห์สันแอนด์จอนห์สัน สปุตนิก วี (แต่มีปัญหาเรื่องภาษารอแปล และโรงงานที่ผลิต)

                      นอกจากนั้น ศ.นพ.ประสิทธิ์ ยังมองว่า ทำไมต้องติดใจว่าต้อง mRNA เป็น prefer high quality vaccine อยากให้เปิดใจมองแพลตฟอร์มอื่น ๆ อาทิ โปรตีน ซับยูนิต เช่น NOVAVAX อันนี้คือสิ่งที่เรารอคอย ซึ่งขอให้สั่งมาเถอะ.

                      #roundtablethailand
                      Roundtablethailand.com

                      ที่มา https://www.thaipost.net/main/detail/110046...


                      https://www.facebook.com/RoundtableT...9937064194550/



                      Comment


                      • Comment


                        • Comment


                          • Comment


                            • Comment




                              • ตอนนี้ เราได้ แอสตรา เดือนละ 5 ล้าน ถ้าไม่ต้องส่งออก เราจะมีเดือนละ 15 ล้าน แต่ 10 ล้าน ก็ฉีดให้ทันก่อน ปัญหาตอนนี้ ไม่ใช่แค่วัคซีน แต่คนฉีดก็ไม่พอ เพราะ หมอ พยาบาล โอเวอร์โหลด ( ยังไม่รวมพวกที่จองไว้หลายแอปแล้วเท เพราะเชื่อพวกที่ต่อต้านซิโนแวคอีกนะ ทำเสียเวลาคนอื่นชิบ )
                                .
                                COVAX ที่ส่งๆกันเนี่ย ประเทศอาเซียนอื่น ๆ ได้กัน ยังไม่เท่าที่เราผลิตแอสตร้า ได้ในประเทศเลย และ ประเทศเราต้องจ่ายค่าวัคซีนให้ COVAX นะครับ ไม่ใช่ว่าได้มาฟรีๆ
                                .
                                และวัคซีนหลักของ COVAX คือ แอสตร้า เมื่อคำนวณราคาแล้ว รวมค่าขนส่ง รวมค่า fee (เพราะต้องเอาไปเกลี่ยช่วยประเทศยากจน ที่ไม่ต้องจ่ายเงิน ) ปรากฏว่า แพงกว่า แอสตร้า เยอะ ก็เลยไม่จำเป็นต้องเข้าร่วม
                                .
                                ถึงตอนนี้ ผมก็ยังยืนยันว่า ไม่จำเป็นต้องเข้าร่วม เพราะร่วมไปก็ไม่สามารถคาดเดาได้ว่าเราจะได้วัคซีนตัวไหนมาเสริม จะได้เมื่อไหร่ จะได้เท่าไหร่
                                .
                                แต่รัฐบาลผิดพลาดตรงความหลากหลายของวัคซีน แต่ว่าประเทศอื่นๆ เขาก็ใช้วัคซีนกันประมาณ 2-3 ตัวเท่านั้น อย่างเรายังได้ซิโนแวค มาเติมอยู่ ถ้าไม่ด้อยค่ากันนัก ก็ยังใช้ฉีดได้เพียงพอ ตอนนี้ COVAX ยังเอาซิโนแวคร่วมโครงการเลย
                                .
                                ถ้าไม่ด้อยค่า แล้วมองว่า ซิโนแวค กันป่วยหนัก-ตาย ได้ แล้วมันจะต่างอะไรกับเข้า COVAX ครับ ถ้าจะอวย J&J ผมว่าแอสตร้าของเรา ยังดีกว่าอีกนะ
                                .
                                ไฟเซอร์ 1.5 ล้านโดส ก็มาโดยไม่ผ่าน COVAX
                                แอสตร้า ญี่ปุ่น ก็ส่งมาให้อีกล้านโดส
                                การทูตเราหาวัคซีนได้อยู่ครับ ไม่จำเป็นต้อง COVAX
                                ซิโนแวค ซิโนฟาร์ม เนี่ย เราไม่ใช่แค่ซื้อนะ จีนยังบริจาคเพิ่มให้ด้วย
                                .
                                แต่ยังไง ผมก็เรียกร้องให้รัฐบาล หาวัคซีนอื่นๆมาเพิ่มนั่นแหล่ะ ซึ่งถ้าคุณย้อนไปดู ผมก็พูดอย่างนี้มาเป็นเดือน ๆ แล้ว ว่า อย่าตั้งเป้าไว้แค่ 150 ล้าน คุณต้องตั้งไว้ที่ 250 ล้านไปเลยขั้นต่ำ เพราะ สถานการณ์มันไม่แน่นอน วิกฤตได้ตลอดเวลา

                                https://www.facebook.com/themettad/p...1347138680584/
                                COVAX ที่ส่งๆกันเนี่ย ประเทศอาเซียนอื่น ๆ ได้กัน ยังไม่เท่าที่เราผลิตแอสตร้า ได้ในประเทศเลย

                                Comment

                                Working...
                                X